วิธีการศึกษา
การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงสำรวจภาคตัดขวาง (cross-sectional survey research) ผู้วิจัยเลือกกลุ่มตัวอย่างด้วยวิธีสุ่มแบบหลายขั้น (multi stage sampling) โดยใช้ข้อมูลจำนวนสถานบริการตามแผนพัฒนาสุขภาพ (service plan) ปี พ.ศ. 2555 2559 กลุ่มตัวอย่างคือนักกายภาพบำบัดจากแต่ละโรงพยาบาลที่ดูแลรักษาคนไข้ และมีประสบการณ์การทำงานอย่างน้อย 1 ปี จำนวน 267 ราย และเพิ่มเติมอีกร้อยละ 25 รวมทั้งสิ้น 336 ราย ตรวจสอบความเที่ยงตรงตามเนื้อหาของแบบสอบถามฉบับร่างโดยผู้เชี่ยวชาญจำนวน 3 ท่าน ได้ค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่างข้อคำถามและวัตถุประสงค์ (Item-Objective Congruence Index: IOC) ในช่วง 0.67-1.00 ผู้วิจัยส่งหนังสือถึงผู้อำนวยการแต่ละโรงพยาบาลเพื่อชี้แจงวัตถุประสงค์ของงาน พร้อมส่งแบบสอบถามทางไปรษณีย์ให้กับกลุ่มตัวอย่าง โดยให้ทำแบบสอบถามออนไลน์ที่มีการระบุลิงค์ในจดหมายหรือส่งแบบสอบถามกลับทางไปรษณีย์ และกำหนดให้ตอบกลับภายใน 2 สัปดาห์หลังจากได้รับแบบสอบถาม หลังจากนั้นผู้วิจัยส่งแบบสอบถามซ้ำอีกครั้งทางไปรษณีย์ให้กับกลุ่มตัวอย่างเพื่อเป็นการแจ้งเตือนหลังจากส่งไปรษณีย์ครั้งแรกไปแล้ว 2 สัปดาห์
การศึกษานี้ได้ ผ่านการพิจารณาจากคณะกรรมการการจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี เลขที่ UBU REC 20/2561 การวิเคราะห์ข้อมูล ใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ และวิเคราะห์ความเหมือนของกลุ่มตัวอย่างที่ตอบแบบสอบถามกลับเทียบกับกลุ่มตัวอย่างที่ส่งแบบสอบถามออกไปด้วยสถิติ Chi square goodness of fit test โดยใช้ตัวแปรระดับของโรงพยาบาล แบ่งเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่ 1 โรงพยาบาลศูนย์และโรงพยาบาลทั่วไป กลุ่มที่ 2 โรงพยาบาลชุมชน
ผลการศึกษา
ผู้วิจัยส่งแบบสอบถามจำนวน 336 ฉบับ พบว่ามีผู้ที่ส่งแบบสอบถามกลับมาจำนวน 115 ฉบับ (ร้อยละ 34.23) พบว่าส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง (ร้อยละ 84.30) อายุระหว่าง 23-32 ปี (ร้อยละ 64.30) จบการศึกษาปริญญาตรี (ร้อยละ 93.00) มีประสบการณ์การทำงานระหว่าง 1-10 ปี (ร้อยละ 73.90) และเป็นโรงพยาบาลชุมชนขนาดกลาง (ระดับ F2) (ร้อยละ 47.80) (ตารางที่ 1) เมื่อวิเคราะห์ความเหมือนของกลุ่มตัวอย่างที่ตอบแบบสอบถามกลับเทียบกับกลุ่มที่ส่งแบบสอบถามออกไป พบว่ามีความไม่เหมือนกัน (chi square value = 15.79, p = 0.001)
ตารางที่ 1 ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม (n=115)
ข้อมูลทั่วไป |
จำนวน (ร้อยละ) |
1. เพศ |
|
ชาย |
18 (15.70) |
หญิง |
97 (84.30) |
2. อายุ (ปี) |
|
23-32 |
74 (64.30) |
33-42 |
34 (29.60) |
43-52 |
6 (5.20) |
≥ 53 |
1 (0.90) |
3. ระดับการศึกษา |
|
ปริญญาตรี |
107 (93.00) |
ปริญญาโท |
7 (6.10) |
ปริญญาเอก |
1 (0.90) |
4. ประสบการณ์การทำงาน (ปี) |
|
1-10 |
85 (73.90) |
11-20 |
26 (22.60) |
21-30 |
3 (2.60) |
³31 |
1 (0.90) |
5. ระดับของโรงพยาบาล |
|
โรงพยาบาลศูนย์ (ระดับ A) |
9 (7.80) |
โรงพยาบาลทั่วไปขนาดใหญ่ (ระดับ S) |
7 (6.10) |
โรงพยาบาลทั่วไปขนาดเล็ก (ระดับ M1) |
11 (9.60) |
โรงพยาบาลชุมชนแม่ข่าย (ระดับ M2) |
15 (13.00) |
โรงพยาบาลชุมชนขนาดใหญ่ (ระดับ F1 ) |
7 (6.10) |
โรงพยาบาลชุมชนขนาดกลาง (ระดับ F2) |
55 (47.80) |
โรงพยาบาลชุมชนขนาดเล็ก (ระดับ F3) |
11 (9.60) |
นักกายภาพบำบัดตอบแบบสอบถามว่ามีแบบประเมินหรือเครื่องมือประเมินผู้ป่วยระบบกระดูกและกล้ามเนื้อบริเวณมือ 91 ราย (ร้อยละ 79.10) และไม่มี 24 ราย (ร้อยละ 20.90) โดยมีแบบประเมินหรือเครื่องมือที่ใช้มากที่สุด 3 ลำดับแรก คือ โกนิโอมิเตอร์ (Goniometer) (ร้อยละ 38.30) มาตรวัดระดับความเจ็บปวด (Pain scale) (ร้อยละ 30.40) และการประเมินกำลังกล้ามเนื้อ (Muscle manual testing) (ร้อยละ 27.00) ตามลำดับ (ตารางที่ 2) ส่วนแบบประเมินหรือเครื่องมือในการประเมินผู้ป่วยระบบประสาทบริเวณมือพบว่านักกายภาพบำบัดตอบว่ามีแบบประเมินหรือเครื่องมือจำนวน 86 ราย (ร้อยละ 74.80) และไม่มี 29 ราย (ร้อยละ 25.20) โดยแบบประเมินหรือเครื่องมือที่พบมาก 3 ลำดับแรก คือ การตรวจการทำงานของมือ (Hand function) (ร้อยละ 27.80) การประเมินกำลังกล้ามเนื้อ (ร้อยละ 24.30) และแบบประเมิน The Barthel activity of daily living index (ร้อยละ 17.40) ตามลำดับ (ตารางที่ 2) เมื่อวิเคราะห์คำถามทั้ง 2 ข้อร่วมกัน พบว่า มีนักกายภาพบำบัดที่ตอบว่าไม่มีการกำหนดแบบประเมินหรือเครื่องมือที่ใช้ทั้ง 2 ระบบ จำนวน 19 ราย (ร้อยละ 16.52) ดังนั้นนักกายภาพบำบัดกลุ่มดังกล่าวเลือกใช้เครื่องมือตามความเหมาะสมของบริบทผู้ป่วย เช่น การตรวจร่างกายพิเศษ การตรวจการทำงานของมือ การประเมินกำลังกล้ามเนื้อ
นักกายภาพบำบัดตอบแบบสอบถามว่ามีแบบประเมินหรือเครื่องมือที่ใช้ในการวัดองศาการเคลื่อนไหวของผู้ป่วยระบบกระดูกและกล้ามเนื้อบริเวณมือ 108 ราย (ร้อยละ 93.90) และไม่มี 7 ราย (ร้อยละ 6.10) โดยมีแบบประเมินหรือเครื่องมือที่ใช้มากที่สุด 3 ลำดับแรก คือ โกนิโอมิเตอร์ (ร้อยละ 85.20) การวัดองศาการเคลื่อนไหว (ร้อยละ 8.70) และการตรวจการทำงานของมือ (ร้อยละ 7.80) ตามลำดับ (ตารางที่ 3) ส่วนแบบประเมินหรือเครื่องมือในการวัดองศาการเคลื่อนไหวของผู้ป่วยระบบประสาทบริเวณมือจำนวน 91 ราย (ร้อยละ 79.10) และไม่มี 24 ราย (ร้อยละ 6.10) โดยแบบประเมินหรือเครื่องมือที่พบมาก 3 ลำดับแรก คือ โกนิโอมิเตอร์ (ร้อยละ 47.80) การตรวจการทำงานของมือ (ร้อยละ 21.70) และการประเมินกำลังกล้ามเนื้อ (ร้อยละ 8.70) ตามลำดับ (ตารางที่ 3) เมื่อพิจารณาคำถามทั้ง 2 ข้อร่วมกัน พบว่า มีนักกายภาพบำบัดที่ตอบว่าไม่มีการกำหนดแบบประเมินหรือเครื่องมือที่ใช้ในการวัดองศาการเคลื่อนไหวทั้ง 2 ระบบ จำนวน 6 ราย (ร้อยละ 5.22) ดังนั้นนักกายภาพบำบัดกลุ่มดังกล่าวเลือกใช้เครื่องมือตามความเหมาะสมของบริบทผู้ป่วย เช่น การตรวจการทำงานของมือ การวัดองศาการเคลื่อนไหว
สำหรับโรคที่ผู้ป่วยระบบกระดูกและกล้ามเนื้อบริเวณมือมารับการรักษามากที่สุด คือ โรคการกดทับเส้นประสาทบริเวณข้อมือ (Carpal tunnel syndrome) (ร้อยละ 30.40) และโรคที่ผู้ป่วยระบบประสาทที่มีพยาธิสภาพบริเวณมือมากที่สุด คือโรคหลอดเลือดสมองขาดเลือด (ร้อยละ 41.70) (ตารางที่ 4) นอกจากนั้นการตรวจร่างกายพิเศษที่ใช้ในการตรวจประเมินมากที่สุด คือ Phalens test (ร้อยละ 31.30) (ตารางที่ 5)
ตารางที่ 2 แบบประเมินหรือเครื่องมือในการประเมินผู้ป่วยระบบกระดูกและกล้ามเนื้อบริเวณมือ และระบบประสาทบริเวณมือ (n=115)
แบบประเมินหรือเครื่องมือในการประเมินผู้ป่วย |
จำนวน (ร้อยละ) |
ระบบกระดูกและกล้ามเนื้อบริเวณมือ |
|
โกนิโอมิเตอร์ |
44 (38.30) |
มาตรวัดระดับความเจ็บปวด |
35 (30.40) |
การประเมินกำลังกล้ามเนื้อ |
31 (27.00) |
การวัดองศาการเคลื่อนไหว |
27 (23.50) |
การตรวจการทำงานของมือ |
20 (17.40) |
การตรวจร่างกายพิเศษ เช่น Finkelsteins test, Phalen's test, Tinel's sign |
15 (13.00) |
อื่นๆ ได้แก่ สายวัด การคลำ การขยับข้อ การยืดกล้ามเนื้อ ไม้บรรทัด |
17 (14.80) |
ระบบประสาทบริเวณมือ |
|
การตรวจการทำงานของมือ |
33 (27.80) |
การประเมินกำลังกล้ามเนื้อ |
28 (24.30) |
แบบประเมิน The Barthel activity of daily living index |
20 (17.40) |
โกนิโอมิเตอร์ |
15 (13.00) |
การวัดองศาการเคลื่อนไหว (Range of motion) |
15 (13.00) |
การตรวจร่างกายและการตรวจร่างกายพิเศษ (Special test) |
3 (2.60) |
อื่นๆ ได้แก่ แบบประเมิน Stroke Rehabilitation Assessment of Movement (STREAM), Modified Rankin Scale (MRS), Body Image Scale (BIS), National Institute of Health Stroke Scale (NIHSS) |
34 (29.60) |
ตารางที่ 3 แบบประเมินหรือเครื่องมือที่ใช้ในการวัดองศาการเคลื่อนไหวของผู้ป่วยระบบกระดูกและกล้ามเนื้อบริเวณมือ และระบบประสาทบริเวณมือ (n=115)
แบบประเมินหรือเครื่องมือที่ใช้ในการวัดองศาการเคลื่อนไหวของผู้ป่วย |
จำนวน (ร้อยละ) |
ระบบกระดูกและกล้ามเนื้อบริเวณมือ |
|
โกนิโอมิเตอร์ |
98 (85.20) |
การวัดองศาการเคลื่อนไหว |
10 (8.70) |
การตรวจการทำงานของมือ |
9 (7.80) |
การประเมินกำลังกล้ามเนื้อ |
5 (4.30) |
อื่นๆ ได้แก่ สายวัด เทปวัด |
13 (11.30) |
ระบบประสาทบริเวณมือ |
|
โกนิโอมิเตอร์ |
55 (47.80) |
การตรวจการทำงานของมือ |
25 (21.70) |
การประเมินกำลังกล้ามเนื้อ |
10 (8.70) |
การวัดองศาการเคลื่อนไหว |
7 (6.10) |
แบบประเมิน The Barthel Activity of Daily Living Index |
4 (3.50) |
อื่นๆ ได้แก่ สายวัด coordination |
11 (9.60) |
ตารางที่ 4 โรคที่ผู้ป่วยระบบกระดูกและกล้ามเนื้อบริเวณมือมารับการรักษาบ่อยที่สุด 3 อันดับแรก (n=115)
โรค |
อันดับ 1
จำนวน (ร้อยละ) |
อันดับ 2
จำนวน (ร้อยละ) |
อันดับ 3
จำนวน (ร้อยละ) |
ระบบกระดูกและกล้ามเนื้อบริเวณมือ |
|
|
|
โรคการกดทับเส้นประสาทบริเวณข้อมือ |
35 (30.40) |
32 (27.80) |
15 (13.00) |
โรคนิ้วล็อค |
27 (23.50) |
21 (18.30) |
31 (27.00) |
โรคปลอกหุ้มเอ็นนิ้วหัวแม่มืออักเสบ |
19 (16.50) |
34 (29.60) |
28 (24.30) |
ข้อติด (Joint stiffness) |
11 (9.60) |
7 (6.10) |
7 (6.10) |
ข้อติดหลังกระดูกหัก Post fracture (limit ROM) |
4 (3.50) |
2 (1.70) |
1 (0.90) |
อื่นๆ ได้แก่ wrist drop injury, muscle strain, wrist fracture, close fracture at distal radius |
19 (16.50) |
19 (16.50) |
33 (28.70) |
ระบบประสาทบริเวณมือ |
|
|
|
โรคหลอดเลือดสมองขาดเลือด |
48 (41.70) |
4 (3.50) |
1 (0.90) |
โรคการกดทับเส้นประสาทบริเวณข้อมือ |
14 (12.20) |
7 (6.10) |
3 (2.60) |
อัมพฤกษ์/อัมพาต (Hemiparesis / Hemiplegia) |
8 (7.00) |
0 (0.00) |
2 (1.70) |
Wrist drop |
7 (6.10) |
2 (1.70) |
0 (0.00) |
Brachial plexus injury |
4 (3.50) |
10 (8.70) |
3 (2.60) |
Nerve injury |
3 (2.60) |
10 (8.70) |
8 (7.00) |
Shoulder hand syndrome |
3 (2.60) |
4 (3.50) |
2 (1.70) |
อื่นๆ ได้แก่ resisted isometric testing, sign of clicking and locking, mobilization test |
12 (10.40) |
39 (33.90) |
32 (27.80) |
โรงพยาบาลตอบ ไม่มีผู้ป่วย |
16 (13.90) |
39 (33.90) |
64 (55.70) |
ตารางที่ 5 การตรวจร่างกายพิเศษ (Special test) ที่ใช้ในการตรวจประเมิน (n=115)
การตรวจร่างกายพิเศษ |
อันดับที่ 1
จำนวน (ร้อยละ) |
อันดับที่ 2
จำนวน (ร้อยละ) |
อันดับที่ 3
จำนวน (ร้อยละ) |
Phalens test |
36 (31.30) |
22 (19.10) |
7 (6.10) |
Finkelsteins test |
30 (26.10) |
30 (26.10) |
22 (19.10) |
Tinels sign |
11 (9.60) |
15 (13.00) |
9 (7.80) |
องศาการเคลื่อนไหว |
8 (7.00) |
8 (7.00) |
13 (11.30) |
การประเมินกำลังกล้ามเนื้อ |
4 (3.50) |
1 (0.90) |
0 (0.00) |
Trigger finger test |
1 (0.90) |
6 (5.20) |
6 (5.20) |
อื่นๆ ได้แก่ wrist sprain, fracture of lower limb, C-syndrome, deformity from gout and rheumatoid, amputation |
14 (12.20) |
13 (11.30) |
10 (8.70) |
ไม่มี |
11 (9.60) |
20 (17.40) |
48 (41.70) |
วิจารณ์
การสำรวจสถานการณ์แบบประเมินที่ใช้ในการประเมินการทำงานของมือโดยนักกายภาพบำบัดครั้งนี้ พบว่า การประเมินผู้ป่วยในกรณีไม่มีแบบประเมินหรือเครื่องมือในการประเมินผู้ป่วยบริเวณมือ นักกายภาพบำบัดส่วนใหญ่ใช้การตรวจการทำงานของมือเป็นหลัก นอกจากนั้น การประเมินผู้ป่วยในกรณีไม่มีแบบประเมินหรือเครื่องมือในการประเมินองศาการเคลื่อนไหวของผู้ป่วยบริเวณมือ นักกายภาพบำบัดส่วนใหญ่ใช้การตรวจการทำงานของมือเป็นหลักเช่นกัน อาจเป็นเพราะการตรวจการทำงานของมือนั้นมีความสอดคล้องกับการใช้มือของผู้ป่วยที่ส่วนใหญ่ใช้มือในการทำกิจวัตรประจำวัน ดังนั้นหากมีการลดลงของความแข็งแรงในการกำมือซึ่งมีความสำคัญ เนื่องจากเป็นทิศทางการทำงานพื้นฐานที่จะทำให้เกิดการเคลื่อนไหวทิศทางต่างๆ และการลดลงของความสามารถในการทำงานของมือ มีปัจจัยที่เกี่ยวข้อง 2 ปัจจัย ได้แก่ 1) ปัจจัยด้านร่างกาย ประกอบด้วย การลดลงของจำนวนการหดตัวของกล้ามเนื้อนิ้วมือ อัตราการตอบสนองของหน่วยยนต์ (motor unit) และการเปลี่ยนแปลงของชนิดกล้ามเนื้อ 2) ปัจจัยทางด้านจิตใจ ประกอบด้วย ความเจ็บปวด กลัวความเจ็บปวด และกลัวการกลับมาบาดเจ็บอีกครั้ง 9
สำหรับนักกายภาพบำบัดที่ไม่มีแบบประเมินหรือเครื่องมือในการประเมินผู้ป่วยบริเวณมือ 54 ราย(ร้อยละ 47.00) ในขณะที่ไม่มีแบบประเมินหรือเครื่องมือที่ใช้ในการวัดองศาการเคลื่อนไหวของผู้ป่วย 67 ราย (ร้อยละ 58.30) เนื่องจากไม่มีการกำหนดแบบประเมินหรือเครื่องมือ ดังนั้นจึงสามารถสรุปได้ว่ายังไม่มีมาตรฐานของการใช้แบบประเมินการทำงานของมือเป็นรูปแบบเดียวกันของการให้บริการ ซึ่งสอดคล้องกับประกาศสภากายภาพบำบัด เรื่องมาตรฐานบริการกายภาพบำบัด ปี พ.ศ. 2553 มาตรฐานที่ 8 กระบวนการทางกายภาพบำบัด ข้อ 8.910 ที่ระบุว่าไว้ว่า การบันทึกเวชระเบียนของผู้ป่วย ปัญหาผู้ป่วย แผนการดูแลรักษา การปฏิบัติตามแผน และผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น เพื่อให้เกิดการสื่อสารที่ดีระหว่างทีมงานผู้ให้บริการและเกิดความต่อเนื่องในการดูแลรักษา จะต้องมีข้อมูลครอบคลุมตามอาการสำคัญ ประวัติปัจจุบัน ประวัติอดีต การตรวจร่างกาย การวินิจฉัยทางกายภาพบำบัด แผนการรักษา การรักษาทางกายภาพบำบัด ความก้าวหน้าทางการรักษา ข้อห้ามและข้อควรระวัง และสรุปผลการจำหน่ายผู้ป่วย ซึ่งความหลากหลายของการใช้แบบประเมินการทำงานของมือในปัจจุบันอาจจะส่งผลให้การส่งต่อผู้ป่วยไปโรงพยาบาลอื่นๆ ทำให้ต้องใช้ระยะเวลานานตั้งแต่การซักประวัติ การตรวจร่างกาย การวินิจฉัย การวางแผนและให้การรักษา รวมถึงการบันทึกเวชระเบียน ดังนั้นหากนักกายภาพบำบัดมีการใช้แบบประเมินการทำงานของมือที่มีมาตรฐานในรูปแบบเดียวกัน จะส่งผลให้มีความสะดวกในการส่งต่อผู้ป่วยไปรักษาที่โรงพยาบาลอื่น ๆ และส่งผลโดยตรงต่อผู้ป่วยในการลดระยะเวลาของขั้นตอนก่อนการรักษาลง เพื่อให้ได้รับการรักษาและคำแนะนำจากนักกายภาพบำบัดมากขึ้น
การศึกษาครั้งนี้ พบผู้ป่วยที่มารับการรักษาส่วนใหญ่เป็นโรคการกดทับเส้นประสาทบริเวณข้อมือ ซึ่งสอดคล้องกับการศึกษาไปข้างหน้า 6 ปี เรื่องความชุกของโรคการกดทับเส้นประสาทบริเวณข้อมือในคนทำงานประเทศอังกฤษ ที่พบว่าเป็นโรคที่พบได้บ่อยที่สุดของรยางค์บน 11 สำหรับลำดับรองลงมา ได้แก่ โรคนิ้วล็อค และโรคปลอกหุ้มเอ็นนิ้วหัวแม่มืออักเสบ สำหรับผู้ป่วยระบบประสาทที่มารับการรักษาส่วนใหญ่ คือโรคหลอดเลือดสมองขาดเลือด ระบบประสาทส่วนกลางถูกทำลายทำให้หยุดการทำงานของการเคลื่อนไหวชนิดละเอียด ส่งผลต่อความสามารถในการแยกความรู้สึกต่างๆ และส่งผลต่อการเคลื่อนไหวของมือบางส่วนหรือทั้งหมด ดังนั้นผู้ป่วยจะเคลื่อนไหว ข้อศอก ข้อมือ หรือ นิ้วมือด้วยความยากลำบาก ซึ่งอาจจะไม่สามารถทำได้หลายการเคลื่อนไหวเมื่อต้องมีการเคลื่อนไหวร่วมกัน12 และสอดคล้องกับการศึกษาการทำงานของมือ 2-5 ปี หลังจากเกิดโรคหลอดเลือดสมองขาดเลือดที่พบว่าค่าคะแนนการทำงานของมือนั้นลดลง7 ดังนั้นผู้ป่วยที่มีพยาธิสภาพที่มือมักจะพบว่ามีปัญหาด้านการทำงานของมือ เช่น การกำมือ การแบมือ การหยิบจับสิ่งของต่างๆ เป็นต้น ซึ่งสอดคล้องกับการศึกษาในครั้งนี้ที่พบว่านักกายภาพบำบัดเลือกใช้การตรวจการทำงานของมือในการประเมินผู้ป่วยบริเวณมือ ในกรณีที่ไม่มีการกำหนดแบบประเมินหรือเครื่องมือในการประเมินผู้ป่วยบริเวณมือ นอกจากนั้น นักกายภาพบำบัดนิยมใช้เครื่องมือโกนิโอมิเตอร์ในการประเมินองศาการเคลื่อนไหวมือของผู้ป่วย ส่วนการประเมินการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันของผู้ป่วยระบบประสาทบริเวณมือ นักกายภาพบำบัดนิยมใช้แบบประเมินการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง (The Barthel Activity of Daily Living Index) ซึ่งใช้ประเมินความก้าวหน้าในการดูแลตนเองและการเคลื่อนไหวในผู้ป่วยที่ได้รับการฟื้นฟูสมรรถภาพ ประกอบด้วย 10 กิจกรรม ได้แก่ การรับประทานอาหาร การหวีผม การลุกจากที่นอน การใช้ห้องสุขา การควบคุมการขับถ่ายอุจจาระ การควบคุมการขับถ่ายปัสสาวะ การอาบน้ำ การสวมใส่เสื้อผ้า การเคลื่อนที่ภายในบ้าน และการเดินขึ้นลงบันได 1 ชั้น จึงเป็นการประเมินโดยรวมในทุกส่วนของร่างกาย ดังนั้น นักกายภาพบำบัดแต่ละโรงพยาบาลจึงยังไม่มีแบบประเมินที่ใช้ประเมินการทำงานของมือโดยเฉพาะส่วนที่เป็นมาตรฐานเดียวกัน และแบบประเมินการทำงานของมือยังไม่ครอบคลุมกิจวัตรประจำวันของผู้ป่วยตามทิศทางของการเคลื่อนไหวปกติ ดังนั้นจึงควรมีการกำหนดแบบประเมินการทำงานของมือให้เป็นมาตรฐานเดียวกันเพื่อเป็นการส่งเสริมในการให้การรักษาแก่ผู้ป่วยโดยสามารถส่งต่อข้อมูลที่เป็นมาตรฐานเดียวกัน
งานวิจัยนี้มีข้อจำกัดคือ สัดส่วนแบบสอบถามที่ตอบกลับภายในระยะเวลาที่กำหนดไว้ 1 เดือน ควรมีการเพิ่มระยะเวลาหรือมีการแจ้งเตือนเพื่อให้ได้จำนวนแบบสอบถามที่ตอบกลับเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ โรงพยาบาลกลุ่มตัวอย่างที่ตอบแบบสอบถามกลับมาไม่เป็นสัดส่วนเดียวกันกับกลุ่มตัวอย่างที่ส่งแบบสอบถามออกไปเมื่อพิจารณาจากระดับของโรงพยาบาล อาจเนื่องมาจากสัดส่วนของโรงพยาบาลชุมชนนั้นมีมาก จึงมีโอกาสตอบกลับน้อยเมื่อเทียบกับโรงพยาบาลศูนย์และโรงพยาบาลทั่วไปรวมกัน อีกทั้งระดับนัยสำคัญทางสถิติของ chi square test นั้นขึ้นอยู่กับขนาดตัวอย่าง หากขนาดตัวอย่างมีค่ามาก ก็จะมีโอกาสมีผลการทดสอบที่นัยสำคัญทางสถิติเพิ่มขึ้น
ข้อเสนอแนะ
1) การส่งแบบสอบถามกลับมายังผู้วิจัยมีความล่าช้าและไม่ครบตามจำนวน อาจจะเนื่องมาจากครั้งแรกที่ดำเนินการส่งแบบสอบถาม ผู้วิจัยส่งบันทึกข้อความไปที่ผู้อำนวยการแต่ละโรงพยาบาล อาจทำให้ เกิดความล่าช้าของการส่งต่อเอกสารตามขั้นตอนการทำงาน หรือเอกสารอาจสูญหาย ดังนั้นการศึกษาในอนาคตควรส่งเอกสารไปที่หัวหน้าแผนกกายบำบัดโดยตรง เพื่อกระชับเวลาและป้องกันเอกสารสูญหาย
2) ในบางโรงพยาบาลหน่วยงานที่ทำหน้าที่ในการรักษาผู้ป่วยที่มีปัญหาการทำงานของมือ คือหน่วยงานกิจกรรมบำบัด ซึ่งไม่ใช่หน่วยงานกายภาพบำบัด จึงไม่สอดคล้องกับบริบทงานของโรงพยาบาลนั้นๆ และส่งผลต่อการส่งหนังสือของผู้อำนวยการ อาจจะทำให้เอกสารเป็นโมฆไปโดยปริยาย หรือหน่วยงานกิจกรรมบำบัดอาจไม่เห็นความสำคัญเนื่องจากข้อความและเนื้อหาเป็นของนักกายภาพบำบัดเท่านั้น ดังนั้นการศึกษาในอนาคตควรระบุผู้ตอบแบบสอบถามเป็นนักกายภาพบำบัดหรือนักกิจกรรมบำบัด
สรุป
แบบสอบถามที่ใช้ในการประเมินการทำงานของมือของผู้ป่วยระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ และระบบประสาทบริเวณมือโดยนักกายภาพบำบัดที่ทำงานในสถานบริการของรัฐมีความหลากหลาย ไม่มีแบบประเมินการทำงานของมือโดยเฉพาะที่เป็นมาตรฐานเดียวกัน ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการส่งต่อข้อมูลสำหรับการดูแลรักษาผู้ป่วยในภาพรวม
กิตติกรรมประกาศ
ขอขอบพระคุณ ผศ.ดร.แสวง วัชระธนกิจ อาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์ และนักกายภาพบำบัดทุกคนที่ให้ความร่วมมืออย่างดีในการศึกษาครั้งนี้ และขอบคุณทุนสนันสนุนเพื่อการศึกษาจากกองทุนพัฒนาบุคลากรของมหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี ที่สนับสนุนการทำวิจัยในการศึกษาครั้งนี้ด้วย
เอกสารอ้างอิง
1. Janwantanakul P. Prevalence of self-reported musculoskeletal symptoms among office workers. Occup Med (Lond) 2008; 6: 436-8.
2. Guo H. Prevalence of musculoskeletal disorder among workers in taiwan a nationwide study. JOH 2004; 46: 26-36.
3. Picavet H. Musculoskeletal pain in the Netherlands: Prevalences, consequences and risk groups, the DMC(3)-study. Pain 2003; 1-2: 167-78.
4. Salik Y, Ozcan A. Work-related musculoskeletal disorders: A survey of physical therapists in Izmir-Turkey. BMC Musculoskeletal Disorders 2004; 5: 27.
5. West D, Gardner D. Occupational injuries of physiotherapists in North and Central Queensland. Australian Journal of Physiotherapy 2001; 47: 179-86.
6. Macdonald B, Cockerell O, Sander J, Sheorvon S. The incidence and lifetime prevalence of neurological disorders in a prospective community-based study in the UK. Brain 2000; 123: 665-76.
7. Arwert H, Schut S, Boiten J, Vliet Vlieland T, Meesters J. Patient reported outcomes of hand function three years after stroke. Top Stroke Rehabil 2018; 25: 13-9.
8. ประวิตร เจนวรรธนะกุล. โรคทางระบบกระดูกและกล้ามเนื้อในผู้ที่ทำงานสำนักงาน ความชุกและอุบัติการณ์ของโรคทางระบบกระดูกและกล้ามเนื้อในผู้ที่ทำงานในสำนักงาน. กรุงเทพฯ:ก.พล(1966), 2558.
9. Lee k, Jung M. Ergonomic Evaluation of Biomechanical Hand Function. Saf Health Work 2015; 6: 9-17.
10. ราชกิจจานุเบกษา. มาตรฐานบริการกายภาพบำบัด. 2553 [cited 6 กุมภาพันธ์ 2562]. Available from http://pt.or.th/file_attach/09Aug201210-AttachFile1344509470.PDF.
11. Dale A, Adamson C, Rempel D, Gerr F, Hegmann K, Silverstein B, et al. Prevalence and incidence of carpal tunnel syndrome in US working populations: pooled analysis of six prospective studies. J Work Environ Health 2013; 5: 495-505.
12. Thinen N, Tsukimoto D, Tsukisumoto G. Functional evaluation of hemiplegic patients post stroke using the Disabilities of the Arm, Shoulder and Hand - DASH questionnaire. Acta Fisiatr 2016; 1: 25-9.