Untitled Document
 
 
 
 
Untitled Document
Home
Current issue
Past issues
Topic collections
Search
e-journal Editor page

Post-operative Analgesic Efficacy of Single Injection of Bupivacaine on Iliac Crest Bone Harvesting Donor Site after Anterior Cervical Spine Fusion

ผลการระงับปวดหลังผ่าตัดของการฉีดยาชา bupivacaine ครั้งเดียวที่แผลผ่าตัดกระดูกปลูกถ่ายเชิงกรานในการผ่าตัดเชื่อมกระดูกสันหลังระดับคอด้านหน้า

Aumjit Wittayapairoj (อุ้มจิต วิทยาไพโรจน์) 1, Kittipong Wittayapairoj (กิตติพงษ์ วิทยาไพโรจน์) 2, Kriangkrai Wittayapairoj (เกรียงไกร วิทยาไพโรจน์) 3




หลักการและวัตถุประสงค์: การใช้กระดูกปลูกถ่ายจากเชิงกรานเพื่อเชื่อมกระดูกสันหลัง ทำให้ปวดแผลกระดูกปลูกถ่ายได้มาก การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบผลระงับปวดระหว่างยา bupivacaine และยาหลอกฉีดครั้งเดียวที่แผลกระดูกปลูกถ่ายในผู้ป่วยผ่าตัดเชื่อมกระดูกสันหลังคอด้านหน้า วิธีการศึกษา: เป็นการศึกษาสุ่มปกปิดสามทางในผู้ป่วยผ่าตัดเชื่อมกระดูกสันหลังคอด้านหน้า ที่โรงพยาบาลศรีนครินทร์ ในพ.ศ. 2555-2557 จำนวน 35 ราย แบ่งผู้ป่วยเป็นสองกลุ่มโดยการสุ่มแบบ block of 4 เป็นกลุ่มรักษา 18 ราย ได้รับยาชา 0.5% bupivacaine 10 มิลลิลิตร และกลุ่มควบคุม 17 ราย ได้รับน้ำเกลือ10 มิลลิลิตร ฉีดครั้งเดียวที่แผลผ่าตัดกระดูกเชิงกราน วัดผลการศึกษาหลักคือคะแนนความปวด(NRS)ที่กระดูกเชิงกรานหลังผ่าตัด6, 12 และ 24 ชั่วโมง และวัดปริมาณการใช้ยามอร์ฟีนหลังผ่าตัดและระยะเวลานอนโรงพยาบาลเป็นผลการศึกษารอง ผลการศึกษา: กลุ่มรักษามีคะแนนความปวดหลังผ่าตัดที่6 ชั่วโมงและความปวดรวมใน 24 ชั่วโมงน้อยกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (1.37 และ 0.88 คะแนน, p=0.035 และ 0.036 ตามลำดับ) แต่ไม่พบความแตกต่างของปริมาณการใช้ยามอร์ฟีนหลังผ่าตัดที่ 24 ชั่วโมงและปริมาณยามอร์ฟีนที่ใช้ทั้งหมด(1.65 และ 0.37 มิลลิกรัม, p= 0.44 และ 0.86) รวมถึงระยะเวลานอนโรงพยาบาล (0.13 วัน, p=0.77) และไม่พบภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยทั้งสองกลุ่ม สรุป: การฉีดยาชาbupivacaine ครั้งเดียวที่แผลกระดูกเชิงกรานสามารถลดความปวดหลังผ่าตัดที่ 6 ชั่วโมงและความปวดรวม 24 ชั่วโมงได้โดยไม่เกิดภาวะแทรกซ้อน แต่ไม่มีผลต่อการใช้ยามอร์ฟีนหลังผ่าตัดและระยะเวลานอนโรงพยาบาล Background and Objective: Autogenous iliac crest bone grafting inspinal fusion leads to post-operative pain at the donor site. The objective of this study was to compare the post-operative analgesic efficacy between single injection of bupivacaine and placebo at anterior iliac crest donor site after anterior cervical spine fusion. Method of study: This study is a randomized triple-blinded control trial in 35 patients who had anterior cervical spine fusion at Srinagarind hospital between 2012-2014. Patients were randomly allocated into 2 groups using block of four randomization. Eighteen patients in treatment group; received single injection of 0.5% bupivacaine 10 ml while 17 patients in control group received normal saline solution 10 ml. The primary outcome was the post-operative numerical rating pain score (NRS) at 6, 12 and 24 hours whereas the post-operative morphine consumption and duration of hospital stay were evaluated as secondary outcomes. Results: The post-operative mean difference of NRS at 6 hours and overall 24 hours were statistically significant lower in the treatment group (1.37 and 0.88 points, p=0.035 and 0.036respectively). The mean difference of post-operative morphine consumption at 24 hoursvia PCA device (1.65 and 0.37 mg, p-value = 0.44 and 0.86) and the duration of hospital stay (0.13 day, p=0.77) were not difference in both groups. Complication was not occurred in both groups. Conclusion: A single injection of bupivacaine at the iliac crest bone graft donor site reduce post-operative painscore at 6 hours and the overall pain score within24 hours without the complication. No significance different on post-operative morphine consumption or duration of hospital stay.
Untitled Document
Article Location

Untitled Document
Article Option
       Abstract
       Fulltext
       PDF File
Untitled Document
 
ทำหน้าที่ ดึง Collection ที่เกี่ยวข้อง แสดง บทความ ตามที่ีมีใน collection ที่มีใน list Untitled Document
Another articles
in this topic collection

An Analysis of Orthopedic Injury Profiles of Pedestrian-Motor Vehicle in District Hospital (การวิเคราะห์รูปแบบภยันตรายทางออร์โธปิดิกส์ที่เกิดจากอุบัติเหตุบนท้องถนนในโรงพยาบาลชุมชน)
 
Risk Factors Analysis of Gram-Negative Osteomyelitis (การวิเคราะห์ปัจจัยเสี่ยงของการติดเชื้อกรัมลบในโพรงกระดูก)
 
Prevalence of Vitamin D Deficiency among Postmenopausal Women at Srinagarind Hospital, Khon Kaen Province, Thailand. (ความชุกของภาวะขาดวิตามินดีในสตรีวัยทองที่มารับการรักษาที่โรงพยาบาลศรีนครินทร์ จ.ขอนแก่น)
 
Appropriate Tibial Tunnel Angle and Knee Flexion Angle for Aiming Femoral Insertion in Endoscopic Anterior Curciate Ligament Reconstruction (มุมอุโมงค์ที่กระดูกแข้ง และมุมงอเข่าที่เหมาะสมในการเล็งจุดเกาะของเอ็นไขว้หน้า)
 
<More>
Untitled Document
 
This article is under
this collection.

Orthopedics
 
 
 
 
Srinagarind Medical Journal,Faculty of Medicine, Khon Kaen University. Copy Right © All Rights Reserved.
 
 
 
 

 


Warning: Unknown: Your script possibly relies on a session side-effect which existed until PHP 4.2.3. Please be advised that the session extension does not consider global variables as a source of data, unless register_globals is enabled. You can disable this functionality and this warning by setting session.bug_compat_42 or session.bug_compat_warn to off, respectively in Unknown on line 0