วัตถุประสงค์: เพื่ออธิบายการรักษาโรคหลอดเลือดแดงเอออร์ติคโป่งพองในช่องท้องที่ชิดเส้นเลือดแดงไตโดยวิธีการผ่าตัดสอดสายสวนและอุดหลอดเลือดโป่งพองด้วยสารสังเคราะห์ร่วมกับหลอดเลือดเทียมคู่ขนาน
วัสดุและวิธีการ: ผู้ป่วยชายอายุ 67 ปีได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคหลอดเลือดแดงเอออร์ติคโป่งพองในช่องท้องชิดเส้นเลือดแดงไตไม่สามารถรับการรักษาโดยวิธีการผ่าตัดสอดสายสวนชนิดมาตรฐานได้ จึงได้รับการรักษาโดยวิธีการผ่าตัดสอดสายสวนและอุดหลอดเลือดโป่งพองด้วยสารสังเคราะห์ร่วมกับหลอดเลือดเทียมคู่ขนาน
ผลการรักษา: การผ่าตัดใช้เวลา 300 นาที เวลาของการใช้เครื่องฉายรังสี 80 นาที ไม่พบ endoleak ผลการเอกซเรย์คอมพิวเตอร์หลอดเลือดแดงหลังการรักษาพบหลอดเลือดเทียมคู่ขนานไปที่ไตข้างซ้ายพับงอเล็กน้อยแต่มีกระแสเลือดไปไตซ้ายได้ดี และพบ endoleak type Ib ที่หลอดเลือดแดง common iliac ข้างซ้าย แพทย์ให้การรักษาสำเร็จโดยไม่มีภาวะแทรกซ้อนใด โดยผู้ป่วยรายนี้เป็นผู้ป่วยคนแรกของประเทศไทยที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคหลอดเลือดแดงเอออร์ติคโป่งพองในช่องท้องชิดหลอดเลือดแดงไตและได้รับรักษาโดยวิธีนี้
สรุป: การรักษาโรคหลอดเลือดโป่งพองในช่องท้องชิดหลอดเลือดแดงไตโดยวิธีการผ่าตัดสอดสายสวนและอุดหลอดเลือดโป่งพองด้วยสารสังเคราะห์ร่วมกับหลอดเลือดเทียมคู่ขนานสามารถรักษาได้ และจำเป็นต้องมีข้อมูลเพิ่มเติมในอนาคต
Case report: A 67-year-old man was diagnosed with 6-cm juxtarenal abdominal aortic aneurysm. Because of anatomical consideration of short proximal landing zone, standard endovascular aneurysm repair (EVAR) was inappropriate. A custom-made fenestrated graft was not recommended from the experts. The patient rejected open repair. The procedure was undertaken using EVAS with 2 chimney grafts for extending landing zone.
Result: The procedure time was 305 minutes and 80 minutes for fluoroscopy time. Final angiography showed completed exclusion of aneurysm with good blood flow to visceral branches. Computed tomography angiography (CTA) before discharge showed mildly kinked at middle part of left renal chimney stent with good blood flow and type Ib endoleak at left common iliac artery. Final angiogram showed aneurysm exclusion by polymer and both renal arteries were patent. In-hospital renal function was normal and the patient was discharge uneventfully.
Conclusion: The use of EVAS with chimney graft treating juxtarenal abdominal aortic aneurysm is feasible and needs more further data.