Untitled Document
 
 
 
 
Untitled Document
Home
Current issue
Past issues
Topic collections
Search
e-journal Editor page

A prospective Study of Tracheal Intubation and Immediate Complications in Emergency Room in Srinagarind Hospital

อุบัติการณ์การเกิดภาวะแทรกซ้อนจากการใส่ท่อช่วยหายใจโดยแพทย์ที่ห้องฉุกเฉิน โรงพยาบาลศรีนครินทร์

Sarinya Chanthawong (ศรินญา จันทะวงศ์) 1, Waraporn Chau-In (วราภรณ์ เชื้ออินทร์) 2, Narin Plailaharn (นรินทร์ พลายละหาร) 3, Piyaporn Bunsangjaroen (ปิยะพร บุญแสงเจริญ) 4, Maneerat Thananun (มณีรัตน์ ธนานันต์) 5, Raruan Saenkhot (ระรื่น แสนโคตร) 6




หลักการและวัตถุประสงค์: ในปัจจุบันมีผู้ป่วยมาที่ห้องฉุกเฉินจำนวนเพิ่มขึ้นมาก และต้องได้รับการรักษาโดยการใส่ท่อช่วยหายใจโดยแพทย์จากทุกสาขา ทางคณะผู้วิจัยจึงสนใจที่จะศึกษาเกี่ยวกับอุบัติการณ์การเกิดภาวะแทรกซ้อนจากการใส่ท่อช่วยหายใจในห้องฉุกเฉินโรงพยาบาลศรีนครินทร์ว่ามีอุบัติการณ์การเกิดภาวะแทรกซ้อนจากการใส่ท่อช่วยหายใจมากน้อยเพียงใด มีภาวะใดบ้างเพื่อวางแผนจัดการและพัฒนาแนวทางเพื่อลดภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นต่อไป

วิธีการศึกษา: ศึกษาข้อมูลแบบไปข้างหน้าโดยศึกษาในผู้ป่วยที่ได้รับการใส่ท่อช่วยหายใจโดยแพทย์ที่ห้องฉุกเฉิน โรงพยาบาลศรีนครินทร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่นเป็นเวลา 1 ปี ตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม 2553 ถึง 30 พฤศจิกายน 2554 โดยแบบบันทึกลักษณะข้อมูลพื้นฐานของผู้ป่วย ข้อมูลแพทย์ และแบบบันทึกข้อมูลภาวะแทรกซ้อนจากการใส่ท่อช่วยหายใจ อุบัติการณ์การเกิดภาวะแทรกซ้อน จากการใส่ท่อช่วยหายใจมาใช้คำนวณหาความสัมพันธ์ทางสถิติ

ผลการศึกษา:  มีผู้ป่วยทั้งสิ้นจำนวน 192 ราย ที่เข้าร่วมในการศึกษานี้ แพทย์ที่ใส่ท่อช่วยหายใจมากที่สุด ได้แก่ อายุรแพทย์และแพทย์ที่เข้าฝึกอบรมภาควิชาอายุรศาสตร์ ร้อยละ 42.2 ส่วนวิสัญญีแพทย์และแพทย์ที่เข้าฝึกอบรมภาควิชาวิสัญญีวิทยานั้นมีเพียง ร้อยละ 4.7 อุบัติการณ์ภาวะแทรกซ้อนจากการใส่ท่อช่วยหายใจมีจำนวนทั้งสิ้น 73 ราย (ร้อยละ 38) ภาวะแทรกซ้อนที่พบมากที่สุด คือ บาดเจ็บของเนื้อเยื่อทางเดินหายใจส่วนบน 26 ราย (ร้อยละ 13.5)   ภาวะแทรกซ้อนจากการใส่ท่อช่วยหายใจเกิดจากวิสัญญีแพทย์และแพทย์ผู้ฝึกอบรมภาควิชาวิสัญญีวิทยามากที่สุด (ร้อยละ 88) วิเคราะห์ความสัมพันธ์ของการเกิดภาวะแทรกซ้อนด้วย  chi-square test at alpha = 0.05 และ Fisher’s exact test between group ( significant = p < 0.05) แล้วพบว่าการใส่ท่อช่วยหายใจด้วยแพทย์จากแต่ละภาควิชากับการเกิดภาวะแทรกซ้อนไม่มีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ แต่ถ้าหากนำผลรวมการใส่ท่อช่วยหายใจด้วยแพทย์จากทุกภาควิชากับการเกิดภาวะแทรกซ้อนมาวิเคราะห์กลับพบว่ามีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (95% Confidence Interval = 38(31-45), p=0.03)

สรุป:   การใส่ท่อช่วยหายใจที่ห้องฉุกเฉินโรงพยาบาลศรีนครินทร์ พบอุบัติการณ์การเกิดภาวะแทรกซ้อนขณะใส่ท่อช่วยหายใจ ร้อยละ 38 ภาวะแทรกซ้อนพบมากที่สุดได้แก่ การบาดเจ็บของเนื้อเยื่อทางเดินหายใจส่วนบน รองลงมา ได้แก่ ใส่ท่อช่วยหายใจยาก และใส่ท่อลงกระเพาะอาหาร แพทย์ที่ใส่ท่อช่วยหายใจมากที่สุด ได้แก่ อายุรแพทย์และแพทย์ที่เข้าฝึกอบรมภาควิชาอายุรศาสตร์

 

Background and Objective: Airway management is an important part of the critically ill and injured patients’ management in the emergency room(ER). Numerous studies from developed countries were demonstrated the competency of emergency doctors in intubation. To date there have been no published data on intubations performed in the ER in Srinagarind hospital. The aim of this study is to collect the incidence of intubation related complications and physician who intubated in the ER in Srinagarind hospital.

Methods: Prospective cohort study by 192 patients intubated by the physician team in emergency room during 1 December 2009 - 30 November 2010. Standardized data forms were used to collect detail information on the intubation physician, physician’s department, techniques and complications.

Results:  All of the 192 patients were successfully intubated. A total of 81 (42.2%) intubations were done by doctor from medical physician and trainee. There were 73 patients (38%) reported immediate intubation related complications. The most common complication was traumatic at upper airway soft tissue. The highest incidences of complications were done by anesthesiologists and trainee. Analysis data with Chi-square test at alpha = 0.05 and Fisher's exact test (significant = p <0.05) between groups of the physicians from each department who performed intubation and incidence of immediate complications found no statistically significant. But analysis of all of the physicians who performed intubation and incidence of immediate complications of intubation found a correlation statistically significant (95% Confidence Interval = 38 (31-45), p = 0.03)

Conclusion: Tracheal intubations in emergency room in Srinagarind hospital were performed by rotational doctor from many departments. Medicine doctors and trainee were intubated most of intubation related complications has been found 38%.  Faster specialist consultation and use of an appropriate monitor to confirm the position of the endotracheal tube was recommended for reducing intubation related complications.

 

บทนำ

ในปัจจุบันผู้ป่วยมาพบแพทย์ที่ห้องฉุกเฉินมีจำนวนเพิ่มขึ้นมาก บางรายอาจต้องได้รับการรักษาโดยการใส่ท่อช่วยหายใจแบบเร่งด่วน ซึ่งเป็นเวชปฏิบัติทั่วไปที่สำคัญ อาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนรุนแรงอาจเป็นอันตรายต่อชีวิตของผู้ป่วยได้  เช่น ใส่ท่อช่วยหายใจเข้าหลอดอาหาร การสำลักอาหาร ใส่ท่อช่วยหายใจเข้าหลอดลมข้างเดียว  หัวใจเต้นผิดจังหวะ  การใส่ท่อช่วยหายใจยาก และใส่ท่อช่วยหายใจไม่ได้เลย  เป็นต้น1 เป็นอุบัติการณ์ที่อาจพบได้บ่อยนอกห้องผ่าตัด2 เพราะฉะนั้นการใส่ท่อช่วยหายใจ จึงถือว่าเป็นทักษะที่สำคัญสำหรับแพทย์เวชปฏิบัติ ปัจจัยที่ส่งผลต่อการประสบความสำเร็จในการใส่ท่อช่วยหายใจนั้นขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย เช่น โรคหรือภาวะของผู้ป่วย  ลักษณะทางเดินหายใจของผู้ป่วย  อายุของผู้ป่วย ความรู้และทักษะของแพทย์ที่ได้รับการฝึกฝน  ข้อจำกัดในด้านเวลา และศักยภาพของผู้ช่วยขณะใส่ท่อช่วยหายใจ เป็นต้น3,4  ดังนั้นการมีความรู้เรื่องการบริหารจัดการทางเดินหายใจที่ดีและสามารถปฏิบัติได้ถูกต้อง รวดเร็ว จะสามารถช่วยลดภาวะแทรกซ้อนที่อาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้

ในปี พ.. 2551 มีผู้ป่วยได้เข้ารับการรักษาในห้องฉุกเฉินโรงพยาบาลศรีนครินทร์ทั้งสิ้น   59,920 คน พบว่ามีผู้ป่วยจำนวน 357 ราย5 ได้รับการใส่ท่อช่วยหายใจที่ห้องฉุกเฉิน มีรายงานเกิดภาวะแทรกซ้อนจากการใส่ท่อช่วยหายใจ แต่ยังไม่มีการรวบรวมละเอียดของข้อมูลในเชิงระบบ การศึกษาเกี่ยวกับภาวะแทรกซ้อนจากการใส่ท่อช่วยหายใจในห้องฉุกเฉินมีน้อยมาก ซึ่งในโรงพยาบาลศรีนครินทร์ยังไม่เคยมีผู้ศึกษาเรื่องดังกล่าว ทำให้ทางคณะผู้วิจัยสนใจที่จะศึกษาเกี่ยวกับอุบัติการณ์การเกิดภาวะแทรกซ้อนจากการใส่ท่อช่วยหายใจในห้องฉุกเฉินโรงพยาบาลศรีนครินทร์ว่ามีอุบัติการณ์การเกิดภาวะแทรกซ้อนจากการใส่ท่อช่วยหายใจใดบ้างเกิดภาวะแทรกซ้อนโดยการใส่ท่อช่วยหายใจจากแพทย์สาขาใดบ้าง จำนวนมากน้อยแตกต่างกันในแต่ละสาขาอย่างไร เพื่อช่วยวางแผนการจัดการและพัฒนาแผนการเพื่อลดภาวะแทรกซ้อนที่จะเกิดขึ้นต่อไป และนำไปพัฒนาเครื่องมือ ปรับปรุงการฝึกอบรมให้ความรู้แก่บุคลากรที่ทำงานเกี่ยวกับห้องฉุกเฉิน

 

วิธีการศึกษา

หลังจากผ่านการพิจารณาจากคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ มหาวิทยาลัยขอนแก่นแล้ว (เลขที่โครงการ HE 531235)  เมื่อผู้อำนวยการโรงพยาบาลอนุมัติ และได้รับความยินยอมจากแพทย์ที่ปฏิบัติงานที่ห้องฉุกเฉินโรงพยาบาลศรีนครินทร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น จึงเริ่มเก็บข้อมูล ในผู้ป่วยทุกรายที่ได้รับการใส่ท่อช่วยหายใจทางปาก ขณะที่ผู้ป่วยตื่น (Awake orotracheal intubation)   โดยแพทย์ที่ปฏิบัติงานในห้องฉุกเฉินโรงพยาบาลศรีนครินทร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น เป็นเวลา 1 ปี ตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม 2553 ถึง 30 พฤศจิกายน 2554 จากโรงพยาบาลอื่นที่ไม่ใช่แพทย์ที่ปฏิบัติงาน ณ ห้องฉุกเฉิน โรงพยาบาลศรีนครินทร์ และผู้ป่วยที่ได้รับการใส่ท่อช่วยหายใจที่ไม่ใช่ทางปากจะถูกคัดออกจากการศึกษา

          เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ แบบบันทึกข้อมูลทางการแพทย์ และ แบบบันทึกข้อมูลภาวะแทรกซ้อนจากการใส่ท่อช่วยหายใจ  ข้อมูลประกอบด้วย (1) ลักษณะข้อมูลพื้นฐานของผู้ป่วย ได้แก่ เพศ อายุ น้ำหนัก โรคประจำตัว (2) อุบัติการณ์การเกิดภาวะแทรกซ้อนจากการใส่ท่อช่วยหายใจ (3) ข้อมูลแพทย์ผู้ทำการใส่ท่อช่วยหายใจ โดยแยกเป็นภาควิชาต่างๆ บันทึกข้อมูลทุกรายที่เกี่ยวข้องลงโปรแกรม access ที่สร้างขึ้นเฉพาะการศึกษานี้

คำจำกัดความของภาวะแทรกซ้อนจากการใส่ท่อช่วยหายใจที่ใช้ในการศึกษา ดัดแปลงจากการศึกษาของราชวิทยาลัยวิสัญญีแพทย์แห่งประเทศไทยและนำมาปรับใช้เพื่อเฝ้าระวังภาวะแทรกซ้อนในภาควิชาฯ6ได้แก่

-                     Esophageal intubation หมายถึง การใส่ท่อช่วยหายใจเข้าหลอดอาหารโดยตรวจพบได้ช้าจนเขียว  หรือ  SpO2< 90%

-                     Traumatic intubation: upper airway part  หมายถึง เนื้อเยื่อทางเดินหายใจส่วนบนถูกทำลายที่เกิดจากการใส่ท่อช่วยหายใจ (เนื้อเยื่อบริเวณช่องปากภายในและภายนอก เนื้อเยื่อในช่องคอส่วนบน)

-                     Aspiration หมายถึง ภาวะที่มีการสำลักเศษอาหารหรือสิ่งตกค้างลงหลอดลมหรือหลอดคอ

-                     Dental injury หมายถึง ภาวะที่พบความเสียหายเกิดขึ้นกับฟัน (ไม่นับสาเหตุที่เกิดจากแพทย์ผ่าตัด)

-                     Fail intubation หมายถึง ใส่ท่อช่วยหายใจไม่ได้

-                     Desaturation หมายถึง SpO2< 90% นาน > 3 นาที หรือในผู้ป่วย Congenital  heart disease ที่มี  SpO2  ต่ำจากค่าเดิมมากกว่า 15 %

-                     Endobroncheal intubation หมายถึง การใส่ท่อช่วยหายใจเข้าหลอดลมใหญ่ข้างใดข้างหนึ่ง

-                     Arrhythmia  need Rx medication treatment หมายถึง การเต้นของหัวใจผิดจังหวะที่ต้องการการรักษา 

-                     Difficult intubation (unexpected ) หมายถึง ภาวะที่ใส่ท่อหายใจยาก  โดยไม่ได้คาดหวังด้วย conventional laryngoscopy และมีการใส่ท่อช่วยหายใจ > 3 ครั้ง โดยผู้มีประสบการณ์ (หมายถึง อาจารย์  วิสัญญีพยาบาล  แพทย์ใช้ทุน  แพทย์ประจำบ้านที่ทำงาน > 2 ปี)  หรือ ต้องใช้เวลาในการใส่ท่อช่วยหายใจนานกว่า 10 นาที

          แบ่งภาวะแทรกซ้อนเป็นภาวะแทรกซ้อนรุนแรงและไม่รุนแรง โดยภาวะแทรกซ้อนรุนแรง ได้แก่ esophageal intubation, aspiration, arrhythmia needs medication treatment และ difficult intubation (unexpected) ส่วนที่เหลือถือเป็นภาวะแทรกซ้อนไม่รุนแรง

ผู้ป่วยทุกรายจะได้รับการดูแลตามมาตรฐานของแพทย์ที่ประจำอยู่ห้องฉุกเฉินขณะนั้น โดยทีมผู้วิจัยที่ทำการเก็บข้อมูลจะไม่เกี่ยวข้องกับทีมที่ทำการรักษาผู้ป่วย ดังนั้นการเก็บข้อมูลจะไม่มีผลกระทบต่อผู้ป่วยทั้งทางด้านประสิทธิภาพ และจำนวนบุคลากรที่ดูแลรักษาผู้ป่วยขณะนั้น

การวิเคราะห์ข้อมูลใช้โปรแกรม SPSS วิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานของผู้ป่วย โดยกรณีที่เป็นข้อมูลต่อเนื่องนำเสนอสถิติในรูปค่าเฉลี่ย แจกแจงความถี่และค่าร้อยละ ข้อมูลการใส่ท่อช่วยหายใจและผลของการใส่ท่อช่วยหายใจของแพทย์เปรียบเทียบกันโดยใช้สถิติ chi-square test ชนิดของการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากการใส่ท่อช่วยหายใจ นำเสนอในรูปของร้อยละ การวิเคราะห์หาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากการใส่ท่อช่วยหายใจโดใช้สถิติ Chi-square test และ Fisher’s exact test between groups

 

ผลการศึกษา

จากการศึกษาพบว่ามีผู้ป่วยที่ได้รับการใส่ท่อช่วยหายใจโดยแพทย์ที่ห้องฉุกเฉินโรงพยาบาลศรีนครินทร์ ในช่วงเวลา 1 ปี ทั้งหมด 192 ราย ผู้ป่วยทุกรายใส่ท่อช่วยหายใจทางปากขณะที่ผู้ป่วยตื่น (awake orotracheal intubation) อายุเฉลี่ย 52.1 ปี ผู้ป่วยส่วนใหญ่เป็นเพศชาย (ร้อยละ 56.3) ส่วนใหญ่ไม่มีโรคประจำตัวและ/หรือไม่ทราบว่ามีโรคประจำตัวมาก่อนพบร้อยละ 24 โดยโรคประจำตัวอื่นๆของผู้ป่วย (ตารางที่ 1)

 

Table 1 Demographic data of intubated patients (N =192)

Characteristics

Number

%

Sex

 

 

Male

108

56.3

Female

84

43.2

Age (year)*

52.1+21.3

(25-75)

Underlying disease

 

 

None, Unknown

46

24.0

Cardiovascular

45

23.4

Respiratory

27

14.1

Central nervous system

27

14.1

Infection

3

1.6

Endocrine

7

3.6

GI system

12

6.3

Airway

1

0.5

Trauma

9

4.7

        Other

15

7.8

*Data showed as Mean + SD and range

 

แพทย์ที่ปฏิบัติการใส่ท่อช่วยหายใจมากที่สุดในห้องฉุกเฉิน ได้แก่ อายุรแพทย์และแพทย์ที่เข้าฝึกอบรมภาควิชาอายุรศาสตร์ 81 ครั้ง (ร้อยละ 42.2) รองลงมา ได้แก่ แพทย์เวชศาสตร์ฉุกเฉินและแพทย์ที่เข้าฝึกอบรมหน่วยเวชศาสตร์ฉุกเฉิน 38 ครั้ง (ร้อยละ 19.8) ศัลยแพทย์และแพทย์ที่เข้าฝึกอบรมภาควิชาศัลยศาสตร์ 34 ครั้ง (ร้อยละ 17.7) ส่วนวิสัญญีแพทย์และแพทย์ที่เข้าฝึกอบรมภาควิชาวิสัญญีวิทยานั้นใส่เพียง 9 ราย (ร้อยละ 4.7) โดยส่วนใหญ่วิสัญญีแพทย์และแพทย์ที่เข้าฝึกอบรมภาควิชาวิสัญญีวิทยาจะได้ใส่ท่อช่วยหายใจหลังจากแพทย์คนแรกมีปัญหาใส่ท่อช่วยหายใจลำบากและไม่สามารถใส่ได้ (ตารางที่ 2)

 

Table 2 Physicians who performed intubations in emergency room (N =192)

Physician who performed intubations

Number

%

Medical physician and trainee

81

42.2

Emergency medicine doctor and trainee

38

19.8

Surgeon and trainee

34

17.7

General Physician

20

10.4

Pediatrician and trainee

8

4.2

Anesthesiologist and trainee

9

4.7

Other Unknown

2

1.0

 

          ผู้ป่วย  73 ราย (ร้อยละ38) เกิดภาวะแทรกซ้อนขณะใส่ท่อช่วยหายใจ ภาวะแทรกซ้อน พบมากที่สุดได้แก่ การบาดเจ็บของเนื้อเยื่อทางเดินหายใจส่วนบนพบ 26 ราย (ร้อยละ13.5) รองลงมา ได้แก่ ใส่ท่อช่วยหายใจยากพบ 12 ราย (ร้อยละ 6.3) ใส่ท่อลงกระเพาะอาหารพบ 10 ราย (ร้อยละ 5.2) ซึ่งภาวะใส่ท่อช่วยหายใจลงกระเพาะอาหารจะถูกตรวจสอบทันทีโดยการตรวจร่างกาย และได้รับการแก้ไขทันที (ตารางที่ 3)

 

Table 3 Intubation related complications in emergency room (N=73)

Complications

Frequency

%

Traumatic intubation : upper airway part

26

13.5

Difficult intubation (unexpected )

12

6.3

Esophageal intubation

10

5.2

Aspiration

9

4.7

Dental injury

8

4.2

Desaturation

4

2.1

Fail intubation

2

1.0

Arrhythmia  

1

0.5

Other

1

0.5

 

การใส่ท่อช่วยหายใจโดยวิสัญญีแพทย์และแพทย์ที่เข้าฝึกอบรมภาควิชาวิสัญญีวิทยานั้น เกิด 

ภาวะแทรกซ้อนมากที่สุดพบ 8 รายจากการใส่ 9 ราย (ร้อยละ 88) รองลงมา ได้แก่ การใส่ท่อช่วยหายใจโดยกุมารแพทย์และแพทย์ที่เข้าฝึกอบรมภาควิชากุมารเวชศาสตร์พบ 5 รายจากการใส่ 8 ราย (ร้อยละ 62.5) พบภาวะแทรกซ้อนน้อยที่สุด คือ แพทย์เวชศาสตร์ฉุกเฉินและแพทย์ที่เข้าฝึกอบรมพบ 11 รายจากการใส่ 34 ราย (ร้อยละ 32) เมื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของการเกิดภาวะแทรกซ้อนกับแพทย์แต่ละสาขาวิชาด้วย  Chi-square test at alpha = 0.05 และ Fisher’s exact test between group (มีนัยสำคัญทางสถิติเมื่อ p > 0.05) พบว่าการใส่ท่อช่วยหายใจด้วยแพทย์จากแต่ละภาควิชานั้นไม่มีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับการเกิดภาวะแทรกซ้อน แต่ถ้าหากนำผลรวมภาวะแทรกซ้อนทั้งหมดกับการใส่ท่อช่วยหายใจด้วยแพทย์จากทุกภาควิชามาวิเคราะห์กลับพบว่ามีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ [95% Confidence Interval = 38(31-45), p-value 0.03]  (ตารางที่ 4)

 

Table 4 Incidences of complication related intubation associated with physicians who performed intubations in the emergency room (ER)

Physician who performed intubations

Intubated patients

Patients with complications

95% Confidence Interval

(95% CI)

P-value

Number

%

Number

%

Medicine doctors and trainee

81

42.2

28

34.0

34(24-46)

0.05

Emergency medicine doctors and trainee

38

19.8

11

32.0

28(15-46

0.07

Surgeon and trainee

34

17.7

14

36.0

41(25-59)

0.08

General Physician

20

10.4

7

35.0

35(15-59)

0.10

Pediatrician and trainee

8

4.2

5

62.5

62(24-91)

0.17

Anesthesiologists and trainee

9

4.7

8

88.0

88(52-99)

0.10

Total

192

100.0

73

100

38(31-45)

0.03

*Chi-square test at alpha = 0.05, Fisher’s exact test between group p-value > 0.05

 

 

วิจารณ์

          การศึกษาอุบัติการณ์การเกิดภาวะแทรกซ้อนจากการใส่ท่อช่วยหายใจโดยแพทย์ที่ห้องฉุกเฉิน โรงพยาบาลศรีนครินทร์ครั้งนี้ พบอุบัติการณ์ภาวะแทรกซ้อนร้อยละ 38 และภาวะแทรกซ้อนรุนแรง โดยภาวะแทรกซ้อนรุนแรง ได้แก่ esophageal intubation, aspiration, arrhythmia needs medication treatment และ difficult intubation (unexpected) พบร้อยละ 9.9  พบว่าแพทย์ส่วนใหญ่ใช้วิธีใส่ท่อช่วยหายใจขณะผู้ป่วยตื่น และเกิดภาวะแทรกซ้อนสูงกว่าทุกการศึกษาที่มีรายงานมาก่อนหน้านี้ เช่น ในสหรัฐอเมริกา ฮ่องกง และมาเลเซีย มีอุบัติการณ์ของภาวะแทรกซ้อนจากการใส่ท่อช่วยหายใจร้อยละ 9.3, 10 และ 14.9 ตามลำดับ7-10  แต่ภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นมากที่สุด คือ การบาดเจ็บของเนื้อเยื่อทางเดินหายใจส่วนบน 26 ราย (ร้อยละ 13.5) รองลงมาได้แก่ใส่ท่อช่วยหายใจยาก 12 ราย (ร้อยละ 6.3) และใส่ท่อลงกระเพาะอาหาร 10 ราย (ร้อยละ 5.2) คล้ายคลึงกับผลการศึกษาของ Wongyingsinn และคณะ3 ซึ่งศึกษาภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นจากการใส่ท่อช่วยหายใจของแพทย์ในห้องฉุกเฉิน พบว่าในผู้ป่วยที่ได้รับการใส่ท่อช่วยหายใจทั้งหมดจำนวน 757 ราย  แพทย์ส่วนใหญ่ไม่ใช้เทคนิค rapid sequence induction เนื่องจากไม่คุ้นเคยกับวิธีการ และยังไม่มั่นใจในการใช้ยาหย่อนกล้ามเนื้อ ภาวะแทรกซ้อนที่พบได้แก่ บาดเจ็บที่เนื้อเยื่ออ่อน (ร้อยละ 23) ความดันโลหิตตก (ร้อยละ 8.7) ใส่ท่อลงหลอดอาหาร (ร้อยละ 4.4) เป็นต้น

 

อุบัติการณ์ของการใส่ท่อช่วยหายใจลงหลอดอาหารร้อยละ 5.2 ซึ่งมากกว่าการศึกษาของ Wongyingsinn และคณะ3 เช่นเดียวกับ Timmermann และคณะ4 ซึ่งทำการศึกษาในผู้ป่วย 149 ราย ในโรงพยาบาลปฐมภูมิ พบว่ามี 10 รายที่ใส่ท่อลงหลอดอาหาร และ 7 ใน 10 ราย เสียชีวิตภายใน 24 ชั่วโมงหลังจากทำการรักษา

แต่การศึกษาครั้งนี้ไม่ได้ติดตามผลใน 24 ชั่วโมงหลังเกิดอุบัติการณ์ หากว่าแผนกฉุกเฉินมีการ monitor EtCO2 เพื่อเป็นการยืนยันว่าตำแหน่งถูกต้องเหมาะสมหรือไม่ในการใส่ท่อช่วยหายใจ น่าจะช่วยลดอุบัติการณ์การเกิดภาวะนี้ได้และควรมีการอบรมอย่างต่อเนื่องในเรื่องการจัดการเกี่ยวกับทางเดินหายใจในภาวะฉุกเฉิน11

สำหรับภาวะแทรกซ้อนจากการใส่ท่อช่วยหายใจนั้นที่พบเกิดจากวิสัญญีแพทย์และแพทย์ที่เข้าฝึกอบรมภาควิชาวิสัญญีวิทยามากที่สุด เนื่องจากระบบการดูแลผู้ป่วยในห้องฉุกเฉินของโรงพยาบาลศรีนครินทร์ งานบริการของวิสัญญีไม่ใช่ด่านแรกของผู้ป่วย ต้องผ่านการดูแลจากแพทย์แผนกอื่นๆก่อน เมื่อมีปัญหาด้านทางเดินหายใจหรือใส่ท่อช่วยหายใจไม่ได้หลังพยายามในเบื้องต้นจึงปรึกษาวิสัญญีแพทย์หรือแพทย์ที่เข้าฝึกอบรมภาควิชาวิสัญญีวิทยา ซึ่งผู้ป่วยมักจะได้รับการใส่ท่อช่วยหายใจหลายครั้งและเกิดภาวะแทรกซ้อนแล้วจึงทำให้จำนวนการเกิดภาวะแทรกซ้อนในแพทย์กลุ่มนี้สูงกว่ากลุ่มอื่น สอดคล้องกับงานวิจัยของ Thomas  และคณะ12 ที่ทำการศึกษาหาความสัมพันธ์ระหว่างจำนวนครั้งของการใส่ท่อช่วยหายใจ และภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นในผู้ป่วยอุบัติเหตุ พบว่าเมื่อจำนวนครั้งในการใส่ท่อช่วยหายใจเพิ่มขึ้น ภาวะแทรกซ้อนที่เกิดจะเพิ่มขึ้นด้วยอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ซึ่งทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรง เช่น ภาวะขาดออกซิเจนอย่างรุนแรงเพิ่มขึ้น 14 เท่า ภาวะใส่ท่อลงหลอดอาหารเพิ่มขึ้น 6 เท่าเมื่อมีการใส่ท่อช่วยหายใจซ้ำมากกว่า 2 ครั้ง เป็นต้น และสอดคล้องการการศึกษาของ Donald และคณะ13 ดังนั้นจากข้อมูลที่ได้จากการวิจัยนี้แสดงให้เห็นว่าควรมีการพัฒนาระบบการตามเพื่อปรึกษาทีมวิสัญญีในกรณีที่คิดว่าผู้ป่วยใส่ท่อช่วยหายใจยากหรือในกรณีที่ใส่ท่อช่วยหายใจไม่ได้ เพื่อให้ตามได้เร็วขึ้น พร้อมกับมีการ monitor EtCO2 เพื่อเป็นการยืนยันว่าตำแหน่งถูกต้องเหมาะสมหรือไม่ ซึ่งอาจช่วยลดจำนวนการเกิดภาวะแทรกซ้อนลงได้

          ข้อจำกัดของการศึกษานี้  คือการไม่ได้เก็บข้อมูลจำนวนครั้งของการใส่ท่อช่วยหายใจ และไม่ได้ติดตามภาวะแทรกซ้อนและผลหลังการใส่ท่อช่วยหายใจ 24 ชั่วโมงและในระยะยาว

 

สรุป

          ผู้ป่วยที่ได้รับการใส่ท่อช่วยหายใจโดยแพทย์ที่ห้องฉุกเฉินโรงพยาบาลศรีนครินทร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น แพทย์ที่ใส่ท่อช่วยหายใจมากที่สุด ได้แก่ อายุรแพทย์และแพทย์ที่เข้าฝึกอบรมภาควิชาอายุรศาสตร์ ภาวะแทรกซ้อนขณะใส่ท่อช่วยหายใจที่พบมากที่สุดได้แก่ การบาดเจ็บของเนื้อเยื่อทางเดินหายใจส่วนบน รองลงมา ได้แก่ ใส่ท่อช่วยหายใจยาก และใส่ท่อลงกระเพาะอาหาร

กิตติกรรมประกาศ

คณะผู้วิจัยขอขอบพระคุณคุณพะนอ เตชะอธิก ผู้ช่วยด้านการพัฒนางานบริการสู่ความเป็นเลิศ ฝ่ายการพยาบาล และทีมพยาบาลประจำห้องกู้ชีพ แผนกการพยาบาลอุบัติเหตุและฉุกเฉิน รพ.ศรีนครินทร์ ที่ให้ความร่วมมือในการดำเนินงานวิจัยในครั้งนี้ให้สำเร็จลุล่วงไปด้วยดีไว้ ณ ที่นี้ด้วย

เอกสารอ้างอิง

1.  Waraporn Chau-In. Airway management of the trauma victims. Srinagarind Med J 2006; 21: 59-76.

2.  Schwartz DE, Matthay MA, Cohen NH. Death and other complications of airway management in critically ill adults. Anesthesiology 1995; 82: 367–76.

3.  Wongyingsinn M, Songarj P, Assawinijkul T. A prospective observational study of tracheal intubation in an emergency department in a 2300-bed hospital of a developing country in a one-year period.  Emerg Med J 2009; 26: 604–8.

4.  Timmermann A, Eich C, Russo SG, Natge U, Brauera A, Rosenblattb WH, et al. Prehospital airway management: a prospective evaluation of anaesthesia trained emergency physicians. Resuscitation 2006; 70: 179–85.

5.  รายงานอุบัติการณ์ประจำปี 2553. แผนกฉุกเฉินโรงพยาบาลศรีนครินทร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

6.  Charuluxananan S, Punjasawadwong Y, Suraseranivongse S, Srisawasdi S, Kyokong O, Chinachoti T, et al. The Thai Anesthesia Incidents Study (THAI Study) of anesthetic outcomes: II. Anesthetic profiles and adverse events. J Med Assoc Thai 2005; 88 (Suppl 7): S14-29.

7.  Sakles JC, Laurin EG, Rantapaa AA. Airway management in the emergency department: a 1-year study of 610 tracheal intubations. Ann Emerg Med 1998; 31: 325–32.

8.  Sagarin MJ, Barton ED. Airway management by US and Canadian emergency medicine residents: a multicenter analysis of more than 6,000 endotracheal intubation attempts. Ann Emerg Med 2005; 46: 328–36.

9.  Tam AY, Lau FL. A prospective study of tracheal intubation in an emergency department in Hong Kong. Eur J Emerg Med 2001; 8: 305–10.

10.   Fathil SM,  Mahdi SNM, Che’Man Z, Hassan A. Ahmad Z, Ismail A K. A prospective study of tracheal intubation in an academic emergency department in Malaysia. Int J Emerg Med 2010; 3: 233–7.

11.   Chinachoti T, Suraseranivongse S, Pengpol W, Valairucha S. Delayed detection of esophageal intubation: Thai Anesthesia Incidents Study (THAI Study) database of 163,403 cases. J Med Assoc Thai 2005; 88 (Suppl 7): S69-75.

12.   Donald E, Bosma T, Kurth T, Isac G, Chittock D R. Complications of endotracheal intubation in the critically ill. Intensive Care Med 2008; 34: 1835–42.

13.   Mort TC. Emergency tracheal intubation: complications associated with repeated laryngoscopic attempts. Anesth Analg 2004; 99: 607–13.

 

 

Untitled Document
Article Location

Untitled Document
Article Option
       Abstract
       Fulltext
       PDF File
Untitled Document
 
ทำหน้าที่ ดึง Collection ที่เกี่ยวข้อง แสดง บทความ ตามที่ีมีใน collection ที่มีใน list Untitled Document
Another articles
in this topic collection

Surveillance of and Risk Fztors for Difficult Intubation At Srinagarind Hosipital (การเฝ้าระวังการใส่ท่อช่วยหายใจลำบากระหว่างการวางยาระงับความรู้สึกในโรงพยาบาลศรีนครินทร์ และปัจจัยที่เกี่ยวข้อง)
 
Surveillance of Drug Error during Anesthesia at Srinagarind Hospital Khon Kaen University (การเฝ้าระวังความผิดพลาดในการให้ยาระหว่างการให้ยาระงับความรู้สึกในโรงพยาบาลศรีนครินทร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น)
 
Incidence of Anesthesia-Associated Cardiac Arrest And Related Factors At Srinagarind Hospital (อุบัติการณ์ภาวะหัวใจหยุดเต้นและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการระงับความรู้สึกในโรงพยาบาลศรีนครินทร์)
 
New Trend Anesthesia for Cesarean Section (แนวโน้มการให้ยาระงับความรู้สึกเพื่อผ่าตัดคลอด)
 
<More>
Untitled Document
 
This article is under
this collection.

Anesthesia
 
 
 
 
Srinagarind Medical Journal,Faculty of Medicine, Khon Kaen University. Copy Right © All Rights Reserved.
 
 
 
 

 


Warning: Unknown: Your script possibly relies on a session side-effect which existed until PHP 4.2.3. Please be advised that the session extension does not consider global variables as a source of data, unless register_globals is enabled. You can disable this functionality and this warning by setting session.bug_compat_42 or session.bug_compat_warn to off, respectively in Unknown on line 0