ตารางที่ 3 ปัจจัยที่เป็นสาเหตุทำให้เกิดการวินิจฉัยช้า*
ข้อมูลผู้ให้ยาระงับความรู้สึก |
จำนวน (ร้อยละ) |
1. ขาดประสบการณ์ (inexperienced personnel) |
4 (50.0) |
2. การตัดสินใจไม่เหมาะสม (inappropriate decision making)
3. ประเมินผู้ป่วยไม่ดี (incomplete patient evaluation) |
2 (25.5)
1 (12.5) |
4. ขาดความรู้ (lack of knowledge) |
1 (12.5) |
*ผู้ป่วย 1 ราย มีปัจจัยนำที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการเกิดการวินิจฉัยช้าได้มากกว่า 1 ปัจจัย
จากการศึกษา ปัจจัยที่ช่วยลดความผิดพลาดของการวินิจฉัยช้าในระหว่างการให้ยาระงับความรู้สึกแบบทั่วไปที่เกี่ยวข้องกับผู้ให้ยาระงับความรู้สึก เรียงจากมากไปน้อย คือ ควรมีความระแวดระวังสูง ควรมีระบบการสื่อสารที่ดี และ มีประสบการณ์การดูแลผู้ป่วยกลุ่มนี้มาก่อน (ตารางที่ 4)
ตารางที่ 4 ปัจจัยที่ช่วยลดความผิดพลาดของการวินิจฉัยช้า*
ข้อมูล |
จำนวน (ร้อยละ) |
1. ความระแวดระวังสูง (high vigilance) |
6 (54.5) |
2. ระบบการสื่อสารที่ดี (have good communication) |
3 (27.3) |
3. ประสบการณ์การดูแลผู้ป่วยกลุ่มนี้มาก่อน (well experienced personnels) |
2 (18.2) |
*ผู้ป่วย 1 รายมีปัจจัยที่ลดการวินิจฉัยช้าได้มากกว่า 1 ปัจจัย
วิจารณ์
การศึกษาครั้งนี้พบอุบัติการณ์การเกิด pneumothorax, hydrothorax หรือ hemothorax ในผู้ป่วยที่มารับการผ่าตัด PCNLที่ได้รับการให้ยาระงับความรู้สึกแบบทั่วไป จำนวน 6 ราย และเปรียบเทียบแต่ละปีที่ทำการศึกษา (พ.ศ.2550 - 2553) พบอุบัติการณ์ระหว่าง 47.6 126.6: 10,000 เฉลี่ย 79.5: 10,0004-7 ซึ่งน้อยกว่าการศึกษาของ LEE และคณะ3 ซึ่งพบอุบัติการณ์การเกิด pneumothorax, hydrothorax หรือ hemothorax สูงถึง 309.3 : 10,000 และสูงกว่าการศึกษาของ Sukumar และคณะ8 ซึ่งพบอุบัติการณ์ที่ 49.8 : 10,000 และ Mousavi-Bahar และคณะ9 ซึ่งพบอุบัติการณ์ที่ 30 : 10,000
การศึกษานี้พบว่าลักษณะของผู้ป่วยที่เกิดอุบัติการณ์ ส่วนใหญ่เป็นเพศชายมากกว่าหญิง เกิดได้ใน ASA physical status I-III มีอายุระหว่าง 15-64 ปี ซึ่งคล้ายคลึงกับการศึกษาของ Mousavi-Bahar และคณะ9 นอกจากนี้การศึกษาของเรายังพบลักษณะร่วมของผู้ป่วยที่เกิดอุบัติการณ์คือ แพทย์ที่ทำผ่าตัด PCNL ลงมีดผ่าตัดที่แทง trocar สูงกว่าระดับซี่โครงที่ 12 บริเวณ supracostal access ทั้งนี้อาจเนื่องมาจากประสบการณ์ของศัลยแพทย์ Mousavi-Bahar และคณะ10 ได้ศึกษาผู้ป่วยที่มารับการผ่าตัด PCNL จำนวนทั้งหมด 597 ราย แบ่งเป็นสองกลุ่มการผ่าตัด คือ 1) กลุ่มที่ได้รับการลงมีดที่ระดับ supracostal (เหนือกว่าระดับซี่โครงที่ 12) จำนวน 123 ราย และ 2) กลุ่มที่ได้รับการลงมีดที่ระดับ infracostal (ต่ำกว่าระดับซี่โครงที่ 12) จำนวน 474 ราย ผลการศึกษากลุ่มที่ได้รับการลงมีดที่ระดับ supracostal พบว่าการผ่าตัดประสบผลสำเร็จและปลอดภัยโดยที่การเกิดภาวะแทรกซ้อนหลังผ่าตัดยังอยู่ในระดับที่ยอมรับได้ ผู้ป่วยมีภาวะแทรกซ้อนร้อยละ 13 ที่พบมากที่สุดคือภาวะเลือดออกขณะและหลังผ่าตัด (คิดเป็นร้อยละ 5.7) และเกิด pneumothorax ร้อยละ 2.4 Jun-Ou และ Lojanapiwat11 พบว่าการผ่าตัด PCNL ที่ลงมีดตรงตำแหน่งsupracostal access หรือ infracostal access มีโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนในระบบทางเดินหายใจ คือ hydrothorax ไม่แตกต่างกัน (ร้อยละ 9.3 และร้อยละ 9.6 ตามลำดับ)
ถึงแม้ว่าการรักษานิ่วไตด้วยการทำผ่าตัด PCNL จะเป็นการรักษาที่ประสบความสำเร็จและปลอดภัย แต่การเฝ้าระวังผู้ป่วยขณะทำผ่าตัด รวมถึงเฝ้าระวังภาวะแทรกซ้อนที่อาจจะเกิดขึ้น ควรได้รับการใส่ใจจากแพทย์ผู้ทำผ่าตัด วิสัญญีแพทย์และวิสัญญีพยาบาล และติดตามผู้ป่วยตลอดระยะระหว่างผ่าตัดและหลังผ่าตัดจะสามารถวินิจฉัยภาวะแทรกซ้อนของระบบหายใจที่อาจจะเกิดขึ้นและรักษาได้อย่างทันท่วงที เช่น การทำ intercostal drainage ที่ช่วยลดการเกิดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงหรือทำให้เสียชีวิตได้ 12,13
จากศึกษาปัจจัยที่เป็นสาเหตุทำให้เกิดการวินิจฉัยช้าพบว่าผู้ให้ยาระงับความรู้สึกขาดประสบการณ์ การตัดสินใจไม่เหมาะสม ประเมินผู้ป่วยไม่ดีและขาดความรู้ ทั้งนี้อาจเป็นเพราะผู้ปฏิบัติงานไม่คุ้นเคยกับการทำผ่าตัด PCNL ซึ่งเป็นการรักษาโรคนิ่ววิธีใหม่ และหน่วยงานมีการเปลี่ยนแปลงบุคลากรใหม่ในแต่ละปี เนื่องจากเป็นสถาบันที่มุ่งเน้นการเรียนการสอนให้กับผู้ที่มาฝึกปฏิบัติงานหลายระดับ
จากการศึกษาปัจจัยที่ช่วยลดความผิดพลาดของการวินิจฉัยช้าจากมากไปน้อย คือ ผู้ให้ยาระงับความรู้สึกควรมีความระแวดระวังสูง หน่วยงานควรมีระบบการสื่อสารที่ดีและบุคลากรต้องมีประสบการณ์การดูแลผู้ป่วยกลุ่มนี้มาก่อนซึ่งคล้ายกับการศึกษาของ Messahel และ AL-Qahtani 14 ที่แนะนำว่าสิ่งสำคัญสำหรับความปลอดภัยของผู้ป่วย คือ บุคลากรทางวิสัญญีจำเป็นต้องมีประสบการณ์การทำงานและการดูแลผู้ป่วยที่ดี ดูแลสมาชิกใหม่และผู้มาฝึกปฏิบัติงานอย่างใกล้ชิด ให้คำแนะนำที่เหมาะสม มีผู้เชี่ยวชาญติดตามการปฏิบัติงาน ประชุมพูดคุยและทบทวนคุณภาพการปฏิบัติงานอย่างสม่ำเสมอ อาจทำโดยการนำข้อมูลของผู้ป่วยมาศึกษาถึงสาเหตุว่าเกิดได้อย่างไร
ผลจากการศึกษา เพื่อป้องกันการวินิจฉัยช้า ควรมีการสอนงานและกำกับดูแลบุคลากรใหม่ รวมทั้งทำ gap analysis เพื่อให้หน่วยงานมีการจัดทำแนวทางป้องกันและรักษา ซึ่งต้องมีการศึกษาพัฒนาต่อไป
สรุป
การเกิด pneumothorax, hydrothorax หรือ hemothorax ในการผ่าตัด PCNL หลังผู้ป่วยได้รับการให้ยาระงับความรู้สึกแบบทั่วไปพบจำนวน 6 ราย จากผู้ป่วย 755 ราย คิดเป็นอุบัติการณ์ 79.5 : 10,000 ซึ่งเกิดในผู้ป่วยที่มีตำแหน่งก้อนนิ่วอยู่ที่ upper pole ตำแหน่งผ่าตัดที่แทง trocar สูงกว่าระดับซี่โครงที่ 12 (supracostal access) ส่วนปัจจัยที่เป็นสาเหตุทำให้เกิดการวินิจฉัยช้ามากที่สุดคือ ผู้ให้ยาระงับความรู้สึกขาดประสบการณ์ ปัจจัยที่ช่วยลดความผิดพลาดของการวินิจฉัยช้า คือ ผู้ให้ยาระงับความรู้สึกต้องมีความระแวดระวังสูง มีระบบการสื่อสารที่ดี และควรมีการปรึกษากับศัลยแพทย์ รวมทั้งรายงานวิสัญญีแพทย์ในการวางแผนการดูแลผู้ป่วยทุกราย
เอกสารอ้างอิง
1. บรรณกิจ โลจนาภิวัฒน์. ตำรานิ่วในระบบทางเดินปัสสาวะ. กรุงเทพฯ: บียอนด์ เอ็นเทอร์ไพรซ์ จำกัด; 2548:263-330.
2. Lojanapiwat B. Percutaneous nephrolithotomy (PCNL) in kidneys with fusion and rotation anomalies. J Med Assoc Thai 2005; 88: 14269.
3. Lee WJ, Smith AD, Cubelli V, Badlani GH, Lewin B, Vernace F. Complications of percutaneous nephrolithotomy. AJR. 1987; 148:17780.
4. คณะกรรมการบริหารความเสี่ยง. รายงานสถิติงานบริหารความเสี่ยง. ภาควิชาวิสัญญีวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 2550.
5. คณะกรรมการบริหารความเสี่ยง. รายงานสถิติงานบริหารความเสี่ยง. ภาควิชาวิสัญญีวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 2551.
6. คณะกรรมการบริหารความเสี่ยง. รายงานสถิติงานบริหารความเสี่ยง. ภาควิชาวิสัญญีวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 2552.
7. คณะกรรมการบริหารความเสี่ยง. รายงานสถิติงานบริหารความเสี่ยง. ภาควิชาวิสัญญีวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 2553.
8. Sukumar S, Nair B, Ginil KP, Sanjeevan KV, Sanjay BH. Supracostal access for percutaneous nephrolithotomy: less morbid, more effective. Int Urol Nephrol 2008; 40: 2637.
9. Mousavi-Bahar SH, Mehrabi S, Moslemi MK. Percutaneous nephrolithotomy complications in 671 consecutive patients: a single-center experience. Urol J 2011; 8: 2716.
10. Mousavi-Bahar SH, Mehrabi S, Moslemi MK. The safety and efficacy of PCNL with supracostal approach in the treatment of renal stones. Int Urol Nephrol 2011; 43: 9837.
11. Jun-Ou J, Lojanapiwat B. Supracostal access: does it affect tubeless percutaneous nephrolithotomy efficacy and safety? Int Braz J Urol 2010; 36:1716.
12. Hossain M, Ullah AT, Regmi S, Rahman H, Kibria SA. Safety and efficacy of the supracostal access for percutaneous nephrolithotomy: our initial experience. Bangladesh Med Res Counc Bull 2011; 37:348.
13. Hosseini MM, Yousefi A, Hassanpour A, Inaloo R, Ahmad E, Manaheji F, et.al.Percutaneous Nephrolithotomy(PCNL): 10 years Experience with 7200 cases, Report of Results and Complications in Southern Iran. Shiraz, Jahrom and Bousher Universities of Medical Sciences, IRAN[serial on the Internet]. [cited 2012 Aug 5] Available from: http://www.clocate.com/article/Absract-Percutaneous-Nephrolithotomy-PCNL-10-years-Experience-with-7200-cases-Report-of-Results-and-Complications-in-Southern-Iran/64/
14. Messahel M, Al-Qahtani A.S. Pulmonary aspiration of gastric contents in anesthesia. The Internet Journal of Anesthesiology [serial on the Internet]. 2009 [cited 2009 Jul 2] ; 19(1) : [about 9p.]. Available from: http://www.ispub.com/ journal/the_internet_journal_of_anesthesiology/volume_19_number_1/article/pulmonary_aspiration_of_gastric_contents_in_anesthesia_a_review_over_15_year_period.html