Untitled Document
 
 
 
 
Untitled Document
Home
Current issue
Past issues
Topic collections
Search
e-journal Editor page

Anatomical Variants of the Perforating Branch of the Profunda Femoris Artery Compare with Femur Length in Thais

ความแปรปรวนด้านกายวิภาคของ Perforating branch ของหลอดเลือดแดง Profunda femoris เมื่อเทียบกับความยาวกระดูกต้นขา Femur ในคนไทย

Wanchai Satainkijkanchai (วันชัย เสถียรกิจการชัย) 1, Taweechok Wisanuyotin (ทวีโชค วิษณุโยธิน) 2




หลักการและวัตถุประสงค์: pseudoaneurysm ของหลอดเลือดแดง profunda femoris ถือเป็นภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงตามหลังการหักของกระดูกต้นขา femur  มีการรายงานถึงการเกิดภาวะแทรกซ้อนนี้ว่าสามารถเกิดขึ้นได้หลังทำการผ่าตัดรักษากระดูกต้นขาที่หัก ดังนั้นเพื่อหลีกเลี่ยงภาวะแทรกซ้อนดังกล่าว ศัลยแพทย์จึงจำเป็นต้องทราบถึงกายวิภาคและความแปรปรวนของ Perforating branch ของหลอดเลือดแดง Profunda femoris  จุดประสงค์ในการศึกษานี้เพื่อศึกษาความแปรปรวนด้านกายวิภาคของ Perforating brance ของหลอดเลือดแดง  Profunda femoris  เมื่อเทียบกับความยาวกระดูก Femur ในคนไทย

วิธีการศึกษา : ทำการศึกษา fresh cadaver จำนวน 32 ราย โดยการผ่าตัดกรีดตามยาวจากจุดกึ่งกลางของเอ็น inguinal ลงไปที่  adductor tubercle ของกระดูก femur ของขาทั้งสองข้างเพื่อหาหลอดเลือดแดง  profunda femoris  และหลอดเลือดแดง perforating branch แต่ละแขนง ทำการวัดความยาวของกระดูก femur และระยะห่างระหว่างจุดบนสุดของ  greater trochanter  จนถึงหลอดเลือด perforating branch แต่ละแขนง  ศึกษาหาความสัมพันธ์ระหว่างความยาวของกระดูก femur กับ หลอดเลือด perforating branch  แต่ละแขนงด้วยการวิเคราะห์โดยใช้ค่าสัมประสิทธ์ความสัมพันธ์เพียร์สัน

ผลการศึกษา : ค่าความยาวเฉลี่ยของกระดูก femur  42.4 ± 4.9 เซนติเมตร ระยะห่างระหว่างจุดบนสุดของ  greater trochanter  จนถึง  หลอดเลือด perforating branch แขนงแรก แขนงที่สอง แขนงที่สาม และแขนงสุดท้ายเท่ากับ 9.6 ± 1.9  , 13.7 ± 2.4 , 17.3 ±3.1 , 20.7 ± 2.7 เซนติเมตร ตามลำดับ  ความสัมพันธ์ระหว่างความยาวของกระดูก femur กับ หลอดเลือด perforating branch แขนงแรก  แขนงที่สอง แขนงที่สาม และแขนงสุดท้าย ค่าสัมประสิทธ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ( pearson correlation coefficient ) เท่ากับ -0.014, -0.083, -0.003 , -0.054 ตามลำดับ

สรุป : จากการศึกษานี้พบว่าค่าความยาวกระดูก femur  และระยะห่างระหว่างจุดบนสุดของ  greater trochanter  จนถึง  หลอดเลือด perforating branch  แต่ละแขนง นั้นใกล้เคียงกับข้อมูลการศึกษาที่มีการศึกษาก่อนหน้านี้ แต่การแตกแขนงของหลอดเลือด perforating branch นั้นไม่มีความสัมพันธ์กับความยาวของกระดูก femur  ตำแหน่งที่ปลอดภัย (safe zone) ต่อการผ่าตัดคล้องลวดหรือใส่สกรูขัดคือตำแหน่งช่วงบน (proximal) ควรต่ำจากจุดบนสุดของ greater trochanter ลงมาไม่เกิน 7 เซนติเมตร และช่วงปลายกระดูกควรเป็นตำแหน่งที่ต่ำลงมา  28 เซนติเมตร

Background and objective: Pseudoaneurysm of the profunda femoris artery is a serious complication following femoral fracture. This condition was  reported after orthopaedic surgical procedures. To avoid this complication, the orthopaedic surgeons should know the anatomical variants of the perforating branches of the profunda femoris artery. The purpose of this study was to determine the anatomical variants of the perforating branch of the profunda femoris artery compared with femur length in Thais.

Method: Thirty-two fresh human cadavers were used in this study. The common femoral artery was identified through a longitudinal incision extending from mid-point of the inguinal ligament to adductor tubercle of the femur and identified the perforating branches of femoral artery both sides. The length of  the femur and distances between the tip of the greater trochanter and  the perforating arteries were measured. Pearson correlation coefficient between femur length and each branch of the perforating arteries were studied.

Result : The mean length of femur was 42.4 ± 4.9 centimeters . The mean distances between the tip of the greater trochanter and first, second, third and terminal branch of perforating arteries were 9.6 ± 1.9 , 13.7 ± 2.4 , 17.3 ± 3.1 and 20.7 ± 2.7 centimeters, respectively.  Pearson Correlation Coefficient between the femur length and the distances between the tip of the greater trochanter and first, second, third and terminal branch of perforating arteries were -0.014, -0.083, -0.003, -0.054 respectively.

Conclusion: This study showed a relationship between the femur and the perforating arteries as same as the previous studies. However, there were no correlation between femur length and each branch of the perforating arteries.  In clinical application, the safe zone for inserted the wires or screws in the proximal femur are the area within 7 centemeters below the tip of the greater trochanter and 28 centemeters below the tip of the greater trochanter in the distal femur.

 

บทนำ

          pseudoaneurysm ของหลอดเลือดแดง profunda femoris ถือเป็นภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงตามหลังการหักของกระดูกต้นขา femur มีการรายงานถึงการเกิดภาวะแทรกซ้อนนี้ว่าสามารถเกิดขึ้นได้หลังทำการผ่าตัดรักษาโดยการใส่โลหะยึดตรึงกระดูกต้นขาที่หัก เช่น การยึดตรึงกระดูกด้วยโลหะตรึงกระดูกภายนอก1, การจัดและยึดตรึงด้วยโลหะภายในกระดูก2-5, ดังนั้นเพื่อหลีกเลี่ยงการภาวะแทรกซ้อนดังกล่าว ศัลยแพทย์จึงจำเป็นต้องทราบถึงกายวิภาคและความแปรปรวนของ perforating branch ของหลอดเลือดแดง profunda femoris

          วัตถุประสงค์ของการศึกษานี้เพื่อดูความแปรปรวนด้านกายวิภาคของ perforating branch ของหลอดเลือดแดง  profunda femoris  เมื่อเทียบกับความยาวกระดูก femur ในคนไทย

วิธีการศึกษา

การศึกษาครั้งนี้ได้ทำการเก็บข้อมูลจากการชำแหละศพ (Fresh cadaver)  ระหว่างปี พ.ศ. 2552 -2554  ทั้งหมด 32 ศพ (64 ขา) เป็นเพศชาย  22 ศพ และหญิง 10 ศพ มีอายุตั้งแต่ 35 ถึง 92 ปี

     ทำการผ่าตัดรยางค์ขาทั้งสองข้างเพื่อหาหลอดเลือดแดง  profunda femoris และหลอดเลือดแดง   perforating branch  แต่ละแขนง โดยเริ่มลงแผลตามแนวยาวตั้งแต่จุดกึ่งกลางของ inguinal ligament จนถึงบริเวณ adductor tubercle ของกระดูก Femur จากนั้นเลาะไปตามหลอดเลือดแดง femoral artery เพื่อหาหลอดเลือดแดง  profunda femoris และหลอดเลือด perforating branch แต่ละแขนงซึ่งอยู่ลึกลงไป (รูปที่ 1) จากนั้นทำการวัดความยาวของกระดูก femur โดยเริ่มวัดตั้งแต่จุดบนสุดของ  greater trochanter  ถึง lateral epicondyle และวัดระยะห่างระหว่างจุดบนสุดของ  greater trochanter  จนถึงหลอดเลือด perforating branch แต่ละแขนง จากนั้นนำข้อมูลที่ได้มาคำนวณหาความสัมพันธ์เปรียบเทียบกับความยาวของกระดูก femur โดยใช้ correlation test ในการวิเคราะห์แบบ bivariate analysis  ซึ่งใช้ค่าสัมประสิทธ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน (pearson correlation coefficient) ในการบอกความสัมพันธ์

 

ผลการศึกษา

จากการศึกษา fresh cadaver จำนวน 32 ราย ข้อมูลทางประชากรศาสตร์ได้ (ตารางที่ 1)

ผลการวัดค่าความยาวกระดูก femur  มีความยาวเฉลี่ย 42.4 ± 4.9 เซนติเมตร การวัดระยะห่างระหว่างจุดบนสุดของ  greater trochanter  จนถึง  หลอดเลือด perforating branch  แต่ละแขนง โดย perforating branch แขนงแรก อยู่ต่ำกว่า greater trochanter  9.6 ± 1.9 เซนติเมตร

ส่วนหลอดเลือดแดง perforating  branch แขนงที่สอง แขนงที่สาม และแขนงสุดท้าย อยู่ต่ำกว่า  greater trochanter 13.7 ± 2.4 , 17.3 ±3.1 , 20.7 ± 2.7 เซนติเมตร ตามลำดับ (ตารางที่ 2) 

 

ทำการหาความสัมพันธ์ระหว่างความยาวของกระดูก femur กับ หลอดเลือด perforating branch  แขนงแรก แขนงที่สอง แขนงที่สาม และแขนงสุดท้าย คำนวณโดยใช้ค่าสัมประสิทธ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน (pearson correlation coefficient) เท่ากับ  -0.014 , -0.083 ,  -0.003 , -0.054 ตามลำดับ

วิจารณ์

หลอดเลือดแดง  profunda femoris และ perforating branch แต่ละแขนงนั้นเป็นหลอดเลือดที่อยู่ใกล้ชิดกับกระดูก femur ดังนั้นจึงมีโอกาสได้รับบาดเจ็บโดยตรงจากการหักของตัวกระดูกfemur เอง6,7 หรือได้รับบาดเจ็บจากการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากการรักษากระดูกที่หักโดยการผ่าตัดใส่โลหะดามกระดูก โดยเฉพาะการใส่โลหะดามกระดูกโดยไม่เปิดแผลผ่าตัดที่รอยกระดูกหัก(closed technique)บริเวณส่วนต้นของกระดูก femur ซึ่งถือเป็นวิธีการรักษาที่เป็นมาตรฐาน และแพร่หลาย เนื่องจากไม่ทำให้เนื้อเยื่อบอบช้ำ กระดูกติดเร็ว และลดการอักเสบติดเชื้อของกระดูกและเนื้อเยื่ออ่อน8,9 แต่วิธีดังกล่าวมีโอกาสที่จะทำให้เกิดอันตรายต่อหลอดเลือดแดงสำคัญที่อยู่บริเวณรอบกระดูกต้นขาได้ไม่ว่าจะเป็นขั้นตอนการจัดเรียงกระดูก การยึดตรึงด้วยสกรู หรือแม้กระทั่งการคล้องลวด สามารถทำให้เกิดการฉีกขาดของหลอดเลือดแดงเหล่านี้ได้  ซึ่งผลที่ได้จากการศึกษาในครั้งนี้พบว่าระยะห่างระหว่างจุดบนสุดของ greater trochanter  จนถึงหลอดเลือด perforating branch แต่ละแขนง มีค่าใกล้เคียงกับข้อมูลที่ได้มีการศึกษาก่อนหน้านี้ 10,11 และการศึกษานี้ได้ทำการหาความสัมพันธ์ระหว่างความยาวของกระดูก femur กับ หลอดเลือด perforating branch  แต่ละแขนงโดยใช้ค่าสัมประสิทธ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน (pearson correlation coefficient ) ซึ่งมีได้ค่าตั้งแต่ -1 ถึง 1 ซึ่งผลจากการศึกษานี้พบว่าค่าสัมประสิทธ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน (pearson correlation coefficient ) ของหลอดเลือด perforating branch แต่ละแขนงเทียบกับกับความยาวของกระดูก femur นั้น มีค่าเข้าใกล้ศูนย์ นั้นหมายความว่าไม่ว่าความยาวของกระดูก femur จะยาวหรือสั้นก็ไม่มีผลต่อการแปรปรวนทางกายวิภาคของหลอดเลือดแดง Perforating branch แต่ละแขนง

 อย่างไรก็ตามข้อมูลจากการศึกษาในครั้งนี้ทำให้สามารถหาตำแหน่งที่ปลอดภัย (safe zone) ต่อการผ่าตัด โดยพบว่าตำแหน่งที่ปลอดภัยต่อการผ่าตัดคล้องลวดหรือใส่สกรูแล้วไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อหลอดเลือดแดง perforating branch ซึ่งเป็นหลอดเลือดที่อยู่ใกล้ชิดกับกระดูก femur คือตำแหน่งที่ต่ำจากจุดบนสุดของ greater trochanter ลงมาไม่เกิน 7 เซนติเมตร และอีกตำแหน่งที่ปลอดภัยคือตำแหน่งที่ต่ำ จากจุดบนสุดของ greater trochanter ลงมาต่ำกว่า  28 เซนติเมตร ซึ่งเป็นตำแหน่งปลายสุดที่สามารถพบหลอดเลือด perforating branch แขนงสุดท้าย

สรุป

จากผลการศึกษานี้ไม่พบความสัมพันธ์กันระหว่างความยาวของกระดูก femur กับ หลอดเลือดแดง  perforating branch  แต่ละแขนงในคนไทย ส่วนตำแหน่งที่ปลอดภัยต่อการผ่าตัดคล้องลวดหรือใส่สกรูขัดนั้นคือตำแหน่งที่ต่ำจากจุดบนสุดของ greater trochanter ลงมาไม่เกิน 7 เซนติเมตร และตำแหน่งลงมาต่ำกว่า  28 เซนติเมตร

 

ตารางที่ 1  ข้อมูลทางประชากรศาสตร์

เพศ

จำนวน (ราย)

อายุเฉลี่ย (ปี)

ร้อยละ

ชาย

21

61.57

65.63

หญิง

11

70.36

34.37

 

ตารางที่ 2 ระยะห่างของหลอดเลือด Perforating branch  แต่ละแขนง

 

จำนวน

ค่าเฉลี่ย (SD)

ค่าสูงสุด

ค่าต่ำสุด

อายุ (ปี)

32

68.5 (12.9)

92

35

ส่วนสูง (เซนติเมตร)

32

166.6 (7.7)

178

153

ความยาวกระดูก Femur   (เซนติเมตร)

64

42.4 (4.9)

53.3

37.2

ระยะห่างระหว่างจุดกึ่งกลางของ  inguinal ligament  จนถึง หลอดเลือดแดง  Profunda femoris (เซนติเมตร)

64

4.8 (0.8)

6.4

3.3

ระยะห่างระหว่างจุดบนสุดของ Greater trochanter  จนถึง  หลอดเลือด Perforating branch  แขนงแรก (เซนติเมตร)

64

9.6 (1.9)

14.8

7.1

ระยะห่างระหว่างจุดบนสุดของ  Greater trochanter  จนถึง  หลอดเลือด Perforating branch  แขนงที่สอง (เซนติเมตร)

64

13.7 (2.4)

19.4

9.8

ระยะห่างระหว่างจุดบนสุดของ  Greater trochanter  จนถึง  หลอดเลือด  Perforating branch  แขนงที่สาม (เซนติเมตร)

64

17.3 (3.1)

25.7

13.0

ระยะห่างระหว่างจุดบนสุดของ  Greater trochanter  จนถึง  หลอดเลือด  Perforating branch  แขนงสุดท้าย (เซนติเมตร)

64

20.7 (2.7)

28.0

16.4

 

รูปที่ 1 แสดงหลอดเลือดแดง  Profunda femoris และหลอดเลือดแดง Perforating branch แต่ละแขนง

 

 

 

เอกสารอ้างอิง

 

1.      Canbaz S, Acipayam M, Gürbüz H, Duran E. False aneurysm of perforating branch of the profunda femoris artery after external fixation for a complicated femur fracture. J Cardiovasc Surg (Torino) 2002; 43: 519-21.

2.      Dameron TB. False aneurysm of femoral profundus artery resulting from internal fixation device (screw). J Bone Joint Surg Am 1964; 46: 577-80.

3.      Anupong L, Yuddhasert S, Olarn A. Pseudoaneurysm of profunda femoris artery following internal fixation of intertrochanteric fracture: two case reports. J Med Assoc Thai 2005; 88: 1703-6.

4.      Rajaesparan K, Amin A, Arora S, Walton NP. Pseudoaneurysm of a branch of the profunda femoris artery following distal locking of an intramedullary hip nail: an unusual anatomical location. Hip Int 2008; 18: 231-5.

5.      Chan WS, Kong SW, Sun KW, Tsang PK, Chow HL. Pseudoaneurysm and intramuscular haematoma after dynamic hip screw fixation for intertrochanteric femoral fracture. J Orthop Surg (Hong Kong) 2010; 18: 244-7.

6.      Lohmann H, Esenwein S, Geier B, Vogel T, Kleinert H. False aneurysm of the deep femoral artery due to pertrochanteric fracture of the hip with displaced fragment of the lesser trochanter. Z Orthop Unfall 2009; 147:23-5.

7.      Kizilates U, Naqesser SK, Krebbers YM, Sonneveld DJ. False aneurysm of the deep femoral artery as a complication of intertrochanteric fracture of the hip. Perspect Vasc Surg Endovasc Ther 2009; 21: 245-8.

8.       Farouk O, Krettek C. Effects of  percutaneous and conventional plating techniques on the blood supply to the femur. Arch Orthop Trauma Surg 1998; 117: 438-441.

9.      Farouk O, Krettek C. Minimally invasive plate osteosynthesis: Does percutaneous plating disrupt femoral blood supply less than the traditional technique?. J Orthop Trauma 1999; 13: 401-6.

10.  Farouk O, Krettek C, Miclau T, Schandelmaier P, Tscherne H. The topography of the perforating vessels of the deep femoral artery. Clin Orthop Relat Res 1999; (368): 255-9.

11.  Boonkham Y, Plakornkul V. Variational Anatomy of the Profunda Femoris Artery in Thais. Siriraj Hosp Gaz 1987; 8: 441-5.

 

Untitled Document
Article Location

Untitled Document
Article Option
       Abstract
       Fulltext
       PDF File
Untitled Document
 
ทำหน้าที่ ดึง Collection ที่เกี่ยวข้อง แสดง บทความ ตามที่ีมีใน collection ที่มีใน list Untitled Document
Another articles
in this topic collection

An Analysis of Orthopedic Injury Profiles of Pedestrian-Motor Vehicle in District Hospital (การวิเคราะห์รูปแบบภยันตรายทางออร์โธปิดิกส์ที่เกิดจากอุบัติเหตุบนท้องถนนในโรงพยาบาลชุมชน)
 
Risk Factors Analysis of Gram-Negative Osteomyelitis (การวิเคราะห์ปัจจัยเสี่ยงของการติดเชื้อกรัมลบในโพรงกระดูก)
 
Prevalence of Vitamin D Deficiency among Postmenopausal Women at Srinagarind Hospital, Khon Kaen Province, Thailand. (ความชุกของภาวะขาดวิตามินดีในสตรีวัยทองที่มารับการรักษาที่โรงพยาบาลศรีนครินทร์ จ.ขอนแก่น)
 
Appropriate Tibial Tunnel Angle and Knee Flexion Angle for Aiming Femoral Insertion in Endoscopic Anterior Curciate Ligament Reconstruction (มุมอุโมงค์ที่กระดูกแข้ง และมุมงอเข่าที่เหมาะสมในการเล็งจุดเกาะของเอ็นไขว้หน้า)
 
<More>
Untitled Document
 
This article is under
this collection.

Orthopedics
 
 
 
 
Srinagarind Medical Journal,Faculty of Medicine, Khon Kaen University. Copy Right © All Rights Reserved.
 
 
 
 

 


Warning: Unknown: Your script possibly relies on a session side-effect which existed until PHP 4.2.3. Please be advised that the session extension does not consider global variables as a source of data, unless register_globals is enabled. You can disable this functionality and this warning by setting session.bug_compat_42 or session.bug_compat_warn to off, respectively in Unknown on line 0