· การยับยั้งมะเร็งระยะแพร่กระจายโดยใช้ miRNAs
MicroRNAs (miRNAs) เป็นโมเลกุล noncoding RNAs มีขนาดเล็กประมาณ 22-25 nucleotides ทำหน้าที่ควบคุมการแสดงออกของยีนหลายชนิด จากรายงานการศึกษาพบว่า miRNAs มีบทบาทเกี่ยวข้องกับการแพร่กระจายของเซลล์มะเร็ง โดยทำหน้าที่เป็นได้ทั้ง pro-metastatic หรือ anti-metastatic ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่า เป้าหมายหนึ่งสำหรับ miRNAs คือยีนที่มีบทบาทในการควบคุมกระบวนการ EMT ซึ่งเป็นกระบวนการสำคัญในการแพร่กระจายของเซลล์มะเร็ง การยับยั้งกระบวนการ EMT เป็นเป้าหมายหลักในการลดการแพร่กระจายของเซลล์มะเร็งไปยังอวัยวะอื่น นอกจากนี้ miRNAs ยังยับยั้ง MET (mesenchymal-epithelial transition) ซึ่งเป็นกระบวนการย้อนกลับของ EMT ซึ่งจะเกิดขึ้นเมื่อเซลล์มะเร็งที่หลุดออกมาจากอวัยวะต้นกำเนิดเคลื่อนที่ไปยังอวัยวะอื่น จนเจริญเติบโตต่อที่อวัยวะอื่นได้22
· การยับยั้ง N-cadherin
N-cadherin เป็นโมเลกุลยึดเกาะที่มีบทบาทสำคัญในการบุกรุกและแพร่กระจายของเซลล์มะเร็ง การรบกวนหรือยับยั้งโมเลกุลชนิดนี้จะช่วยลดความรุนแรงของโรคมะเร็งได้ ตัวอย่างสารหรือยาที่เป็นตัวยับยั้งของ N-cadherin เช่น N-Ac-Cys-His-Ala-Val-NH2 หรือ ADH-12,23 ADH1 เป็น N-cadherin antagonist ตัวแรกในการศึกษาทางคลินิก การศึกษาเบื้องต้นไม่พบความเป็นพิษเมื่อทดสอบในสัตว์ทดลอง24 และในมนุษย์ 25 ผลการศึกษาชี้ให้เห็นว่า N-cadherin antagonist ไม่ส่งผลเสียต่อเซลล์ปกติ โดยพบว่า ADH-1 สามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของมะเร็งตับอ่อน และมะเร็งผิวหนังในสัตว์ทดลอง โดยใช้ ADH-1 แบบเดี่ยว หรือร่วมกับยารักษาโรคมะเร็งชนิดอื่น24,26
· การรบกวนการทำงานของ Integrin
Integrin เป็นอีกโมเลกุลหนึ่งที่มีบทบาทสำคัญในกระบวนการแพร่กระจายของเซลล์มะเร็ง การยับยั้งหรือต้านการทำงานของ integrin หรือการใช้ integrin antagonist จะทำให้ช่วยลดการแบ่งตัวเพิ่มจำนวนและการแพร่กระจายของเซลล์มะเร็งได้ Integrin antagonist ตัวแรกที่ถูกพัฒนามาใช้ได้แก่ cilengitide ซึ่งออกฤทธิ์โดยไปจับกับ b-chain ของ integrin ป้องกันการเกิดปฏิกิริยาระหว่าง integrin กับ ECM ligands ในการศึกษาทางคลินิกในระยะที่ 1 และ 2 พบว่า ยาชนิดนี้ให้ผลดีในการรักษาโรคมะเร็งปอด มะเร็งต่อมลูกหมาก มะเร็งผิวหนัง มะเร็งสมอง มะเร็งเม็ดเลือดขาว และมะเร็งเต้านม27 ยายับยั้ง integrin ชนิดอื่นๆ ที่ถูกพัฒนาขึ้นได้แก่ 1a-RGD ซึ่งผลการศึกษาพบว่า มีฤทธิ์ลดการยึดเกาะของเซลล์มะเร็งกับ actin cytoskeleton และลดการแสดงออกของ integrin ในเซลล์มะเร็งสมอง28 และ ATN-161 acetylated pentapeptide (Ac-Pro-His-Ser-Cys-Asn-NH2) ซึ่งสังเคราะห์ขึ้นโดยเลียนแบบโครงสร้างของ fibronectin (Pro-His-Ser-Arg-Asn) และเปลี่ยนเบสจาก Arg เป็น Cys โดยผลการศึกษาพบว่า ANT-161 มีผลยับยั้งการเจริญและการแพร่กระจายของเซลล์มะเร็งได้ ซึ่งขณะนี้อยู่ในขั้นตอนการศึกษาทางคลินิกระยะที่ 127,29
· การยับยั้งเอนไซม์ protease
ปัจจัยหลักในการแพร่กระจายของเซลล์มะเร็งคือการเพิ่มขึ้นของเอนไซม์ protease โดยเฉพาะอย่างยิ่ง MMPs การยับยั้ง MMPs จึงเป็นวิธีที่จะทำให้ลดการแพร่กระจายของเซลล์มะเร็งได้ อย่างไรก็ตาม ในการศึกษาทดลองทางคลินิกส่วนใหญ่ยังให้ผลไม่ดีนักเนื่องจากปัจจัยหลายอย่าง เช่น ชนิดของมะเร็ง ความสามารถในการพัฒนาและเกิดการดื้อยาของเซลล์มะเร็ง ตัวยับยั้งที่ใช้ยังไม่มีความจำเพาะเจาะจงเพียงพอ และการเปลี่ยนแปลงของเซลล์มะเร็งระหว่างการเคลื่อนที่และบุกรุก27,30 จากปัจจัยดังกล่าวทำให้มีการใช้ MMPs inhibitor ร่วมกับการใช้ยาเคมีบำบัดตัวอื่นๆ เพื่อผลการรักษาที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น ตัวอย่าง MMPs inhibitor ได้แก่ กลุ่ม hydroxamate (marimastat, prinomastat, batimastat, solimastat), thiol-based analog (rebimastat, tanomastat), และกลุ่มอื่นๆ (pyrimidine-2,4,6-triones, S-3304)2
· การยับยั้ง selectin
Selectin เป็นโมเลกุลที่มีบทบาทในช่วงที่เซลล์มะเร็งเคลื่อนที่จากอวัยวะต้นกำเนิดเข้าไปอยู่ภายในหลอดเลือด มีรายงานการศึกษาพบว่า การยับยั้งหรือลดลงของ E-selectin ให้ผลลดการแพร่กระจายของมะเร็งได้31 นอกจากนี้ยังมีรายงานการศึกษาที่ทำในสัตว์ทดลอง พบว่า heparin สามารถยับยั้ง P-selectin ของเกล็ดเลือดในการจับกับลิแกนด์ของเซลล์มะเร็งในระยะแพร่กระจายได้31 ดังนั้นสารประกอบที่มีคุณสมบัติในการยับยั้ง selectin จึงมีแนวโน้มที่จะใช้ในการรักษามะเร็งได้
· การรบกวนโครงสร้างและการทำงานของ invadopodia
Invadopodia เป็นส่วนที่ยื่นออกมานอกเซลล์ ซึ่งพบในเซลล์มะเร็งระยะที่มีการแพร่กระจาย เพื่อใช้ในการเคลื่อนที่และบุกรุกของเซลล์มะเร็ง นอกจากนี้ invadopodia ในเซลล์มะเร็งยังส่งเสริมให้มีการย่อยสลาย ECM ด้วย ดังนั้น invadopodia จึงเป็นเป้าหมายที่น่าสนใจสำหรับการป้องกันและยับยั้งการแพร่กระจายของเซลล์มะเร็ง อย่างไรก็ตาม เนื่องจาก invadopodia เกี่ยวข้องกับการแพร่กระจายของเซลล์มะเร็งเท่านั้น หากมีการใช้ invadopodia inhibitor ควรให้ร่วมกับยาหรือสารที่ฤทธิ์ยับยั้งการแบ่งตัวเพิ่มจำนวนของเซลล์มะเร็งด้วย เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการออกฤทธิ์ โดยได้ผลทั้งการป้องกันการแพร่กระจายและยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็ง32
· การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของ ECM
Hyaluronan (hyaluronic acid; HA หรือ hyaluronate) เป็นองค์ประกอบหลักของ ECM และมีบทบาทสำคัญในการยึดเกาะและการเคลื่อนที่ของเซลล์มะเร็ง Hyaluronidases เป็นเอนไซม์ที่ย่อยสลาย hyaluronan มีรายงานการศึกษาพบว่า การให้ hyaluronidase สามารถยับยั้งการแพร่กระจายของเซลล์มะเร็งที่มีการแสดงออกของ HA ที่มากกว่าปกติ33 Recombinant human hyaluronidase, halozyme (Hylenex™) หรือ rHuPH20 เป็นเอนไซม์ที่ได้รับการอนุมัติจาก FDA ใช้รักษามะเร็งร่วมกับยาเคมีบำบัด ซึ่ง rHuPH20 สามารถย่อย HA และลดความหนืดของ hyaluronan เพิ่มการซึมผ่านเนื้อเยื่อ ทำให้การดูดซึมและกระจายตัวของยาเคมีบำบัดมีประสิทธิภาพมากขึ้น33 Heparan sulfate proteoglycans (HSPGs) เป็นส่วนประกอบของโครงสร้างเนื้อเยื่อปกติที่ผิวเซลล์และภายใน ECM โดยเอนไซม์ sulfatases และ heparanase เป็นเอนไซม์สำคัญสำหรับการย่อยสลาย HSPGs มีการศึกษารายงานว่า เอนไซม์เหล่านี้มีความจำเป็นจะต้องใช้ในระยะเริ่มต้นของการเจริญของเซลล์มะเร็ง การยับยั้งเอนไซม์ heparanase จะสามารถยับยั้งการแพร่กระจายของเซลล์มะเร็งได้ อย่างไรก็ตามการทดลองนี้ยังคงอยู่ในขั้นตอนการศึกษา33
สรุป
การแพร่กระจายของเซลล์มะเร็งประกอบด้วยหลายขั้นตอน ได้แก่ การหลุดออกจากอวัยวะต้นกำเนิด การเคลื่อนที่และบุกรุกเข้าสู่ ECM การเคลื่อนตัวเข้าสู่หลอดเลือดและน้ำเหลือง การเดินทางของเซลล์มะเร็งไปกับระบบเลือดและน้ำเหลือง การเคลื่อนตัวออกจากหลอดเลือดและน้ำเหลืองไปสู่อวัยวะอื่น และเซลล์มะเร็งเจริญเติบโตต่อยังอวัยวะใหม่ โดยในแต่ละขั้นตอนนั้นมีโมเลกุลเข้ามาเกี่ยวข้องหลายชนิด ซึ่งวิธีการยับยั้งเซลล์มะเร็งระยะแพร่กระจายสามารถทำได้โดยการมุ่งเป้าไปที่โมเลกุลเหล่านี้ ตัวอย่างยาที่กำลังอยู่ในขั้นตอนการศึกษาในปัจจุบันได้แก่ FAK/Src inhibitor, N-cadherin antagonist, integrin antagonist, MMPs inhibitor, invadopodia inhibitor และ hyaluronidase เป็นต้น
เอกสารอ้างอิง
1. Seyfried TN, Huysentruyt LC. On the origin of cancer metastasis. Crit Rev Oncog 2013; 18: 43-73.
2. Guan X. Cancer metastases: challenges and opportunities. Acta Pharm Sin B 2015; 5: 402-18.
3. Sakamoto S, Kyprianou N. Targeting anoikis resistance in prostate cancer metastasis. Mol Aspects Med 2010; 31: 205-14.
4. Kirfel G, Rigort A, Borm B, Herzog V. Cell migration: mechanisms of rear detachment and the formation of migration tracks. Eur J Cell Biol 2004; 83: 717-24.
5. Friedl P. Prespecification and plasticity: shifting mechanisms of cell migration. Curr Opin Cell Biol 2004; 16: 14-23.
6. Hecht I, Bar-El Y, Balmer F, Natan S, Tsarfaty I, Schweitzer F, et al. Tumor invasion optimization by mesenchymal-amoeboid heterogeneity. Sci Rep 2015; 5: 10622.
7. Korthuis RJ, Anderson DC, Granger DN. Role of neutrophil-endothelial cell adhesion in inflammatory disorders. J Crit Care 1994; 9: 47-71.
8. Li DM, Feng YM. Signaling mechanism of cell adhesion molecules in breast cancer metastasis: potential therapeutic targets. Breast Cancer Res Treat 2011; 128: 7-21.
9. Chang HW, Yen CY, Chen CH, Tsai JH, Tang JY, Chang YT, et al. Evaluation of the mRNA expression levels of integrins alpha3, alpha5, beta1 and beta6 as tumor biomarkers of oral squamous cell carcinoma. Oncol Lett 2018; 16: 4773-81.
10. Pal M, Bhattacharya S, Kalyan G, Hazra S. Cadherin profiling for therapeutic interventions in Epithelial Mesenchymal Transition (EMT) and tumorigenesis. Exp Cell Res 2018; 368: 137-46.
11. Luo Y, Yu T, Zhang Q, Fu Q, Hu Y, Xiang M, et al. Upregulated N-cadherin expression is associated with poor prognosis in epithelial-derived solid tumours: A meta-analysis. Eur J Clin Invest 2018; 48: doi: 10.1111/eci.12903.
12. Laubli H, Borsig L. Selectins promote tumor metastasis. Semin Cancer Biol 2010; 20: 169-77.
13. Qi C, Li B, Guo S, Wei B, Shao C, Li J, et al. P-Selectin-Mediated Adhesion between Platelets and Tumor Cells Promotes Intestinal Tumorigenesis in Apc(Min/+) Mice. Int J Biol Sci 2015; 11: 679-87.
14. Gakhar G, Navarro VN, Jurish M, Lee GY, Tagawa ST, Akhtar NH, et al. Circulating tumor cells from prostate cancer patients interact with E-selectin under physiologic blood flow. PloS One 2013; 8: e85143.
15. Perfilyeva YV, Abdolla N, Ostapchuk YO, Tleulieva R, Krasnoshtanov VC, Perfilyeva AV, et al. Chronic Inflammation Contributes to Tumor Growth: Possible Role of L-Selectin-Expressing Myeloid-Derived Suppressor Cells (MDSCs). Inflammation 2018. doi: 10.1007/s10753-018-0892-6.
16. Rapanotti MC, Suarez Viguria TM, Costanza G, Ricozzi I, Pierantozzi A, Di Stefani A, et al. Sequential molecular analysis of circulating MCAM/MUC18 expression: a promising disease biomarker related to clinical outcome in melanoma. Arch Dermatol Res 2014; 306: 527-37.
17. Onstenk W, Kraan J, Mostert B, Timmermans MM, Charehbili A, Smit VT, et al. Improved Circulating Tumor Cell Detection by a Combined EpCAM and MCAM CellSearch Enrichment Approach in Patients with Breast Cancer Undergoing Neoadjuvant Chemotherapy. Mol Cancer Ther 2015; 14: 821-7.
18. Wang J, Tang X, Weng W, Qiao Y, Lin J, Liu W, et al. The membrane protein melanoma cell adhesion molecule (MCAM) is a novel tumor marker that stimulates tumorigenesis in hepatocellular carcinoma. Oncogene 2015; 34: 5781-95.
19. Wai Wong C, Dye DE, Coombe DR. The role of immunoglobulin superfamily cell adhesion molecules in cancer metastasis. Int J Cell Biol 2012; 2012: 340296.
20. Park SI, Zhang J, Phillips KA, Araujo JC, Najjar AM, Volgin AY, et al. Targeting SRC family kinases inhibits growth and lymph node metastases of prostate cancer in an orthotopic nude mouse model. Cancer Res 2008 ; 68: 3323-33.
21. Araujo J, Logothetis C. Dasatinib: a potent SRC inhibitor in clinical development for the treatment of solid tumors. Cancer Treat Rev 2010; 36: 492-500.
22. Chan SH, Wang LH. Regulation of cancer metastasis by microRNAs. J Biomed Sci 2015; 22: 9.
23. Blaschuk OW. N-cadherin antagonists as oncology therapeutics. Philos Trans R Soc Lond B Biol Sci 2015; 370: 20140039.
24. Augustine CK, Yoshimoto Y, Gupta M, Zipfel PA, Selim MA, Febbo P, et al. Targeting N-cadherin enhances antitumor activity of cytotoxic therapies in melanoma treatment. Cancer Res 2008; 68: 3777-84.
25. Perotti A, Sessa C, Mancuso A, Noberasco C, Cresta S, Locatelli A, et al. Clinical and pharmacological phase I evaluation of Exherin (ADH-1), a selective anti-N-cadherin peptide in patients with N-cadherin-expressing solid tumours. Ann Oncol 2009; 20: 741-5.
26. Shintani Y, Fukumoto Y, Chaika N, Grandgenett PM, Hollingsworth MA, Wheelock MJ, et al. ADH-1 suppresses N-cadherin-dependent pancreatic cancer progression. Int J Cancer 2008; 122: 71-7.
27. Alizadeh AM, Shiri S, Farsinejad S. Metastasis review: from bench to bedside. Tumour Biol 2014; 35: 8483-523.
28. Russo MA, Paolillo M, Sanchez-Hernandez Y, Curti D, Ciusani E, Serra M, et al. A small-molecule RGD-integrin antagonist inhibits cell adhesion, cell migration and induces anoikis in glioblastoma cells. Int J oncol 2013; 42: 83-92.
29. Paolillo M, Russo MA, Serra M, Colombo L, Schinelli S. Small molecule integrin antagonists in cancer therapy. Mini Rev Med Chem 2009; 9: 1439-46.
30. Winer A, Adams S, Mignatti P. Matrix Metalloproteinase Inhibitors in Cancer Therapy: Turning Past Failures Into Future Successes. Mol Cancer Ther 2018; 17: 1147-55.
31. Bendas G, Borsig L. Cancer cell adhesion and metastasis: selectins, integrins, and the inhibitory potential of heparins. Int J Cell Biol 2012; 2012: 676731.
32. Leong HS, Robertson AE, Stoletov K, Leith SJ, Chin CA, Chien AE, et al. Invadopodia are required for cancer cell extravasation and are a therapeutic target for metastasis. Cell Rep 2014; 8: 1558-70.
33. Hammond E, Khurana A, Shridhar V, Dredge K. The Role of Heparanase and Sulfatases in the Modification of Heparan Sulfate Proteoglycans within the Tumor Microenvironment and Opportunities for Novel Cancer Therapeutics. Front Oncol 2014; 4: 195.