บทนำ
ปัจจุบันมีการใช้รังสีเอกซ์กันแพร่หลาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการตรวจวินิจฉัยโรคด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ ซึ่งสามารถช่วยให้รังสีแพทย์วินิจฉัยโรค และติดตามผลการรักษาได้ถูกต้องยิ่งขึ้น เป็นที่ทราบกันดีว่าการถ่ายภาพรังสีประกอบการวินิจฉัยโรคนี้จะเกิดความเสี่ยงที่ผู้ป่วยจะได้รับโดยตรง คือ อันตรายที่เกิดจากการทำอันตรกิริยาของรังสีต่ออวัยวะที่ได้รับซึ่งจะมีผลมากหรือน้อย ขึ้นกับหลายปัจจัย เช่น ระยะเวลาที่ผู้ป่วยได้รับรังสี ปริมาณรังสีที่ใช้ในการตรวจและตำแหน่งหรือชนิดของอวัยวะที่ผู้ป่วยได้รับจากการตรวจเหล่านี้เป็นต้น1 หน่วยงานนานาชาติที่ทำงานเกี่ยวข้องกับการป้องกันอันตรายจากรังสีได้เสนอว่า ควรเลือกใช้ปริมาณรังสีในการตรวจวินิจฉัยในปริมาณที่น้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้2-4 จึงทำให้มีการศึกษาเพื่อวัดปริมาณรังสีในอวัยวะต่าง ๆ จากการตรวจทางรังสีวินิจฉัยในต่างประเทศ5-8 ในการตรวจวินิจฉัยสมองด้วยเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ โดยทั่วไปจะสแกนภาพจากฐานกะโหลกไปสู่บนสุดของกะโหลก ด้วยการเอียงแกนทรี เพื่อให้ลำรังสีจากหลอดเอกซเรย์ไปสู่หัววัดรังสีขนานกับฐานกะโหลก โดยแนวลำรังสีจะเอียงพ้นจากบริเวณลูกตาและจอภาพ (Retina) ที่ไวต่อรังสี6 เพื่อให้ลดความเสี่ยงภัยต่อความผิดปกติในการมองเห็นจากรังสีต่อผู้รับบริการ ปี พ.ศ. 2553 ภาควิชารังสีวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้ติดตั้งเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์มัลติสไลด์ ชนิด 128 สไลด์ ซึ่งไม่สามารถเอียงแกนทรีได้ ทำให้ต้องสแกนผ่านลูกตาโดยตรง (รูปที่1A และ 2 ) ผู้วิจัยจึงคิดประดิษฐ์หมอนรองศีรษะ เพื่อช่วยให้ผู้ป่วยสามารถก้มหน้าได้มากขึ้น ทำให้ลดการสแกนผ่านลูกตาและยังช่วยลดระยะทางในการสแกน ส่งผลให้ลดปริมาณรังสีแก่ผู้ป่วย (รูปที่ 3)

รูปที่ 1 ฐานรองศีรษะผู้รับบริการของเครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (A) ฐานรองศีรษะปกติ (ไม่ใช้หมอน ) (B) ฐานรองศีรษะที่เสริมด้วยหมอนรองศีรษะที่จัดสร้างขึ้นมา

รูปที่ 2 แสดงการตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์สมองในหุ่นจำลอง

รูปที่ 3 แสดงการตรวจโดยใช้หุ่นจำลอง ภาพการวางแผนการตรวจ (scout) และ พื้นที่ในการสแกนภาพตัดขวาง (axial) คือ พื้นที่ในบริเวณกรอบสี่เหลี่ยม (A) เมื่อใช้โปรแกรมการตรวจตามปกติ (B) เมื่อใช้หมอนรองศีรษะที่สร้างขึ้น พบว่า หมอนที่จัดสร้าง ช่วยทำให้สามารถเอียงศีรษะและคอได้มากขึ้น ทำให้ไม่ต้องสแกนผ่านบริเวณตา และช่วยลดพื้นที่ในการสแกนลงได้
วิธีการศึกษา
ขั้นตอนที่ 1 จัดทำหมอนรองศีรษะ โดยการนำโฟมชนิดเม็ด ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 0.5 เซนติเมตร บรรจุในถุงหนังเทียมที่มี ขนาด กว้าง x ยาว x สูง เท่ากับ 21 x 22 x 9 เซนติเมตร น้ำหนักรวมประมาณ 300 กรัม นำหมอนรองศีรษะที่ประดิษฐ์ขึ้นไปสแกน เพื่อศึกษาว่ามีผลต่อคุณภาพของภาพที่ปรากฏหรือไม่เพียงใด
ขั้นตอนที่ 2 นำแบบจำลองโดยใช้หุ่นจำลองส่วนสมองแทนผู้ป่วย ที่มีความหนา 20 เซนติเมตร ทำการศึกษาด้วยการเปรียบเทียบระยะทางในการสแกนและปริมาณรังสีจากค่าเฉลี่ยต่อระยะทางที่เกิดขึ้น ระหว่างการตรวจปกติ (ไม่ใช้หมอน) และการใช้หมอนประดิษฐ์รองศีรษะ โดยการใช้ค่าปัจจัยด้านเทคนิคการให้ปริมาณรังสี (Exposure technique) ที่เกี่ยวข้องกับค่าศักย์ดาไฟฟ้า (kVp : kilovoltage peak) = 120 และ กระแสไฟฟ้า (mA : milliampere) = 250 ในการตรวจวินิจฉัยสมองที่ใช้งานในปัจจุบัน แล้วนำค่าปริมาณรังสีรวมตลอดการตรวจที่ได้มาวิเคราะห์ แล้วพิจารณาว่าจะนำค่าที่ดีกว่าไปใช้ในการปฏิบัติงานจริงต่อไป
ผลการศึกษา
หมอนรองหนุนศีรษะสามารถปรับเปลี่ยนตามรูปร่างตามกะโหลกศีรษะได้ จากนั้นนำไปสแกน พบว่า หมอนประดิษฐ์ที่จัดทำขึ้น ไม่มีผลกระทบต่อคุณภาพของภาพ ไม่ทำให้เกิดภาพรบกวนที่เป็นอุปสรรคต่อการวินิจฉัภาพ ในการตรวจสมองตามปกติ (ไม่ใช้หมอน) พบว่า ใช้ระยะทางเฉลี่ยในการสแกนสำหรับการวางแผนการตรวจยาว 25 เซนติเมตร (ตารางที่ 1) ปริมาณรังสีเฉลี่ยต่อระยะทาง (dose length product, DLP) ที่เกิดขึ้นมีค่าเท่ากับ = 2.2
mGy x cm ระยะในการสแกนสำหรับการสร้างภาพตัดขวาง (axial) ในการตรวจไม่ใช้หมอนได้ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 18.9 เซนติเมตร (ตารางที่ 2) ปริมาณรังสี มีค่า DLP = 584.8 mGy x cm ปริมาณรังสีรวมระหว่างภาพการวางแผนกับภาพตัดขวางตลอดการตรวจ มีค่า DLP = 587.0 mGy x cm เมื่อใช้หมอนประดิษฐ์มารองหนุนศีรษะช่วยทำให้หุ่นจำลองก้มหน้าได้มากกว่าการวางศีรษะตามปกติ โดยกำหนดจากเส้นที่ลากจากหางตาถึงรูหูตั้งฉากกับแนวแกนของเตียงมากที่สุด พื้นที่ในการสแกนสำหรับการวางแผนการตรวจยาว 18.3 เซนติเมตร (ตารางที่ 1) ปริมาณรังสีจากค่าเฉลี่ยต่อระยะทางที่เกิดขึ้น มีค่า DLP = 1.63 mGy x cm ระยะในการสแกนสำหรับการสร้างภาพตัดขวาง ในการตรวจเฉลี่ยเท่ากับ 14.5 เซนติเมตร (ตารางที่ 2) ปริมาณรังสีจากค่าเฉลี่ยต่อระยะทาง ที่เกิดขึ้น มีค่า DLP = 467.3 mGy x cm ปริมาณรังสีรวมระหว่าภาพการวางแผนกับภาพตัดขวางตลอดการตรวจ มีค่า DLP = 468.9 mGy x cm ช่วยให้ พบว่า เมื่อให้หมอนรองศีรษะที่ประดิษฐ์ขึ้นมา ช่วยลดระยะพื้นที่ในการสแกนลงได้ ทำให้ปริมาณรังสีที่ใช้ในการตรวจโดยเฉลี่ยลดลงต่ำกว่าการตรวจปกติที่ไม่ใช้หมอนรองศีรษะคิดเป็น DLP=118.1 mGy x cm หรือคิดเป็นลดลงร้อยละ 20.12 (ตารางที่ 3)
ตารางที่ 1 ตารางเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของระยะของภาพสแกนวางแผนการตรวจและค่า Dose Length Product (DLP) ระหว่างการตรวจตามปกติ (ไม่ใช้หมอน) และเมื่อใช้หมอนรองศีรษะ
ครั้งที่
ตรวจ |
Scan length for Scout image (cm) |
Dose Length Product (mGy*cm) |
การตรวจ
ตามปกติ |
การตรวจเมื่อใช้
หมอนรองศีรษะ |
การตรวจ
ตามปกติ |
การตรวจเมื่อใช้
หมอนรองศีรษะ |
1 |
25.0 |
18.0 |
2.20 |
1.60 |
2 |
25.0 |
19.0 |
2.20 |
1.70 |
3 |
25.0 |
18.0 |
2.20 |
1.60 |
ค่าเฉลี่ย |
25.0 |
18.30 |
2.20 |
1.63 |
ตารางที่ 2 ตารางเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของระยะของภาพสแกนภาพตัดขวางและค่า Dose Length Product (DLP) ระหว่างการตรวจตามปกติ (ไม่ใช้หมอน ) และเมื่อใช้หมอนรองศีรษะ
ครั้งที่
ตรวจ |
Scan length for Scout image (cm) |
Dose Length Product (mGy*cm) |
การตรวจ
ตามปกติ |
การตรวจเมื่อใช้
หมอนรองศีรษะ |
การตรวจ
ตามปกติ |
การตรวจเมื่อใช้
หมอนรองศีรษะ |
1 |
19 |
15 |
587.1 |
480.6 |
2 |
18.8 |
14.2 |
583.6 |
460.6 |
3 |
18.8 |
14.2 |
583.6 |
460.6 |
ค่าเฉลี่ย |
18.9 |
14.5 |
584.8 |
467.3 |
ตารางที่ 3 ตารางเปรียบเทียบค่า Dose Length Product (DLP) รวมที่ได้จากการตรวจระหว่างการตรวจตามปกติ (ไม่ใช้หมอน ) และเมื่อใช้หมอนรองศีรษะ
การตรวจ |
Dose Length product (mGy*cm) |
ร้อยละ |
ตามปกติ |
587 |
100 |
เมื่อใช้หมอนรองศีรษะ |
468.9 |
79.88 |
แสดงค่าปริมาณ DLP ที่ลด |
118.1 |
20.12 |
วิจารณ์
จากการทดลองพบว่าหมอนประดิษฐ์ขึ้นสามารถลดระยะทางในการสแกนได้ส่งผลให้ค่า ปริมาณรังสีจากค่าเฉลี่ยต่อระยะทางลดลง เพราะลักษณะของหมอนที่บรรจุเม็ดโฟม ช่วยให้สามารถจัดวางลักษณะของกะโหลกศีรษะของหุ่นจำลองให้อยู่ในลักษณะที่ต้องการ โดยการเคลื่อนย้ายเม็ดโฟมที่อยู่ภายใน ทำให้ปรับความสูงต่ำให้สอดคล้องกับรูปศีรษะได้ง่าย ความลาดชันของหมอนทำให้หุ่นจำลองก้มหน้าได้แตกต่างกันสามารถดูได้จากเส้นทางลากจากหากตาผ่านรูหู ซึ่งที่เหมาะสม คือ ควรจัดให้เส้นดังกล่าวตั้งฉากกับฐานรองรับศีรษะ ก่อนหน้านี้ได้ทดลองให้เม็ดโฟมที่มีขนาดใหญ่และ เม็ดพลาสติก พบว่า เม็ดโฟมที่มีขนาดใหญ่ ปรับรูปร่างหมอนไม่สะดวก สำหรับพลาสติก มีความแข็ง เมื่อรองรับการกดทับศีรษะนาน ๆ อาจทำให้ผู้รับบริการรู้สึกเจ็บบริเวณที่กดทับ นอกจากนี้ เมื่อก้มหน้ามาก ๆ จะช่วยลดการสแกนที่ผ่านบริเวณลูกตาที่มีความไวต่อรังสี โดยเฉพาะบริเวณเรตินา7 หมอนที่จัดทำนี้ยังมีข้อจำกัดบางประการที่ไม่สามารถใช้หมอนหนุนในผู้ป่วยบางโรค ได้แก่ ผู้ป่วยที่สวมปลอกคอ (Collar) หรืออุบัติเหตุบริเวณคอและศีรษะที่มีข้อห้ามในการขยับคอและศีรษะ ในการศึกษาครั้งนี้เครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ได้ผ่านการตรวจสอบคุณภาพว่ามีความเที่ยงตรง มีคุณภาพ และประสิทธิภาพดี จึงได้สแกนหุ่นจำลองส่วนสมองแต่ละกลุ่มเพียง 3 ครั้งเท่านั้น ซึ่งค่าปริมาณรังสีที่ออกมาแตกต่างกันไม่เกินร้อยละ 2
สรุป
หมอนประดิษฐ์ดังกล่าวทำจากวัสดุโฟมและหนังเทียมที่ห่อหุ้มหาง่ายราคาถูกจึงสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์สมองของเครื่องที่ไม่สามารถเอียงแกนทรีได้ พบว่า เม็ดโฟมที่ใช้ประดิษฐ์ไม่มีผลรบกวนต่อภาพเพื่อการวินิจฉัย สามารถลดระยะการสแกนการตรวจได้โดยช่วยให้สามารถจัดท่าศีรษะให้ก้มหน้าลงได้ การลดระยะทางการสแกนช่วยลดปริมาณรังสีในการตรวจวินิจฉัยได้
กิตติกรรมประกาศ
ผู้วิจัยขอขอบคุณ หัวหน้าภาควิชา และบุคลากรหน่วยรังสีวินิจฉัย ภาควิชารังสีวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่นผู้ให้การสนับสนุน และความร่วมมือเป็นอย่างดี
เอกสารอ้างอิง
1. Huda W. Radiation dosimetry in diagnostic radiology. AJR Am J Roentgenol. 1997;169:1487-88.
2. C. B. Nelson, A. Phipps, T. Silk, G. M. Kendall. The ICRP Publication 60 Formulation of Effective Dose and it Contribution to Effective Dose in Internal Dosimetry. Radiat. Prot. Dosim. 1997 ;71:33-40.
3. International Commission on Radiological Protection. Recommendation of the International commission on Radiological Protection. (ICRP Publication 60) Ann ICRP 1991;21:13.
4. Wall BF, Hart D. Revised radiation doses for typical X-ray examinations. Br J Radiol 1997;70:4379.
5. Kalra MK, Maher MM, Saini S. Multislice CT: Update on radiation and screening. Eur Radiol 2003;13: 12933.
6. Engel-Hills P. Radiation protection in medical imaging Radiography 2006; 12(2):153-60.
7. Maclennan AC. Radiation dose to the lens from coronal CT scanning of the sinuses. Clin Radiol 1995; 50: 265-7.
8. Bouarjomehri F, Dashti M, Zare M. Radiation exposure of the Yazd population from medical conventional X-ray examinations. Iran. J Radiat Res 2007;4:195-200.
|