วิธีการศึกษา
การศึกษานี้เป็นการศึกษาเชิงวิเคราะห์แบบศึกษาย้อนหลัง (Analytical Case-Control Study) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการไม่มารับบริการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกของสตรีชาวเขาเผ่าอาข่าอายุ 30 60 ปี ในเขตพื้นที่ตำบลห้วยชมภู อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย ประชากรศึกษา คือ มีรายชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านและอาศัยอยู่จริงในเขตพื้นที่ตำบลห้วยชมภู อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย โดยมีระยะเวลาในการอาศัยไม่น้อยกว่า 1 ปี นับจนถึงวันที่ทำการสัมภาษณ์ จำนวน 707 ราย โดยแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มศึกษา (Case) คือ กลุ่มสตรีที่ไม่มารับบริการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก และกลุ่มควบคุม (Control) คือ กลุ่มสตรีที่มารับบริการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก โดยมีเกณฑ์คัดเข้า คือ สตรีที่ไม่มารับบริการและมารับบริการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2552 ถึงวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2557 จากฐานข้อมูลรายชื่อที่ปรากฏในโปรแกรมตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก CxS version 2010 ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านปางขอน ตำบลห้วยชมภู อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย มีเลขบัตรประจำตัวประชาชน 13 หลัก สามารถเข้าใจและสื่อสารภาษาไทยหรือภาษาอาข่าได้ และให้ความร่วมมือในการตอบแบบสัมภาษณ์ และมีเกณฑ์คัดออก คือ มีประวัติผ่าตัดมดลูก ในการหาขนาดตัวอย่าง ได้ใช้สูตรคำนวณขนาดตัวอย่างสำหรับรูปแบบการศึกษา Case Control study 9 แล้วนำขนาดตัวอย่างมาปรับตามวิธีการทางสถิติการวิเคราะห์ถดถอยพหุลอจิสติก10 ได้ขนาดตัวอย่างของกลุ่มศึกษาและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 130 ราย รวมทั้งหมด 260 ราย
เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ แบบสัมภาษณ์ ซึ่งประกอบด้วย 6 ส่วน ได้แก่ ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป ส่วนที่ 2 ข้อมูลเกี่ยวกับสุขภาพ ส่วนที่ 3 ความรู้เกี่ยวกับโรคมะเร็งปากมดลูก คะแนนเต็ม 10 คะแนน โดยใช้แบบอิงเกณฑ์11 มาแปลผลคะแนน ส่วนที่ 4 ความเชื่อด้านสุขภาพเกี่ยวกับโรคมะเร็งปากมดลูก รวมทั้งหมด 60 คะแนน ใช้เกณฑ์การแบ่งระดับแบบอิงกลุ่ม 12 มาแปลผลคะแนน ส่วนที่ 5 การเข้าถึงสถานบริการทางสาธารณสุข และส่วนที่ 6 แรงสนับสนุนทางสังคม รวมทั้งหมด 45 คะแนน ใช้เกณฑ์การแบ่งระดับแบบอิงกลุ่ม 12 เป็นเกณฑ์ในการแปลผลคะแนน
ในการศึกษานี้ได้ใช้โปรแกรมสำเร็จรูป STATA version 10.0 โดยกำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 สถิติที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ สถิติเชิงพรรณนา การวิเคราะห์ความสัมพันธ์อย่างหยาบโดยใช้สถิติ Chi square test และการวิเคราะห์ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการไม่มารับบริการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกด้วย Multiple Logistic Regression ในการศึกษานี้ได้ผ่านการพิจารณาในการดำเนินวิจัยจากคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยด้านมนุษย์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น เลขที่ HE 572245
ผลการศึกษา
1. ข้อมูลทั่วไป
กลุ่มควบคุมมีอายุเฉลี่ย 43.8 ปี มีสถานภาพสมรสเป็นคู่หรือสมรส ร้อยละ 83.8 ไม่ได้รับการศึกษา ร้อยละ 66.2 ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ร้อยละ 90.7 ค่ามัธยฐานรายได้ เท่ากับ 4,000 บาทต่อเดือน และนับถือศาสนาคริสต์ ร้อยละ 59.2 (ตารางที่ 1)
ตารางที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
ข้อมูลทั่วไป |
กลุ่มไม่มาตรวจ
คัดกรอง
(กลุ่มศึกษา)
จำนวน (ร้อยละ) |
กลุ่มมาตรวจคัดกรอง
(กลุ่มควบคุม)
จำนวน (ร้อยละ) |
รวมทั้งหมด
จำนวน (ร้อยละ) |
1. อายุ (ปี) |
|
|
|
30 39 |
49 (37.7) |
28 (21.5) |
77 (29.6) |
40 49 |
42 (32.3) |
61 (46.9) |
103 (39.6) |
ตั้งแต่ 50 |
39 (30.0) |
41 (31.6) |
80 (30.8) |
ค่าเฉลี่ย |
43.85 ± 8.86 |
45.75 ± 8.00 |
44.80 ± 8.48 |
มัธยฐาน (ค่าต่ำสุด:ค่าสูงสุด) |
44.00 (30:60) |
44.00 (30:60) |
44.00 (30:60) |
2. สถานภาพสมรส |
|
|
|
โสด |
1 (0.8) |
0 (0.00) |
1 (0.4) |
คู่หรือสมรส |
109 (83.8) |
113 (86.9) |
222 (85.4) |
หย่าร้าง/หม้าย/สมรสแล้วแต่
แยกกันอยู่ |
20 (15.4) |
17 (13.1) |
37 (14.2) |
3. ระดับการศึกษา |
|
|
|
ไม่ได้รับการศึกษา |
86 (66.2) |
105 (80.8) |
191 (73.5) |
ประถมศึกษา |
18 (13.8) |
19 (14.6) |
37 (14.2) |
มัธยมศึกษาตอนต้น |
20 (15.4) |
5 (3.8) |
25 (9.6) |
มัธยมศึกษาตอนปลาย/เทียบเท่า |
5 (3.8) |
1 (0.8) |
6 (2.3) |
ปริญญาตรี/สูงกว่า |
1 (0.8) |
0 (0.0) |
1 (0.4) |
4. อาชีพ |
|
|
|
ไม่ได้ประกอบอาชีพ/แม่บ้าน |
2 (1.5) |
4 (3.1) |
6 (2.3) |
เกษตรกรรม |
118 (90.7) |
123 (94.6) |
241 (92.7) |
ค้าขาย |
4 (3.1) |
1 (0.8) |
5 (1.9) |
รับจ้าง |
5 (3.9) |
2 (1.5) |
7 (2.7) |
ธุรกิจส่วนตัว |
1 (0.8) |
0 (0.0) |
1 (0.4) |
5. รายได้ (บาท/เดือน) |
|
|
|
น้อยกว่าหรือเท่ากับ 2,000 |
31 (23.9) |
33 (25.3) |
64 (24.6) |
2,001 5,000 |
81 (62.2) |
76 (58.5) |
157 (60.4) |
มากกว่า 5,001 |
18 (13.9) |
21 (16.2) |
39 (15.0) |
ค่าเฉลี่ย |
4,684.62 ± 4,630.59 |
4,330.77 ± 3,118.81 |
4,507.69 ± 3,944.10 |
มัธยฐาน (ค่าต่ำสุด:ค่าสูงสุด) |
4,000.00 (0:30,000) |
4,000.00 (0:25,000) |
4,000.00 (0:30,000) |
6. ศาสนา |
|
|
|
พุทธ |
46 (35.4) |
46 (35.4) |
92 (35.4) |
คริสต์ |
77 (59.2) |
73 (56.1) |
150 (57.7) |
อิสลาม |
1 (0.8) |
0 (0.0) |
1 (0.4) |
ไม่นับถือศาสนา |
6 (4.6) |
11 (8.5) |
17 (6.5) |
2. ข้อมูลเกี่ยวกับสุขภาพ
กลุ่มควบคุมส่วนใหญ่มีอายุเฉลี่ยเมื่อมีเพศสัมพันธ์ครั้งแรก 19.11 ปี เคยตั้งครรภ์ ร้อยละ 99.2 และตั้งครรภ์ตั้งแต่ 4 ครั้งขึ้นไป ร้อยละ 48.8 ส่วนใหญ่ไม่เคยแท้งบุตร ร้อยละ 86.9 ไม่มีการคุมกำเนิด ร้อยละ 63.9 มีระยะเวลาในการคุมกำเนิดมากกว่า 15 ปี ร้อยละ 44.7 ไม่เคยป่วยเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ร้อยละ 98.4 สามีไม่เคยป่วยเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ร้อยละ 97.7 ครอบครัวหรือญาติไม่เคยป่วยหรือเสียชีวิตจากโรคมะเร็งปากมดลูก ร้อยละ 99.2 และไม่มีอาการผิดปกติทางช่องคลอด ร้อยละ 96.2 (ตารางที่ 2)
ตารางที่ 2 ข้อมูลเกี่ยวกับสุขภาพ
ข้อมูลเกี่ยวกับสุขภาพ |
กลุ่มไม่มาตรวจ
คัดกรอง
(กลุ่มศึกษา)
จำนวน (ร้อยละ) |
กลุ่มมาตรวจคัดกรอง
(กลุ่มควบคุม)
จำนวน (ร้อยละ) |
รวมทั้งหมด
จำนวน (ร้อยละ) |
1. อายุเมื่อมีเพศสัมพันธ์ครั้งแรก (ปี) |
|
|
|
น้อยกว่าหรือเท่ากับ 15 |
9 (6.9) |
26 (20.0) |
35 (13.5) |
16 20 |
93 (71.5) |
88 (67.7) |
181 (69.6) |
21 25 |
24 (18.5) |
15 (11.5) |
39 (15.0) |
มากกว่า 25 |
4 (3.1) |
1 (0.8) |
5 (1.9) |
ค่าเฉลี่ย |
19.11 ± 2.96 |
17.75 ± 2.77 |
18.43 ± 2.91 |
ค่ามัธยฐาน (ค่าต่ำสุด:ค่าสูงสุด) |
19.00 (14:30) |
17.50 (13:30) |
18.00 (13:30) |
2. การตั้งครรภ์ |
|
|
|
เคย |
129 (99.2) |
129 (99.2) |
258 (99.2) |
ไม่เคย |
1 (0.8) |
1 (0.8) |
2 (0.8) |
3. จำนวนการตั้งครรภ์ (ครั้ง) |
|
|
|
1 |
19 (14.8) |
4 (3.1) |
23 (8.9) |
2 - 3 |
47 (36.4) |
39 (30.2) |
86 (33.3) |
ตั้งแต่ 4 |
63 (48.8) |
86 (66.7) |
149 (57.8) |
ค่าเฉลี่ย |
3.58 ± 1.86 |
4.36 ± 1.78 |
3.97 ± 1.86 |
มัธยฐาน (ค่าต่ำสุด:ค่าสูงสุด) |
3.00 (1:8) |
4.00 (1:9) |
4.00 (1:9) |
4. การแท้งบุตร |
|
|
|
เคย |
17 (13.1) |
22 (16.9) |
39 (15.0) |
ไม่เคย |
113 (86.9) |
108 (83.1) |
221 (85.0) |
5. การใช้ยาคุมกำเนิดในปัจจุบัน |
|
|
|
มีการคุมกำเนิด |
47 (36.1) |
64 (49.2) |
111 (42.7) |
ไม่มีการคุมกำเนิด |
83 (63.9) |
66 (50.8) |
149 (57.3) |
6. ระยะเวลาในการคุมกำเนิด (ปี) |
|
|
|
น้อยกว่า 5 |
5 (10.6) |
12 (18.8) |
17 (15.4) |
5 10 |
10 (21.3) |
10 (15.6) |
20 (18.0) |
11 15 |
11 (23.4) |
25 (39.0) |
36 (32.4) |
มากกว่า 15 |
21 (44.7) |
17 (26.6) |
38 (34.2) |
7. โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ |
|
|
|
โรคเริม |
1 (0.8) |
0 (0.0) |
1 (0.4) |
โรคซิฟิลิส |
0 (0.0) |
1 (0.8) |
1 (0.4) |
โรคอื่นๆ |
1 (0.8) |
1 (0.8) |
2 (0.8) |
ไม่เคยป่วย |
128 (98.4) |
128 (98.4) |
256 (98.4) |
8. ประวัติโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ของสามี |
|
|
|
เคยป่วย |
2 (1.5) |
1 (0.8) |
3 (1.2) |
ไม่เคยป่วย |
127 (97.7) |
125 (96.1) |
252 (96.9) |
ไม่ทราบ/ไม่แน่ใจ |
1 (0.8) |
4 (3.1) |
5 (1.9) |
9. ประวัติการป่วยหรือเสียชีวิตจากโรคมะเร็งปากมดลูกของครอบครัวหรือญาติ |
|
|
|
เคยป่วยหรือเสียชีวิต |
1 (0.8) |
1 (0.8) |
2 (0.8) |
ไม่เคยป่วยหรือเสียชีวิต |
129 (99.2) |
129 (99.2) |
129 (99.2) |
10. อาการผิดปกติทางช่องคลอด |
|
|
|
ไม่มีอาการผิดปกติ |
125 (96.2) |
119 (91.5) |
244 (93.8) |
มีอาการผิดปกติ |
5 (3.8) |
11 (8.5) |
16 (6.2) |
3. การเข้าถึงสถานบริการสาธารณสุข
กลุ่มควบคุมส่วนใหญ่มีสิทธิหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ร้อยละ 87.7 มีระยะทางจากบ้านถึงสถานบริการทางด้านสาธารณสุขน้อยกว่า 10 กิโลเมตร ร้อยละ 58.5 (ตารางที่ 3)
ตารางที่ 3 จำนวนและร้อยละของการเข้าถึงสถานบริการ
การเข้าถึงสถานบริการสาธารณสุข |
กลุ่มไม่มาตรวจ
คัดกรอง
(กลุ่มศึกษา)
จำนวน (ร้อยละ) |
กลุ่มมาตรวจ
คัดกรอง
(กลุ่มควบคุม)
จำนวน (ร้อยละ) |
รวมทั้งหมด
จำนวน (ร้อยละ) |
1. สิทธิการรักษาพยาบาล |
|
|
|
สิทธิหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า |
101 (77.6) |
113 (86.9) |
214 (82.3) |
สิทธิประกันสังคม |
0 (0.0) |
6 (4.6) |
6 (2.3) |
ประกันชีวิต |
2 (1.6) |
2 (1.6) |
4 (1.6) |
ไม่มีสิทธิการรักษาพยาบาล |
27 (20.8) |
9 (6.9) |
36 (13.8) |
2. ระยะทางจากบ้านถึงสถานบริการทางด้านสาธารณสุข (กิโลเมตร) |
|
|
|
น้อยกว่า 10 |
76 (58.5) |
80 (61.5) |
156 (60.0) |
10 19 |
18 (14.0) |
18 (13.9) |
36 (13.9) |
20 29 |
14 (10.7) |
12 (9.2) |
26 (10.0) |
30 39 |
16 (12.3) |
15 (11.5) |
31 (11.9) |
ตั้งแต่ 40 |
6 (4.5) |
5 (3.9) |
11 (4.2) |
ค่าเฉลี่ย |
12.07 ± 12.89 |
11.81 ± 12.28 |
11.94 ± 12.57 |
มัธยฐาน (ค่าต่ำสุด:ค่าสูงสุด) |
5.00 (0.1:50) |
5.00 (0.1:50) |
5.00 (0.1:50) |
4. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการไม่มารับบริการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก
เมื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์อย่างหยาบ พบว่า ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการไม่มารับบริการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก (p < 0.05) ได้แก่ การได้รับการศึกษาในระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา การมีเพศสัมพันธ์ครั้งแรกอายุตั้งแต่ 18 ปี ขึ้นไป จำนวนการตั้งครรภ์น้อยกว่า 4 ครั้ง การใช้ยาคุมกำเนิดในปัจจุบัน การรับรู้โอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งปากมดลูกต่ำ ไม่มีสิทธิการรักษาพยาบาล การสนับสนุนด้านอารมณ์ต่ำ การสนับสนุนด้านข้อมูลข่าวสารต่ำ การสนับสนุนด้านวัตถุสิ่งของต่ำ และการสนับสนุนทางสังคมโดยรวมต่ำ (ตารางที่ 4)
ตารางที่ 4 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการไม่มารับบริการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกโดยไม่คำนึงถึงผลกระทบของปัจจัยอื่น
ปัจจัย |
กลุ่มไม่มาตรวจ
คัดกรอง
(กลุ่มศึกษา) |
กลุ่มมาตรวจ
คัดกรอง
(กลุ่มควบคุม) |
Crude OR
(95%CI) |
p-value |
1. ระดับการศึกษา |
|
|
|
|
ได้รับการศึกษา |
44 |
25 |
1 |
|
ไม่ได้รับการศึกษา |
86 |
105 |
0.47(0.26-0.82) |
< 0.001 |
2. อายุเมื่อมีเพศสัมพันธ์ครั้งแรก |
|
|
|
|
ตั้งแต่ 18 ปี ขึ้นไป |
92 |
65 |
1 |
|
ต่ำกว่า 18 ปี |
38 |
65 |
0.41(0.25-0.69) |
0.001 |
3. จำนวนการตั้งครรภ์ |
|
|
|
|
ตั้งแต่ 4 ครั้ง ขึ้นไป |
63 |
86 |
1 |
|
น้อยกว่า 4 ครั้ง |
66 |
43 |
2.05(1.24-3.38) |
0.004 |
4. การใช้ยาคุมกำเนิดในปัจจุบัน |
|
|
|
|
มีการคุมกำเนิด |
47 |
64 |
1 |
|
ไม่มีการคุมกำเนิด |
83 |
66 |
1.71(1.04-2.81) |
0.03 |
5. การรับรู้โอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งปากมดลูก |
|
|
|
|
สูง (12-15 คะแนน) |
42 |
62 |
1 |
|
ต่ำ (5-10 คะแนน) |
88 |
68 |
1.91(1.15-3.16) |
0.01 |
6. สิทธิการรักษาพยาบาล |
|
|
|
|
มีสิทธิการรักษาพยาบาล |
103 |
121 |
1 |
|
ไม่มีสิทธิการรักษาพยาบาล |
27 |
9 |
3.52(1.59-7.83) |
0.001 |
7. การสนับสนุนด้านอารมณ์ |
|
|
|
|
สูง (11-15 คะแนน) |
51 |
72 |
1 |
|
ต่ำ (5-10 คะแนน) |
79 |
58 |
1.92(1.17-3.15) |
0.009 |
8. การสนับสนุนด้านข้อมูลข่าวสาร |
|
|
|
|
สูง (10-15 คะแนน) |
54 |
73 |
1 |
|
ต่ำ (5-9 คะแนน) |
76 |
57 |
1.80(1.10-2.95) |
0.02 |
9. การสนับสนุนด้านวัตถุสิ่งของ |
|
|
|
|
สูง (12-15 คะแนน) |
65 |
89 |
1 |
|
ค่ำ (5-11 คะแนน) |
65 |
41 |
2.17(1.31-3.60) |
0.002 |
10. การสนับสนุนทางสังคมโดยรวม |
|
|
|
|
สูง (3245 คะแนน) |
58 |
89 |
1 |
|
ต่ำ (15-31 คะแนน) |
72 |
50 |
1.99(1.21-3.26) |
0.006 |
สำหรับการวิเคราะห์ถดถอยพหุลอจิสติกในโมเดลเริ่มต้น (p < 0.25) ได้ตัวแปรที่นำเข้าสู่โมเดลเริ่มต้น 13 ตัวแปร ได้แก่ ระดับการศึกษา อายุเมื่อเริ่มมีเพศสัมพันธ์ครั้งแรก อายุครั้งแรกที่เริ่มคุมกำเนิด วิธีการคุมกำเนิด จำนวนการตั้งครรภ์ โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ของสามี อาการผิดปกติทางช่องคลอด การรับรู้โอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งปากมดลูก การรับรู้ประโยชน์ต่อการมารับบริการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก การรับรู้อุปสรรคต่อการมารับบริการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก สิทธิการรักษาพยาบาล การสนับสนุนด้านข้อมูลข่าวสาร และการสนับสนุนด้านวัตถุสิ่งของ
การวิเคราะห์พหุลอจิสติกในโมเดลสุดท้าย พบว่า ระดับการศึกษา อายุเมื่อมีเพศสัมพันธ์ครั้งแรก จำนวนการตั้งครรภ์ การรับรู้โอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งปากมดลูก และสิทธิการรักษาพยาบาลมีความสัมพันธ์กับการไม่มารับบริการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.05) โดยพบว่า ผู้ที่ได้รับการศึกษาไม่มารับบริการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกมากกว่าผู้ที่ไม่ได้รับการศึกษาร้อยละ 80.0 (ORadj=0.20; 95%CI= 0.07-0.56) ผู้ที่มีเพศสัมพันธ์ครั้งแรกอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไปไม่มารับบริการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกมากกว่าผู้ที่มีเพศสัมพันธ์ครั้งแรกอายุต่ำกว่า 18 ปี ร้อยละ 61.0 (ORadj=0.39; 95%CI =0.22-0.68) ผู้ที่มีจำนวนการตั้งครรภ์น้อยกว่า 4 ครั้ง ไม่มารับบริการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกมากกว่าผู้ที่มีจำนวนการตั้งครรภ์ตั้งแต่ 4 ครั้งขึ้นไป 1.79 เท่า (95%CI, 1.01 - 3.19) ผู้ที่มีระดับการรับรู้โอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งปากมดลูกต่ำไม่มารับบริการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกมะเร็งปากมดลูกมากกว่าผู้ที่มีระดับการรับรู้โอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งปากมดลูก 2.80 เท่า (95%CI, 1.56-5.03) และผู้ที่ไม่มีสิทธิการรักษาไม่มารับบริการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมด ลูกมากกว่าผู้ที่มีสิทธิรักษาพยาบาล 4.37 เท่า (95%CI, 1.79-10.62) (ตารางที่ 5)
ตารางที่ 5 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการไม่มารับบริการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก
ปัจจัย |
กลุ่มไม่มาตรวจ
คัดกรอง
(กลุ่มศึกษา) |
กลุ่มมาตรวจ
คัดกรอง
(กลุ่มควบคุม) |
Adjusted OR
(95%CI) |
p-value |
1. ระดับการศึกษา |
|
|
|
|
ได้รับการศึกษา |
44 |
25 |
1 |
|
ไม่ได้รับการศึกษา |
86 |
105 |
0.20(0.07-0.56) |
0.002 |
2. อายุเมื่อมีเพศสัมพันธ์ครั้งแรก |
|
|
|
|
18 ปี ขึ้นไป |
92 |
65 |
1 |
|
ต่ำกว่า 18 ปี |
38 |
65 |
0.39(0.22-0.68) |
0.001 |
3. จำนวนการตั้งครรภ์ |
|
|
|
|
ตั้งแต่ 4 ครั้ง ขึ้นไป |
63 |
86 |
1 |
|
น้อยกว่า 4 ครั้ง |
66 |
43 |
1.79(1.01-3.19) |
0.04 |
4. การรับรู้โอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งปากมดลูก |
|
|
|
|
สูง (12 - 15 คะแนน) |
42 |
62 |
1 |
|
ต่ำ ( 5 11 คะแนน) |
88 |
68 |
2.80(1.56-5.03) |
0.001 |
5. สิทธิการรักษาพยาบาล |
|
|
|
|
มีสิทธิการรักษาพยาบาล |
103 |
121 |
1 |
|
ไม่มีสิทธิการรักษา พยาบาล |
27 |
9 |
4.37(1.79-10.62 |
0.001 |
วิจารณ์
การศึกษานี้เป็นการศึกษาเชิงวิเคราะห์แบบย้อนหลัง เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการไม่มารับบริการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกของสตรีชาวเขาเผ่าอาข่าอายุ 30 60 ปี ในเขตพื้นที่ตำบลห้วยชมภู อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย ซึ่งพบหลายปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการไม่มารับบริการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก ได้แก่ ปัจจัยด้านบุคคล พบว่า ผู้ที่ได้รับการศึกษาไม่มารับบริการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกมากกว่าผู้ที่ไม่ได้รับการศึกษา ซึ่งผลการศึกษาขัดแย้งกับการศึกษาของ Wongwatcharanukul และคณะ13 พบว่า ผู้ที่ได้เรียนหนังสือเคยมารับบริการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกมากกว่าผู้ที่ไม่ได้เรียน 1.56 เท่า และการศึกษาของ Kahesa และคณะ14 พบว่า สตรีที่สำเร็จการศึกษาในระดับประถมศึกษามารับบริการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกมากกว่าสตรีที่ไม่ได้รับการศึกษา 1.81 เท่า และสตรีที่สำเร็จการศึกษาในระดับมัธยมศึกษามารับบริการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกมากกว่าสตรีที่ไม่ได้รับการศึกษา 2.90 เท่า เนื่องจากสตรีชาวเขาเผ่าอาข่าที่ได้รับการศึกษายังขาดความรู้ในเรื่องของโรคมะเร็งปากมดลูก ซึ่งจากการศึกษาครั้งนี้ พบว่า สตรีชาวเขาเผ่าอาข่าที่ได้รับการศึกษามีความรู้เกี่ยวกับโรคมะเร็งปากมดลูกอยู่ในระดับต่ำ จำนวน 46 ราย คิดเป็นร้อยละ 65.6 และมีจำนวนบุตรน้อยกว่า 4 รายจำนวน 54 ราย คิดเป็นร้อยละ 78.1 ทำให้พวกเขามารับบริการยังสถานบริการสาธารณสุขน้อยครั้ง จึงได้รับความรู้เรื่องโรคมะเร็งปากมดลูกน้อย รวมทั้งความรู้เรื่องโรคมะเร็งปากมดลูกไม่ได้บรรจุไว้ในหลักสูตรภาคบังคับของการศึกษา ทำให้สตรีชาวเขาเผ่าอาข่าที่ได้รับการศึกษาไม่มีความรู้เรื่องโรคมะเร็งปากมดลูกเหมือนสตรีชาวเขาเผ่าอาข่าที่มารับบริการตรวจสุขภาพที่สถานบริการสาธารณสุข
ข้อมูลเกี่ยวกับสุขภาพ พบว่า ผู้ที่มีเพศสัมพันธ์ครั้งแรกอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไปไม่มารับบริการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกมากกว่าผู้ที่มีเพศสัมพันธ์ครั้งแรกเอายุต่ำกว่า18 ปี เห็นได้จากการศึกษาของ Kritpetcharat และคณะ15 พบว่า สตรีชาวเขาเผ่าอาข่าส่วนใหญ่ ร้อยละ 80.6 มีเพศสัมพันธ์ครั้งแรกอายุต่ำกว่า 18 ปี และมีจำนวนการตั้งครรภ์น้อยกว่า 4 ครั้งไม่มารับบริการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกมากกว่าผู้ที่มีจำนวนการตั้งครรภ์ตั้งแต่ 4 ครั้งขึ้นไป ซึ่งสอดคล้องกับการศึกษาของ Nene และคณะ16 พบว่า สตรีที่มีจำนวนการตั้งครรภ์ตั้งแต่ 4 ครั้งขึ้นไปมารับบริการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกมากกว่าสตรีที่ไม่เคยตั้งครรภ์ 1.95 เท่า และเช่นเดียวกับการศึกษาของ Abdullah และคณะ17 พบว่า สตรีที่มีจำนวนการตั้งครรภ์ 1 - 4 ครั้ง ไม่มารับบริการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกน้อยกว่าสตรีที่ไม่เคยตั้งครรภ์ ร้อยละ 89.0 และสตรีที่มีจำนวนการตั้งครรภ์ตั้งแต่ 5 ครั้งขึ้นไป ไม่มารับบริการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกน้อยกว่าสตรีที่ไม่เคยตั้งครรภ์ ร้อยละ 88.0 เนื่องจากสตรีชาวเขาเผ่าอาข่าโดยส่วนใหญ่นิยมมีเพศสัมพันธ์ตั้งแต่อายุยังน้อยและไม่คุมกำเนิด ทำให้เกิดการตั้งครรภ์ เมื่อไปฝากครรภ์ที่ รพ.สต หรือโรงพยาบาล เจ้าหน้าที่จะมีการรณรงค์ให้สตรีทุกคนที่คลอดบุตรแล้ว จำเป็นต้องตรวจหลังคลอดทุกราย ซึ่งการตรวจหลังคลอดได้รวมการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกเอาไว้ด้วย ดังนั้นสตรีที่มีจำนวนการตั้งครรภ์หลายครั้งจึงมีโอกาสได้รับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกบ่อยกว่าสตรีที่มีจำนวนการตั้งครรภ์น้อยกว่าหรือไม่เคยตั้งครรภ์เลย
ปัจจัยด้านความเชื่อเกี่ยวกับสุขภาพ พบว่า ผู้ที่มีระดับการรับรู้โอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งปากมดลูกต่ำไม่มารับบริการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกมากกว่าผู้ที่มีระดับการรับรู้โอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งปากมดลูกสูง ซึ่งสอดคล้องกับการศึกษาของ Wongwatcharanukul และคณะ13 พบว่า ผู้ที่มีการรับรู้โอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งปากมดลูกสูงมารับบริการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกมากกว่าผู้ที่มีการรับรู้โอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งปากมดลูกต่ำ 1.83 เท่า โดยคล้ายคลึงกับการศึกษาของ Chesun และคณะ18 ที่พบว่า ผู้ที่มีการรับรู้โอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งปากมดลูกสูงมารับบริการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกมากกว่าผู้ที่มีการรับรู้โอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งปากมดลูกต่ำ 7.77 เท่า
ปัจจัยด้านการเข้าถึงสถานบริการทางสาธารณสุข พบว่า ผู้ที่ไม่มีสิทธิการรักษาพยาบาลไม่มารับบริการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกมากกว่าผู้ที่มีสิทธิการรักษาพยาบาล ซึ่งสอดคล้องกับการศึกษาของ Abdullah และคณะ17 พบว่าสตรีที่มีสิทธิการรักษาพยาบาลไม่มารับบริการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกน้อยกว่าสตรีที่ไม่มีสิทธิการรักษาพยาบาล ร้อยละ 52.0 และเช่นเดียวกับการศึกษาของ Martínez-Mesa และ คณะ19 พบว่า สตรีที่ไม่มีสิทธิการรักษาพยาบาลไม่มารับบริการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกมากกว่าสตรีที่มีสิทธิการรักษาพยาบาล 3.13 เท่า ทั้งนี้เนื่องจากการรักษาพยาบาลในสตรีที่ไม่มีสิทธิการรักษาพยาบาลจะต้องเสียค่าใช้จ่ายสูงกว่าสตรีที่มีสิทธิการรักษาพยาบาล
สรุป
ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการไม่มารับบริการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกในสตรีชาวเขาเผ่าอาข่า อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย ได้แก่ การได้รับการศึกษาในระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา การมีเพศสัมพันธ์ครั้งแรกอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป การมีจำนวนการตั้งครรภ์น้อยกว่า 4 ครั้ง การรับรู้โอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งปากมดลูกต่ำ และไม่มีสิทธิการรักษาพยาบาล
กิตติกรรมประกาศ
ขอขอบพระคุณสตรีชาวเขาเผ่าอาข่า อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านชาวเขาเผ่าอาข่า และเจ้า หน้าที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านปางขอน ตำบลห้วยชมภู อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย ที่ได้ให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี ทำให้การศึกษาวิจัยครั้งนี้สำเร็จลุล่วงไปด้วยดี
เอกสารอ้างอิง
1. International Agency for Research on Cancer, World Health Organization. Globocan 2012 [online] 2012 [cited 2014 May 10]. Available from
1. http://globocan.iarc.fr/ Pages/fact_sheets_cancer.aspx.
2. Khuhaprema T, Attasara P, Sriplung P, Wiangnon S, Sanrajrang R. Cancer in Thailand Volume VII, 2007 2009. Bangkok; 2013.
3. โรงพยาบาลมะเร็งลำปาง. สถิติโรคมะเร็งจังหวัดเชียงราย ปี 2551-2553 [วารสารออนไลน์] 2554 [สืบค้นเมื่อ 9 กันยายน พ.ศ. 2557]. จาก http://www.lpch.go.th/lpch/index.php?opt=cancerregistry&page= 3&nID=164
4. สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล. ทำอย่าง ไรสงครามปราบมะเร็งปากมดลูกจึงจะมาถูกทาง. หมออนามัย 2551; 18: 7 -19.
5. ธีระ ศิริสมุด, รักมณี บุตรชน, เชิญขวัญ ภูชฌงค์, หัชชา ศรีปลั่ง, นัยนา ประดิษฐ์สิทธิกร, ลี่ลี อิงศรีสว่าง, และคณะ. การประเมินผลสัมฤทธิ์และปัจจัยที่มีผลต่อโครงการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกด้วยวิธีแปปสเมียร์ (Pap Smear) และวีไอเอ (Visual Inspection with Acetic Acid) ในประ เทศไทย พ.ศ. 2548 2552. วารสารวิชาการสาธารณสุข 2555; 21: 538 56.
6. สถาบันมะเร็งแห่งชาติ. ทะเบียนมะเร็งระดับโรงพยาบาล พ.ศ. 2555 HOSPITAL BASED CANCER REGISTRY ANNUAL REPORT 2012. กรุงเทพฯ: บริษัทโรงพิมพ์ตะวันออกจำกัด; 2557.
7. สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. ร้อยละของสตรี 30-60 ปี ได้รับการตรวจคัดมะเร็งปากมดลูกสะสม 2553-2556 [ออนไลน์] 2556 [อ้างเมื่อ 12 พฤษภาคม2557]. จาก http://bps.ops.moph .go.th/KPI3-7-56/index.html.
8. ศูนย์พัฒนาอนามัยพื้นที่สูง จังหวัดลําปาง. ข้อมูลสภาวะสุขภาพชาวไทยภูเขาเผ่าอาข่า (อีก้อ) [ออนไลน์] 2549 [สืบค้นเมื่อ 15 พฤษภาคม 2557]. จาก http://hhdc.anamai.moph.go.th/ download/ hiland/ arkha2549.pdf
9. Schlesselman JJ. Case-control studies : design, conduct, analysis. New York: Oxford University Press; 1982.
10. Hsieh YF, Bloch AD, Larsen DM. A simple method of sample size calculation for linear and logistic regression. Stat Med 1998; 17: 1623-4.
11. Bloom BS, Thomas Hasting J, Madaus GF. Handbook on formative and summative evaluation of student learning. New York: McGraw Hill; 1971.
12. Best JW. Research in Education. 3rd ed. Englewood Cliffs, N.J. : Prentice-Hall; 1977.
13. Wongwatcharanukul L, Promthet S, Bradshaw P, Jirapornkul C, Tungsrithong N. Factors affecting cervical cancer screening uptake by Hmong hilltribe women in Thailand. APJCP 2014; 15: 3753-6.
14. Kahesa C, Kjaer S, Mwaiselage J, Ngoma T, Tersbol B, Dartell M, et al. Determinants of acceptance of cervical cancer screening in Dar es Salaam, Tanzania. BMC Public Health 2012; 12:1093-101.
15. Kritpetcharat O, Wutichouy W, Sirijaichingkul S, Kritpetcharat P. Comparison of Pap Smear Screening Results between Akha Hill Tribe and Urban Women in Chiang Rai Province, Thailand. APJCP 2012; 13: 55014.
16. Nene B, Jayant K, Arrossi S, Shastri S, Budukh A, Hingmire S, et al. Determinants of womens participation in cervical cancer screening trial, Maharashtra, India. Bull World Health Organ 2007; 85: 264-72.
17. Abdullah F, Abdul Aziz N, Su TT. Factors related to poor practice of pap smear screening among secondary school teachers in Malaysia. APJCP 2010; 12: 1347-52.
18. Chesun A, Harncharoean K, Taechaboonsermsak P, Siri S. Factors related with cervical cancer screening test among Thai Muslim women in Satun Province. Asia J Public Health 2012; 3: 79-85.
19. Martinez-Mesa J, Werutsky G, Campani RB, Wehrmeister FC, Barrios CH. Inequalities in Pap smear screening for cervical cancer in Brazil. Prev Med 2013; 57: 366-71.