Untitled Document
 
 
 
 
Untitled Document
Home
Current issue
Past issues
Topic collections
Search
e-journal Editor page

Risk Factors Associated With Allergic To Non – Ionic Contrast Media In Patients Undergoing Chest Or Abdominal Computed Tomography

ปัจจัยเสี่ยงต่อการแพ้สารทึบรังสีชนิดไม่แตกตัวในผู้ป่วยที่ได้รับการตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ทรวงอกและช่องท้อง

Sangiam Chatrapong (เสงี่ยม ฉัตราพงษ์) 1, Jiraporn Srinakarin (จิราภรณ์ ศรีนัครินทร์) 2, Yamuna Soommart (ยมุนา สุ่มมาตย์) 3, Sumon Direkrit (สุมนต์ ดิเรกฤทธิ์) 4




บทคัดย่อ

หลักการและเหตุผล: การนำเอาสารทึบรังสีชนิดไม่แตกตัวมาใช้ในการตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์

ทรวงอกและช่องท้องจะช่วยลดอาการแทรกซ้อนที่จะเกิดขึ้นกับผู้ป่วยได้

วัตถุประสงค์:เพื่อศึกษาปัจจัยที่ทำให้เกิดการแพ้สารทึบรังสีชนิดไม่แตกตัวในผู้ป่วยที่รับการตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ทรวงอกและช่องท้อง

รูปแบบ: เป็นการวิจัยเชิงบรรยาย

สถานที่ทำการศึกษา: หน่วยรังสีวินิจฉัย  โรงพยาบาลศรีนครินทร์  คณะแพทยศาสตร์  มหาวิทยาลัยขอนแก่น

วิธีการศึกษา: ศึกษาในผู้ป่วยที่เข้ารับการตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ทรวงอกและช่องท้องที่ได้รับการฉีดสารทึบรังสีชนิดไม่แตกตัว  Iopamidol 300 และ Iopromide300  ตั้งแต่เดือนธันวาคม 2544  ถึงพฤษภาคม 2545 จำนวน 1,064  ราย

การวัดผล: ปัจจัยที่ทำให้เกิดการแพ้สารทึบรังสี

ผลการวิจัย: ผลการศึกษาพบว่าไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติจากการใช้สารทึบรังสีทั้ง

สองชนิด  ปริมาณที่ฉีด และวิธีการฉีด( p = 0.298, 0.082, 0.911 ตามลำดับ) ส่วนในผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัว ได้แก่โรคหัวใจ(37/1,064)  โรคภูมิแพ้(58/10,64)  โรคหอบหืด(31/1,064) โรคความดันโลหิตสูง(95/1,064) และโรคเบาหวาน(89/1,064)  ไม่พบว่าเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดการแพ้สารทึบรังสี (p=0.423, 0.846, 0.299, 0.955 และ0.620 ตามลำดับ)   ยกเว้นประวัติการแพ้อาหารทะเลมีผลต่อการแพ้สารทึบรังสีอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ( p < 0.05)

สรุป:จากการศึกษามีเพียงประวัติการแพ้อาหารทะเลที่มีผลต่อการแพ้สารทึบรังสีอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ

 

Abstract

Background: The use of non – ionic contrast media is favored by many imaging modalities because, supposedly, it has putatively fewer complication.

Objective: To study risk factors that  are associated with allergic reaction to non – ionic contrast media in patients undergoing chest or abdominal computed tomography.

Design: Descriptive study.

Setting: Diagnostic Radiology Unit, Srinagarind Hospital, Faculty of Medicine,Khon Kaen University.

Intervention:  Prospective study between December 2001 and May 2002 of 1,064  patients undergoing chest or abdominal computed tomography (CT) and receiving intravenous, non- ionic contrast media Iopamidol 300 or Iopromide 300 .

Measurement:  Adverse effect during administration of any  non- ionic intravenous contrast media.

Result: No statistically significant difference was found between the kind of media, amount or method of  injection of either non –ionic contrast media ( p =0.298, 0.082  and 0.911). No statistically significant  adverse affect was found related to  any  underlying disease i.e. heart disease (37/1,064), allergy (58/1,064), asthma (31/1,064), hypertension (95/1,064), and diabetes mellitus (89/1,064) (p= 0.423, 0.846, 0.299, 0.955, 0.620, respectively) except a history of seafood allergy ( p < 0.05).

Conclusion: A history of seafood allergy is the only risk factor associated with allergic reaction to the non- ionic contrast media.

 

บทนำ

      สารทึบรังสีเป็นสารประกอบไอโอดีน ใช้ฉีดเข้าสู่ร่างกายทางหลอดเลือดเพื่อประกอบการตรวจทางรังสีวินิจฉัย สารนี้เมื่อฉีดเข้าสู่ร่างกายจะทำให้เกิดอาการแพ้ต่อผู้ป่วยได้ ซึ่งอาการแพ้ที่เกิดขึ้นจะเกิดปฏิกิริยาอย่างรวดเร็วภายใน 2-3 นาที  โดยผู้ป่วยจะมีอาการและอาการแสดงมากกว่า 1 ระบบ  อาการทางผิวหนังได้แก่ลมพิษ  ระบบทางเดินหายใจ ได้แก่กล่องเสียงบวม และหลอดลมเกร็งตัว  ระบบทางเดินอาหาร ได้แก่อาการคลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง  ส่วนระบบหลอดเลือดและหัวใจผู้ป่วยจะรู้สึกร้อนตามร่างกาย เพราะมีการขยายตัวของหลอดเลือด ความดันโลหิตต่ำ  หัวใจเต้นผิดจังหวะ1  อาการแพ้ที่รุนแรงอาจคุกคามต่อชีวิต  อาการเหล่านี้ได้แก่ อาการแน่นหน้าอก  หายใจลำบาก ช็อก หมดสติ และอาจเสียชีวิตได้ในเวลาต่อมา1-3 อัตราการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากสารทึบรังสีพบประมาณร้อยละ 2-5  ซึ่งร้อยละ0.05-0.1 อาจเกิดอาการรุนแรงจนอาจเป็นอันตรายต่อชีวิต4   แนวทางในการป้องกันเพื่อไม่ให้เกิดภาวะแทรกซ้อนจากสารทึบรังสีคือ การคัดกรองผู้ป่วยก่อนฉีดสารทึบรังสี ซึ่งจะทำให้ทราบถึงปัจจัยเสี่ยงโดยเฉพาะในผู้ป่วยที่มีประวัติแพ้อาหารทะเล ประวัติโรคภูมิแพ้ ประวัติเคยแพ้สารทึบรังสี   โรคหอบหืด โรคหัวใจ  ความดันโลหิตสูง โรคไต  และโรคเบาหวานเป็นต้น ซึ่งถือว่าเป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงมากกว่าปกติ3   นอกจากนี้ยังพบว่าสารทึบรังสีชนิดแตกตัวเป็นประจุ(Ionic contrast media)ซึ่งเป็นสารที่มีออสโมลาริตี้สูงกว่า (Hyperosmolarity)   เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดการแพ้สารทึบรังสี 7    ดังนั้นจึงมีการนำเอาสารทึบรังสีชนิดไม่แตกตัว(non ionic contrast media)  มาใช้เพราะเชื่อว่ามีความปลอดภัยกว่าสารทึบรังสีชนิดแตกตัว(ionic contrast media) ถึง 6 เท่า 2,5-8

          ในปีพ..2542 และพ..2543  หน่วยรังสีวินิจฉัย โรงพยาบาลศรีนครินทร์ มีผู้ป่วยมาใช้บริการตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์จำนวน 6,645 ราย และ 7,680 รายตามลำดับ  พบมีผู้ป่วยแพ้สารทึบรังสีจำนวน 40 ราย และ 41 ราย  คณะผู้วิจัยจึงมีความสนใจที่จะศึกษาปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดการแพ้สารทึบรังสีชนิดไม่แตกตัวในผู้ป่วยที่ตรวจเอกซเรย์ทรวงอกและช่องท้องเพื่อประโยชน์ในการลดและป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่จะเกิดขึ้นกับผู้ป่วยต่อไป

วิธีดำเนินการวิจัย

     การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงบรรยาย(Descriptive studies) โดยผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ศึกษาในผู้ป่วยที่เข้ารับการตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ทรวงอกและช่องท้อง ที่หน่วยรังสีวินิจฉัย โรงพยาบาลศรีนครินทร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น จำนวน 1,064 ราย  ตั้งแต่เดือนธันวาคม 2544  ถึงพฤษภาคม 2545

เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย

          เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยดัดแปลงมาจากแบบสำรวจการแพ้สารทึบรังสีชนิดแตกตัวและไม่แตกตัวของ Katayama และคณะ9 ประกอบไปด้วย 2 ส่วนคือ

        ส่วนที่ 1 แบบสัมภาษณ์ปัจจัยพื้นฐาน ได้แก่ เพศ อายุ น้ำหนัก ประวัติการเคยได้รับสารทึบรังสี ประวัติโรคภูมิแพ้ ประวัติการแพ้ยา แพ้อาหารทะเล และโรคประจำตัว

       ส่วนที่ 2 ข้อมูลเกี่ยวกับการตรวจ โดยครอบคลุมเกี่ยวกับชนิดการตรวจ ปริมาณของสารทึบรังสี วิธีการฉีด ความผิดปกติหลังฉีด อาการที่พบ และระยะเวลาที่พบอาการ

 

การสร้างและหาคุณภาพของเครื่องมือ

         นำแบบสำรวจการแพ้สารทึบรังสีให้ผู้ทรงคุณวุฒิตรวจสอบเนื้อหา(content validity) จำนวน

4 ท่านหาความเที่ยงตรงของเครื่องมือโดยวิธีของ Kuder Richardson สูตร K-R 2110ได้ค่า 8.634

 

การเก็บรวบรวมข้อมูล

       พยาบาลผู้ช่วยวิจัยบันทึกข้อมูลในแบบบันทึกการสำรวจผู้ป่วยแพ้สารทึบรังสี หลังจากนั้นกลุ่มผู้วิจัยเก็บรวบรวมข้อมูลจากแบบบันทึก

 

การวิเคราะห์ข้อมูล

ส่วนที่ 1  ข้อมูลทั่วไป

       โดยการแจกแจงความถี่และร้อยละหาค่าเฉลี่ยและการกระจายในด้านอายุ

       ใช้ multiple logistic regressionในการวิเคราะห์ปัจจัยต่างๆที่ทำให้เกิดการแพ้สารทึบรังสี

ส่วนที่ 2  ข้อมูลเกี่ยวกับการตรวจ

       วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ความถี่และร้อยละ  ที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95

 

ผลการศึกษา

        ลักษณะทั่วไปของกลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้เป็นเพศชายร้อยละ57.6 เป็นเพศหญิงร้อยละ42.4   อายุระหว่าง 14 - 95 ปี  เฉลี่ย 53.2 ปี  ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ13.2 น้ำหนักเฉลี่ย 56.5 กิโลกรัม

ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 8.8

        ประวัติเคยได้รับการฉีดสารทึบรังสี พบเพียงร้อยละ7.1 ส่วนประวัติการแพ้ที่พบได้แก่ประวัติแพ้ยาปฏิชีวนะร้อยละ7.1  ประวัติการแพ้อากาศร้อยละ5.0  แพ้อาหารทะเลร้อยละ3.4  และแพ้สารทึบรังสีร้อยละ0.8 (ดังแสดงในตารางที่ 1)

ประวัติโรคประจำตัวของกลุ่มตัวอย่างที่พบ ได้แก่โรคความดันโลหิตสูงร้อยละ8.9 รองลงมาคือโรคเบาหวานร้อยละ8.4 โรคหัวใจร้อยละ3.5และโรคหอบหืดร้อยละ2.9 ตามลำดับซึ่งจากการศึกษาไม่พบภาวะที่ทำให้เกิดการแพ้สารทึบรังสีอย่างเป็นนัยสำคัญทางสถิติ ( ดังแสดงในตารางที่ 2 )

      อาการแพ้สารทึบรังสีที่เกิดขึ้น กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ร้อยละ69.6ไม่มีอาการผิดปกติหลังฉีดสารทึบรังสี   อาการผิดปกติที่เกิดขึ้นพบร้อยละ30.1 อาการแพ้ดังกล่าวเกิดขึ้นในขณะฉีดสารทึบรังสีหรือเกิดขึ้นภายใน 5 นาทีพบร้อยละ27.2   และร้อยละ2.7 ตามลำดับ( ดังแสดงในตารางที่ 3 ) อาการที่พบได้แก่อาการร้อนตามร่างกายพบร้อยละ27.5 รองลงมาคืออาการคันร้อยละ1.9 อาการคลื่นไส้ร้อยละ0.8 และอาการอาเจียนร้อยละ0.6 ส่วนอาการแพ้แบบปานกลาง ได้แก่อาการหายใจลำบากพบร้อยละ0.3  อาการหอบหืด และอาการชัก  พบอาการละร้อยละ0.1( ดังแสดงในตารางที่ 4 )  ส่วนความสัมพันธ์ของการฉีดสารทึบรังสีกับอาการแพ้สารดังกล่าว จากการศึกษาพบว่าไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติจากการใช้สารทึบรังสีทั้ง 2 ชนิด ปริมาณที่ฉีด และวิธีการฉีด ( P=0.298, 0.082 และ 0.911ตามลำดับ) ( ดังแสดงในตารางที่ 5 )

ตารางที่ 1 ประวัติการแพ้

                 สิ่งที่แพ้

จำนวน

ร้อยละ

               ยาปฏิชีวนะ

76

7.1

               อากาศ

53

5.0

               อาหารทะเล

36

3.4

               สารทึบรังสี

8

0.8

              ไม่เคยแพ้

891

83.7

               รวม

1,064

100.0

 

ตารางที่ 3  เวลาที่เกิดอาการผิดปกติ     

เวลาที่เกิดอาการผิดปกติ

จำนวน

ร้อยละ

ระหว่างการฉีด

289

27.2

ภายใน 5 นาทีหลังฉีด

29

2.7

มากกว่า 5 นาทีหลังฉีด

2

0.2

ไม่มีอาการ

744

69.9

รวม

1,064

100.0

 

ตารางที่ 4 อาการแพ้สารทึบรังสี

 

อาการแพ้

จำนวน

ร้อยละ

ร้อนทั่วร่างกาย

293

27.5

ผื่นคัน

20

1.9

คลื่นไส้

8

0.8

อาเจียน

6

0.6

หนาวสั่น

4

0.4

หน้าแดง

3

0.3

หายใจลำบาก

3

0.3

ปวดศีรษะ

1

0.1

ขมในคอ

1

0.1

หอบหืด

1

0.1

ชัก

1

0.1

 

ตารางที่ 5 ความสัมพันธ์ของการฉีดสารทึบรังสีกับการแพ้

รายการ

อาการผิดปกติหลัง

ค่า P

พบ

ไม่พบ

ชนิดของสารทึบรังสี

          Iopamidal  300

          Iopromide  300

 

163

157

 

401

336

 

 

0.298

จำนวนที่ฉีด

         100 มล.

         อื่นๆ(>100 มล.และ<100 มล.)

 

314

6

 

728

5

 

 

0.082

วิธีการฉีด

         ฉีดด้วยเครื่อง Injector

          ฉีดด้วยมือ

 

310

10

 

713

24

 

 

0.911

 

วิจารณ์

                จากการศึกษาการใช้สารทึบรังสีชนิดไม่แตกตัวทั้ง 2 ชนิดของกลุ่มตัวอย่างสอดคล้องกับการศึกษาที่ผ่านมา  พบอาการผิดปกติที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่เกิดในช่วง 5 นาทีแรกหลังได้รับการฉีดยา  ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ยาถูกฉีดเข้าสู่ร่างกายด้วยอัตราที่เร็วและยามีปริมาณสูง12-13    และเนื่องจากคุณสมบัติที่ดีของสารทึบรังสีชนิดนี้คือไม่แตกตัวเป็นอิออนและมีออสโมลาริตี้ต่ำ อาการที่เกิดขึ้นจึงไม่รุนแรง1-5,7,11-13  และหายไปได้เองภายใน 5 นาที   อาการที่พบมีเพียงอาการร้อนตามร่างกาย    เนื่องจากสารทึบรังสีมีผลทำให้หลอดเลือดมีการขยายตัว12-13  อาการคันเกิดจากการรบกวนการทำงานของ mast cell  ผู้ป่วยอาการดีขึ้นหลังได้รับการรักษาด้วยยา chlorpheniramine เข้าทางหลอดเลือดดำ   ส่วนอาการคลื่นไส้และอาเจียนที่เกิดขึ้นเกิดจากการฉีดด้วยอัตราที่เร็วมากกว่าการฉีดด้วยอัตราช้า2    ดังนั้นก่อนฉีดสารทึบรังสีควรอธิบายให้ผู้ป่วยเข้าใจถึงวิธีปฏิบัติตัว    เพื่อลดและป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่อาจจะเกิดขึ้น   ส่วนการแพ้ที่อาจคุกคามต่อชีวิตจากการศึกษาพบผู้ป่วยมีอาการหายใจลำบาก   แต่สัญญาณชีพไม่เปลี่ยนแปลงผู้ป่วยได้รับการรักษาด้วย hydrocortisone และ chlorpheniramine  ฉีดเข้าทางหลอดเลือดดำ  ส่วนอาการชักพบ 1 รายได้รับการรักษาด้วย valium 10 mg  ทางหลอดเลือดดำ  ผู้ป่วยทั้ง 2 กลุ่มมีอาการดีขึ้นหลังได้รับการรักษา   จากการศึกษาการใช้สารทึบรังสีทั้ง 2 ชนิด  ในผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัวได้แก่โรคหัวใจ  โรคภูมิแพ้  โรคหอบหืด โรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวาน  ไม่พบภาวะแพ้สารทึบรังสีในกลุ่มผู้ป่วยดังกล่าว15-18    แต่พบว่ามีเพียงประวัติการแพ้อาหารทะเลที่มีผลต่อการแพ้สารทึบรังสีอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ( P <0.000 )2-8,12-13  เพราะในอาหารทะเลมีสารไอโอดีนอยู่ในปริมาณสูงก่อให้เกิดปัจจัยเสี่ยงสูงที่จะทำให้เกิดอาการแพ้ในผู้ป่วยได้ และในสารทึบรังสีประกอบด้วยไอโอดีนมีปริมาณสูงเช่นกัน     ดังนั้นในผู้ป่วยที่มีประวัติแพ้อาหารทะเลจะต้องมีความระมัดระวังในการใช้สารทึบรังสีเป็นกรณีพิเศษ   จากการศึกษาในครั้งนี้ไม่พบการเสียชีวิตในผู้ป่วยที่ได้รับการฉีดสารทึบรังสีชนิดไม่แตกตัวทั้ง 2 ชนิด

สรุปผลการวิจัย

จากการศึกษาในครั้งนี้ถึงแม้จะไม่พบอาการแพ้ในผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัวที่ถือว่าเป็นภาวะเสี่ยงจากการใช้สารทึบรังสีชนิดไม่แตกตัว  แต่ควรเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิดในกลุ่มผู้ป่วยดังกล่าวโดยเฉพาะในผู้ป่วยสูงอายุและผู้ป่วยเด็ก  การคัดกรองและการซักประวัติอย่างละเอียดเกี่ยวกับโรคประจำตัว ประวัติการแพ้สารไอโอดีนก่อนฉีดสารทึบรังสีทุกครั้งถือว่าเป็นสิ่งที่มีความจำเป็นและสำคัญเป็นอย่างยิ่ง   นอกจากนี้การเตรียมทีมช่วยพื้นคืนชีพรวมถึงอุปกรณ์ เครื่องมือช่วยชีวิตฉุกเฉินให้พร้อมเป็นสิ่งที่จำเป็น เพราะในผู้ป่วยที่ไม่เคยมีประแพ้สารทึบรังสีในการตรวจครั้งแรกโอกาสที่จะแพ้ในการตรวจครั้งต่อไปอาจเกิดขึ้นได้  เพราะกลไกการแพ้ที่แท้จริงยังไม่ทราบแน่ชัด 

กิตติกรรมประกาศ

          ขอขอบคุณผู้ทรงคุณวุฒิคือ รองศาสตราจารย์นายแพทย์วัลลภ เหล่าไพบูลย์  อาจารย์บรรจง เขื่อนแก้ว  ภาควิชารังสีวิทยา  นางสุพร วงค์ประทุม และนางมาสีนี ไพบูลย์ ที่ช่วยตรวจสอบความตรงของเนื้อหา  พยาบาลและเจ้าหน้าที่รังเทคนิค  หน่วยรังสีวินิจฉัย และผู้ป่วยทุกท่าน  ที่ให้ความร่วมมือและอำนวยความสะดวกในการศึกษาเป็นอย่างดี   ขอขอบคุณเจ้าหน้าที่หน่วยระบาดวิทยาที่ช่วยเหลือในการวิเคราะห์ข้อมูล หน่วยวิเทศสัมพันธ์ Mr. Bryan Hamman  ที่ช่วยแปลบทคัดย่อเป็นภาษาอังกฤษ ฝ่ายวิชาการโดยอาจารย์ประทุม ไทยอุตส่าห์ ที่ช่วยแก้ไขเอกสารอ้างอิง และที่สำคัญที่สุด คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่นที่ให้ทุนสนับสนุนการศึกษาวิจัยครั้งนี้  คณะผู้วิจัยใคร่ขอขอบคุณไว้ ณ โอกาสนี้

เอกสารอ้างอิง

  1. รักษ์รุ่งธรรมและประพันธ์ ภานุภาพ. Anaphylaxis ใน :วิทยา ศรีดามา บรรณาธิการอายุรศาสตร์แนวใหม่. กรุงเทพฯ :ยูนิตี้พับเคชั่น. 2542 ; 312-320.
  2. ชรินทร์ เอื้อวิไลจิต. รังสีวิทยาหลอดเลือด. กรุงเทพฯ :โฮลิสติกพับลิชชิ่ง . 2542.
  3.  ปกิต วิชยานนท์. Update in Allergy:Theory and Practice. คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล. 2542.
  4. สุกัญญาโพธิกำจร. การแพ้สาร Radiographic  Contrast  Media ใน :วิทยา ศรีดามา บรรณาธิการ. อายุรศาสตร์แนวใหม่. กรุงเทพฯ : ยูนิตี้พับเคชั่น. 2542;322-7.
  5. AmonU. Pathophysiologic and immunologic mechanism of contrast medium  induced anaphylactoid immediate hypensensitivity-an overview. Aktuclle Radiol 1997; 7(3):145-8.
  6. Soyer P, Levesque M. Prevention of intolerance to iodized contrast media. Presse Med 1990;31:19(12) : 562-5.
  7. Porri F, Pradal M, Fontaine Jl, Charpin D, Dervloet D. Reactions to contrast  media.  Presse Med. 1993;27:22(11):543-9.
  8. Grainger RG. Radiological contrast media. Can Assoc  Radiol  J 1989;40 (1):61-3.
  9. Katayama H, Yamaguchi K, Kozuka T, Seez P, Matsuura K. Adverse reaction to ionic and non ionic contrast media: a report from the Japanese committee on the safety of contrast media. Radiology 1990 ;175 :621-8.
  10. Ebel RL. Essential of Educational Measurement.( 3rd ed .). New Jersey : Prentice- Hall. 1979.
  11. Newhouse JH, Landman J, Lang E, Amis ES, Goldman S, Khazan R, Leder R, Hedgcock M. Efficacy and safety of iopromide for excretory  urography. Invert Radiol 1994 ; 29 (Suppl) 1: S68-73.
  12. Encina JL, Marti-Bonmatil L, Ronchera-Oms CL, Rodriguez V. Iopentol (Imagopaque 300)compared with iopromide (Ultravist 300) in abdominal CT. A multi-centre monitoring trial assessing adverse events and diagnostic information-results from518 patients in Spain. Eur Radiol 1997;7( Suppl 4 ) : S115-9.
  13. De Gp, Melchior H. Iomeprol versus iopromide for intravenous urography. Br J Radiol 1994;67 (802 ) : 958-63.
  14. Barrrett BJ, Parfrey PS, McDonald  JR, Hefferton DM, Reddy ER, Mcmanamon PJ.  Non ionic low osmolality versus ionic high osmolality contrast material for intraveneous use  in  patients perceived to be at high risk : randomized trail.  Radiology 1992 ; (1) :105-10.
  15. Wagner HJ, Evers JP, Hoppe M, Klose KY. Must the patient fast before intravascular injection of a non-ionic contrast medium? result of a controlled study. Rofo Fortschr Geb Rontgenstr Neuen Bildgeb Verfahr 1997;166 (5) : 370-5.
  16. Hagen B. Recent development in non – ionic contrast media. Ann Radiol (Paris) 1989;32 (1):38 -39.
  17. Gertz EW, Wisneski JA, Miller R, Knudtson M, Robb J, Dragatakis L, et al. Adverse reaction of  low  osmolality contrast media during cardiac angiography: a prospective randomize multicenter study. JAM Coil Cardiol 1992 ; 19(5) :899-906.
  18. Aichner F, Bauer G, Gerstenbrand F, Pallua A. Jopamidol, a  non-ionic  x-ray  contrast  medium tolerance from a neurological view point. Wien KlinWochenschr 1983; 21:95(2): 56-8.

            

Untitled Document
Article Location

Untitled Document
Article Option
       Abstract
       Fulltext
       PDF File
Untitled Document
 
ทำหน้าที่ ดึง Collection ที่เกี่ยวข้อง แสดง บทความ ตามที่ีมีใน collection ที่มีใน list Untitled Document
Another articles
in this topic collection

Fear Level in Preschoolers Undergoing Computed Tomography: Affect of Psychological Preparation by Story vs. Normal Preparation (การศึกษาเปรียบเทียบความกลัวการตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ของเด็กวัยก่อนเรียนระหว่างกลุ่มที่ได้รับการเตรียมจิตใจด้วยการเล่านิทานกับกลุ่มที่ได้รับการเตรียมตามปกติ)
 
Diagnostic Reliability of the Singh Index : Femoral Neck Osteoporosis (ความน่าเชื่อถือของ Sign index ในการวินิจฉัยโรคกระดูกำพรุนของคอกระดูกต้นขา)
 
Clinical Manifestations and Angiographic Ceatures in Carotid – Cavernous sinus Fistula (ลักษณะทางคลินิกและลักษณะทางรังสีวิทยาในผู้ป่วย Carotid – Cavernous sinus Fistula)
 
Transcrectal Ultrasonography : First Experience in Srinagarind Hosptial (ประสบการณ์แรกในการใช้ Transrectal Ultrasonography ในโรงพยาบาลศรีนครินทร์)
 
<More>
Untitled Document
 
This article is under
this collection.

Radiology
 
 
 
 
Srinagarind Medical Journal,Faculty of Medicine, Khon Kaen University. Copy Right © All Rights Reserved.
 
 
 
 

 


Warning: Unknown: Your script possibly relies on a session side-effect which existed until PHP 4.2.3. Please be advised that the session extension does not consider global variables as a source of data, unless register_globals is enabled. You can disable this functionality and this warning by setting session.bug_compat_42 or session.bug_compat_warn to off, respectively in Unknown on line 0