Untitled Document
 
 
 
 
Untitled Document
Home
Current issue
Past issues
Topic collections
Search
e-journal Editor page

Incidence of Anesthesia-Associated Cardiac Arrest And Related Factors At Srinagarind Hospital

อุบัติการณ์ภาวะหัวใจหยุดเต้นและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการระงับความรู้สึกในโรงพยาบาลศรีนครินทร์

Mr.Polpun Boonmak (นายพลพันธ์ บุญมาก) 1, Mrs.Suthattaya Boonmak (นางสุหัทยา บุญมาก) 2, Mrs.Somyong Srichaipanha (นางสมยงค์ ศรีชัยปัญหา) 3, Viriya Thincheelong (วิริยา ถิ่นชีลอง) 4




วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาหาอุบัติการณ์การเกิดภาวะหัวใจหยุดเต้นระหว่างการระงับความรู้สึก ภาวะแทรกซ้อนและปัจจัยที่เกี่ยวข้อง

รูปแบบการศึกษา : Prospective, descriptive study

วิธีการศึกษา : การศึกษานี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาการเฝ้าระวังภาวะแทรกซ้อนทางวิสัญญีในประเทศไทยของราชวิทยาลัยวิสัญญีแพทย์แห่งประเทศไทย เพื่อหาภาวะแทรกซ้อนทางวิสัญญีวิทยาในประเทศไทย การศึกษานี้ทำการรวบรวมข้อมูลในส่วนของโรงพยาบาลศรีนครินทร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ตั้งแต่ 1 มกราคม ถึง 31 ธันวาคม พ.ศ. 2546 เก็บข้อมูลจากผู้ป่วยทุกรายที่ได้รับการระงับความรู้สึกทั้งในและนอกห้องผ่าตัด โดยเมื่อเกิดภาวะหัวใจหยุดเต้นระหว่างการระงับความรู้สึกจะทำการบันทึกข้อมูลเกี่ยวกับสาเหตุ ปัจจัยที่เกี่ยวข้อง และแนวทางการแก้ไขตามแบบบันทึกข้อมูล จากนั้นนำข้อมูลไปวิเคราะห์

ผลการศึกษา : ผู้ป่วยที่ได้รับการระงับความรู้สึกทั้งสิ้น 10,601 ราย อุบัติการณ์ภาวะหัวใจหยุดเต้นระหว่างการระงับความรู้สึกพบ 47 ราย คิดเป็น 44.33 ต่อ 10,000 ราย (95%CI 32.59, 58.91) โดยสาเหตุที่พบส่วนใหญ่เกิดจากความดันโลหิตตก (53.19 เปอร์เซ็นต์) ปัจจัยที่เกี่ยวข้องคือ ภาวะฉุกเฉิน (29.67 เปอร์เซ็นต์) การเตรียมผู้ป่วยไม่พร้อม (16.48 เปอร์เซ็นต์) บุคลากรขาดประสบการณ์ (15.38 เปอร์เซ็นต์) การตัดสินใจไม่เหมาะสม (12.09 เปอร์เซ็นต์) แนวทางการแก้ไขคือ การพัฒนาระบบประกันคุณภาพทั้งบุคลากร เครื่องมือ และพัฒนาความรู้ความสามารถของบุคลากร

สรุป : ภาวะหัวใจหยุดเต้นระหว่างการระงับความรู้สึกในโรงพยาบาลศรีนครินทร์ ปัจจัยที่เกี่ยวข้องมากที่สุดคือ ความดันโลหิตตกเนื่องจากการสูญเสียเลือดซึ่งแนวทางการป้องกันและแก้ไขที่เหมาะสมเกี่ยวข้องกับการพัฒนาบุคลากร และเครื่องมือทางวิสัญญีวิทยา

Objective:  To identify the incidence of anesthesia-related cardiac arrest complications and related factors.

Design:  Prospective, descriptive study.

Methods:  This was part of a multi-center study conducted by the Thai Royal College of Anesthesiologists for surveillance of anesthetic-related complications in Thailand in 2003.  We collected data from all of the cases receiving anesthesia service at Srinagarind Hospital between January 1 and December 31, 2003, to report the incidence of cardiac arrest and analyze the causes in order to improve the quality of service.  Events of cardiac arrest were reported by the attending anesthesia personnel and anesthesiologists.  All the forms were checked and verified by the principal author then included in the study.

Results:  10,601 patients were included in this study.  The incidence of cardiac arrest was 47 (44.33 per 10,000 95%CI 32.59, 58.91).  The most common cause was hypotension (53.19%) while contributing factors included emergency situation (29.67%), poor patient preparation (16.48%), lack of experience (15.38%) and inappropriate decision-making (12.09%). The suggested corrective strategies were quality assurance activity and additional training.

Conclusion:  The most common cause of cardiac arrest during anesthesia at Srinagarind Hospital was hypotension from massive blood loss.  Preventive and corrective strategies would include quality assurance activities that involve personnel development and the provision of sufficient equipment.

 

 

 

อุบัติการณ์ภาวะหัวใจหยุดเต้นและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการระงับความรู้สึกในโรงพยาบาลศรีนครินทร์

พลพันธ์   บุญมาก,  สุหัทยา  บุญมาก, สมยงค์ ศรีชัยปัญหา, วิริยา ถิ่นชีลอง

ภาควิชาวิสัญญีวิทยา  คณะแพทยศาสตร์   มหาวิทยาลัยขอนแก่น   40002

 

Incidence of Anesthesia-Associated Cardiac Arrest And Related Factors At Srinagarind Hospital

Polpun   Boonmak, Suhattaya   Boonmak, Somyong Srechaipanha 

Viriya Thincheelong,

Department of Anesthesiology, Faculty of Medicine, Khon Kaen University, Khon Kaen 40002

 

วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาหาอุบัติการณ์การเกิดภาวะหัวใจหยุดเต้นระหว่างการระงับความรู้สึก ภาวะแทรกซ้อนและปัจจัยที่เกี่ยวข้อง

รูปแบบการศึกษา : Prospective, descriptive study

วิธีการศึกษา : การศึกษานี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาการเฝ้าระวังภาวะแทรกซ้อนทางวิสัญญีในประเทศไทยของราชวิทยาลัยวิสัญญีแพทย์แห่งประเทศไทย เพื่อหาภาวะแทรกซ้อนทางวิสัญญีวิทยาในประเทศไทย การศึกษานี้ทำการรวบรวมข้อมูลในส่วนของโรงพยาบาลศรีนครินทร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ตั้งแต่ 1 มกราคม ถึง 31 ธันวาคม พ.ศ. 2546 เก็บข้อมูลจากผู้ป่วยทุกรายที่ได้รับการระงับความรู้สึกทั้งในและนอกห้องผ่าตัด โดยเมื่อเกิดภาวะหัวใจหยุดเต้นระหว่างการระงับความรู้สึกจะทำการบันทึกข้อมูลเกี่ยวกับสาเหตุ ปัจจัยที่เกี่ยวข้อง และแนวทางการแก้ไขตามแบบบันทึกข้อมูล จากนั้นนำข้อมูลไปวิเคราะห์

ผลการศึกษา : ผู้ป่วยที่ได้รับการระงับความรู้สึกทั้งสิ้น 10,601 ราย อุบัติการณ์ภาวะหัวใจหยุดเต้นระหว่างการระงับความรู้สึกพบ 47 ราย คิดเป็น 44.33 ต่อ 10,000 ราย (95%CI 32.59, 58.91) โดยสาเหตุที่พบส่วนใหญ่เกิดจากความดันโลหิตตก (53.19 เปอร์เซ็นต์) ปัจจัยที่เกี่ยวข้องคือ ภาวะฉุกเฉิน (29.67 เปอร์เซ็นต์) การเตรียมผู้ป่วยไม่พร้อม (16.48 เปอร์เซ็นต์) บุคลากรขาดประสบการณ์ (15.38 เปอร์เซ็นต์) การตัดสินใจไม่เหมาะสม (12.09 เปอร์เซ็นต์) แนวทางการแก้ไขคือ การพัฒนาระบบประกันคุณภาพทั้งบุคลากร เครื่องมือ และพัฒนาความรู้ความสามารถของบุคลากร

สรุป : ภาวะหัวใจหยุดเต้นระหว่างการระงับความรู้สึกในโรงพยาบาลศรีนครินทร์ ปัจจัยที่เกี่ยวข้องมากที่สุดคือ ความดันโลหิตตกเนื่องจากการสูญเสียเลือดซึ่งแนวทางการป้องกันและแก้ไขที่เหมาะสมเกี่ยวข้องกับการพัฒนาบุคลากร และเครื่องมือทางวิสัญญีวิทยา

 

คำสำคัญ: ภาวะแทรกซ้อน, การระงับความรู้สึก, ภาวะหัวใจหยุดเต้น, อุบัติการณ์


 

Abstract

Objective:  To identify the incidence of anesthesia-related cardiac arrest complications and related factors.

Design:  Prospective, descriptive study.

Methods:  This was part of a multi-center study conducted by the Thai Royal College of Anesthesiologists for surveillance of anesthetic-related complications in Thailand in 2003.  We collected data from all of the cases receiving anesthesia service at Srinagarind Hospital between January 1 and December 31, 2003, to report the incidence of cardiac arrest and analyze the causes in order to improve the quality of service.  Events of cardiac arrest were reported by the attending anesthesia personnel and anesthesiologists.  All the forms were checked and verified by the principal author then included in the study.

Results:  10,601 patients were included in this study.  The incidence of cardiac arrest was 47 (44.33 per 10,000 95%CI 32.59, 58.91).  The most common cause was hypotension (53.19%) while contributing factors included emergency situation (29.67%), poor patient preparation (16.48%), lack of experience (15.38%) and inappropriate decision-making (12.09%). The suggested corrective strategies were quality assurance activity and additional training.

Conclusion:  The most common cause of cardiac arrest during anesthesia at Srinagarind Hospital was hypotension from massive blood loss.  Preventive and corrective strategies would include quality assurance activities that involve personnel development and the provision of sufficient equipment.

Keywords: Complication; Cardiac Arrest; Anesthesia; Incidence

บทนำ

                การระงับความรู้สึกขณะผู้ป่วยผ่าตัดมีโอกาสที่จะเกิดภาวะแทรกซ้อนขึ้นมากมาย แต่ภาวะแทรกซ้อนที่สำคัญและอันตรายมากคือ ภาวะหัวใจหยุดเต้น ซึ่งมักนำไปสู่การเสียชีวิตในที่สุด ภาวะแทรกซ้อนดังกล่าวจำเป็นต้องศึกษาหาอุบัติการณ์และปัจจัยที่เกี่ยวข้อง เพื่อนำไปสู่แนวทางการแก้ไข นอกจากนี้อุบัติการณ์ที่เกิดขึ้นสามารถเป็นเครื่องชี้วัดมาตรฐานในการดูแลผู้ป่วย1-3ซึ่งจะส่งผลในการพัฒนาการดูแลผู้ป่วย

 

วัตถุประสงค์

เพื่อศึกษาหาอุบัติการณ์การเกิดภาวะหัวใจหยุดเต้นที่สัมพันธ์กับการระงับความรู้สึก ภาวะแทรกซ้อน และปัจจัยที่เกี่ยวข้อง

 

วิธีการศึกษา

ทำการศึกษาหลังจากได้รับอนุมัติการวิจัยจากคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น เป็นการศึกษาเชิงพรรณนา ซึ่งการศึกษานี้เป็นส่วนหนึ่งของการเฝ้าระวังภาวะแทรกซ้อนทางวิสัญญีในประเทศไทยของราชวิทยาลัยวิสัญญีวิทยาแห่งประเทศไทยเพื่อหาภาวะแทรกซ้อนทางวิสัญญีวิทยาในประเทศไทย ซึ่งข้อมูลที่นำเสนอเป็นข้อมูลในส่วนของโรงพยาบาลศรีนครินทร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น  ทำการศึกษาในช่วง  1 มกราคม 2546 – 31 ธันวาคม 2546 ในผู้ป่วยทุกรายที่ได้รับการระงับความรู้สึกทั้งในและนอกห้องผ่าตัดโดยวิธีการวิจัยแบบ prospective และ descriptive study เมื่อเกิดภาวะหัวใจหยุดเต้นจะทำการบันทึกข้อมูลในแบบบันทึกข้อมูลในส่วนของภาวะหัวใจหยุดเต้นระหว่างการระงับความรู้สึก ซึ่งคำจำกัดความของภาวะหัวใจหยุดเต้นที่สัมพันธ์กับการวางยาระงับความรู้สึก คือ ภาวะที่คลำชีพจรไม่ได้ และต้องให้การช่วยกู้ชีพที่เกิดขึ้นตั้งแต่ช่วงเริ่มวางยาระงับความรู้สึก จนถึงช่วง 24 ชั่วโมงหลังจากสิ้นสุดการระงับความรู้สึก เมื่อผู้ป่วยเข้าสู่การศึกษาจะทำการบันทึกข้อมูลโดยผู้ร่วมวิจัย และวิสัญญีแพทย์เจ้าของไข้ ประกอบด้วย ข้อมูลผู้ป่วย (เพศ อายุ ASA physical status (I-V) ช่วงเวลาที่เกิดเหตุ ลักษณะการผ่าตัด) และ ข้อมูลภาวะหัวใจหยุดเต้น (อาการที่ตรวจพบก่อนเกิดเหตุ จังหวะการเต้นของหัวใจที่นำไปสู่ภาวะหัวใจหยุดเต้น สาเหตุหลักของการเกิดภาวะหัวใจหยุดเต้น ผลจากการช่วยกู้ชีพ ภาวะแทรกซ้อนภายหลังภาวะหัวใจหยุดเต้นและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการเกิดภาวะหัวใจหยุดเต้นที่สัมพันธ์กับการวางยาระงับความรู้สึก รวมทั้งแนวทางการแก้ไข) จากนั้นนำข้อมูลที่ได้มารวบรวมวิเคราะห์ผลโดยใช้ค่าร้อยละ และอุบัติการณ์

 

ผลการศึกษา

                ในช่วงระยะเวลาตั้งแต่  1  มกราคม  พ.ศ.2546 ถึง   31  ธันวาคม พ.ศ.2546   มีจำนวนผู้ป่วยที่รับการระงับความรู้สึกทั้งสิ้น 10,601 ราย มีอุบัติการณ์การเกิดภาวะหัวใจหยุดเต้นที่สัมพันธ์กับการระงับความรู้สึก 47 ราย คิดเป็นอุบัติการณ์ 44.33 (95%CI 32.59, 58.91) ต่อ 10,000 ราย แบ่งเป็นเพศชาย 29 ราย และ เพศหญิง 18 ราย

ช่วงอายุที่มีโอกาสเกิดภาวะหัวใจหยุดเต้นสูง คือ ผู้ป่วยที่อายุน้อยกว่า 1 ปี โดยเฉพาะอายุน้อยกว่า 1 เดือน (ตารางที่ 1) และพบว่าผู้ป่วยที่มี ASA physical status สูงมีโอกาสเกิดภาวะหัวใจหยุดเต้นสูง ซึ่งสถานที่ที่เกิดอุบัติการณ์พบครึ่งหนึ่งเกิดขณะให้การระงับความรู้สึก (21.70:10,000) ที่เหลือเกิดภายหลังการระงับความรู้สึกภายใน 24 ชั่วโมง (22.64: 10,000) (ตารางที่ 1)

ภาวะหัวใจหยุดเต้นส่วนใหญ่วินิจฉัยจากอุปกรณ์เฝ้าระวังเตือน รองลงมาคือ การคลำชีพจร และการวัดความดันโลหิต (ตารางที่ 2) จังหวะการเต้นของหัวใจที่พบเริ่มแรกมักเป็น หัวใจเต้นช้า หัวใจหยุดเต้น เป็นส่วนใหญ่ (ตารางที่ 2) โดยมีเหตุการณ์ที่นำมาก่อนเกิดภาวะหัวใจหยุดเต้นคือ ความดันโลหิตตก โดยที่สาเหตุหลักที่ระบุโดยวิสัญญีแพทย์ที่ดูแลพบว่าเกิดจากสภาพของผู้ป่วยเป็นหลัก และพบว่าภายหลังภาวะหัวใจหยุดเต้นผู้ป่วยส่วนใหญ่เสียชีวิต (ตารางที่ 2)

ภาวะแทรกซ้อนที่เกิดตามหลังภาวะหัวใจหยุดเต้น พบว่าผู้ป่วยส่วนใหญ่เสียชีวิต (ร้อยละ 78.72) บางส่วนต้องใช้เครื่องช่วยหายใจนานขึ้น และต้องเข้าหออภิบาล โดยมีเพียงร้อยละ 10.64 เท่านั้นที่ไม่พบภาวะแทรกซ้อนในช่วง 7 วัน (ตารางที่ 3)

ปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ประกอบด้วย ปัจจัยส่งเสริมซึ่งมักเป็น ภาวะฉุกเฉิน การเตรียมผู้ป่วยไม่พร้อมสำหรับการผ่าตัด การขาดประสบการณ์ของบุคลากร รวมทั้งการตัดสินใจที่ไม่เหมาะสม การขาดความรู้ ส่วนปัจจัยที่ช่วยลดอุบัติการณ์ คือ ประสบการณ์ การระมัดระวัง ระบบการปรึกษาที่ดี โดยที่แนวทางในการแก้ไขคือ การมี quality assurance activity และ การปรับปรุงระบบการปรึกษา จำนวนบุคลากร (ตารางที่ 4)


ตารางที่ 1 แสดงข้อมูลทั่วไปของอุบัติการณ์การเกิดภาวะหัวใจหยุดเต้นที่สัมพันธ์กับการระงับความรู้สึก

 

 

จำนวนผู้ป่วย

ภาวะหัวใจหยุดเต้น

 

จำนวนผู้ป่วย

อุบัติการณ์ (1 : 10,000)

จำนวนผู้ป่วย

 

10,601

47

44.33

เพศ

ชาย

5136

29

56.46

 

หญิง

5465

18

32.94

อายุ

แรกเกิด- 1 เดือน

147

4

272.11

 

> 1 เดือน -  1 ปี

338

9

266.27

 

> 1ปี -  12 ปี

1245

2

16.06

 

> 12 ปี – 65 ปี

7622

27

35.42

 

> 65  ปี

1249

5

40.03

ASA

I

4827

1

2.07

physical status

II

4289

10

23.31

 

III

1183

16

135.25

 

IV

240

11

458.33

 

V

62

9

1451.61

ช่วงเวลาที่เกิดเหตุ

ในเวลาราชการ

8412

16

19.02

 

นอกเวลาราชการ

2189

31

141.62

แยกตามหน่วยสาขาวิชา

ศัลยกรรมทั่วไป

2747

8

29.12

ศัลยกรรมหัวใจ หลอดเลือดและทรวงอก

1014

30

295.86

 

ศัลยกรรมเด็ก

292

1

34.25

 

ศัลยกรรมระบบประสาท

477

3

62.89

 

ศัลยกรรมกระดูก

1897

1

5.27

 

สูติกรรมและนรีเวช

1786

2

10.66

 

โสต ศอ นาสิกและลาริงซ์

1265

2

15.81

สถานที่เกิดเหตุ

ในห้องผ่าตัดระหว่างระงับความรู้สึก

10,601

23

21.70

 

ในห้องพักฟื้น

6,436

0

0

 

หอผู้ป่วย (หลังผ่าตัดภายใน 24 ชั่วโมง)

10,601

24

22.64

 


ตารางที่ 2 : แสดงอาการที่ตรวจพบ เหตุการณ์นำ สาเหตุ และผลการรักษาภาวะหัวใจหยุดเต้นที่สัมพันธ์กับการระงับความรู้สึก

 

ปัจจัยที่เกี่ยวข้อง

จำนวน

ร้อยละ

อาการที่ตรวจพบ

อุปกรณ์เฝ้าระวังเตือน

คลำชีพจรไม่ได้

วัดความดันโลหิตไม่ได้

 

29

15

3

 

61.70

31.92

6.38

จังหวะการเต้นของหัวใจที่นำไปสู่ภาวะหัวใจหยุดเต้น

bradycardia

asystole

ventricular tachycardia

ventricular fibrillation

pulseless electrical activity

 

28

11

4

2

2

 

59.57

23.40

8.51

4.26

4.26

เหตุการณ์ที่นำมาก่อนเกิดภาวะหัวใจหยุดเต้น

ความดันโลหิตตก

ความผิดปกติทางเมตาบอริซึม

ภาวะหัวใจเต้นผิดปกติ

ภาวะหัวใจขาดเลือด

ระบบหายใจล้มเหลว

 

25

10

5

4

3

 

53.19

21.28

10.64

8.51

6.38

สาเหตุการเกิดภาวะหัวใจหยุดเต้น (ระบุโดยวิสัญญีแพทย์ผู้ดูแล)

สาเหตุด้านสภาพของผู้ป่วย

สาเหตุด้านศัลยกรรม

สาเหตุด้านวิสัญญี

ไม่สามารถระบุได้

 

23

14

5

5

 

48.93

29.79

10.64

10.64

ผลจากการช่วยกู้ชีพ

มีระบบไหลเวียนโลหิตกลับคืนภายในเวลา 1-4 นาที และคงสภาพเป็นปกติ

มีระบบไหลเวียนโลหิตกลับคืน แต่สามารถคงสภาพได้นานเพียง 5-20 นาที

มีระบบไหลเวียนโลหิตกลับคืน แต่สามารถคงสภาพได้นานเพียง 21 นาที – 1 วัน

มีระบบไหลเวียนโลหิตกลับคืน แต่สามารถคงสภาพได้มากกว่า 1 วัน

ตาย

 

8

1

3

0

35

 

17.02

2.13

6.38

0

74.47

 


ตารางที่ 3 : แสดงภาวะแทรกซ้อนที่เกิดตามหลังภาวะหัวใจหยุดเต้น

 

ภาวะแทรกซ้อนภายหลังภาวะหัวใจหยุดเต้นที่สัมพันธ์กับการระงับความรู้สึก

จำนวน

ร้อยละ

Immediate outcome (ภายใน 24 ชั่วโมง)

ตาย

มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรุนแรงต่อระบบต่างๆของร่างกาย

ผู้ป่วยตื่นช้า หรือ หยุดหายใจนานกว่า 30 นาที หลังผ่าตัดเสร็จ

ผู้ป่วยสามารถกลับคืนสู่สภาพปกติ

 

35

5

4

3

 

74.47

10.64

8.51

6.38

Long term Outcome (ภายใน 7 วัน)

ตาย

ผู้ป่วยต้องอยู่ใน ICU โดยไม่ได้วางแผนล่วงหน้า

ใช้เครื่องช่วยหายใจนานขึ้น

ผู้ป่วยสามารถกลับสู่สภาพปกติ

 

37

3

2

5

 

78.72

6.38

4.26

10.64

 

วิจารณ์

                การศึกษาพบอุบัติการณ์การเกิดภาวะหัวใจหยุดเต้นที่เกี่ยวข้องกับการระงับความรู้สึกของโรงพยาบาลศรีนครินทร์ 44.33 (95%CI 32.59, 58.91) ต่อ 10,000 ราย ซึ่งจากการศึกษาอื่นๆในโรงพยาบาลระดับตติยภูมิที่มีการระงับความรู้สึกและการผ่าตัดใกล้เคียงกัน พบอุบัติการณ์ 8.2 ต่อ 10,000 ราย1 โดยที่เกี่ยวข้องกับการระงับความรู้สึกโดยตรงพบ 0.3-0.7 ต่อ 10,000 ราย1-3 อุบัติการณ์ที่แตกต่างกันมากอาจเนื่องจากการศึกษานี้ไม่สามารถแยกสาเหตุที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการระงับความรู้สึกและไม่เกี่ยวข้องออกจากกันได้อย่างชัดเจน โดยมีการศึกษาพบว่าภาวะหัวใจหยุดเต้นในห้องผ่าตัดประมาณครึ่งหนึ่งเกี่ยวข้องกับการระงับความรู้สึก4 ดังนั้นอุบัติการณ์ที่เกิดขึ้นจึงไม่อาจแสดงถึงผลของการระงับความรู้สึกเพียงอย่างเดียว แต่อาจเกี่ยวข้องกับปัจจัยอื่น เช่น การผ่าตัด ลักษณะผู้ป่วย เป็นต้น

อุบัติการณ์ที่พบขณะระงับความรู้สึกมีเพียงครึ่งเดียว (21.70: 10,000 ราย) แสดงให้เห็นว่าภาวะหัวใจหยุดเต้นที่เหลือเกิดขึ้นภายหลังการระงับความรู้สึก ดังนั้นการดูแลหลังผ่าตัดที่ดีเป็นสิ่งจำเป็นในการหาแนวทางลดการเกิดภาวะหัวใจหยุดเต้น

การศึกษาพบว่าอุบัติการณ์การเกิดภาวะหัวใจหยุดเต้นที่เกี่ยวข้องกับการระงับความรู้สึก พบในผู้ชายมากกว่าผู้หญิง  โดยช่วงอายุที่มีความเสี่ยงสูงคือ ผู้ป่วยเด็กอายุน้อยกว่า 1  ปี โดยที่อุบัติการณ์จะเพิ่มขึ้นเมื่อ ASA physical status เพิ่มมากขึ้น และผู้ป่วยฉุกเฉิน ซึ่งทั้งหมดใกล้เคียงกับการศึกษาอื่นเนื่องจากผู้ป่วยกลุ่มดังกล่าวมักมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นอยู่แล้ว5, 6

                เมื่อแยกตามหน่วยที่ทำการผ่าตัดพบว่า อุบัติการณ์ภาวะหัวใจหยุดเต้นจะสูงในหน่วยศัลยศาสตร์หัวใจ หลอดเลือดและทรวงอก (295.86 ต่อ 10,000 ราย) โดยมีศัลยกรรมระบบประสาท (62.89 ต่อ 10,000 ราย)   ศัลยกรรมเด็ก (34.25 ต่อ 10,000 ราย) ศัลยศาสตร์ทั่วไป (29.12 ต่อ 10,000 ราย) ตามลำดับ ซึ่งลักษณะการผ่าตัดที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะหัวใจหยุดเต้นเหมือนกับการศึกษาของ Ugwa  และคณะ7 แต่อุบัติการณ์แตกต่างกัน

อาการที่ตรวจพบซึ่งนำไปสู่การวินิจฉัยที่พบสูงสุดคือ เครื่องมือเฝ้าระวังเตือน ซึ่งการเฝ้าระวังที่เป็นตามมาตรฐานจะทำให้สามารถวินิจฉัยได้เร็วทำให้สามารถแก้ไขได้เร็ว โดยที่จังหวะการเต้นของหัวใจเริ่มต้นมักเป็น bradycardia และ asystole ตามลำดับ โดยที่เหตุการณ์ที่นำมาก่อนมักเป็นความดันโลหิตตก ซึ่งสาเหตุโดยตรงของภาวะหัวใจหยุดเต้นส่วนใหญ่เกิดจากการสูญเสียเลือดมากซึ่งเหมือนกับการศึกษาอื่นๆที่ทำการศึกษาในระหว่างการระงับความรู้สึก1, 3, 8, 9 การแก้ไขหลักคือการให้สารน้ำและเลือดทดแทน ซึ่งแตกต่างจากภาวะหัวใจหยุดเต้นทั่วไปที่เกิดจากหัวใจขาดเลือด ดังนั้นแนวทางการแก้ไขในระหว่างการวางยาระงับความรู้สึกจึงควรมีแนวทางเฉพาะเพื่อที่จะแก้ไขปัญหาได้ตรงจุด

สาเหตุหลักซึ่งระบุโดยวิสัญญีแพทย์ที่ให้การดูแลระบุว่าเป็นสาเหตุด้านสภาพของผู้ป่วยเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งการเตรียมผู้ป่วยไม่พร้อมอาจเกิดจาก ภาวะฉุกเฉิน สภาพผู้ป่วย และการละเลย ซึ่งมีการศึกษาที่ให้ผลในเช่นนี้ เช่น Tikkanen J และคณะ10 ดังนั้นการเตรียมผู้ป่วยให้เหมาะสมก่อนการผ่าตัดจะช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดภาวะหัวใจหยุดเต้นได้

ผลการศึกษาพบว่าปัจจัยในการลดอุบัติการณ์โดยวิสัญญีแพทย์ที่ดูแลระบุคือ การมีประสบการณ์ในเรื่องนั้นๆมาก่อน การมีความระแวดระวังสูง ผู้ช่วยที่มีประสบการณ์ ซึ่งจะเห็นว่าบุคลากรเป็นปัจจัยหนึ่งที่มีผลต่อการเกิดภาวะหัวใจหยุดเต้น ดังนั้นการมุ่งเน้นในการพัฒนาบุคลากรจึงเป็นสิ่งสำคัญ โดยเฉพาะการพัฒนาบุคลากรในด้านการช่วยกู้ชีพเป็นสิ่งที่ควรคำนึงถึง จากการศึกษาของพลพันธ์ และคณะ11 พบว่าการฝึกการช่วยกู้ชีพควรที่จะมีการทบทวนเป็นระยะๆและต้องพัฒนาอย่างต่อเนื่อง และบุคลากรทางวิสัญญีบางส่วนยังขาดความรู้ด้านนี้12, 13 นอกจากนี้ผลการศึกษาพบว่าแนวทางที่น่าจะช่วยลดอุบัติการณ์ในผู้ป่วยได้คือ การจัดให้มี quality assurance activity ตรวจสอบคุณภาพของคน เครื่องมือ และระบบ รวมทั้งจัดให้มีหรือปรับปรุงระบบการปรึกษาทั้งในและนอกหน่วยงาน และการฝึกอบรมเพิ่มเติมอย่างต่อเนื่อง ซึ่งสามารถใช้เป็นแนวทางในพัฒนางานด้านวิสัญญีวิทยาต่อไป


ตารางที่ 4 : แสดงปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ปัจจัยที่ลดอุบัติการณ์ และแนวทางในการแก้ไขการเกิดภาวะหัวใจหยุดเต้นที่สัมพันธ์กับการระงับความรู้สึก

 

จำนวน

ร้อยละ

Contributing factors

ภาวะฉุกเฉิน

เตรียมผู้ป่วยไม่พร้อม

ขาดประสบการณ์ 

ตัดสินใจไม่เหมาะสม

ขาดความรู้

รีบร้อน

ปัญหาจากการติดต่อสื่อสาร

เครื่องมือที่ไม่มีประสิทธิภาพ

เครื่องมือมีไม่พอ

 

27

15

14

11

7

6

5

5

1

 

29.67

16.48

15.38

12.09

7.69

6.59

5.49

5.49

1.10

Factors minimizing incidence 

เคยมีประสบการณ์ในเรื่องนั้น ๆ มาก่อน

มีความระแวดระวังสูง 

ผู้ช่วยที่มีประสบการณ์

มีระบบการปรึกษาทั้งในและระหว่างหน่วยงาน

มีระบบการติดต่อสื่อสารที่ดี

เครื่องมือมีปริมาณเพียงพอ

บุคลากรเพียงพอที่จะเปลี่ยนให้พัก

ปรับปรุงระบบการฝึกอบรม

มีการตรวจสอบเครื่องมืออย่างต่อเนื่อง

มีการบำรุงรักษาเครื่องมืออย่างต่อเนื่อง

 

26

18

15

5

5

4

2

2

2

1

 

32.5

22.5

18.75

6.25

6.25

5

2.5

2.5

2.5

1.25

Suggested corrective strategies  

จัดให้มี quality assurance activity ตรวจสอบคุณภาพของคน เครื่องมือ และระบบ

จัดให้มีหรือปรับปรุงระบบการปรึกษาทั้งในและนอกหน่วยงาน

การฝึกอบรมเพิ่มเติมอย่างต่อเนื่อง

ตั้งเกณฑ์มาตรฐานควบคุมให้มีจำนวนบุคลากรที่เหมาะสม

จัดให้มีระบบการสื่อสารที่ดี

การสร้างแนวทางเวชปฏิบัติ

จัดให้มีระบบการบริหารปริมาณเครื่องมือและการบำรุงรักษาเครื่องมืออย่างต่อเนื่อง

จัดให้มีระบบการส่งต่อที่ดี

 

19

18

12

12

7

4

2

2

 

25.00

23.68

15.79

15.79

9.21

5.26

2.63

2.63

               


 

สรุป

                ภาวะหัวใจหยุดเต้นระหว่างการวางยาระงับความรู้สึกในโรงพยาบาลศรีนครินทร์มักเกิดจากการสูญเสียเลือด ซึ่งแนวทางการป้องกันและแก้ไขที่เหมาะสมเกี่ยวข้องกับการพัฒนาบุคลากร และเครื่องมือเครื่องใช้ทางวิสัญญีวิทยา นอกจากนี้ยังต้องการพัฒนาร่วมกันจากหลายฝ่ายที่เกี่ยวข้องเนื่องจากปัญหาที่พบมิใช่ขึ้นกับงานด้านวิสัญญีวิทยาเท่านั้น

 

เอกสารอ้างอิง

1.       Aroonpruksakul N, Raksakiatisak M, Thapenthai Y, Wangtawesaup K, Chaiwat O, Vacharaksa K, et al. Perioperative cardiac arrest at Siriraj Hospital between 1999-2001. J Med Assoc Thai 2002; 85: S993-9.

2.       Newland MC, Ellis SJ, Lydiatt CA, Peters KR, Tinker JH, Romberger DJ, et al. Anesthetic-related cardiac arrest and its mortality: a report covering 72,959 anesthetics over 10 years from a US teaching hospital. Anesthesiology 2002; 97: 108-15.

3.       Olsson GL, Hallen B. Cardiac arrest during anaesthesia. A computer-aided study in 250,543 anaesthetics. Acta Anaesthesiol Scand 1988; 32: 653-64.

4.       Morgan CA, Webb RK, Cockings J, Williamson JA. The Australian Incident Monitoring Study. Cardiac arrest--an analysis of 2000 incident reports. Anaesth Intensive Care 1993; 21: 626-37.

5.       Morray JP, Geiduschek JM, Ramamoorthy C, Haberkern CM, Hackel A, Caplan RA, et al. Anesthesia-related cardiac arrest in children: initial findings of the Pediatric Perioperative Cardiac Arrest (POCA) Registry. Anesthesiology 2000; 93: 6-14.

6.       Mason LJ. An update on the etiology and prevention of anesthesia-related cardiac arrest in children. Paediatr Anaesth 2004; 14: 412-6.

7.       Ugwa BT, Isamade ES, Isamade EI. Intra-operative cardiac arrest-a tropical experience.
West Afr J Med 2000; 19: 277-80.

8.       Tabib A, Loire R, Miras A, Thivolet-Bejui F, Timour Q, Bui-Xuan B, et al. Unsuspected cardiac lesions associated with sudden unexpected perioperative death. Eur J Anaesthesiol 2000; 17: 230-5.

9.       Taylor G, Larson CP Jr, Prestwich R. Unexpected cardiac arrest during anesthesia and surgery. An environmental study. JAMA 1976; 236: 2758-60.

10.    Tikkanen J, Hovi-Viander M. Death associated with anaesthesia and surgery in Finland in 1986 compared to 1975. Acta Anaesthesiol Scand 1995; 39: 262-7.

11.    Boonmak P, Boonmak S, Srichaipanha S, Poomsawat S. Knowledge and skill after brief ACLS training. J Med Assoc Thai 2004; 87: 1311-4.

12.    Bands C, Davies JM. Perioperative cardiac arrest and resuscitation: do we know what we're doing? Can J Anaesth. 1999; 46: 519-24.

13.    Porayko LD, Butler R. Perioperative resuscitation knowledge base. Can J Anaesth 1999; 46: 529-35.

 

Untitled Document
Article Location

Untitled Document
Article Option
       Abstract
       Fulltext
       PDF File
Untitled Document
 
ทำหน้าที่ ดึง Collection ที่เกี่ยวข้อง แสดง บทความ ตามที่ีมีใน collection ที่มีใน list Untitled Document
Another articles
in this topic collection

Surveillance of and Risk Fztors for Difficult Intubation At Srinagarind Hosipital (การเฝ้าระวังการใส่ท่อช่วยหายใจลำบากระหว่างการวางยาระงับความรู้สึกในโรงพยาบาลศรีนครินทร์ และปัจจัยที่เกี่ยวข้อง)
 
Surveillance of Drug Error during Anesthesia at Srinagarind Hospital Khon Kaen University (การเฝ้าระวังความผิดพลาดในการให้ยาระหว่างการให้ยาระงับความรู้สึกในโรงพยาบาลศรีนครินทร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น)
 
New Trend Anesthesia for Cesarean Section (แนวโน้มการให้ยาระงับความรู้สึกเพื่อผ่าตัดคลอด)
 
Survey the problems with daily anesthetic machine-checking at Srinagarind Hospital (การสำรวจปัญหาการตรวจสอบเครื่องวางยาสลบประจำวันในโรงพยาบาลศรีนครินทร์)
 
<More>
Untitled Document
 
This article is under
this collection.

Anesthesia
 
 
 
 
Srinagarind Medical Journal,Faculty of Medicine, Khon Kaen University. Copy Right © All Rights Reserved.
 
 
 
 

 


Warning: Unknown: Your script possibly relies on a session side-effect which existed until PHP 4.2.3. Please be advised that the session extension does not consider global variables as a source of data, unless register_globals is enabled. You can disable this functionality and this warning by setting session.bug_compat_42 or session.bug_compat_warn to off, respectively in Unknown on line 0