บทนำ
เภสัชกรโรงพยาบาล นอกจากมีบทบาทหน้าที่ในการเป็นส่วนหนึ่งของทีมในโรงพยาบาลเพื่อให้ข้อมูลสนับสนุนด้านยา และให้การดูแลผู้ป่วยด้านยาแล้ว การสอนงานนักศึกษาเภสัชศาสตร์ก็เป็นอีกบทบาทหนึ่งที่สำคัญ เภสัชกรแหล่งฝึกต้องสอนและถ่ายทอดประสบการณ์ควบคู่ไปกับการทำงานประจำ เพื่อให้นักศึกษาเภสัชศาสตร์ จบออกไปเป็นเภสัชกรที่สามารถสานต่อการทำงานในวิชาชีพ1 การสะท้อนพฤติกรรมการสอนงานนักศึกษาฝึกงานให้เภสัชกรพี่เลี้ยงรับทราบ เพื่อให้เภสัชกรพี่เลี้ยงปรับปรุงพฤติกรรมการสอนของตนเอง มีส่วนช่วยสนับสนุนให้นักศึกษาฝึกงานบรรลุวัตถุประสงค์การฝึกปฏิบัติงานวิชาชีพ2 อย่างไรก็ตาม ในบริบทของประเทศไทย นักศึกษายังมีความเกรงใจ และไม่กล้าเสนอแนะข้อคิดเห็นด้วยวาจาต่อเภสัชกรพี่เลี้ยงแหล่งฝึกโดยตรง
ประเทศไทยติดอันดับ 6 ของโลก ในกลุ่มประเทศที่นักเรียนไม่กล้าแสดงความคิดเห็นด้วยวาจาในห้องเรียน อาจเนื่องด้วยวัฒนธรรมการศึกษาของไทยที่ครูมีอำนาจสิทธิ์ขาดมากที่สุดในห้องเรียน ทำให้เด็กไม่กล้าแสดงความเห็น โดยเฉพาะความคิดเห็นที่แตกต่างจากครู หรือเพื่อนๆ ส่วนใหญ่3 แม้ในการฝึกปฏิบัติงานวิชาชีพของนักศึกษาเภสัชศาสตร์เอง การแสดงความคิดเห็นสะท้อนกลับเภสัชกรพี่เลี้ยงด้วยวาจาก็เป็นเรื่องที่ยาก เนื่องจาก นักศึกษาเกรงว่าอาจเกิดอคติกับเภสัชกรพี่เลี้ยงจนส่งผลต่อคะแนนประเมินผลการฝึกปฏิบัติงาน นักศึกษาฝึกงานส่วนใหญ่จึงเลือกที่จะไม่แสดงความคิดเห็น ทำให้เกิดการประเมินฝ่ายเดียวจากเภสัชกรพี่เลี้ยง โดยที่พี่เลี้ยงไม่ทราบข้อบกพร่องของตนเอง และขาดโอกาสในการพัฒนาการสอนงานให้นักศึกษาสามารถฝึกงานบรรลุเป้าหมายได้มากขึ้น ในปี พ.ศ. 2555 กลุ่มอาจารย์แหล่งฝึกปฏิบัติงานวิชาชีพเภสัชกรรมโรงพยาบาล ร่วมกับ 3 สถาบันคณะเภสัชศาสตร์ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โรงพยาบาลขอนแก่น จึงได้เริ่มใช้แบบประเมินพฤติกรรมการสอนของเภสัชกรพี่เลี้ยงโดยนักศึกษาฝึกงาน เพื่อให้นักศึกษาสามารถประเมินและเขียนข้อเสนอแนะได้อย่างอิสระ โดยไม่จำเป็นต้องระบุชื่อนักศึกษา เป็นการหลีกเลี่ยงการประเมินด้วยวาจาที่อาจเกิดอคติได้4
ในประเทศตะวันตกการฝึกงานของนักศึกษาในสาขาสาธารณสุข โดยเฉพาะนักศึกษาแพทย์ มีการประเมินซึ่งกันและกันระหว่างพี่เลี้ยงและนักศึกษาแพทย์ เพื่อพัฒนาการฝึกปฏิบัติงานให้ดีขึ้นอยู่เสมอ5 ในสหราชอาณาจักรเองการฝึกงานของนักศึกษาแพทย์ ก็มีการศึกษาถึงการให้ข้อมูลประเมินสะท้อนกลับแบบสองทางด้วยวาจาระหว่างกิจกรรมการฝึกของนักศึกษาแพทย์และพี่เลี้ยง โดยให้ทั้งพี่เลี้ยงและนักศึกษากรอกข้อมูลแบบสอบถาม แล้วนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์เชิงคุณภาพ เพื่อหารูปแบบการฝึกที่บรรลุเป้าหมายทั้งพี่เลี้ยงและนักศึกษา6 ส่วนการฝึกของนักศึกษาเภสัชศาสตร์เอง พบว่า ในสหรัฐอเมริกามีการศึกษาเกี่ยวกับ ความคิดเห็นของเภสัชกรประจำบ้านที่เรียนต่อเฉพาะทางชั้นปีที่ 1 ต่อพี่เลี้ยง เพื่อนำข้อมูลที่ได้มาสนับสนุนรูปแบบการฝึกปฏิบัติงานวิชาชีพ7
ที่ผ่านมาการประเมินเภสัชกรพี่เลี้ยงของโรงพยาบาลวารินชำราบใช้การประเมินภาพรวมของหน่วยฝึก ซึ่งในการศึกษานี้ได้แก่ หน่วยฝึกการบริบาลทางเภสัชกรรมผู้ป่วยนอก หน่วยฝึกการบริบาลทางเภสัชกรรมผู้ป่วยใน หน่วยฝึกสารสนเทศทางยา และ หน่วยฝึกการคุ้มครองผู้บริโภคด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพและการบริการสุขภาพ โดยหน่วยฝึกสารสนเทศทางยา, คุ้มครองผู้บริโภคฯ, และการบริบาลทางเภสัชกรรมผู้ป่วยใน มีเภสัชกรพี่เลี้ยงที่ทำหน้าที่สอนนักศึกษาฝึกงานเพียง 1 หรือ 2 คน ส่วนหน่วยฝึกการบริบาลทางเภสัชกรรมผู้ป่วยนอก มีจำนวนเภสัชกรพี่เลี้ยงมากที่สุด 4-7 คน จึงเป็นไปได้ว่ายิ่งมีเภสัชกรพี่เลี้ยงจำนวนมากขึ้น พฤติกรรมการสอน และความตระหนักถึงความสำคัญในการสอนงานนักศึกษาของแต่ละคนอาจลดลง ดังนั้นในการศึกษานี้ผู้วิจัยจึงมีวัตถุประสงค์เพื่อต้องการศึกษาเพิ่มเติมถึงผลการประเมินพฤติกรรมการสอนนักศึกษาฝึกงานของเภสัชกรพี่เลี้ยงในแต่ละกลุ่มแบ่งตามจำนวนเภสัชกรพี่เลี้ยงดังกล่าว
วิธีการศึกษา
รูปแบบการศึกษา การศึกษาแบบ Prospective study ในกลุ่มนักศึกษาเภสัชศาสตร์ชั้นปีที่ 6 ที่มาฝึกงาน ณ กลุ่มงานเภสัชกรรม โรงพยาบาลวารินชำราบ ตั้งแต่ 8 พฤษภาคม 2560 ถึง 26 มกราคม 2561 (ปีการศึกษา 2560) โดยแบ่งเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่มีเภสัชกรพี่เลี้ยง 1 , 2 และ 4-7 ราย ตลอดผลัดการฝึกต่อนักศึกษา 1 ราย การศึกษานี้ผ่านการรับรองจากคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ โรงพยาบาลวารินชำราบ เลขที่ 03 ลำดับที่ 2:03/2560
เกณฑ์การคัดเลือกตัวอย่างในการศึกษา
เกณฑ์การคัดเข้า นักศึกษาเภสัชศาสตร์ชั้นปีที่ 6 ที่เลือกฝึกปฏิบัติงานวิชาชีพเภสัชกรรม โรงพยาบาลวารินชำราบ เกณฑ์การคัดออก แบบประเมินที่กรอกให้คะแนนไม่ครบถ้วน
โดยขนาดตัวอย่างคำนวณได้จากสูตรต่อไปนี้8

กำหนดค่า Z = ค่ามาตรฐานเป็น 1.96
P = สัดส่วนนักศึกษาที่ตอบแบบสอบถามในการศึกษาก่อนหน้า 0.999
e = ความคาดเคลื่อน 0.05
n0 = ขนาดตัวอย่างที่ควรได้ต่อกลุ่ม 16 ราย
N = ขนาดประชากรนักศึกษาตลอดปีการศึกษา 43 ราย
n = ขนาดตัวอย่างหลังปรับประชากร 12 ราย
ดังนั้น ขนาดตัวอย่างของนักศึกษาฝึกงานที่ตอบแบบประเมินพฤติกรรมการสอนนักศึกษาฝึกงานของเภสัชกรพี่เลี้ยงควรมีไม่น้อยกว่า 12 รายต่อกลุ่ม ซึ่งในการศึกษานี้ นักศึกษาที่ตอบแบบสอบถามในกลุ่มที่มีเภสัชกรพี่เลี้ยง 1 คน มี 13 ราย และกลุ่มที่มีเภสัชกรพี่เลี้ยง 2 และ 4-7 ราย กลุ่มละ 15 ราย
นิยามศัพท์
พฤติกรรมการสอนนักศึกษาฝึกงาน ในการศึกษานี้ มี 5 มิติ ได้แก่ การปฐมนิเทศก่อนฝึกงาน การสื่อสารเพื่อพัฒนาการฝึกงานของนักศึกษา การประเมินนักศึกษาระหว่างฝึกงาน การเป็นต้นแบบที่ดีในการปฏิบัติงานและความรับผิดชอบในการสอน และการให้ความช่วยเหลือในการฝึกงาน (ภาคผนวก 2)
การฝึกปฏิบัติงานวิชาชีพเภสัชกรรม ในการศึกษานี้ 1 ปีการศึกษา แบ่งผลัดการฝึกปฏิบัติงานวิชาชีพเภสัชกรรมออกเป็น 6 ผลัด ผลัดละ 6 สัปดาห์10 นักศึกษา 1 ราย อยู่ฝึกต่อเนื่อง 2-3 ผลัด โดยเวียนหน่วยฝึก ambulatory care, acute care/medicine, และ DIS ยกเว้นหน่วยฝึกคุ้มครองผู้บริโภคฯ
หน่วยฝึกปฏิบัติงานวิชาชีพเภสัชกรรมและจำนวนพี่เลี้ยง ในการศึกษานี้ได้แก่
1. หน่วยฝึกการบริบาลทางเภสัชกรรมผู้ป่วยนอก (Ambulatory Care Unit) มีเภสัชกรพี่เลี้ยง 4-7 ราย ซึ่งเวียนการปฏิบัติหน้าที่จากหน่วยบริการห้องยาอื่น ทุก 6 เดือน 1 ปี ไม่ได้อยู่ประจำการฝึกทั้งปีการศึกษา
2. หน่วยฝึกการบริบาลทางเภสัชกรรมผู้ป่วยใน (Acute Care/Medicine Unit) มีเภสัชกรพี่เลี้ยง 2 ราย
3. หน่วยฝึกสารสนเทศทางยา (Drug Information Service: DIS) มีเภสัชกรพี่เลี้ยง 1 ราย
4. หน่วยฝึกการคุ้มครองผู้บริโภคด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพและการบริการสุขภาพ (Consumer Protection in Health Products and Health Services) มีเภสัชกรพี่เลี้ยง 1 ราย
เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา
1. เครื่องมือ: แบบสอบถาม แบ่งเป็น 3 ส่วน
ส่วนที่ 1 การประเมินพฤติกรรมการสอนนักศึกษาฝึกงานของเภสัชกรพี่เลี้ยง ประกอบด้วย 5 หมวดคำถาม ได้แก่ การปฐมนิเทศ การสื่อสารระหว่างฝึกงาน การประเมินระหว่างฝึกงาน การเป็นแบบอย่างที่ดี และการให้ความช่วยเหลือในการฝึกงาน นักศึกษาตอบแบบประเมินโดยแสดงความคิดเห็น 6 ระดับคะแนน โดยใช้ค่าคะแนนแบบ Likert scale ได้แก่
6 = เห็นด้วยอย่างยิ่ง (Agree Strongly) 3 = ไม่เห็นด้วยบ้างเล็กน้อย (Disagree Slightly)
5 = ค่อนข้างเห็นด้วย (Agree Moderately) 2 = ค่อนข้างไม่เห็นด้วย (Disagree Moderately)
4 = เห็นด้วยบ้างเล็กน้อย (Agree Slightly) 1 = ไม่เห็นด้วยอย่างยิ่ง (Disagree Strongly)
NA = ไม่สามารถประเมินได้ (Not Applicable to the Rotation)
ส่วนที่ 2 ข้อเสนอแนะเพิ่มเติมประกอบด้วย จุดแข็งของเภสัชกรพี่เลี้ยง ประเด็นที่เป็นกังวล และข้อเสนอแนะต่อเภสัชกรพี่เลี้ยงในการฝึกผลัดต่อไป
ส่วนที่ 3 การให้คะแนนประเมินเภสัชกรพี่เลี้ยงแบบภาพรวม (overall) โดยเป็นค่าคะแนนแบบ rating scale ให้นักศึกษาสามารถกรอกคะแนนได้อย่างอิสระตั้งแต่ 1 10 คะแนน โดย 1 คือน้อยที่สุดไปจนถึง 10 คือมากที่สุด
2. การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือ
1) แบบประเมินเภสัชกรพี่เลี้ยงต้นแบบ (ภาคผนวก 1) ที่เผยแพร่และเริ่มใช้ในกลุ่มเภสัชกรพี่เลี้ยงแหล่งฝึกปฏิบัติงานวิชาชีพเภสัชกรรม ร่วมกับคณะเภสัชศาสตร์ จากมหาวิทยาลัย 3 สถาบัน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และโรงพยาบาลขอนแก่น เริ่มใช้ในปี พ.ศ.2555 นำมาทดสอบความตรงเชิงเนื้อหา (Content Validity) ร่วมกับพิจารณาดัชนีความสอดคล้อง (Index of Item-Objective Congruence = IOC) โดยผู้เชี่ยวชาญในสาขาเภสัชกรรมปฏิบัติและการฝึกปฏิบัติงานวิชาชีพเภสัชกรรม 3 ท่าน ได้แก่
1. ภญ.ดร.เบญจพร ศิลารักษ์
ตำแหน่ง เภสัชกรชำนาญการหัวหน้างานเภสัชกรรมบริการสารสนเทศ
หน่วยงานกลุ่มงานเภสัชกรรม โรงพยาบาลขอนแก่น
2. ผศ.ดร.สมชาย สุริยะไกร
ตำแหน่งประธานหลักสูตรเภสัชศาสตรมหาบัณฑิต สาขาเภสัชกรรมคลินิก
หน่วยงาน คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
3. อาจารย์ ภก.พีรวัฒน์ จินาทองไทย
ตำแหน่งผู้ช่วยคณบดีฝ่ายพัฒนาวิชาชีพ กลุ่มวิชาเภสัชกรรมปฏิบัติ
หน่วยงานคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
2) แบบประเมินที่ได้นำไปทดลองใช้ (Try Out) กับนักศึกษาฝึกงานผลัดที่ 1 โรงพยาบาลวารินชำราบ ได้แบบสอบถามจำนวน 31 ชุดนำแบบประเมินที่ผ่านการทดลองใช้ไปทดสอบหาความเที่ยง (Reliability Test) โดยใช้ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟา (Cronbach's Alpha Coefficient) เพื่อตรวจสอบความสอดคล้องภายในของข้อคำถามในหมวดเดียวกัน ซึ่งค่าที่ยอมรับได้ต้องมีค่าตั้งแต่ 0.70 ขึ้นไป จึงได้แบบประเมินที่ใช้จริงในการศึกษา (ภาคผนวก 2)
การเก็บรวบรวมข้อมูล เภสัชกรผู้ประสานงานแหล่งฝึก นำแบบประเมินที่ผ่านการตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือมาใช้จริง โดยเภสัชกรพี่เลี้ยงแต่ละท่านในแต่ละหน่วยฝึกไม่ทราบรายละเอียดการประเมิน เพื่อลดอคติของเภสัชกรพี่เลี้ยงในการศึกษา แบบประเมินนี้ถูกใช้หลังจากนักศึกษาฝึกงานจบผลัด และเภสัชกรพี่เลี้ยงปิดผนึกแบบประเมินนักศึกษาพร้อมส่งกลับมหาวิทยาลัย เพื่อลดอคติในการประเมินนักศึกษา โดยมีตัวแทนนักศึกษาแต่ละผลัดเป็นผู้เก็บรวบรวมโดยที่เภสัชกรผู้ประสานงานแหล่งฝึกไม่ทราบผลการประเมินเภสัชกรพี่เลี้ยงแต่ละคนในแต่ละผลัดเช่นกัน เพื่อลดอคติในการศึกษาโดยเฉพาะกับนักศึกษาที่ต้องอยู่ต่อเนื่องหลายผลัด เมื่อครบทุกผลัดตลอดปีการศึกษา เภสัชกรผู้ประสานงานแหล่งฝึกจึงนำแบบประเมินทั้งหมดที่ได้มาทำการวิเคราะห์
การวิเคราะห์ข้อมูลและสถิติที่ใช้ แบบประเมินส่วนที่ 1 แต่ละข้อ นำเสนอผลการประเมินเภสัชกรพี่เลี้ยงโดยนักศึกษาฝึกงานในระดับ 6 เห็นด้วยอย่างยิ่ง (Agree Strongly) เป็นร้อยละ และค่าพิสัย เปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างกลุ่มโดยสถิติ Chi-square ส่วนที่ 2 นำเสนอเชิงพรรณนา แบบประเมินส่วนที่ 3 นำมาคิดเป็นคะแนนเฉลี่ย ข้อมูลกระจายตัวไม่ปกติ การเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างกลุ่มใช้สถิติ Kruskal-Wallis H กำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ p<0.05
ผลการศึกษา
1. ผลการตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือ (แบบประเมิน)
จากแบบประเมินต้นแบบมี 2 ส่วน ได้แก่ ส่วนที่ 1 คือ หมวดคำถาม 6 หมวด การให้คะแนนมี 3 ระดับ ประกอบด้วย ต้องปรับแก้ไข พึงพอใจ และบรรลุเป้าหมาย ส่วนที่ 2 ข้อเสนอแนะ ประกอบด้วย จุดแข็งของผู้ฝึกสอน ประเด็นที่เป็นกังวล และคำแนะนำต่อการพัฒนาสมรรถนะของอาจารย์ผู้ฝึกสอน (ภาคผนวก 1) ผลการตรวจสอบคุณภาพแบบประเมิน ได้แบบประเมิน 3 ส่วน ได้แก่ ส่วนที่ 1 หมวดคำถาม 5 หมวด ประกอบด้วย การปฐมนิเทศการฝึกงานการสื่อสารเพื่อพัฒนาการฝึกงานของนักศึกษา การประเมินนักศึกษาระหว่างการฝึกงาน การเป็นต้นแบบที่ดีในการปฏิบัติงานและความรับผิดชอบในการสอนนักศึกษาฝึกงาน และ การให้ความช่วยเหลือในการฝึกงาน การให้คะแนนมี 6 ระดับ ประกอบด้วย 6=เห็นด้วยอย่างยิ่ง 5=ค่อนข้างเห็นด้วย 4=เห็นด้วยบ้างเล็กน้อย 3=ไม่เห็นด้วยบ้างเล็กน้อย 2=ค่อนข้างไม่เห็นด้วย 1=ไม่เห็นด้วยอย่างยิ่ง ส่วนที่ 2 ข้อเสนอแนะเพิ่มเติม ประกอบด้วย จุดแข็งของอาจารย์พี่เลี้ยง ประเด็นที่เป็นกังวล และข้อเสนอแนะต่ออาจารย์พี่เลี้ยงในการฝึกผลัดต่อไป ส่วนที่ 3 คะแนนโดยภาพรวมของอาจารย์พี่เลี้ยง (Rating scale) คะแนนเต็ม 10 คะแนน (ภาคผนวก 2)
2. ผลคะแนนการประเมินพฤติกรรมการสอนของเภสัชกรพี่เลี้ยง
จากแบบสอบถาม 127 ชุด ที่ได้จากนักศึกษาฝึกงานจำนวน 43 คน พบว่า กลุ่มที่มีพี่เลี้ยง 1 ราย ได้คะแนนประเมินพฤติกรรมการสอนนักศึกษาฝึกงานในระดับ 6 เห็นด้วยอย่างยิ่งมากที่สุดในทุกหมวดคำถาม เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มที่มีพี่เลี้ยง 2 ราย คะแนนประเมินพฤติกรรมการสอนนักศึกษาฝึกงานของเภสัชกรพี่เลี้ยงไม่ต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ในขณะที่กลุ่มที่มีพี่เลี้ยง 4-7 ราย ได้คะแนนน้อยที่สุดในทุกหมวดคำถาม น้อยกว่ากลุ่มที่มีพี่เลี้ยง 1 และ 2 ราย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.001) โดยหมวดคำถามด้านการปฐมนิเทศการฝึก ได้คะแนนน้อยที่สุดเมื่อเทียบกับด้านอื่นๆ จากนักศึกษาฝึกงานทั้ง 3 กลุ่ม ด้วยค่าเฉลี่ย 78.8, 71.7, และ 37.8 ตามลำดับ (ตารางที่ 1)
เมื่อพิจารณาในรายละเอียด ด้านการปฐมนิเทศการฝึก ได้แก่ การแจ้งวัตถุประสงค์ก่อนฝึก การกำหนดเป้าหมายในการฝึกร่วมกัน และการจัดเตรียมกิจกรรมและมอบหมายงานล่วงหน้า พบว่า กลุ่มที่มีพี่เลี้ยง 1 และ 2 ราย ได้คะแนนไม่แตกต่างกัน ในขณะที่ กลุ่มที่มีพี่เลี้ยง 4-7 ราย ได้น้อยกว่ากลุ่มที่มีพี่เลี้ยง 1 และ 2 ราย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ยกเว้น การแนะนำให้รู้จักกับบุคลากรที่เกี่ยวข้อง พบว่า กลุ่มที่มีพี่เลี้ยง 1 ราย ได้คะแนนไม่แตกต่างจากกลุ่มที่มีพี่เลี้ยง 4-7 ราย (p=0.150) (ตารางที่ 2)
ด้านการสื่อสารเพื่อพัฒนาการฝึกของนักศึกษา ได้แก่ การพบปะพูดคุยอย่างสม่ำเสมอ การอภิปรายที่สนับสนุนให้นักศึกษาปฏิบัติตาม การยอมรับจุดอ่อนจุดแข็งของตนเอง และการให้โอกาสนักศึกษาตอบกลับขณะฝึกงาน พบว่า กลุ่มที่มีพี่เลี้ยง 1 และ 2 ราย ได้คะแนนไม่แตกต่างกัน ในขณะที่ กลุ่มที่มีพี่เลี้ยง 4-7 ราย ได้น้อยกว่ากลุ่มที่มีพี่เลี้ยง 1 และ 2 ราย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ยกเว้น การสื่อสารเกี่ยวกับความคาดหวังก่อนฝึกงาน พบว่า กลุ่มที่มีพี่เลี้ยง 1 ราย ได้คะแนนไม่แตกต่างจากกลุ่มที่มีพี่เลี้ยง 4-7 ราย (p=0.091) (ตารางที่ 3)
ด้านการประเมินนักศึกษาระหว่างการฝึกงานนั้น การให้ข้อเสนอแนะอย่างสร้างสรรค์ต่อเนื่องในการฝึก พบว่า กลุ่มที่มีพี่เลี้ยง 1 และ 2 ราย ได้คะแนนไม่แตกต่างกัน ในขณะที่ กลุ่มที่มีพี่เลี้ยง 4-7 ราย ได้น้อยกว่ากลุ่มที่มีพี่เลี้ยง 1 และ 2 ราย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ส่วนการตอบกลับในเชิงบวกเมื่อนักศึกษาปฏิบัติถูกต้อง พบว่า กลุ่มที่มีพี่เลี้ยง 2 ราย ได้คะแนนไม่ต่างจากกลุ่มที่มีพี่เลี้ยง 4-7 ราย (p=0.062) (ตารางที่ 4)
ด้านการเป็นต้นแบบที่ดีในการปฏิบัติงาน และความรับผิดชอบในการสอนนักศึกษาฝึกงาน พบว่า การจัดสรรเวลาต่องานรวมถึงความใส่ใจในการสอนนักศึกษาฝึกงานนั้น กลุ่มที่มีพี่เลี้ยง 1 ราย ได้คะแนนมากกว่ากลุ่มที่มีพี่เลี้ยง 2 ราย และกลุ่มที่มีพี่เลี้ยง 4-7 ราย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p=0.015, p=0.005 ตามลำดับ) สำหรับ ความรู้ทางวิชาการ และการนำทฤษฎีมาประยุกต์ใช้เพื่อปฏิบัติงานจริง พบว่า ไม่แตกต่างกันทั้ง 3 กลุ่ม ส่วนความเชื่อมั่นในตนเองและการทำงานโดยเน้นผู้ป่วยเป็นสำคัญของพี่เลี้ยง พบว่า กลุ่มที่มีพี่เลี้ยง 2 และ 4-7 ราย ไม่แตกต่างกัน (p=0.220) (ตารางที่ 5)
ด้านการให้ความช่วยเหลือในการฝึกงาน พบว่า การให้ความช่วยเหลือที่จำเป็น และการเปิดโอกาสให้นักศึกษาติดต่อและเข้าถึงพี่เลี้ยงได้โดยไม่มีข้อจำกัด กลุ่มที่มีพี่เลี้ยง 2 และ 4-7 ราย ไม่แตกต่างกัน (p=0.090, p=0.073 ตามลำดับ) ซึ่งกลุ่มที่มีพี่เลี้ยง 1 ราย ได้มากกว่ากลุ่มที่มีพี่เลี้ยง 4-7 ราย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p=0.042, p=0.045 ตามลำดับ) (ตารางที่ 6)
เมื่อพิจารณา ผลการประเมินเภสัชกรพี่เลี้ยงภาพรวมโดยนักศึกษาฝึกงาน (Rating Scale) คะแนนเต็ม 10 คะแนน กลุ่มที่มีพี่เลี้ยง 1 และ 2 ราย ได้คะแนนไม่แตกต่างกัน (p=0.067) ในขณะที่กลุ่มที่มีพี่เลี้ยง 4-7 ราย ได้คะแนนน้อยกว่ากลุ่มที่มีพี่เลี้ยง 1 และ 2 ราย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.001) (ตารางที่ 7)
3. ข้อเสนอแนะเพิ่มเติมต่อเภสัชกรพี่เลี้ยง
จุดแข็งของเภสัชกรพี่เลี้ยง ที่เหมือนกันทั้ง 3 กลุ่ม คือ เภสัชกรพี่เลี้ยงมีความรู้ความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน และสามารถถ่ายทอดความรู้จากประสบการณ์การทำงานได้ดี ประเด็นที่เป็นกังวล เหมือนกันทั้ง 3 กลุ่ม คือ ภาระงานที่มากของพี่เลี้ยง ทำให้มีเวลาจำกัดในการอภิปรายกรณีศึกษาระหว่างวัน โดยกลุ่มที่มีพี่เลี้ยง 4-7 คน มีความกังวลเรื่องการสื่อสารระหว่างกันของพี่เลี้ยง และความใส่ใจในการสอนนักศึกษาฝึกงานของพี่เลี้ยงแต่ละคนแตกต่างกัน ข้อเสนอแนะอื่นที่เหมือนกัน คือ อยากให้มีการอภิปรายกรณีศึกษารายวันมากขึ้น (ตารางที่ 8)
ตารางที่ 1 ผลการประเมินพฤติกรรมการสอนนักศึกษาฝึกงานของเภสัชกรพี่เลี้ยงโดยนักศึกษาฝึกงาน สรุปภาพรวมแต่ละหมวดคำถาม ในระดับ 6 เห็นด้วยอย่างยิ่ง (Agree Strongly)
จำนวนพี่เลี้ยง |
1 ราย |
2 ราย |
4-7 ราย |
p-value* |
ผลการประเมิน |
ร้อยละ |
พิสัย |
ร้อยละ |
พิสัย |
ร้อยละ |
พิสัย |
1. การปฐมนิเทศการฝึก |
78.8 |
3, 6 |
71.7 |
3, 6 |
37.8 |
1, 6 |
0.103a,
<0.001b, <0.001c |
2. การสื่อสารเพื่อพัฒนาการฝึกของนักศึกษา |
86.2 |
4, 6 |
73.3 |
3, 6 |
42.9 |
2, 6 |
0.112a,
<0.001b, <0.001c |
3. การประเมินนักศึกษาระหว่างการฝึกงาน |
92.3 |
5, 6 |
75.0 |
4, 6 |
47.0 |
2, 6 |
0.107a,
<0.001b, <0.001c |
4. การเป็นต้นแบบที่ดีในการปฏิบัติงาน และความรับผิดชอบในการฝึกสอน |
88.5 |
3, 6 |
75.8 |
3, 6 |
53.9 |
2, 6 |
0.087a,
<0.001b, <0.001c |
5. การให้ความช่วยเหลือในการฝึกงาน |
92.3 |
5, 6 |
81.1 |
3, 6 |
57.1 |
2, 6 |
0.265a,
<0.001b, 0.001c |
หมายเหตุ *สถิติ Chi-square ที่ระดับนัยสำคัญ p<0.05
a เปรียบเทียบกลุ่มพี่เลี้ยง 1 และ 2 ราย, b เปรียบเทียบกลุ่มพี่เลี้ยง 1 และ 4-7 ราย, c เปรียบเทียบกลุ่มพี่เลี้ยง 2 และ 4-7 ราย
ตารางที่ 2 ผลการประเมินพฤติกรรมการสอนนักศึกษาฝึกงานของเภสัชกรพี่เลี้ยงโดยนักศึกษาฝึกงาน ด้านการปฐมนิเทศการฝึก ในระดับ 6 เห็นด้วยอย่างยิ่ง (Agree Strongly)
จำนวนพี่เลี้ยง |
1 ราย |
2 ราย |
4-7 ราย |
p-value* |
ผลการประเมิน |
ร้อยละ |
พิสัย |
ร้อยละ |
พิสัย |
ร้อยละ |
พิสัย |
1.1 แจ้งและอธิบายเกี่ยวกับวัตถุประสงค์การฝึกเฉพาะตัวของนักศึกษาในผลัดนี้ สอดคล้องกับแบบประเมินของมหาวิทยาลัย |
84.6 |
5, 6 |
73.3 |
5, 6 |
32.1 |
1, 6 |
0.421a,
0.004b, <0.001c |
1.2 อภิปรายเกี่ยวกับประสบการณ์และปูมหลังของนักศึกษาเพื่อช่วยกำหนดเป้าหมายการฝึกเฉพาะตัวในการฝึกผลัดนี้ |
69.2 |
3, 6 |
76.7 |
4, 6 |
41.7 |
1, 6 |
0.095a,
0.021b, 0.001c |
1.3 จัดเตรียมกิจกรรมและงานมอบหมายไว้ล่วงหน้า และอภิปรายร่วมกันกับนักศึกษาในช่วงแรกในการฝึก |
100.0 |
6, 6 |
73.3 |
3, 6 |
32.1 |
1, 6 |
0.089a,
<0.001b, 0.001c |
1.4 แนะนำให้นักศึกษารู้จักบุคลากร นโยบาย ตลอดจนแนวทางปฏิบัติในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการฝึก |
61.5 |
3, 6 |
63.3 |
5, 6 |
45.2 |
1, 6 |
0.288a,
0.150b, 0.003c |
หมายเหตุ *สถิติ Chi-square ที่ระดับนัยสำคัญ p<0.05
a เปรียบเทียบกลุ่มพี่เลี้ยง 1 และ 2 ราย, b เปรียบเทียบกลุ่มพี่เลี้ยง 1 และ 4-7 ราย, c เปรียบเทียบกลุ่มพี่เลี้ยง 2 และ 4-7 ราย
ตารางที่ 3 ผลการประเมินพฤติกรรมการสอนนักศึกษาฝึกงานของเภสัชกรพี่เลี้ยงโดยนักศึกษาฝึกงาน ด้านการสื่อสารเพื่อพัฒนาการฝึกของนักศึกษา ในระดับ 6 เห็นด้วยอย่างยิ่ง (Agree Strongly)
จำนวนพี่เลี้ยง |
1 ราย |
2 ราย |
4-7 ราย |
p-value* |
ผลการประเมิน |
ร้อยละ |
พิสัย |
ร้อยละ |
พิสัย |
ร้อยละ |
พิสัย |
2.1 สื่อสารเกี่ยวกับความคาดหวังของแหล่งฝึกอย่างชัดเจนก่อนเริ่มการฝึกงาน |
69.2 |
4, 6 |
80.0 |
5, 6 |
34.5 |
2, 6 |
0.276a,
0.091b, <0.001c |
2.2 พบปะพูดคุย แนะนำ และแจ้งความคืบหน้าในผลการฝึกของนักศึกษาอย่างสม่ำเสมอ |
92.3 |
5, 6 |
66.7 |
3, 6 |
50.0 |
2, 6 |
0.145a,
0.035b, 0.045c |
2.3 อภิปรายเกี่ยวกับค่านิยม ความเชื่อ และแนวทางที่มีผลต่อการตัดสินใจของนักศึกษาในการปฏิบัติงาน ที่สนับสนุนให้นักศึกษาปฏิบัติเช่นเดียวกันกับอาจารย์พี่เลี้ยง |
76.9 |
5, 6 |
76.7 |
5, 6 |
39.3 |
2, 6 |
0.985a,
0.042b, 0.003c |
2.4 อาจารย์พี่เลี้ยงยอมรับจุดอ่อนจุดแข็งของตนเอง และสนับสนุนให้นักศึกษาปฏิบัติเช่นเดียวกันกับอาจารย์พี่เลี้ยง |
92.3 |
5, 6 |
66.7 |
5, 6 |
41.7 |
4, 6 |
0.077a,
0.003b, 0.021c |
2.5 เปิดโอกาสให้นักศึกษาอภิปราย และตอบกลับ (feedback) เกี่ยวกับแนวคิดของอาจารย์พี่เลี้ยง และกิจกรรมการฝึกอย่างต่อเนื่อง |
100.0 |
6, 6 |
76.7 |
4, 6 |
48.8 |
4, 6 |
0.060a,
0.001b, 0.030c |
หมายเหตุ *สถิติ Chi-square ที่ระดับนัยสำคัญ p<0.05
a เปรียบเทียบกลุ่มพี่เลี้ยง 1 และ 2 ราย, b เปรียบเทียบกลุ่มพี่เลี้ยง 1 และ 4-7 ราย, c เปรียบเทียบกลุ่มพี่เลี้ยง 2 และ 4-7 ราย
ตารางที่ 4 ผลการประเมินพฤติกรรมการสอนนักศึกษาฝึกงานของเภสัชกรพี่เลี้ยงโดยนักศึกษาฝึกงาน ด้านการประเมินนักศึกษาระหว่างการฝึกงาน ในระดับ 6 เห็นด้วยอย่างยิ่ง (Agree Strongly)
จำนวนพี่เลี้ยง |
1 ราย |
2 ราย |
4-7 ราย |
p-value* |
ผลการประเมิน |
ร้อยละ |
พิสัย |
ร้อยละ |
พิสัย |
ร้อยละ |
พิสัย |
3.1 ตอบกลับในเชิงบวกเมื่อนักศึกษาแสดงทักษะ ความรู้ และพฤติกรรมในการฝึกปฏิบัติอย่างถูกต้อง |
92.3 |
5, 6 |
70.0 |
4, 6 |
48.8 |
3, 6 |
0.206a,
0.032b, 0.062c |
3.2 มีการประเมินและให้ข้อเสนอแนะอย่างสร้างสรรค์ในกิจกรรมการฝึกอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง |
92.3 |
5, 6 |
80.0 |
4, 6 |
45.2 |
2, 6 |
0.480a,
0.015b, 0.015c |
หมายเหตุ *สถิติ Chi-square ที่ระดับนัยสำคัญ p<0.05
a เปรียบเทียบกลุ่มพี่เลี้ยง 1 และ 2 ราย, b เปรียบเทียบกลุ่มพี่เลี้ยง 1 และ 4-7 ราย, c เปรียบเทียบกลุ่มพี่เลี้ยง 2 และ 4-7 ราย
ตารางที่ 5 ผลการประเมินพฤติกรรมการสอนนักศึกษาฝึกงานของเภสัชกรพี่เลี้ยงโดยนักศึกษาฝึกงาน ด้านการเป็นต้นแบบที่ดีในการปฏิบัติงาน และความรับผิดชอบในการสอนนักศึกษาฝึกงาน ในระดับ 6 เห็นด้วยอย่างยิ่ง (Agree Strongly)
จำนวนพี่เลี้ยง |
1 ราย |
2 ราย |
4-7 ราย |
p-value* |
ผลการประเมิน |
ร้อยละ |
พิสัย |
ร้อยละ |
พิสัย |
ร้อยละ |
พิสัย |
4.1 อาจารย์พี่เลี้ยงแสดงให้นักศึกษาเห็นถึงความเชื่อมั่นในตนเอง ทักษะการตัดสินใจ การปฏิสัมพันธ์ การสื่อสารที่ดีต่อผู้ร่วมงาน ผู้ป่วย และบุคลากรอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องในการทำงานโดยเน้นผู้ป่วยเป็นสำคัญ |
92.3 |
5, 6 |
76.7 |
5, 6 |
58.3 |
2, 6 |
0.226a,
0.043b, 0.220c |
4.2 อาจารย์พี่เลี้ยงแสดงให้นักศึกษาเห็นถึงความเชื่อมั่นในความรู้ทางวิชาการ และความสามารถของอาจารย์พี่เลี้ยงที่เกี่ยวข้องกับการทำงานในบทบาทเภสัชกร |
92.3 |
5, 6 |
80.0 |
5, 6 |
61.9 |
2, 6 |
0.579a,
0.056b, 0.160c |
4.3 อาจารย์พี่เลี้ยงแสดงให้นักศึกษาเห็นความสอดคล้องกันของหลักการ/ทฤษฎีทางเภสัชกรรมกับการปฏิบัติงานจริง |
84.6 |
5, 6 |
83.3 |
4, 6 |
57.1 |
2, 6 |
0.688a,
0.080b, 0.127c |
4.4 อาจารย์พี่เลี้ยงจัดสรรเวลาต่องานทุกงานที่รับผิดชอบได้ดี ตลอดจนมีความสนใจ ความใส่ใจ รับผิดชอบในการฝึกสอน แม้มีภาระงานประจำ โดยสามารถทำให้งานประจำและการฝึกสอนสอดคล้องไปด้วยกันได้อย่างเหมาะสม |
84.6 |
3, 6 |
63.3 |
3, 6 |
38.1 |
2, 6 |
0.015a,
0.005b, 0.012c |
หมายเหตุ * สถิติ Chi-square ที่ระดับนัยสำคัญ p<0.05
a เปรียบเทียบกลุ่มพี่เลี้ยง 1 และ 2 ราย, b เปรียบเทียบกลุ่มพี่เลี้ยง 1 และ 4-7 ราย, c เปรียบเทียบกลุ่มพี่เลี้ยง 2 และ 4-7 ราย
ตารางที่ 6 ผลการประเมินพฤติกรรมการสอนนักศึกษาฝึกงานของเภสัชกรพี่เลี้ยงโดยนักศึกษาฝึกงาน ด้านการให้ความช่วยเหลือในการฝึกงาน ในระดับ 6 เห็นด้วยอย่างยิ่ง (Agree Strongly)
จำนวนพี่เลี้ยง |
1 ราย |
2 ราย |
4-7 ราย |
p-value* |
ผลการประเมิน |
ร้อยละ |
พิสัย |
ร้อยละ |
พิสัย |
ร้อยละ |
พิสัย |
5.1 ชี้แนะนักศึกษาโดยใช้กระบวนการถามตอบ ให้คำแนะนำในการศึกษาเพิ่มเติมมากกว่าบรรยายให้ความรู้ และฝึกให้นักศึกษาคิด |
92.3 |
5, 6 |
86.7 |
5, 6 |
58.3 |
3, 6 |
0.990a,
0.026b, 0.018c |
5.2 ให้ความช่วยเหลือที่จำเป็นแก่นักศึกษา เพื่อให้นักศึกษาบรรลุการฝึกปฏิบัติที่ไม่สามารถทำได้ด้วยตนเอง |
92.3 |
5, 6 |
83.3 |
5, 6 |
58.3 |
2, 6 |
0.764a,
0.042b, 0.090c |
5.3 ให้การดูแล แนะนำนักศึกษาในกิจกรรมการฝึกที่เพียงพอ โดยเปิดโอกาสให้นักศึกษาสามารถติดต่อ และเข้าถึงอาจารย์พี่เลี้ยงได้ โดยไม่มีข้อจำกัด |
92.3 |
5, 6 |
73.3 |
3, 6 |
54.8 |
2, 6 |
0.370a,
0.045b, 0.073c |
หมายเหตุ *สถิติ Chi-square ที่ระดับนัยสำคัญ p<0.05
a เปรียบเทียบกลุ่มพี่เลี้ยง 1 และ 2 ราย, b เปรียบเทียบกลุ่มพี่เลี้ยง 1 และ 4-7 ราย, c เปรียบเทียบกลุ่มพี่เลี้ยง 2 และ 4-7 ราย
ตารางที่ 7 ผลการประเมินเภสัชกรพี่เลี้ยงภาพรวมโดยนักศึกษาฝึกงาน (Rating Scale)
จำนวนพี่เลี้ยง |
1 ราย |
2 ราย |
4-7 ราย |
p-value* |
จำนวนแบบประเมิน (n=127) |
13 |
30 |
84 |
จำนวนนักศึกษาที่ประเมิน (ทั้งหมด 43 ราย) |
13 |
15 |
15 |
คะแนน (เต็ม 10 คะแนน) |
เฉลี่ย |
SD |
เฉลี่ย |
SD |
เฉลี่ย |
SD |
คะแนนภาพรวม |
9.72 |
0.43 |
9.13 |
0.81 |
8.23 |
1.08 |
0.067a,
<0.001b, <0.001c |
หมายเหตุ *สถิติ Kruskal-Wallis H ที่ระดับนัยสำคัญ p<0.05
a เปรียบเทียบกลุ่มพี่เลี้ยง 1 และ 2 ราย, b เปรียบเทียบกลุ่มพี่เลี้ยง 1 และ 4-7 ราย, c เปรียบเทียบกลุ่มพี่เลี้ยง 2 และ 4-7 ราย
ตารางที่ 8 สรุปข้อเสนอแนะเพิ่มเติมต่อเภสัชกรพี่เลี้ยงแต่ละกลุ่ม
ข้อเสนอแนะเพิ่มเติม |
จำนวนพี่เลี้ยง |
1 ราย |
2 ราย |
4-7 ราย |
จุดแข็งของอาจารย์พี่เลี้ยง |
1. มีความรู้ความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน
2. ถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์การทำงานได้ดี
3. แม้ภาระงานเยอะ แต่สามารถจัดสรรเวลาให้คำแนะนำนักศึกษาได้ดี และสามารถติดต่อทางออนไลน์ได้ตลอดเวลาหากพี่เลี้ยงไม่อยู่ |
1. มีความรู้ความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน
2. ถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์การทำงานได้ดี
3. มีความใส่ใจในการฝึกงานนักศึกษา การตรวจงาน และการอภิปรายกรณีศึกษา |
1. มีความรู้ความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน
2. ถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์การทำงานได้ดี
3. ได้เรียนรู้ประสบการณ์หลากหลายจากพี่เลี้ยงหลายคน |
ประเด็นที่เป็นกังวล |
ภาระงานที่มากของพี่เลี้ยง ทำให้มีเวลาในการอภิปรายน้อยลง |
ภาระงานที่มากของพี่เลี้ยง ทำให้มีเวลาในการอภิปรายน้อยลง |
1. ภาระงานที่มากของพี่เลี้ยง ทำให้มีเวลาในการอภิปรายน้อยลง
2. การสื่อสาร/ส่งต่อการฝึกงานระหว่างพี่เลี้ยงแต่ละคน
3. ความใส่ใจในการสอนนักศึกษาฝึกงานของพี่เลี้ยงแต่ละคนแตกต่างกัน |
ข้อเสนอแนะในการฝึกผลัดต่อไป |
1. อยากให้มีการอภิปรายกรณีศึกษารายวันมากขึ้น
2. อยากให้มีการฝึกรูปแบบนี้ต่อไป โดยภาพรวมดีแล้ว |
อยากให้มีการอภิปรายกรณีศึกษารายวันมากขึ้น |
1. อยากให้มีการอภิปรายกรณีศึกษารายวันมากขึ้น
2. อยากให้พี่เลี้ยงแต่คนสื่อสารกันเกี่ยวกับแนวทางการฝึกงานให้สอดคล้องและเป็นไปในแนวทางเดียวกันมากขึ้น |
วิจารณ์
การศึกษานี้ ทำให้เกิดการสะท้อนข้อมูลกลับ (feed-back) ในด้านพฤติกรรมการสอนนักศึกษาฝึกงานของเภสัชกรพี่เลี้ยงโดยนักศึกษาฝึกงาน จากการศึกษาของ Huang และคณะ พบว่า การฝึกงานในสายการแพทย์ที่ผ่านมา พี่เลี้ยงมักเป็นฝ่ายประเมินทักษะและสมรรถนะในการฝึกงานของนักศึกษาฝ่ายเดียวถึงร้อยละ 75 ในคณะที่นักศึกษาถูกอนุญาตให้อภิปรายเกี่ยวกับสมรรถนะของพี่เลี้ยงเพียงร้อยละ 25 เท่านั้น และไม่บ่อยนักที่จะได้อภิปรายพี่เลี้ยงในเรื่องดังกล่าว11 ในการศึกษานี้ นักศึกษาทำแบบประเมินพฤติกรรมการสอนนักศึกษาฝึกงานของเภสัชกรพี่เลี้ยงฝ่ายเดียว ซึ่งในมุมมองของพี่เลี้ยงในการทำแบบประเมินชุดเดียวกันนี้เพื่อการประเมินตนเอง อาจแตกต่างจากนักศึกษา มีการศึกษาก่อนหน้าของ Sonthisombat ทำการศึกษาในนักศึกษาเภสัชศาสตร์ ชั้นปีที่ 6 คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ประเทศไทย จำนวน 77 คน ที่ออกฝึกงานในแหล่งฝึกปฏิบัติงานวิชาชีพเภสัชกรรมทั่วประเทศ จำนวน 53 แหล่งฝึก พบว่า เภสัชกรพี่เลี้ยงมีแนวโน้มให้คะแนนพฤติกรรมการสอนนักศึกษาฝึกงานของตนเองมากกว่าที่นักศึกษาให้ร้อยละ 19 โดยเฉพาะประเด็นเรื่องการสื่อสารกับนักศึกษาในระหว่างฝึกงาน8 ในการศึกษานี้ หมวดคำถามที่ได้ผลการประเมินจากนักศึกษาฝึกงานในระดับ 6 เห็นด้วยอย่างมาก (Agree Strongly) มากที่สุด ทั้ง 3 กลุ่ม คือ การให้ความช่วยเหลือในการฝึกงานของเภสัชกรพี่เลี้ยง ซึ่งการศึกษาของ Vos และคณะ ที่ทำการศึกษาการฝึกอบรมเพื่อพัฒนาเภสัชกรแหล่งฝึกทางเภสัชกรรม โดยคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยไอโอว่า สหรัฐอเมริกา พบว่า นักศึกษาให้คะแนนพี่เลี้ยงในหมวดการประเมินอย่างต่อเนื่อง และการให้ความช่วยเหลือในการฝึกงานเพิ่มขึ้นมากที่สุด ตามลำดับ12 ผลการศึกษานี้สอดคล้องกับการศึกษาของ Vos และคณะ ในเรื่องการให้ความช่วยเหลือของเภสัชกรพี่เลี้ยง แต่ไม่สามารถเปรียบเทียบกันได้โดยตรง เนื่องจากในบริบทของการศึกษานี้ไม่มีปัจจัยของการฝึกอบรมเภสัชกรพี่เลี้ยงมาเกี่ยวข้อง
แม้ผลการศึกษานี้จะให้ข้อมูลว่า นักศึกษาฝึกงานกลุ่มที่มีเภสัชกรพี่เลี้ยง 1 หรือ 2 คน ให้คะแนนประเมินเภสัชกรพี่เลี้ยงภาพรวมมากกว่ากลุ่มที่มีเภสัชกรพี่เลี้ยง 4-7 คน แต่การศึกษาของ McClendon และคณะ กลับพบว่า การฝึกประสบการณ์โดยการมีส่วนร่วมของนักศึกษาชั้นปีที่ 4 คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมิสซิสซิปปี สหรัฐอเมริกา ในแหล่งฝึกทางเภสัชกรรมกับพี่เลี้ยงหลายคน ทำให้นักศึกษาเกิดการเรียนรู้ และมีประสบการณ์ที่หลากหลายจากการอภิปรายกับพี่เลี้ยงแต่ละคนมากกว่า อีกทั้งนักศึกษามีคะแนนผลการสอบวัดความรู้เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 59.1 เป็น 76.5 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ13 แต่ไม่ได้มีการเปรียบเทียบกับการฝึกโดยมีพี่เลี้ยงคนเดียวหรือ 2 คน ซึ่งในอนาคตอาจทำการศึกษาโดยให้มีการสอบวัดผลความรู้นักศึกษาเพิ่มเติมในทั้ง 3 กลุ่ม เพื่อดูความสอดคล้องหรือความแตกต่างระหว่างคะแนนประเมินพฤติกรรมการสอนนักศึกษาฝึกงาน และผลการสอบวัดความรู้ของนักศึกษา อย่างไรก็ตาม บริบทการฝึกปฏิบัติงานวิชาชีพเภสัชกรรมในการศึกษานี้ ต่างจากการศึกษาของ McClendon และคณะ เนื่องจากเภสัชกรแหล่งฝึกในการศึกษานี้มีข้อจำกัดด้านภาระงาน และระยะเวลาในการอภิปรายกรณีศึกษา แม้เภสัชกรแต่ละท่านจะผ่านการฝึกอบรมเฉพาะด้านมาแล้ว และทำงานในคลินิกสาขาต่างๆ จนเกิดความชำนาญ แต่มีเวลาจำกัดในการสอนและอภิปรายกรณีศึกษา ในขณะที่การศึกษาของ McClendon มีการกำหนดระยะเวลาอภิปรายกรณีศึกษา และการบรรยายให้ความรู้นักศึกษาฝึกงานในตารางฝึกแต่ละคลินิกอย่างชัดเจนอย่างน้อย 2-3 ครั้งต่อสัปดาห์ ครั้งละ 60-90 นาที13
แหล่งฝึกปฏิบัติงานวิชาชีพเภสัชกรรม โรงพยาบาลวารินชำราบ ในช่วงที่ทำการศึกษา หน่วยฝึกคุ้มครองผู้บริโภคฯ มีเภสัชกรพี่เลี้ยง 1 ราย จบการศึกษาระดับปริญญาโท ด้านคุ้มครองผู้บริโภคฯ หน่วยฝึกการบริบาลทางเภสัชกรรมผู้ป่วยใน มีพี่เลี้ยง 2 ราย ผ่านการอบรมและสอบผ่านได้รับประกาศนียบัตรแสดงความรู้ความชำนาญ สาขาเภสัชกรรมบำบัด ส่วนหน่วยฝึกสารสนเทศทางยา มีพี่เลี้ยง 1 คน วุฒิปริญญาตรี ที่ไม่ได้ผ่านการอบรมเฉพาะด้าน แต่มีความถนัดในงานด้านนี้ และหน่วยฝึกการบริบาลทางเภสัชกรรมผู้ป่วยนอก เภสัชกรพี่เลี้ยงเกือบทั้งหมด มีวุฒิปริญญาตรี แต่ทุกคนผ่านการอบรมระยะสั้นคลินิกเฉพาะด้าน ที่แตกต่างกันในแต่ละสาขา อีกทั้งยังต้องเวียนงานทุก 6 เดือน หรือ 1 ปี ไม่ได้ฝึกนักศึกษาประจำหน่วยอย่างต่อเนื่องตลอดปีการศึกษา นอกจากปัจจัยด้านการเวียนงานแล้ว วุฒิการศึกษาของเภสัชกรพี่เลี้ยง ก็น่าจะมีผลต่อการประเมินพฤติกรรมการสอนนักศึกษาฝึกงาน แต่การศึกษาก่อนหน้าของ Young และคณะ จากคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยไอโอว่า สหรัฐอเมริกา กลับพบว่า วุฒิการศึกษา และการมีประกาศนียบัตรเฉพาะทางของเภสัชกรพี่เลี้ยง ไม่มีผลต่อการประเมินพฤติกรรมการสอนนักศึกษาฝึกงาน และการจัดอันดับแหล่งฝึกที่ดี14 ซึ่งการศึกษานี้เภสัชกรพี่เลี้ยงหน่วยฝึกสารสนเทศทางยาได้คะแนนประเมินพฤติกรรมการสอนมากที่สุดในทุกด้านเมื่อเทียบกับหน่วยฝึกอื่น และหากพิจารณาเภสัชกรพี่เลี้ยงในหน่วยฝึกการบริบาลทางเภสัชกรรมผู้ป่วยนอกรายบุคคล พบว่า มีพี่เลี้ยงวุฒิปริญญาตรีบางคนที่ได้คะแนนประเมินพฤติกรรมการสอนในทุกหมวดคำถามไม่ต่างจากกลุ่มที่มีพี่เลี้ยงคนเดียวหรือ 2 ราย ในขณะที่บางคนได้คะแนนน้อยที่สุดในทุกหมวดคำถาม ดังนั้นอาจเป็นไปได้ว่าพฤติกรรมการสอนของพี่เลี้ยงขึ้นอยู่กับความใส่ใจ และการให้ความสำคัญกับการสอนนักศึกษาฝึกงานของแต่ละบุคคลด้วยโยชน์ในการปรับปรุงการฝึกปฏิบัติงานทางเภสัชกรรมของนักศึกษาเภสัชศาสตร์ ทุกมหา
การศึกษานี้แม้ทำในแหล่งฝึกปฏิบัติงานวิชาชีพเภสัชกรรมแห่งเดียว แต่เป็นแหล่งฝึกในขนาดโรงพยาบาลทั่วไป มีความหลากหลายของนักศึกษาจากคณะเภสัชศาสตร์หลายมหาวิทยาลัย ซึ่งได้รับการยอมรับ และผ่านการประเมินให้เป็นแหล่งฝึกปฏิบัติงานวิชาชีพเภสัชกรรม จากคณะเภสัชศาสตร์ทุกมหาวิทยาลัยที่มาทำการนิเทศสำรวจ อย่างไรก็ตาม หากสามารถขยายการศึกษาไปสู่แหล่งฝึกหลากหลายแห่ง หลากหลายขนาดโรงพยาบาลทั่วประเทศ ผลการศึกษาที่ได้อาจนำมาซึ่งข้อมูลที่เป็นประโยชน์ในการปรับปรุงรายวิชาที่เกี่ยวข้องกับการฝึกปฏิบัติงานวิชาชีพเภสัชกรรม ของนักศึกษาเภสัชศาสตร์ทุกมหาวิทยาลัยทั่วประเทศให้เป็นไปในแนวทางเดียวกัน
สรุป
จำนวนเภสัชกรพี่เลี้ยงที่มากขึ้น มีผลต่อคะแนนประเมินพฤติกรรมการสอนนักศึกษาฝึกงานของเภสัชกรพี่เลี้ยงที่ด้อยกว่าการมีเภสัชกรพี่เลี้ยงคนเดียวหรือสองคน อย่างไรก็ตาม ข้อจำกัดของเภสัชกรพี่เลี้ยงประจำแหล่งฝึกปฏิบัติงานวิชาชีพเภสัชกรรมโรงพยาบาล ส่วนใหญ่เกิดจากภาระงานประจำ ซึ่งส่งผลต่อระยะเวลาในการอภิปรายกรณีศึกษารายวันกับนักศึกษาฝึกงาน
กิตติกรรมประกาศ
ขอขอบพระคุณ ภญ.ดร.เบญจพร ศิลารักษ์ กลุ่มงานเภสัชกรรม โรงพยาบาลขอนแก่น ผศ.ดร. สมชาย สุริยะไกร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น อาจารย์ ภก.พีรวัฒน์ จินาทองไทย คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ผู้ให้คำแนะนำในการศึกษาครั้งนี้จนสำเร็จลุล่วงไปด้วยดี Dr. Michael Katz, Professor จาก The College of Pharmacy's Department of Pharmacy Practice and Science, University of Arizona และ ผศ.(พิเศษ) ภญ.อาภรณ์ จตุรภัทรวงศ์ หัวหน้ากลุ่มงานเภสัชกรรม โรงพยาบาลวารินชำราบ
เอกสารอ้างอิง
1. สภาเภสัชกรรม. เกณฑ์มาตรฐานผู้ประกอบวิชาชีพเภสัชกรรม ด้านการบริบาลทางเภสัชกรรม [อินเตอร์เน็ต]. 2554 [เข้าถึงเมื่อวันที่ 18 มีนาคม 2560]. เข้าถึงได้จาก: https://www.pharmacycouncil.org/index.php?option= content _detail&menuid=68&itemid=456&catid=0
2. ผกามาศ ไมตรีมิตร, เพชรรัตน์ พงษ์เจริญสุข, ณัฏฐิญา ค้าผล. คุณลักษณะและความสามารถที่พึงประสงค์ของเภสัชศาสตรบัณฑิต. วารสารไทยเภสัชศาสตร์และวิทยาการสุขภาพ. 2551; 3: 121-6.
3. วสวัต ดีมาร. ประเทศที่นักเรียนไม่กล้าถามครูผู้สอนมากที่สุด" กับ "อันดับ ๖ ของนักเรียนไทย [อินเตอร์เน็ต]. 2555 [เข้าถึงเมื่อวันที่ 18 มีนาคม 2560]. เข้าถึงได้จาก: https://www.gotoknow.org/posts/493702.
4. เบญจพร ศิลารักษ์. เภสัชศาสตร์ศึกษาสำหรับเภสัชกรแหล่งฝึกปฏิบัติงานบริบาลเภสัชกรรม (เอกสารประกอบการประชุมเชิงปฏิบัติการเภสัชศาสตร์ศึกษา 3 สถาบันภาคอีสาน โดยมหาวิทยาลัยขอนแก่น มหาวิทยาลัยมหาสารคาม และมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี): การประเมินอาจารย์ผู้ฝึกสอน [อินเตอร์เน็ต]. 2555 [เข้าถึงเมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2560]. เข้าถึงได้จาก: https://drive.google.com/file/d/1BwxnngaYYslkA0VwdxP7xESDs-lWZ1Vg/view
5. Hamilton J, Stevens G, Girdler S. Becoming a Mentor: The Impact of Training and the Experience of Mentoring University Students on the Autism Spectrum. PLoS One. 2016; 11: e0153204.
6. Hawkins A, Jones K, Stanton A. A mentorship programme for final-year students. Clin Teach. 2014; 11: 345-9.
7. Raub JN, Thurston TM, Fiorvento AD, Mynatt RP, Wilson SS. Implementation and outcomes of a pharmacy residency mentorship program. Am J Health Syst Pharm. 2015; 72: S1-5.
8. Smith SM. Determining Sample Size: How to Ensure You Get the Correct Sample Size [Internet]. 2013 [cited January 10, 2018]. Available from: https://www.ndsu.edu/gdc/wp-content/pdf/Determining-Sample-Size.pdf
9. Sonthisombat P. Pharmacy Student and Preceptor Perceptions of PreceptorTeaching Behaviors. Am J Pharm Educ 2008; 72: 110.
10. คณะอนุกรรมการ การฝึกปฏิบัติงานวิชาชีพ ภาคบังคับ ศูนย์ประสานงานการศึกษาเภสัชศาสตร์แห่งประเทศไทย (ศ.ศ.ภ.ท.) 16 สถาบัน คณะเภสัชศาสตร์. คู่มือการฝึกปฏิบัติงานวิชาชีพเภสัชกรรมโรงพยาบาล. 2560.
11. Huang WY, Monteiro FM. Teaching behaviors used bycommunity-based preceptors for a family and community medicineclerkship. Fam Med. 2000; 32: 678-80.
12. Vos SS, Trewet CB. A Comprehensive Approach to Preceptor Development. Am J Pharm Educ 2012; 76: 47.
13. McClendon KS, Malinowski SS, Pitcock JJ, Brown MA, Davis CS, Sherman JJ, et al. A Multipreceptor Approach to Ambulatory Care Topic Discussions. Am J Pharm Educ 2014; 78: 77.
14. Young S, Vos SS, Cantrell M, Shaw R. Factors Associated With Students Perception of Preceptor Excellence. Am J Pharm Educ 2014; 78: 53.
|