ข้อจำกัดและข้อเสนอแนะ
การศึกษานี้มีข้อจำกัดคือ 1) ข้อมูลผู้ป่วยในฐานข้อมูลของโรงพยาบาลสามารถดูย้อนหลังได้ถึง พ.ศ. 2552 เท่านั้น ทำให้ไม่สามารถทราบได้ว่าผู้ป่วยเคยได้รับยาแอสไพรินมาตั้งแต่ก่อนหน้าหรือไม่ 2) ประเมินด้านความปลอดภัยทำได้ยาก เนื่องจากข้อมูลบางส่วนไม่ได้ระบุไว้ในฐานข้อมูลของโรงพยาบาล หรือกรณีที่มีข้อมูลว่าผู้ป่วยเกิด major gastrointestinal bleeding ก็ไม่สามารถประเมินได้อย่างชัดเจนว่าสัมพันธ์กับการได้รับยาแอสไพรินหรือไม่ 3) การศึกษานี้เป็นการศึกษาแบบย้อนหลัง ทำให้มีข้อจำกัดในการเก็บข้อมูล เนื่องจากมีข้อมูลบางส่วนไม่ครบถ้วน รวมทั้งไม่สามารถควบคุมปัจจัยรบกวนซึ่งอาจส่งผลต่อการวิเคราะห์
ข้อเสนอแนะ คือควรทำการศึกษาแบบไปข้างหน้า (prospective study) หรือการทดลองแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุม (randomized controlled trial) ที่มีจำนวนกลุ่มตัวอย่างมากขึ้น หรือศึกษาแบบหลายศูนย์ (multicenter study) โดยควบคุมปัจจัยรบกวนต่าง ๆ ที่อาจส่งผลต่อการศึกษา และติดตามผลในระยะยาว เพื่อให้ได้ข้อมูลที่มีความถูกต้อง ครบถ้วน และมีความน่าเชื่อถือยิ่งขึ้น
สรุป
ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ได้รับยาแอสไพรินเพื่อป้องกันปฐมภูมิ มีการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดและการเกิด major gastrointestinal bleeding ไม่แตกต่างจากผู้ป่วยที่ไม่ได้รับยาแอสไพรินอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ซึ่งผลการศึกษาครั้งนี้สามารถนำไปประยุกต์ใช้เป็นแนวทางในการสั่งใช้ยาแอสไพรินอย่างเหมาะสม เพื่อให้ผู้ป่วยโรคเบาหวานได้รับยาอย่างปลอดภัยและเกิดประสิทธิผลสูงสุด
กิตติกรรมประกาศ
ขอขอบคุณฝ่ายเภสัชกรรมผู้ป่วยนอกและเจ้าหน้าที่ห้องเวชระเบียน ศูนย์การแพทย์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ ที่อำนวยความสะดวกในการเก็บข้อมูล
เอกสารอ้างอิง
1. American Diabetes Association. Standards of medical care in diabetes 2009. Diabetes care 2009; 32: S13-61.
2. American Diabetes Association. Standards of medical care in diabetes 2010. Diabetes care 2010; 33: S11-61.
3. American Diabetes Association. Standards of medical care in diabetes 2011. Diabetes care 2011; 34: S11-61.
4. American Diabetes Association. Standards of medical care in diabetes 2012. Diabetes care 2012; 35: S11-63.
5. American Diabetes Association. Standards of medical care in diabetes 2013. Diabetes care 2013; 36: S11-66.
6. American Diabetes Association. Standards of medical care in diabetes 2013. Diabetes care 2014; 36: S14-80.
7. American Diabetes Association. Standards of medical care in diabetes 2013. Diabetes care 2015; 36: S1-93.
8. American Diabetes Association. Standards of medical care in diabetes 2013. Diabetes care 2016; 36: S1-106.
9. Bibbins-Domingo K. Aspirin use for the primary prevention of cardiovascular disease and colorectal cancer: U.S. preventive services task force recommendation statement. Ann Int Med 2016; 164(12): 836-45.
10. Health Systems Research Institute. Thai people spend more than one hundred thirty billion in 2010. Faster than economic and health costs [Internet]. 2011 [cited Feb 16, 2017]. Available from: https://www.hsri.or.th/researcher/media/news/detail/4042.
11. World Health Organization. Cardiovascular diseases [Internet]. 2011 [cited Feb 16, 2017]. Available from:http:// www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/cardiovascular-diseases-(cvds).
12. Haire-Joshu D, Glasgow RE, Tibbs TL. Smoking and diabetes. Diabetes Care 1999; 22: 1887-98.
13. Pignone M, Alberts MJ, Colwell JA, Cushman M, Inzucchi SE, Mukherjee D, et al. Aspirin for primary prevention of cardiovascular events in people with diabetes. J Am Coll Cardiol 2010; 55(25): 2878-86.
14. JBS3 Board. Joint British Societies consensus recommendations for the prevention of cardiovascular disease (JBS3). Heart 2014; 100: ii1-67.
15. U.S.FDA. Use of aspirin for primary prevention of heart attack and stroke [Internet]. 2016 [cited Sep 20,2018]. Available from: https://www.fda.gov/drugs/resourcesforyou/ consumers/ucm390574.htm.
16. The ASCEND study collaborative group. Effects of aspirin for primary prevention in persons with diabetes mellitus. N Engl J Med 2018; 379: 1529-39.
17. The Antithrombotic Trialists (ATT) Collaboration. Aspirin in the primary and secondary prevention of vascular disease: collaborative meta-analysis of individual participant data from randomised trials. Lancet 2009; 373: 1849-60.