ผลการศึกษา
การศึกษานี้เป็นการศึกษาคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยหลังเข้ารับการผ่าตัดหัวใจแบบเปิดมานานกว่า 5 ปี ประชากรคือผู้ป่วยที่เข้ารับการผ่าตัดหัวใจแบบเปิด ณ โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยนเรศวร จังหวัดพิษณุโลก ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2549-2555 ทั้งหมด 706 ราย คำนวณกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรทาโร่ ยามาเนะ ได้ผู้ป่วยจำนวน 400 ราย มีผู้ป่วยที่ผ่านเกณฑ์รับเข้า 183 ราย ติดต่อไม่ได้ 120 ราย ติดต่อได้จำนวนทั้งหมด 63 ราย ในจำนวนนี้เสียชีวิต 4 ราย และปฏิเสธเข้าร่วมการศึกษา 1 ราย ดังนั้นจึงเหลือผู้ยินยอมเข้าร่วมการศึกษาทั้งหมด 58 ราย เป็นกลุ่มผู้ป่วยผ่าตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจ 6 ราย กลุ่มผู้ป่วยผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจ 37 ราย กลุ่มผู้ป่วยผ่าตัดซ่อมลิ้นหัวใจ 5 ราย และกลุ่มผู้ป่วยผ่าตัดหัวใจพิการแต่กำเนิด 10 ราย (รูปที่ 1)

รูปที่ 1 จำนวนผู้ป่วยผ่าตัดหัวใจแบบเปิดที่เข้าร่วมวิจัย
ข้อมูลพื้นฐานของผู้ป่วยผ่าตัดหัวใจแบบเปิด พบว่ากลุ่มผู้ป่วยผ่าตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจ กลุ่มผู้ป่วยผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจ กลุ่มผู้ป่วยผ่าตัดซ่อมลิ้นหัวใจส่วนใหญ่เป็นเพศชาย กลุ่มผู้ป่วยผ่าตัดแก้ไขหัวใจพิการมาแต่กำเนิดอายุเฉลี่ยน้อยที่สุด 38.3 ± 14.55 ผู้ป่วยทุกกลุ่มส่วนใหญ่สถานภาพโสด รายได้เฉลี่ยต่อเดือนต่ำกว่า 5,000 บาท ไม่สูบบุหรี่ ไม่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอลล์ หลังผ่าตัดความสามารถในการทำกิจกรรมตามเกณฑ์ New York Heart Association (NYHA) functional Class ส่วนใหญ่อยู่ใน Class I และ II (ตารางที่ 1)
เมื่อเปรียบเทียบระยะเวลาการใช้เครื่องหัวใจและปอดเทียมระยะเวลาการหนีบหลอดเลือดเอออร์ต้าและระยะเวลาการอยู่โรงพยาบาล พบว่าผู้ป่วยกลุ่มผ่าตัดหัวใจพิการแต่กำเนิดใช้ระยะเวลาน้อยกว่าผู้ป่วยกลุ่มอื่น ๆ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.000, p<0.000, p<0.001 ตามลำดับ) (ตารางที่ 2)
ผู้ป่วยทุกกลุ่มได้คะแนนประเมินคุณภาพชีวิตแสดงถึงคุณภาพชีวิตอยู่ในระดับดี สุขภาพโดยรวมมากกว่า 96 จากคะแนนเต็ม 130 คะแนน ด้านร่างกายมากกว่า 27 จากคะแนนเต็ม 35 คะแนน ด้านจิตใจมากกว่า 23 จากคะแนนเต็ม 35 คะแนน ด้านสังคมมากกว่า 12 จากคะแนนเต็ม 15 คะแนน ด้านสิ่งแวดล้อมมากกว่า 30 จากคะแนนเต็ม 40 คะแนน เมื่อเปรียบเทียบคะแนนคุณภาพชีวิตและสุขภาพโดยรวมและแต่ละด้านของผู้ป่วยทั้ง 4 กลุ่มพบว่าไม่แตกต่างกัน (ตารางที่ 3)
ผลการประเมินภาวะซึมเศร้าพบว่ากลุ่มผู้ป่วยหัวใจพิการแต่กำเนิดมีภาวะซึมเศร้าสูงที่สุด (1.19 ± 2.58 คะแนน) รองลงมาคือกลุ่มผู้ป่วยเปลี่ยนลิ้นหัวใจ (1.05 ± 2.68 คะแนน) กลุ่มผู้ป่วยทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจ (0.83 ± 2.04 คะแนน) และกลุ่มผู้ป่วยซ่อมลิ้นหัวใจ (0 คะแนน) ตามลำดับ ซึ่งแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ p<0.038 (ตารางที่ 4)
ตารางที่ 1 แสดงข้อมูลพื้นฐานของผู้ป่วยผ่าตัดหัวใจแบบเปิด
ข้อมูล |
ทำทางเบี่ยง
หลอดเลือดหัวใจ
(n=6)
จำนวน (ร้อยละ) |
เปลี่ยนลิ้นหัวใจ
(n=37)
จำนวน (ร้อยละ) |
ซ่อมลิ้นหัวใจ
(n=5)
จำนวน (ร้อยละ) |
หัวใจพิการ
แต่กำเนิด
(n=10)
จำนวน (ร้อยละ) |
p- value |
เพศ
ชาย
หญิง |
4 (66.67)
2 (33.33) |
25 (67.56)
12 (32.43) |
3 (60.00)
2 (40.00) |
2 (20.00)
8 (80.00) |
0.060 |
อายุ (ปี)
อายุเฉลี่ย |
58.00 ± 1.41 |
49.95 ± 7.38 |
54.40 ± 0.55 |
38.30 ± 14.55 |
0.002** |
สถานภาพ
สมรส
โสด
หม้าย |
0 (0.00)
6 (100.00)
0 (0.00) |
5 (13.51)
31 (83.78)
1 (2.70) |
0 (0.00)
5(100.00)
0 (0.00) |
4 (40.00)
6 (60.00)
0 (0.00) |
0.158 |
รายได้เฉลี่ยต่อเดือน (บาท)
ต่ำกว่า 5,000
5,001-10,000
> 10,000 |
3 (50.00)
1 (16.70)
2 (33.30) |
21 (56.80)
9 (24.30)
7 (18.90) |
3 (60.0)
0 (0.00)
2 (40.0) |
6 (60.00)
4 (40.00)
0 (0.00) |
0.961 |
การสูบบุหรี่
ไม่สูบบุหรี่
สูบบุหรี่
เลิกแล้ว |
6 (100.00)
0 (0.00)
0 (0.00) |
28 (75.70)
3 (8.10)
6 (16.20) |
3 (60.00)
2 (40.00)
0 (0.00) |
10 (100.0)
0 (0.00)
0 (0.00) |
0.147 |
การดื่มแอลกอฮอล์
ไม่ดื่มแอลกอฮอล์
ดื่มแอลกอฮอล์
เลิกแล้ว |
6 (100.00)
0 (0.00)
0 (0.00) |
24 (64.90)
11 (29.70)
2 (5.40) |
3 (60.00)
2 (40.00)
0 (0.00) |
6 (60.00)
4 (40.00)
0 (0.00) |
0.362 |
Pre-op NYHA
Class I
Class II
Class III
Class IV |
0 (0.00)
6 (100.00)
0 (0.00)
0 (0.00) |
0 (0.00)
15 (40.50)
17 (45.90)
5 (13.50) |
0 (0.00)
4 (80.00)
1 (20.00)
0 (0.00) |
-
-
-
- |
|
Post-op NYHA
Class I
Class II
Class III
Class IV |
2 (33.33)
4 (66.70)
0 (0.00)
0 (0.00) |
16 (43.20)
19 (51.40)
2 (5.40)
0 (0.00) |
5 (100.0)
0 (0.00)
0 (0.00)
0 (0.00) |
10 (100.0)
0 (0.00)
0 (0.00)
0 (0.00) |
|
ตารางที่ 2 แสดงข้อมูลระยะเวลาการใช้เครื่องหัวใจและปอดเทียม ระยะเวลาการหนีบหลอดเลือดเอออร์ต้าและระยะเวลาการอยู่โรงพยาบาลของผู้ป่วยหลังผ่าตัดหัวใจแบบเปิด
ข้อมูล |
หัตถการ (กลุ่ม) |
Mean ± S.D. |
p-value |
ระยะเวลาการใช้เครื่องหัวใจและ
ปอดเทียม (นาที)
(Bypass time; min)
|
ทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจ
เปลี่ยนลิ้นหัวใจ
ซ่อมลิ้นหัวใจ
หัวใจพิการแต่กำเนิด |
155.67 ± 21.43
117.43 ± 38.68
117.20 ± 24.18
45.60 ± 24.62 |
0.000** |
ระยะเวลาการหนีบหลอดเลือด
เอออร์ต้า (นาที)
(Clamp time; min) |
ทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจ
เปลี่ยนลิ้นหัวใจ
ซ่อมลิ้นหัวใจ
หัวใจพิการแต่กำเนิด |
96.83 ± 13.08
91.73 ± 31.90
92.20 ± 20.95
9.00 ± 19.67 |
0.000** |
ระยะเวลาการอยู่โรงพยาบาล (วัน)
(Hospital stay; day) |
ทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจ
เปลี่ยนลิ้นหัวใจ
ซ่อมลิ้นหัวใจ
หัวใจพิการแต่กำเนิด |
13.00 ± 3.90
10.51 ± 4.27
15.80 ± 5.45
8.40 ± 1.35 |
0.001** |
ตารางที่ 3 แสดงคุณภาพชีวิตและสุขภาพโดยรวม คุณภาพชีวิตด้านร่างกาย ด้านจิตใจ ด้านสังคม
และด้านสิ่งแวดล้อมของผู้ป่วยหลังผ่าตัดหัวใจแบบเปิด
ข้อมูล |
หัตถการ |
Mean ± S.D. |
ระดับคุณภาพชีวิต |
p-value |
คุณภาพชีวิตและสุขภาพโดยรวม
คะแนนเต็ม 130 คะแนน |
ทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจ
เปลี่ยนลิ้นหัวใจ
ซ่อมลิ้นหัวใจ
หัวใจพิการแต่กำเนิด |
112.17 ± 6.01
113.84 ± 8.69
113.20 ± 16.93
113.57 ± 9.39 |
ดี
ดี
ดี
ดี |
0.958 |
คุณภาพชีวิตด้านร่างกาย
คะแนนเต็ม 35 คะแนน |
ทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจ
เปลี่ยนลิ้นหัวใจ
ซ่อมลิ้นหัวใจ
หัวใจพิการแต่กำเนิด |
30.17 ± 2.04
31.00 ± 2.72
28.80 ± 0.84
30.60 ± 2.94 |
ดี
ดี
ดี
ดี |
0.185 |
คุณภาพชีวิตด้านจิตใจ
คะแนนเต็ม 35 คะแนน |
ทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจ
เปลี่ยนลิ้นหัวใจ
ซ่อมลิ้นหัวใจ
หัวใจพิการแต่กำเนิด |
25.83 ± 2.23
27.19 ± 2.36
27.40 ± 2.52
27.19 ± 2.47 |
ดี
ดี
ดี
ดี |
0.320 |
คุณภาพชีวิตด้านสังคม
คะแนนเต็ม 15 คะแนน |
ทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจ
เปลี่ยนลิ้นหัวใจ
ซ่อมลิ้นหัวใจ
หัวใจพิการแต่กำเนิด |
13.33 ± 1.21
14.24 ± 4.54
15.00 ± 0.00
14.12 ± 3.75 |
ดี
ดี
ดี
ดี |
0.050 |
คุณภาพชีวิตด้านสิ่งแวดล้อม
คะแนนเต็ม 40 คะแนน |
ทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจ
เปลี่ยนลิ้นหัวใจ
ซ่อมลิ้นหัวใจ
หัวใจพิการแต่กำเนิด |
35.50 ± 1.98
33.76 ± 4.20
34.00 ± 6.00
33.67 ± 4.22 |
ดี
ดี
ดี
ดี |
0.532 |
ตารางที่ 4 แสดงอาการโรคซึมเศร้าของผู้ป่วยหลังผ่าตัดหัวใจแบบเปิด
ข้อมูล |
หัตถการ |
Mean ± S.D. |
p-value |
อาการโรคซึมเศร้า |
ทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจ
เปลี่ยนลิ้นหัวใจ
ซ่อมลิ้นหัวใจ
หัวใจพิการแต่กำเนิด |
0.83 ± 2.04
1.05 ± 2.68
0.00 ± 0.00
1.19 ± 2.58 |
0.038 |
วิจารณ์
การศึกษาคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยหลังผ่าตัดหัวใจแบบเปิดนานกว่า 5 ปี (ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2549-2555) โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยนเรศวร จังหวัดพิษณุโลก จากกลุ่มตัวอย่างมี 58 ราย แบ่งเป็น 4 กลุ่ม ได้แก่กลุ่มผู้ป่วยผ่าตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจ 6 ราย กลุ่มผู้ป่วยผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจ 37 ราย กลุ่มผู้ป่วยผ่าตัดซ่อมลิ้นหัวใจ 5 ราย และกลุ่มผู้ป่วยผ่าตัดหัวใจพิการแต่กำเนิด 10 ราย สาเหตุที่มีผู้ป่วยอยู่ในเกณฑ์คัดออกจำนวน 216 ราย จากทั้งหมด 400 ราย เนื่องจากข้อจำกัดของการใช้แบบบันทึกคุณภาพชีวิตขององค์การอนามัยโลก (WHOQOT-BREF-THAI) ในการศึกษาครั้งนี้ใช้ในผู้ป่วยที่มีอายุ 20-60 ปี ผู้ป่วยติดต่อไม่ได้ 120 ราย เนื่องจากผู้ป่วยส่วนใหญ่รับย้ายจากโรงพยาบาลอื่นในจังหวัดใกล้เคียง ผู้ป่วยบางรายได้ย้ายที่อยู่และเปลี่ยนหมายเลขมือถือ ทำให้ติดต่อไม่ได้ ผู้ป่วยเสียชีวิต 4 ราย จากการโทรสัมภาษณ์ญาติพบว่ามีสาเหตุจากการติดเชื้อในกระเสโลหิต 2 ราย และจากโรคหัวใจ 2 ราย ข้อมูลพื้นฐานของกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ เพศ สถานภาพสมรส รายได้เฉลี่ยต่อเดือน การสูบบุหรี่ และการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ของผู้ป่วยทั้ง 4 กลุ่มไม่ต่างกัน แต่กลุ่มผู้ป่วยผ่าตัดหัวใจพิการแต่กำเนิดอายุเฉลี่ยน้อยที่สุด หลังผ่าตัดการประเมินอาการของผู้ป่วยทุกกลุ่มตามเกณฑ์ New York Heart Association (NYHA) Classification6 ส่วนใหญ่อยู่ใน Class 1 ข้อมูลขณะผ่าตัด ได้แก่ ระยะเวลาการใช้เครื่องหัวใจและปอดเทียม ระยะเวลาการหนีบหลอดเลือดเอออร์ต้าและระยะเวลาการอยู่โรงพยาบาลของกลุ่มผู้ป่วยผ่าตัดหัวใจพิการแต่กำเนิดน้อยกว่าผู้ป่วยกลุ่มอื่น ๆ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ อาจเนื่องจากในปีแรก ๆ ที่เริ่มให้บริการผ่าตัดหัวใจแบบเปิดในผู้ป่วยที่มีความพิการมาแต่กำเนิดได้ผ่าตัดแก้ไขโรคหัวใจที่ไม่มีความซับซ้อนมาก เช่น การปิดรูรั่วที่ผนังหัวใจห้องบน การปิดรูรั่วที่ผนังหัวใจห้องล่าง เป็นต้น กลุ่มผู้ป่วยผ่าตัดซ่อมลิ้นหัวใจมีระยะเวลาอยู่โรงพยาบาลเฉลี่ยนานที่สุด อาจเนื่องมาจากมีผู้ป่วยบางรายเกิดภาวะแทรกซ้อนในช่วง 30 วันแรกหลังผ่าตัด ได้แก่ หัวใจเต้นผิดจังหวะ สอดคล้องกับงานวิจัยของ Almassi และคณะที่พบว่าผู้ป่วยหลังผ่าตัดหัวใจแบบเปิดมีอุบัติการณ์การเกิดภาวะหัวใจห้องบนเต้นสั่นพริ้ว (Atrial fibrillation) ร้อยละ 29.6 ผู้ป่วยที่ผ่าตัดซ่อมลิ้นหัวใจมีโอกาสเกิดภาวะหัวใจห้องบนเต้นสั่นพริ้วมากกว่าไม่เกิดถึง 2.86 เท่า (odd ratio = 2.86) จึงน่าจะทำให้ระยะเวลาการอยู่โรงพยาบาลนานขึ้น7
คะแนนคุณภาพชีวิตโดยรวมของผู้ป่วยทุกกลุ่มอยู่ในระดับดี คะแนนคุณภาพชีวิตในแต่ละด้าน ได้แก่ ด้านร่างกาย ด้านจิตใจ ด้านสังคม และด้านสิ่งแวดล้อมของผู้ป่วยทุกกลุ่มอยู่ในระดับดี สอดคล้องกับรายงานวิจัยที่พบว่าผู้ป่วยหลังผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจ 6 เดือน คุณภาพชีวิตอยู่ในระดับดี8 ผู้ป่วยหลังการผ่าตัดหัวใจแบบเปิดหลังการผ่าตัดในระยะสั้นน้อยกว่า 1 ปี 1 ถึง 2 ปี และมากกว่า 2 ปี พบว่ามีคุณภาพชีวิตและสุขภาพอยู่ในเกณฑ์ดี ไม่มีภาวะซึมเศร้า สามารถใช้ชีวิตประจำวันได้ดังเดิม9 งานวิจัยนี้ได้คะแนนคุณภาพชีวิตอยู่ในระดับดี อาจเนื่องมาจากทีมสหวิชาชีพของโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยนเรศวรได้วางแผนปฏิบัติการในการดูแลผู้ป่วยก่อนผ่าตัด ระหว่างผ่าตัด และหลังผ่าตัด ตลอดจนมีการฟื้นฟูสมรรถภาพหลังการผ่าตัดของผู้ป่วยและให้ความรู้ในการปฏิบัติตนเองเมื่อย้ายออกจากหอผู้ป่วยวิกฤตและเมื่อกลับไปอยู่บ้าน อีกทั้งผู้ป่วยได้ผ่านระยะเวลาหลังการผ่าตัดมานาน สามารถปรับตัว มีประสบการณ์และการเรียนรู้ที่จะดูแลตนเอง สอดคล้องกับการศึกษาของธิวาสา ลีวัธนะและคณะ ที่พบว่าความสามารถในการดูแลตัวเองมีความสัมพันธ์ในทางบวกกับคุณภาพชีวิต10
คะแนนภาวะซึมเศร้าของผู้ป่วยทุกกลุ่มต่ำกว่า 7 คะแนน แปลค่าอยู่ในระดับน้อยหรือไม่มีเลย สอดคล้องกับการศึกษาของจรัญ สายะสถิต และคณะ ที่พบว่าไม่มีภาวะโรคซึมเศร้าหลังจากผ่าตัดหัวใจ 6 เดือน ผู้ป่วยมีสุขภาพร่างกายดีขึ้น มีความสบายใจ สามารถใช้ชีวิตได้ตามปกติ ทำให้คนในครอบครัวมีสุขภาพจิตดีขึ้นตามไปด้วย9 และจากการได้สัมภาษณ์พบว่าภาวะซึมเศร้าที่เกิดขึ้นไม่ได้มีสาเหตุมาจากการผ่าตัดหัวใจหรือปัญหาในดูแลตนเองหลังผ่าตัดหัวใจเพราะผู้ป่วยผ่านระยะเวลาหลังผ่าตัดมาเป็นเวลานานมากกว่า 5 ปี แต่มีสาเหตุจากปัจจัยภายนอก คือปัญหาทางเศรษฐกิจ ได้แก่ การประกอบอาชีพ รายได้ สถานะการเงิน ปัญหารายได้ไม่เพียงพอต่อการดำรงชีวิต ซึ่งส่งผลต่อภาวะสุขภาพจิตทำให้เกิดภาวะซึมเศร้า11 ข้อจำกัดในการศึกษานี้ ได้แก่ เป็นการศึกษาในโรงพยาบาลเดียวและจำนวนผู้ป่วยน้อย จึงมีข้อเสนอแนะควรเพิ่มจำนวนกลุ่มตัวอย่างให้มากขึ้นและประเมินคุณภาพชีวิตและภาวะซึมเศร้าก่อนผ่าตัดเปรียบเทียบกับหลังผ่าตัด โดยสรุปผู้ป่วยหลังผ่าตัดหัวใจแบบเปิดนานกว่า 5 ปี ทั้ง 4 กลุ่ม ได้แก่กลุ่มผู้ป่วยผ่าตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจ กลุ่มผู้ป่วยเปลี่ยนลิ้นหัวใจ กลุ่มผู้ป่วยซ่อมลิ้นหัวใจ และกลุ่มผู้ป่วยผ่าตัดแก้ไขหัวใจพิการแต่กำเนิด ได้คะแนนคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพและโดยรวมระดับดี และมีองค์ประกอบของคุณภาพชีวิตได้แก่ ด้านร่างกาย จิตใจ สังคม และสิ่งแวดล้อมอยู่ในระดับดี สำหรับอาการของโรคซึมเศร้าอยู่ในระดับน้อยหรือไม่มี
สรุป
ทีมสหวิชาชีพมีความสำคัญในการดูแลผู้ป่วยตั้งแต่ก่อนผ่าตัด ระหว่างผ่าตัด และหลังผ่าตัด ตลอดจนการฟื้นฟูสมรรถภาพหลังการผ่าตัด และให้ความรู้ในการดูแลตนเองมื่อผู้ป่วยกลับไปอยู่บ้าน ส่งผลให้ผู้ป่วยหลังผ่าตัดหัวใจแบบเปิดนานกว่า 5 ปี มีคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพและโดยรวมอยู่ในระดับดี
กิตติกรรมประกาศ
ขอขอบคุณผู้ป่วยและญาติที่ร่วมมือในการทำวิจัย ขอขอบคุณเจ้าหน้าที่คลินิกศูนย์โรคหัวใจ โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยนเรศวร จังหวัดพิษณุโลก ที่อำนวยความสะดวกในการเก็บข้อมูล งานวิจัยนี้ได้รับการสนับสนุนจากกองทุนวิจัย มหาวิทยาลัยนเรศวร ปีงบประมาณ พ.ศ. 2560
เอกสารอ้างอิง
1. สำนักโรคไม่ติดต่อ. สถานการณ์โรคหัวใจและหลอดเลือด ปี 2559. [สืบค้นเมื่อ 03/08/2018]. แหล่งเข้าถึง http://www.thaincd.com/
2. แพรวพรรณ สุวรรณกิจ. เครื่องหัวใจและปอดเทียม: หลักการและการปฏิบัติ. พิมพ์ครั้งที่ 1 พิษณุโลก: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยนเรศวร, 2561.
3. สมาคมศัลยแพทย์ทรวงอกแห่งประเทศไทย. สถิติผ่าตัดหัวใจโรงพยาบาลรัฐบาลและเอกชนใน
ประเทศไทยปี 2559. [สืบค้นเมื่อ 3 สิงหาคม 2561]. แหล่งเข้าถึง http://thaists.org/news_detail.php?news_id=212.
4. สุวัฒน์ มหัตนิรันดร์กุล, วิระวรรณ ตันติพิวัฒนสกุล, วนิดา พุ่มไพศาลชัย, กรองจิตต์ วงศ์สุวรรณ,
ราณี พรมานะรังกุล. เครื่องชี้วัดคุณภาพชีวิตขององค์การอนามัยโลกชุดย่อ ฉบับภาษาไทย (WHOQOL- BREFTHAI). [สืบค้นเมื่อ 3 สิงหาคม 2561]. แหล่งเข้าถึง https://www.dmh.go.th/test/download/files/whoqol.pdf.
5. กลุ่มงานจิตเวช โรงพยาบาลพระนั่งเกล้า. แบบคัดกรองโรคซึมเศร้า. [สืบค้นเมื่อ 3 สิงหาคม 2561]. แหล่งเข้าถึง https://docs.google.com/viewer?a=v&pid=sites&srcid=ZGVmYXVsdGRvbWFpbnxkcndyb
290fGd4OjFjMWNkOTc5ZWM1ZDMwYTI.
6. Heart online. New York Heart Association (NYHA) Classification. [สืบค้นเมื่อ 3 สิงหาคม 2561]. แหล่งเข้าถึง http://www.heartonline.org.au/media/DRL/New_York_Heart_Association_(NYHA)_classification.pdf.
7. Almassi GH, Schowalter T, Nicolosi AC, Aggarwal A, Moritz TE, Henderson WG, et al. Atrial fbrillation after cardiac surgery. Ann Surg 1997; 226: 501-13.
8. แพรวพรรณ สุวรรณกิจ, ฐานิตา มั่นมี, ทิพย์รัตน์ อัครศารทูล, อลิษา คุ้มแพทย์, วัชรา แก้วมหานิล, เจษฎา เมธรุจภานนท์. คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยหลังผ่าตัดเปลี่ยนลิ้นหัวใจ. พุทธชินราชเวชสาร 2555; 26: 36-43.
9. จรัญ สายะสถิตย์, ธงวิไล กันทะสอน, ภาวินี เภารอด, วันดี เครือยา, สุวรรณา ภู่ทิม. คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยหลังผ่าตัดหัวใจแบบเปิด. พุทธชินราชเวชสาร 2552; 26: 216-28.
10. ธิวาสา ลีวัธนะ, แสงอรุณ อิสระมาลัย, ช่อลดา พันธุเสนา. ความสามารถในการดูแลตนเองและคุณภาชีวิตของผู้ป่วยหลังผ่าตัดหัวใจแบบเปิด. สงขลานครินทร์เวชสาร 2551; 26: 141-50.
11. เทพฤทธิ์ วงศ์ภูมิ, จักรกฤษณ์ สุขยิ่ง, อุมาพร อุดมทรัพยากุล. ความชุกของโรคซึมเศร้าในประชากรผู้สูงอายุจังหวัดเชียงใหม่. วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย 2554; 56: 103-16.