ตารางที่ 3 ปริมาตรของอากาศที่ใช้ในแต่ละระดับ LMA intracuff pressureในกลุ่มทดลอง
Intracuff pressure
(cmH2O) |
Intracuff volume
(mean(SD);ml) |
TV leak>50ml
(n=45) |
Leak sound
(n=45) |
LMA No.3 |
LMA No.4 |
60 |
17.9(0.3) |
26.5(0.5) |
0 |
2 |
50 |
16.6(0.4) |
24.7(0.6) |
0 |
2 |
40 |
15.4(0.4) |
22.7(0.7) |
0 |
2 |
TV: Tidal volume, LMA: Laryngeal mask airway
เมื่อติดตามอุบัติการณ์ของภาวะแทรกซ้อนไปจนถึง 24 ชั่วโมงหลังผ่าตัดพบว่ากลุ่มควบคุมมีผู้ป่วยที่มีอาการเจ็บคอเล็กน้อย 2 รายและไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระหว่างกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลอง (p=0.15) และไม่พบว่ามีผู้ป่วยที่มีอาการเสียงแหบและกลืนลำบากในทั้งสองกลุ่ม
วิจารณ์
ปัจจุบันLMAถูกใช้เพื่อควบคุมทางเดินหายใจระหว่างการให้การระงับความรู้สึกอย่างแพร่หลาย ระดับLMA intracuff pressure ที่เหมาะสมคือไม่ควรเกิน60 ซม.น้ำ โดยทางบริษัทผู้ผลิตจะแนะนำปริมาตรของอากาศที่ใช้เติมใน LMA cuff ในแต่ละขนาดว่าไม่ควรเกินเท่าไรโดยคาดว่า intracuff pressure จะยังอยู่ในระดับที่เหมาะสมและในเวชปฏิบัติก็มักจะใช้ค่าปริมาตรนั้นๆสำหรับLMAแต่ละขนาดโดยไม่มีการวัด LMA intracuff pressure ที่แท้จริง แต่จากการศึกษานี้พบว่าการเติมอากาศในLMA cuffในเวชปฏิบัติปกตินั้นมีผลให้ LMA intracuff pressureสูงกว่า 60 ซม.น้ำ ถึงร้อยละ 86.7 และสูงกว่า 100 ซม.น้ำ ร้อยละ5.6 ของจำนวนผู้ป่วยในกลุ่มควบคุมโดยมีค่าเฉลี่ยสูงถึง 80.4土2.7 และ 86.9土3.2 ซม.น้ำ ในกลุ่ม LMA เบอร์ 3 และ 4 ตามลำดับ ซึ่งสอดคล้องกับการศึกษาของ Sandhu และคณะ10 ซึ่งพบว่าอุบัติการณ์ของระดับความดัน LMA cuff ที่สูงเกินไปมีถึงร้อยละ 70
เมื่อศึกษาปริมาตรของอากาศที่ใช้เพื่อให้ได้ LMA intracuff pressure อยู่ในระดับที่เหมาะสมคือไม่เกิน 60 ซม.น้ำ พบว่ามีค่าเฉลี่ยประมาณ 18 มล. สำหรับ LMA เบอร์ 3 และ 26 มล. สำหรับ LMA เบอร์ 4 หรือคิดเป็นร้อยละ 88 และ 89 ของปริมาตรที่ใช้ในเวชปฏิบัติปัจจุบันตามลำดับซึ่งน่าจะมากเกินไปและส่งผลให้ intracuff pressure สูงกว่าค่าที่เหมาะสม จากการศึกษาของ Li และคณะ12 แสดงให้เห็นว่าระดับ LMA intracuff pressure จะสูงขึ้นตามปริมาตรอากาศที่เติมที่มากขึ้นในลักษณะความสัมพันธ์เชิงเส้นและยังสัมพันธ์ภาวะแทรกซ้อนได้แก่ เจ็บคอ เสียงแหบและกลืนลำบากที่เกิดหลังการถอด LMA ที่สูงขึ้น
ภาวะแทรกซ้อนหลังจากการใส่อุปกรณ์เหนือกล่องเสียงเพื่อควบคุมทางเดินหายใจ (supraglottic device) นั้นอาจจะเกิดได้จากหลายสาเหตุเช่น การบาดเจ็บของทางเดินหายใจจากเทคนิคการใส่อุปกรณ์ การเลือกขนาดหรือชนิดของอุปกรณ์ไม่เหมาะสม การไม่ใช้สารหล่อลื่นและ over-inflation 15 Brimacombe และคณะได้ศึกษาถึงผลของ mucosal pressure ซึ่งสัมพันธ์กับ intracuff pressure ที่มีต่อปริมาณเลือดที่ไปเลี้ยงเยื่อบุบริเวณ posterior pharynx ในผู้ป่วยที่ถูกใส่ cuffed oropharyngeal airway (COPA) พบว่าปริมาณเลือดที่มาเลี้ยงเยื่อบุทางเดินหายใจลดลงไปเรื่อยๆเมื่อระดับ mucosal pressure เพิ่มขึ้นจาก 34 เป็น 80 ซม.น้ำ จนถึงขาดเลือดได้และสัมพันธ์กับการเกิดภาวะแทรกซ้อนที่มากขึ้นและแนะนำว่า intra-cuff pressure ไม่ควรจะเกิน 120 ซม.น้ำ16
ในการศึกษานี้เมื่อติดตามอุบัติการณ์ของภาวะแทรกซ้อนได้แก่ เจ็บคอเสียงแหบและกลืนลำบากไปจนถึง24 ชั่วโมงหลังผ่าตัดพบว่ากลุ่มควบคุมมีผู้ป่วยที่มีอาการเจ็บคอเล็กน้อย 2 รายและสามารถรับประทานอาหารได้ตามปรกติและเป็นผู้ป่วยที่หลังถอด LMA แล้วพบว่ามีเลือดติดที่ LMA ทั้งสองรายและไม่พบว่ามีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระหว่างกลุ่มควบคุมที่มีระดับ LMA intracuff pressure เฉลี่ย 80-86 ซม.น้ำ และกลุ่มทดลองที่รักษาระดับ LMA intracuff pressureไว้ที่ 40 ซม.น้ำ ตลอดการผ่าตัดซึ่งสอดคล้องกับการศึกษาของ Rieger และคณะ17 ซึ่งพบว่าไม่มีความแตกต่างของอุบัติการณ์ของภาวะแทรกซ้อนของทาง เดินหายใจส่วนบนระหว่างกลุ่มที่มี intracuff pressure 30 และ 180 มม.ปรอทอย่างไรก็ตามมีหลายการศึกษาที่ได้ผลลัพธ์ที่แตกต่างกัน Seet และคณะ พบว่าการควบคุม LMA intracuff pressure ให้ไม่เกิน 44 มม.ปรอท นั้น สามารถลดภาวะแทรกซ้อนของทางเดินหายใจส่วนบนได้3 Burgard และคณะ18 พบว่าการจำกัด intracuff pressure ให้ต่ำที่สุดโดยไม่มีลมรั่วนั้นสามารถลดอุบัติการณ์ของการเกิดอาการเจ็บคอได้ อีกปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อภาวะแทรกซ้อนก็คือระยะเวลาที่ใส่ LMA มีการศึกษาในสัตว์ทดลองพบว่าการใส่ LMA ProSealTM มากกว่า 12 ชม. นั้นสัมพันธ์กับอุบัติการณ์ของ mucosal injury ที่เพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตามการใส่ LMA ไม่เกิน 2 ชั่วโมงนั้นมีผลต่อการบาดเจ็บของเยื่อบุทางเดินหายใจที่ตรวจพบทางพยาธิวิทยาเพียงเล็กน้อยเท่านั้น19,20
ถึงแม้ว่าผลการศึกษาในแง่ของ intracuff pressure ที่มีผลต่อการเกิดจากการบาดเจ็บของเยื่อบุทางเดินหายใจส่วนบนยังไม่ได้ข้อสรุปที่ชัดเจนแต่ Hensel และคณะได้ทำการศึกษาเกี่ยวกับ supraglottic airway device 7 ชนิดใน human cadaver พบว่าการที่ intracuff pressure ของ LMA และ Laryngeal tube สูงถึง 120 ซม.น้ำ นั้นเพิ่มโอกาสให้เกิดการสูดสำลักมากขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับ intracuff pressure 60ซม.น้ำ13 ถึงแม้ว่าในการศึกษานี้ค่าเฉลี่ยของ LMA intracuff pressure ในกลุ่มควบคุมจะมีค่าเฉลี่ยประมาณ 80-86 ซม.น้ำ แต่ก็มีผู้ป่วย 2 รายที่มีค่า LMA intracuff pressure สูงถึง 120 ซม.น้ำ ดังนั้นปริมาตรของอากาศที่เติมใน LMA cuff จึงควรจะน้อยที่สุดที่สามารถควบคุมทางเดินหายใจได้ดีเพื่อลดภาวะแทรกซ้อนที่อาจจะเกิดขึ้น ในการศึกษานี้ยังได้ทำการทดสอบประสิทธิภาพการควบคุมทางเดินหายใจที่ระดับ LMA intracuff pressure 60, 50 และ 40 ซม.น้ำ ในกลุ่มทดลอง พบว่าสามารถควบคุมทางเดินหายใจจนสิ้นสุดการผ่าตัดได้ดีไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติซึ่งสอดคล้องกับการศึกษาของ Seet และคณะ ซึ่งแนะนำให้รักษาระดับ LMA intracuff pressure ต่ำกว่า 44 มม.ปรอทโดยแนะนำให้ใช้ manometer วัดระดับ LMA intracuff pressure เป็นมาตรฐาน3 อย่างไรก็ตามในบริบทที่จำกัดไม่มี manometer นั้นจากการศึกษานี้พบว่าที่ LMA intracuff pressure 40 ซม.น้ำ ซึ่งมีค่าเฉลี่ยของ LMA intracuff volume ของ LMA เบอร์ 3 เท่ากับ 15 มล. และ LMA เบอร์ 4 เท่ากับ 22 มล. ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 77 และ76 ของค่าที่ใช้ในเวชปฏิบัติตามลำดับ ดังนั้นอาจจะสรุปได้ว่าสามารถเติมอากาศใน LMA cuff ประมาณร้อยละ 80 ของค่าที่ใช้ในปัจจุบันก็เพียงพอ
ข้อจำกัดของการศึกษานี้คือไม่ได้มีการติดตามเฝ้าดูค่าความดันใน LMA cuff ตลอดเวลาแต่ได้หลีกเลี่ยงการใช้ nitrous oxide ซึ่งจะมีผลให้ระดับ LMA intracuff pressure สูงขึ้นเมื่อเวลาผ่านไป21 และค่าเฉลี่ยของระยะเวลาที่ใช้ในการผ่าตัดไม่ถึง 1ชั่วโมงซึ่งอาจจะมีผลให้ไม่สามารถแสดงให้เห็นอุบัติการณ์ของภาวะแทรกซ้อนที่แตกต่างกันที่แต่ละระดับของ LMA intracuff pressure ได้
สรุป
การเติมอากาศในcuff ของ LMA. ProSealTM ตามที่ปฏิบัติในปัจจุบันนั้นมีผลทำให้ LMA intracuff pressure ในผู้ป่วยส่วนใหญ่สูงเกินค่าที่เหมาะสมและควรใช้ LMA intracuff pressure ที่ต่ำที่สุดที่สามารถควบคุมทางเดินหายใจระหว่างผ่าตัดได้ดีหรือประมาณ 40 ซม.น้ำ ก็เพียงพอ การใช้ manometer จะทำให้ได้ LMA intracuff pressure ที่เหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละรายที่สุดแต่ในบริบทที่จำกัดสามารถเติมอากาศด้วยปริมาตร 15 และ 22 มล.โดยประมาณสำหรับ LMA เบอร์ 3 และ 4 ตามลำดับหรือประมาณร้อยละ 80 ของค่าสูงสุดที่แนะนำก็สามารถหลีกเลี่ยงไม่ให้ LMA intracuff pressure สูงเกินค่าที่เหมาะสมและลดโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนลงได้
เอกสารอ้างอิง
1. Michele C,Stefano V,Walter G. Hemodynamic and hormonal stress responses to endotracheal tube and ProSealTM Laryngeal Mask Airway for laparoscopic gastric banding . Anesthesiology 2012; 117: 30920
2. Avhad V,Oak S,Shetty A.Comparison of safety and efficacy of ProSealTM laryngeal mask airway vs endotracheal intubation for gynecological diagnostic laparoscopy.Res Into in Anesth 2017; 2: 9-13
3. Seet E, Yousaf F, Gupta S, Subramanyam R, Wong DT, Chung F. Use of manometry for laryngeal mask airway reduces postoperative pharyngolaryngeal adverse events: a prospective, randomized trial. Anesthesiology 2010; 112: 652-7.
4. McHardy FE, Chung F. Postoperative sore throat: cause, prevention and treatment. Anaesthesia 1999; 54: 444-53.
5. Higgins PP, Chung F, Mezei G. Postoperative sore throat after ambulatory surgery. Br J Anaesth 2002; 88: 5824.
6. Grady DM, McHardy F, Wong J, Jin F, Tong D, Chung F: Pharyngolaryngeal morbidity with the laryngeal mask airway in spontaneously breathing patients. Anesthesiology 2001; 94:760 6.
7. Cook TM, Lee G, Nolan JP. The proseal™ laryngeal mask airway: a review of the literature. Can J Anesth 2005; 52: 739-60.
8. LMA Instruction Manual. LMA Company, 2017. Available from: http://www.lmaco-
ifu.com/sites/default/files/node/166/ifu/revision/4367/ifu-lma-classic-paa2100000buk.pdf. [Access June 08, 2017].
9. Proseal LMA Instruction Manual. LMA Company, 2017. Available from: http://www.lmaco-ifu.com/sites/default/files/node/ 388/ifu/revision/4838/ifu-lma-proseal-pab2100001buk.pdf. [Access June 08, 2017].
10. Sandhu G, Thanawala V, Flack J. Prospective audit to determine endotracheal tube and laryngeal mask airway cuff pressures during general anaesthesia. Anaesthesia 2012; 67(Suppl 2): 67.(abstract).
11. Wong JG, Heaney M, Chambers NA, Erb TO, von Ungern-Sternberg BS. Impact of laryngeal mask airway cuff pressures on the incidence of sore throat in children. Pediatr Anesth 2009; 19: 4649.
12. Li BB, Yan J, Zhou HG, Hao J, Liu AJ, Ma ZL. Application of minimum effective cuff inflating volume for laryngeal mask airway and its impact on postoperative pharyngeal complications. Chin Med J 2015; 128: 2570-6.
13. Hensel M, Schmidbauer W, Geppert D, Sehner S, Bogusch G, Kerner T. Overinflation of the cuff and pressure on the neck reduce the preventive effect of supraglottic airways on pulmonary aspiration: an experimental study in human cadavers. BJA 2016 ;116: 28994.
14. The Acute Respiratory Distress Syndrome Network.Ventilation with Lower Tidal Volumes as Compared with Traditional Tidal Volumes for Acute Lung Injury and the Acute Respiratory Distress Syndrome. N Engl J Med 2000; 342: 1301-8.
15. Michalek P, Donaldson W, Vobrubova E, Marek Hakl M. Review Article :Complications associated with the use of supraglottic airway devices in perioperative medicine.BioMed Research International 2015/Available
from http://dx.doi.org/ 10.1155/2015/746560 . [Access May 01, 2017].
16. Brimacombe J, Keller C, Puehringer F. Pharyngeal mucosal pressure and perfusion: A fiberoptic evaluation of the posterior pharynx in anesthetized adult patients with a modified cuffed oropharyngeal airway. Anesthesiology 1999; 91: 1661-5.
17. Rieger A, Brunne B, Striebel HW. Intracuff pressures do not predict laryngo-pharyngeal discomfort after use of the laryngeal mask airway. Anesthesiology 1997; 87: 63-7.
18. Burgard G, Mollh¨off T, Prien T. The effect of Laryngeal Mask cuff pressure on postoperative sore throat incidence. J Clinical Anesth 1996; 8: 198-201.
19. Goldmann K, Dieterich J, Roessler M. Laryngopharyngeal mucosal injury after prolonged use of the ProSeal LMA in a porcine model: a pilot study. Can J Anaesth 2007; 54: 8228.
20. Martins RHG, Braz JRC, Defaveri J, Greg¨orio EA, Abud TMV. Effect of high laryngeal mask airway intracuff pressure on the laryngopharyngeal mucosa of dogs. Laryngoscope 2000; 110: 64550.
21. Abud TMV, Braz JRC, Martins RHG, Greǵorio EA, SaldanhaJC. High laryngeal mask airway pressures resulting from nitrous oxide do not increase pharyngeal mucosal injury in dogs. Can J Anesth 2001; 48: 8006.