3. ปัจจัยทางด้านอันตรกิริยาระหว่างยา (Drug-drug interaction)
Clopidogrel จะถูกเมแทบอลิซึมให้กลายเป็น thiol metabolite ซึ่งมีฤทธิ์ต้านการเกาะกลุ่มของเกล็ดเลือดโดยอาศัยเอนไซม์ CYP หลายชนิด (รูปที่ 4 ) ดังนั้นการให้ยา clopidogrel ร่วมกับยาอื่นที่มีผลรบกวนกระบวนการเมแทบอลิซึมของ clopidogrel อาจส่งผลต่อระดับ thiol metabolite และฤทธิ์ต้านการเกาะกลุ่มของเกล็ดเลือด จากรายงานการศึกษาที่ผ่านมาพบว่ามียาหลายชนิดที่อาจส่งผลต่อกระบวนการเมแทบอลิซึมของยา clopidogrel และผู้ป่วยส่วนใหญ่มักได้รับยา clopidogrel ร่วมกับยารักษาโรคกลุ่มอื่น เช่น ยากลุ่ม statin เพื่อลดไขมันในหลอดเลือด, ยากลุ่ม calcium channael blockers เพื่อลดความดันเลือด หรือ ยากลุ่ม proton pump inhibitors เพื่อลดกรดป้องกันการเกิดแผลในกระเพาะอาหาร ดังนั้นจึงมีโอกาสสูงที่จะเกิดอันตรกิริยาระหว่างยา clopidogrel กับยาอื่นที่ได้รับร่วมด้วย

รูปที่ 4 กลุ่มยาที่อาจเกิดอันตรกิริยากับยา clopidogrel (Clopidogrel-drug interaction)
ดัดแปลงจาก (Bates, 2011)30
สำหรับยาลดระดับ cholesterol ในเลือดกลุ่ม statin โดยเฉพาะ lovastatin, simvastatin, atorvastatin จะถูกเมแทบอลิซึมในร่างกายโดยเอนไซม์ CYP3A4 ดังนั้นหากให้ยากลุ่มนี้ ร่วมกับ clopidogrel จะมีผลยับยั้ง CYP3A4 ซึ่งเป็นเอนไซม์ที่สำคัญในวิถีการเมแทบอลิซึมของยา clopidogrel จากการศึกษาผลของการให้ยา clopidogrel ร่วมกับ atorvastatin ในหลอดทดลอง พบว่า atorvastatin สามารถยับยั้งกระบวนการเมแทบอลิซึมของยา clopidogrel ได้มากกว่าร้อยละ 90 นอกจากนี้ยังพบว่า atorvarstatin และ simvastatin สามารถลดฤทธิ์การต้านการเกาะกลุ่มของเกล็ดเลือดของ clopidogrel ในหลอดทดลองได้ดี 32 อย่างไรก็ตามผลของการเกิดอันตรกิริยาระหว่างยา clopidogrel กับยากลุ่ม statin ในทางคลินิกยังไม่ชัดเจนเท่าใดนัก32
ยากลุ่ม proton pump inhibitor (PPIs) จะถูกเมแทบอลิซึมโดยอาศัยเอนไซม์ CYP2C19 เป็นหลัก ซึ่งหากมีการยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ CYP2C19 จะส่งผลให้ระดับ thiol metabolite ของ clopidogrel ลดลง ดังนั้นผู้ป่วยจึงมีความเสี่ยงที่จะเกิดอาการไม่พึงประสงค์จากการอุดตันของหลอดเลือด30 จากรายงานการศึกษาในหลอดทดลองพบว่า lanzoprazole สามารถยับยั้งการเมแทบอลิซึมของยา clopidogrel ได้ แต่ omeprazole ไม่มีผลดังกล่าว32 นอกจากนี้ยังมีจากรายงานการศึกษาในอาสาสมัครสุขภาพดีที่ได้รับยา clopidogrel 75 มิลลิกรัมต่อวัน ร่วมกับยากลุ่ม PPIs แต่ละชนิด (omeprazole, lansoprazole, rabeprazole) พบว่ายากลุ่ม PPIs แต่ละชนิดไม่มีผลต่อประสิทธิภาพในการยับยั้งการเกาะกลุ่มของเกล็ดเลือดของยา clopidogrel37 ส่วนผลการศึกษาทางคลินิกในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจและโรคหลอดเลือดสมองที่เกี่ยวกับผลของการเกิดอันตรกิริยาระหว่างยา clopidogrel กับยากลุ่ม PPIs ยังไม่ชัดเจนเท่าใดนัก30,34 แต่อย่างไรก็ตามเพื่อความปลอดภัยของผู้ป่วย ในเอกสารกำกับยา clopidogrel จึงยังคงมีข้อแนะนำว่าไม่ควรใช้ยานี้ร่วมกับยาที่มีฤทธิ์ยับยั้ง CYP2C19 เช่น omeprazole
สำหรับยากลุ่ม calcium channael blockers (CCBs) จะถูกเมแทบอลิซึมโดยอาศัยเอนไซม์ CYP3A4 เป็นหลัก ดังนั้นการใช้ยากลุ่ม CCBs ร่วมกับ clopidogrel จึงอาจซึ่งส่งผลรบกวนการเมแทบอลิซึมของยา clopidogrel เป็นผลทำให้ระดับ thiol metabolite และประสิทธิภาพในการต้านการเกาะกลุ่มของเกล็ดเลือดลดลงได้35 จากรายงานการศึกษาในผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจที่มีการรักษาผ่านสายสวน พบว่าผู้ป่วยที่ใช้ยา clopidogrel ร่วมกับยากลุ่ม CCBs จะมีค่าการเกาะกลุ่มของเกล็ดเลือดสูงกว่าผู้ป่วยที่ไม่ได้ใช้ยากลุ่ม CCBs อย่างไรก็ตามผลดังกล่าวขัดแย้งกับรายงานการวิจัยของ Li และคณะ ในผู้ป่วยโรคหัวใจขาดเลือด จำนวน 98ราย ที่ได้รับยา clopidogrel และ aspirin มาอย่างต่อเนื่อง ที่พบว่าในกลุ่มผู้ป่วยที่ได้รับยา clopidogrel และ aspirin ร่วมกับ amlodipine ไม่มีผลต่อประสิทธิภาพในการต้านการเกาะกลุ่มของเกล็ดเลือด36
อย่างไรก็ตามถึงแม้ว่าผลของการเกิดอันตรกิริยาระหว่างยา clopidogrel กับยาอื่นๆ ยังไม่มีความชัดเจนเท่าใดนัก แต่เพื่อปลอดภัยของผู้ป่วยจึงควรต้องมีการติดตามผลการรักษาอย่างสม่ำเสมอสำหรับผู้ป่วยที่มีการใช้ยาอื่นๆ ที่มีความเสี่ยงที่จะเกิดอันตรกิริยากับยา clopidogrel และควรอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์ผู้รักษาอย่างใกล้ชิด
สรุป
จากที่กล่าวมาทั้งหมด จะเห็นได้ว่ามีปัจจัยหลายปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพในการรักษาของยา clopidogrel มีหลายปัจจัยทั้งปัจจัยด้านความหลากหลายของเอนไซม์ที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการเมแทบอลิซึมยา อย่างไรก็ตาม จากหลักฐานการวิจัยชี้ให้เห็นว่า สูตรตำรับของผลิตภัณฑ์ยา clopiddogrel ที่มีรูปผลึกต่างกัน ไม่มีผลต่อประสิทธิภาพในการรักษาของยา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ รวมถึงการเกิดอันตรกิริยาระหว่างยา ซึ่งข้อมูลต่างๆ ที่รวบรวมและวิเคราะห์ในบทความนี้น่าจะเป็นประโยชน์ต่อแพทย์ เภสัชกร บุคคลกรทางการแพทย์ รวมทั้งผู้ป่วยที่ใช้ยานี้ สามารถนำความรู้เหล่านี้มาประยุกต์ใช้เพื่อให้การใช้ยา clopidogrel เป็นไปอย่างมีประสิทธิผล และมีความคุ้มค่าทางเศรษฐกิจมากยิ่งขึ้น
กิตติกรรมประกาศ
ผลงานนี้ได้รับการสนับสนุนจากโครงการส่งเสริมการวิจัยในอุดมศึกษาและการพัฒนามหาวิทยาลัยวิจัยแห่งชาติ ของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ผ่านศูนย์ความเป็นเลิศทางการวิจัยด้านสุขภาพที่จำเพาะของประชากรในประเทศอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง มหาวิทยาลัยขอนแก่น
เอกสารอ้างอิง
1. Hall R, Mazer CD. Antiplatelet drugs: a review of their pharmacology and management in the perioperative period. Anesth Analg 2011; 112:292-318.
2. Uchiyama S. Clopidogrel resistance: identifying and overcoming a barrier to effective antiplatelet treatment. Cardiovasc Ther 2011; 29:100-11.
3. Mani H, Toennes SW, Linnemann B, Urbanek DA, Schwonberg J, Kauert GF, et al. Determination of clopidogrel main metabolite in plasma: a useful tool for monitoring therapy? Ther Drug Monit 2008; 30:84-9.
4. Lacy C, Armstrong L, Goldman M, Lance L. Drug information handbook international 20thedition. Ohio: Lexi-Comp Inc, 2011.
5. Kastrup E, Wickersham R, Schweain S, Walsh J.Drug facts and comparisons. St. Louis, MO: Wolters Kluwer Health Inc, 2010
6. Nguyen TA, Diodati JG, Pharand C. Resistance to clopidogrel: a review of the evidence. J Am Coll Cardiol 2005; 45:1157-64.
7. Yin T, Miyata T. Pharmacogenomics of clopidogrel: evidence and perspectives. Thromb Res 2011; 128:307-16.
8. Zhu HJ, Patrick KS, Yuan HJ, Wang JS, Donovan JL, DeVane CL, et al. Two CES1 gene mutations lead to dysfunctional carboxylesterase 1 activity in man: clinical significance and molecular basis. Am J Hum Genet 2008; 82:1241-8.
9. Lewis JP, Horenstein RB, Ryan K, O'Connell JR, Gibson Q, Mitchell BD, et al. The functional G143E variant of carboxylesterase 1 is associated with increased clopidogrel active metabolite levels and greater clopidogrel response. Pharmacogenet Genomics 2013; 23:1-8.
10. Zhu HJ, Wang X, Gawronski B, Brinda B, Angiolillo D, Markowitz J. Carboxylesterase 1 as a determinant of clopidogrel metabolism and activation. J Pharmacol Exp Ther 2013; 344:665-72.
11. วิจิตรา ทัศนียกุล. การเมแทบอลิซึมยาในมนุษย์: จากพื้นฐานระดับยีนสู่การประยุกต์ใช้ทางคลินิก. กรุงเทพฯ: บียอนด์ เอ็นเทอร์ไพรซ์, 2554.
12. Shuldiner AR, O'Connell JR, Bliden KP, Gandhi A, Ryan K, Horenstein RB, et al. Association of cytochrome P450 2C19 genotype with the antiplatelet effect and clinical efficacy of clopidogrel therapy. JAMA 2009; 302:849-57.
13. Sibbing D, Koch W, Massberg S, Byrne RA, Mehilli J, Schulz S, et al. No association of paraoxonase-1 Q192R genotypes with platelet response to clopidogrel and risk of stent thrombosis after coronary stenting. Eur Heart J 2011; 32:1605-13.
14. Kreutz RP, Nystrom P, Kreutz Y, Miao J, Desta Z, Breall JA, et al. Influence of paraoxonase-1 Q192R and cytochrome P450 2C19 polymorphisms on clopidogrel response. Clin Pharmacol 2012; 4:13-20.
15. Bouman HJ, Schomig E, van Werkum JW, Velder J, Hackeng CM, Hirschhauser C, et al. Paraoxonase-1 is a major determinant of clopidogrel efficacy. Nat Med 2011; 17:110-6.
16. Tselepis AD, Tsoumani ME, Kalantzi KI, Dimitriou AA, Tellis CC, Goudevenos IA. Influence of high-density lipoprotein and paraoxonase-1 on platelet reactivity in patients with acute coronary syndromes receiving clopidogrel therapy. J Thromb Haemost 2011; 9:2371-8.
17. Tassaneeyakul W, Mahatthanatrakul W, Niwatananun K, Na-Bangchang K, Tawalee A, Krikreangsak N, et al. CYP2C19 genetic polymorphism in Thai, Burmese and Karen populations. Drug Metab Pharmacokinet 2006; 21:286-90.
18. Phuntuwate W, Suthisisang C, Koanantakul B, Mackness MI, Mackness B. Paraoxonase 1 status in the Thai population. J Hum Genet 2005; 50:293-300.
19. Fontana P, Dupont A, Gandrille S, Bachelot-Loza C, Reny JL, Aiach M, et al. Adenosine diphosphate-induced platelet aggregation is associated with P2Y12 gene sequence variations in healthy subjects. Circulation 2003; 108:989-95.
20. Cavallari U, Trabetti E, Malerba G, Biscuola M, Girelli D, Olivieri O, et al. Gene sequence variations of the platelet P2Y12 receptor are associated with coronary artery disease. BMC Med Genet 2007; 8:59.
21. Staritz P, Kurz K, Stoll M, Giannitsis E, Katus HA, Ivandic BT. Platelet reactivity and clopidogrel resistance are associated with the H2 haplotype of the P2Y12-ADP receptor gene. Int J Cardiol 2009; 133:341-5.
22. Angiolillo DJ, Fernandez-Ortiz A, Bernardo E, Ramirez C, Cavallari U, Trabetti E, et al. Lack of association between the P2Y12 receptor gene polymorphism and platelet response to clopidogrel in patients with coronary artery disease. Thromb Res 2005; 116:491-7.
23. Bonello L, Bonello-Palot N, Armero S, Bonello C, Mokhtar OA, Arques S, et al. Impact of P2Y12-ADP receptor polymorphism on the efficacy of clopidogrel dose-adjustment according to platelet reactivity monitoring in coronary artery disease patients. Thromb Res 2010; 125:167-70.
24. Setiawati A. The importance of bioequivalence study: focus on clopidogrel. Med J Indones 2011; 20:149-53.
25. Bousquet A, Castro B, Saint-Germain J. Polymorphic form of clopidogrel hydrogen sulphate. USA: US Patent 6504030; 2003.
26. Approved drug products with therapeutic equivalence evaluation 33rd edition, 2013.
Approved under section 505 of The Federal Food, Drug, and Cosmetic ACT, 2013: U.S. Department of Health and Human Services/ Available from: http://www.fda.gov/downloads/Drugs/DevelopmentApprovalProcess/UCM071436.pdf
27. Raw AS, Furness MS, Gill DS, Adams RC, Holcombe FO, Jr., Yu LX. Regulatory considerations of pharmaceutical solid polymorphism in Abbreviated New Drug Applications (ANDAs). Adv Drug Deliv Rev 2004; 56:397-414.
28. Ungprasert. J, Wongvipaporn. C, Ariyapim. N. Efficacy of Clopidogrel on Platelet Function Test in Cardiovascular Disease Patients at Khon Kaen University. Thai Heart J 2011; 24:54-61.
29. Srimahachota. S, Rojnuckarin. P, Jirapattrathamrong. S. Efficacy of original and generic clopidogrel 600 mg loading dose in coronary artery diseases. J Med Assoc Thai 2012; 95:
1495-500.
30. Bates ER, Lau WC, Angiolillo DJ. Clopidogrel-drug interactions. J Am Coll Cardiol 2011; 57:1251-63.
31. Dipiro J, Talbert R, Yee G, Matzke G, Wells B, Posey L. Pharmacotherapy: A Pathophysiology Approach 8th edition. New York: McGraw-Hill; 2010.
32. Zahno A, Brecht K, Bodmer M, Bur D, Tsakiris DA, Krahenbuhl S. Effects of drug interactions on biotransformation and antiplatelet effect of clopidogrel in vitro. Br J Pharmacol 2010 Sep; 161:393-404.
33. Schmidt M, Johansen MB, Maeng M, Kaltoft A, Jensen LO, Tilsted HH, et al. Concomitant use of clopidogrel and statins and risk of major adverse cardiovascular events following coronary stent implantation. Br J Clin Pharmacol 2012; 74:161-70.
34. Douglas IJ, Evans SJ, Hingorani AD, Grosso AM, Timmis A, Hemingway H, et al. Clopidogrel and interaction with proton pump inhibitors: comparison between cohort and within person study designs. BMJ 2012; 345:4388.
35. Gremmel T, Steiner S, Seidinger D, Koppensteiner R, Panzer S, Kopp CW. Calcium-channel blockers decrease clopidogrel-mediated platelet inhibition. Heart 2010; 96:186-9.
36. Li AY, Ng FH, Chan FK, Tunggal P, Chan K, Lau YK. Effect of amlodipine on platelet inhibition by clopidogrel in patients with ischaemic heart disease: a randomised, controlled trial. Heart 2013; 99:468-73.
37. Furuta T, Iwaki T, Umemura K. CInfluences of different proton pump inhibitors on theanti-platelet function of clopidogrel in relation to CYP2C19 genotypes. Br J Clin Pharmacol 2010; 70:383-92.