4. เครื่องมือที่ใช้ เป็นแบบสอบถามที่ผู้วิจัยได้สร้างและดัดแปลงจากการทบทวนวรรณกรรม โดยศึกษาแนวคำถามของวลีรัตน์ ใจสูงเนิน6 และภากรณ์ น้ำว้า7 แล้วนำมาประยุกต์ใช้ มีทั้งหมด 5 ส่วน ดังนี้
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม มีข้อคำถาม 6 คำถาม ประกอบด้วยเพศ อายุ การศึกษา อาชีพ สิทธิรักษาพยาบาล และต้นสังกัด เป็นลักษณะคำถามที่กำหนดคำตอบให้เลือก
ส่วนที่ 2 ความพึงพอใจการบริการของห้องยาผู้ป่วยนอก มีข้อคำถาม 11 ข้อ ประกอบด้วยความพึงพอใจต่อพฤติกรรมการให้บริการ 5 ข้อ ความพึงพอใจต่อสถานที่รอรับยา 3 ข้อ ความพึงพอใจต่อความรวดเร็วในการให้บริการ 2 ข้อ และความพึงพอใจในภาพรวม 1 ข้อ เป็นลักษณะคำถามที่กำหนดคำตอบให้เลือก 5 ตัวเลือก คือ มากที่สุด มาก ปานกลาง น้อย และน้อยที่สุด โดยผู้ตอบเลือกเพียงคำตอบเดียว
ส่วนที่ 3 ความรู้เรื่องสิทธิ์ของผู้ป่วยสิทธิ์สวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการ มีข้อคำถาม 20 ข้อ ซึ่งลักษณะคำถามมีทั้งด้านบวก และด้านลบ เป็นลักษณะคำถามที่กำหนดคำตอบให้เลือก ประกอบด้วยคำถามเรื่องการใช้สิทธิ์ 7 ข้อ มี 3 ตัวเลือก คือ ใช่ ไม่ใช่ และไม่แน่ใจ และคำถามเรื่องยาและบริการ 13 ข้อ มี 3 ตัวเลือก คือ เบิกได้ เบิกไม่ได้ และไม่แน่ใจ
ส่วนที่ 4 ปัญหาเกี่ยวกับการใช้สิทธิ์และข้อเสนอแนะ มีข้อคำถาม 3 ข้อ เป็นลักษณะคำถามที่กำหนดคำตอบให้เลือก ประกอบด้วยประสบการณ์ในการพบปัญหา มี 3 ตัวเลือก ได้แก่ เคยพบ ไม่เคยพบ และไม่แน่ใจ ความถี่ในการพบปัญหา มี 3 ตัวเลือก ได้แก่ ทุกครั้ง บางครั้ง และนานๆ ครั้ง และการปฏิบัติเมื่อพบปัญหา 3 ตัวเลือก ได้แก่ ขอให้แพทย์เปลี่ยนยา ขอให้แพทย์ยกเลิกการสั่งยา และจ่ายเงินซื้อเอง
5. การทดสอบคุณภาพของเครื่องมือแบบสอบถามที่ใช้ได้รับการตรวจสอบคุณภาพตามขั้นตอนดังนี้
1. หาความตรง (validity) โดยนำเครื่องมือที่สร้างขึ้นส่งให้ผู้เชี่ยวชาญ 3 ท่าน ประกอบด้วยอาจารย์คณะเภสัชศาสตร์ 1 ท่าน และเภสัชกรโรงพยาบาลศรีนครินทร์นอกงานวิจัยนี้ 2 ท่าน) ตรวจสอบในด้านความตรงของเนื้อหา (content validity) ความตรงในด้านโครงสร้าง (construct validity) ความเหมาะสมด้านภาษา และปรับปรุงแบบสอบถามตามคำชี้แนะ
2. หาความเที่ยง (reliability) นำเครื่องมือที่ได้รับการตรวจสอบและปรับปรุงตามคำชี้แนะของผู้เชี่ยวชาญไปทดลองใช้ (Try -Out) กับผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลศรีนครินทร์ จำนวน 20 ราย ซึ่งมีลักษณะคล้ายคลึงกับกลุ่มตัวอย่างแล้วนำข้อมูลไปทดสอบความเที่ยง (reliability) โดยใช้สูตรสัมประสิทธิ์อัลฟาของครอนบาค (Cronbach alphas coefficient) กำหนดค่าที่ยอมรับ 0.75 ได้ค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามในด้านพฤติกรรมการให้บริการ ด้านสถานที่ ด้านความรวดเร็วในการให้บริการ และด้านความพึงพอใจในภาพรวมเท่ากับ 0.8728 0.9309 0.8558 และ 0.8229 ตามลำดับ
6. สถิติที่ใช้และวิธีการวิเคราะห์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรม Microsoft Excel สถิติที่ใช่ในการศึกษาครั้งนี้ คือสถิติเชิงพรรณนา รายงานผลข้อมูลปัจจัยส่วนบุคลเป็นความถี่ / ร้อยละ รายงานผลด้านความพึงพอใจและความรู้เรื่องสิทธ์/การเบิกจ่ายค่ายาและการบริการเป็นเกณฑ์คะแนน
การศึกษานี้ผ่านการพิจารณาจากคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น เลขที่โครงการ HE561268
ผลการศึกษา
1. ข้อมูลทั่วไป
ข้อมูลกลุ่มตัวอย่างที่ตอบแบบสอบถามมีจำนวน 400 ราย ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง 229 ราย (ร้อยละ 57.2) มีอายุระหว่าง 50-59 ปี (ร้อยละ 38.2) ระดับการศึกษาปริญญาตรี 225 ราย (ร้อยละ 56.4) ประกอบอาชีพรับราชการ 270 ราย (ร้อยละ 67.5) ใช้สิทธิสวัสดิการของตนเอง 313 ราย (ร้อยละ 78.2) และหน่วยงานต้นสังกัด คือ กระทรวงศึกษาธิการ 190 ราย (ร้อยละ 47.5) ดังตารางที่ 1
ตารางที่ 1 คุณลักษณะทั่วไปของกลุ่มตัวอย่าง
ข้อมูลคุณลักษณะทั่วไป |
จำนวน (ร้อยละ) |
เพศ |
เพศ
หญิง
ชาย |
229 (57.2)
171 (42.8) |
อายุ |
อายุ
20-29 ปี
30-39 ปี
40-49 ปี
50-59 ปี
≥ 60 ปิ |
13 (3.2)
62 (15.5)
103 (25.8)
153 (38.2)
69 (17.2) |
ระดับการศึกษา |
ระดับการศึกษา
ต่ำกว่าหรือเทียบเท่าประถมศึกษา
มัธยมศึกษาหรือเทียบเท่า
อนุปริญญาหรือเทียบเท่า
ปริญญาตรี
สูงกว่าปริญญาตรี
ไม่ได้เรียนหนังสือ |
17 (4.3)
20 (5.0)
19 (4.8)
225 (56.4)
116 (29.1)
2 (0.5) |
อาชีพ |
อาชีพ
รับราชการ
เกษียณอายุ/ข้าราชการบำนาญ
แม่บ้าน
ลูกจ้าง / พนักงานบริษัท
ธุรกิจส่วนตัว
พนักงานรัฐวิสาหกิจ
เกษตรกร
นักศึกษา/นักเรียน
อื่นๆ |
270 (67.5)
60 (15.0)
16 (4.0)
15 (3.8)
13 (3.2)
10 (2.5)
9 (2.2)
5 (1.2)
2 (0.5) |
สิทธิรักษาพยาบาล |
สิทธิรักษาพยาบาล
ตนเอง
คู่สมรส
บิดามารดา
บุตร |
313 (78.2)
42 (10.5)
24 (6.0)
21 (5.2) |
ต้นสังกัด |
ต้นสังกัด
กระทรวงศึกษาธิการ
กระทรวงมหาดไทย
กระทรวงสาธารณสุข
อื่นๆ |
190 (47.5)
81 (20.2)
73 (18.2)
56 (14.0) |
2. ความพึงพอใจของผู้ป่วยสิทธิสวัสดิการรักษาพยาบาลที่มาใช้บริการห้องยาผู้ป่วยนอก
การวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับความพึงพอใจของผู้ป่วยที่มารับบริการต่อห้องยาผู้ป่วยนอก แบ่งออกเป็น 4 ด้าน ได้แก่ ด้านพฤติกรรมการให้บริการ ด้านสถานที่ ด้านความรวดเร็วในการให้บริการ และความพึงพอใจในภาพรวม มีดังนี้
1. ผู้ป่วยส่วนใหญ่มีความพึงพอใจมากต่อพฤติกรรมการให้บริการ โดยมีจำนวนผู้ป่วยที่ให้ค่าคะแนนระดับ 4 ในส่วนของความชัดเจนของขั้นตอนการให้บริการ ความกระตือรือร้นและเอาใจใส่ของเจ้าหน้าที่ การใช้คำพูดและกิริยามารยาทของผู้จ่ายยา การอธิบายของเภสัชกรเกี่ยวกับวิธีการใช้ยา และการตอบข้อคำถามเมื่อมีปัญหาข้อข้องใจ คิดเป็นร้อยละ 55.2, 56.8, 55.2, 50.5 และ 56.4 ตามลำดับ และมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 4.0 ± 0.7 คะแนน (ตารางที่ 2)
2. ผู้ป่วยส่วนใหญ่มีความพึงพอใจมากต่อสถานที่รอรับยา โดยมีจำนวนผู้ป่วยที่ให้ค่าคะแนนระดับ 4 ในส่วนของความเป็นระเบียบของสถานที่รอรับยา ความสะอาดของสถานที่รอรับยา และความสะดวกสบายของจุดให้บริการ คิดเป็นร้อยละ 53.5, 56.2 และ 52.8 ตามลำดับ และมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 4.0 ± 0.7 คะแนน (ตารางที่ 2)
3. ผู้ป่วยส่วนใหญ่มีความพึงพอใจมากต่อความรวดเร็วในการให้บริการ โดยมีจำนวนผู้ป่วยที่ให้ค่าคะแนนระดับ 4 ในส่วนของเวลาที่ใช้ในการรอรับยาและเวลาที่ใช้ในการแนะนำการใช้ยา คิดเป็นร้อยละ 41.2 และ 50.1 และมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 3.7 ± 0.8 คะแนน (ตารางที่ 2)
4. ผู้ป่วยส่วนใหญ่มีความพึงพอใจในภาพรวมในระดับ 4 (มาก) คิดเป็นร้อยละ 59.0 และมีคะแนนความพึงพอใจเฉลี่ยเท่ากับ 4.0 ± 0.7 คะแนน (ตารางที่ 2)
ตารางที่ 2 ความพึงพอใจของผู้ป่วยสิทธิสวัสดิการรักษาพยาบาลที่มาใช้บริการห้องยาผู้ป่วยนอก
ความพึงพอใจการบริการของห้องยาผู้ป่วยนอก
|
จำนวนผู้ป่วยระบุความพึงพอใจ (ร้อยละ) |
ค่าเฉลี่ย
รายข้อ |
ค่าเฉลี่ย
รวม |
1
น้อยที่สุด |
2
น้อย |
3
ปานกลาง |
4
มาก |
5
มากที่สุด |
1. ด้านพฤติกรรมการให้บริการ |
|
|
|
|
|
|
|
1.1 ความชัดเจนของขั้นตอนการให้บริการ |
5 (1.2) |
6 (1.5) |
96 (24.0) |
221 (55.2) |
72 (18.0) |
3.9 ± 0.8 |
|
1.2 ความกระตือรือร้นและเอาใจใส่ของเจ้าหน้าที่ |
3 (0.8) |
6 (1.5) |
87 (21.8) |
227 (56.8) |
77 (19.2) |
3.9 ± 0.7 |
|
1.3 การใช้คำพูดและกิริยามารยาทของผู้จ่ายยา |
3 (0.8) |
6 (1.5) |
48 (12.0) |
221 (55.2) |
122 (30.5) |
4.1 ± 0.7 |
4.0 ± 0.7 |
1.4 การอธิบายของเภสัชกรเกี่ยวกับวิธีการใช้ยา |
2 (0.5) |
5 (1.2) |
50 (12.5) |
202 (50.5) |
141 (35.2) |
4.2 ± 0.7 |
|
1.5 การตอบข้อซักถามเมื่อท่านมีปัญหาข้อข้องใจ |
2 (0.5) |
5 (1.2) |
71 (17.8) |
225 (56.4) |
96 (24.1) |
4.0 ± 0.7 |
|
2. ด้านสถานที่ |
|
|
|
|
|
|
|
2.1 ความเป็นระเบียบของสถานที่รอรับยา |
1 (0.2) |
6 (1.5) |
75 (18.8) |
214 (53.5) |
104 (26.0) |
4.0 ± 0.7 |
|
2.2 ความสะอาดของสถานที่รอรับยา |
4 (1.0) |
4 (1.0) |
76 (19.0) |
225 (56.2) |
91(22.8) |
4.0 ± 0.7 |
4.0 ± 0.7 |
2.3 ความสะดวกสบายของจุดให้บริการ
เช่น เก้าอี้นั่งรอรับยา |
2 (0.5) |
6 (1.5) |
74 (18.5) |
211 (52.8) |
107(26.8) |
4.0 ± 0.8 |
|
3. ด้านความรวดเร็วในการให้บริการ |
|
|
|
|
|
|
|
3.1 เวลาที่ใช้ในการรอรับยา |
4 (1.0) |
27 (6.8) |
145 (36.2) |
165 (41.2) |
59 (14.8) |
3.6 ± 0.8 |
3.7 ± 0.8 |
3.2 เวลาที่ใช้ในการให้คำแนะนำการใช้ยา |
2 (0.5) |
15 (3.8) |
107 (26.8) |
200 (50.1) |
75 (18.8) |
3.8 ± 0.8 |
|
4. ความพึงพอใจในภาพรวม |
|
|
|
|
|
|
|
4.1 ความพึงพอใจในภาพรวมของการให้บริการ
ของหน่วยจ่ายยาผู้ป่วยนอก |
3 (0.8) |
6 (1.5) |
69 (17.2) |
236 (59.0) |
86 (21.5) |
4.0 ± 0.7 |
4.0 ± 0.7 |
ตารางที่ 3 ความรู้เรื่องการใช้สิทธิ์สวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการ
คำถามเกี่ยวกับความรู้เรื่องการใช้สิทธิ์สวัสดิการ
รักษาพยาบาลข้าราชการ |
จำนวนผู้ป่วยที่ตอบ (ร้อยละ) |
ตอบถูก |
ตอบผิด |
ไม่แน่ใจ |
1. ยาในบัญชียาหลักแห่งชาติทุกรายการสามารถใช้สิทธิ์
เบิกค่ายาได้ |
321 (80.2) |
39 (9.8) |
40 (10.0) |
2. ยานอกบัญชียาหลักแห่งชาติทุกรายการสามารถใช้สิทธิ์
เบิกค่ายาได้ |
203 (50.8) |
107 (26.8) |
90 (22.5) |
3. ยาในบัญชียาหลักแห่งชาติบางรายการต้องมีคำรับรอง
จากแพทย์จึงจะเบิกค่ายาได้ |
116 (29.0) |
205 (51.2) |
79 (19.8) |
4. ยานอกบัญชียาหลักแห่งชาติบางรายการ ต้องมีคำรับรอง
จากแพทย์จึงจะเบิกค่ายาได้ |
260 (65.0) |
53 (13.2) |
87 (21.8) |
5. ผู้ลงนามในคำรับรองการใช้ยานอกบัญชียาหลักแห่งชาติ
คือ แพทย์ทุกท่าน |
92 (23.0) |
209 (52.2) |
99 (24.8) |
6. ผู้ลงนามในคำรับรองการใช้ยานอกบัญชียาหลักแห่งชาติ
คือผู้อำนวยการโรงพยาบาล |
191 (47.8) |
61 (15.2) |
148 (37.0) |
7. ท่านสามารถใช้สิทธิ์สวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการ
ได้ที่โรงพยาบาลศรีนครินทร์เท่านั้น |
313 (78.2) |
59 (14.8) |
28 (7.0) |
3. ความรู้เรื่องสิทธิ์ของผู้ป่วยที่ใช้สิทธิสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการ
จากข้อคำถามเกี่ยวกับการใช้สิทธิสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการจำนวน 7 ข้อ ผู้ป่วยส่วนใหญ่ตอบคำถามข้อ 7 ได้ถูกต้องมากที่สุด รองลงมาคือข้อ 4 และข้อ 2 คิดเป็นร้อยละ 78.2, 65.0 และ 50.8 ตามลำดับดัง ตารางที่ 3 ส่วนข้อคำถามเกี่ยวกับการเบิกค่ายาและบริการของสิทธิสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการจำนวน 13 ข้อ ผู้ป่วยส่วนใหญ่ตอบคำถามข้อ 10 ได้ถูกต้องมากที่สุด รองลงมาคือ ข้อ 4 และข้อ 5 ตามลำดับ คิดเป็นร้อยละ 76.2, 55.0 และ 49.0 ตามลำดับ ดังตารางที่ 4
เมื่อรวมคะแนนความรู้เรื่องการใช้สิทธิ์ พบว่าผู้ป่วยส่วนใหญ่ได้ 4 คะแนน รองลงมาคือ 3 และ 2 คะแนนคิดเป็นร้อยละ 22.5, 21.0 และ 20.8 ตามลำดับ โดยมีคะแนนเฉลี่ย 3.7 ± 1.6 คะแนน และส่วนใหญ่ 173 ราย (ร้อยละ 43.2) มีความรู้ระดับปานกลาง ส่วนคะแนนความรู้เรื่องการเบิกค่ายาและบริการพบว่าผู้ป่วยส่วนใหญ่ได้ 3 คะแนน รองลงมาคือ 2 และ 0 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 12.7, 11.0 และ10.0 ตามลำดับ โดยมีคะแนนเฉลี่ย 4.6 ± 3.1 คะแนน และส่วนใหญ่ 207 ราย (ร้อยละ 51.8) มีความรู้ระดับน้อย ดังตารางที่ 5
ตารางที่ 4 ความรู้เรื่องยาและบริการของผู้ป่วยที่ใช้สิทธิสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการ
คำถามเกี่ยวกับการเบิกค่ายาและบริการ
ตามสิทธิสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการ |
จำนวนผู้ป่วยที่ตอบ (ร้อยละ) |
ตอบถูก |
ตอบผิด |
ไม่แน่ใจ |
1. ยาคุมกำเนิด
2. ยารักษาภาวะการมีบุตรยาก
3. ยารักษาภาวะเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ
4. วัคซีนป้องกันพิษสุนัขบ้า
5. ยารักษาสิว
6. วัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบ
7. ยาอมแก้เจ็บคอ
8. ยาทาบรรเทาอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ
9. ยาสระผมขจัดรังแค
10. ตรวจสุขภาพประจำปี
11. ยาเพิ่มน้ำในข้อ
12. นมสำหรับเด็ก
13. วิตามินและแร่ธาตุ |
84 (21.0)
141 (35.2)
150 (37.5)
220 (55.0)
196 (49.0)
86 (21.5)
87 (21.8)
57 (14.2)
165 (41.2)
305 (76.2)
69 (17.2)
189 (47.2)
84 (21.0) |
141 (35.2)
60 (15.0)
48 (12.0)
64 (16.0)
54 (13.5)
191 (47.8)
207 (51.8)
252 (63.0)
83 (20.8)
-
146 (36.5)
42 (10.5)
202 (50.5) |
175 (43.8)
199 (49.8)
202 (50.5)
116 (29.0)
150 (37.5)
123 (30.8)
106 (26.5)
91 (22.8)
152 (38.0)
95 (23.8)
185 (46.2)
169 (42.2)
114 (28.5) |
ตารางที่ 5 จำนวนข้อที่ตอบถูกเกี่ยวกับความรู้เรื่องการใช้สิทธิสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการ
จำนวนข้อที่ตอบถูก |
จำนวนผู้ป่วย (ร้อยละ) |
ความรู้เรื่องการใช้สิทธิ |
ความรู้เรื่องการเบิกค่ายาและบริการ |
0
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13 |
16 (4.0)
21 (5.2)
50 (12.5)
83 (20.8)
90 (22.5)
84 (21.0)
46 (11.5)
10 (2.5)
-
-
-
-
-
- |
40 (10.0)
34 (8.5)
44 (11.0)
51 (12.8)
38 (9.5)
38 (9.5)
38 (9.5)
36 (9.0)
37 (9.2)
20 (5.0)
10 (2.5)
8 (2.0)
6 (1.5)
0 (0.0) |
ค่าเฉลี่ย + ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน |
3.7 + 1.6 |
4.6 + 3.1 |
4. ปัญหาเกี่ยวกับการใช้สิทธิ์และข้อเสนอแนะ
มีผู้ป่วยจำนวน 107 ราย (ร้อยละ 26.8) เคยพบปัญหาเกี่ยวกับการใช้สิทธิ์เบิกค่าใช้จ่ายด้านยา โดยส่วนใหญ่จำนวน 64 ราย (ร้อยละ 59.8) พบปัญหานานๆ ครั้ง โดยเมื่อพบปัญหาผู้ป่วยส่วนใหญ่จำนวน 69 ราย (ร้อยละ 64.5) แก้ปัญหาด้วยการจ่ายเงินซื้อเองดังตารางที่ 6 ผู้ป่วยที่เข้าร่วมการศึกษามีข้อเสนอแนะ 2 มิติ ได้แก่ มิติด้านการบริการของห้องจ่ายยาให้ปรับปรุงการให้บริการของห้องจ่ายยา โดยเสนอให้จัดทำป้ายบอกขั้นตอนในการรับบริการ การลดขั้นตอนในการให้บริการ และการปรับปรุงการให้บริการทั้งในส่วนของสถานที่ คุณภาพของบุคลากร และเวลาในการให้บริการ ส่วนข้อเสนอแนะในมิติเกี่ยวกับการใช้สิทธิ์การรักษาพยาบาล ผู้ป่วยได้เสนอให้จัดทำคู่มือหรือแผ่นพับให้ข้อมูลเกี่ยวกับการใช้สิทธิ์การเบิกค่าใช้จ่ายด้านยาโดยอยากทราบว่ายาใดเบิกได้หรือไม่ได้ รวมถึงเสนอให้มีการจัดทำมีเวปไซต์ของโรงพยาบาลสำหรับสืบค้นข้อมูลด้านสิทธิการเบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาล
ตารางที่ 6 ปัญหาเกี่ยวกับการใช้สิทธิ์เบิกค่าใช้จ่ายด้านยา
ปัญหาเกี่ยวกับการใช้สิทธิ์เบิกค่าใช้จ่ายด้านยา |
จำนวน (ร้อยละ) |
ประสบการณ์ในการพบปัญหา (400 ราย)
- เคยพบ
- ไม่เคยพบ
- ไม่แน่ใจ |
107 (26.8)
275 (68.8)
18 (4.5) |
ความถี่ในการพบปัญหา (107 ราย)
- ทุกครั้งที่มารับยา
- บางครั้งที่มารับยา
- นานๆครั้ง |
7 (6.5)
36 (33.6)
64 (59.8) |
การปฏิบัติเมื่อพบปัญหา (107 ราย)
- ขอให้แพทย์เปลี่ยนยา
- ขอให้แพทย์ยกเลิกการสั่งยานั้น
- จ่ายเงินซื้อเอง |
25 (23.4)
13 (12.2)
69 (64.5) |
วิจารณ์
คุณลักษณะทั่วไปของผู้ป่วยที่มารับบริการส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ระดับการศึกษาปริญญาตรี อาชีพรับราชการ ใช้สิทธิสวัสดิการของตนเอง และต้นสังกัดส่วนใหญ่ของผู้มารับบริการคือกระทรวงศึกษาธิการ เช่นเดียวกับการศึกษาก่อนหน้านี้ที่ทำการศึกษาในคลินิกนอกเวลาราชการ โรงพยาบาลศรีนครินทร์8,9 โดยผู้ป่วยส่วนใหญ่จะปฏิบัติงานในมหาวิทยาลัยขอนแก่น และบางส่วนจะเป็นข้าราชการสังกัดหน่วยงานอื่นที่มารับการรักษาต่อเนื่อง ผู้ป่วยส่วนใหญ่มีความพึงพอใจในภาพรวมต่อการให้บริการของหน่วยจ่ายยาผู้ป่วยนอกในระดับ 4 (มาก) คิดเป็นร้อยละ 59.0 และมีคะแนนความพึงพอใจเฉลี่ยเท่ากับ 4.0 คะแนน ซึ่งใกล้เคียงกับผลการศึกษาความพึงพอใจของผู้ป่วยทุกสิทธิ์ที่มีต่อการบริการด้านเภสัชกรรม ของคลินิกนอกเวลาราชการ โรงพยาบาลศรีนครินทร์ ซึ่งมีคะแนนความพึงพอใจเฉลี่ยเท่ากับ 3.9 คะแนน9 และสูงกว่าความพึงพอใจต่อบริการจ่ายยาผู้ป่วยนอกสิทธิ์ประกันสังคม และสิทธิ์ประกันสุขภาพถ้วนหน้าของโรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ที่มีคะแนนความพึงพอใจเฉลี่ย 3.6 และ 3.6 ตามลำดับ10 ทั้งนี้อาจเนื่องจากผู้ป่วยที่มารับบริการที่โรงพยาบาลศรีนครินทร์มีความเชื่อมั่นในการบริการว่าได้รับยาที่ดี เภสัชกรและเจ้าหน้าที่มีความรู้ความสามารถ ให้ข้อมูลเกี่ยวกับยาและวิธีใช้ยาได้อย่างเข้าใจ แต่เมื่อพิจารณาในรายละเอียดจะพบว่าค่าเฉลี่ยความพึงพอใจด้านพฤติกรรมการให้บริการ และความรวดเร็วในการให้บริการของการศึกษานี้มีค่าต่ำกว่าผลการศึกษาของโรงพยาบาลระโนดที่มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.3 และ 4.7 ตามลำดับ11 อาจเป็นผลจากโรงพยาบาลศรีนครินทร์มีภาระงานที่ค่อนข้างสูงและมีความซับซ้อน โดยมีอัตรากำลังของเภสัชกรและเจ้าหน้าที่ห้องจ่ายยาเพียง 12 และ 18 คน ตามลำดับ ทำหน้าที่รับผิดชอบการจ่ายยาประมาณวันละ 2,500 ใบสั่งยา จำนวนขนานยารวมประมาณวันละ 10,000 ขนานยา อีกทั้งขนานยายังมีความซับซ้อนเนื่องจากโรงพยาบาลศรีนครินทร์เป็นโรงเรียนแพทย์ ผู้ป่วยที่มารับบริการส่วนใหญ่จะถูกส่งตัวมาจากโรงพยาบาลอื่น หรือโรงพยาบาลอื่นที่ไม่สามารถทำการรักษาได้ เนื่องจากโรงพยาบาลอื่นไม่มีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่จะสามารถวินิจฉัย และสั่งใช้ยาบางชนิดได้ ในทางตรงกันข้ามผู้ป่วยมีความพึงพอใจด้านสถานที่ให้บริการของโรงพยาบาลศรีนครินทร์สูงกว่าโรงพยาบาลระโนด และโรงพยาบาลบางบ่อที่มีค่าคะแนนเฉลี่ยด้านนี้เพียง 3.6 และ 3.8 ตามลำดับ11,12 เนื่องจากทางโรงพยาบาลศรีนครินทร์ได้ให้ความสำคัญกับการบริการผู้ป่วย โดยมีการปรับปรุงด้านอาคารและสถานที่ให้เพียงพอในการรองรับผู้ป่วยที่มีปริมาณมากขึ้น
ในด้านความรู้ของผู้ป่วยที่ใช้สิทธิสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการ พบว่าผู้ป่วยยังขาดความรู้เรื่องการใช้สิทธิ์โดยมีคะแนนเฉลี่ย 3.7 คะแนน จากคะแนนเต็ม 7 คะแนน และมีผู้ตอบได้ถูกต้องทุกข้อเพียง 10 ราย (ร้อยละ 2.5) ผู้ป่วยส่วนใหญ่ 173 ราย (ร้อยละ 43.2) มีคะแนนอยู่ในช่วง 2.34 - 4.66 จึงถูกจัดอยู่ในกลุ่มมีความรู้เรื่องสิทธิ์ในระดับปานกลาง นอกจากนี้และผู้ป่วยยังขาดความรู้เรื่องการเบิกค่ายาและบริการโดยมีคะแนนเฉลี่ย 4.6 จากคะแนนเต็ม 13 คะแนน และไม่มีผู้ตอบได้ถูกต้องทุกข้อ ผู้ป่วยส่วนใหญ่ 207 ราย (ร้อยละ 51.8) มีคะแนนอยู่ในช่วง 0-4.33 จึงจัดอยู่ในกลุ่มมีความรู้เรื่องการเบิกค่ายาและบริการในระดับน้อย ทั้งนี้อาจมีสาเหตุมาจากการที่ผู้ป่วยอาจไม่ทราบข้อมูลมาก่อนเกี่ยวกับการใช้สิทธิ์ หรือความรู้เรื่องยาและบริการที่สามารถเบิกได้ ผู้ป่วยมีความรู้เฉพาะเรื่องยาและสิทธิ์การรักษาส่วนที่ตัวเองเคยใช้เท่านั้นจึงไม่สามารถตอบคำถามในส่วนที่ตนเองไม่เคยได้ใช้สิทธิมาก่อน หรือผู้ป่วยอาจลืมหรือมีประสิทธิภาพในการจดจำลดลง จดจำได้เฉพาะยาที่ตนเองใช้เป็นประจำเท่านั้น นอกจากนี้อาจมีผู้ป่วยบางรายอาจไม่แน่ใจในคำตอบจึงเลือกที่จะตอบว่าไม่แน่ใจ จึงทำให้ผลการวิจัยที่ได้ผู้ป่วยมีความรู้เรื่องสิทธิ์และเรื่องค่าใช้จ่ายด้านยาน้อยกว่าที่ควรจะเป็น ข้อเสนอแนะของผู้ป่วยที่ระบุว่าต้องการให้โรงพยาบาลจัดทำเอกสารให้ความรู้เกี่ยวกับเรื่องสิทธิ์ และยาที่สามารถเบิกได้หรือไม่ได้สำหรับแจกให้แก่ผู้ป่วยที่มารับบริการ จึงเป็นแนวทางในการเพิ่มความรู้เกี่ยวกับการใช้สิทธิสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการของผู้ป่วย นอกจากนี้การจัดทำคู่มือสำหรับประชาชนในรูปแบบที่เป็นเว็บไซด์ของกรมบัญชีกลาง อาจเป็นช่องทางในการเพิ่มความรู้ความเข้าใจในสิทธิสวัสดิการรักษาพยาบาลแก่ข้าราชการอีกทางหนึ่ง
สรุป
ผู้ป่วยส่วนใหญ่มีความพึงพอใจในการให้บริการของหน่วยบริการจ่ายยาผู้ป่วยนอกในระดับมาก แต่มีความรู้เรื่องสิทธิ์ของผู้ป่วยในระดับปานกลางและความรู้เรื่องการเบิกค่ายาและบริการในระดับน้อย ผู้ป่วยส่วนน้อยมีปัญหาในเรื่องการใช้สิทธิ์ โดยพบนานๆ ครั้ง และเลือกที่จะจ่ายเงินซื้อยาเอง
กิตติกรรมประกาศ
ผู้วิจัยขอขอบคุณนายกิจนิรัตน์ เพชรประดิษฐ์ และนายชัชวาล คำพิทูล นักศึกษาคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ที่ให้ความอนุเคราะห์ช่วยเก็บข้อมูลการวิจัยนี้
เอกสารอ้างอิง
1. จิรุตม์ ศรีรัตนบัลล์, สมเกียรติ โพธิสัตย์, ยุพิน อังสุโรจน์, จารุวรรณ ธาดาเดช, ศรานุช โตมรศักดิ์. เครื่องชี้วัดคุณภาพโรงพยาบาล. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: ดีไซร์, 2543.
2. สถาบันพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาล. มาตรฐานโรงพยาบาลและบริการสุขภาพ ฉบับเฉลิมพระเกียรติฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี. นนทบุรี: หนังสือดีวัน จำกัด, 2551.
3. คณะกรรมการจัดทำหนังสือเพื่อจำหน่าย กรมบัญชีกลาง. คู่มือสวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการเล่มที่ 1. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์คณะรัฐมนตรี และราชกิจจานุเบกษา, 2551.
4. พระราชกฤษฎีกาเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล (พ.ศ. 2553). ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 127 ตอนที่ 23ก (ลงวันที่ 2 เมษายน 2553).
5. ธานินทร์ ศิลป์จารุ. การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ: วี อินเตอร์ พริ้นทร์, 2549.
6. วลีรัตน์ ใจสูงเนิน. การรับรู้และการใช้บริการหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าของประชาชน: กรณีศึกษาอำเภอพระสมุทรเจดีย์ จังหวัดสมุทรปราการ. รายงานการค้นคว้าแบบอิสระปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร [ออนไลน์]. 2551 [สืบค้น 16 มิถุนายน 2556]. ได้จาก: http://www.thapra.lib.su.ac.th/thesis/showthesis_th.asp?id=0000001855.
7. ภากรณ์ น้ำว้า, ศิริวิมล วันทอง. ความพึงพอใจของผู้รับบริการแผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลด่านมะขามเตี้ย อำเภอด่านมะขามเตี้ย จังหวัดกาญจนบุรี. รายงานวิจัยปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม [ออนไลน์]. 2550 [สืบค้น 16 มิถุนายน 2556]. ได้จาก: http://ps.npru.ac.th/health/wp-content/uploads/2008/04/binder8.pdf.
8. Ratchadaporn Soontornpas, Chedsada Nopwinyoowong, Cheardchai Soontornpas. Knowledge and Understanding of Patients to Special Instructions on Drug Zip Bags. Srinagarind Med J 2013; 28 (suppl): 239-43.
9. นันทัชพร สุวรรณสุขโรจน์. การประเมินความพึงพอใจของผู้ป่วยที่มีต่อการบริการของคลินิกนอกเวลาราชการ โรงพยาบาลศรีนครินทร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น (รายงานการศึกษาอิสระปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต). ขอนแก่น: คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 2551.
10. สุธีรัตน์ ม้าอุตส่าห์. การเปรียบเทียบความพึงพอใจต่อการใช้บริการทางการแพทย์ระหว่างผู้ประกันตนในโครงการประกันสังคมกับผู้ใช้บริการ ตามโครงการประกันสุขภาพถ้วนหน้าในโรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่. รายงานการวิจัยปัญหาเศรษฐกิจปัจจุบัน คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ [ออนไลน์]. 2555 [อ้างเมื่อ 16 มิถุนายน 2556]. ได้จาก: http://library.cmu.ac.th/faculty/ econ/Exer751409/2555/Exer2555_no257.
11. ฝ่ายเภสัชกรรม โรงพยาบาลระโนด. ผลสำรวจชี้ชัดประชาชนระโนดพอใจบริการฝ่ายเภสัชอยู่ในระดับมาก [ออนไลน์]. 2555 [อ้างเมื่อ 16 มิถุนายน 2556]. ได้จาก: http://ranodhospital.go.thpaper/328
12. รชยา อินทรพรอุดม, ดวงใจ โค้วประเสริฐ, กมลวรรณ พรหมรักษ์. การศึกษาความรู้ความเข้าใจในการใช้ยา ภายหลังที่ได้รับการส่งมอบยาจากเภสัชกร และความพึงพอใจของงานบริการเภสัชกรรมผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลบางบ่อ จังหวัดสมุทรปราการ. บทคัดย่อจากฐานข้อมูลโครงการพิเศษ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ [ออนไลน์]. 2552 [อ้างเมื่อ 16 มิถุนายน 2556].: http://www.pharmhcu.com/py/Project/p50625204.pdf.