วิธีการศึกษา
รูปแบบการศึกษา เป็นการศึกษาและพัฒนา ทำการศึกษาในโรงพยาบาลยโสธรช่วงเดือนกรกฎาคม 2561-เมษายน 2562 จากประชากร 3 กลุ่มคือ ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองขาดเลือดเฉียบพลัน แพทย์เพิ่มพูนทักษะ และอายุรแพทย์ โดยทำการศึกษาในประชากรทุกคนในช่วงเวลาที่ทำการศึกษา ยกเว้นกลุ่มผู้ป่วยมีเกณฑ์การคัดออก ดังนี้ 1. ผู้ป่วยที่อายุน้อยกว่า 18 ปี 2. ผู้ป่วยที่มีภาพเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ด้อยคุณภาพ 3. ผู้ป่วยที่มีภาวะเลือดออกในสมองและ 4. ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองชนิดขาดเลือดเฉียบพลันที่ไม่ได้เกิดจากหลอดเลือดแดง middle cerebral ดำเนินการศึกษา 3 ขั้นตอนคือ
ขั้นตอนที่ 1 ทบทวนข้อมูลเวชระเบียนและภาพเอกซเรย์คอมพิวเตอร์สมองผู้ป่วยย้อนหลังที่เข้าระบบ Stroke Fast Track เดือนมกราคม-มิถุนายน 2561 มีผู้ป่วยทั้งหมด 120 ราย
ขั้นตอนที่ 2 พัฒนาการใช้ ASPECTS และทดลองใช้ในเดือนมกราคม-มีนาคม 2562 มีผู้ป่วยทั้งหมด 72 ราย และมีแพทย์เพิ่มพูนทักษะ 14 ราย และอายุรแพทย์ 7 ราย เป็นผู้ดำเนินกิจกรรมตามแนวทางการใช้ ASPECTS ที่พัฒนาขึ้น มีกระบวนการพัฒนา ดังนี้
1. ประชุมบุคลากรทีมเจ้าหน้าที่ที่ดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองของโรงพยาบาล (รวมอายุรแพทย์ผู้ให้การรักษา) ครั้งที่ 1 เพื่อนำเสนอผลการทบทวนข้อมูลผู้ป่วย ระยะเวลาการให้บริการตามมาตรฐานของ American Heart Association/ American Stroke Association (AHA/ASA) ผลการใช้ ASPECTS ประเมินผู้ป่วย และความต้องการพัฒนาการใช้ ASPECTS ในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองขาดเลือดเฉียบพลัน ให้บุคลากรผู้เกี่ยวข้องรับทราบ และให้ความคิดเห็น
2. พัฒนาแบบประเมิน ASPECTS SCORE CHART และจัดทำคู่มือการประเมิน โดยนำภาพเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ที่ประเมินโดย ASPECTS มากำหนดตำแหน่งที่ประเมินลงในภาพ เพื่อเทียบเคียงให้ผู้ประเมินทราบถึงตำแหน่งที่ต้องประเมิน ทำให้ง่ายในการลงความเห็นว่าตำแหน่งที่พบในภาพปกติหรือผิดปกติ และได้ตรวจสอบแบบคุณภาพแบบประเมินโดยอายุรแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านสมอง 1 ท่าน รังสีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านสมอง 2 ท่าน ที่มีประสบการณ์การอ่าน ASPECTS เพื่อดูความเหมาะสม ความเป็นไปได้ และความเป็นประโยชน์ของแบบประเมิน และการพัฒนาแนวทางการใช้ ASPECTS SCORE CHART ในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองขาดเลือดเฉียบพลันของแพทย์เพิ่มพูนทักษะ
3. ประชุมทีมบุคลากรที่ดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองของโรงพยาบาล (รวมอายุรแพทย์ผู้ให้การรักษา) ครั้งที่ 2 เพื่อร่วมวิเคราะห์และให้ความเห็นต่อแบบประเมิน ASPECTS SCORE CHART คู่มือการประเมิน และแนวทางการใช้ ASPECTS SCORE CHART ในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองขาดเลือดเฉียบพลันของแพทย์เพิ่มพูนทักษะ นำข้อเสนอแนะนำมาพิจารณาปรับปรุงแก้ไข ได้มีคู่มือการประเมิน ASPECTS SCORE CHART ไว้ที่แผนกอุบัติเหตุ และแบบประเมิน (รูปภาพที่ 1) และได้แนวทางการใช้ ASPECTS SCORE CHART ในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองขาดเลือดเฉียบพลันของแพทย์เพิ่มพูนทักษะ (แผนภูมิที่ 1)
4. พัฒนาแพทย์เพิ่มพูนทักษะใช้ ASPECTS SCORE CHART แปลผลภาพเอกซเรย์คอมพิวเตอร์สมองผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองขาดเลือดเฉียบพลัน เพื่อรายงานเป็นข้อมูลภาพถ่ายรังสี (imaging based score) ประกอบการรักษาร่วมกับข้อมูลทางด้านคลินิก (clinical based score) โดยผ่านการสอนเกี่ยวกับการแปลผลและการให้ค่าคะแนน ASPECTS SCORE CHART จากรังสีแพทย์ ดังนี้
1.) การสอนภาคทฤษฎี ใช้เวลา 60 นาที เกี่ยวกับพื้นฐานภาพเอกซเรย์คอมพิวเตอร์สมอง ลักษณะภาพเอกซเรย์สมองของโรคหลอดเลือดสมองขาดเลือดเฉียบพลัน กายวิภาคของสมองและหลอดเลือดแดง middle cerebral
2.) การสอนภาคปฏิบัติ ใช้เวลา 60 นาที โดยสอนการอ่านภาพเอกซเรย์คอมพิวเตอร์สมองผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองขาดเลือดเฉียบพลันที่ผ่านการทบทวนจากรังสีแพทย์แล้ว โดยใช้ ASPECTS SCORE CHART ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น ประเมินจากระบบ PACS ในโรงพยาบาล
3.) การประเมินคุณภาพ โดยหลังการเรียนมีผลการทดสอบความรู้ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 80 และมีความสอดคล้องในการให้คะแนน ASPECTS กับรังสีแพทย์อยู่ในระดับดี
5. ทดลองการใช้ ASPECTS SCORE CHART ตามแนวทางการใช้ ASPECTS SCORE CHART ในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองขาดเลือดเฉียบพลันของแพทย์เพิ่มพูนทักษะ เพื่อประเมินความเป็นไปได้ในการปฏิบัติจริง
ขั้นตอนที่ 3 ประเมินผลการทดลองใช้แนวทางการพัฒนาในเดือนเมษายน 2562
เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา แบ่งเป็น 2 ส่วน 1.)เครื่องมือในการดำเนินงานวิจัย ได้แก่ แบบประเมินและคู่มือการใช้ ASPECTS SCORE CHART และการพัฒนาแพทย์เพิ่มพูนทักษะใช้ ASPECTS SCORE CHART เพื่อรายงานอายุรแพทย์ใช้ประกอบการรักษา 2.)เครื่องมือในการรวบรวมข้อมูลมี 4 ชุด ได้แก่ ชุดที่ 1. แบบประเมินข้อมูลการดูแลผู้ป่วยที่เข้าระบบ Stroke Fast Track เก็บข้อมูลโดยผู้วิจัย ชุดที่ 2. แบบเก็บข้อมูลและประเมินคะแนน ASPECTS SCORE CHART ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองขาดเลือดเฉียบพลัน ของแพทย์เพิ่มพูนทักษะ ระยะเวลาตรวจและแปลผลเอกซเรย์คอมพิวเตอร์สมอง (CT initiation to CT interpretation time) ระยะเวลาแปลผลภาพเอกซเรย์คอมพิวเตอร์สมอง (door to CT interpretation time) การประเมิน ASPECTS SCORE CHART เก็บข้อมูลและประเมินโดยแพทย์เพิ่มพูนทักษะและรังสีแพทย์ประเมิน ASPECTS SCORE CHART ซ้ำ ชุดที่ 3. แบบสอบถามความคิดเห็นของแพทย์เพิ่มพูนทักษะต่อการพัฒนา และจำนวนผู้ป่วยที่แปลผลภาพเอกซเรย์คอมพิวเตอร์สมองด้วย ASPECTS SCORE CHART เก็บข้อมูลโดยให้แพทย์เพิ่มพูนทักษะตอบและส่งผู้วิจัยโดยตรง และชุดที่ 4. แบบสอบถามความคิดเห็นของอายุรแพทย์ผู้ให้การรักษาต่อการพัฒนา เก็บข้อมูลโดยให้อายุรแพทย์ตอบและส่งผู้วิจัยโดยตรง
การวิเคราะห์ข้อมูล วิเคราะห์ด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป โดยใช้สถิติพรรณาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่ามัธยฐาน ค่าพิสัย ค่าสูงสุด ค่าต่ำสุด และสถิติอ้างอิง Mann-Whitney U Test และ Intraclass Correlation Coefficient หรือ ICC
ASPECTS (Alberta Stroke Program Early CT Score) เป็นการให้คะแนนภาพตัดขวาง เอกซเรย์คอมพิวเตอร์สมองเชิงปริมาณ 10 ตำแหน่ง ในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองชนิดขาดเลือด มาเลี้ยงจากหลอดเลือดแดง middle cerebral ซึ่งแบ่งเป็น 10 บริเวณ (แต่ละบริเวณมีค่าคะแนน เท่ากับ 1) โดยคะแนน 10 คือผลอ่านปกติ ส่วนบริเวณที่ขาดเลือดไปเลี้ยงในแต่ละตำแหน่งจะถูกหักคะแนนออกทีละหนึ่งคะแนน ดังนั้นคะแนน 0 หมายถึงเนื้อสมองขาดเลือดกระจายไปทั่วทั้งบริเวณที่เลี้ยงโดยหลอดตามเลือดแดง middle cerebral6
NIHSS (National Institutes of Health Stroke Scale, NIH Stroke Scale) เป็นเครื่องมือประเมินสภาวะทางระบบประสาทและความรุนแรงของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง เฉียบพลัน มีคะแนนตั้งแต่ 0 ถึง 42 โดยคะแนน 0 หมายถึงปกติและคะแนนที่มากขึ้นหมายถึงความบกพร่องที่มากขึ้นซึ่งสูงสุดคือ 42 คะแนน7
mRS (modfied Rankin Scale) เป็นการประเมินระดับความพิการของผู้ป่วยหลังจากเป็น โรคหลอดเลือดสมองมีคะแนนตั้งแต่ 0 ถึง 5 โดย คะแนนสูงแปลว่า มีความพิการมาก 8
BI (The Barthel Activity of Daily Living Index, The Barthel ADL Index) เป็นแบบประเมินการปฏิบัติกิจวัตรประจําวันประกอบด้วย 10 กิจกรรม โดยมีคะแนนรวม 0-100 คะแนนโดย100 หมายถึง สามารถประกอบกิจวัตรประจําวันได้ด้วยตนเองทั้งหมด8
โครงการศึกษานี้ได้ผ่านความเห็นชอบโดยคณะกรรมการจริยธรรมในมนุษย์ในโรงพยาบาล จังหวัดยโสธร เลขที่ YST2019-005
ผลการศึกษา
1. ผลการศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองขาดเลือดเฉียบพลันและการใช้ ASPECTS ประเมินภาพเอกซเรย์คอมพิวเตอร์สมอง
จากการทบทวนข้อมูลผู้ป่วย 120 ราย พบว่า มีอายุเฉลี่ย 61.1 ปี อายุต่ำสุด 18 ปี อายุสูงสุด 101 ปี เพศชาย 62 ราย (ร้อยละ 51.7) เพศหญิง 58 ราย (ร้อยละ 48.3) มีโรคประจำตัวมากที่สุดคือ ภาวะความดันโลหิตสูง 58 ราย (ร้อยละ 48.3) รองลงมาคือ โรคเบาหวาน 52 ราย (ร้อยละ 43.3) ภาวะไขมันในเลือดสูง 25 ราย (ร้อยละ 20.8) ภาวะหัวใจเต้นผิดปกติ 17 ราย (ร้อยละ 14.2) ประวัติเคยเป็นโรคสมองหลอดเลือดสมอง 7 ราย (ร้อยละ 5.8) โรคไตเสื่อม 4 ราย (ร้อยละ 3.3) ประวัติโรคหัวใจขาดเลือด 3 ราย (ร้อยละ 2.5) และพบว่าไม่มีโรคประจำตัว 28 ราย (ร้อยละ 23.3) ส่วนมากมาด้วยอาการชาหรืออ่อนแรงที่ใบหน้าและ/หรือบริเวณแขนขาครึ่งซีกของร่างกาย 112 ราย (ร้อยละ 93.3) รองลงมา พูดไม่ชัด ปากเบี้ยว มุมปากตก น้ำลายไหล กลืนลำบาก 36 ราย (ร้อยละ 30.0) อาการปวดศีรษะ 1 ราย (ร้อยละ 0.8) ซึ่งอาการทางคลินิกและโรคประจำตัวอาจพบได้มากกว่า 1 อย่าง
ข้อมูลการดูแลผู้ป่วยในระบบ Stroke Fast Track ส่วนที่เกี่ยวข้องกับทางรังสีวิทยาพบว่ามัธยฐานระยะเวลาตรวจและแปลผลเอกซเรย์คอมพิวเตอร์สมอง (CT initiation to CT interpretation time) เท่ากับ 29.0 นาที (เป้าหมาย ≤20 นาที) เกินเกณฑ์ที่กำหนดตามแนวทางการรักษาสำหรับผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองชนิดขาดเลือดเฉียบพลันของ AHA/ASA9 และมีผู้ป่วยที่เวลาเกินเกณฑ์ถึงร้อยละ70 มัธยฐานระยะแปลผลเอกซเรย์คอมพิวเตอร์สมอง (door to CT interpretation time) เท่ากับ 36.0 นาที (เป้าหมาย ≤45 นาที) แม้เวลาเป็นไปตามเกณฑ์แต่พบว่ามีผู้ป่วยมีเวลาเกินเกณฑ์ที่กำหนดถึงร้อยละ 34.2
การประเมิน ASPECTS แบ่งเป็น 2 กลุ่มคือ กลุ่ม Better ASPECTS (คะแนน >7) 103 ราย (ร้อยละ 85.8) และ Worse ASPECTS (คะแนน≤7) 17 ราย (ร้อยละ 14.2) ได้รับยาละลายลิ่มเลือด 43 ราย พบ Better ASPECTS 36 ราย (ร้อยละ 83.7) Worse ASPECTS 7 ราย (ร้อยละ 16.3) ไม่ได้รับยาละลายลิ่มเลือด 77 ราย พบ Better ASPECTS 67 ราย (ร้อยละ 87.0) Worse ASPECTS 10 ราย (ร้อยละ 13.0) ผู้ป่วย Better ASPECTS มีคะแนน NIHSS แรกรับและก่อนจำหน่ายน้อยกว่า (สภาวะทางระบบประสาทและความรุนแรงของโรคดีกว่า) คะแนน BI ก่อนจำหน่ายมากกว่า (การปฏิบัติกิจวัตรประจำวันดีกว่า) และคะแนน mRS น้อยกว่า (ความพิการน้อยกว่า) กลุ่ม Worse ASPECTS อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (ตารางที่ 1) และในกลุ่มที่ได้รับยาละลายลิ่มเลือด 43 ราย พบผู้ป่วยมีก้อนเลือดระยะเฉียบพลันในหลอดเลือดแดง middle cerebral (Hyperdense MCA sign) จำนวน 11 ราย (ร้อยละ 25.6) ไม่พบ Hyperdense MCA sign จำนวน 32 ราย (ร้อยละ 74.4) ผู้ป่วยที่พบ Hyperdense MCA sign มีคะแนน NIHSS แรกรับและก่อนจำหน่ายมากกว่า (สภาวะทางระบบประสาทและความรุนแรงของโรคไม่ดีมากกว่า) คะแนน BI ก่อนจำหน่ายน้อยกว่า (การปฏิบัติกิจวัตรประจำวันไม่ดีมากกว่า) และคะแนน mRS มากกว่า (ความพิการมากกว่า) กลุ่ม Worse ASPECTS อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ(ตารางที่ 1)
2. ผลการประเมินหลังพัฒนาการใช้ ASPECTS และทดลองในผู้ป่วย 72 ราย พบผู้ป่วยมีอายุเฉลี่ย 64.0 ปี อายุต่ำสุด 22 ปี อายุสูงสุด 91 ปี แพทย์เพิ่มพูนทักษะแปลผลภาพเอกซเรย์คอมพิวเตอร์สมองผู้ป่วยเฉลี่ย 6.9 ราย/คน สูงสุด 14 คน ต่ำสุด 4 คน ความสอดคล้องระหว่างรังสีแพทย์กับแพทย์เพิ่มพูนทักษะในการให้คะแนน ASPECTS อยู่ในระดับดี (ICC=0.820, 95% CI = 0.712-0.887) มัธยฐานระยะเวลาตรวจและแปลผลภาพเอกซเรย์คอมพิวเตอร์สมอง ระยะเวลาแปลผลภาพเอกซเรย์คอมพิวเตอร์สมองก่อนพัฒนาใช้เวลา 29.0 และ 36.0 นาที หลังพัฒนาใช้เวลา 14.5 และ 23.0 นาที ตามลำดับ ซึ่งลดลงกว่าก่อนพัฒนาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (ตารางที่ 1) และพบผู้ป่วยมีระยะเวลาตรวจและแปลผลภาพเอกซเรย์คอมพิวเตอร์สมองอยู่ในเกณฑ์เพิ่มขึ้นร้อยละ 90.3 เกินเกณฑ์ลดลงเหลือเพียงร้อยละ 9.7 ระยะเวลาแปลผลภาพเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ไม่พบผู้ป่วยเกินเกณฑ์ ความคิดเห็นของแพทย์เพิ่มพูนทักษะและอายุรแพทย์ผู้ให้การรักษาต่อการพัฒนาการใช้ ASPECTS ด้านความเหมาะสม ความเป็นไปได้ และความเป็นประโยชน์ ส่วนมากอยู่ในระดับมากและมากที่สุด
ตารางที่ 1 เปรียบเทียบค่ามัธยฐานความรุนแรงก่อนการรักษา ผลลัพธ์การรักษา (stroke outcome) ระหว่างกลุ่ม Better ASPECTS กับกลุ่ม Worse ASPECTS ระหว่างกลุ่มพบกับกลุ่มไม่พบ hyperdense MCA sign (เฉพาะกลุ่มที่ได้รับยาละลายลิ่มเลือด) และเปรียบเทียบค่ามัธยฐานด้านระยะเวลาการให้บริการด้านรังสีวิทยาก่อนและหลังพัฒนา
รายการเปรียบเทียบ |
Mean |
median |
Mean Rank |
n |
Mann-Whitney U Value |
Mann-Whitney U Prob |
กลุ่ม Better ASPECTS กับกลุ่ม Worse ASPECTS (n=120) |
|
|
|
|
1. NIHSS at ER |
|
|
|
|
|
|
- Better ASPECTS (>7 คะแนน) |
6.3 |
4.0 |
54.5 |
103 |
253 |
0.000** |
- Worse ASPECTS (≤7 คะแนน) |
16.1 |
17.0 |
97.1 |
17 |
|
|
2. NIHSS at discharge |
|
|
|
|
|
|
- Better ASPECTS (>7 คะแนน) |
5.0 |
2.0 |
54.5 |
103 |
256 |
0.000** |
- Worse ASPECTS (≤7 คะแนน) |
14.2 |
17.0 |
96.9 |
17 |
|
|
3. BI at discharge |
|
|
|
|
|
|
- Better ASPECTS (>7 คะแนน) |
73.5 |
80.0 |
66.5 |
103 |
253 |
0.000** |
- Worse ASPECTS (≤7 คะแนน) |
35.9 |
30.0 |
23.9 |
17 |
|
|
4. mRs at discharge |
|
|
|
|
|
|
- Better ASPECTS (>7 คะแนน) |
1.7 |
1.0 |
54.4 |
103 |
237.5 |
0.000** |
- Worse ASPECTS (≤7 คะแนน) |
3.9 |
4.0 |
98.0 |
17 |
|
|
กลุ่มพบกับกลุ่มไม่พบ hyperdense MCA sign เฉพาะกลุ่มที่ได้รับยาละลายลิ่มเลือด (n=43) |
|
|
1. NIHSS at ER |
|
|
|
|
|
|
กลุ่มพบ hyperdense MCA sign |
15.6 |
19.0 |
29.9 |
11 |
89.5 |
0.016* |
กลุ่มไม่พบ hyperdense MCA sign |
10.0 |
9.0 |
19.3 |
32 |
|
|
2. NIHSS at discharge |
|
|
|
|
|
|
กลุ่มพบ hyperdense MCA sign |
15.5 |
16.0 |
34.6 |
11 |
37.5 |
0.000** |
กลุ่มไม่พบ hyperdense MCA sign |
6.6 |
6.0 |
17.7 |
32 |
|
|
3. BI at discharge |
|
|
|
|
|
|
กลุ่มพบ hyperdense MCA sign |
32.7 |
20.0 |
13.2 |
11 |
79.5 |
0.007* |
กลุ่มไม่พบ hyperdense MCA sign |
60.0 |
60.0 |
25.0 |
32 |
|
|
4. mRs at discharge |
|
|
|
|
|
|
กลุ่มพบ hyperdense MCA sign |
4.2 |
5.0 |
38.2 |
11 |
52.5 |
0.000** |
กลุ่มไม่พบ hyperdense MCA sign |
2.3 |
2.0 |
18.1 |
32 |
|
|
กลุ่มก่อน (n=120) และหลังพัฒนา (n=72) ด้านระยะเวลาการให้บริการด้านรังสีวิทยา |
|
|
1. CT initiation to CT interpretation time |
|
|
|
|
|
ก่อนการพัฒนา |
32.1 |
29.0 |
122.9 |
120 |
1,156.5 |
0.000** |
หลังการพัฒนา |
14.1 |
14.5 |
52.6 |
72 |
|
|
2. door to CT interpretation time |
|
|
|
|
|
ก่อนการพัฒนา |
46.7 |
36.0 |
118.1 |
120 |
1,724.5 |
0.000** |
หลังการพัฒนา |
22.8 |
23.0 |
60.5 |
72 |
|
|
|
|
|
|
|
|
|
*มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 **มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001
แผนภูมิที่ 1 แสดงแนวทางการใช้ ASPECTS SCORE CHART ในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองขาดเลือดเฉียบพลันของแพทย์เพิ่มพูนทักษะ

วิจารณ์
การใช้ ASPECTS ประเมินภาพเอกซเรย์คอมพิวเตอร์สมองผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองขาดเลือดเฉียบพลันพบว่า ผู้ป่วยที่มีคะแนน >7 จะมีคะแนน NIHSS ที่ห้องฉุกเฉินและก่อนจำหน่ายที่มีค่าน้อย แสดงว่าผู้ป่วยมีสภาวะทางระบบประสาทและความรุนแรงของโรคน้อย (minor stroke) ทั้งก่อนการรักษาและผลลัพธ์การรักษา มีผลลัพธ์การรักษาด้านความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันได้ดีกว่าและมีความพิการน้อยกว่าผู้ที่ได้รับการประเมินคะแนน ≤7 นั่นคือ การประเมิน ASPECTS สามารถบ่งบอกถึงความรุนแรงของการป่วยจากโรคหลอดเลือดสมองขาดเลือดเฉียบพลันได้ ซึ่งสอดคล้องกับการศึกษาของ Zanzmera และคณะ4 และมีหลายการศึกษาพบว่า ร้อยละ 95 มีโอกาสรอดชีวิตถ้า ASPECTS >7 และร้อยละ 99 จะไม่พบภาวะเลือดออกในสมอง5,10 การพบ Hyperedense MCA sign ในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองขาดเลือดเฉียบพลันจะมีสภาวะทางระบบประสาทและความรุนแรงของโรค การปฏิบัติกิจวัตรประจำวันได้ลดลง และมีความพิการมากกว่าที่ไม่พบ Hyperdense MCA sign อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ซึ่งสอดคล้องกับการศึกษาของสุภัชชา จันทร์ปรีดา และคณะ11 ที่พบว่าการพบ Hyperdense MCA sign มีความสำคัญมากเพราะก่อให้เกิดอาการทางระบบประสาทอย่างรุนแรงส่งผลให้การรักษาผู้ป่วยด้วยการให้ยาละลายลิ่มเลือดทางหลอดเลือดดำที่ไม่ดี ด้านการประเมินตามแนวทางการรักษาของ AHA/ASA พบว่า มัธยฐานระยะเวลาตรวจและแปลผลเอกซเรย์คอมพิวเตอร์สมองเท่ากับ 29.0 นาที ซึ่งนานกว่าเป้าหมาย และระยะเวลาแปลผลภาพเอกซเรย์คอมพิวเตอร์สมองเท่ากับ 36.0 นาที อยู่ในเวลาเป้าหมาย แต่พบจำนวนผู้ป่วยเกินเกณฑ์ถึงร้อยละ 34.2 ทั้งนี้อาจจะเกิดจากต้องรอผลอ่านของรังสีแพทย์ซึ่งมีจำนวนจำกัดเพียง 2 ราย แพทย์เพิ่มพูนทักษะยังไม่มีความมั่นใจในการรายงานผลเอกซเรย์สมองเบื้องต้นจึงทำให้เกิดความล่าช้า ซึ่งแพทย์เพิ่มพูนทักษะเป็นกำลังสำคัญและเป็นแพทย์ที่พบผู้ป่วยเป็นจุดแรกที่ห้องฉุกเฉิน หลังจากได้พัฒนาการใช้ ASPECTS ในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองขาดเลือดให้แพทย์เพิ่มพูนทักษะเป็นผู้อ่านผลเบื้องต้นโดยใช้ ASPECT SCORE CHART รายงานอายุรแพทย์ผู้ให้การรักษาและดำเนินกิจกรรมตามแนวทางการใช้ (แผนภูมิที่ 1) พบว่ามีระยะเวลา 14.5 และ 23.0 นาทีตามลำดับ ซึ่งลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และยังพบความสอดคล้องในการให้คะแนน ASPECTS ระหว่างรังสีแพทย์กับแพทย์เพิ่มพูนทักษะอยู่ในระดับดี แสดงให้เห็นว่าแพทย์เพิ่มพูนทักษะมีความสามารถรายงานผลคะแนน ASPECTS แก่อายุรแพทย์ผู้ให้การรักษาพิจารณารักษาผู้ป่วยในขั้นต่อไป และยังช่วยให้ผู้ป่วยได้รับบริการด้านรังสีวิทยาได้เร็วขึ้น แพทย์เพิ่มพูนทักษะที่ปฏิบัติงานที่แผนกอุบัติเหตุฉุกเฉินจึงเป็นกำลังสำคัญในการแปลผลเอกซเรย์คอมพิวเตอร์เพื่อรายงานผลแก่อายุรแพทย์ เมื่อสอบถามความคิดเห็นของแพทย์เพิ่มพูนทักษะและอายุแพทย์ผู้ให้การรักษาผู้ป่วยส่วนมากเห็นด้วยในระดับมากและมากที่สุด ซึ่งแสดงให้เห็นว่าการดำเนินงานบุคลากรที่เกี่ยวข้องพึงพอใจและมีประโยชน์ต่อผู้ป่วย ดังนั้น การพัฒนา ASPECTS SCORE CHART การให้แพทย์เพิ่มพูนทักษะแปลผลภาพเอกซเรย์คอมพิวเตอร์สมองโดยผ่านการสอนจากรังสีแพทย์ และประเมินคุณภาพหลังการเรียนมีผลการทดสอบความรู้ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 80 และมีความสอดคล้องในการให้คะแนน ASPECTS กับรังสีแพทย์อยู่ในระดับดี ร่วมกับมีแนวทางการปฏิบัติที่ชัดเจน สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในโรงพยาบาลอื่นที่มีปัญหาข้อจำกัดของรังสีแพทย์ได้
สรุป
ASPECTS ใช้เป็นข้อมูลภาพถ่ายรังสีที่สามารถบ่งบอกถึงความรุนแรงของการป่วยจากโรคหลอดเลือดสมองขาดเลือดเฉียบพลัน การดูแลก่อนการพัฒนาพบระยะเวลาตรวจและแปลผลเอกซเรย์คอมพิวเตอร์สมอง ของผู้ป่วยนานกว่าเป้าหมายตามแนวทางการรักษาของ AHA/ASA การพัฒนาการใช้ ASPECTS ในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองขาดเลือดเฉียบพลันครั้งนี้ ช่วยให้ระยะเวลาตรวจและแปลผลด้านรังสีวิทยาเร็วขึ้น มีแนวทางการรายงานผลภาพเอกซเรย์คอมพิวเตอร์โรคหลอดเลือดสมองขาดเลือดเฉียบพลัน รวมทั้งบุคลากรผู้เกี่ยวข้องเห็นด้วยต่อการพัฒนาการใช้ส่วนมากในระดับมากและมากที่สุด
ข้อเสนอแนะ
การพัฒนาการใช้ ASPECTS ในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองขาดเลือดเฉียบพลัน ช่วยแก้ปัญหาด้านระยะเวลาตรวจและแปลผลด้านรังสีวิทยา และผู้เกี่ยวข้องในการดูแลรักษาผู้ป่วยเห็นด้วย จึงควรใช้ ASPECTS ตามแนวทางที่พัฒนาระบบบริการช่องทางด่วนการดูแลผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองหรือ Stroke Fast Track ของโรงพยาบาลยโสธร และสามารถนำไปใช้ในโรงพยาบาลอื่นๆ ที่มีปัญหาเช่นเดียวกัน
กิตติกรรมประกาศ
ผู้วิจัยขอขอบพระคุณ อาจารย์สมศักดิ์ เทียมเก่า ที่เป็นแรงบันดาลใจในการทำงานวิจัยนี้ขอขอบพระคุณ เจ้าหน้าที่กลุ่มงานอุบัติฉุกเฉินโรงพยาบาลยโสธรที่ให้การสนับสนุนงานวิจัยครั้งนี้
เอกสารอ้างอิง
1. ดิษยา รัตนากร, ชาญพงศ์ ตังคณะกุล, สามารถ นิธินันทน์, นิจศรี ชาญณรงค์ สุวรรณเวลา, สุชาติ หาญไชยพิบูลย์กุล, ยงชัย นิลนนท์. Current Practical Guide to Stroke Management. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร: สมาคมโรคหลอดเลือด สมองไทย; 2554.
2. สมศักดิ์ เทียมเก่า. Stroke Fast Trackไม่ยากอย่างที่คิด. วารสารสมาคมประสาทวิทยาศาสตร์ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 2556; 4: 94-8.
3. Jauch EC, Saver JL, Adams HP, Bruno A, Connors JJ, Demaerschalk BM, et al. Guidelines for the early management of patients with acute ischemic stroke: A guideline for healthcare professionals from the American Heart Association/ American Stroke Association. Stroke 2013; 44: 870-947.
4. Zanzmera P, Srivastava P, Garg A, Bhatia R, Singh M, Tripathi M, et al. Prediction of stroke outcome in relation to Alberta Stroke Program Early CT Score(ASPECTS) at admission in acute ischemic stroke: A prospective study from tertiary care hospital in north India. Neurology Asia 2012; 17: 101-7.
5. Powers WJ, Rabinstein AA, Ackerson T, Adeoye OM, Bambakidis NC, Becker K, Biller J, et al. 2018 Guidelines for the Early Management of Patients With Acute Ischemic Stroke: A Guideline for Healthcare Professionals From the American Heart Association/American Stroke Association. Stroke 2018; 49: 46-110.
6. Jeremy Jones, Haris Sair. Alberta stroke program early CT score (ASPECTS). 2008. [cite 2018 Nov 20]. Available from http:// radiopaedia.org/
7. อาภรณ์ คําก้อน. การตรวจทางระบบ ประสาท. [อินเตอร์เน็ต]. 2553. [เข้าถึงเมื่อ 23 พย 2561]. เข้าถึงได้จาก http://www. ns.mahidol.ac.th/english/th/departments/MN/th/km_Nervous_system1. Html
8. Sulter G, Steen C, De Keyser J. Use of the Barthel index and modified Rankin scale in acute stroke trials. Stroke 1999; 30: 1538-41.
9. กรรณิการ์ คงบุญเกียรติ, สมศักดิ์ เทียมเก่า. Guidelines for the early management of patients with acute ischemic stroke. วารสารสมาคมประสาทวิทยาศาสตร์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 2557; 9: 56-67.
10. Dzialowski I, Hill MD, Coutts SB, Demchuk AM, Kent DM, Wunderlich O,et al. Extent of early ischemic changes on computed tomography (CT) before thrombolysis: prognostic value of the Alberta Stroke Program Early CT Score in ECASS II. Stroke 2006; 37: 973-8.
11. สุภัชชา จันทร์ปรีดา, วรินทร์ พุทธรักษ์, วรานนท์ มั่นคง.การประเมินผลเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ที่ไม่ฉีดสารทึบรังสีก่อนได้รับการรักษาโดยใช้ Alberta stroke program early CT scoreกับการพยากรณ์ความสามารถในการทำงานของร่างกายผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองชนิดขาดเลือดเฉียบพลันภายหลังการรักษาด้วยยาละลายลิ่มเลือดทางหลอดเลือดดำในโรงพยาบาลชุมแพ จังหวัดขอนแก่น. วารสารสมาคมประสาทวิทยาศาสตร์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 2558; 10: 42-72.
ASPECTS SCORE CHART
โปรดลงรายละเอียดข้อมูล ใส่เครื่องหมาย ü และลงคะแนนในช่องคะแนนภายหลังประเมินภาพเอกซเรย์คอมพิวเตอร์
ชื่อผู้ป่วย ................................................................... อายุ..................... เพศ ....................... HN
..

Hyperdense MCA sign ( ) พบ ( ) ไม่พบ
ตำแหน่ง |
คะแนน |
C=Caudate nucleus |
|
L=Lentiform nucleus |
|
I=Insular cortex |
|
IC=Internal capsule |
|
M1=Anterior MCA cortex |
|
M2=MCA cortex lateral to insular cortex |
|
M3=Posterior MCA cortex |
|
M4=Anterior MCA superior territory |
|
M5=Lateral MCA superior territory |
|
M6=Posterior MCA superior territory |
|
รวมคะแนน ASPECTS |
|
หมายเหตุ : ปกติ คะแนนเท่ากับ 1, ผิดปกติ คะแนนเท่ากับ 0, old infarction ไม่นับคะแนน
อ้างอิง : http://www.aspectsinstroke.com
http://www.nnuh.nhs.uk/publication /alberta-stroke-program-early-ct-score-aspects-score-form-v1-1
ผู้ประเมิน.................................... เวลารายงานผล ........................ วัน/เดือน/ปี ..........................................