ผลการติดตามกลับเป็นซ้ำของโรคในเดือนที่ 3-7 หลังการให้บริบาลเภสัชกรรม พบว่ามีผู้ป่วยกลับเป็นซ้ำ 4 ราย (ร้อยละ 14.8) เป็นโรคเชื้อราในช่องคลอด 2 รายจาก 15 ราย พยาธิในช่องคลอด 1 รายจาก 12 ราย และเริม 1 รายจาก 2 รายแต่ไม่พบการกลับเป็นซ้ำในผู้ป่วยโรคหนองในเทียม สอดคล้องกับการศึกษาก่อนหน้านี้ของ Thurman และคณะในปี ค.ศ. 2008 ที่เป็นการศึกษาเกี่ยวกับการกลับเป็นซ้ำในผู้ป่วยโรคหนองในแท้และหนองในเทียมใน รัฐเทกซัส ประเทศสหรัฐอเมริกา การศึกษาเป็นแบบ RCT โดยแบ่งผู้ป่วยเป็นกลุ่มที่ได้รับความรู้เรื่องเพศสัมพันธ์ (Sexual Awareness For Everyone หรือ SAFE) และกลุ่มที่ไม่ได้รับความรู้ ผลการศึกษาพบว่าผู้ป่วยโรคหนองในวัยผู้ใหญ่ในกลุ่มที่ไม่ได้รับความรู้เรื่องเพศสัมพันธ์ จะมีการกลับเป็นซ้ำของโรคร้อยละ 14.4 ภายในระยะเวลา 0-6 เดือน ซึ่งมากกว่ากลุ่มที่ได้รับความรู้ (p= 0.04) 9
การศึกษานี้มีข้อจำกัดได้แก่ จำนวนผู้ป่วยที่เข้าร่วมการศึกษาน้อย และการติดตามผลทางโทรศัพท์ ซึ่งอาจทำให้ได้ข้อมูลจากผู้ป่วยที่คลาดเคลื่อนไป อย่างไรก็ตามผลการศึกษานี้อาจเพิ่มความตระหนักถึงความสำคัญของการบริบาลเภสัชกรรมแก่ผู้ป่วยโรคติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ในร้านยา และสามารถนำ ไปใช้เพื่อเป็นแนวทางแก่ผู้ให้บริการในร้านยา เพื่อลดปัญหาการเกิดโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์รวมถึงปัญหาโรคเอดส์ซึ่งเป็นปัญหาสำคัญของระบบสาธารณสุขของประเทศไทย ทำให้ลดจำนวนผู้ป่วยและลดรายจ่ายที่ใช้ในการดูแลผู้ป่วยได้
สรุป
จากการศึกษาในครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าการให้บริบาลเภสัชกรรมแก่ผู้ป่วยโรคติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ที่มารับบริการในร้านยาสามารถเพิ่มความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับโรค การรักษา และการปฏิบัติตัวเพื่อหลีกเลี่ยงการรับหรือแพร่เชื้อ รวมถึงอาจมีส่วนช่วยป้องกันการกลับเป็นซ้ำของโรค และเพิ่มความพึงพอใจในการให้บริการในร้านยา
กิตติกรรมประกาศ
ผู้วิจัยขอขอบพระคุณ ภญ.กษมา โชคติวัฒน์ ที่เอื้อเฟื้อสถานที่ในการเก็บข้อมูล ตรวจสอบความถูกต้องของเครื่องมือ และให้คำปรึกษาตลอดการทำงานวิจัย และขอขอบพระคุณ คุณเกศมุกดา จันทร์ศิริ สำหรับความรู้และคำปรึกษาด้านการทำงานเกี่ยวกับโรคติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ เพื่อนำมาใช้ในการศึกษาครั้งนี้
เอกสารอ้างอิง
1.กลุ่มโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ สำนักโรคเอดส์ วัณโรค และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์. รายงานสถานการโรคติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์. กรุงเทพ: สำนักโรคเอดส์ วัณโรค และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์, 2545.
2.สุภรต์ จรัสสิทธิ์. สถานการณ์โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์และเอดส์ของประชากรไทย ในช่วงทศวรรษ 2540 (พ.ศ. 2540-2549). ใน: กฤตยา อาชวนิจกุล, กาญจนา ตั้งชลทิพย์, บรรณาธิการ. ประชากรและสังคม: มิติ เพศ ในประชากรและสังคม. กรุงเทพ: สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล, 2551: 198-209.
3.มาลี โรจน์พิบูลสถิต. การจ่ายยารักษาโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ในร้านขายยา ในเขตจังหวัดสงขลา. [วิทยานิพนธ์เภสัชศาสตร์มหาบัณฑิต] บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 2541.
4.Bowie WR. Antibiotics and sexually transmitted diseases. Infect Dis Clin North Am 1994;8:841-57.
5.คณะกรรมการโครงการพัฒนาศักยภาพบุคลากรร้านขายยา ภายใต้โครงการพัฒนาศักยภาพการ
บริการตรวจรักษาโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ในกรุงเทพมหานคร. คู่มือการดูแลรักษาโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ สำหรับบุคลากรในร้านยา พ.ศ. 2549. กรุงเทพ: สำนักโรคเอดส์ วัณโรค และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์, 2549.
6.กลุ่มโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ สำนักโรคเอดส์ วัณโรค และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์.
มาตรฐานการรักษาโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ พ.ศ.2546. กรุงเทพ: สำนักโรคเอดส์ วัณโรค และโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์, 2546.
7.อดิศักดิ์ ถมอุดทา, เกศมุกดา จันทร์ศิริ. รายงานบทบาทเภสัชกรร้านยาในการบริบาลเภสัชกรรมผู้ป่วย
โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ กรณีร้านขายยาเภสัชกรอดิศักดิ์ โรงพยาบาลมหาสารคาม. มหาสารคาม: โรงพยาบาลมหาสารคาม, 2550.
8. Azeredo TB, Oliveira MA, Luiza VL, Esher A, Campos MR. User satisfaction with pharmacy services in the Brazilian National STD/AIDS Program: validity and reliability issues. Cad. Saúde Pública 2009;25:1597-609.
9.Thurman AR, Holden AEC, Shain RN, Miller WB, Piper JM, Perdue ST, et al. Preventing recurrent sexually transmitted diseases in minority adolescents: a randomized controlled trial. Obstet Gynecol 2008;111:1417-25.