วิจารณ์
ในปัจจุบันการผ่าตัดถุงน้ำดีผ่านทางกล้องวีดีทัศน์ถือเป็นมาตรฐานในการรักษา benign disease of gall bladder เริ่มแรกทำโดยใช้ four port ตามแบบ French3 หรือ American technique5 ต่อมามีการลดจำนวน และ/หรือขนาด แผลผ่าตัด เช่น Three port LC6-9, Two Incision LC10-13, Single port LC14-17, Needlescopic LC19 เพื่อมุ่งหวังให้เกิด less minimally invasive surgery ผู้ป่วยฟื้นตัวเร็วขึ้น ปวดแผลผ่าตัดน้อยลง ระยะพักฟื้นสั้นลง โดยผลการรักษาและความปลอดภัยของผู้ป่วย ต้องเท่าหรือดีกว่าเดิม ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบการศึกษาอื่น Poom และคณะ20 ได้รายงานผู้ป่วย Two-Port LC 120 ราย โดยใช้ Modified operating telescope (ที่มีช่องใส่ grasping forceps) ระยะเวลาผ่าตัดเฉลี่ย 54.6+24.7 นาที นอนโรงพยาบาลเฉลี่ย 2 วัน Leung และคณะ11 ได้รายงานผู้ป่วย 52 ราย ทำ Two-Port LC ใช้ Modified operating telescope (ที่มีช่องใส่ grasping forceps) ร่วมกับ percutaneous sling ช่วย retract gall bladder ระยะเวลาผ่าตัดเฉลี่ย 72 นาที นอนโรงพยาบาลเฉลี่ย 3.6 วัน Lomanto และคณะ12 รายงานผู้ป่วย 25 ราย ทำ Two-Port LC ร่วมกับ 2 traction stitches ระยะเวลาผ่าตัดเฉลี่ย 42 นาที นอนโรงพยาบาลเฉลี่ย 1.6 วัน Ramachandran และคณะ13 รายงานผู้ป่วย 50 ราย ทำ Two-Port LC ร่วมกับ 3 traction stitches ระยะเวลาผ่าตัดเฉลี่ย 56 นาที นอนโรงพยาบาลเฉลี่ย 1.31 วัน จากผลการศึกษานี้พบว่า ระยะเวลาผ่าตัด จำนวนการใช้ยาแก้ปวดที่ฉีด และจำนวนวันนอนโรงพยาบาล ไม่ต่างกัน แต่ต่างกันที่ค่าใช้จ่าย ซึ่งในกลุ่ม MTILC น้อยกว่ากลุ่ม SFPLC อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ อันเป็นผลจากการลด Trocar ไปได้ 2 ชิ้น ซึ่งประหยัดค่าใช้จ่ายของ Trocar ชิ้นละประมาณ 2,200 บาท รวมเป็น 4,400 บาท และยังลดค่าใช้จ่ายของผู้ช่วยในการผ่าตัดลงได้อีก 1 ราย
ข้อดีของวิธีนี้ยังช่วยให้โรงพยาบาลไม่ต้องซื้อเครื่องมืออื่นใดเพิ่มเติม เพียงใช้เครื่องมือเดิมที่ทำ SFPLC ก็สามารถทำการผ่าตัดได้เลย เพียงแต่ต้องอาศัยประสบการณ์และความชำนาญของศัลยแพทย์ที่ต้องสามารถใช้ Two hand technique จนชำนาญมาก่อน นอกจากนี้ยังอาจลดจำนวนพยาบาลช่วยผ่าตัดเหลือเพียงคนเดียว ทำหน้าที่จับกล้องและส่งเครื่องมือ ก็จะแก้ปัญหาการขาดแคลนบุคลากรและค่าใช้จ่ายในการจ้างบุคลากรได้อีกทางหนึ่ง
ในปัจจุบันมีการทำ Three-port LC มากขึ้น เนื่องจากศัลยแพทย์มีประสบการณ์มากขึ้น ทำให้ลดการใช้ port ที่4 ที่ใช้ grasping forceps จับที่ fundus of gall bladder แล้ว traction ขึ้นบนให้เห็น operative field ชัดเจนขึ้น จากการรวบรวมรายงานของ Sun S และคณะ 21 พบว่าการทำ Three-port LC เปรียบเทียบกับ Four-port LC ไม่มีความแตกต่างกันในด้านระยะเวลาผ่าตัด จำนวนยาแก้ปวดที่ใช้ และจำนวนวันนอนโรงพยาบาล แต่การทำ Three-port LC ศัลยแพทย์ต้องมีประสบการณ์ในการทำ Standard Four-port LC จนชำนาญในการใช้ two hand technique ก่อน
อีกวิธีหนึ่งที่มีการทำมากในช่วง 2 ปีนี้คือ Single Incision LC(SILC) มีแผลผ่าตัดเดียว ใช้multichannel port ที่สามารถใส่กล้องและเครื่องมือผ่าตัดได้ในแผลเดียวกัน Markar และคณะ 22 ได้รวบรวมรายงานการทำ SILC เปรียบเทียบกับ multiport LC พบว่าระยะเวลาผ่าตัดในกลุ่ม SILC นานกว่ากลุ่ม multiport LC ส่วนภาวะแทรกซ้อน ความเจ็บปวด และจำนวนวันนอนโรงพยาบาลไม่ต่างกัน แต่วิธีนี้ต้องมีการซื้อเครื่องมือเพิ่มเติมคือ multichannel port และเครื่องมือผ่าตัดที่ปลายสามารถโค้งงอได้ ทำให้ต้องสิ้นเปลืองงบประมาณของโรงพยาบาลมากขึ้น
การทำ MTILC เป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการผ่าตัดผู้ป่วย ให้ได้รับความปลอดภัย ช่วยลดค่าใช้จ่าย และลดจำนวนบุคลากรของโรงพยาบาลได้
สรุป
การผ่าตัด Modified Two-Incision LC สามารถทำได้อย่างปลอดภัย ค่าใช้จ่ายน้อยกว่า เมื่อเทียบกับ Standard Four-Port LC
กิตติกรรมประกาศ
ขอขอบคุณ นายแพทย์ชลิต ทองประยูร ผู้อำนวยการโรงพยาบาลบุรีรัมย์ นายแพทย์วุฒินันท์ พันธะเสน นางสาวชุติมา ดีสวัสดิ์ และนางสมปอง จันทะคราม ที่ช่วยให้คำแนะนำในการทำวิจัยและเขียนบทความ
เอกสารอ้างอิง
1. Espiner HJ KG, Farndon J. Operative surgery and management Oxford: Butterworth-Heinemann Ltd; 1994. p. 304-7.
2. Dubois F, Icard P, Berthelot G, Levard H. Coelioscopic cholecystectomy. Preliminary report of 36 cases. Ann Surg 1990;211:60-2.
3. Litynski GS. Profiles in laparoscopy: Mouret, Dubois, and Perissat: the laparoscopic breakthrough in Europe (1987-1988). JSLS 1999 ;3:163-7.
4. วชิระ โรจน์พิศาลวงศ์. การส่องกล้องผ่าตัดถุงน้ำดี. วชิรเวชสาร 2534; 35: 35-8.
5. Olsen DO. Laparoscopic cholecystectomy. Am J Surg 1991;161:339-44.
6. Parkpoom Manositisak. Comparative Study Between Modified Three Port and Standard Four Port Laparoscopic Cholecystectomy in Kalasin Hospital. Srinagarind Med J 2010; 25:165-256.
7. Al-Azawi D, Houssein N, Rayis AB, McMahon D, Hehir DJ. Three-port versus four-port laparoscopic cholecystectomy in acute and chronic cholecystitis. BMC Surg 2007;7:8.
8. Trichak S. Three-port vs standard four-port laparoscopic cholecystectomy. Surg Endosc. 2003; 17: 1434-6.
9. Kumar M, Agrawal CS, Gupta RK. Three-port versus standard four-port laparoscopic cholecystectomy: a randomized controlled clinical trial in a community-based teaching hospital in eastern Nepal. JSLS 2007;11:358-62.
10. Poon CM, Chan KW, Ko CW, Chan KC, Lee DW, Cheung HY, Lee KW. Two-port laparoscopic cholecystectomy: initial results of a modified technique. J Laparoendosc Adv Surg Tech A 2002;12:259-62.
11. Leung KF, Lee KW, Cheung TY, Leung LC, Lau KW. Laparoscopic cholecystectomy: two-port technique. Endoscopy 1996 ;28:505-7.
12. Lomanto D, De Angelis L, Ceci V, Dalsasso G, So J, Frattaroli FM, et al. Two-trocar laparoscopic cholecystectomy: a reproducible technique. Surg Laparosc Endosc Percutan Tech 2001 ;11:248-51.
13. Ramachandran CS, Arora V. Two-port laparoscopic cholecystectomy: an innovative new method for gallbladder removal. J Laparoendosc Adv Surg Tech A 1998;8:303-8.
14. Hirano Y, Watanabe T, Uchida T, Yoshida S, Tawaraya K, Kato H, et al. Single-incision laparoscopic cholecystectomy: single institution experience and literature review. World J Gastroenterol 2010;16:270-4.
15. Navarra G, Pozza E, Occhionorelli S, Carcoforo P, Donini I. One-wound laparoscopic cholecystectomy. Br J Surg 1997 ;84:695.
16. Tacchino R, Greco F, Matera D. Single-incision laparoscopic cholecystectomy: surgery without a visible scar. Surg Endosc 2009;23:896-9.
17. Piskun G, Rajpal S. Transumbilical laparoscopic cholecystectomy utilizes no incisions outside the umbilicus. J Laparoendosc Adv Surg Tech A 1999;9(4):361-4.
18. Lee PC, Lai IR, Yu SC. Minilaparoscopic (needlescopic) cholecystectomy: a study of 1,011 cases. Surg Endosc 2004;18:1480-4.
19. Nathanson LK, Shimi S, Cuschieri A. Laparoscopic cholecystectomy: the Dundee technique. Br J Surg 1991 ;78:155-9.
20. Poon CM, Chan KW, Lee DW, Chan KC, Ko CW, Cheung HY, et al. Two-port versus four-port laparoscopic cholecystectomy. Surg Endosc 2003;17:1624-7.
21. Sun S, Yang K, Gao M, He X, Tian J, Ma B. Three-port versus four-port laparoscopic cholecystectomy: meta-analysis of randomized clinical trials. World J Surg 2009 ;33:1904-8.
22. Markar SR, Karthikesalingam A, Thrumurthy S, Muirhead L, Kinross J, Paraskeva P. Single-incision laparoscopic surgery (SILS) vs. conventional multiport cholecystectomy: systematic review and meta-analysis. Surg Endosc 2011 Dec 16. [Epub ahead of print]