e-journal Editor page
A Development of Practice Guideline for Prevention of Anesthetic Equipments Losing การพัฒนาแนวทางปฏิบัติเพื่อป้องกันการสูญหายของอุปกรณ์ทางวิสัญญี
Wilawan Somdee (วิลาวัลย์ สมดี) 1, Suhattaya Boonmak (สุหัทยา บุญมาก) 2, Polpun Boonmak (พลพันธ์ บุญมาก) 3, Khochakron Palachewa (กชกร พลาชีวะ) 4, Penvisa Naewthong (เพ็ญวิสา แนวทอง) 5, Angsana Poomdang (อังสนา ภูมิแดง) 6, Radda Kumhom (รัดดา กำหอม) 7, Pakamon Upadit (ภคมน อุปดิษฐ์) 8, Hom Muangson (หอม เมืองสนธิ์) 9
บทคัดย่อ
หลักการและวัตถุประสงค์: ผู้ป่วยทุกรายที่ได้รับบริการทางวิสัญญีจำเป็นต้องได้รับการเฝ้าระวังและดูแลตลอดเวลาโดยใช้อุปกรณ์ทางวิสัญญี ภาควิชาวิสัญญีวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น มีอุปกรณ์ทางวิสัญญีสำหรับห้องผ่าตัด 20 ห้องและห้องพักฟื้น 2 ห้อง จำนวน 1,020 รายการ การตรวจสอบอุปกรณ์ให้คงอยู่เป็นสิ่งสำคัญ ซึ่งแม้ว่ามีการตรวจสอบทุกวันก็ยังมีอุปกรณ์สูญหาย การศึกษานี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาแนวทางปฏิบัติการป้องกันอุปกรณ์ทางวิสัญญีสูญหายโดยใช้กระบวนการระดมความคิดและศึกษาอัตราการสูญหายของอุปกรณ์ทางวิสัญญีภายหลังใช้แนวทาง
วิธีการศึกษา: เป็นการศึกษาเชิงพรรณนา ในช่วง 1 มกราคม 2552 - 31 ธันวาคม 2554 ที่ภาควิชาวิสัญญีวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น โดยการระดมความคิดกับกลุ่มบุคลากรในภาควิชา (วิสัญญีพยาบาล แพทย์ผู้ฝึกอบรม นักเรียนวิสัญญีพยาบาล) และหน่วยงานอื่น (แผนกการพยาบาลห้องผ่าตัด แผนกการพยาบาลผู้ป่วยวิกฤติ หน่วยซักฟอก) เพื่อหาสาเหตุและวิธีป้องกัน จากนั้นนำข้อมูลที่ได้มาทำแนวทางปฏิบัติการป้องกันอุปกรณ์ทางวิสัญญีสูญหาย จากนั้นได้เผยแพร่ในหน่วยงานและรณรงค์ให้มีการปฏิบัติแนวทางอย่างต่อเนื่อง และทำการเก็บข้อมูลจำนวนอุปกรณ์ทางวิสัญญีที่สูญหาย
ผลการศึกษา: มีผู้เข้าร่วมการระดมความคิดเพื่อพัฒนาแนวทางปฏิบัติโดยการค้นปัญหาและสร้างแนวทางปฏิบัติจำนวน 137 ราย ภายหลังการใช้แนวทางปฏิบัติพบว่าจำนวนอุปกรณ์ทางวิสัญญีที่สูญหายในปีพ.ศ. 2553, 2554 น้อยลงกว่าปีพ.ศ. 2552 โดยปีพ.ศ. 2553 มีอุปกรณ์สูญหายลดลงร้อยละ 12 (ค่าใช้จ่ายลดลงร้อยละ 82.3) ปีพ.ศ. 2554 มีอุปกรณ์สูญหายลดลงร้อยละ 62 (ค่าใช้จ่ายลดลงร้อยละ 88.8)
สรุป: แนวทางปฏิบัติการป้องกันอุปกรณ์ทางวิสัญญีสูญหายที่พัฒนา รวมทั้งการรณรงค์ให้มีการปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง สามารถลดอัตราการสูญหายและลดค่าใช้จ่ายในการจัดซื้ออุปกรณ์การแพทย์
คำสำคัญ: อุปกรณ์ทางวิสัญญี การสูญหาย และการจัดหา
Background and objective: Patients who received anesthesia service required anesthesia equipments aims to monitor and care during anesthetic. At department of anesthesiology, faculty of medicine, Khon Kaen university, we have 1,020 anesthesia equipments for 20 operating rooms and 2 post anesthetic care units. Although, we checked them daily, losing equipment always happen. So, losing prevention is very importance. This study aims to develop the anesthetic equipment losing prevention guideline by brainstorming technique and study the losing incidence after guideline launched.
Method: This study was descriptive study. We studied between 1 January 2009 - 31 December 2011 at department of anesthesiology. Brainstorming group was included personnel in department (nurse anesthetists, nurse anesthetist students, residents) and others unit (operating nurse, critical care nurse, laundry personnel) aimed to search problem, find prevention technique, and develop the guideline. Then we introduced the guideline to all personnel and have campaign for prevention. We also recorded incidence of anesthetic loss.
Results: One hundred and thirty seven personnel were included into study. After guideline launched, losing incidence in year 2010, 20111 were lesser than in year 2009. In year 2009, 18 pieces were loss (cost 40,000 baht). In year 2010, 16 pieces were loss (12 % reduction) and cost was 7,063 baht (82.3 % reduction). In year 2011, 7 pieces were loss (62 % reduction) and cost was 4,500 baht (88.8 % reduction).
Conclusion: Guideline for prevention of anesthetic equipment loss. That developed by brain storming technique including campaign for prevention can reduce losing incidence and reduce the cost for replacement.
Keywords: Anesthetic Equipment, Losing and Supplies
บทนำ
การดูแลผู้ป่วยที่มารับบริการทางวิสัญญี ราชวิทยาลัยวิสัญญีแพทย์แห่งประเทศไทยได้กำหนดให้ผู้ป่วยทุกรายควรได้รับการประเมินระบบหายใจ ระบบไหลเวียนเลือด และอุณหภูมิกายตลอดเวลาระหว่างการให้ยาระงับความรู้สึกซึ่งจำเป็นต้องใช้อุปกรณ์เฝ้าระวังในการดูแลผู้ป่วยเพื่อช่วยให้การดูแลผู้ป่วยมีความปลอดภัยมากยิ่งขึ้น1 ภาควิชาวิสัญญีวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้มีการจัดหาอุปกรณ์ต่างๆ ตามมาตรฐานเพื่อใช้ในการดูแลให้ความปลอดภัยแก่ผู้ป่วยขณะได้รับยาระงับความรู้สึกหรือยาชาเฉพาะที่สำหรับห้องผ่าตัดจำนวน 20 ห้องผ่าตัดและห้องพักฟื้น 2 ห้อง โดยมีอุปกรณ์ทางวิสัญญีที่ต้องดูแลทั้งหมดรวม 1,020 รายการ ซึ่งแม้จะมีการตรวจสอบจำนวนอุปกรณ์ทางวิสัญญีโดยบุคลากรในภาควิชาวิสัญญีวิทยาและมีการลงบันทึกชื่อผู้ตรวจสอบในสมุดบันทึก แต่อย่างไรก็ตามยังคงมีการสูญหายของอุปกรณ์ที่ใช้กับเครื่องวางยาสลบและเครื่องมือเฝ้าระวังเป็นประจำ จากการทบทวนวรรณกรรมพบว่าปัจจัยที่ทำให้เกิดการสูญหายของอุปกรณ์ เกี่ยวข้องกับบุคลากร ลักษณะงาน การบริหารจัดการ เวลา อุปกรณ์และงบประมาณ การจัดเก็บเครื่องมืออุปกรณ์ของใช้ไม่เป็นระเบียบเรียบร้อย และผู้ปฏิบัติงานไม่ปฏิบัติตามแนวทางที่มี2 จากปัจจัยดังกล่าวข้างต้น ได้สร้างแนวทางปฏิบัติขึ้นและมีการรณรงค์อย่างต่อเนื่อง จากผลการรวบรวมข้อมูลปี 2552 พบว่ามีอุปกรณ์การแพทย์สูญหาย จำนวน 1 8 รายการ นอกจากนี้ยังพบปัญหาของการจัดเก็บเครื่องมืออุปกรณ์ของใช้ภายในห้องผ่าตัดไม่เป็นระเบียบเรียบร้อย และผู้ปฏิบัติงานไม่ปฏิบัติตามแนวทางทำให้เกิดการสูญหายของอุปกรณ์และเครื่องมือต่าง ๆ ดังนั้นคณะผู้วิจัยจึงต้องการศึกษาการพัฒนาแนวทางปฏิบัติ การป้องกันอุปกรณ์ทางวิสัญญีสูญหายโดยใช้กระบวนการระดมความคิดและการรณรงค์อย่างต่อเนื่อง รวมทั้ง ศึกษาอัตราการสูญหายของอุปกรณ์ทางวิสัญญีภายหลังใช้แนวทาง
วิธีการศึกษา
การศึกษานี้ผ่านการเห็นชอบจากคณะกรรมการพิจารณาจริยธรรมการทำวิจัยในมนุษย์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น เลขที่ HE531273 เป็นการศึกษาเชิงพรรณนา (descriptive study) โดยระดมความคิดกับกลุ่มบุคลากรในหน่วยงานและนอกหน่วยงาน (ที่เกี่ยวข้องกับอุปกรณ์ทางวิสัญญีทั้งหมด)ได้แก่ แพทย์ผู้ฝึกอบรม วิสัญญีพยาบาล นักเรียนวิสัญญีพยาบาล บุคลากรแผนกการพยาบาลห้องผ่าตัด แผนกการพยาบาลผู้ป่วยวิกฤติ และหน่วยซักฟอก และร่วมกันจัดทำแนวทางแก้ปัญหาในหน่วยงานและข้อตกลงนอกหน่วยงาน รวมทั้งรณรงค์ชี้แจงขอความร่วมมือการดูแลอุปกรณ์ในหน่วยงานและนอกหน่วยงาน จากนั้นทำการสำรวจข้อมูลจำนวนอุปกรณ์การแพทย์ที่สูญหายจากสมุดบันทึกการเบิกจ่ายอุปกรณ์การแพทย์ประจำวันที่นำไปใช้ในห้องผ่าตัดและห้องพักฟื้น โรงพยาบาลศรีนครินทร์ ตั้งแต่ 1 มกราคม 2552 - 31 ธันวาคม 2554 และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา โดยข้อมูลแบบไม่ต่อเนื่องแสดงด้วยค่าสถิติเป็นจำนวนและร้อยละ
ผลการศึกษา
มีผู้เข้าร่วมการศึกษาในการระดมความคิดพัฒนาแนวทางการป้องกันการสูญหายของอุปกรณ์ทางวิสัญญี (แผนภูมิที่ 1) ในหน่วยงานจำนวน 89 ราย นอกหน่วยงาน 48 ราย (บุคลากรแผนกการพยาบาลห้องผ่าตัด 20 ราย แผนกการพยาบาลผู้ป่วยวิกฤติ 20 ราย และหน่วยซักฟอก 8 ราย ) ภายหลังการพัฒนาแนวทางปฏิบัติพบว่าจากจำนวนอุปกรณ์ทางวิสัญญีที่สูญหาย ปี พ.ศ. 2552 จำนวน 18 ชิ้น คิดเป็นค่าใช้จ่าย 40,000 บาท ในปี พ .ศ . 2553 มีจำนวนอุปกรณ์ทางวิสัญญีสูญหาย จำนวน 16 ชิ้น คิดเป็นค่าใช้จ่าย 7,063 บาท โดยอัตราการสูญหายของอุปกรณ์ทางวิสัญญีเมื่อเปรียบเทียบระหว่างปี พ.ศ. 2552 และ 2553 ลดลงร้อยละ 11.1 และมีค่าใช้จ่ายลดลงคิดเป็นร้อยละ 82.3 และพบว่าในปี พ .ศ . 2554 มีจำนวนอุปกรณ์ทางวิสัญญีสูญหายจำนวน 7 ชิ้น คิดเป็นค่าใช้จ่าย 4,500 บาท เมื่อเทียบกับปี พ.ศ. 2552 อัตราการสูญหายของอุปกรณ์ลดลง คิดเป็นร้อยละ 61.1 และมีค่าใช้จ่ายลดลงคิดเป็นร้อยละ 88.8 (แผนภูมิที่ 2)
แผนภูมิที่ 1 แสดงแนวทางการป้องกันอุปกรณ์และเครื่องมือทางการแพทย์สูญหายของภาควิชาวิสัญญีวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
แผนภูมิที่ 2 อัตราการสูญหาย และราคาที่สูญเสียของอุปกรณ์ที่สูญหายในแต่ละปี
วิจารณ์
จากการศึกษาพบว่า ปี พ.ศ. 2552-2553 มีอุปกรณ์สูญหายจำนวน 16-18 ชิ้นตามลำดับ มีมูลค่าอุปกรณ์ที่สูญหาย 7,063-40,000 บาท และจากการศึกษาในปี พ.ศ. 2554 พบว่าหลังจากได้ปฏิบัติตามแนวทางการป้องกันการสูญหายของอุปกรณ์การแพทย์ในหน่วยงาน มีอุปกรณ์สูญหายจำนวน 7 ชิ้น มูลค่าอุปกรณ์การสูญหายเพียง 4,500 บาท โดยที่อุปกรณ์ที่สูญหายส่วนใหญ่ราคาไม่แพงได้แก่ BP cuff และเครื่องคิดเลข ซึ่งต่างจากการศึกษาก่อนหน้านี้ที่ พบว่ามีจำนวนและมูลค่าของอุปกรณ์ที่การสูญหายมากกว่า โดยเป็นอุปกรณ์ที่มีราคาแพง โดยมีอุปกรณ์สูญหายรวม 18 รายการได้แก่ BP cuff, temperature probe, head ring, oxygen saturation cable สำหรับผู้ใหญ่ oxygen saturation cable สำหรับเด็ก และเครื่องคิดเลข ซึ่งมีมูลค่าอุปกรณ์การสูญหายรวม 40,000 บาท3 ดังนั้นจากการศึกษาอุปกรณ์ที่สูญหายในภาพรวมหลังจากปฏิบัติตามแนวทางอย่างต่อเนื่องพบว่ามีจำนวนชิ้นและมูลค่าอุปกรณ์การสูญหายลดลง
จากการศึกษาได้ปรับปรุงแนวทางการป้องกันการสูญหายของอุปกรณ์การแพทย์ในหน่วยงานเป็นแผนภูมิซึ่งง่ายในการปฏิบัติในหน่วยงาน (แสดงดังแผนภูมิที่ 1) โดยบุคลากรที่ปฏิบัติตามแนวทางประกอบด้วย แพทย์ผู้ฝึกอบรม พยาบาล นักเรียนพยาบาล และได้ใช้ กิจกรรม 5 ส. 4 โดยหน่วยงานมีการจัดวางอุปกรณ์ที่ใช้ประจำในห้องผ่าตัดให้มีจำนวนและจุดที่วางให้เหมือนกันในแต่ละห้องผ่าตัด ทำความสะอาดอุปกรณ์และสิ่งของที่ใช้ทุกวันและมีการประชาสัมพันธ์อย่างต่อเนื่องในการปฏิบัติให้ถูกต้องและติดเป็นนิสัย จากการปฏิบัติอย่างต่อเนื่องผู้บริหารในหน่วยงานเห็นความสำคัญได้จัดทำเป็นนโยบายโดยกำหนดเป็นตัวชี้วัด ในการปฏิบัติงานของบุคลากรทุกราย และจากการศึกษาในครั้งนี้ถึงแม้บุคลากรจะให้ความร่วมมือในการปฏิบัติทำให้อุปกรณ์สูญหายลดลงแต่ยังไม่สามารถป้องกันการสูญหายของอุปกรณ์ในหน่วยงานได้ทั้งหมดจึงอาจมีการเพิ่มเติมในแนวทางปฏิบัติเพื่อพัฒนาการป้องกันไม่ไห้เกิดการสูญหายของอุปกรณ์ในหน่วยงานต่อไป
สรุป
การพัฒนาแนวทางปฏิบัติการป้องกันการสูญหายของอุปกรณ์การแพทย์และการรณรงค์ให้มีการปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง สามารถลดอัตราการสูญหายและลดค่าใช้จ่ายในการจัดซื้ออุปกรณ์การแพทย์ ในหน่วยงานที่มีอุปกรณ์จำนวนมาก
1. Society of Anesthesiologists [ internet] 2009 Available from: http://www.salus . it/anesth/asa/standard.html [ cited 2013, May 7].
2. Guideline determining anesthesia machine obsolescence. American Society of Anesthesiologists [internet] 2004 [ cited 2013, May 7]. Available from: http://bns.cpru.ac.th/organize/images/nurse song.gif
วิลาวัลย์ สมดี , อัครวัฒน์ สินเกื้อกูลกิจ, กชกร พลาชีวะ, พุ่มพวง สาระพานิชย์, เพ็ญวิสา แนวทอง , สมบูรณ์ เทียนทอง , และคณะ. ปัจจัยที่ทำให้เกิดการสูญหายของอุปกรณ์การแพทย์ทางด้านงานบริการวิสัญญี . ศรีนครินทร์เวชสาร. 2553; 2 : 125-30 .
5 ส. กับการพัฒนาระบบงาน. [internet] 2010. จาก http://www.thaifactory.com/Manage/5s.htm [อ้างเมื่อ 7 พฤษภาคม 255 6]
Untitled Document
Untitled Document
ทำหน้าที่ ดึง Collection ที่เกี่ยวข้อง
แสดง บทความ ตามที่ีมีใน collection ที่มีใน list
Untitled Document
Another articles
in this topic collection
Untitled Document
This article is under
this collection.