บทนำ
การใช้ยาอย่างสมเหตุผลจัดเป็นตัวชี้วัดที่สำคัญของคุณภาพในระบบบริการสาธารณสุขซึ่งหมายถึง การใช้ยาที่ให้ประโยชน์จริงต่อผู้ป่วยมีความเสี่ยงต่ออันตรายจากยาต่ำ ด้วยค่าใช้จ่ายที่เหมาะสมทั้งต่อผู้ป่วยและสังคม แต่ในความเป็นจริงพบได้บ่อยครั้งว่ามีการใช้ยาโดยไม่มีข้อบ่งชี้ ขาดหลักฐานสนับสนุนประสิทธิผลของยา ใช้ยาอย่างซ้ำซ้อนหรือมากชนิดเกินความจำเป็น ผู้ป่วยมีความเสี่ยงที่จะเกิดอันตรายจากการใช้ยาหรือได้รับผลเสียร้ายแรงต่อสุขภาพจนอาจถึงแก่ชีวิต โดยเกิดขึ้นกับการใช้ยาในทุกภาคส่วนทั้งรัฐและเอกชน และมีแนวโน้มที่จะทวีความรุนแรงขึ้น จากข้อมูลการศึกษาต่างๆ พบว่ายังมีการใช้ยาอย่างไม่สมเหตุผลในอัตราที่สูงอาจถึงครึ่งหนึ่งของการใช้ยาทั้งหมด โดยเฉพาะในประเทศที่กำลังพัฒนา ซึ่งนำไปสู่การสูญเสียตามมาทั้งในระดับบุคคลผู้ใช้ยา ทำให้เกิดปัญหาต่อประสิทธิผลของการรักษา รวมถึงมูลค่าความสูญเสียทางเศรษฐกิจอย่างน้อยปีละ 4,000 5,000 ล้านดอลลาร์ในสหรัฐอเมริกา และกว่า 40,000 ล้านบาทในประเทศไทย6 ดังนั้นกระทรวงสาธารณสุขจึงได้ดำเนินโครงการ โรงพยาบาลส่งเสริมการใช้ยาอย่างสมเหตุผล (rational drug use (RDU) Hospital) ซึ่งเป็นหนึ่งในหลายกลไกหลักที่มุ่งผลักดันให้เกิดการใช้ยาอย่างสมเหตุผล โดยมีกุญแจที่สำคัญประการหนึ่งเพื่อนำสู่ความสำเร็จของโครงการคือ การจัดทำฉลากยามาตรฐาน ฉลากยาเสริม และข้อมูลยาสู่ประชาชน ซึ่งมีเป้าหมายในการสนับสนุนให้ใช้ฉลากยามาตรฐาน(RDU label) เพื่อให้ผู้ป่วยรับทราบข้อมูลที่สำคัญเกี่ยวกับยาได้อย่างสะดวกและครบถ้วน ช่วยให้ผู้ป่วยใช้ยาได้อย่างถูกต้องและปลอดภัยมากขึ้น ทั้งช่วยให้เภสัชกรให้คำแนะนำได้ง่ายขึ้น
โรงพยาบาลมโนรมย์ จังหวัดชัยนาท ได้เข้าร่วมโครงการโรงพยาบาลส่งเสริมการใช้ยาอย่างสมเหตุผลเมื่อปี พ.ศ. 2559 โดยนำฉลากยาเสริมที่จัดทำขึ้นตามโครงการ RDU Hospital มาใช้กับผู้รับบริการที่แผนกผู้ป่วยนอกของโรงพยาบาลทั้ง 18 รายการยา จากการดำเนินการที่ผ่านมาพบว่าฉลากยาเสริมที่แจกให้กับผู้มารับบริการมากที่สุดคือ ฉลากยาเสริมรายการยากลุ่มโรคเรื้อรัง 6 รายการยา ได้แก่ ฉลากยา allopurinol, amlodipine, enalapril, glipizide, metformin และsimvastatin แต่ยังไม่มีการประเมินความเข้าใจของผู้มารับบริการต่อฉลากยาเสริมดังกล่าว อีกทั้งยังพบปัญหาว่าผู้มารับบริการเข้าใจผิดจากข้อความบนฉลากยาเสริม เช่น amlodipine ซึ่งสร้างความกังวลให้กับผู้ป่วยทำให้ผู้ป่วยหยุดยาโดยไม่จำเป็น เช่น กลัวอาการบวมจึงไม่กล้ารับประทานยาต่อ เป็นต้น จากปัญหาดังกล่าว ทำให้ผู้วิจัยเห็นถึงปัญหาว่า ถ้าฉลากยาเสริมนั้นไม่สามารถสื่อสารให้ผู้มารับบริการเข้าใจได้ ก็จะเป็นวิธีการที่สูญเปล่าและสิ้นเปลืองโดยไม่เกิดประโยชน์ใดๆต่อผู้ป่วยเลย อีกทั้งความเข้าใจผิดจากข้อความบนฉลากยาเสริม อาจนำมาซึ่งอันตรายที่จะเกิดขึ้นกับตัวผู้มารับบริการได้อีกด้วย ดังนั้นเพื่อพัฒนาต่อยอดฉลากยาเสริมให้สามารถนำไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพผู้วิจัยจึงมีแนวคิดในการพัฒนาฉลากยาเสริมจากฉลากยาเสริมต้นแบบตามโครงการ RDU Hospital เพื่อให้สอดคล้องกับความเข้าใจของผู้มารับบริการ และอาจช่วยส่งเสริมให้เกิดการใช้ยาได้อย่างถูกต้อง และเหมาะสมต่อไป การศึกษานี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาฉลากยาเสริมสำหรับผู้มารับบริการ และประเมินความเข้าใจของผู้มารับบริการต่อฉลากยาเสริม
วิธีการศึกษา
เป็นการศึกษาเชิงพัฒนา เพื่อพัฒนาฉลากยาเสริมกลุ่มโรคเรื้อรัง 6 รายการ ได้แก่ allopurinol, amlodipine, enalapril, glipizide, metformin, และsimvastatin และประเมินความเข้าใจต่อฉลากยาเสริมของผู้ป่วยที่มารับมาบริการในแผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลมโนรมย์ จังหวัดชัยนาท
การพัฒนาฉลากยาเสริม
ฉลากยาเสริมต้นแบบจากโครงการ RDU Hospital ได้ถูกนำมาพัฒนาเพื่อให้ผู้รับบริการมีความเข้าใจต่อฉลากยาเสริม มีขั้นตอนการพัฒนา ดังนี้
การพัฒนาฉลากยาเสริมครั้งที่ 1
(1) ข้อความของฉลากยาเสริมนำมาตัดแบ่งเป็นส่วนรายข้อเพื่อทดสอบความเข้าใจและสัมภาษณ์ความคิดเห็นต่อฉลากยาเสริมโดยผู้รับบริการ โดยกำหนดเกณฑ์ผ่านระดับความเข้าใจที่ร้อยละ 80
(2) ในข้อที่ไม่ผ่านเกณฑ์ความเข้าใจให้มีการปรับข้อความโดยระดมความคิดจากสหวิชาชีพ คือ แพทย์ 1 คน เภสัชกร 2 คน จากโรงพยาบาลมโนรมย์ และเภสัชกรจากโรงพยาบาลอื่นๆ 2 คน
รวมทั้งหมด 5 คน (ความคิดเห็นตรงกันทั้งหมด 5 ท่านโดยไม่มีผู้ใดคัดค้าน จึงจะถือว่ายุติการปรับแก้ไขฉลากยาเสริมโดยการระดมความคิด) จากนั้นได้ฉลากยาเสริมที่พัฒนาเพื่อนำไปทดสอบความเข้าใจต่อ
การพัฒนาฉลากยาเสริมครั้งที่ 2
นำฉลากยาเสริมที่พัฒนาจากข้อ (2)ไปทดสอบความเข้าใจกับผู้รับบริการเช่นเดียวกับข้อ (1) และดำเนินการต่อในข้อ (2) หากระดับความเข้าใจยังไม่ผ่านเกณฑ์ที่กำหนดให้ดำเนินการพัฒนาฉลากยาเสริมต่อในครั้งที่ 3
การพัฒนาฉลากยาเสริม ครั้งที่ 3 และครั้งต่อๆไป
ดำเนินการเช่นเดียวกับครั้งที่ 2 และครั้งต่อไปจนผ่านเกณฑ์
ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ผู้ป่วยที่มารับบริการในแผนกผู้ป่วยนอกของโรงพยาบาลมโนรมย์ จังหวัดชัยนาท ที่ได้รับยาในกลุ่มโรคเรื้อรังที่กำหนดทั้งหมด 6 รายการ (1 คนต่อ 1 รายการยา) แล้วเลือกกลุ่มตัวอย่างโดยดูจากโปรแกรม HosXP ในส่วนของรายชื่อผู้ที่มารับบริการตามที่แพทย์นัดหมาย รายการยาที่ได้รับ และมีคุณสมบัติตามเกณฑ์คัดเข้า คือ 1.อายุ 40 70 ปี 2.เป็นผู้มารับยาด้วยตนเอง 3.สามารถสื่อสารโดยการ ฟัง พูด และอ่านภาษาไทยได้ และ4.ยินดีเข้าร่วมในการวิจัย เกณฑ์คัดออก คือ 1.ผู้ที่มีปัญหาการดื่มแอลกอฮอล์เรื้อรัง หรือใช้สารเสพติด และ2.ผู้ที่ได้รับการรักษาในคลินิกจิตเวช แล้วจึงใช้วิธีการสุ่มอย่างง่าย ได้จำนวนกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 280 ราย โดยใช้จำนวนกลุ่มตัวอย่างสำหรับการทดสอบความเข้าใจในแต่ละครั้ง ดังนี้
- ครั้งที่ 1 คือ กลุ่มที่ได้รับฉลากยาเสริมต้นแบบ จากโครงการ RDU Hospital ทดสอบความเข้าใจต่อฉลากยาเสริม 6 รายการยาๆ ละ 20 ราย รวมกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 120 ราย
- ครั้งที่ 2 คือ กลุ่มที่ได้รับฉลากยาเสริมที่พัฒนาขึ้นใหม่ (สำหรับฉลากยาเสริมรายการยาที่มีข้อความที่ไม่ผ่านเกณฑ์ที่กำหนด คือ ร้อยละ 80 จากการทดสอบความเข้าใจครั้งที่ 1) ทดสอบความเข้าใจต่อฉลากยาเสริม 6 รายการยาๆ ละ 20 ราย รวมกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 120 ราย
- ครั้งที่ 3 คือ กลุ่มที่ได้รับฉลากยาเสริมที่พัฒนาขึ้นใหม่ (สำหรับฉลากยาเสริมรายการยาที่มีข้อความที่ไม่ผ่านเกณฑ์ที่กำหนด คือ ร้อยละ 80 จากการทดสอบความเข้าใจครั้งที่ 2) ทดสอบความเข้าใจต่อฉลากยาเสริม 2 รายการยาๆ ละ 20 ราย รวมกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 40 ราย
(ผู้ป่วย 1 รายได้รับการทดสอบฉลากยาเสริมแบบเดียว และ 1 รายการยา)
ทดสอบความเข้าใจต่อฉลากยาเสริมด้วยวิธีการสัมภาษณ์ จำนวนครั้งละ 20 ราย ต่อ 1 รายการยา (จากการวิจัยของ Laura Faulkner พบว่าการใช้ผู้ถูกทดสอบตั้งแต่ 20 ราย จะสามารถค้นพบปัญหาจากการใช้งานได้โดยเฉลี่ยร้อยละ 98.4)5 โดยนำฉลากยาเสริมต้นแบบของโครงการ RDU hospital มาใช้ในการทดสอบและมีการปรับฉลากยาจากผลการทดสอบรวมถึงข้อคิดเห็นจากสหสาขาวิชาชีพจนระดับความความเข้าใจต่อฉลากยามากกว่าหรือเท่ากับร้อยละ 80 จึงหยุดการปรับปรุงสำหรับฉลากยาเสริมรายการยานั้น การศึกษานี้ได้ผ่านการพิจารณาและรับรองจากคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ตามเลขที่โครงการ/รหัส 1133/60 กลุ่มตัวอย่างจะได้รับคำอธิบายถึงขั้นตอนการศึกษา และ ลงลายมือชื่อในใบยินยอมเข้าร่วมการศึกษา
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย เครื่องมือทั้งหมด 3 ชิ้นดังนี้
1.แบบเก็บข้อมูลทั่วไป 2.แบบทดสอบความเข้าใจต่อฉลากยาเสริม 3.แบบสัมภาษณ์ความคิดเห็นต่อฉลากยาเสริม
การรวบรวมข้อมูล เก็บข้อมูลในช่วงวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2561 ถึงวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2561 โดยใช้การสัมภาษณ์โดยตรงด้วยแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง ซึ่งผ่านการตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัยทางด้านความตรงเชิงเนื้อหา (content validity) ตรวจความถูกต้องของเนื้อหาและภาษาที่ใช้ โดยผู้เชี่ยวชาญจำนวน 3 ท่าน ได้แก่ เภสัชกรผู้ที่มีประสบการณ์ในการทำงานด้านฉลากยา จำนวน 1 ท่าน อาจารย์คณะเภสัชศาสตร์ จำนวน 1 ท่าน และเภสัชกรโรงพยาบาลที่มีประสบการณ์ในการทำงานที่เกี่ยวของกับผู้ป่วยโดยตรงอย่างน้อย 10 ปี จำนวน 1 ท่าน โดยวิธีหาค่าดัชนีความสอดคล้องของวัตถุประสงค์และเนื้อหา (Index of Item Objective Congruence (IOC)) ได้เท่ากับ 0.74 ซึ่งมีค่ามากกว่า 0.5 แสดงว่า ข้อคำถามหรือประเด็นที่จะทำการรวบรวมข้อมูลมีความตรงเชิงเนื้อหากับจุดมุ่งหมายของการวิจัย ใช้เวลาในการสัมภาษณ์ประมาณ 20-30 นาที ต่อ 1 ราย ทำการทดสอบกับผู้เข้าร่วมวิจัยทีละคนแยกจากกันเพื่อลดอิทธิพลกลุ่ม รวบรวมผลการตอบแบบสัมภาษณ์ แล้วนำมาตรวจสอบความสมบูรณ์ และความถูกต้องของข้อมูล
การวิเคราะห์ข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป SPSS โดยใช้สถิติเชิงพรรณนาในการนำเสนอข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ และค่าเฉลี่ย
การประเมินความเข้าใจต่อฉลากยาเสริมของผู้มารับบริการ ต้องมีระดับความเข้าใจไม่น้อยกว่า ร้อยละ 803 จึงจะถือว่าผ่านเกณฑ์ โดยผู้วิจัยจะเป็นผู้วิเคราะห์ และประเมินจากคำตอบของผู้รับบริการที่ได้จดบันทึกลงในแบบทดสอบ และจากการถอดไฟล์เสียงที่ได้จากการสัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่าง
ผลการศึกษา
การประเมินความเข้าใจของผู้มารับบริการต่อฉลากยาเสริม allpurinol (ภาพที่ 1: A) ในครั้งที่ 1 พบว่า ข้อคำถามที่กลุ่มตัวอย่างมีความเข้าใจผ่านเกณฑ์ จำนวน 3 ข้อ คือข้อ 1, 2, 4 และไม่ผ่านเกณฑ์ จำนวน 2 ข้อ คือข้อ 3, 5 (ตาราง 1) จึงได้แก้ไขฉลากยาเพิ่มเติม (ตาราง 2) ผลการประเมินความเข้าใจของผู้มารับบริการต่อฉลากยาเสริม allpurinol (ภาพที่ 1: B) ในครั้งที่ 2 กลุ่มตัวอย่างมีความเข้าใจผ่านเกณฑ์ทุกข้อ
การประเมินความเข้าใจของผู้มารับบริการต่อฉลากยาเสริม amlodipine (ภาพที่ 2: C)ในครั้งที่ 1 พบว่า ข้อคำถามที่กลุ่มตัวอย่างมีความเข้าใจผ่านเกณฑ์ จำนวน 3 ข้อ และไม่ผ่านเกณฑ์ จำนวน 3 ข้อ คือ (ตารางที่ 1) จึงได้แก้ไขฉลากยาเพิ่มเติม (ตารางที่ 2) ผลการประเมินความเข้าใจของผู้มารับบริการต่อฉลากยาเสริม amlodipine (ภาพที่ 2: D) ในครั้งที่ 2 กลุ่มตัวอย่างมีความเข้าใจผ่านเกณฑ์ทุกข้อ
การประเมินความเข้าใจของผู้มารับบริการต่อฉลากยาเสริม enalapril (ภาพที่ 3: E) ในครั้งที่ 1 พบว่า ข้อคำถามที่กลุ่มตัวอย่างมีความเข้าใจผ่านเกณฑ์ จำนวน 5 ข้อ และไม่ผ่านเกณฑ์ จำนวน 2 ข้อ (ตารางที่ 1) จึงได้แก้ไขฉลากยาเพิ่มเติม (ตารางที่ 2) ผลการประเมินความเข้าใจของผู้มารับบริการต่อฉลากยาเสริม enalapril (ภาพที่ 3: F) ในครั้งที่ 2 กลุ่มตัวอย่างมีความเข้าใจผ่านเกณฑ์ทุกข้อ
การประเมินความเข้าใจของผู้มารับบริการต่อฉลากยาเสริม glipizide (ภาพที่ 4: G) ในครั้งที่ 1 พบว่า ข้อคำถามทั้งหมด 7 ข้อ (ตารางที่ 1) กลุ่มตัวอย่างมีความเข้าใจผ่านเกณฑ์ทุกข้อ แต่มติจากสหวิชาชีพให้มีการปรับแก้ไขบางข้อความ (ตารางที่ 2) ผลการประเมินความเข้าใจของผู้มารับบริการต่อฉลากยาเสริม glipizide (ภาพที่ 4: H)ในครั้งที่ 2 กลุ่มตัวอย่างมีความเข้าใจผ่านเกณฑ์ทุกข้อ
การประเมินความเข้าใจของผู้มารับบริการต่อฉลากยาเสริม metformin (ภาพที่ 5: I)ในครั้งที่ 1 พบว่าข้อคำถามที่กลุ่มตัวอย่างมีความเข้าใจผ่านเกณฑ์ จำนวน 4 ข้อ และไม่ผ่านเกณฑ์ จำนวน 2 ข้อ คือ (ตารางที่ 1) จึงได้แก้ไขฉลากยาเพิ่มเติม (ตารางที่ 2) การวัดระดับความเข้าใจของผู้มารับบริการต่อฉลากยาเสริม metformin (ภาพที่ 5: J) ในครั้งที่ 2 พบว่าข้อคำถามที่มีความเข้าใจผ่านเกณฑ์ จำนวน 5 ข้อ และไม่ผ่านเกณฑ์ จำนวน 1 ข้อ (ตารางที่ 1) จึงได้แก้ไขฉลากยาเพิ่มเติม (ตารางที่ 2) ผลการประเมินความเข้าใจของผู้มารับบริการต่อฉลากยาเสริม metformin (ภาพที่ 5: K)ในครั้งที่ 3 กลุ่มตัวอย่างมีความเข้าใจผ่านเกณฑ์ทุกข้อ
การประเมินความเข้าใจของผู้มารับบริการต่อฉลากยาเสริม simvastatin (ภาพที่ 6: L)ในครั้งที่ 1 พบว่าข้อคำถามที่กลุ่มตัวอย่างมีความเข้าใจผ่านเกณฑ์ จำนวน 4 ข้อ และไม่ผ่านเกณฑ์ จำนวน 2 ข้อ (ตารางที่ 1) จึงได้แก้ไขฉลากยาเพิ่มเติม (ตารางที่ 2) ผลการประเมินความเข้าใจของผู้มารับบริการต่อฉลากยาเสริม simvastatin (ภาพที่ 6: M) ในครั้งที่ 2 พบว่าข้อคำถามที่มีความเข้าใจผ่านเกณฑ์ จำนวน 5 ข้อ และไม่ผ่านเกณฑ์ จำนวน 1 ข้อ (ตารางที่ 1) จึงได้แก้ไขฉลากยาเพิ่มเติม (ตารางที่ 2) ผลการประเมินความเข้าใจของผู้มารับบริการต่อฉลากยาเสริม simvastatin (ภาพที่ 6: N) ในครั้งที่ 3 กลุ่มตัวอย่างมีความเข้าใจผ่านเกณฑ์ทุกข้อ โดยมีตารางสรุปผลเปรียบเทียบก่อนและหลังการปรับปรุงฉลากยาเสริม (ตารางที่ 3)
ตารางที่ 1 ผลการประเมินระดับความเข้าใจต่อฉลากยาเสริม
ฉลากยาเสริม |
ข้อคำถามเพื่อวัดระดับความเข้าใจต่อฉลากยาเสริม |
จำนวนผู้ป่วยที่ประเมินผ่าน/จำนวนผู้ป่วยที่ถูกประเมิน |
ฉลากยา
ต้นแบบ |
ปรับปรุง
ครั้งที่ 1 |
ปรับปรุง
ครั้งที่ 2 |
allopurinol |
1.ถ้าท่านเคยมีประวัติแพ้ยานี้จะสามารถรับประทานยานี้ได้อีกหรือไม่ |
20/20 |
19/20 |
- |
|
2. หากท่านได้รับยานี้ ท่านควรสังเกตอาการใดที่อาจเกิดขึ้นได้บนผิวหนัง |
18/20 |
20/20 |
- |
|
3. ผื่นแพ้ยาแบบรุนแรงมีโอกาสเกิดได้มากที่สุดในช่วงใด |
14/20 |
18/20 |
- |
|
4. ท่านจะปฏิบัติตัวอย่างไร หากมีผื่นขึ้นเป็นไข้ ตาแดง มีแผลในปากหลังการใช้ยานี้ |
16/20 |
19/20 |
- |
|
5. ท่านควรได้รับยาตัวนี้ในการรักษาหรือไม่หากท่านมีกรดยูริกสูงในเลือดเพียงอย่างเดียว |
14/20 |
17/20 |
- |
amlodipine |
1. จงอธิบายความเข้าใจของท่าน หลังจากได้ยินประโยคนี้ แพทย์อาจใช้ยานี้ด้วยสาเหตุอื่น นอกเหนือจากภาวะความดันเลือดสูง |
13/20 |
17/20 |
- |
|
2. หากท่านได้รับยานี้ โดยไม่ได้มีภาวะความดันเลือดสูง แต่ฉลากหน้าซองยาเขียนว่า
ลดความดันเลือดสูง ท่านจะถาม /ปรึกษาใคร |
20/20 |
20/20 |
- |
|
3. จงอธิบายความเข้าใจของท่าน หลังจากได้ยินประโยคนี้ ยานี้อาจทำให้เกิดการบวมที่เท้าซึ่งเกิดจากขยายตัวของหลอดเลือดแดงขนาดเล็กที่ส่วนปลายของร่างกายส่วนใหญ่เป็นการบวมเล็กน้อย
ถึงปานกลาง |
15/20 |
17/20 |
- |
|
4. หากเกิดการบวมที่เท้าจากยานี้ ท่านจำเป็นต้องหยุดยาหรือไม่ |
16/20 |
19/20 |
- |
|
5. หากท่านเกิดการบวมที่มือท่านจะทำอย่างไร |
14/20 |
18/20 |
- |
|
6. ท่านควรปฏิบัติตัวอย่างไรเพื่อป้องกันภาวะเหงือกงอกเกินหลังรับประทานยานี้ |
17/20 |
20/20 |
- |
enalapril |
1. จงอธิบายความเข้าใจของท่าน หลังจากได้ยินประโยคนี้ แพทย์อาจใช้ยานี้ด้วยสาเหตุอื่น นอกเหนือจากภาวะความดันเลือดสูง |
13/20 |
17/20 |
- |
|
2. หากท่านได้รับยานี้ โดยไม่ได้มีภาวะความดันเลือดสูง แต่ฉลากหน้าซองยาเขียนว่า
ลดความดันเลือดสูง ท่านจะถาม /ปรึกษาใคร |
20/20 |
20/20 |
- |
|
3. อาการไอเรื้อรังที่เกิดจากผลข้างเคียงของยานี้มีลักษณะไออย่างไร |
17/20 |
19/20 |
- |
|
4. อาการไอจากการใช้ยานี้สามารถรักษาได้ด้วยยาแก้ไอหรือยาปฏิชีวนะได้หรือไม่ |
16/20 |
18/20 |
- |
|
5. หากเกิดอาการไอจากการใช้ยาตัวนี้ ท่านจะทำอย่างไร |
17/20 |
19/20 |
- |
|
6. ถ้าท่านหยุดยาเองเพื่อระงับอาการไอเรื้อรังที่เกิดจากยานี้จะทำให้มีผลต่อความดันเลือดอย่างไร |
20/20 |
18/20 |
- |
|
7. ยานี้ห้ามใช้ในหญิงที่มีอายุครรภ์กี่เดือน |
10/20 |
19/20 |
- |
glipizide |
1. แพทย์ให้ยานี้เพื่อรักษาโรคอะไร |
20/20 |
20/20 |
- |
|
2. หากท่านใช้ยาไม่ถูกต้องตามที่แพทย์สั่งจะมีผลอย่างไรต่อระดับน้ำตาลในเลือด |
16/20 |
17/20 |
- |
|
3. ท่านทราบหรือไม่ว่าอาการน้ำตาลในเลือดต่ำ หากแก้ไขไม่ทันจะทำให้เกิดอะไรขึ้นได้ |
18/20 |
19/20 |
- |
|
4. ท่านคิดว่าท่านสามารถปรับ เพิ่มหรือลดยานี้ ด้วยตัวท่านเองได้หรือไม่ |
20/20 |
19/20 |
- |
|
5. หากท่านต้องการให้การรักษาด้วยยานี้ได้ผลท่านต้องปฏิบัติตัวอย่างไรร่วมด้วย |
19/20 |
20/20 |
- |
|
6. อาการน้ำตาลในเลือดต่ำมีลักษณะแสดงออกอย่างไร |
18/20 |
20/20 |
- |
|
7. หากมีอาการน้ำตาลต่ำในเลือด ท่านจะปฏิบัติตัวอย่างไร |
20/20 |
17/20 |
- |
metformin |
1. จงอธิบายความเข้าใจของท่าน หลังจากได้ยินประโยคนี้ |
11/20 |
15/20 |
17/20 |
เบาหวานชนิดที่ 2 ทุกรายควรได้รับยานี้เป็นขนานแรก |
|
2. หากท่านต้องการให้การรักษาด้วยยานี้ได้ผลท่านต้องปฏิบัติตัวอย่างไรร่วมด้วย |
19/20 |
20/20 |
20/20 |
|
3. ยานี้ทำให้เกิดอาการ หิว มือสั่น ใจสั่น ได้ ใช่หรือไม่ |
16/20 |
16/20 |
18/20 |
|
4. ยานี้มีข้อห้ามใช้กับโรคใด เพราะเหตุใด |
16/20 |
18/20 |
18/20 |
|
5. หากท่านมีข้อห้ามใช้ยาตัวนี้ แต่ได้รับยาตัวนี้ตามแพทย์สั่ง อาจเกิดผลข้างเคียงที่รุนแรงได้ คือ |
14/20 |
18/20 |
18/20 |
|
6. หากท่านรับประทานยานี้อยู่ แล้วต้องเอกซเรย์ด้วยการฉีดสี ท่านจะต้องทำอย่างไร |
18/20 |
19/20 |
18/20 |
simvastatin |
1. หลังจากกินยานี้แล้วมีผลต่อ ระดับคอเลสเตอรอล |
13/20 |
16/20 |
17/20 |
|
แอลดีแอล ไตรกลีเซอไรด์ และเอชดีแอลอย่างไร |
|
|
|
|
2. การกินยานี้มีผลอย่างไรต่อโรคหลอดเลือดหัวใจ และสมอง |
16/20 |
17/20 |
18/20 |
|
3. หากท่านไม่ได้มีไขมันในเลือดสูง แต่ได้รับยานี้ท่านทราบหรือไม่ว่าแพทย์จ่ายยานี้เพราะเหตุใด |
17/20 |
15/20 |
17/20 |
|
4. นอกจากกินยาตามแพทย์สั่งแล้ว หากท่านต้องการควบคุมไขมันในเลือดให้ได้ผล
ท่านต้องปฏิบัติตัวอย่างไรร่วมด้วย |
20/20 |
20/20 |
20/20 |
|
5. การได้รับยานี้อาจทำให้เกิดภาวะที่ เป็นอันตรายอย่างไร |
12/20 |
17/20 |
17/20 |
|
6. หากท่านมีภาวะกล้ามเนื้อลายสลายรุนแรง ต้องปฏิบัติตัวอย่างไร |
17/20 |
18/20 |
20/20 |
ตารางที่ 2 การปรับข้อความฉลากยาเสริม
ฉลากยาเสริม |
ฉลากยาต้นแบบ |
ฉลากยาเสริมที่มีการปรับ/ข้อเสนอแนะ |
ฉลากยาเสริมที่มีการปรับ/ข้อเสนอแนะ |
พัฒนาครั้งที่ 1 |
พัฒนาครั้งที่ 2 |
allopurinol |
1. ห้ามใช้ยานี้โดยเด็ดขาด ถ้าเคยแพ้ยานี้ |
1. ยานี้ใช้สำหรับผู้มีกรดยูริกในเลือดสูงร่วมกับมีอาการเช่น ปวดข้อจากโรคเกาต์ มีนิ่วในทางเดินปัสสาวะหรือมีปุ่มนูนตามข้อที่เกิดจากโรคเกาต์ร่วมด้วย/สลับกับข้อ 4 เพราะควรเริ่มต้นด้วย ข้อบ่งใช้ของยานี้ |
|
|
2. สังเกตการมีผื่นตามผิวหนังหลังใช้ยานี้เพราะอาจเกิดการแพ้ทางผิวหนังอย่างรุนแรงได้เฉพาะในช่วง 2 เดือนแรกของการใช้ยา |
2. ควรสังเกตการมีผื่นตามผิวหนังหลังใช้ยานี้เพราะอาจเกิดการแพ้ทางผิวหนังอย่างรุนแรงได้เช่น ผื่นคัน ผิวหนังแห้งลอก ตุ่มพอง เป็นต้น โดยเฉพาะในช่วง 2 เดือนแรกของการใช้ยา /เพิ่มอาการที่อาจเกิดขึ้นจากการใช้ยา |
|
|
3. หยุดยาทันทีถ้ามีผื่นขึ้น เป็นไข้ ตาแดง หรือแผลในปากหลังใช้ยา |
3. หยุดยาทันทีถ้ามีผื่นขึ้นเป็นไข้ ตาแดง หรือมีแผลในปากหลังใช้ยา |
|
|
4. ผู้มีกรดยูริกสูงในเลือดเพียงประการเดียวไม่ควรใช้ยานี้แต่ควรใช้เมื่อมีอาการอื่นร่วมด้วย เช่นมีอาการปวดข้อจากโรคเกาต์มีนิ่วในทางเดินปัสสาวะหรือมีปุ่มนูนตามข้อที่เกิดจากโรคเกาต์ร่วมด้วย |
4. ห้ามใช้ยานี้โดยเด็ดขาดถ้าเคยแพ้ยานี้ /สลับกับ ข้อ 1เพราะควรเริ่มต้นด้วย
ข้อบ่งใช้ของยานี้ |
|
amlodipine |
1. แพทย์อาจใช้ยานี้ด้วยสาเหตุอื่นนอกเหนือจากภาวะความดันเลือดสูงหากสงสัยให้ปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกร |
1. แพทย์อาจใช้ยานี้ด้วยสาเหตุอื่นนอกเหนือจากภาวะความดันเลือดสูงเช่น โรคหลอดเลือดหัวใจ และอาการเจ็บหน้าอก เป็นต้นหากสงสัยให้ปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกร /ควรยกตัวอย่างโรคอื่นๆที่สามารถใช้ยานี้ได้เพื่อให้ผู้ใช้ยาเกิด
ความเข้าใจยิ่งขึ้น |
- |
|
2. ยานี้อาจทำให้เกิดการบวมที่เท้าซึ่งเกิดจากการขยายตัวของหลอดเลือดแดงขนาดเล็กที่ส่วนปลายของร่างกายส่วนใหญ่เป็นการบวมในระดับน้อยถึงปานกลางและมักไม่จำเป็นต้องหยุดยาเนื่องจากไม่เป็นอันตรายต่อผู้ป่วยแต่เมื่อมีอาการบวมควรแจ้งให้แพทย์ทราบอาการบวมนี้ไม่ได้หมายถึงการเป็นโรคไต |
2. ยานี้อาจทำให้เกิดการบวมที่มือและที่เท้าได้ เป็นผลข้างเคียงของยา ซึ่งเกิดจากการขยายตัวของหลอดเลือดแดงขนาดเล็กที่ส่วนปลายของร่างกายส่วนใหญ่เป็นการบวมในระดับน้อยถึงปานกลาง และไม่จำเป็นต้องหยุดยาเนื่องจากไม่เป็นอันตรายต่อผู้ป่วย แต่เมื่อมีอาการบวมควรแจ้งให้แพทย์ทราบอาการบวมนี้ไม่ได้หมายถึงการเป็นโรคไต/เพิ่มเติมผลข้างเคียงของยาพร้อมทั้งขีดเส้นใต้ข้อความในประเด็นที่สำคัญ |
- |
|
3. ควรดูแลสุขภาพช่องปากให้ดี เพื่อป้องกันภาวะเหงือกงอกเกิน |
3. ควรดูแลสุขภาพช่องปากให้ดีเพื่อป้องกันภาวะเหงือกงอกเกิน |
- |
enalapril |
1. แพทย์อาจใช้ยานี้ด้วยสาเหตุอื่นนอกเหนือจากภาวะความดันเลือดสูงหากสงสัยให้ปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกร |
1. แพทย์อาจใช้ยานี้ด้วยสาเหตุอื่นนอกเหนือจากภาวะความดันเลือดสูง เช่น โรคไต โรคหัวใจ เป็นต้นหากสงสัยให้ปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกร /ควรยกตัวอย่างโรคอื่นๆที่สามารถใช้ยานี้ได้เพื่อความเข้าใจที่มากขึ้น |
|
|
2. ยานี้อาจทำให้เกิดอาการไอเรื้อรัง ลักษณะไอแบบแห้งๆ หรือกระแอมรู้สึกคันในลำคออาการนี้เป็นผลข้างเคียงจากยาซึ่งรักษาไม่ได้ด้วยยาแก้ไอหรือยาอื่นใดรวมทั้งยาปฏิชีวนะเมือหยุดยาอาการไอจะหายไปในเวลาไม่กี่วันผู้ป่วยไม่ควรหยุดยาเองเพราะจะทำให้ความดันเลือดเพิ่มสูงขึ้นแต่ควรแจ้งให้แพทย์ทราบว่ามีอาการไอซึ่งแพทย์จะทำการวินิจฉัยและเปลี่ยนเป็นยากลุ่มอื่นให้แทน |
2. ยานี้อาจทำให้เกิดการไอเรื้อรังลักษณะไอแบบแห้งๆ หรือกระแอม รู้สึกคันในลำคอ อาการนี้เป็นผลข้างเคียงจากยาซึ่งรักษาไม่ได้ด้วยยาแก้ไอ หรือยาอื่นใดรวมทั้งยาปฏิชีวนะเมื่อหยุดยาอาการไอจะหายไปในเวลาไม่กี่วัน ผู้ป่วยไม่ควรหยุดยาเองเพราะจะทำให้ความดันเลือดเพิ่มสูงขึ้น แต่ควรแจ้งให้แพทย์ทราบว่ามีอาการไอ/ขีดเส้นใต้ข้อความที่ต้องการเน้นความสำคัญ |
|
|
3. ห้ามใช้กับหญิงมีครรภ์ช่วงไตรมาส 2,3 |
3. ห้ามใช้ยานี้กับหญิงตั้งครรภ์ในช่วงเดือนที่ 4-9 ของการตั้งครรภ์/เปลี่ยนจากคำว่าไตรมาสเป็นคำว่าเดือนเพราะผู้รับบริการไม่เข้าใจคำว่าไตรมาสคืออะไร |
|
glipizide |
1. ยานี้เป็นยาต้านเบาหวาน ใช้ลดน้ำตาลในเลือดถ้าใช้ไม่ถูกต้องจะทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดต่ำซึ่งหากแก้ไขไม่ทันอาจมีความพิการทางสมองหรือเสียชีวิตได้ |
1. ยานี้เป็นยาต้านเบาหวานใช้ลดน้ำตาลในเลือดควรใช้ตามแพทย์สั่งอย่างเคร่งครัดไม่ลดหรือเพิ่มขนาดยาเองถ้าใช้ไม่ถูกต้องจะทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดต่ำซึ่งหากแก้ไขไม่ทันอาจมีความพิการทางสมองหรือเสียชีวิตได้ /รวมข้อ 1 กับ ข้อ 2 ไว้ด้วยกัน เพราะมีเนื้อหาที่ต่อเนื่องกันและขีดเส้นใต้ข้อความที่ต้องการเน้นความสำคัญ |
- |
|
2. ควรใช้ยาต้านเบาหวานตามแพทย์สั่งอย่างเคร่งครัด ไม่ลดหรือเพิ่มขนาดยาเอง |
2. ตัวอย่างอาการน้ำตาลในเลือดต่ำได้แก่ รู้สึกหิว หน้าซีด คลื่นไส้ เหงื่อแตก ปวดศีรษะ ปากชา มือสั่นใจสั่นเป็นต้น แก้ไขได้โดยอมลูกอมหรือน้ำหวานทันที หากมีอาการรุนแรง ได้แก่ หมดสติ พูดจาสับสนให้ญาติรีบนำมาส่งโรงพยาบาล /สลับข้อ 4 มาเป็นข้อ 2 เนื่องจากจะได้มีใจความสำคัญที่ต่อเนื่องกับข้อ 1 และเข้าใจได้ง่าย |
- |
|
3. การใช้ยานี้ต้องทำควบบู่ไปกับการควบคุมอาหารและการออก
กำลังกายอย่างสม่ำเสมอ มิฉะนั้นจะรักษาไม่ได้ผล |
3. การใช้ยานี้ต้องทำควบคู่ไปกับการควบคุมอาหารและการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอมิฉะนั้นจะรักษาไม่ได้ผล |
- |
|
4. ตัวอย่างอาการน้ำตาลต่ำในเลือด ได้แก่รู้สึกหิว หน้าซีด คลื่นไส้ เหงื่อแตกปวดศีรษะ ปากชา มือสั่น ใจสั่น เป็นต้นหากมีอาการรุนแรงควรดื่มน้ำหวานและรีบไปโรงพยาบาล |
- |
- |
metformin |
1. เบาหวานชนิดที่ 2 ทุกรายควรได้รับยานี้ เป็นยาขนานแรก (ยกเว้นมีข้อห้ามใช้)
2. การใช้ยานี้ต้องทำควบคู่ไปกับการควบคุมอาหารและออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอมิฉะนั้นจะรักษาไม่ได้ผล |
1. ยานี้ใช้เป็นยาขนานแรกในการรักษาผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 (ยกเว้นผู้ป่วยมีข้อห้ามใช้)/เรียงประโยคใหม่โดยยังคงใจความสำคัญเดิมเพื่อให้ผู้ใช้ยาเข้าใจได้ง่าย
2. การใช้ยานี้ต้องทำควบคู่ไปกับการควบคุมอาหารและการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ มิฉะนั้นจะรักษาไม่ได้ผล |
1. ยานี้ใช้เป็นขนานแรก(ยาตัวแรก)ในการรักษาผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 2 (ยกเว้นผู้ป่วยมีข้อห้ามใช้) /เพิ่มคำว่ายาตัวแรกวงเล็บไว้ท้ายคำว่าขนานแรก
2. การใช้ยานี้ต้องทำควบคู่ไปกับการควบคุมอาหารและการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ มิฉะนั้นจะรักษาไม่ได้ผล |
|
3. โดยทั่วไปยานี้ไม่ทำให้เกิดอาการน้ำตาลในเลือดต่ำ (หิว มือสั่น ใจสั่น) |
3. ยานี้ไม่ทำให้เกิดอาการน้ำตาลในเลือดต่ำ (หิว มือสั่น ใจสั่น) |
3. ยานี้อาจทำให้เกิดอาการน้ำตาลในเลือดต่ำ (หิว มือสั่น ใจสั่น) แต่เกิดได้น้อย |
|
4. ห้ามใช้กับถ้ามีไตวายเรื้อรังขั้นรุนแรง (ระยะที่ 4 และ 5) เนื่องจากยาจะสะสมและนำไปสู่ภาวะกรดเกินในเลือดซึ่งเป็นผลข้างเคียงรุนแรงที่อาจทำให้เสียชีวิตได้ |
4. ห้ามใช้กับผู้ที่มีไตวายเรื้อรังเพราะจะทำให้เลือดเป็นกรด ซึ่งเป็นผลข้างเคียงที่รุนแรงและอาจทำให้เสียชีวิตได้ /ตัดข้อความที่ยาวจนเกินไปแต่ยังมีความหมายคงเดิม |
4. ห้ามใช้กับผู้ที่มีไตวายเรื้อรังเพราะจะทำให้เลือดเป็นกรด ซึ่งเป็นผลข้างเคียงที่รุนแรงและอาจทำให้เสียชีวิตได้ |
|
5. ปรึกษาแพทย์เพื่อหยุดใช้ยานี้ชั่วคราวกรณีต้องเอกซเรย์ด้วยการฉีดสี (สารทึบรังสี) |
5. ปรึกษาแพทย์เพื่อหยุดใช้ยานี้ชั่วคราวกรณีต้องเอกซเรย์ด้วยการฉีดสี (สารทึบรังสี) |
5. ปรึกษาแพทย์เพื่อหยุดใช้ยานี้ชั่วคราว กรณีต้องเอกซเรย์ด้วยการฉีดสี (สารทึบรังสี) |
simvastatin |
1. ยานี้ใช้ลดไขมันเลวในเลือด ได้แก่ คอเลสเตอรอล แอลดีแอล และไตรกลีเซอไรด์ช่วยเพิ่มไขมันดี
คือ เอชดีแอลได้บ้าง |
1. ยานี้ใช้ลดไขมันไม่ดีในเลือด ได้แก่คอเลสเตอรอล แอลดีแอล และไตรกลีเซอไรด์ช่วยเพิ่มไขมันดีคือเอชดีแอลได้บ้าง /เปลี่ยนจากคำว่าไขมันเลวเป็นไขมันไม่ดีพร้อมทั้งขีดเส้นใต้เพื่อเน้นความสำคัญ ไขมันดี กับ ไขมันไม่ดี, ภาวะกล้ามเนื้อลายสลายเป็นอันตรายสำคัญ |
1. ยานี้ใช้ลดไขมันไม่ดีในเลือด ได้แก่คอเลสเตอรอล แอลดีแอล และไตรกลีเซอไรด์ช่วยเพิ่มไขมันดีคือเอชดีแอลได้บ้าง |
|
2. ใช้เพื่อป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจและสมองในคนที่มีความเสี่ยงสูงหรือใช้ป้องกันการกลับเป็นซ้ำของผู้เป็นโรคหลอดเลือดหัวใจและสมองแล้ว |
2. ใช้เพื่อป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจและสมองในคนที่มีความเสี่ยงสูงหรือใช้ป้องกันการกลับเป็นซ้ำของผู้เป็นโรคหลอดเลือด หัวใจและสมองแล้ว |
2. ใช้เพื่อป้องกันโรคหลอดเลือดหัวใจและสมองในคนที่มีความเสี่ยงสูง หรือใช้ป้องกันการกลับเป็นซ้ำของผู้เป็นโรคหลอดเลือด หัวใจและสมองแล้ว /ควรปรับแก้โดย ขีดเส้นใต้ข้อความสำคัญที่ควรทราบ |
|
3. การควบคุมไขมันในเลือดให้ได้ผลต้องควบคุมอาหารออกกำลังกายและควบคุมน้ำหนักร่วมด้วย และควรหยุดสูบบุหรี่ |
3. การควบคุมไขมันในเลือดให้ได้ผลต้องควบคุมอาหาร ออกกำลังกาย และควบคุมน้ำหนักร่วมด้วยควรหยุดสูบบุหรี่ด้วย |
3. การควบคุมไขมันในเลือดให้ได้ผลต้องควบคุมอาหาร ออกกำลังกาย และควบคุมน้ำหนักร่วมด้วย ควรหยุดสูบบุหรี่ด้วย |
|
4. ภาวะกล้ามเนื้อลายสลายเป็นอันตรายไม่มีสาเหตุ หากมีอาการรุนแรงต้องหยุดยาทันที |
4. ภาวะกล้ามเนื้อลายสลายเป็นอันตรายสำคัญของยานี้ คือ ทำให้ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อรุนแรงโดยไม่มีสาเหตุปัสสาวะมีสีน้ำตาล หากพบอาการดังนี้ต้องหยุดใช้ยาและปรึกษาแพทย์ทันที /เพิ่มข้อความที่สื่อความหมายถึงภาวะกล้ามเนื้อลายสลาย |
4. ภาวะกล้ามเนื้อลายสลายเป็นอันตรายสำคัญของยานี้ คือ ทำให้ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อรุนแรงโดยไม่มีสาเหตุปัสสาวะมีสีน้ำตาล หากพบอาการดังนี้ต้องหยุดใช้ยาและปรึกษาแพทย์ทันที |
ตารางที่ 3 สรุปผลเปรียบเทียบก่อนและหลังการปรับปรุงฉลากยาเสริม
ฉลากยาเสริม |
ผลการประเมิน (ครั้งที่ 1) |
การปรับฉลากยาเสริม (ครั้งที่ 1) |
ผลการประเมิน (ครั้งที่ 2) |
การปรับฉลากยาเสริม (ครั้งที่ 2) |
ผลการประเมิน (ครั้งที่ 3) |
|
|
allopurinol |
ข้อคำถามที่กลุ่มตัวอย่างมีความเข้าใจผ่านเกณฑ์มีจำนวน 3 ข้อ คือข้อ 1, 2, 4และไม่ผ่านเกณฑ์มีจำนวน 2 ข้อ คือข้อ 3, 5 |
ปรับข้อความให้เข้าใจง่ายพร้อมยกตัวอย่างประกอบเพิ่มเติมในเรื่องของอาการแพ้ยา และเริ่มต้นด้วยข้อบ่งใช้ยานี้ |
กลุ่มตัวอย่างมีความเข้าใจผ่านเกณฑ์ทุกข้อ |
- |
- |
|
amlodipine |
กลุ่มตัวอย่างมีความเข้าใจผ่านเกณฑ์มีจำนวน 3 ข้อ คือข้อ 2, 4, 6 และไม่ผ่านเกณฑ์มีจำนวน 3 ข้อ คือ ข้อ 1, 3, 5 |
ยกตัวอย่างโรคอื่นๆที่สามารถใช้ยานี้ได้เพิ่มคำอธิบาย เพื่อให้เกิดความเข้าใจมากยิ่งขึ้น |
กลุ่มตัวอย่างมีความเข้าใจผ่านเกณฑ์ทุกข้อ |
- |
- |
|
enalapril |
กลุ่มตัวอย่างมีความเข้าใจผ่านเกณฑ์มีจำนวน 5 ข้อ คือ ข้อ 2, 3, 4, 5, 6 และไม่ผ่านเกณฑ์ มีจำนวน 2 ข้อ คือ ข้อ 1, 7 |
ยกตัวอย่างโรคอื่นๆที่สามารถใช้ยานี้ได้เพื่อให้เกิดความเข้าใจยิ่งขึ้น ขีดเส้นใต้ข้อความที่สำคัญและปรับข้อความให้เข้าใจง่าย |
กลุ่มตัวอย่างมีความเข้าใจผ่านเกณฑ์ทุกข้อ |
- |
- |
|
glipizide |
กลุ่มตัวอย่างมีความเข้าใจผ่านเกณฑ์ทุกข้อแต่มติจากสหวิชาชีพให้มีการปรับแก้ไขบางข้อความ |
เน้นย้ำข้อความที่สำคัญรวมเนื้อหาที่เกี่ยวข้องไว้ด้วยกัน เรียงลำดับข้อความที่มีความต่อเนื่องกัน |
กลุ่มตัวอย่างมีความเข้าใจผ่านเกณฑ์ทุกข้อ |
- |
- |
|
metformin |
กลุ่มตัวอย่างมีความเข้าใจผ่านเกณฑ์มีจำนวน 4 ข้อ คือข้อ 2, 3, 4, 6 และไม่ผ่านเกณฑ์ มีจำนวน 2 ข้อคือ ข้อ 1, 5 |
เรียงประโยคใหม่โดยยังคงใจความสำคัญเดิมเพื่อเพิ่มเข้าใจ และปรับข้อความให้กระชับชัดเจน |
กลุ่มตัวอย่างมีความเข้าใจผ่านเกณฑ์มีจำนวน 5 ข้อ คือข้อ 2, 3, 4, 5, 6 และไม่ผ่านเกณฑ์ มีจำนวน 1ข้อ คือ ข้อ 1 |
เพิ่มคำอธิบายเพิ่มเติมและปรับข้อความให้ชัดเจน |
กลุ่มตัวอย่างมีความเข้าใจผ่านเกณฑ์ทุกข้อ |
|
simvastatin |
กลุ่มตัวอย่างมีความเข้าใจผ่านเกณฑ์มีจำนวน 4 ข้อ คือข้อ 2, 3, 4, 6 และไม่ผ่านเกณฑ์ มีจำนวน 2 ข้อคือ ข้อ 1, 5 |
ปรับข้อความให้กระชับแต่คงความหมายเดิมปรับข้อความให้เข้าใจง่าย ขีดเส้นใต้ข้อความที่สำคัญ และเพิ่มคำอธิบาย |
กลุ่มตัวอย่างมีความเข้าใจผ่านเกณฑ์มีจำนวน 5 ข้อ คือข้อ 1, 2, 4, 5, 6 และไม่ผ่านเกณฑ์ มีจำนวน 1ข้อ คือ ข้อ 3 |
ขีดเส้นใต้ข้อความสำคัญ |
กลุ่มตัวอย่างมีความเข้าใจผ่านเกณฑ์ทุกข้อ |
|

ภาพที่ 1 การพัฒนาฉลากยาอัลโลพูรินอล (Allopurinol) (A): ฉลากยาเสริมตามโครงการ RDU Hospital
(B): ฉลากยาเสริมที่ปรับแก้ไขครั้งที่ 1

ภาพที่ 2 การพัฒนาฉลากยาแอมโลดิพีน (Amlodipine) (C): ฉลากยาเสริมตามโครงการ RDU Hospital
(D): ฉลากยาเสริมที่ปรับแก้ไขครั้งที่ 1

ภาพที่ 3 การพัฒนาฉลากยาอีนาลาพริล (Enalapril) (E): ฉลากยาเสริมตามโครงการ RDU Hospital
(F): ฉลากยาเสริมที่ปรับแก้ไขครั้งที่ 1

ภาพที่ 4 การพัฒนาฉลากยากริบพิไซด์ (Glipizide) (G): ฉลากยาเสริมตามโครงการ RDU Hospital
(H): ฉลากยาเสริมที่ปรับแก้ไขครั้งที่ 1

ภาพที่ 5 การพัฒนาฉลากยาเมตฟอร์มิน (Metformin) (I): ฉลากยาเสริมตามโครงการ RDU Hospital
(J): ฉลากยาเสริมที่ปรับแก้ไขครั้งที่ 1 (K): ฉลากยาเสริมที่ปรับแก้ไขครั้งที่ 2

ภาพที่ 6 การพัฒนาฉลากยาซิมวาสแตติน (Simvastatin) (L): ฉลากยาเสริมตามโครงการ RDU Hospital
(M): ฉลากยาเสริมที่ปรับแก้ไขครั้งที่ 1 (N): ฉลากยาเสริมที่ปรับแก้ไขครั้งที่ 2
วิจารณ์
จากผลการศึกษาพบว่า ฉลากยาเสริมต้นแบบของโครงการ RDU Hospital มีเนื้อหามากเกินไป และมีเนื้อหาบางส่วนผู้รับบริการอ่านแล้วไม่เข้าใจ จึงควรได้รับการปรับปรุงเนื้อหาบนฉลากยาเสริมให้ผู้รับบริการมีความเข้าใจมากขึ้น ซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัยของ จิรวรรณ1 ได้ทำการศึกษา เรื่อง การประเมินฉลากยาเสริมสำหรับผู้ป่วยนอกโดยบุคลากรทางการแพทย์ พบว่า ควรปรับปรุงเนื้อหาฉลากยาเสริม เพราะเนื้อหาบนฉลากยาเสริมยาว และเป็นวิชาการมากเกินไป ควรปรับปรุงเนื้อหาให้อ่านง่าย ดังนั้น งานวิจัยนี้จึงได้พัฒนาฉลากยาเสริมจากฉลากยาเสริมต้นแบบของโครงการ RDU Hospital โดยประเมินระดับความเข้าใจของผู้มารับบริการ พบว่า ผู้รับบริการมีระดับความเข้าใจไม่ผ่านตามเกณฑ์ที่กำหนด จึงมีการปรับข้อความบนฉลากยาเสริมดังนี้
1) ฉลากยาเสริม allopurinol ปรับข้อความ โดยการเริ่มต้นด้วย ข้อบ่งใช้ของยา เพิ่มคำอธิบาย ยกตัวอย่างประกอบ ซึ่งสอดคลองกับงานวิจัยของ กิตติยา และคณะ2 ที่ได้ศึกษาวิจัย เรื่อง ความเข้าใจต่อฉลากยาช่วยบนซองยาของผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลขอนแก่น พบว่า ข้อความบางส่วนสื่อสารไม่เข้าใจ และผู้ป่วยต้องการคำอธิบายเพิ่มเติม จึงจำเป็นต้องปรับปรุงข้อความบนฉลากยาช่วยบนซองยาให้มีความเหมาะสมมากยิ่งขึ้น
2) ฉลากยาเสริมของยา amlodipine และenalapril ปรับข้อความโดยยกตัวอย่างโรคอื่นๆที่สามารถใช้ยานี้ได้ เพื่อให้ผู้ใช้ยาเกิดความเข้าใจมากยิ่งขึ้น เพิ่มเติมลักษณะอาการซึ่งเป็นผลข้างเคียงของยา พร้อมทั้งขีดเส้นใต้ข้อความประเด็นที่สำคัญ เนื่องจาก ข้อความบางส่วนสื่อสารไม่เข้าใจ และต้องการคำอธิบายเพิ่มเติม ซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัยของ Davis และคณะ4 ที่ได้ศึกษาวิจัย เรื่อง การปรับปรุงแก้ไขความเข้าใจต่อฉลากยา พบว่า การใช้คำที่ชัดเจนบนฉลากยาจะทำให้ผู้ป่วยมีความเข้าใจมากขึ้น
3) ฉลากยาเสริมของยา metformin และglipizide ปรับข้อความ โดยการเรียงประโยคใหม่โดยที่ยังคงใจความสำคัญเดิม ตัดข้อความให้กระชับ ให้ผู้ใช้ยาเข้าใจได้ง่าย แต่ยังมีความหมายคงเดิม สลับข้อที่มีเนื้อหาต่อเนื่องมาไว้ด้วยกัน ยกตัวอย่างอาการที่อาจเกิดขึ้นได้จากภาวะของโรค ซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัยของ จิรวรรณ1 ที่ได้ศึกษาวิจัยเรื่อง การประเมินฉลากยาเสริมสำหรับผู้ป่วยนอกโดยบุคลากรทางการแพทย์ พบว่า ข้อความบนฉลากยาเสริมควรเป็นข้อความที่สั้น กะทัดรัด ได้ใจความ และอ่านเข้าใจง่าย
4) ฉลากยาเสริมของยา simvasatin ปรับข้อความ โดยการเปลี่ยนไปใช้ภาษาที่เข้าใจง่ายพร้อมทั้งขีดเส้นใต้เพื่อเน้นข้อความสำคัญ อธิบายขยายความเนื้อหาที่ควรทราบ ซึ่งสอดคลองกับงานวิจัยของกิตติยา และคณะ2 ที่ได้ศึกษาวิจัยเรื่อง ความเข้าใจต่อฉลากยาช่วยบนซองยาของผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลขอนแก่น พบว่า ข้อความบางส่วนสื่อสารไม่เข้าใจ และผู้ป่วยต้องการคำอธิบายเพิ่มเติมจึงจำเป็นต้องปรับปรุงข้อความบนฉลากยาช่วยบนซองยาให้มีความเหมาะสมมากยิ่งขึ้น
สรุป
ฉลากยาเสริมต้นแบบจากโครงการ RDU Hospital ของแต่ละรายการยาถูกนำมาประเมินความเข้าใจของผู้มารับบริการ ครั้งละ 20 คน และปรับข้อความบนฉลากยาเสริมจากผลการประเมินความเข้าใจการระดมความคิดเห็นจากสหวิชาชีพ รวมถึงความคิดเห็นจากผู้มารับบริการ จนระดับความเข้าใจมากกว่าหรือเท่ากับร้อยละ 80 จากการศึกษาพบว่าระดับความเข้าใจต่อฉลากยาเสริมของผู้มารับบริการที่เพิ่มขึ้น เนื่องมาจากการใช้คำแนะนำบนฉลากยาที่ชัดเจน เข้าใจง่าย การยกตัวอย่างประกอบคำอธิบาย ทำให้ได้ฉลากยาเสริมที่สอดคล้องกับความเข้าใจของผู้มารับบริการอย่างแท้จริง
กิตติกรรมประกาศ
ผู้วิจัยขอขอบคุณ ผู้อำนวยการ ข้าราชการ และเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลมโนรมย์ที่ได้ให้ความอนุเคราะห์ในการวิจัยครั้งนี้ให้ดำเนินการแล้วเสร็จไปได้ด้วยดี
เอกสารอ้างอิง
1. จิรวรรณ แสงรัศมี. การประเมินฉลากยาเสริมสำหรับผู้ป่วยนอกโดยบุคลากรทางการแพทย์. วารสารเภสัชกรรมไทย 2559; 2: 318-30.
2. กิตติยา ปิยะศิลป์, ปาริฉัตร ม่วงขาว, ณัฐวดี บุรัตน์, ภาพพิมพ์ ประเสริฐสังข์ และสุณี เลิศสินอุดม. ความเข้าใจต่อฉลากช่วยบนซองยาของผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลขอนแก่น.วารสารเภสัชศาสตร์อีสาน2557; 9(ฉบับพิเศษ): 88-92.
3. ธิดาพร เสมสวัสดิ์. การพัฒนาและทดสอบการนำไปใช้ของเอกสารกำกับยาสำหรับประชาชน:กรณีศึกษายาแอสไพรินและยานาพรอกเซน. วารสารอาหารและยา 2557; 2: 59-64.
4. Davis TC, Federman AD, Bass PF, Jackson RH, Middlebrooks M, Parker RM, et al. Improving patient understanding of prescription drug label instructions. J Gen Intern Med 2009; 1: 57-62.
5. Faulkner L. Beyond the five-user assumption: Benefits of increased sample sizes in usability testing. Behav Res Methods Instrum Comput 2003; 3: 379-83.
6. กระทรวงสาธารณสุข. 2559. สถานการณ์การใช้ยา เหตุผล สภาพปัญหา และปัจจัยที่เกี่ยวข้อง. 12 พฤษภาคม 2561, http://ndi.fda.moph.go.th/uploads/policy_file/20170801152053.pdf
|