วิธีการศึกษา
1. ลงทะเบียนผู้ป่วยที่รับการวินิจฉัยเป็นมะเร็งชนิด DLBCL ตาม WHO classification of tumor of hematopoietic malignancy 2008 ที่มารับการรักษาที่โรงพยาบาลมะเร็งอุบลราชธานีในปี 2010-2014 สิทธิประกันสุขภาพถ้วนหน้า
2.ตรวจสอบประวัติและผลการตรวจร่างกาย, ตรวจทางรังสีวินิจฉัย, bone marrow biopsy เพื่อประเมินระยะของโรคและระดับLDHเพื่อคำนวณหาพยากรณ์โรคตามระบบIPIจากเวชระเบียนผู้ป่วยที่ได้รับการลงทะเบียนจากขั้นตอนแรก
3. ตรวจสอบการรักษาผู้ป่วยโดยให้ CHOP ตามหลักมาตรฐานสากลจากเวชระเบียน
5. ติดตามผู้ป่วยตั้งแต่วันที่เริ่มรักษาจนผู้ป่วยเสียชีวิต
6. บันทึกจำนวนผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัย DLBCLตามเกณฑ์การวินิจฉัยตามWHO classification of tumors of hematopoietic and lymphoid tissue 2008 ข้อมูลพื้นฐานได้แก่ เพศ อายุ ภูมิลำเนา เชื้อชาติ วันที่วินิจฉัย ระยะของโรค ระดับ LDH ECOG IPI ชนิดของเคมีบำบัดที่ได้รับ จำนวนรอบยา ผลการรักษาตามเกณฑ์ของ Lugano response criteria วันที่วินิจฉัยผู้ป่วยเกิดโรคกลับเป็นซ้ำ วันที่ผู้ป่วยเสียชีวิต
7. ใช้โปรแกรม Stata ในการวิเคราะห์ทางสถิติ และคำนวณระยะเวลารอดชีวิตมัธยฐาน (median survivalหรือ MS) โดยใช้วิธีของ Kaplan-Meier curve
การวิเคราะห์ข้อมูล ( Data analysis)
สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ร้อยละ ในข้อมูลทั่วไป ได้แก่ อายุ, เพศ, เชื้อชาติ, ชนิดของมะเร็ง, ระยะของโรค, ECOG, IPI สำหรับปัจจัยพยากรณ์โรค วิเคราะห์โดยวิธีวิเคราะห์แบบ univariate และ multivariate สำหรับค่า MS วิเคราะห์โดยใช้วิธีของ Kaplan-Meier curve
ปัญหาทางจริยธรรม(Ethical Considerations)
การวิจัยครั้งนี้เป็นการเก็บข้อมูลของผู้ป่วยย้อนหลัง จำเป็นต้องมีหนังสือยินยอมจากผู้ป่วยในการบันทึกข้อมูลที่เป็นส่วนตัวของผู้ป่วยทุกคนที่เข้าร่วมการศึกษาวิจัยครั้งนี้ หากผู้ป่วยไม่ยินยอมหรือปฏิเสธไม่เข้าร่วมวิจัย คณะผู้ศึกษาวิจัยไม่สามารถเก็บบันทึกข้อมูลของผู้ป่วยได้
ผลการศึกษา
จำนวนผู้ป่วยที่นำเข้ามาศึกษาทั้งหมด 73 ราย พบว่าสามารถศึกษาได้จริง70 ราย เนื่องจาก 2 ราย มีโรคไตเสื่อมเรื้อรังระดับ 4 ไม่สามารถให้เคมีบำบัดได้ 1 รายมีโรคประจำตัวเป็นโรคหัวใจไม่สามารถให้เคมีบำบัดได้ดังแผนภูมิที่ 1

รูปที่ 1 แสดงจำนวนผู้ป่วยที่นำเข้ามาศึกษา
ข้อมูลพื้นฐานผู้ป่วย (ตารางที่ 1) พบว่า ผู้ป่วยอายุมากกว่า 60 ปีและน้อยกว่าหรือเท่ากับ 60 ปี มีสัดส่วน 1:1.2 เป็นเพศชายต่อหญิง 1.6:1 ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม (ร้อยละ 78.57) ภูมิลำเนาของผู้ป่วยที่พบมากที่สุด คือ จังหวัด ศรีสะเกส (ร้อยละ 45.71) ระยะที่พบตอนเริ่มวินิจฉัย ส่วนใหญ่เป็นระยะที่ 2 (ร้อยละ 37.14) ประเมินสภาพผู้ป่วยก่อนรักษาตาม ECOG พบว่าส่วนใหญ่เป็น ECOG 2 (ร้อยละ 40) แบ่งกลุ่มเสี่ยงตาม IPI ชนิด Low risk ,Low intermediate risk ,high intermediate risk และ high risk เป็นร้อยละ 24.9, 28.5, 35.7, และ 11.4 ตามลำดับ
จากการศึกษาเก็บข้อมูลย้อนหลังในประชากรที่ได้รับวินิจฉัยเป็น DLBCLในโรงพยาบาลมะเร็งอุบลราชธานี โดยจำนวนประชากรที่เข้าร่วมศึกษาทั้งหมด 70 ราย พบว่ามีปัจจัยที่พยากรณ์โรค อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ คือ age, stage, ECOG, และระดับ LDH แต่ เพศ ไม่มีความสัมพันธ์ต่อ MS ของผู้ป่วย ดังตารางที่ 2 และ 3
ตารางที่ 1 แสดงข้อมูลพื้นฐานของผู้ป่วย 70 ราย
ข้อมูลพื้นฐาน |
จำนวน(ร้อยละ) N=70 |
อายุ (ปี)
น้อยกว่าหรือเท่ากับ 60
มากกว่า 60 |
38 (54.2)
32(45.7) |
เพศ
ชาย
หญิง |
43 (61.4)
27(38.5) |
อาชีพ
รับจ้าง
เกษตรกรรม
ช่างซ่อมอุปกรณ์ไฟฟ้า
นักบวช
ไม่ระบุ |
5(7.14)
55(78.57)
1(1.42)
2(2.86)
7(10) |
ภูมิลำเนา
ร้อยเอ็ด
ศรีสะเกษ
ยโสธร
นครพนม
อำนาจเจริญ
มุกดาหาร
อุบลราชธานี
บุรีรัมย์ |
7(10)
32(45.71)
7(10)
7(10)
7(10)
8(11.4)
1(1.43)
1(1.43) |
Serum LDH level
>normal
<=normal |
32(45.71)
38(54.29) |
Stage
1
2
3
4 |
8(11.43)
26(37.14)
18(25.71)
18(25.71) |
ECOG
0
1
2
3
4
5 |
4(5.71)
9(12.86)
28(40)
19(27.14)
7(10)
4(5.71) |
IPI
Low
Low intermediate
High intermediate
High |
17(24.29)
20(28.57)
25(35.71)
8(11.43) |
ตารางที่ 2 Difference of survival time among significant variable factors performed by univariate analysis
Variable |
Median
survival (mo) |
95% Confidence
interval |
p-value |
Sex |
|
|
.596 |
male |
49.2 |
43.8-54.5 |
|
female |
50.7 |
38.1-63.2 |
|
Age |
|
|
.957 |
< = 60 |
49.4 |
41.2-57.5 |
|
>60 |
45.8 |
39.0-52.5 |
|
Stage |
|
|
.001 |
1 |
49.2 |
34.0-64.3 |
|
2 |
55.6 |
50.0-61.1 |
|
3 |
41.1 |
32.4-49.7 |
|
4 |
36.6 |
27.6-45.5 |
|
ECOG |
|
|
<.001 |
0 |
41.2 |
40.1-46.4 |
|
1 |
41.9 |
26.4-57.3 |
|
2 |
54.6 |
30.1-43.0 |
|
3 |
28.3 |
15.2-41.3 |
|
4 |
9.6 |
7.8-11.3 |
|
Serum LDH |
|
|
<.001 |
<=normal limit |
49.4 |
39.6-59.1 |
|
> normal limit |
45.8 |
43.6-47.9 |
|
ตารางที่ 3 Multivariate variable factors and survival time
Variable |
HR |
95% CI |
p-value |
Age (<60 vs ≥61) |
2.341 |
1.162 |
.015 |
Serum LDH (≤246 vs ≥247) |
5.145 |
2.461 |
<.001 |
ECOG (0 -1 vs 2-4) |
4.258 |
1.018 |
.013 |
Stage (1-2 vs 3-4) |
2.835 |
1.367 |
.003 |
สำหรับ MS ในกลุ่ม low risk คือ 55.8 เดือน (95%CI 54.4-57.1), low intermediate risk คือ 41.2 เดือน (95%CI 39.7-42.6), high intermediate risk คือ 38.1 เดือน (95%CI 28.8-47.3), high risk คือ 15.7 เดือน (95%CI 4.8-40.3) (รูปที่ 2)

รูปที่ 2 แสดง median survival ของผู้ป่วยมะเร็ง DLBL ในแต่ละกลุ่มเสี่ยง
วิจารณ์
ผลศึกษาครั้งนี้พบว่าผู้ป่วย DLBCLกลุ่ม low risk มีค่า MS ที่ 55.8 เดือน กลุ่ม low intermediate risk ที่ 41.2 เดือน กลุ่ม high intermediate risk ที่ 38.1 เดือน และกลุ่ม high risk ที่ 15.7 เดือน เมื่อเปรียบเทียบกับผลการศึกษาของ SWOG study5 และการศึกษาในผู้ป่วย aggressive NHL ในสหรัฐอเมริกา ยุโรปและแคนาดา10 พบว่าผลการศึกษาไปในทิศทางเดียวกันคือ เมื่อเปรียบเทียบอัตราการอยู่รอดของผู้ป่วยที่แบ่งตามprognostic factor ตาม IPI ได้แก่ อายุ, performance status, ระยะของโรค , LDH และ extranodal site แล้ว พบว่ากลุ่ม low risk มีอัตราการอยู่รอดชีวิตที่ดีกว่ากลุ่ม low intermediate risk, high intermediate risk และ high risk ตามลำดับอย่างมีนัยสำคัญ อย่างไรก็ตาม พบว่า OS ของการศึกษานี้น้อยกว่าผลการรายงานที่ผ่านมา เนื่องจากผุ้ป่วยส่วนใหญ่ไม่ได้รับยา rituximab ร่วมกับเคมีบำบัด เพราะปัญหาด้านสิทธิการรักษาของผู้ป่วยที่จะเข้าถึงยาดังกล่าว นอกจากนี้พบว่าข้อมูลการวินิจฉัยมะเร็งชนิด DLBCL ไม่ได้ระบุชนิดว่าเป็นชนิด activated large B cell หรือ germinal center B cell ซึ่งการพยากรณ์โรคของ DLBCL ทั้งสองชนิดต่างกันโดยพบว่าชนิด activated large B cell lymphoma มีพยากรณ์โรคที่แย่กว่า อาจทำให้ OS น้อยลงได้หากมีชนิด activated large B cell lymphoma มากในประชากรที่ทำการศึกษา และ ผู้ป่วยที่มาพบแพทย์ส่วนใหญ่อายุมากกว่า 60 ปี มีโรคประจำตัวที่เป็นอุปสรรคต่อการรักษาเช่นเบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคตับ โรคหัวใจ และมีปริมาณของก้อนมะเร็งสูง เป็นเหตุให้ผู้ป่วยบางกลุ่มเสียชีวิตจากภาวะอื่นที่ไม่ใช่โรคมะเร็งซึ่งควรเก็บข้อมูลของอัตราการเสียชีวิตโดยปราศจากโรคอื่นที่ไม่ใช่โรคมะเร็งจะจำเพาะมากกว่าการเก็บข้อมูลของอัตราการเสียชีวิตโดยรวม
สรุป
ระยะเวลารอดชีวิตมัธยฐาน(Median survival) ของผู้ป่วยมะเร็งต่อมน้ำเหลืองแตกต่างตาม risk group และปัจจัยที่มีผลต่อการพยากรณ์โรค ได้แก่ อายุ, ระยะของโรค, ECOG และระดับของ LDH
เอกสารอ้างอิง
1. Fisher SG, Fisher RI. The epidemiology of non-Hodgkins lymphoma. Oncogene. 2004;23:652434.
2. Hartge P, Devesa SS. Quantification of the impact of known risk factors on time trends in non-Hodgkins lymphoma incidence. Cancer Res. 1992;52(19 Suppl):5566s 5569s.
3. Blinder V, Fisher SG, Lymphoma Research Foundation, New York. The role of environmental factors in the etiology of lymphoma. Cancer Invest. 2008;26:30616.
4. Hans CP, Weisenburger DD, Greiner TC, Gascoyne RD, Delabie J, Ott G, et al. Confirmation of the molecular classification of diffuse large B-cell lymphoma by immunohistochemistry using a tissue microarray. Blood. 2004;103:27582.
5. Miller TP, Dahlberg S, Cassady JR, Adelstein DJ, Spier CM, Grogan TM, et al. Chemotherapy alone compared with chemotherapy plus radiotherapy for localized intermediate- and high-grade non-Hodgkins lymphoma. N Engl J Med. 1998;339:216.
6. Bonnet C, Fillet G, Mounier N, Ganem G, Molina TJ, Thiéblemont C, et al. CHOP alone compared with CHOP plus radiotherapy for localized aggressive lymphoma in elderly patients: a study by the Groupe dEtude des Lymphomes de lAdulte. J Clin Oncol Off J Am Soc Clin Oncol. 2007;25:78792.
7. Project TIN-HLPF. A Predictive Model for Aggressive Non-Hodgkins Lymphoma. N Engl J Med. 1993;329:98794.