Untitled Document
 
 
 
 
Untitled Document
Home
Current issue
Past issues
Topic collections
Search
e-journal Editor page

Idiopathic Thrombocytopenic Purpura in Adults at Srinagarind Hospital: 9 Years Review

โรคเกล็ดเลือดต่ำจากภูมิคุ้มกันในผู้ใหญ่ที่โรงพยาบาลศรีนครินทร์: ทบทวนข้อมูล 9 ปี

Nattiya Teawtrakul (ณัฐติยา เตียวตระกูล) 1, Chittima Sirijerachai (จิตติมา ศิริจีระชัย) 2, Kanchana Chansung (กาญจนา จันทร์สูง) 3




หลักการและวัตถุประสงค์:โรค idiopathic thrombocytopenic purpura (ITP) เป็นโรคที่พบได้บ่อย ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะตอบสนองต่อการรักษามาตรฐาน แต่มีผู้ป่วยร้อยละ20-30ที่ไม่ตอบสนองและมีการดำเนินโรคเป็นชนิดเรื้อรังซึ่งยากต่อการรักษา การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระบาดวิทยาและปัจจัยทางคลินิกที่สามารถพยากรณ์การดำเนินโรคในผู้ใหญ่

วิธีการศึกษา: เป็นการศึกษาแบบตัดขวางย้อนหลังในผู้ป่วย ITP อายุตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไป ที่โรงพยาบาลศรีนครินทร์ ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2545 ถึง วันที่ 31 ธันวาคม 2553

ผลการศึกษา: จากผู้ป่วยทั้งหมด 94 ราย เป็นเพศหญิง 70 ราย (ร้อยละ74) อายุเฉลี่ยเท่ากับ 39 ปี  ระยะเวลาในการติดตามการรักษาเฉลี่ย 56  เดือน มีผู้ป่วยที่โรคอยู่ในระยะสงบ 55 ราย เป็นโรคชนิดเรื้อรัง 31 ราย และเสียชีวิต 3 ราย จากการวิเคราะห์ข้อมูล แบบ multiple logistic regression ไม่พบว่าปัจจัยใดสัมพันธ์กับการดำเนินโรคอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ แต่พบปัจจัยที่มีแนวโน้มที่จะสัมพันธ์กับการดำเนินโรคเป็นระยะสงบของผู้ป่วยคือ การตอบสนองแบบปกติ การตอบสนองแบบสมบูรณ์หลังการรักษาด้วยยาตัวแรก และเพศหญิงโดยมีค่า adjusted Odds ratio(95% CI)  เท่ากับ 3.54 (0.5 - 22.2) , 5.13 (0.8-30.1) และ 2.1 (0.6 - 6.7) เมื่อเทียบกับผู้ป่วยที่มีการดำเนินโรคเป็นชนิดเรื้อรังตามลำดับ

สรุป: ความลึกของการตอบสนองต่อการรักษาด้วยยาตัวแรกและเพศหญิงเป็นปัจจัยที่มีแนวโน้มจะสัมพันธ์กับการดำเนินโรคเป็นระยะสงบในผู้ป่วย ITP

 

Background and objective: Idiopathic thrombocytopenic purpura (ITP) is frequently found in general practice. Most patients respond to standard treatment. However, there are about 20-30% of patients become chronic ITP, which responds poorly to treatment. This study aims to study the epidemiology and clinical factors to predict clinical course in adult patients with ITP.

Method: This is a cross- sectional, retrospective study in patients aged 15 years or older who have been diagnosed as ITP at Srinagarind hospital between 1st January 2002 to 31st December 2010.

Results: Of 94 patients, 70 patients were female (74%). Mean age was 39 years. Mean follow up duration was 56 months. Fifty five patients were in complete remission, thirty one patients with chronic ITP and three patients died. The analysis of the multiple logistic regression, none of clinical factors were correlated statistically significantly with the clinical course. However, the complete response after first-line treatment, the response after first-line treatment and female sex may be the factors for predicting clinical complete remission with the adjusted Odds ratio (95% CI) of 5.13 (0.8-30.1), 3.54 (0.5 - 22.2) and 2.1 (0.6 - 6.7) respectively, compare with chronic ITP.

Conclusion:  The deep response after first-line treatment and female sex may potentially be the prognostic factors predicting clinical course of complete remission in the long-term follow up in adult patients with idiopathic thrombocytopenic purpura.

Keywords: idiopathic thrombocytopenic purpura, adult, clinical prognostic factors

 

 

บทนำ

โรค idiopathic thrombocytopenic purpura หรือ โรค ไอทีพี (ITP) เป็นโรคที่พบได้บ่อยในเวชปฏิบัติทั่วไป จากการศึกษาในต่างประเทศพบอุบัติการณ์ของผู้ป่วยอยู่ในช่วง 1.6-3.9 ต่อ 100,000 รายต่อปี1-3 โดยผู้ป่วยจะมีอาการและอาการแสดงที่หลากหลายตั้งแต่ไม่มีอาการจนถึงมีอาการเลือดออกรุนแรงซึ่งพบว่าความรุนแรงของอาการเลือดออกสัมพันธ์กับปริมาณเกล็ดเลือดที่ต่ำ4, 5 แนวทางการรักษาผู้ป่วยประกอบด้วยหลายวิธี เช่น ยาสเตียรอยด์ ยากดภูมิคุ้มกัน หรือ การตัดม้าม ขึ้นกับความรุนแรงของอาการเลือดออกและระดับของเกล็ดเลือด6-8 โดยผู้ป่วยส่วนใหญ่จะตอบสนองต่อการรักษาด้วยยาสเตียรอยด์หรือยากดภูมิคุ้มกัน แต่มีผู้ป่วยร้อยละ 20-30 ที่ไม่ตอบสนองต่อการรักษามาตรฐาน และมีการดำเนินโรคเป็นชนิดเรื้อรังซึ่งยากต่อการรักษา 9, 10

อย่างไรก็ตามการศึกษาส่วนใหญ่เป็นข้อมูลในผู้ป่วยยุโรปและอเมริกาเหนือ ในประเทศไทยมีรายงานเฉพาะผลการรักษาและภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยไอทีพีชนิดเรื้อรัง11,12 ดังนั้นทางผู้วิจัยจึงต้องการศึกษาระบาดวิทยาของโรคไอทีพีในผู้ใหญ่รวมทั้งปัจจัยทางคลินิกที่สามารถพยากรณ์การดำเนินโรคเป็นชนิดเรื้อรัง เพื่อเป็นข้อมูลพื้นฐานในการศึกษาและหาแนวทางป้องกันต่อไปในอนาคต

วิธีการศึกษา

เป็นการศึกษาแบบเก็บข้อมูลย้อนหลัง 9 ปี ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2545 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2553

ประชากร

ผู้ป่วยอายุตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไปที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคไอทีพีตามเกณฑ์การวินิจฉัยของ American society of Hematology7ทั้งผู้ป่วยในและผู้ป่วยนอกที่โรงพยาบาลศรีนครินทร์ ผู้วิจัยได้ทำการทบทวนข้อมูลในเวชระเบียนผู้ป่วยโดยข้อมูลที่จะนำมาวิจัยได้แก่ เพศ อายุ ประวัติและการตรวจร่างกาย ผลการตรวจเลือด ผลการตรวจไขกระดูก การรักษาและการตอบสนองต่อการรักษา

อาการและอาการแสดงของเลือดออก

1.      ไม่มีเลือดออก (no clinical bleeding) หมายถึง ตรวจไม่พบอาการแสดงของเลือดออก

2.      เลือดออกไม่รุนแรง (mild bleeding) ได้แก่ เลือดออกตามไรฟัน เลือดกำเดาไหล

3.   เลือดออกรุนแรงปานกลาง (moderate bleeding) ได้แก่ ประจำเดือนออกมาก ตรวจพบจ้ำเลือดขนาดใหญ่ อาเจียนเป็นเลือด ปัสสาวะเป็นเลือด

4.      เลือดออกรุนแรง (severe bleeding) เลือดออกรุนแรงถึงแก่ชีวิต ได้แก่ เลือดออกในสมอง เลือดออกในอวัยวะภายใน

เกณฑ์การตอบสนองต่อการรักษา13

1.      ตอบสนองแบบสมบูรณ์ (Complete response) หมายถึงการที่ผู้ป่วยมีปริมาณเกล็ดเลือดหลังการรักษา ≥ 100,000 เซลล์ต่อไมโครลิตร

2.      ตอบสนองแบบปกติ (Response) หมายถึง การที่ผู้ป่วยมีปริมาณเกล็ดเลือดหลังการรักษา ≥ 30,000 เซลล์ต่อไมโครลิตรหรือเพิ่มขึ้นอย่างน้อยสองเท่าของค่าตั้งต้น

3.      ไม่ตอบสนอง (No response) หมายถึงการที่ผู้ป่วยมีปริมาณเกล็ดเลือดหลังการรักษา < 30,000 เซลล์ต่อไมโครลิตร

เกณฑ์การดำเนินโรคทางคลินิก (Clinical course)

1.      โรคระยะสงบ (Complete remission) หมายถึง ผู้ป่วยมีปริมาณเกล็ดเลือดหลังการรักษาล่าสุด ≥ 100,000 เซลล์ต่อไมโครลิตร

2.      โรคเรื้อรัง (Chronic ITP) หมายถึง ผู้ป่วยมีปริมาณเกล็ดเลือดหลังการรักษา ≤ 100,000 เซลล์ต่อไมโครลิตร เป็นเวลานานกว่า 1 ปีจนถึงวันสุดท้ายที่มีข้อมูลในการติดตามการรักษา

3.      เสียชีวิต (Death) หมายถึง ผู้ป่วยที่เสียชีวิตจากภาวะเลือดออกซึ่งเป็นผลจากโรคไอทีพี

สถิติและการวิเคราะห์

ข้อมูลพื้นฐานที่เป็นข้อมูลเชิงปริมาณจะแสดงในรูปของค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) และข้อมูลเชิงกลุ่มแสดงในรูปจำนวนและร้อยละ

          การวิเคราะห์ข้อมูลของปัจจัยที่สามารถพยากรณ์การดำเนินโรคไปเป็นโรคไอทีพีชนิดเรื้อรังจะถูกนำมาวิเคราะห์โดย Multiple logistic regression ข้อมูลที่ได้จาก univariate analysis ที่มีค่านัยสำคัญทางสถิติที่ p < 0.20 จะนำไปวิเคราะห์ใน multivariate analysis โดยกำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ p < 0.05 ข้อมูลทั้งหมดได้ทำการวิเคราะห์ด้วยโปรแกรม STATA version 10

 

ผลการศึกษา

            จาการทบทวนเวชระเบียนของผู้ป่วยโรคไอทีพีทั้งหมด 165 ราย มีผู้ถูกคัดออกจากการศึกษาทั้งหมด  71 รายโดยผู้ป่วย 50 รายได้รับการวินิจฉัยผิดและผู้ป่วย 21 ราย  ขาดข้อมูลที่สำคัญ เหลือผู้ป่วยที่นำมาวิเคราะห์ในการศึกษาทั้งหมด 94 ราย โดยเป็นเพศหญิง 70 ราย (ร้อยละ74.47) ชาย 24 ราย (ร้อยละ25.53) อายุเฉลี่ย±ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 39.91 ±17.13 ปี โดยผู้ป่วยส่วนใหญ่ (ร้อยละ59.57) มาด้วยอาการเลือดออกเล็กน้อย ไม่มีอาการเลือดออก (ร้อยละ 21.27) และเลือดออกรุนแรงปานกลาง (ร้อยละ 15.95) ตามลำดับ พบอาการเลือดออกรุนแรงถึงชีวิตเพียง 2 ราย (ร้อยละ2.12) ปริมาณเกล็ดเลือดเริ่มต้นก่อนการรักษา±ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 23758.51 ± 21283.04 เซลล์ต่อไมโครลิตร การตอบสนองต่อการรักษาและปัจจัยที่ทำนายการดำเนินโรคสามารถวิเคราะห์ในผู้ป่วยทั้งหมด 89 ราย พบว่า ผู้ป่วยร้อยละ 51.69 มีการตอบสนองแบบสมบูรณ์หลังการรักษาด้วยยาตัวแรก ผู้ป่วยร้อยละ 30.34 ตอบสนองแบบปกติต่อการรักษาและผู้ป่วยร้อยละ 17.98 ไม่ตอบสนองต่อการรักษา ตามลำดับ ผู้ป่วย 12 ราย (ร้อยละ13.48) ได้รับการตัดม้าม ผู้ป่วย 31 ราย (ร้อยละ 34.83) ได้รับการตรวจไขกระดูกซึ่งเป็นไปตามข้อบ่งชี้ทั้งหมดทุกราย ผู้ป่วยส่วนใหญ่ไม่จำเป็นต้องได้รับ การรักษาด้วยยาตัวที่สอง 50 ราย (ร้อยละ 56.17) สำหรับการรักษาด้วยยาตัวที่สองส่วนใหญ่คือยากดภูมิคุ้มกัน 17 ราย (ร้อยละ 19.10)  รองลงมาคือการตัดม้าม 12 ราย(ร้อยละ 13.48) และ ยาสเตียรอยด์ขนาดสูง7 ราย (ร้อยละ 7.86)  ตามลำดับ

          การดำเนินโรคของผู้ป่วยจากการติดตามทั้งหมด 9 ปี โดยมีระยะเวลาในการติดตามการรักษาเฉลี่ย±ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 56 ± 55 เดือน มีผู้ป่วยที่โรคอยู่ในระยะสงบ 55 ราย (ร้อยละ61.80) เป็นโรคชนิดเรื้อรัง 31 ราย (ร้อยละ34.83) และเสียชีวิต 3 ราย (ร้อยละ3.37) รายละเอียดของข้อมูลพื้นฐานและลักษณะทางคลินิกของผู้ป่วย (ตารางที่ 1)

          จากข้อมูล univariate analysis พบว่า การตัดม้ามและการตอบสนองต่อการรักษาครั้งแรก เป็นปัจจัยที่สัมพันธ์กับการดำเนินโรคอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value = 0.002 และ p-value = 0.012 ตามลำดับ) โดยพบว่าผู้ป่วยที่ไม่ตอบสนองต่อการรักษาครั้งแรกทั้งหมด 16 ราย มีการดำเนินโรคเป็นชนิดเรื้อรัง 6 ราย (ร้อยละ37.5) และเสียชีวิตทั้งหมด 3 ราย (ร้อยละ 18.75)และในผู้ป่วยที่มีการตอบสนองต่อการรักษาด้วยยาตัวแรกแบบสมบูรณ์ทั้งหมด 46 ราย พบว่ามีการดำเนินโรคเป็นระยะสงบ 32 ราย (ร้อยละ 69.56) และ มีการดำเนินโรคเป็นชนิดเรื้อรังทั้งหมด 14 ราย (ร้อยละ 30.43) โดยไม่มีผู้ป่วยที่เสียชีวิตเลย นอกจากนี้ยังพบว่าผู้ป่วยที่ได้รับการตัดม้ามทั้งหมด 12 ราย มีการดำเนินโรคเป็นระยะสงบต่อเนื่อง (continuing complete response)ทั้งหมด สำหรับปัจจัยที่มีแนวโน้มที่จะสัมพันธ์กับการดำเนินโรคเป็นไอทีพีชนิดเรื้อรังคือ ปริมาณเกล็ดเลือดเริ่มต้นก่อนการรักษา และ เพศ (p-value = 0.07 และ p-value = 0.10 ตามลำดับ) แต่ไม่มีนัยสำคัญทางสถิติซึ่งอาจเกิดจากจำนวนประชากรที่ศึกษามีจำนวนน้อย รายละเอียด univariate analysis ของปัจจัยต่างๆที่สัมพันธ์กับการดำเนินโรคชนิดเรื้อรัง (ตารางที่ 2)

จากการวิเคราะห์ข้อมูล แบบ multiple logistic regression ไม่พบว่าปัจจัยใดสัมพันธ์กับการดำเนินโรคอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติซึ่งอาจเกิดจากประชากรที่ศึกษาไม่เพียงพอ แต่พบว่าปัจจัยที่มีแนวโน้มที่จะสัมพันธ์กับการดำเนินโรคของผู้ป่วยคือ การตอบสนองหลังการรักษาด้วยยาตัวแรก และเพศ (p-value = 0.18 และ p-value = 0.4 ตามลำดับ) โดยพบว่าในผู้ป่วยที่มีการดำเนินโรคเป็นระยะสงบมี adjusted Odds ratio ของการตอบสนองแบบปกติต่อการรักษาด้วยยาตัวแรก เท่ากับ 3.54  (95% CI 0.56 - 22.28) ของผู้ป่วยที่มีการดำเนินโรคเป็นชนิดเรื้อรัง และผู้ป่วยที่มีการดำเนินโรคเป็นระยะสงบมี adjusted Odds ratio ของการตอบสนองแบบสมบูรณ์ต่อการรักษาด้วยยาตัวแรกเท่ากับ 5.13 (95% CI 0.87-30.19) เมื่อเทียบกับผู้ป่วยที่มีการดำเนินโรคแบบเรื้อรัง นอกจากนี้ยังพบว่าในผู้ป่วยเพศหญิงที่มีการดำเนินโรคเป็นระยะสงบมี adjusted Odds ratio เป็น 2.10 (95% CI 0.65 – 6.79)ของผู้ป่วยเพศชายเมื่อเทียบกับผู้ป่วยที่มีการดำเนินโรคแบบเรื้อรัง สำหรับผู้ป่วยที่มีการเสียชีวิตไม่สามารถวิเคราะห์ข้อมูลได้เนื่องจากมีจำนวนผู้ป่วยน้อยมาก รายละเอียดของ multiple logistic regression ของปัจจัยที่สัมพันธ์กับการดำเนินโรคไอทีพี (ตารางที่ 3)

วิจารณ์

จากการศึกษาพบว่าโรคไอทีพีส่วนใหญ่พบในเพศหญิง คิดเป็นร้อยละ 74.5 ซึ่งสอดคล้องกับการศึกษาของ Abrahamson และคณะ2 ซึ่งพบอุบัติการณ์ของโรคไอทีพีในเพศหญิงมากกว่าชาย (4.2 ต่อ100,000 รายต่อปี เทียบกับ 3.2 ต่อ 100,000 รายต่อปี ตามลำดับ) แต่จะพบว่าอายุเฉลี่ยของผู้ป่วยไทยจากการศึกษานี้ซึ่งเท่ากับ 40 ปี น้อยกว่าการศึกษาของผู้ป่วยยุโรป2, 14 ที่พบว่ามีอายุเฉลี่ยเท่ากับ 57  และ 55 ปีตามลำดับ นอกจากนี้จากการศึกษายังพบว่าอายุเฉลี่ยของผู้ป่วยหญิงน้อยกว่าอายุเฉลี่ยของผู้ป่วยชาย (39 และ 46 ปีตามลำดับ) ซึ่งสอดคล้องกับการศึกษาในผู้ป่วยยุโรป15 จากข้อมูลวิเคราะห์แบบ univariate analysis เกี่ยวกับปัจจัยที่สัมพันธ์กับการดำเนินโรคพบว่า การตัดม้ามเป็นปัจจัยที่สัมพันธ์กับการดำเนินโรคอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติซึ่งอาจเป็นผลจากผู้ป่วยทุกรายที่ได้รับการตัดม้ามเป็นผู้ป่วยที่อายุน้อยซึ่งมีพยากรณ์โรคที่ดีอยู่แล้ว ทำให้มีการตอบสนองแบบสมบูรณ์หลังการผ่าตัดและมีการดำเนินโรคเป็นระยะสงบทุกราย ดังนั้นจำเป็นต้องมีการศึกษาเพิ่มเติมในผู้ป่วยจำนวนมากขึ้นและหลากหลายเพื่อสรุปผลของการตัดม้ามต่อการดำเนินโรค นอกจากนี้ยังพบว่าการตอบสนองและการตอบสนองแบบสมบูรณ์ต่อการรักษาครั้งแรกเป็นปัจจัยที่สัมพันธ์กับการดำเนินโรคอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเช่นกัน โดยพบว่าผู้ป่วยที่มีการตอบสนองแบบสมบูรณ์จะมีแนวโน้มที่จะมีการดำเนินโรคเป็นระยะสงบในระยะยาวมากกว่า ผู้ป่วยที่มีการตอบสนองแบบปกติและผู้ป่วยที่ไม่มีการตอบสนองหลังการรักษาด้วยยาตัวแรก  เมื่อทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดย multiple logistic regression ไม่พบว่าปัจจัยใดมีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติซึ่งอาจเป็นเพราะจำนวนผู้ป่วยที่ศึกษามีจำนวนน้อย อย่างไรก็ตามพบว่ามีปัจจัยที่มีแนวโน้มที่จะสัมพันธ์กับการดำเนินโรคได้แก่ การตอบสนองหลังการรักษาด้วยยาตัวแรก และเพศ โดยพบว่าความลึกของการตอบสนองหลังการรักษาด้วยยาตัวแรกมีความสัมพันธ์กับการดำเนินโรคทางคลินิกในระยะยาวของผู้ป่วยโรคไอทีพี กล่าวคือถ้าผู้ป่วยที่มีการตอบสนองแบบปกติและมีการตอบสนองแบบสมบูรณ์หลังการรักษาด้วยยาตัวแรกจะมีโอกาสดำเนินโรคเป็นระยะสงบ 3.54  เท่าและ 5.13 เท่าเมื่อเทียบกับผู้ป่วยที่มีการดำเนินโรคเป็นชนิดเรื้อรัง ตามลำดับ (p-value = 0.225) ดังนั้นจะเห็นได้ว่า การตอบสนองต่อการรักษาด้วยยาตัวแรกเป็นปัจจัยสำคัญที่อาจพยากรณ์การดำเนินโรคในผู้ป่วยโรคไอทีพีได้ ซึ่งอาจเป็นปัจจัยที่บ่งชี้ถึงความรุนแรงของความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกันในผู้ป่วยแต่ละราย โดยในผู้ป่วยที่มีการตอบสนองต่อการรักษาด้วยยาตัวแรกที่ลึกกว่าอาจเกิดจากการที่มีความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกันที่รุนแรงน้อยกว่าผู้ป่วยที่มีการตอบสนองแบบปกติ หรือผู้ป่วยที่ไม่มีการตอบสนอง ทำให้มีโอกาสที่มีการดำเนินโรคเป็นระยะสงบในระยะยาวมากว่า นอกจากนี้ยังพบว่าเพศหญิงมีแนวโน้มที่จะมีการดำเนินโรคเป็นระยะสงบประมาณ 2.10 เท่าของเพศชาย (p-value = 0.4)  

จากการศึกษานี้ผู้วิจัยสรุปว่าความลึกของการตอบสนองหลังการรักษาด้วยยาตัวแรกและเพศหญิงเป็นปัจจัยที่มีแนวโน้มที่จะสามารถพยากรณ์การดำเนินโรคเป็นระยะสงบในระยะยาวได้

 

Table 1 Demographic and clinical characteristic data of patients  with immune thrombocytopenic purpura.

 

Characteristics

Patients

Age, year (at enrollment) (N=94)

 

     Mean (SD)

39.91 (17.13)

Sex, (%) (N=94)

 

     Female

70 (74.47)

     Male

24 (25.53)

Follow-up duration, months (N=94)

 

     Mean (SD)

56(55.99)

Clinical presentation, (%) (N=94)

 

     No clinical bleeding

20 (21.27)

     Mild bleeding

56 (59.57)

     Moderate bleeding

15 (15.95)

     Severe bleeding

2 (2.12)

Initial Complete blood count, Mean (SD) (N=94)

 

     WBC (cells/µL)

10371.94 (4583.06)

      Hemoglobin (g/dL)

11.96 (2.00)

      Platelet count (cells/µL)

23758.51 (21283.04)

Response to first-line treatment, (%) (N=89)

 

     No response (platelet < 30 x 109/L)

16 (17.98)

     Response (platelet > 30 x 109/L)

27 (30.34)

     Complete response (platelet > 100 x 109/L)

46 (51.69)

Splenectomy, (%) (N=89)

 

     No

77 (86.52)

     Yes

12 (13.48)

Bone marrow examination, (%) (N=89)

 

     No

58 (65.16)

     Yes

31 (34.83)

Second-line treatment, (%) (N=89)

 

     No treatment

50 (56.17)

     High dose steroid

7 (7.86)

     Immunosuppressive drug

17 (19.10)

     Intravenous immunoglobulin

1(1.12)

     Splenectomy

12 (13.48)

     Other (FFP)

2 (2.24)

Clinical course, (%) (N=89)

 

     Complete response

55 (61.80)

     Chronic ITP

31 (34.83)

     Death

3 (3.37)

 

Table 2  Univariate analysis of clinical predictive factors for chronic ITP status.

Variable

P-value

1.      Splenectomy

0.002

2.      Response to first-line treatment

0.012

3.      Initial platelet count

0.076

4.      Sex

0.101

5.      Clinical presentation

0.227

6.      Age

0.842

 

 

 

Table 3  Multivariate logistic regression of clinical course and response after 1st line treatment in patient with ITP.

Clinical course and variables

Adjusted odds ratio

 

95% CI

 

P-value

Chronic ITP (N=31)

 

 

 

     Response after 1st line treatment     

1.00

Referent

-

     Complete response after 1st line treatment

1.00

Referent

-

     Sex

1.00

Referent

-

     Initial platelet count

1.00

Referent

-

     Splenectomy

1.00

Referent

-

Complete remission (N=55)

 

 

 

     Response after 1st line treatment

3.54

0.56 - 22.28

0.50

     Complete response after 1st line treatment     

5.13

0.87- 30.19

0.18

     Sex (female)

2.10

0.65 - 6.79

0.40

     Initial platelet count

0.99

0.99-1.00

0.30

     Splenectomy

1.46e+08

0

-

 

 

กิตติกรรมประกาศ

ผู้วิจัยขอขอบคุณ คุณแก้วใจ เทพสุธรรมรัตน์ ที่ช่วยในการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ

 

เอกสารอ้างอิง

1.   Frederiksen H, Schmidt K. The incidence of idiopathic thrombocytopenic purpura in adults increases with age.Blood. 1999 ;94:909-13.

2.   Abrahamson PE, Hall SA, Feudjo-Tepie M, Mitrani-Gold FS, Logie J. The incidence of idiopathic thrombocytopenic purpura among adults: a population-based study and literature review. Eur J Haematol 2009;83:83–9.

3.   Neylon AJ, Saunders PWG, Howard MR, Proctor SJ, Taylor PRA. Clinically significant newly presenting autoimmune thrombocytopenic purpura in adults: a prospective study of a population-based cohort of 245 patients. Br J Haematol 2003;122:966-74.

4.   Guidelines for the investigation and management of idiopathic thrombocytopenic purpura in adults, children and in pregnancy.  Br J Haematol  2003;120:574-96.

5.   George JN, Woolf SH, Raskob GE, Wasser JS, Aledort LM, Ballem PJ, et al. Idiopathic thrombocytopenic purpura: a practice guideline developed by explicit methods for the American Society of Hematology. Blood 1996;88:3-40.

6.   Han JJ, Baek SK, Lee JJ, Kim SY, Cho KS, Yoon HJ. Long-term outcomes of a 5-year follow up of patients with immune thrombocytopenic purpura after splenectomy. Korean J Hematol 2010;45:197-204.

7.   Neunert C, Lim W, Crowther M, Cohen A, Solberg L Jr, Crowther MA,  et al. The American Society of Hematology 2011 evidence-based practice guideline for immune thrombocytopenia. Blood 2011; 117:4190-207.

8.   Stasi R, Stipa E, Masi M, Cecconi M, Scimò MT, Oliva F, et al. Long-term observation of 208 adults with chronic idiopathic thrombocytopenic purpura. Am J Med 1995 ;98:436-42.

9.   Fogarty PF. Chronic immune thrombocytopenia in adults: epidemiology and clinical presentation. Hematol Oncol Clin North Am 2009;23:1213-21.

10. Segal JB, Powe NR. Prevalence of immune thrombocytopenia: analyses of administrative data. J Thromb Haemost 2006;4:2377–83.

11.     Wanachiwanawin W, Visudhiphan S, Pinankijagum A, Vatanavicharn S. Therapy of chronic idiopathic thrombocytopenic purpura in adults: experiences from Thailand. Southeast Asian J Trop Med Public Health 1993;24 Suppl 1:71-5.

12.     Wanachiwanawin W, Visudhiphan S, Piankijagum A, Vatanavicharn S. Serious complications following treatment of chronic idiopathic thrombocytopenic purpura. Postgrad Med J 1988 ;64:426-30.

13. Rodeghiero F, Stasi R, Gernsheimer T, Michel M, Provan D, Arnold DM, et al. Standardization of terminology, definitions and outcome criteria in immune thrombocytopenic purpura of adults and children: report from an international working group. Blood 2009; 113:2386-93.

14. Rodeghiero F, Besalduch J, Michel M, Provan D, Grotzinger K, Thompson G. Treatment practices in adults with chronic immune thrombocytopenia–a European perspective. Eur J Haematol 2010; 84:160–8.

15. Schoonen WM, Kucera G, Coalson J, Li L, Rutstein M, Mowat F, et al. Epidemiology of immune thrombocytopenic purpura in General Practice Research Database. Br J Haematol  2009; 145:235-44.

 

 

Untitled Document
Article Location

Untitled Document
Article Option
       Abstract
       Fulltext
       PDF File
Untitled Document
 
ทำหน้าที่ ดึง Collection ที่เกี่ยวข้อง แสดง บทความ ตามที่ีมีใน collection ที่มีใน list Untitled Document
Another articles
in this topic collection

Trichinosis (โรคทริคิโนสิส)
 
A comparison in Newborns of the In situ Duration, Phlebitis and Daily Needle Cost of Scalp Intravenous Uning Steel Needles vs. Intravenous Catheters (เปรียบเทียบการให้สารละลายทางหลอดเลือดดำส่วนปลายบริเวณศรีษะในผู้ป่วยทารกแรกเกิดระหว่างเข็มเหล็กกับเข็มพลาสติก ต่อระยะเวลาคงอยู่การเกิดหลอดเลือดดำอักเสบและราคาของเข็มที่ใช้ต่อวัน)
 
Update Treatment for Osteoporosis (Update Treatment for Osteoporosis)
 
Solitary Pulmonary Nodule : Evaluation and Management (ก้อนเดี่ยวในปอด : การดูแลและรักษา)
 
<More>
Untitled Document
 
This article is under
this collection.

Medicine
 
 
 
 
Srinagarind Medical Journal,Faculty of Medicine, Khon Kaen University. Copy Right © All Rights Reserved.
 
 
 
 

 


Warning: Unknown: Your script possibly relies on a session side-effect which existed until PHP 4.2.3. Please be advised that the session extension does not consider global variables as a source of data, unless register_globals is enabled. You can disable this functionality and this warning by setting session.bug_compat_42 or session.bug_compat_warn to off, respectively in Unknown on line 0