Untitled Document
 
 
 
 
Untitled Document
Home
Current issue
Past issues
Topic collections
Search
e-journal Editor page

Effectiveness of Clinical Practice Guideline for the Prevention of Postoperative Nausea and Vomiting (PONV) in Srinagarind Hospital

การศึกษาประสิทธิผลการให้ยาตามแนวทางป้องกันภาวะคลื่นไส้อาเจียนหลังผ่าตัด ในโรงพยาบาลศรีนครินทร์

S Pongjanyakul (ศศิวิมล พงศ์จรรยากุล) 1, T Jimarsa (ธิรดา จิ่มอาษา) 2, W Taesiri (วรนุช แต้ศิริ) 3, B Gatekhlai (เบญจศิล เกตุคล้าย) 4, Waraporn Chau-In (วราภรณ์ เชื้ออินทร์) 5, M Wongswadiwat (มาลินี วงศ์สวัสดิวัฒน์) 6




หลักการและวัตถุประสงค์: ภาวะคลื่นไส้อาเจียนหลังผ่าตัด (PONV) เป็นภาวะแทรกซ้อนที่พบได้บ่อยภายใน 24 ชั่วโมงแรก หลังได้รับยาระงับความรู้สึกแบบทั่วไป ทำให้ผู้ป่วยต้องอยู่โรงพยาบาลนานขึ้นและความพึงพอใจของผู้ป่วยลดลง การวิจัยนี้ต้องการศึกษาประสิทธิผลของการให้ยาตามแนวทางป้องกันภาวะคลื่นไส้อาเจียนหลังผ่าตัดในกลุ่มผู้ป่วยที่มีปัจจัยเสี่ยงสูง

วิธีการศึกษา: เป็นการศึกษาเชิงพรรณนาแบบย้อนหลัง โดยศึกษาข้อมูลจากแบบบันทึกการระงับความรู้สึกแบบทั่วไป ในโรงพยาบาลศรีนครินทร์ หลังประกาศใช้แนวทางป้องกันภาวะคลื่นไส้อาเจียนหลังผ่าตัดในกลุ่มผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงสูง ตั้งแต่เดือนพฤษภาคมถึงกรกฎาคม พ.. 2554 โดยบันทึกข้อมูล ดังนี้ เพศ อายุ American Society of Anesthesiology (ASA) classification ประเภทของการผ่าตัด ระยะที่เกิดอุบัติการณ์ ระดับความรุนแรงของ PONV และการปฏิบัติตามแนวทางของผู้ปฏิบัติงาน นำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ และติดตามประเมินผล ปัญหาและอุปสรรคในการนำไปใช้งานจริง  

ผลการศึกษา: จากแบบบันทึกการระงับความรู้สึกแบบทั่วไป มีผู้รับบริการจำนวน 3,329 ราย พบปัจจัยเสี่ยงสูงในการเกิด PONV 482 ราย (ร้อยละ 14.5) กลุ่มที่ได้รับยา dexamethasone ร่วมกับ ondansetron ตามแนวทาง ไม่เกิดภาวะ PONV ร้อยละ 89.0 (95% CI 85.2- 92.8) และไม่เกิดภาวะ PONV ระดับรุนแรง ส่วนกลุ่มที่ไม่ได้รับยาตามแนวทาง ไม่เกิดภาวะ PONV ร้อยละ 77.4 (95% CI 71.8- 83.0) ซึ่งแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ (P- value = 0.002) และเกิดภาวะ PONV ระดับรุนแรงร้อยละ 1.8

สรุป: การใช้ยา dexamethasone ร่วมกับ ondansetron ตามแนวทาง มีประสิทธิผลในการป้องกันการเกิดภาวะคลื่นไส้อาเจียนหลังผ่าตัดในกลุ่มที่มีปัจจัยเสี่ยงสูง ในช่วง 24 ชั่วโมงแรกหลังผ่าตัดได้

 

Background and objective: Postoperative nausea and vomiting (PONV) is the most common complication that occurs within the first 24 hours after anesthesia. This problem can lead to morbidity affects patients in the length of hospital stay, which could reduce customer satisfaction. The aim of   this study was to assess the effectiveness of clinical practice guidelines for the prevention of PONV in high-risk groups.

Methods: This was a retrospective descriptive study, the data were collected from post anesthesia records of  Srinagarind hospital. The approach adopted for the prevention of postoperative nausea and vomiting in patients at high risk groups. The data were collected from May to July 2011.The incidence of PONV to record the gender, age, American Society of Anesthesiology (ASA) classification, type of surgery, phase of an incident, the severity of PONV and  whether the guideline was followed. The data was analyzed and monitoring problems encountered in real applications.

Results: All 3,329 patients underwent general anesthesia, the high risk group were 482 patients (14.5%). Eighty nine (95 %CI 85.2 – 92.8) of the study group compared with 77.4% (95%CI 71.8 – 83.0) of the controlled group was no incidence of PONV with statistic significance (p-value 0.002). There was no severe PONV in the study group, when compared with controlled group (1.8%).

Conclusion: This study showed that dexamethasone and ondansetron are effective drugs for the prevention of PONV in high risk groups within 24 hours periods.

 

บทนำ

          อาการคลื่นไส้อาเจียนหลังผ่าตัด (postoperative nausea vomiting: PONV) เป็นภาวะแทรกซ้อนที่พบได้บ่อย ถึงร้อยละ 20-30 ของผู้ป่วยที่มารับการผ่าตัด1-4  ทำให้ผู้ป่วยไม่สุขสบาย เกิดแรงตึงขึ้นที่บริเวณแผลผ่าตัด อาจเกิดแผลแยกหรือเลือดออกใต้ชั้นผิวหนังบริเวณแผลผ่าตัด รวมถึงเพิ่มความเสี่ยงในการสำลักเศษอาหารเข้าหลอดลม จากฤทธิ์ของยาระงับความรู้สึกที่ยังหลงเหลือ ทำให้ airway reflex ทำงานไม่สมบูรณ์และถ้ามีอาการ PONV อยู่นาน อาจทำให้ขาดสารน้ำและเกลือแร่ ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ผู้ป่วยต้องอยู่ในห้องพักฟื้นนานขึ้น ส่งผลให้การจำหน่ายกลับบ้านล่าช้าออกไป ต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะกรณีผู้ป่วยที่มาผ่าตัดแบบผู้ป่วยนอก อาจจำเป็นต้องพักรักษาตัวในโรงพยาบาลโดยไม่ได้วางแผนไว้ล่วงหน้า1,2,4,5  ซึ่งโรงพยาบาลศรีนครินทร์ได้สร้างแนวทางการป้องกันภาวะคลื่นไส้อาเจียนหลังผ่ าตัดในผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงสูงขึ้น ดังนี้ 1) เพศหญิง อายุ 15 – 50 ปี 2) ไม่สูบบุหรี่ 3) ได้รับการระงับความรู้สึกแบบทั่วไป 4) มีประวัติ PONV หรือเมารถ เมาเรือ 5) ได้รับการผ่าตัดโดยการส่องกล้องหรือผ่าตัดหูหรือผ่าตัดต่อมไทรอยด์ ถ้ามีปัจจัยเสี่ยง 3 ใน 5 ข้อหรือมีข้อ 4 หรือ 5 ถือว่าเป็นกลุ่มที่มีปัจจัยเสี่ยงสูง จะให้ยา dexamethasone 4 มิลลิกรัม และ ondansetron 4 มิลลิกรัมทางหลอดเลือดดำ ก่อนเสร็จผ่าตัด 30 นาที กรณีมีโรคประจำตัวเป็นเบาหวาน การทำงานของไตลดลง หรือผู้ป่วยภูมิคุ้มกันต่ำ ซึ่งมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ เช่น leukemia, sepsis ให้เฉพาะยา ondansetron 4 มิลลิกรัมทางหลอดเลือดดำ ก่อนเสร็จผ่าตัด 30 นาที 6 (ภาคผนวก 1) ซึ่งแนวทางนี้ได้ทดลองใช้ในหน่วยงานแล้ว ดังนั้นคณะผู้วิจัยจึงต้องการตรวจสอบประสิทธิผลของการให้ยาตามแนวทาง เพื่อนำข้อมูลที่ได้มาปรับปรุงแนวทางให้เหมาะสมยิ่งขึ้น

วิธีการศึกษา

            เป็นการศึกษาเชิงพรรณนาแบบย้อนหลัง การศึกษานี้ได้รับการยกเว้นการพิจารณาจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น เลขที่โครงการ HE 541051 โดยศึกษาข้อมูลจากแบบบันทึกการระงับความรู้สึกแบบทั่วไปและรายงานอุบัติการณ์การเกิดภาวะคลื่นไส้อาเจียนหลังผ่าตัดในโรงพยาบาลศรีนครินทร์ หลังประกาศใช้แนวทางคลื่นไส้อาเจียนหลังผ่าตัดในกลุ่มผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงสูง โดยเก็บข้อมูลย้อนหลังตั้งแต่ 1 พฤษภาคม – 31 กรกฎาคม พ.. 2554 โดยทีมวิจัยซึ่งเป็นวิสัญญีพยาบาลจำนวน 4 คนที่ได้รับการชี้แจงวิธีการเก็บข้อมูลอย่างละเอียดและเลือกแบบบันทึกของผู้ป่วยที่มีปัจจัยเสี่ยงสูงในการเกิดภาวะ PONV เพื่อบันทึกข้อมูล ดังนี้  เพศ อายุ วิธีการระงับความรู้สึก American Society of Anesthesiology (ASA) classification ประเภทของการผ่าตัด ระยะที่เกิดอุบัติการณ์ ระดับความรุนแรงของ PONV และการปฏิบัติตามแนวทางของผู้ปฏิบัติงาน นำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ และติดตามประเมินผล ปัญหาและอุปสรรคในการนำไปใช้งานจริง  โดยภาควิชาฯ ได้กำหนดเป้าหมายการเกิดภาวะ PONV ระดับรุนแรง ขึ้นเมื่อปี พ.. 2554 เป็นน้อยกว่าหรือเท่ากับ 35 :10,000

การคำนวณขนาดตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา จากอุบัติการณ์เกิดภาวะ PONV ร้อยละ 25 ยอมรับความคลาดเคลื่อนได้ร้อยละ 5 ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 ได้ขนาดตัวอย่างจำนวน 289 ราย แต่ผู้วิจัยเก็บข้อมูลผู้ป่วยในช่วงเวลา 3 เดือน ซึ่งได้ขนาดตัวอย่างจำนวน 482 ราย

นิยามศัพท์ที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่

1.    ระดับการเกิด PONV แบ่งเป็น 4 ระดับ คือ                                                                                                       

1)    None คือ ไม่มีอาการ

2)    Mild คือมีอาการคลื่นไส้อย่างเดียว ไม่ต้องการการรักษา

3)    Moderate คือมีอาการคลื่นไส้และอาเจียนร่วมด้วยและต้องการการรักษา

4)     Severe คือมีอาการคลื่นไส้และอาเจียนร่วมด้วย ได้รับการรักษาโดยให้ยาแก้คลื่นไส้อาเจียนมากกว่า 1 ครั้ง

2.    ระยะที่เกิด PONV แบ่งเป็น 2 ระยะ คือ

1)  ในห้องพักฟื้น

2)  ภายใน 24 ชั่วโมงหลังผ่าตัดที่หอผู้ป่วย (ประเมินอาการ PONV ที่หอผู้ป่วย โดยวิสัญญีพยาบาล ที่เยี่ยมอาการหลังการระงับความรู้สึกภายใน 24 ชั่วโมงโดยไม่ได้ระบุเวลา)

3. ประสิทธิผลของการให้ยา หมายถึง ผู้ป่วยที่ได้รับยาป้องกันภาวะ PONV ตามแนวทางสามารถลดจำนวนผู้ป่วยและความรุนแรงของการเกิดภาวะ PONV

          การวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ นำเสนอในรูปแบบร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เปรียบเทียบทางสถิติโดยใช้ chi- square test (ค่า p ที่น้อยกว่า 0.05 ถือเป็นนัยสำคัญ) โดยโปรแกรม SPSS (version 19.0)

 

ผลการศึกษา

            จากแบบบันทึกการระงับความรู้สึกแบบทั่วไป มีผู้รับบริการจำนวน 3,329 ราย เป็นกลุ่มผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงสูงที่จะเกิดภาวะคลื่นไส้อาเจียนหลังผ่าตัดจำนวน 482 ราย คิดเป็นร้อยละ 14.5 ของผู้ป่วยทั้งหมด (ไม่มี missing data) พบในเพศหญิงมากที่สุด 458 ราย (ร้อยละ 95) โดยส่วนใหญ่มีอายุเฉลี่ย 39.9+ 12.6 ปี และเมื่อแบ่งตาม ASA Physical  status classification พบว่าเป็นผู้ป่วย ASA class 1 จำนวน 269 ราย (ร้อยละ 55.8) (ตารางที่ 1)

Table 1 Demographic data of high risk patients

Data

High risk patients  (n = 482)

Sex :  n (%)

 

Male

24 (5.0)

Female

458 (95.0)

Age (yr): mean ± SD

39.9± 12.6

ASA class: n (%)

 

1

269 (55.8)

2

196 (40.7)

3

17 (3.5)

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ASA class = American Society of Anesthesiology Classification

 

กลุ่มผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงสูงควรได้รับยาตามแนวทางที่กำหนดขึ้นทั้งหมด 482 ราย มีผู้ป่วยที่ได้รับยาตามแนวทางจำนวน 265 ราย (ร้อยละ 55) และไม่พบภาวะ PONV ระดับรุนแรงในผู้ป่วยกลุ่มนี้ ส่วนผู้ป่วยจำนวน 217 ราย (ร้อยละ 45) ไม่ได้รับยาหรือได้รับยาแตกต่างจากแนวทางที่กำหนด ซึ่งในผู้ป่วยกลุ่มนี้ร้อยละ 69.6 ไม่ได้รับยาป้องกันการเกิดภาวะ PONV เลย มีผู้ป่วยร้อยละ 30.4 ได้รับยาขนาดแตกต่างจากแนวทางและเกิดภาวะ PONV ระดับรุนแรงจำนวน 4 ราย (ร้อยละ 1.8) (ตารางที่ 2)

 

Table 2 Number of PONV patients after application of prevention PONV guideline in high risk group

Severity of PONV

ผู้ป่วยที่มีปัจจัยเสี่ยงสูง

 n = 482

ผู้ป่วยที่ได้รับยาตามแนวทาง n = 265

n (%)

ผู้ป่วยที่ไม่ได้รับยาตามแนวทาง n = 217

n (%)

None*

236 (89.0)

168 (77.4)

Mild

15 (5.7)

21 (9.7)

Moderate

14 (5.3)

24 (11.1)

Severe

0

4 (1.8)

PONV = post operative nausea and vomiting

* Eighty nine percent (95 % CI 85.2 – 92.8) of the study group compared with 77.4% (95% CI 71.8 – 83.0) of the controlled group was no incidence of PONV with statistic significance (P-value = 0.002), chi- square test.

 

เมื่อพิจารณาช่วงเวลาที่เกิดภาวะ PONV พบว่าเกิดในช่วงหลังผ่าตัด 24 ชั่วโมงที่หอผู้ป่วยมากที่สุด 70 ราย (ร้อยละ 89.7) (ตารางที่ 3)

 

Table 3 Incidence of PONV within 24 hours

Severity of PONV

Post operative period

PACU: n (%)

 24 hours postoperative: n (%)

Mild

2 (2.6)

34 (43.6)

Moderate

6 (7.7)

32 (41.0)

Severe

0

4 (5.1)

Total

8 (10.3)

70 (89.7)

PACU = post anesthesia care unit, 24 hours postoperative = post operative within 24 hours at ward

ส่วนชนิดของการผ่าตัดที่เกิดภาวะ PONV ระดับรุนแรงมากที่สุดคือ การผ่าตัดเต้านม การผ่าตัดตาและการผ่าตัด maxilo facial (ตารางที่ 4)

Table 4 Severity of PONV related to site of operation

Site of operation

Severity of PONV: n (%)

none

mild

moderate

severe

1. Breast

23 (4.8)

3 (0.6)

1 (0.2)

2 (0.4)

2. Eye

13 (2.7)

1 (0.2)

0

1 (0.2)

3. Maxilo facial

21 (4.4)

1 (0.2)

5 (1.0)

1 (0.2)

4. Upper abdomen

6 (1.2)

1 (0.2)

0

0

5. Lower abdomen

82 (17.0)

5 (1.0)

6 (1.2)

0

6. Laparoscopic surgery

102 (21.2)

7 (1.5)

5 (1.0)

0

7. Thyroid

54 (11.2)

7 (1.5)

6 (1.2)

0

8. Ear

14 (2.9)

3 (0.6)

2 (0.4)

0

9. Spine

9 (1.9)

2 (0.4)

3 (0.6)

0

10. Extremitry

21 (4.4)

0

5 (1.0)

0

11. Other

59 (12.2)

6 (1.2)

5 (1.0)

0

Total

404 (83.8)

36 (7.5)

38 (7.9)

4 (0.8)

วิจารณ์

          ในการวิจัยครั้งนี้พบว่าผู้ป่วยที่ได้รับยาตามแนวทางนั้นไม่พบภาวะ PONV ในระดับรุนแรงรวมถึงสามารถป้องกันการเกิดภาวะ PONV ได้ถึงร้อยละ 89  ซึ่งการให้ยาป้องกันการเกิดภาวะ PONV  ก็เป็นวิธีหนึ่งที่ช่วยลดการเกิดและลดระดับความรุนแรง แต่ยังมีปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ ที่ทำให้เกิดภาวะ PONV ได้ เช่น การใช้ anesthetics  volatile, nitrous oxide ในการระงับความรู้สึก การใช้ยาระงับปวดระหว่างผ่าตัดและหลังผ่าตัด รวมถึงระยะเวลาในการผ่าตัดตั้งแต่ 30 นาทีขึ้นไป ซึ่งปัจจัยเหล่านี้ควบคุมได้ยาก ส่วนผู้ป่วยที่ไม่ได้รับยาตามแนวทางพบภาวะ PONV ระดับรุนแรงร้อยละ 1.8 และพบภาวะ PONV ระดับเล็กน้อยถึงปานกลางมากกว่ากลุ่มที่ได้ยาตามแนวทาง จากงานวิจัยพบว่า dexamethasone 4 มิลลิกรัม ร่วมกับยา ondansetron 4 มิลลิกรัม ทางหลอดเลือดดำ ช่วยลดจำนวนและอัตราการเกิดภาวะ PONV ระดับรุนแรงได้

ส่วนช่วงเวลาที่เกิดภาวะ PONV เกิดในช่วงหลังผ่าตัด 24 ชั่วโมงที่หอผู้ป่วยถึงร้อยละ 89.7 คณะผู้วิจัยได้เห็นความสำคัญในการดูแลคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย จึงร่วมกันสร้างแนวทางการรักษาภาวะ PONV ในห้องพักฟื้นและต่อเนื่องที่หอผู้ป่วยขึ้น (ภาคผนวก 2) ซึ่งควรมีการศึกษาประสิทธิภาพและปัญหาการใช้แนวทางนี้ต่อไป

          Gan และคณะ2,7   ได้ศึกษาการเกิดภาวะ PONV กับชนิดของการผ่าตัดพบว่าการผ่าตัดเต้านม การผ่าตัดตา มีความเสี่ยงสูงซึ่งสอดคล้องกับการศึกษาครั้งนี้ ซึ่งคณะผู้วิจัยจะนำข้อมูลนี้มาปรับปรุงแนวทางให้ครอบคลุมยิ่งขึ้น

ในกลุ่มที่ไม่ได้ปฏิบัติตามแนวทาง คือไม่ได้รับยาป้องกันการเกิด PONV เลยหรือได้ยาขนาดแตกต่างจากแนวทาง จากการสอบถามเหตุผลบุคลากรที่ไม่ปฏิบัติตามแนวทาง ทั้งที่ได้ประกาศใช้แล้วพบว่า ส่วนใหญ่คือ ลืม ยุ่งและบางคนไม่ทราบว่ามีแนวทาง แต่มีผู้ป่วยบางกลุ่ม (ร้อยละ 30.4) ได้รับยาแตกต่างจากแนวทาง โดยได้รับยาดังนี้ dexamethasone อย่างเดียวร้อยละ 42.4 ได้ยา ondansetron อย่างเดียวร้อยละ 22.7 และได้ยา dexamethasone ร่วมกับยา ondansetron แต่ขนาดยาแตกต่างจากแนวทางร้อยละ 18.2 ซึ่งในผู้ป่วยกลุ่มนี้พบว่าเกิดภาวะ PONV ระดับปานกลางถึงรุนแรงร้อยละ 10.6 เมื่อเทียบกับกลุ่มที่ได้รับยาตามแนวทางที่พบว่ามีภาวะ PONV ระดับปานกลางเพียงร้อยละ 5.3 และไม่เกิดภาวะ PONV ระดับรุนแรง แสดงให้เห็นว่าการให้ยาตามแนวทางสามารถลดระดับความรุนแรงของการเกิดภาวะ PONV ได้  ทางคณะผู้วิจัยจึงพยายามหาวิธีที่จะทำให้บุคลากรปฏิบัติตามแนวทางให้มากขึ้น ซึ่งกำลังอยู่ระหว่างการศึกษา

หลังการประชาสัมพันธ์การใช้แนวทางการป้องกันภาวะ PONV เมื่อเดือนมีนาคม 2554 คณะผู้วิจัยได้กำหนด KPI ของภาควิชาฯ ขึ้น ดังนี้ผู้ป่วยที่มีภาวะ PONV ระดับรุนแรง ≤ 35: 10,000  ซึ่งในปี พ.. 2555 และ 2556 พบว่าเกิดอุบัติการณ์ PONV ระดับรุนแรง 32.6 และ 29.2: 10,000 ตามลำดับ ซึ่งอุบติการณ์ลดลงเป็นที่น่าพอใจ แต่อย่างไรก็ดีเพื่อเป็นการเพิ่มคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยและพัฒนางานบริการให้ดียิ่งขึ้น ควรลดอัตราการเกิดภาวะ PONV ระดับปานกลางด้วย

Gan และคณะ2,4  ได้ศึกษาพบว่าขนาดและระยะเวลาในการให้ยาเพื่อป้องกัน PONV คือ ondansetron ขนาด 4-8 มิลลิกรัม ให้ขณะเสร็จผ่าตัดและ dexamethasone ขนาด 4-10 มิลลิกรัม ให้ขณะเริ่มให้ยาระงับความรู้สึก สามารถป้องกันการเกิดภาวะคลื่นไส้อาเจียนหลังผ่าตัดได้ ในผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงสูง ควรได้ยาร่วมกัน 2 ชนิดซึ่งมีกลไกการออกฤทธิ์ที่แตกต่างกัน8  เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการป้องกันการเกิดคลื่นไส้อาเจียนหลังผ่าตัด

จากการศึกษาเมื่อคำนวณค่าใช้จ่ายในการให้ยาตามแนวทาง พบว่าเฉพาะค่ายาทั้งสองชนิดรวมกัน 15 บาท ซึ่งเป็นค่าใช้จ่ายเพียงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับค่าใช้จ่ายที่อาจเกิดจะขึ้นเมื่อผู้ป่วยมีอาการมาก

 

สรุป

การใช้ยา dexamethasone ร่วมกับ ondansetron ตามแนวทาง มีประสิทธิผลในการป้องกันการเกิดภาวะคลื่นไส้อาเจียนหลังผ่าตัดในกลุ่มที่มีปัจจัยเสี่ยงสูง ในช่วง 24 ชั่วโมงแรกหลังผ่าตัดได้

 

กิตติกรรมประกาศ

ขอขอบคุณบุคลากรภาควิชาวิสัญญีวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่นที่ให้ความร่วมมือในการทำวิจัย และคุณแก้วใจ  เทพสุธรรมรัตน์ นักวิชาการศึกษา หน่วยระบาดวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ที่ให้คำปรึกษาด้านสถิติและการนำเสนอข้อมูล

 

แผนภูมิที่ 1 แนวทางการป้องกันภาวะคลื่นไส้อาเจียนหลังผ่าตัด (PONV) ในผู้ป่วยอายุ ³ 15 ปี

 

แผนภูมิที่ 2     แนวทางการรักษาภาวะคลื่นไส้อาเจียนหลังผ่าตัด (PONV) ในห้องพักฟื้นในผู้ป่วยอายุ ³ 15 ปี

 

เอกสารอ้างอิง

1.  Wongswadiwat  M. Postoperative nausea and vomiting: An update. Srinagarind Med J 2000; 15: 283 - 7.

2.  Gan TJ, Meyer T, Apfel CC, Chung F, Davis PJ, Eubanks S, et al. Consensus guidelines for managing postoperative nausea and vomiting. Anesth Analg 2003; 97: 62-71.

3.  Deane Y, Valentine RGN. An audit of nausea and vomiting in a post anesthetic care unit. British J Anesthetic & Recovery Nursing 2005; 6: 4-6.

4.  Gan TJ, Meyer T, Apfel CC, Chung F, Davis PJ, Habib AS, et al. Society for ambulatory anesthesia guidelines for the management of postoperative nausea and vomiting. Anesth Analg 2007; 105:1615-28.

5.  The American Society of PeriAnesthesia Nurses (ASPAN). ASPAN’S evidence-based clinical practice guideline for the prevention and/or management of PONV/PDNV. J PeriAnesthesia Nursing 2006; 21: 230- 50.

6.  Jimarsa T, Pongjanyakul S, Taesiri W, Gatekhlai B, Chau-In W, Wongswadiwat  M.  Developing a Guideline for the prevention of Postoperative Nausea and Vomiting after general anesthesia in Srinagarind Hospital. Thai Journal of Anesthesiology. 2014; 40: 97-106.

7.  Gan TJ. Risk factors for postoperative nausea and vomiting. Anasth Analg 2006; 102: 1884 - 98.

8.  Apfel CC, Läärä E, Koivuranta M, Greim CA, Roewer N. A simplified risk score for predicting postoperative nausea and vomiting. Anesthesiology 1999; 91: 693–700.

 

 

Untitled Document
Article Location

Untitled Document
Article Option
       Abstract
       Fulltext
       PDF File
Untitled Document
 
ทำหน้าที่ ดึง Collection ที่เกี่ยวข้อง แสดง บทความ ตามที่ีมีใน collection ที่มีใน list Untitled Document
Another articles
in this topic collection

Surveillance of and Risk Fztors for Difficult Intubation At Srinagarind Hosipital (การเฝ้าระวังการใส่ท่อช่วยหายใจลำบากระหว่างการวางยาระงับความรู้สึกในโรงพยาบาลศรีนครินทร์ และปัจจัยที่เกี่ยวข้อง)
 
Surveillance of Drug Error during Anesthesia at Srinagarind Hospital Khon Kaen University (การเฝ้าระวังความผิดพลาดในการให้ยาระหว่างการให้ยาระงับความรู้สึกในโรงพยาบาลศรีนครินทร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น)
 
Incidence of Anesthesia-Associated Cardiac Arrest And Related Factors At Srinagarind Hospital (อุบัติการณ์ภาวะหัวใจหยุดเต้นและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการระงับความรู้สึกในโรงพยาบาลศรีนครินทร์)
 
New Trend Anesthesia for Cesarean Section (แนวโน้มการให้ยาระงับความรู้สึกเพื่อผ่าตัดคลอด)
 
<More>
Untitled Document
 
This article is under
this collection.

Anesthesia
 
 
 
 
Srinagarind Medical Journal,Faculty of Medicine, Khon Kaen University. Copy Right © All Rights Reserved.
 
 
 
 

 


Warning: Unknown: Your script possibly relies on a session side-effect which existed until PHP 4.2.3. Please be advised that the session extension does not consider global variables as a source of data, unless register_globals is enabled. You can disable this functionality and this warning by setting session.bug_compat_42 or session.bug_compat_warn to off, respectively in Unknown on line 0