Untitled Document
 
 
 
 
Untitled Document
Home
Current issue
Past issues
Topic collections
Search
e-journal Editor page

Mammogram and Ultrasonographic Examination of Male Breast Disease

การตรวจด้วยเอกซเรย์เต้านมและอัลตราซาวด์ของโรคเต้านมในเพศชาย

Rutta Sonsuparp (รัฐ สอนสุภาพ) 1




บทคัดย่อ

โรคของเต้านมในเพศชายพบได้น้อย แต่เต้านมที่โตขึ้นเนื่องจากโรคส่งผลต่อสภาพจิตใจและความเป็นอยู่ของผู้ป่วยได้มาก ภาวะที่พบบ่อยที่สุดคือ gynecomastia โดยมะเร็งเต้านมพบเป็นอันดับรองลงมา ความผิดปกติของ testosterone ไม่ว่าจะเป็นการผลิตที่ลดลงหรือถูกต้านฤทธิ์ด้วยยาและสารบางชนิด ตลอดจนการที่ระดับ estrogen เพิ่มขึ้น ล้วนเป็นสาเหตุที่ก่อให้เกิด gynecomastia ส่วนปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดมะเร็งเต้านมคือประวัติการเป็นมะเร็งเต้านมในครอบครัวโดยเฉพาะในญาติเพศชายสายตรงของผู้ป่วยและความผิดปกติของ gene ในตัวผู้ป่วยเอง จากการศึกษาพบว่าอุบัติการณ์ของมะเร็งเต้านมในเพศชายพบเพิ่มมากขึ้นและการใช้สเตอรอยด์เพื่อเสริมสร้างกล้ามเนื้อในนักกีฬาและนักเพาะกายก็ทำให้พบภาวะ gynecomastia เพิ่มมากขึ้นเช่นกัน เนื่องจากการวางแผนการรักษาของทั้ง 2 ภาวะนี้มีความแตกต่างกัน การวินิจฉัยแยกโรคอย่างถูกต้องและแม่นยำจึงเป็นสิ่งสำคัญ อย่างไรก็ดีการตรวจร่างกายแต่เพียงอย่างเดียวอาจไม่สามารถแยก 2 ภาวะนี้ออกจากกันได้ การตรวจเอกซเรย์เต้านมร่วมกับการตรวจอัลตราซาวด์จึงเข้ามามีบทบาทในการช่วยวินิจฉัยแยกภาวะดังกล่าวออกจากกันโดยอาศัยสิ่งตรวจพบที่มีลักษณะเฉพาะตัวที่แตกต่างกัน โดยที่ gynecomastia มักพบรอยโรคเกิดอยู่ตรงกลางใต้ต่อหัวนมในขณะที่มะเร็งมักพบเกิดอยู่ด้านข้างต่อหัวนม นอกจากนั้น เอกซเรย์เต้านมร่วมกับอัลตราซาวด์ยังสามารถใช้ตรวจภาวะที่ไม่ใช่มะเร็งอื่นๆที่อาจพบเกิดขึ้นในเต้านมได้ ทำให้สามารถวางแผนการรักษาผู้ป่วยที่มีประสิทธิภาพและได้ผลดีที่สุด

 

Abstract

          Male breast disease is uncommon but influence largely on psychosocial condition and well-being of patient. Most common condition of male breast disease is gynecomastia while breast carcinoma is the second most common disease. Conditions or diseases influence testosterone synthesis or antagonist effect from certain drugs or substances cause gynecomastia and factors influencing breast carcinoma are familial history of male breast cancer and individual gene mutation. Increasing incidence of male breast carcinoma found in some studies as well as increase number of gynecomastia patients among athletes and body builders due to anabolic steroid utilization. Treatment planning for two entities are difference and needs accurate diagnosis. While physical examination alone may not sufficient enough, mammogram combined with ultrasound play important role in diagnosis. Difference in location of lesion found in mammogram and ultrasound may be a clue for differentiation of these two conditions, inferior and central lesion location to nipple found in gynecomastia while eccentric lesion location to nipple suggested carcinoma. Mammogram and ultrasound also helpful in diagnosis of other benign male breast conditions. With good informations from these modalities, effectiveness and best result of treatment could be achieved.

 

บทนำ

          ความผิดปกติของเต้านมในเพศชายพบน้อยกว่าในเพศหญิงมาก1,2 แต่เต้านมที่โตขึ้นในเพศชาย มีผลต่อสภาพจิตใจและความเป็นอยู่ของผู้ป่วยอย่างมากได้ สาเหตุหลักที่สำคัญของโรคของเต้านมในเพศชายคือ gynecomastia และ มะเร็ง

          แม้ว่ามะเร็งเต้านมในเพศชายจะพบได้น้อยแต่จากการศึกษาพบอุบัติการณ์เพิ่มขึ้น3 การพยากรณ์โรคของมะเร็งเต้านมในเพศชายขึ้นอยู่กับขนาดของก้อนเนื้อและ staging เช่นเดียวกับมะเร็งเต้านมในเพศหญิง ในขณะที่พบอุบัติการณ์ของ gynecomastia สูงขึ้นในกลุ่มนักกีฬาหรือผู้ที่สนใจการเพาะกาย และใช้ anabolic steroid เพื่อเสริมสร้างกล้ามเนื้อ 4

ภาวะ gynecomastia และ มะเร็งเต้านมในเพศชาย อาจไม่สามารถแยกจากกันได้ด้วยการตรวจร่างกายเพียงอย่างเดียว การวางแนวทางการรักษาของทั้งสองภาวะก็มีความแตกต่างกัน การตรวจด้วยเอกซเรย์เต้านมร่วมกับอัลตราซาวด์ จึงเป็นวิธีที่ดีในการวินิจฉัยแยกโรคดังกล่าว

Normal male breast tissue and normal mammogram

          ในระยะแรกเกิด เนื้อเต้านมในเด็กชายและหญิงจะมีลักษณะเหมือนกัน แต่เมื่อย่างเข้าสู่วัยรุ่นเพศหญิงจะได้รับอิทธิพลจาก estrogen ที่สูงขึ้นทำให้เต้านมมีการพัฒนาการและเติบโตมากกว่าในเพศชาย

          ในช่วงวัยรุ่น เด็กชายส่วนมากจะมี การเจริญเติบโตของท่อน้ำนม และ stroma เพียงเล็กน้อยจากอิทธิพลของ estrogen แต่เมื่อเข้าสู่วัยหนุ่มระดับ estrogen จะลดลงทำให้ท่อน้ำนม และ stroma ฝ่อไป เต้านมของเพศชายจึงประกอบด้วยไขมันเป็นส่วนมากและอาจพบท่อน้ำนมจำนวนเล็กน้อยใต้ต่อหัวนม

          โดยทั่วไปการทำ เอกซเรย์เต้านมจะถ่ายภาพรังสี 2 ท่าคือ Craniocaudal view - CC view และ Mediolateral oblique view  - MLO view  การทำเอกซเรย์เต้านมในเพศชาย ก็จะถ่ายภาพ 2 ท่านี้เช่นกัน แต่มักจะถ่ายท่า Craniocaudal view ลำบากเนื่องจากเต้านมมีขนาดเล็ก ไม่สามารถดึงเนื้อเต้านมออกมาได้มาก แต่สามารถมองเห็นเนื้อเต้านมได้ดีกว่าในท่า Mediolateral oblique view 

          เอกซเรย์เต้านมปกติของเพศชาย จะพบหัวนม และ ลานนมขนาดเล็ก อาจมองเห็นท่อน้ำนมเป็นท่อสีขาวจำนวนเล็กน้อยอยู่ใต้หัวนม และมีชั้นไขมันใต้ผิวหนังเป็นส่วนประกอบหลัก  (รูปที่ 1)

เมื่อเปรียบเทียบกับเต้านมของเพศหญิง จะพบว่ามีชั้นไขมันใต้ผิวหนัง และ fibroglandular component มากกว่าเต้านมของเพศชายมาก (รูปที่ 2)

 

         รูปที่ 1 Normal male mammogram

          คำอธิบาย 1 : subcutaneous fat , 2 : nipple , 3 : ducts

 

 

รูปที่ 2  Female mammogram

          คำอธิบาย  1 : Fibroglandular tissue , 2 : subcutaneous fat , 3 : nipple

 

 

          อัลตราซาวด์ ในเต้านมเพศชายปกติ จะเห็นหัวนม และ ลานนมขนาดเล็ก ส่วนใหญ่จะพบเป็นชั้นไขมันใต้ผิวหนัง วางอยู่บนกล้ามเนื้อ pectorallis (รูปที่ 3)

 

รูปที่ 3 Normal male breast sonogram

คำอธิบาย   1 : subcutaneous fat ,    2 : pectoralis muscle

 

ความผิดปกติของเต้านมในเพศชาย

1.Gynecomastia

          Gynecomastia เป็นภาวะ benign breast enlargement เกิดจากการเจริญเติบโตของส่วนที่เป็น glandular component ของเต้านม พบเป็นสาเหตุที่ทำให้เต้านมโตในเพศชายได้ประมาณร้อยละ 85 พบบ่อยในเด็กวัยรุ่นและผู้ที่อายุมากกว่า 50 ปีขึ้นไป มักพบเป็นข้างเดียวมากกว่า 2 ข้าง สาเหตุส่วนใหญ่มักมาจากภาวะฮอร์โมนไม่สมดุล

ภาวะที่ทำให้การสร้าง testosterone ลดลง หรือ ภาวะที่ทำให้ testosterone ออกฤทธิ์ได้น้อยลง ทั้งแบบปฐมภูมิ หรือทุติยภูมิสามารถก่อให้เกิดภาวะ gynecomastia ได้ นอกจากนั้น ภาวะที่มี  estrogen เพิ่มขึ้น ทั้งจากภาวะที่มีการสร้างเพิ่มมากขึ้น หรือได้รับจากภายนอกเพิ่มขึ้น ก็สามารถก่อให้เกิด gynecomastia ได้เช่นกัน อย่างไรก็ดี อาจพบ gynecomastia ที่ไม่ทราบสาเหตุ (idiopathic) ได้ในผู้ป่วยบางราย  (ตารางที่ 1)

 

ตารางที่ 1 ภาวะและสาเหตุที่อาจก่อให้เกิด gynecomastia (ดัดแปลงจาก eMedicine.medscape.com5)

ภาวะที่ก่อให้เกิดโรค

สาเหตุ

Hormonal influence gynecomastia

Infant : จากที่ได้รับestrogen จากแม่

Adolescence : increase estrogen  มักพบเป็นทั้ง 2 ข้าง

Elderly : decrease testosterone level หรือ increase estrogen level จากการเปลี่ยน adipose tissue เป็น estradiol

Systemic disease เช่น liver cirrhosis , renal failure , malnutrition , chronic lung disease

สาเหตุอื่นๆ เช่น  Klinefelter’s syndrome , testicular tumor , adrenal tumor , การสร้าง testosterone ของ testes ลดลงจาก orchitis , cyrptochidism , spermatocele , hydrocele , varicocele , trauma , radiation เป็นต้น

Drug-induced

Estrogens or drugs with estrogen-like activity : diethylstilbestrol, digitalis, and phytoestrogens,  estrogen-contaminated food and estrogen-containing cosmetics

Drugs that enhance estrogen synthesis : gonadotropins, clomiphene, phenytoin, and exogenous testosterone

Drugs that inhibit testosterone synthesis or action : ketoconazole, metronidazole, alkylating agents, cisplatin, spironolactone, cimetidine, flutamide, finasteride, and etomidate

Drugs that act by unknown mechanisms : isonicotinic acid , hydrazide, methyldopa, busulfan, tricyclic antidepressants, diazepam, penicillamine, omeprazole, phenothiazines, calcium channel blockers, angiotensin-converting enzyme (ACE) inhibitors, alcohol, marijuana, and heroin

Herb

Lavender oil , Tea-tree oil 6,7

Idiopathic

ไม่สามารถหาสาเหตุได้ในผู้ป่วยบางราย

 

Histopathology of gynecomastia

          เป็นภาวะการเจริญเติบโตของท่อน้ำนมร่วมกับไขมันและเนื้อเยื่อรอบๆท่อน้ำนม โดยไม่มีการแบ่งตัวของ acini

          ระยะแรก พบมี hyperplasia ของท่อน้ำนมอยู่เป็นกลุ่มใต้ต่อลานนม ในระยะนี้จะคล้ายคลึงกับ cystic hyperplasia ของเต้านมในเพศหญิงทั้ง histology และสิ่งที่เห็นในเอกซเรย์เต้านม

          ระยะต่อมารอยโรคมีขนาดใหญ่ขึ้น และมี fibrosis และ hyalinization แต่ขนาดของท่อน้ำนมจะลดลงเมื่อเทียบกับระยะแรก 1,2,8

          หากมีเฉพาะการเจริญเติบโตของไขมันอย่างเดียว เรียกว่า pseudogynecomastia เช่นที่พบในผู้ที่มีน้ำหนักเกิน

 

Mammographic findings of gynecomastia 1, 2, 8-14

          อาจพบเป็นข้างเดียวหรือทั้ง 2 ข้างก็ได้ หากเป็นทั้ง 2 ข้างอาจพบได้ทั้งแบบที่รอยโรคสมดุลทั้ง 2 ข้าง และ ไม่สมดุล

          ลักษณะ fibroglandular tissue ในเอกซเรย์เต้านมอาจแบ่งได้ 3 แบบดังนี้

          1. Nodular pattern เห็นลักษณะ nodular soft tissue density อยู่ใต้หัวนม หากเป็นมาก อาจเห็นเป็น soft tissue density ลักษณะ disc หรือ triangular shape บริเวณใต้หัวนม เมื่อขยายดูรอยโรค มักพบขอบของรอยโรคไม่ชัดเจน ( indistinct border ) และมักกลืนไปกับเนื้อเยื่อไขมันที่อยู่รอบๆ ระยะนี้เป็น gynecomastia ที่อยู่ใน florid histopathologic phase มักพบภายในระยะเวลาน้อยกว่า 1 ปี (รูปที่ 4)

          2. Dendritic pattern เห็นลักษณะ fan-shaped soft tissue density กระจายออกจากบริเวณใต้ต่อหัวนม เมื่อขยายดูมักพบขอบของรอยโรคไม่ชัดเจน ( indistinct border ) และมักกลืนไปกับเนื้อเยื่อไขมันที่อยู่รอบๆเช่นกัน ระยะนี้เป็น gynecomastia ที่อยู่ใน quiescent fibrous phase เริ่มมีพังผืดเกิดขึ้น (รูปที่ 5A)

          3. Diffuse glandular pattern เห็นลักษณะ dense glandular tissue ลักษณะเดียวกับที่เห็นใน mammogram ของเพศหญิง มักเกิดจากการได้รับ estrogen เช่น ผู้ป่วยมะเร็งต่อมลูกหมาก  (รูปที่ 5B)

          อย่างไรก็ดีเกณฑ์สำหรับการวินิจฉัย gynecomastia โดยใช้ขนาดของเนื้อเยื่อเต้านมยังคงแตกต่างกันออกไปในแต่ละสถาบัน ส่วนใหญ่ใช้ disc of breast tissue ที่มีขนาดตั้งแต่ 2 ซม.ขึ้นไปจึงจะวินิจฉัยว่าเป็น gynecomastia แต่บางสถาบันถือว่า หากมีขนาดตั้งแต่ 0.5 ซม.ขึ้นไป ก็สามารถวินิจฉัยภาวะ gynecomastia ได้ 15

 

รูปที่ 4  เอกซเรย์เต้านมใน nodular gynecomastia พบ nodular soft tissue density อยู่ใต้หัวนม

Images 5A and 5B  reprinted with permission of the American Institute for Radiologic Pathology

 

รูปที่ 5             A ( ซ้าย )  เอกซเรย์เต้านมใน dendritic gynecomastia พบ fan-shaped soft tissue density อยู่ใต้ หัวนมขอบไม่ชัดเจนและกลืนไปกับเนื้อเยื่อไขมันที่อยู่รอบๆ

B ( ขวา ) เอกซเรย์เต้านมใน diffuse gynecomastia พบ dense fibroglandular tissue คล้ายกับที่เห็นในเต้านมเพศหญิง

 

 

Ultrasonographic findings of gynecomastia 1,2,16-18

เมื่อนำผู้ป่วย gynecomastia มาทำอัลตราซาวด์ จะพบลักษณะที่สอดคล้องกับ เอกซเรย์เต้านมคือ

1. Nodular pattern  เห็น hypoechoic lesion ที่มี posterior border ค่อนข้างชัดเจน  อาจพบ irregular border ลักษณะคล้ายกับที่พบใน malignant nodule ของเต้านมในเพศหญิง (รูปที่ 6)

2. Dendritic pattern มักมองเห็น posterior border ไม่ชัดเจน แต่เห็นเป็น stellate หรือ finger-like pattern

3. Diffuse glandular pattern เห็น hyperechoic fibroglandular tissue เหมือนกับที่พบในเต้านมเพศหญิง

 

รูปที่ 6  อัลตราซาวด์ ของ nodular gynecomastia พบ subareolar hypoechoic nodule ที่มีขอบเขตชัดเจน และสามารถมองเห็น posterior border ของก้อนได้

 

จะเห็นว่า สิ่งที่ตรวจพบจากอัลตราซาวด์ของ gynecomastia บางครั้งอาจแยกจากมะเร็งเต้านมได้ยาก เนื่องจากเห็นเป็น low echoic nodule คล้ายกัน แต่ลักษณะหนึ่งที่อาจช่วยแยก gynecomastia ออกจากมะเร็งได้คือ gynecomastia  จะพบอยู่ตรงกลางใต้หัวนม  แต่ มะเร็งมักพบอยู่ด้านข้าง ( eccentric ) ต่อหัวนม

มีการศึกษาโดยการใช้ อัลตราซาวด์ทั้ง gray scale และ color Doppler ultrasound ใน gynecomastia โดยศึกษาเปรียบเทียบกับ Tanner stages of breast development  โดย Selma Uysal Ramadan และคณะ15 พบลักษณะอัลตราซาวด์ในแต่ละขั้นตอนของการเจริญเติบโตที่ต่างกันไป  ดังตารางที่ 2

 

ตารางที่ 2 Clinical Tanner classification and characteristic gray scale US findings

Clinical Tanner classification

Gray scale US findings

Tanner  I : ( Preadolescent ) No breast tissue

Ill-defined hyperechoic retroareolar tissue

Tanner  II : Areolar enlargement with palpable retroareolar bud development

Hyperechoic retroareolar nodule with a central scar-shaped or linear hypoechoic area

Tanner  III : Enlargement and elevation of the entire breast

Hyperechoic glandular tissue is seen extending away from the retroareolar area and a central spider shaped hypoechoic region is noted

Tanner  IV : Projection of the nipple and areolar above the breast tissue

Hyperechoic, mostly periareolar, fibroglandular tissue is seen, showing a prominent hypoechoic nodule in the central region

Tanner  V : Regression of the areola to form a smooth contour with the rest of the breast tissue

Hyperechoic glandular tissue is found, with increase subcutaneous adipose tissue anteriorly and without the hypoechoic central nodule seen in Tanner stages II, III and IV

 

เมื่อตรวจด้วย color Doppler US พบว่า vascularity ของ gynecomastia เพิ่มขึ้น ทั้ง arterial และ venous flow ใน Tanner  stage สูงๆคือ III, IV และ V โดย  vascularity ที่เพิ่มขึ้น พบส่วนใหญ่บริเวณใต้ต่อลานนม และพบบริเวณด้านข้างของลานนมเป็นอันดับรองลงไป

2. Male breast carcinoma

มะเร็งเต้านมในเพศชาย พบได้น้อยประมาณ 1 % ของมะเร็งเต้านมทั้งหมด หรือประมาณ 0.2 % ของมะเร็งทุกชนิดในเพศชาย มักพบในผู้ป่วยอายุมากกกว่า 60 ปีขึ้นไป ส่วนใหญ่พบเป็น ductal carcinoma แต่สามารถพบ lobular carcinoma ได้เช่นกัน 1

ปัจจัยเสี่ยงที่อาจก่อให้เกิดมะเร็งเต้านมในเพศชายคือ  ผู้ที่เป็น Klinefelter’s syndrome, มีญาติสายตรงที่เป็นมะเร็งเต้านมโดยเฉพาะเพศชาย, อายุมาก, อัณฑะลงถุงอัณฑะเพียงข้างเดียว, การได้รับบาดเจ็บของอัณฑะ, มีประวัติได้รับรังสีหรือสนามแม่เหล็กไฟฟ้า, โรคอ้วน

Mammographic findings of male breast carcinoma 1, 2, 8-14

 

มะเร็งเต้านมในเพศชาย จะพบลักษณะเหมือนกับที่พบในเพศหญิง คือ อาจพบก้อนที่มีขอบเรียบคล้าย benign lesion หรือ อาจพบก้อนที่มี lobulation หรือ spiculation ดังนั้น เมื่อพบก้อนในเต้านมเพศชายจากเอกซเรย์เต้านมจึงควรพึงระลึกไว้เสมอว่า ก้อนที่เห็นนั้นเป็นมะเร็งหรือไม่

Microcalcification มักพบได้น้อยกว่ามะเร็งเต้านมในเพศหญิง แต่ลักษณะ calcification ที่ดู benign อย่างที่พบในเพศหญิง อาจแสดงถึง malignant ในเพศชายได้

เนื่องจากเนื้อเต้านมในเพศชาย ส่วนมากพบอยู่บริเวณใต้หัวนม ต่างจากเพศหญิงที่มักพบอยู่ด้านบนและด้านนอกมากกกว่าส่วนอื่นๆ ดังนั้น มะเร็งเต้านมในเพศชาย จึงมักเกิดบริเวณใต้หัวนม แต่จะพบอยู่ค่อนไปด้านข้าง ( eccentric ) ต่างจาก gynecomastia ที่จะพบอยู่ตรงกลางใต้ต่อหัวนม ดังที่กล่าวมาแล้วข้างต้น (รูปที่ 7)

 

Images 7  reprinted with permission of the American Institute for Radiologic Pathology

รูปที่ 7 เอกซเรย์เต้านมของมะเร็งเต้านมในเพศชาย เห็น spiculated soft tissue density nodule ที่อยู่ ด้านข้างต่อหัวนม

Ultrasonographic findings of male breast carcinoma 1,  2,  9-11, 17,  18

ลักษณะที่สามารถตรวจพบโดย ultrasound ของมะเร็งเต้านมในเพศชาย จะเหมือนกับที่ตรวจพบในมะเร็งเต้านมในผู้หญิง คือ เห็นลักษณะ irregular hypoechoic mass ที่อาจพบ acoustic shadow หรือ posterior enhancement

 

บางครั้ง อาจเห็นเป็น heterogeneous hypoechoic mass  หรือ อาจพบลักษณะ complex cyst  ร่วมกับ nipple discharge ดังที่มีรายงานในผู้ป่วย ductal carcinoma in situ ( DCIS ) 11

 

Metastatic carcinoma 1, 19

มะเร็งที่กระจายมาจากที่อื่นมายังเต้านมสามารถพบได้น้อยมาก ในเพศชายจะพบกระจายมาจากมะเร็งต่อมลูกหมากและมะเร็งปอดได้บ่อยกว่ามะเร็งที่อื่นๆ

ลักษณะที่เห็นจากเอกซเรย์เต้านมอาจเป็นก้อนเดียว หรือ หลายก้อน ลักษณะของก้อนอาจมีขอบเขตชัดเจนหรือ lobulated ไม่สามารถแยกจาก primary breast carcinoma ได้ แต่มักแยกจาก gynecomastia ได้

3. Other benign condition

          3.1 Diabetic mastopathy

          พบได้น้อยมาก Susan P. Weinstein และคณะ20  รายงานผู้ป่วยชายที่มีภาวะ long-standing insulin-dependent diabetes mellitus และมีก้อนของเต้านม จากการตรวจด้วย เอกซเรย์เต้านมและอัลตราซาวด์พบลักษณะเหมือนกับที่ตรวจพบใน gynecomastia โดยที่ยังไม่ทราบกลไกการเกิดที่แน่นอนแต่สันนิษฐานว่าเกี่ยวข้องกับ autoimmune reaction

          3.2 Lipoma

          อาจพบ lipoma เป็น lucent nodule ที่มี thin radiopaque capsule ซึ่งบางครั้งอาจมองเห็นได้ยาก เนื่องจากถูกบดบังโดยเนื้อเยื่อไขมันของเต้านมที่อยู่รอบๆ

          Fat necrosis อาจเห็นได้หลายแบบ ตั้งแต่ lucent nodule ไปจนถึง irregular, spiculated soft tissue density mass สามารถพบ calcification แบบ ring-like, annular หรือ branching อยู่ในก้อนร่วมด้วย13

          3.3 Epidermal inclusion cyst

          มักพบลักษณะ round, well-circumscribed, dense soft tissue mass ขนาดตั้งแต่ 1-5 ซม. หากมีภาวะ cyst ruptured ร่วมด้วย จะเกิด inflammatory reaction รอบๆก้อน ทำให้มองเห็นของก้อนไม่ชัดเจนจาก เอกซเรย์เต้านมจึงอาจไม่สามารถแยกจากก้อนมะเร็งได้จากการเอกซเรย์เต้านมเพียงอย่างเดียว13

3.4 Subcutaneous leiomyoma

          พบลักษณะ spiculated margin mass ที่มี localized skin thickening และ retraction แต่จากรายงานของ Alan H. Appelbaum และคณะ13 และ Nakamura S. และคณะ21 พบ leiomyoma เกิดในหัวนม ทำให้เกิดหัวนมมีขนาดโตขึ้นเพียงอย่างเดียว

          3.5 Subareolar abscess

          เป็นรอยโรคแบบเรื้อรังที่พบการโป่งพองของท่อน้ำนมร่วมด้วย Alan H. Appelbaum และคณะ13 รายงานผู้ป่วย 2 รายที่ได้รับการวินิจฉับ subareolar abscess โดยรายแรก พบลักษณะ nodule with indistinct border ที่มี punctate calcification ข้างใน ส่วนอีกรายพบ discrete mass ที่มี radiating strands จากหัวนม และมีผิวหนังด้านบนหนาตัวร่วมด้วย

          3.6 Lymph node

          ลักษณะ benign lymph node ในเต้านมคือ well-defined nodule in upper outer quadrant with lucent center or hilar notch  หากไม่พบ lucent center ของไขมัน หรือ hilar notch  ต่อมน้ำเหลืองนั้นอาจมี malignant potential13

          นอกจากนั้น สามารถพบ  benign lesion อื่นๆเช่น cyst, hematoma,papilloma หรือ fibroadenoma ในเต้านมเพศชายได้เช่นกัน แต่มีโอกาสพบได้น้อยมาก

 

การตรวจคัดกรองเต้านมในเพศชาย 2

          เนื่องจากโอกาสเกิดมะเร็งเต้านมในเพศชายพบน้อยมาก การทำ mammogram เพื่อคัดกรองจึงยังไม่มีความจำเป็น

          แต่อาจพิจารณาทำในรายที่มีปัจจัยเสี่ยง ดังนี้

          1. ผู้ที่มีประวัติมีญาติสายตรงโดยเฉพาะเพศชายที่เป็นมะเร็งเต้านม

          2. ผู้ที่มี gene mutation

สรุป

          โรคของเต้านมในเพศชาย ถึงแม้จะพบได้น้อยแต่ส่งผลทางจิตใจและความเป็นอยู่ของผู้ป่วยได้มาก การวินิจฉัยแยกความผิดปกติที่พบได้บ่อยที่สุดคือ gynecomastia และ มะเร็งซึ่งพบเป็นอันดับรองลงมาออกจากกันนับเป็นสิ่งที่จำเป็นเนื่องจากทั้ง 2  ภาวะมีแนวทางในการรักษาที่แตกต่างกัน และเนื่องจากการตรวจร่างกายแต่เพียงอย่างเดียว อาจไม่สามารถแยก gynecomastia และ มะเร็งออกจากกันได้ การตรวจวินิจฉัยด้วย mammogram ร่วมกับ ultrasound จึงเป็นวิธีที่ดีในการช่วยแยกภาวะดังกล่าวออกจากกันโดยอาศัยสิ่งตรวจพบที่เป็นลักษณะเฉพาะตัวของแต่ละภาวะ

เนื่องจาก คุณสมบัติในการสร้างภาพสิ่งตรวจพบของรอยโรคจากทั้ง 2 วิธีแตกต่างกัน แต่สามารถใช้เสริมกันเพื่อเพิ่มความแม่นยำของการตรวจพบรอยโรคและให้การวินิจฉัย จึงควรใช้ทั้ง 2 วิธีร่วมกันในการตรวจวินิจฉัยผู้ป่วยโรคของเต้านมในเพศชายเพื่อความถูกต้องแม่นยำ ซึ่งจะส่งผลให้การวางแผนการรักษามีประสิทธิภาพและได้ผลดีที่สุด

กิติกรรมประกาศ

 

          ขอขอบคุณ คณบดีคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ที่สนับสนุนการเขียนและอนุญาตให้เผยแพร่บทความ, อาจารย์ แพทย์หญิง ดร.ศิรินาถ  ตงศิริ ที่ช่วยให้คำแนะนำและตรวจทานการเขียนบทความ, นาย ณัฐพงษ์  วงษ์วรรณ บรรณารักษ์ห้องสมุดคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม ที่ช่วยให้คำแนะนำในการค้นและจัดเตรียมเอกสารอ้างอิง, ขอขอบคุณ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลมหาสารคาม ที่อนุญาตให้สืบค้นข้อมูลของผู้ป่วยเพื่อนำมาประกอบในบทความ และ ขอขอบคุณ Dr. Leonard M. Glassman และ the American Institute for Radiologic Pathology ที่อนุญาตให้นำภาพ mammogram บางส่วนมาใช้ในบทความ

เอกสารอ้างอิง

 

1.       มาลัย มุตารักษ์. The Male Breast. ใน: มาลัย มุตารักษ์, บรรณาธิการ. Breast Imaging and Intervention. พิมพ์ครั้งที่ 2.เชียงใหม่: เวียงพิงค์การพิมพ์, 2533: 226-38.

2.       Kopans DB. The male breast. In: Kopans DB, editor. Breast imaging. Philadelphia: Lippincott Williams & Wilkins, 2007: 671-90.

3.       Giodarno SH , Cohen DS, Buzdae AU, Perkins G, Hortobagyi GN. Breast carcinoma in men: a population-based study. Cancer 2004;101:51-7.

4.       de Luis DA, Aller R, Cuellar LA, Terroba C, Romero E. Anabolic steroids and gynecomastia. Review of the literature. An Med Interna 2001;18:489-91.

5.       Tiwari AK. Lavender and tea-tree oil-induced gynecomastoia in prepubertal boys warrants prudent use of herbal products. Curr Sci 2007;93:287.

6.       Henley DV, Lipson N, Korach KS, Bloch CA. Prepubertal gynecomastia linked to lavender and tea tree oils. N Eng J Med 2007;356:479-85.

7.       Mark R Allee. Gynecomastia. 2011. Available from : http://emedicine.medscape.com/article/120858-overview.[cited 2012 Jan 15].

8.       Muttarak M. Clinics in diagnostic imaging. Singapore Med J 2003;44:433-7.

9.       Gunhan-Bilgen I, Bozakaya H, Ustun EE, Memis A. Male breast disease: clinical, mammographic, and ultrasonographic features. Euro Radiol 2002;43:246-55.

10.     Chen L, Chantra PK, Larsen LH, Barton P, Rohitopakarn M, Zhu EQ. Imaging characteristics of malignant lesions of the male breast. Radiographics 2006;26:993-1006.

11.     Hittmair AP, Lininger RA, Tavassoli FA. Ductal carcinoma In situ ( DCIS ) in the male breast:  a morphologic study of 84 cases of pure DCIS and 30 cases of DCIS associated with invasive carcinoma - a preliminary report. Cancer 1998;83:2139-49.

12.     Chantra PK,So GJ, Wollman JS,  Bassett LW. Mammography of the male breast. AJR Am J R oentgenol 1995;164:853-8.

13.     Appelbaum AH, EvansGF, Levy KR, Amirkhan RH, Schumpert TD. Mammographic appearance of male breast disease. Radiographics 1999;19:559-68.

14.     Dershaw DD, Borgen PI, Deutch BM, Liberman L. Mammographic findings in men with breast cancer. AJR Am J R Roentgenol 1993;160:267-70.

15.     Ramadan SU, Gokharman D, Kosar M, Kosar U. Assessment of vascularity with color doppler ultrasound in gynecomastia. Diagn Interv Radiol. 2010;16:38-44. Epub 9 February 2010.

16.     Wigley KD, Thomas JL, Bernardino ME, Rosenbaum JL. Sonography of gynecomastia. AJR Am J R Roentgenol 1981;136:927-30.

17.     Weinstein SP, Conant EF, Orel SG, Zuckerman JA, Bellah R. Spectrum of US findings in pediatric and adolescent patients with palpable breast masses. Radiographics 2000;20:1613-21.

18.     Yang VT, Whitman GJ,  Yuen EH, Tse GM, Stelling CB. Sonographic  features of primary breast cancer in men. AJR Am J R Roentgenol  2001;176:413-6.

19.     Muttarak M,Nomonrat A, Chaiwan B. Metastatic carcinoma to the male and female breast. Australas Radiol  1998;42:16-9.

20.     Weinstein SP, Conant EF, Orel SG, Lawton TJ, Acs G. Diabetic mastopathy in men: imaging findings in two patients. Radiology   2001;219:797-9.

21.     Nakamura S, Hashimoto Y, Takeda K, Nishi K, Ishida-Yamamoto A, Mizumoto T, et al. Two Cases of Male Nipple Leiomyoma: Idiopathic Leiomyoma and Gynecomastia-Associated Leiomyoma. Am J Dermatopathol 2012 ;34:287-91.

 

 

Untitled Document
Article Location

Untitled Document
Article Option
       Abstract
       Fulltext
       PDF File
Untitled Document
 
ทำหน้าที่ ดึง Collection ที่เกี่ยวข้อง แสดง บทความ ตามที่ีมีใน collection ที่มีใน list Untitled Document
Another articles
in this topic collection

Fear Level in Preschoolers Undergoing Computed Tomography: Affect of Psychological Preparation by Story vs. Normal Preparation (การศึกษาเปรียบเทียบความกลัวการตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ของเด็กวัยก่อนเรียนระหว่างกลุ่มที่ได้รับการเตรียมจิตใจด้วยการเล่านิทานกับกลุ่มที่ได้รับการเตรียมตามปกติ)
 
Risk Factors Associated With Allergic To Non – Ionic Contrast Media In Patients Undergoing Chest Or Abdominal Computed Tomography (ปัจจัยเสี่ยงต่อการแพ้สารทึบรังสีชนิดไม่แตกตัวในผู้ป่วยที่ได้รับการตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ทรวงอกและช่องท้อง)
 
Diagnostic Reliability of the Singh Index : Femoral Neck Osteoporosis (ความน่าเชื่อถือของ Sign index ในการวินิจฉัยโรคกระดูกำพรุนของคอกระดูกต้นขา)
 
Clinical Manifestations and Angiographic Ceatures in Carotid – Cavernous sinus Fistula (ลักษณะทางคลินิกและลักษณะทางรังสีวิทยาในผู้ป่วย Carotid – Cavernous sinus Fistula)
 
<More>
Untitled Document
 
This article is under
this collection.

Radiology
 
 
 
 
Srinagarind Medical Journal,Faculty of Medicine, Khon Kaen University. Copy Right © All Rights Reserved.
 
 
 
 

 


Warning: Unknown: Your script possibly relies on a session side-effect which existed until PHP 4.2.3. Please be advised that the session extension does not consider global variables as a source of data, unless register_globals is enabled. You can disable this functionality and this warning by setting session.bug_compat_42 or session.bug_compat_warn to off, respectively in Unknown on line 0