2. ข้อมูลการสั่งใช้ยา LAMB
2.1 ขนาดและแบบแผนการใช้ยา (Dosage regimen)
ขนาดการใช้ LAMB สำหรับการรักษาการติดเชื้อราคือ 3-5 มก./กก./วัน และสำหรับการป้องกันการติดเชื้อราหลังการผ่าตัดปลูกถ่ายตับคือ 1-2 มก./กก./วัน เมื่อพิจารณาข้อมูลผู้ป่วยตามข้อบ่งใช้ยา พบว่าขนาดยาที่ผู้ป่วยได้รับอยู่ในช่วงคือ 2.42-4.00 และ 0.57-0.96 มก./กก./วัน ตามลำดับ และจากขนาดยา LAMB ที่ผู้ป่วยส่วนใหญ่ได้รับคือ น้อยกว่า 1 มก./กก./วัน จำนวน 9 ราย รองลงมาคือ มากกว่าหรือเท่ากับ 3 มก./กก./วัน จำนวน 6 ราย และขนาดมากกว่าหรือเท่ากับ 1 ถึงน้อยกว่า 3 มก./กก./วัน จำนวน 1 ราย ดังตารางที่ 2 สำหรับระยะเวลาในการใช้ LAMB พบว่าผู้ป่วยได้รับยา LAMB ส่วนใหญ่ได้รับยา LAMB น้อยกว่า 7 วัน ซึ่งมีจำนวน 9 ราย รองลงมาคือ ในช่วง 7 14 วัน จำนวน 5 ราย และมากกว่า 14 วัน จำนวน 2 ราย (ตารางที่ 2) โดยระยะเวลาที่ใช้ยาอยู่ระหว่าง 2 วันถึง 22 วัน
2.2 ข้อบ่งใช้ (justification of use)
จากการสั่งใช้ยา LAMB ในผู้ป่วยทั้งสิ้น 16 ราย เป็นการสั่งใช้ยาเพื่อรักษาโรคติดเชื้อแบบ empirical therapy จำนวน 9 ราย และแบบ documented therapy จำนวน 7 ราย การสั่งใช้ LAMB แบบ empirical therapy มีการใช้เพื่อป้องกันการติดเชื้อราในผู้ป่วยที่เข้ารับการผ่าตัดปลูกถ่ายตับจำนวน 8 ราย และในผู้ป่วยที่เข้ารับการผ่าตัดเปิดหน้าท้อง (exploratory laparotomy) จำนวน 1 ราย ส่วนการสั่งใช้ยาแบบ documented therapy มีข้อบ่งใช้จำแนกตามโรคติดเชื้อได้ดังนี้ aspergillosis จำนวน 3 ราย cryptococcosis จำนวน 2 ราย mucormycosis sinus จำนวน 1 ราย และ candidiasis จำนวน 1 ราย ดังตารางที่ 3 ในการอนุมัติการใช้ยา แพทย์จำเป็นต้องกรอกแบบฟอร์มกำกับการใช้ยา LAMB โดยข้อบ่งของยาประกอบด้วย เพื่อรักษา invasive fungal infection 7 ราย และป้องกันการติดเชื้อ candida ในผู้ป่วย 9 ราย
3. ตัวชี้วัดในกระบวนการสั่งใช้ยา (Process indicators)
ตัวชี้วัดในกระบวนการใช้ยา LAMB ที่ทำการศึกษาประกอบด้วย การเพาะเชื้อและทดสอบความไวของเชื้อ การตรวจเม็ดเลือดแบบสมบูรณ์ และการตรวจระดับครีเอตินินในเลือด ผลการศึกษาพบว่าผู้ป่วยทั้ง 16 รายได้รับการส่งตรวจตามตัวชี้วัด ได้แก่ การสั่งตรวจเพาะเชื้อและทดสอบความไวของเชื้อก่อนหรือหลังการสั่งใช้ยาแบบ empiric therapy (ภายใน 24 ชม.) และทราบผลเพาะเชื้อและทดสอบความไวของเชื้อก่อนสั่งใช้ยาแบบ document therapy การตรวจเม็ดเลือดแบบสมบูรณ์ก่อนการสั่งใช้ยาในผู้ป่วย และระหว่างการให้ยาอย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 ครั้ง และมีการตรวจระดับครีเอตินินในเลือดทั้งก่อนการสั่งใช้ยาในผู้ป่วยทุกราย และมีการตรวจวัดระดับครีเอตินินในเลือดอย่างน้อยสัปดาห์ละครั้งในผู้ป่วยที่มีการทำงานของไตปกติจำนวน 8 ราย และอย่างน้อยสัปดาห์ละ 2 ครั้ง ในผู้ป่วยที่มีการทำงานของไตบกพร่องจำนวน 8 ราย
4. ผลการรักษาทางคลินิก (Clinical Outcomes)
จากการสั่งใช้ยา LAMB ในผู้ป่วยทั้งหมด 16 ราย มีผู้ป่วยจำนวน 5 ราย มีไข้ลดลงหลังจากได้รับยา และมีผู้ป่วยที่ระดับเม็ดเลือดขาวลดลงอยู่ในช่วงปกติจำนวน 3 ราย และมีผู้ป่วยที่ได้ทำการส่งเพาะเชื้อและไม่พบเชื้อจำนวน 2 ราย (ตารางที่ 3) และสถานภาพการจำหน่ายตัวผู้ป่วยออกจากโรงพยาบาล มีการระบุในเวชระเบียนว่าผู้ป่วยจำนวน 9 ราย อยู่ในสถานภาพอาการดีขึ้นหลังได้รับการรักษา รองลงมาคือ เสียชีวิตแต่ไม่ได้รับการชันสูตรศพจำนวน 5 ราย และอาการไม่ดีขึ้นหลังได้รับการรักษาจำนวน 2 ราย (ตารางที่ 4)
ตารางที่ 1 ข้อมูลทั่วไปของผู้ป่วย
ข้อมูลผู้ป่วย |
จำนวนผู้ป่วย (ร้อยละ) |
จำนวนผู้ป่วยที่มีการสั่งใช้ยา liposomal amphotericin B
จำนวนเวชระเบียนผู้ป่วยในที่ได้รับการประเมิน
เพศ
ชาย
หญิง
อายุ (ปี)
อายุเฉลี่ย ± ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
พิสัย
สิทธิการรักษา
สวัสดิการรักษาพยาบาลข้าราชการ
หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า
จ่ายเอง
โรคหลักที่ผู้ป่วยเข้ามารับการรักษาตัวที่โรงพยาบาล
- HCV cirrhosis
- HBV cirrhosis
- Diffuse large B cell lymphoma with cryptococcal meningitis
- Fungal brain abscess
- Mucormycosis sinus
- Invasive pulmonary aspergillosis
- Cryptococcus septicemia
- Pancytopenia
- Massive lower GI bleeding
- Wilson's disease |
26 (100.00)
16 (61.54)
12 (75.00)
4 (25.00)
45.72 ± 15.44
13 72
8 (50.00)
6 (37.50)
2 (12.50)
7 (43.75)
1 (6.25)
1 (6.25)
1 (6.25)
1 (6.25)
1 (6.25)
1 (6.25)
1 (6.25)
1 (6.25)
1 (6.25) |
ตารางที่ 2 ข้อมูลการสั่งใช้ยา LAMB
ข้อมูลการสั่งใช้ยา |
จำนวนผู้ป่วย (ร้อยละ) |
ข้อบ่งใช้ยา
Empirical therapy
- Liver transplantation
- ได้รับยาก่อนและหลังเข้ารับการผ่าตัด
- ได้รับยาหลังเข้ารับการผ่าตัดเท่านั้น
- Exploratory laparotomy & drainage
& liver biopsy
Document therapy
- Aspergillosis
- Cryptococcosis
- Mucormycosis sinus
- Candidiasis |
9 (56.25)
8 (88.89)
5 (55.56)
3 (33.33)
1 (11.11)
7 (43.75)
3 (42.86)
2 (28.57)
1 (14.29)
1 (14.29) |
แบบแผนการให้ยา LAMB
< 1 mg/kg/day IV q 24 h
1 2.9 mg/kg/day IV q 24 h
³ 3 mg/kg/day IV q 24 h |
9 (56.25)
1 (6.25)
6 (37.50)
|
ระยะเวลาในการใช้ยา
< 7 วัน
7 14 วัน
> 14 วัน |
9 (56.25)
5 (31.25)
2 (12.50) |
รวม |
16 (100.00) |
ตารางที่ 3 ผลลัพธ์ของการใช้ยา LAMB ในการรักษาโรคติดเชื้อ
ผลลัพธ์ของการรักษา |
จำนวนผู้ป่วย (ร้อยละ) |
ได้ผล |
ไม่ได้ผล |
ไม่สามารถ
ประเมินได้ |
รวม |
ไข้ลดลงอย่างน้อย 1oซ ภายใน 3 วันหลังให้ยา |
5 (31.25) |
5 (31.25) |
6 (37.50) |
16 (100.00) |
ระดับเม็ดเลือดขาวกลับสู่ค่าปกติ |
3 (18.75) |
6 (37.50) |
7 (43.75) |
16 (100.00) |
การส่งเพาะเชื้อและทดสอบความไวไม่พบเชื้อ |
2 (12.50) |
0 |
14 (87.50) |
16 (100.00) |
ตารางที่ 4 สถานภาพการจำหน่ายตัวผู้ป่วยออกจากโรงพยาบาล
สถานภาพการจำหน่าย |
จำนวนผู้ป่วย (ร้อยละ) |
รักษาหาย (cured)
ดีขึ้น (improved)
ไม่ดีขึ้น (not improved)
เสียชีวิตแต่ไม่ได้รับการชันสูตรศพ (dead no autopsy) |
0
9 (56.25)
2 (12.50)
5 (31.25) |
รวม |
16 (100.00) |
วิจารณ์
ในการศึกษานี้ พบว่าผู้ป่วยมีโรคที่เป็นสาเหตุหลักในการเข้ารับการรักษาตัวที่โรงพยาบาล คือ HCV cirrhosis, HBV cirrhosis, diffuse large B cell lymphoma with cryptococcal meningitis, pancytopenia, fungal brain abscess, mucormycosis sinus, invasive pulmonary aspergillosis, cryptococcus septicemia, massive lower GI bleeding และ Wilson's disease ซึ่งผู้ป่วยเหล่านี้จะได้รับการรักษาด้วยยาปฏิชีวนะหรือเป็นผู้ป่วยที่ได้รับการปลูกถ่ายอวัยวะ และได้รับยากดภูมิคุ้มกัน ทำให้มีภาวะภูมิคุ้มกันต่ำ จึงมีโอกาสติดเชื้อราฉวยโอกาสได้ง่ายกว่าผู้ป่วยกลุ่มอื่น เช่น invasive fungal infections โดยผู้ป่วยที่ทำการปลูกถ่ายอวัยวะส่วนใหญ่เป็นผู้ป่วยปลูกถ่ายตับซึ่งมีความเสี่ยงต่อการเกิดติดเชื้อ Candida (ร้อยละ 73) หรือ Aspergillus (ร้อยละ 20) จึงได้รับยา LAMB เพื่อป้องกัน (prophylaxis) การติดเชื้อราดังกล่าว5
จากการเก็บรวบรวมข้อมูลผู้ป่วยในโรงพยาบาลศรีนครินทร์ จังหวัดขอนแก่น ที่ได้รับยา LAMB พบว่าเป็นการสั่งใช้ยาแบบ empirical therapy (ร้อยละ 56.25) มากกว่า document therapy (ร้อยละ 43.75) ซึ่งการสั่งใช้ยาแบบ empiric therapy นั้นมีการสั่งใช้เพื่อป้องกันการติดเชื้อราในผู้ป่วยที่เข้ารับการปลูกถ่ายตับ แต่ข้อบ่งใช้ดังกล่าวนั้นยังไม่มีการรับรองทั้งจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาประเทศสหรัฐอเมริกาและประเทศไทย ส่วนการสั่งใช้ยาแบบ document therapy จะพิจารณาจากผลการเพาะเชื้อหรือตรวจวัด serum galactomannan ร่วมกับอาการแสดงทางคลินิก ซึ่งผู้ป่วยที่ได้รับยา LAMB ส่วนใหญ่มีสาเหตุเนื่องมาจากผู้ป่วยมีการทำงานของไตบกพร่องอยู่ก่อนแล้ว หรือเกิดภาวะไตบกพร่องจากการได้รับยา CAMB แสดงให้เห็นว่าแพทย์ผู้สั่งใช้ยามีความตระหนักถึงความสำคัญในการสั่งใช้ยา LAMB และปฏิบัติตามข้อกำหนดของโรงพยาบาล โดยแพทย์ผู้สั่งใช้ยาจะต้องมีการกรอกแบบฟอร์มการกำกับการใช้ยา LAMB และต้องเป็นแพทย์ผู้เชี่ยวชาญที่ได้รับหนังสืออนุมัติหรือวุฒิบัตรจากแพทยสภาในอนุสาขาอายุรศาสตร์โรคติดเชื้อ อายุรศาสตร์โรคระบบการหายใจและภาวะวิกฤติโรคระบบการหายใจ กุมารเวชศาสตร์โรคติดเชื้อ กุมารเวชศาสตร์โรคระบบการหายใจ ทั้งนี้อาจเนื่องมาจากที่โรงพยาบาลศรีนครินทร์เป็นโรงเรียนแพทย์ที่มีความพร้อมด้านห้องปฏิบัติการจุลวิทยาคลินิก และมีศักยภาพในการวินิจฉัยโรคที่มีความซับซ้อน นอกจากนี้ในกระบวนการสั่งใช้ยา liposomal amphotericin B แพทย์ผู้สั่งใช้ยาและจะต้องกรอกแบบฟอร์มกำกับการใช้ยา LAMB ซึ่งข้อบ่งใช้ที่เหมาะสมคือ คือ ใช้รักษา invasive fungal infection อย่างไรมีผู้ป่วยบางรายซึ่งแพทย์สั่งใช้ยานี้โดยระบุข้อบ่งใช้คือ รักษาและป้องกันการติดเชื้อในผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดปลูกถ่ายตับซึ่งเป็นข้อบ่งใช้ตาม Clinical Practice Guidelines for the Management of Candidiasis: 2009 Update by the Infectious Diseases Society of America6 จึงถือว่ามีความสมเหตุสมผลในการใช้ อย่างไรก็ดีอาจมีความไม่เหมาะสมเนื่องจากข้อบ่งใช้ดังกล่าวไม่ตรงตามเงื่อนไขประกอบการสั่งใช้ยานอกบัญชียาหลักของคณะกรรมการแห่งชาติด้านยา
สำหรับการประเมินการสั่งใช้ยา LAMB ในด้านขนาดและแบบแผนการให้ยา เนื่องจากยา LAMB ไม่ต้องมีการปรับขนาดยาในผู้ป่วยที่มีภาวะการทำงานของไตบกพร่อง โดยขนาดยาที่ใช้ในการรักษาและป้องกันการติดเชื้อราหลังการผ่าตัดปลูกถ่ายตับเท่ากับ 1-2 มก./กก./วัน เป็นระยะเวลา 7-14 วัน โดยขนาดยาที่ผู้ป่วยได้รับอยู่ในช่วง 0.57 0.96 มก./กก./วัน และผู้ป่วยได้รับยาเป็นระยะเวลา 2 8 วัน ซึ่งถือว่าระยะเวลาและขนาดยาที่ได้รับยาต่ำกว่าที่แนะนำ6 แต่อย่างไรก็ตาม ไม่พบผู้ป่วยที่มีการติดเชื้อราหลังจากเข้ารับการผ่าตัด สำหรับการรักษาการติดเชื้อราขนาดยาที่แนะนำคือ 3-5 มก./กก./วัน ระยะเวลาในการรักษาอย่างน้อย 14 วัน ขึ้นอยู่กับตำแหน่งและชนิดของเชื้อที่เป็นสาเหตุ ซึ่งขนาดยาที่ผู้ป่วยได้รับอยู่ในช่วง 2.42 4.00 มก./กก./วัน โดยมีผู้ป่วยที่ได้รับขนาดยาในขนาดที่ต่ำกว่าที่แนะนำจำนวน 1 ราย และมีผู้ป่วยที่ได้รับยาในขนาดยาที่แนะนำจำนวน 6 ราย แต่ระยะเวลาในการใช้ยาของผู้ป่วยส่วนใหญ่อยู่ระหว่าง 3 11 วัน ซึ่งน้อยกว่าระยะเวลาที่แนะนำ เนื่องจากผู้ป่วยเสียชีวิตก่อนที่จะเสร็จสิ้นการรักษา ซึ่งส่วนใหญ่มีสาเหตุจากโรคเดิมที่เป็นอยู่ โดยมีภาวะของโรคที่เป็นอยู่ที่รุนแรงจึงทำให้ผลการรักษาที่เลวลงหรือเสียชีวิต
ในส่วนของตัวชี้วัดในกระบวนการใช้ยาที่ต้องติดตามทั้งก่อน ระหว่าง และหลังใช้ยา ควรมีการตรวจวัดระดับครีเอตินินในเลือดก่อนและระหว่างให้ยา เพื่อให้ทราบข้อมูลพื้นฐานของผู้ป่วยรายนั้นว่ามีความจำเป็นที่จะได้รับยา LAMB หรือไม่ และเป็นการติดตามภาวะการทำงานของไตของผู้ป่วยหลังจากที่ได้รับยา LAMB ซึ่งในการศึกษาครั้งนี้พบว่ามีการใช้ยาในผู้ป่วย 16 ราย โดยผู้ป่วยทุกรายมีการวัดระดับครีเอตินินในเลือดก่อนเริ่มการรักษา นอกจากนี้ต้องมีการวัดระดับครีเอตินินในเลือดระหว่างการรักษาด้วย เนื่องจากภาวะการทำงานของไตอาจมีการเปลี่ยนแปลง อาจเนื่องมาจากโรคที่ผู้ป่วยเป็นอยู่หรือเกิดจากสาเหตุอื่นๆ เช่น การได้รับสารกัมมันตภาพ หรือยาที่ทำให้เกิดพิษต่อไตร่วมกัน เป็นต้น ซึ่งจากการศึกษาครั้งนี้ พบว่าผู้ป่วยทุกรายที่มีภาวะการทำงานของไตปกติ มีการวัดระดับครีเอตินินในเลือดอย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 ครั้ง และในผู้ป่วยทุกรายที่มีภาวะการทำงานของไตทำงานบกพร่อง มีการวัดระดับครีเอตินินในเลือดอย่างน้อยสัปดาห์ละ 2 ครั้ง แสดงให้เห็นว่าแพทย์ผู้รักษาได้ตระหนักถึงความสำคัญในการติดตามการใช้ยาทางด้านภาวะการทำงานของไตทั้งในผู้ป่วยที่มีการทำงานของไตปกติและบกพร่อง
การติดตามเกี่ยวกับการนับจำนวนเม็ดเลือดขาวก่อนเริ่มให้ยา dose แรก ควรทราบว่าจำนวนเม็ดเลือดขาวของผู้ป่วยอยู่ในระดับปกติหรือสูงกว่าปกติ ซึ่งโดยปกติผู้ป่วยที่มีการติดเชื้อจะมีจำนวนเม็ดเลือดขาวสูงกว่าปกติ ยกเว้นในรายที่มีการใช้ยากดภูมิคุ้มกัน อาจมีจำนวนเม็ดเลือดขาวต่ำกว่าปกติ และในระหว่างการรักษาหรือสิ้นสุดการรักษา ควรมีการตรวจซ้ำอีกเพื่อให้ทราบว่าภาวะการติดเชื้อในผู้ป่วยดีขึ้นหรือไม่ ในการศึกษาครั้งนี้ แพทย์ที่สั่งใช้ยา LAMB ให้ความสำคัญกับการติดตามการตรวจนับจำนวนเม็ดเลือดขาว โดยในผู้ป่วยทุกรายมีการตรวจนับจำนวนเม็ดเลือดขาวก่อนเริ่มให้ยา dose แรก ภายใน 48 ชั่วโมง และมีการตรวจเม็ดเลือดขาวอย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 ครั้ง ในระหว่างการรักษาผู้ป่วยทุกราย ทั้งนี้อาจเนื่องมาจากผู้ป่วยอยู่ในภาวะวิกฤต หรือเป็นผู้ป่วยที่ต้องเข้ารับการผ่าตัด จึงต้องมีการตรวจค่าทางห้องปฏิบัติการเป็นประจำ
การประเมินผลทางคลินิกที่ได้รับจากการใช้ยา LAMB พบว่าหลังจากใช้ยาผู้ป่วยมีไข้ลดลงภายใน 3 วัน จำนวน 5 ราย (ร้อยละ 31.25) และผู้ป่วยที่ไข้ยังไม่ลดภายใน 3 วัน จำนวน 5 ราย (ร้อยละ 31.25) ส่วนอีก 6 ราย (ร้อยละ 37.50) ไม่สามารถประเมินได้ เพราะผู้ป่วยบางรายไม่มีไข้ตั้งแต่ช่วงแรกของการให้ยา ส่วนการตรวจนับจำนวนเม็ดเลือดขาวมีผู้ป่วยที่มีจำนวนเม็ดเลือดขาวกลับสู่ค่าปกติ 3 ราย (ร้อยละ 38.75) และผู้ป่วยที่มีจำนวนเม็ดเลือดขาวสูงกว่าปกติหลังจากได้รับยาจำนวน 6 ราย (ร้อยละ 37.50) ในส่วนผู้ป่วยที่ไม่สามารถประเมินข้อมูลได้มีจำนวน 7 ราย (ร้อยละ 43.75) เนื่องจากผู้ป่วยบางรายมีจำนวนเม็ดเลือดขาวอยู่ในระดับต่ำหรือสูงกว่าปกติอยู่ก่อนแล้ว ซึ่งผู้ป่วยอาจมีการติดเชื้ออื่นร่วมด้วย ได้แก่ Streptococcus sp., Staphylococcus aureus, Methicillin-resistance Staphylococcus aureus (MRSA), Enterococcus sp., Pseudomonas aeruginosa, Acinetobacter baumannii, Klebsiella pneumoniae, Escherichia coli, E. coli (extended spectrum beta-lactamases; ESBL), Aeromonas sobria, Candida albicans หรือเกิดจากภาวะโรคของผู้ป่วย นอกจากนี้ยังมีการส่งเพาะเชื้อและทดสอบความไวของเชื้อ เพื่อตรวจสอบว่ายาสามารถกำจัดเชื้อที่เป็นสาเหตุของการใช้ยาได้หรือไม่ โดยถ้าหากเพาะเชื้อแล้วเชื้อไม่ขึ้น จะเป็นการบ่งชี้ว่าการใช้ยา LAMB สามารถกำจัดเชื้อได้ ซึ่งในการศึกษาครั้งนี้พบว่าหลังจากที่ผู้ป่วยได้รับยาได้มีการสั่งตรวจเพาะเชื้อและตรวจไม่พบเชื้อมีจำนวน 2 ราย (ร้อยละ 12.50) และผู้ป่วยที่ไม่สามารถประเมินได้มีจำนวน 14 ราย (ร้อยละ 87.50) เนื่องจากผลการตรวจต่างๆ เช่น การเพาะเชื้อ การตรวจเชื้อจากกล้องจุลทรรศน์ การตรวจ serum galactomannan เป็นต้น อาจได้ผลการเพาะเชื้อไม่ครบถ้วน เพราะการตรวจบางอย่างต้องรอผลเป็นระยะเวลานาน หรือไม่ได้มีการสั่งตรวจซ้ำ และไม่มีข้อมูลผลการเพาะเชื้อในเวชระเบียนผู้ป่วยบางราย ซึ่งผลทางคลินิกทั้งสามส่วนนี้ควรมีความสัมพันธ์กันคือ ถ้ามีการใช้ยา LAMB อย่างเหมาะสมควรจะกำจัดเชื้อได้หมด ภาวะไข้ลดลงภายใน 3 วันและจำนวนเม็ดเลือดขาวควรอยู่ในระดับปกติ
ในส่วนสถานะภาพการจำหน่วยผู้ป่วยออกจากโรงพยาบาลพบว่าผู้ป่วยมีผลลัพธ์ทางคลินิกดีขึ้น 9 ราย (ร้อยละ 56.25) ไม่ดีขึ้น 2 ราย (ร้อยละ 12.50) และเสียชีวิต 5 ราย (ร้อยละ 31.25)
สรุป
การสั่งใช้ยา LAMB ในกรณีที่ทราบชนิดของเชื้อราที่เป็นสาเหตุของโรคพบว่ามีความเหมาะสมทั้งด้านข้อบ่งใช้ ตัวชี้วัดในกระบวนการสั่งใช้ยา และขนาดการใช้ยา ส่วนการใช้ยาในกรณีไม่ทราบชนิดของเชื้อราที่เป็นสาเหตุของโรค หรือการใช้รักษาและป้องกันการติดเชื้อราในผู้ป่วยปลูกถ่ายตับ พบว่ามีความไม่เหมาะสมในด้านขนาดการใช้ยา ผู้ป่วยส่วนใหญ่มีอาการทางคลินิกดีขึ้น แต่มีผู้ป่วยบางรายเสียชีวิตภายหลังการรักษา
กิตติกรรมประกาศ
คณะผู้วิจัยขอขอบคุณนางสาวไพจิตร วิศรุตมัย นางสาววรัมพร ลัมประเสริฐและนางสาวมนชนก ชาติชำนิ นักศึกษาคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ในการเก็บข้อมูลในการวิจัยนี้
เอกสารอ้างอิง
1. Astellas Pharma US Inc. Ambisome® (amphotericin B) liposome for injection:US prescribing information [online]. Available from URL: http://www.astellas.ca/pdf/en/monograph/2009-03-07AmBisomeProductMonograph-En.pdf. [Accessed March 20, 2010].
- Baginski M, Resat H, Borowski E. Comparative molecular dynamics simulations of amphotericin B-cholesterol/ergosterol membrane channels. Biochim Biophys Acta 2002;1567:63-78.
3. National Drug Committee. Thai National Formulary 2010 Special Access Medicines of National List of Essential Medicines. Nonthaburi: Thai drug control division 2010:110-7.
- คณะอนุกรรมการพัฒนาบัญชียาหลักแห่งชาติ. คู่มือการใช้ยาอย่างสมเหตุผล ตามบัญชียาหลักแห่งชาติ. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย, 2552
5. Wajszczuk CP, Dummer JS, Ho M, Van Thiel DH, Starzl TE, Iwatsuk Si, et al. Fungal infections in liver transplant recipients. Transplantation 1985;40:34753.
6. Pappas PG, Kauffman CA, Andes D, Benjamin DK, Calandra TF, Edwards JE, et al. Clinical Practice Guidelines for the Management of Candidiasis: 2009 Update by the Infectious Diseases Society of America . Clin Infect Dis 2009;48:50335.