ตารางที่ 5 แสดงความสัมพันธ์การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์กับปัจจัยที่ศึกษา
ปัจจัย |
ไม่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
จำนวน (ร้อยละ) |
ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
จำนวน (ร้อยละ) |
p-value |
เพศ |
|
|
.155 |
- ชาย |
303 (86.6) |
47 (13.4) |
|
- หญิง |
64 (92.8) |
5 (7.2) |
|
อายุ (ปี) |
|
|
.092 |
- 0-15 |
27 (96.4) |
1 (3.6) |
|
- 16-30 |
214 (88.4) |
28 (11.6) |
|
- 31-45 |
101 (87.1) |
15 (12.9) |
|
- >45 |
25 (75.8) |
8 (24.2) |
|
สาเหตุ |
|
|
.094 |
- อุบัติเหตุจราจร |
255 (85.9) |
42 (14.1) |
|
- อุบัติเหตุอื่นๆ |
112 (91.8) |
10 (8.2) |
|
ตำแหน่งการบาดเจ็บของกระดูกขากรรไกรและใบหน้า |
|
|
.032* |
- มีการแตกหักของกระดูกหนึ่งตำแหน่ง |
306 (89.2) |
37 (10.8) |
|
- มีการแตกหักของกระดูกสองตำแหน่งขึ้นไป |
61 (80.3) |
15 (19.7) |
|
การบาดเจ็บของอวัยวะอื่นร่วม |
|
|
.043* |
- ไม่มีการบาดเจ็บของระบบอื่นร่วม |
256 (89.8) |
29 (20.8) |
|
- มีการบาดเจ็บของระบบอื่นร่วม |
111 (82.8) |
23 (17.2) |
|
ค่ารักษาพยาบาล(บาท) |
|
|
.003* |
- 0-15,000 |
202 (93.5) |
14 (6.5) |
|
- 15,001-30,000 |
52 (81.2) |
13 (19.1) |
|
- 30,001-45,000
- >45,000 |
55 (80.9)
58 (81.7) |
12 (18.8)
13 (18.3) |
|
วิธีการผ่าตัด |
|
|
.421 |
- Open reduction with internal fixation |
293 (88.3) |
39 (11.7) |
|
- Close reduction |
74 (85.1) |
13 (14.9) |
|
ระยะเวลาที่พักรักษาในโรงพยาบาล(วัน) |
|
|
.019* |
- 1-3 |
103 (88) |
14 (12) |
|
- 4-6 |
160 (92) |
14 (8) |
|
- 7-9 |
58 (85.3) |
10 (14.7) |
|
- >9 |
46 (76.7) |
14 (23.3) |
|
วิจารณ์
จาการศึกษาพบว่า ผู้ป่วยบาดเจ็บบริเวณกระดูกใบหน้าและขากรรไกรส่วนใหญ่เป็นเพศชาย 350 ราย (ร้อยละ83.5) ช่วงอายุวัยรุ่นถึงวัยทำงานตอนต้นสอดคล้องกับการศึกษาทั้งในประเทศไทยและในต่างประเทศ ส่วนผู้ป่วยเพศหญิง 69 ราย (ร้อยละ16.5) อายุเฉลี่ย 28.6 ปี
สาเหตุของการบาดเจ็บส่วนใหญ่มาจากอุบัติเหตุจักรยานยนต์ เป็นผลมาจากจักรยานยนต์เป็นพาหนะที่นิยมใช้และมีปริมาณมากในท้องถนนคล้ายกับการศึกษาในเนเธอร์แลนด์ของ van Den Bergh และคณะ11 ที่พบว่าบาดเจ็บส่วนใหญ่มาจากการขี่จักรยานซึ่งเป็นพาหนะที่นิยมในประเทศนั้นสาเหตุการบาดเจ็บอันดับสองได้แก่การถูกทำร้ายร่างกาย ผู้บาดเจ็บส่วนใหญ่เป็นเพศชาย 63 ราย (ร้อยละ 80.7) ต่างจากการศึกษาในสหรัฐอเมริกาของ Allareddy และคณะ1 และในเกาหลีใต้ของ Hwang และ You12 ที่การทำร้ายร่างกายเป็นสาเหตุการบาดเจ็บอันดับหนึ่งและอายุเฉลี่ยของผู้บาดเจ็บสูงกว่าอาจเนื่องมาจากความแตกต่างทางพฤติกรรมของประชากรในแต่ละพื้นที่นอกจากนี้ในส่วนของผู้ถูกทำร้ายร่างกายที่เป็นผู้หญิงพบว่ามีสาเหตุจากความรุนแรงภายในครอบครัว 15 ราย (ร้อยละ 19.23) สาเหตุอันดับสามเกิดจากการตกจากที่สูงหรือพลัดตกหกล้ม พบในเพศชาย 25 ราย (ร้อยละ 75.8) อายุเฉลี่ย 32.24 ปี มักจะเกิดเหตุขณะทำงานต่างจากการศึกษาของ Roccia และคณะ13 ที่กลุ่มผู้ป่วยอายุเฉลี่ย 51.5 ปีพบในเพศชายและเกิดเหตุขณะทำกิจวัตรประจำวัน
อวัยวะที่ได้รับการบาดเจ็บพบบริเวณขากรรไกรล่างตำแหน่งเดียว (Mandible) มากที่สุด 283 ราย(ร้อยละ 67.5) และตำแหน่งที่มีการแตกหักมากที่สุดของขากรรไกรล่างคือบริเวณ Symphysis 211 ราย (ร้อยละ50.8) สอดคล้องกับการศึกษาของณรงค์ศักดิ์ บุญเฉลียว10 และขนิษฐา เจนวณิชสถาพร8 และเมื่อดูจากสาเหตุการบาดเจ็บพบว่าการโดนทำร้ายร่างกายจะทำให้เกิดการบาดเจ็บที่บริเวณขากรรไกรล่างมากที่สุด(ร้อยละ79.4) ตามมาด้วยการตกจากที่สูงและพลัดตกหกล้ม (ร้อยละ78.7) และจากอุบัติเหตุจราจร (ร้อยละ62.9)
วิธีการรักษาส่วนใหญ่ใช้วิธีผ่าตัดใส่แผ่นโลหะยึดกระดูก (open reduction and internal fixation with plate screw) 332 ราย (ร้อยละ79.2)เ หมือนกับการศึกษาของ Boonkasem และคณะ14 ในปี พ.ศ. 2558 แต่ต่างจากรายงานของเพียรชัย เธียรโชติ และ ไพศาล กังวลกิจ9 ในปี พ.ศ. 2538-2543 ที่ในช่วงเวลานั้นการรักษาส่วนใหญ่นิยมใช้วิธี close reduction มากกว่า ระยะเวลาพักรักษาในโรงพยาบาลของผู้ป่วยส่วนใหญ่มีวันนอนอยู่ในช่วง 4-6 วัน 174ราย (ร้อยละ41.5) ตามมาด้วย 1-3 วัน 117 ราย (ร้อยละ27.9) ใกล้เคียงกับรายงานของ van Hout และคณะ15 ที่พบว่าร้อยละ 59 ของผู้ป่วยใช้เวลารักษาในโรงพยาบาลน้อยกว่า 4 วัน
สิทธิการรักษาของผู้ป่วยส่วนใหญ่มีสิทธิการรักษาในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าทำให้ผู้ป่วยไม่ต้องชำระค่ารักษา เป็นผู้ป่วยในเขตจังหวัดปทุมธานีเอง 247 ราย (ร้อยละ59) เป็นผู้ป่วยจากต่างจังหวัด 58 ราย (ร้อยละ13.7) มีผู้ป่วยต่างด้าวมารับการรักษา 22 ราย (ร้อยละ5.3) ผู้ป่วยกลุ่มนี้มีแนวโน้มมารับการรักษามากขึ้นโดยในช่วงปี พ.ศ. 2552-2557 มีจำนวน 9 ราย ในขณะที่ช่วงปี พ.ศ. 2558- 2559 มีจำนวน 13 ราย พบว่าค่ารักษารวมในแต่ละปีมีแนวโน้มสูงขึ้น อันเป็นผลจากค่ายาค่าอุปกรณ์ทางการแพทย์และค่าบริการทางการแพทย์มีการปรับราคาสูงขึ้น
จากการหาความสัมพันธ์ทางสถิติของการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์พบว่ามีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับความรุนแรงของการบาดเจ็บในส่วนของการบาดเจ็บของกระดูกขากรรไกรและใบหน้ามากกว่าสองตำแหน่งขึ้นไปและการที่มีอวัยวะอื่นบาดเจ็บร่วมด้วย รวมถึงสัมพันธ์กับค่ารักษาพยาบาลและระยะเวลาพักรักษาในโรงพยาบาลสอดคล้องกับรายงานของ OMeara และคณะ16 ที่พบว่าเครื่องดื่มแอลกอฮอล์มีความสัมพันธ์กับความจำเป็นในการผ่าตัดรักษาอาการบาดเจ็บและระยะเวลาพักรักษาในโรงพยาบาล
สรุป
จากผลการศึกษาพบว่า การบาดเจ็บบริเวณกระดูกขากรรไกรและใบหน้าพบบ่อยในกลุ่มเพศชายช่วงวัยรุ่นและวัยทำงาน สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากอุบัติเหตุการจราจร ตำแหน่งที่พบการบาดเจ็บมากที่สุดคือกระดูกขากรรไกรล่าง วิธีรักษาส่วนใหญ่ใช้การผ่าตัดใส่แผ่นโลหะยึดกระดูก ในกลุ่มผู้บาดเจ็บที่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์พบว่ามีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับความรุนแรงของการบาดเจ็บ ระยะเวลาพักรักษาในโรงพยาบาลและค่ารักษาพยาบาล ดังนั้นการรณรงค์ไม่ดื่มสุราขณะขับขี่จะช่วยลดการสูญเสียจากการบาดเจ็บนี้ได้
กิตติกรรมประกาศ
ขอขอบพระคุณเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลปทุมธานีในส่วนของกลุ่มงานทันตกรรมที่ได้ช่วยเหลือในการดูแลผู้ป่วย ส่วนของกลุ่มงานสารสนเทศและเวชระเบียนที่ให้ความช่วยเหลือในการรวบรวมข้อมูลและทุกท่านที่มีส่วนช่วยให้การศึกษาครั้งนี้สำเร็จไปได้ด้วยดี
เอกสารอ้างอิง
1. Allareddy V, Allareddy V, Nalliah RP. Epidemiology of facial fracture injuries. J Oral Maxillofac Surg 2011; 69: 2613-8.
2. Oberdan W, Finn B. Mandibular fractures in Far North Queensland: an ethnic comparison. ANZ J Surg 2007; 77: 73-9.
3. Lee JH, Cho BK, Park WJ. A 4-year retrospective study of facial fractures on Jeju, Korea. J Craniomaxillofac Surg 2010; 38: 192-6.
4. Gassner R, Tuli T, Hachl O, Rudisch A, Ulmer H. Cranio-maxillofacial trauma: a 10 year review of 9,543 cases with 21,067 injuries. J Craniomaxillofac Surg 2003; 31: 51-61.
5. Mijiti A, Ling W, Tuerdi M, Maimaiti A, Tuerxun J, Tao YZ, et al. Epidemiological analysis of maxillofacial fractures treated at a university hospital, Xinjiang, China: A 5-year retrospective study. J Craniomaxillofac Surg 2014; 42 :227-33.
6. Subhashraj K, Nandakumar N, Ravindran C. Review of maxillofacial injuries in Chennai, India: a study of 2748 cases. Br J Oral Maxillofac Surg 2007; 45: 637-9.
7. Mabrouk A, Helal H, Mohamed AR, Mahmoud N. Incidence, etiology, and patterns of maxillofacial fractures in ain-shams university, cairo, egypt: a 4-year retrospective study. Craniomaxillofac Trauma Reconstr 2014; 7: 224-32.
8. ขนิษฐา เจนวฌิชสถาพร . การศึกษาผู้ป่วยที่มีการบาดเจ็บบริเวณกระดูกขากรรไกรและใบหน้า 4,755 ราย ณ โรงพยาบาล สุราษฎร์ธานี. วารสารศัลยศาสตร์ช่องปากและแม็กซิลโลเฟเชี่ยล 2551; 22: 106-15.
9. เพียรชัย เธียรโชติ, ไพศาล กังวลกิจ การบาดเจ็บบริเวณกระดูกขากรรไกรและใบหน้าในโรงพยาบาลชลบุรี : การศึกษาผู้ป่วย 2,478 ราย. วารสารศัลยศาสตร์ช่องปากและแม็กซิลโลเฟเชี่ยล 2546; 17: 99-106.
10. ณรงค์ศักดิ์ บุญเฉลียว. การศึกษาการบาดเจ็บบริเวณกระดูกขากรรไกรและใบหน้าในโรงพยาบาลสุรินทร์ : การศึกษาผู้ป่วย 2,997 ราย. วารสารศัลยศาสตร์ช่องปากและแม็กซิลโลเฟเชี่ยล 2548; 19: 75-9.
11. van den Bergh B, Karagozoglu KH, Heymans MW, Forouzanfar T. Aetiology and incidence of maxillofacial trauma in Amsterdam: a retrospective analysis of 579 patients. J Craniomaxillofac Surg. 2012; 40: e165-9.
12. Hwang K, You SH. Analysis of facial bone fractures: An 11-year study of 2,094 patients. Indian J Plast Surg 2010; 43: 42-8.
13. Roccia F, Boffano P, Bianchi FA, Zavattero E. Maxillofacial Fractures due to Falls: does Fall Modality Determine the Pattern of Injury? J Oral Maxillofac Res 2014; 5: e5.
14. Boonkasem S, Rojanaworarit C, Kansorn S, Punkabut S. Incidence and etiology of maxillofacial trauma : A retrospective analysis of patients attending a provincial hospital in northern Thailand. Journal of Public Health and Development 2015; 13: 57-71.
15. van Hout WM, Van Cann EM, Abbink JH, Koole R. An epidemiological study of maxillofacial fractures requiring surgical treatment at a tertiary trauma centre between 2005 and 2010. Br J Oral Maxillofac Surg 2013; 51: 416-20.
16. O'Meara C, Witherspoon R, Hapangama N, Hyam DM. Alcohol and interpersonal violence may increase the severity of facial fracture. Br J Oral Maxillofac Surg 2012; 50: 36-40.