PDPH = Post dural puncture headache MI = Myocardial infarction
วิจารณ์
จากการศึกษาผู้ป่วยที่ได้รับการติดตามเยี่ยมผู้ป่วยภายใน 24 ชั่วโมงหลังผ่าตัดที่หอผู้ป่วยย้อนหลัง 3 ปี พ.ศ. 2550-2552 จำนวน 41,869 ราย คิดเป็นอุบัติการณ์เฉลี่ย 73.6 ต่อ 10,000 ราย อายุผู้ป่วยที่เกิดภาวะแทรกซ้อนเฉลี่ย 43 ปี พบในสองเพศใกล้เคียงกัน โดยส่วนใหญ่พบในผู้ป่วยที่มี ASA physical status 1 (ร้อยละ 52.6) โดยได้รับการระงับความรู้สึกregional anesthesia (ร้อยละ 51.0) และผู้ป่วยไม่มี underlying diseaseก่อนผ่าตัด (ร้อยละ 59.7) ซึ่งแตกต่างจากการศึกษาของสมรัตน์และคณะ2 พบภาวะแทรกซ้อนทางวิสัญญีในเพศชาย (ร้อยละ 55) มากกว่าเพศหญิง และส่วนใหญ่ผู้ป่วยมี ASA physical status 2 (ร้อยละ 36)
จากการศึกษาผู้ป่วยที่เกิดภาวะแทรกซ้อนทางวิสัญญีแยกตามภาควิชา เรียงลำดับจากมากไปหาน้อยใน 3 อันดับแรก พบผู้ป่วยที่มารับการผ่าตัดทั่วไป เท่ากับผ่าตัดทางออร์โธปิดิกส์ และการผ่าตัดทางนรีเวชวิทยา ซึ่งแตกต่างจากการศึกษาของ สมรัตน์และคณะ2 ซึ่งพบในการผ่าตัดทางปรสารทวิทยา หู คอ จมูก ทางเดินปัสสาวะ และหลอดเลือดหัวใจ และทรวงอก มีโอกาสเสี่ยงค่อนข้างสูง ซึ่งแตกต่างจากการศึกษานี้อาจเนื่องมาจากความแตกต่างของจำนวนผู้ป่วยที่เข้ารับบริการในแต่ละสถานพยาบาล
จากรายงานสถิติงานบริการโรงพยาบาลศรีนครินทร์ในช่วงย้อนหลัง 3 ปี3-5 ส่วนใหญ่เป็นผู้ป่วยที่มารับการผ่าตัดทั่วไป ออร์โธปิดิกส์ และ นรีเวชวิทยา ผู้ป่วยแต่ละรายจะได้รับการระงับความรู้สึก general anesthesia หรือ regional anesthesia หรือทั้ง 2 แบบร่วมกัน พบว่ามีผู้ป่วยเกิด urinary retention มากเป็นอันดับแรก (ร้อยละ 34.7) เป็นภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นกับผู้ป่วยหลังได้รับการระงับความรู้สึกทุกชนิด ซึ่งแตกต่างจากการศึกษาของ Belderi และคณะ6 พบในผู้ป่วยหลังผ่าตัดเปลี่ยนข้อเทียม ซึ่งเป็นการผ่าตัดออร์โธปิดิกส์ และได้รับการ ระงับความรู้สึก regional anesthesia พบเกิด urinary retention (ร้อยละ 17) ซึ่งการให้ยาระงับความรู้สึกชนิดนี้จะส่งเสริมให้เกิด urinary retention ได้มากกว่าการระงับความรู้สึก general anesthesia แต่จากการศึกษานี้ไม่ได้แยกเทคนิคการระงับความรู้สึกจึงทำให้อัตราการเกิด urinary retention โดยรวมมากกว่า อันดับสองพบผู้ป่วยเกิด nausea/vomiting (severe) ร้อยละ 22.4 ซึ่งภาวะแทรกซ้อนนี้พบได้มากในระยะหลังผ่าตัด สอดคล้องกับการศึกษาของ Cohen และคณะ7 พบ nausea/vomiting หลังผ่าตัดเฉลี่ย ร้อยละ 39-73 ซึ่งพบมากกว่าการศึกษานี้ สาเหตุอาจเนื่องมาจากการศึกษานี้รายงานเฉพาะรายที่มีอาการรุนแรงเท่านั้น และอันดับสามพบผู้ป่วยเกิด post dural puncture headache ร้อยละ 11.0 ใกล้เคียงกับการศึกษาของ Sinikoglu และคณะ8 ซึ่งพบ post dural puncture headache ร้อยละ 10.8
จากการศึกษาพบอุบัติการณ์ผู้ป่วยเสียชีวิต จากปัจจัยอันเกี่ยวเนื่องทางวิสัญญีร้อยละ 7.1 เป็นสาเหตุที่พบมากเป็นอันดับสาม ในปี พ.ศ. 2550 สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจากผู้ป่วยเสียเลือดมาก และผู้ป่วยเสียชีวิตจากปัจจัยที่ตัวผู้ป่วยได้แก่ ผู้ป่วยที่มี ASA physical status 4-5 ร้อยละ 28.6 มีภาวะหัวใจล้มเหลว ติดเชื้อในกระแสเลือดและเป็นโรคไตวายฉับพลัน จากปัญหาดังกล่าวหน่วยงานได้เล็งเห็นโอกาสพัฒนาโดยจัดทำแนวทางการขอเลือดด่วน MTP (massive blood transfusion protocol) ร่วมกับหน่วยงานอื่นๆที่เกี่ยวข้อง เพื่อช่วยเหลือผู้ป่วยที่มีการสูญเสียเลือดฉับพลันในปริมาณมาก ซึ่งคล้ายคลึงกับการศึกษาของ สมรัตน์และคณะ9 พบอุบัติการณ์ของการเสียชีวิตภายใน 24 ชั่วโมงหลังการผ่าตัดจากสาเหตุเกี่ยวเนื่องโดยตรงกับวิสัญญีพบร้อยละ 6.5 พบในผู้ป่วยที่มี ASA physical status 4 และ 5 ร้อยละ 39.5 และ 30.5 ตามลำดับ สาเหตุการเสียชีวิต ที่พบบ่อยได้แก่ เสียเลือดมาก บาดเจ็บศีรษะอย่างรุนแรง ภาวะติดเชื้อ หัวใจล้มเหลว และภาวะขาดออกซิเจน
จากการศึกษาอุบัติการณ์ที่พบโดยการติดตามเยี่ยมผู้ป่วยภายใน 24 ชั่วโมงหลังผ่าตัดที่หอผู้ป่วย ทำให้ภาควิชาวิสัญญีวิทยา เล็งเห็นถึงประสิทธิภาพการให้บริการทางวิสัญญีและสามารถนำข้อมูลพื้นฐานที่ได้จากการศึกษาไปพัฒนา เพื่อค้นหาสาเหตุและปัจจัยส่งเสริมเชิงลึกที่ทำให้เกิดอุบัติการณ์ในแต่ละอุบัติการณ์ที่มีอัตราการเกิดจำนวนมากและในอุบัติการณ์ที่อัตราเกิดน้อยแต่มีความเสี่ยงรุนแรงต่อการเสียชีวิต ซึ่งจะนำไปสู่การสร้างแนวทางปฏิบัติในการป้องกันและแก้ไขการเกิดอุบัติการณ์เหล่านั้นและวางแผนพัฒนาบุคลากรในการเพิ่มพูนความรู้และประสบการณ์ เพื่อให้ผู้ป่วยปลอดภัยมากที่สุดต่อไป
สรุป
จากการศึกษาอุบัติการณ์ทางวิสัญญีโดยการติดตามเยี่ยมผู้ป่วยภายใน 24 ชั่วโมงหลังผ่าตัดที่หอผู้ป่วย ย้อนหลัง 3 ปี (พ.ศ. 2550-2552) พบอุบัติการณ์เฉลี่ย 73.6 ต่อ 10,000 โดยภาวะแทรกซ้อนทางวิสัญญี เรียงลำดับจากมากไปหาน้อยใน 3 อันดับแรกคือ urinary retention, nausea/vomiting (severe) และ post dural puncture headache จากการเจาะเยื่อหุ้มไขสันหลัง
เอกสารอ้างอิง
1. Gupta S, Naithani U, Brajesh SK, Pathania VS, Gupta A. Critical incident reporting in anaesthesia: a prospective internal audit. Indian J Anaesth 2009; 53: 425-33.
2. Charuluxananan S, Suraseranivongse S, Jantorn P, Sriraj W, Chanchayanon T, Tanudsintum S, et al. Multicentered study of model of anesthesia related adverse events in Thailand by incident report (The Thai Anesthesia Incidents Monitoring Study): results. J Med Assoc Thai 2008; 91: 1011-9.
3. รายงานสถิติงานบริการ. ภาควิชาวิสัญญีวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 2550.
4. รายงานสถิติงานบริการ. ภาควิชาวิสัญญีวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 2551.
5. รายงานสถิติงานบริการ. ภาควิชาวิสัญญีวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 2552.
6. Balderi T, Mistraletti G, DAngelo E, Carli F. Incidence of postoperative urinary retention (POUR) after joint arthroplasty and management using ultrasound-guided bladder catheterization. Minerva Anesthesiol 2011; 77: 1050-7.
7.Cohen MM, Duncan PG, DeBoer DP, Tweed WA. The postoperative interview: assessing risk factors for nausea and vomiting. Anesth Analg 1994; 78: 7-16.
8. Sinikoglu NS, Yeter H, Gumus F, Belli E, Alagol A, Turan N. Reinsertion of the Stylet does not affect Incidence of Post Dural Puncture Headaches (PDPH) after Spinal Anesthesia. Rev Bras Anesthesiol. 2013; 63: 18892.
9. Charuluxananan S, Chinachoti T, Pulnitiporn A, Klanarong S, Rodanant O, Tanudsintum S. The Thai Anesthesia Incidents Study (THAI Study) of perioperative death: analysis of risk factors. J Med Assoc Thai 2005; 88 (Suppl 7): S30-40.