วิจารณ์
จากผลการศึกษา พบว่า As2O3 ให้ประสิทธิภาพในการรักษาผู้ป่วย APL รายใหม่ไม่ด้อยกว่าการรักษาด้วย ATRA-Idarubicin จากการศึกษาในอดีตของ Soignet และคณะ พบว่า การรักษาผู้ป่วย APL รายใหม่ด้วย As2O3 โดยเริ่มต้นศึกษาตั้งแต่ปี ค.ศ.1996 ในประเทศจีน มีอัตราการหายขาดร้อยละ 73.3 (ผู้ป่วย 22 ราย จากผู้ป่วยที่ได้รับการรักษา 30 ราย)10 และจากการศึกษาของ Zhang และคณะ พบว่ามีอัตราการหายขาดร้อยละ 72.7 (ผู้ป่วย 8 รายจากผู้ป่วยที่ได้รับการรักษา 11 ราย)6 ในปัจจุบันการศึกษาในผู้ป่วย APL รายใหม่ที่ได้รับการรักษาด้วย As2O3 เพียงอย่างเดียวเพื่อทำให้โรคเข้าสู่ระยะสงบที่มีจำนวนมากที่สุดคือ 72 รายในประเทศอินเดีย ผลการรักษาพบว่ามีผลการตรวจเม็ดเลือดกลับมาเป็นปกติร้อยละ 86.111
จากการศึกษาครั้งนี้ พบว่าผู้ป่วยกลุ่มที่ได้รับยา As2O3 สามารถทำให้เกิดโรคสงบได้ร้อยละ 81.25 ส่วนในกลุ่มที่ได้รับยา ATRA-Idarubicin ทำให้เกิดโรคสงบได้ร้อยละ 84.44 โดยเมื่อติดตามการรักษาในแต่ละกลุ่มที่ได้รับยาเป็นเวลาอย่างน้อยกลุ่มละ 3 ปี พบว่าอัตราการปราศจากโรคหลังโรคสงบในเวลา 2 ปี ในกลุ่มที่ได้รับยา As2O3 และในกลุ่มที่ได้รับยา ATRA-Idarubicin ร้อยละ 68.75 และ 71.11 ตามลำดับ (p=0.999) ส่วนระยะเวลาการกลับมาเป็นซ้ำของโรคหลังโรคสงบในเวลา 2 ปี ในกลุ่มที่ได้รับยา As2O3 และในกลุ่มที่ได้รับยา ATRA-Idarubicin คิดเป็น 8 และ 9 เดือน ตามลำดับ (p=0.804) ส่วนระยะเวลาการมีชิวิตรอดหลังโรคสงบโดยติดตามตามการรักษา 3 ปี ในกลุ่มที่ได้รับยา As2O3 และในกลุ่มที่ได้รับยา ATRA-Idarubicin คิดเป็น 8 และ 9 เดือน ตามลำดับ (p=0.834) โดยเมื่อเปรียบเทียบทางสถิติแล้ว แต่ละกลุ่มไม่ได้มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
ข้อจำกัดที่สำคัญของงานวิจัยนี้ ได้แก่ การคัดเลือกผู้ป่วยเพื่อเข้ามาในการศึกษาอาจมีอคติในการคัดเลือกผู้ป่วย และจำนวนประชากรตัวอย่างที่น้อยเกินไปทำให้การแปลผลและการวิเคราะห์ทางสถิติที่ได้ถึงแม้จะแตกต่างกันแต่ไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ
ข้อเสนอแนะของงานวิจัยนี้คือ การศึกษาเพิ่มเติมโดยมีประชากรตัวอย่างที่มากขึ้นเพื่อแสดงให้เห็นผลการวิเคราะห์ทางสถิติที่ชัดเจนยิ่งขึ้น หรือควรใช้รูปแบบการศึกษาวิจัยทดลองแบบสุ่มมีกลุ่มเปรียบเทียบเพื่อให้ได้ผลทีน่าเชื่อถือมากยิ่งขึ้น
สรุป
As2O3 ให้ประสิทธิภาพในการรักษาผู้ป่วย APL รายใหม่ไม่ด้อยกว่าการรักษาด้วย ATRA-Idarubicin เมื่อเปรียบเทียบผลการรักษาในด้านอัตราโรคสงบ อัตราการปราศจากโรคหลังโรคสงบในเวลา 2 ปี ระยะเวลาการกลับมาเป็นซ้ำของโรคหลังโรคสงบในเวลา 2 ปี และ ระยะเวลาการมีชีวิตรอดหลังโรคสงบโดยติดตามตามการรักษา 3 ปี แต่อย่างไรก็ตามการศึกษาในเชิงทดลองแบบสุ่ม หรือการศึกษาที่มีผู้ป่วยจำนวนมากขึ้นจะช่วยยืนยันผลของการศึกษาได้ดียิ่งขึ้น
เอกสารอ้างอิง
1. Silverberg E, Lubera JA. Cancer statistics, 1989. CA 1989;39;3-20
2. นิภา สุวรรณเวลา, บุญเชียร ปานเสถียรกุล, ธานินทร์ อินทรกำชัย และคณะ. โรคมะเร็งต่อมน้ำเหลือง. ใน : บุญเชียร ปานเสถียรกุล, บรรณาธิการ. สถานการณ์ปัจจุบันและกลไกการป้องกันและควบคุมโรคเลือดในประเทศไทย.กรุงเทพ: อักษรการพิมพ์, 2533: หน้า-หน้า??.
3. Huang ME, Ye YC, Chen SR, Chai JR, Lu JX, Zhoa L, et al. Use of all trans retinoic acid in the treatment of Acute promyelocytic leukemia. Blood 1988 ; 72 : 567-72.
4. de Thé H, Chomienne C, Lanotte M, Degos L, Dejean A. The t(15;17) translocation of acute promyelocytic leukemia fuses the retinoic acid receptor alpha gene to a novel transcribed locus. Nature 1990 ; 347 : 558-61.
5. Kanamaru A, Takemoto Y, Tanimoto M, Murakami H, Asou N, Kobayashi T, et al. The Japan Adult Leukemia Study Group : All trans retinoic acid for the treatment of newly diagnosed acute promyelocytic leukemia. Blood 1995;85:1202-6.
6. Zhang P, Wang SY, Hu LH. Arsenic trioxide treated 72 cases of acute promyelocytic leukemia. Chin J Hematol 1996;17:58-60.
7. Lou Y, Qian W, Meng H, Mai W, Tong H, Tong Y, et al. High efficacy of arsenic trioxide plus all-trans retinoic acid based induction and maintenance therapy in newly diagnosed acute promyelocytic leukemia. Leuk Res 2013;37:37-42.
8. Lo-Coco F, Avvisati G, Vignetti M, Breccia M, Gallo E, Rambaldi A, et al. Front-line treatment of acute promy- elocytic leukemia with AIDA induction followed by risk-adapted consolidation for adults younger than 61 years: results of the AIDA-2000 trial of the GIMEMA Group. Blood 2010;116: 3171-9.
9. Chen GQ, Shi XG, Tang W, Xiong SM, Zhu J, Cai X, et al. Use of arsenic trioxide (As2O3) in the treatment of acute promyelocytic leukemia (APL): I. As2O3 exerts dose-dependent dual effects on APL cells. Blood 1997; 89: 3345-53.
10. Soignet SL, Maslak P, Wang ZG, Jhanwar S, Calleja E, Dardashti LJ, et al. Complete remission after treatment of acute promyelocytic leukemia with arsenic trioxide. N Engl J Med 1998; 339: 1341-8.
11. Mathews V, George B, Lakshmi KM, Viswabandya A, Bajel A, Balasubramanian P, et al. Single agent arsenic trioxide in the treatment of newly diagnosed acute promyelocytic leukemia: durable remission with minimal toxicity. Blood 2006; 107 ; 2627 - 32.