Untitled Document
 
 
 
 
Untitled Document
Home
Current issue
Past issues
Topic collections
Search
e-journal Editor page

Patellar rim electrocautery reduce anterior knee pain after total knee arthroplasty; A randomized controlled trial

การจี้ไฟฟ้ารอบกระดูกสะบ้าในการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่า:การทดลองเชิงสุ่ม

Mongkon Luechoowong (มงคล ลือชูวงศ์) 1




หลักการและวัตถุประสงค์ : อาการปวดเข่าด้านหน้าหลังการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเป็นปัญหาที่พบได้บ่อยโดยเฉพาะในกลุ่มที่ไม่ได้เปลี่ยนกระดูกสะบ้าซึ่งบางรายงานอาจสูงถึงร้อยละ 49  ประสิทธิผลของการจี้ไฟฟ้ารอบกระดูกสะบ้าในการลดอาการปวดเข่าด้านหน้ายังคงไม่มีหลักฐานเชิงประจักษ์ถึงประโยชน์ที่ได้รับ ผู้ศึกษาได้ทำการทดลองเชิงสุ่มเพื่อเปรียบเทียบถึงประสิทธิผลของการจี้ไฟฟ้าโดยจุดประสงค์หลักคือการลดอาการปวดเข่าด้านหน้า จุดประสงค์รองคือการประเมินผลทางคลินิกโดย American Knee Society Score (AKSS) และ patellar score

วิธีการศึกษา: ผู้ป่วยข้อเข่าเสื่อมชนิดปฐมภูมิที่ผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าและไม่เปลี่ยนกระดูกสะบ้าได้รับการสุ่มแยกเป็นกลุ่มที่จี้ไฟฟ้ารอบกระดูกสะบ้าและไม่จี้ไฟฟ้า กลุ่มที่จี้ไฟฟ้าจำนวน 41 ราย ไม่จี้ไฟฟ้าจำนวน 43 ราย ติดตามการรักษาที่เวลา 1 ปี ศึกษาอุบัติการณ์การเกิดอาการปวดเข่าด้านหน้า และผลทางคลินิกของการผ่าตัดโดยใช้ AKSS และ patellar score

ผลการศึกษา: พบว่าการจี้ไฟฟ้ารอบกระดูกสะบ้าลดอุบัติการณ์การเกิดอาการปวดเข่าด้านหน้าจากร้อยละ 32.6 ในกลุ่มที่ไม่จี้ไฟฟ้าเหลือร้อยละ 12.2 อย่างมีนัยสำคัญ (p=0.04) ไม่พบความแตกต่างทางคลินิกเมื่อประเมินโดย AKSS และ patellar score

สรุป : การจี้ไฟฟ้ารอบกระดูกสะบ้าสามารถลดอุบัติการณ์การเกิดอาการปวดเข่าด้านหน้า

คำสำคัญ : การผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่า, อาการปวดเข่าด้านหน้า, การจี้ไฟฟ้ารอบกระดูกสะบ้า

 

Background and objective : Anterior knee pain is a common problem after total knee arthroplasty. The incidence is as high as 49% in patients undergoing total knee arthroplasty with patellar retention. The efficacy of patellar rim electrocautery in reducing the incidence of anterior knee pain is unknown.  We conducted a prospective randomized double blinded control trial to demonstrate the effect of patellar rim electrocautery in totally knee arthroplasty with patellar retention.  The primary outcome measure was the anterior knee pain. The secondary outcomes were the clinical outcomes measured by American Knee Society Score (AKSS) and Patellar Score.

Methods : Patients requiring total knee arthroplasty with patellar retention for primary osteoarthritis were randomly assigned patellar rim electrocautery and without electrocautery. A total of 41 patients with patellar rim electrocautery and 43 patients without patellar rim electrocautery were included in this study. The incidence of anterior knee pain and clinical outcomes measured by AKSS and patellar score at 1 year follow up period were comparied.

Results : Postoperative anterior knee pain at one year after surgery was significantly lower in patellar rim electrocautery group 32.6% vs  12.2 %, (p=0.04). There was no significant difference in clinical AKSS and patellar score.

Conclusions : Patellar rim electrocautery is an effective method to reduce postoperative anterior knee pain.

Keywords: total knee arthroplasty, anterior knee pain, patellar rim electrocautery

 

บทนำ

การผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเพื่อใช้รักษาภาวะข้อเข่าเสื่อมระยะสุดท้ายเป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปว่าได้ผลดี สามารถลดอาการปวดเข่า เพิ่มการทำงานของข้อเข่า  แต่อย่างไรก็ตามยังมีข้อโต้แย้งที่ยังไม่มีข้อยุติ ในการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าในประเด็นเกี่ยวกับการผ่าตัดกระดูกสะบ้าได้แก่ การเปลี่ยนหรือไม่เปลี่ยนกระดูกสะบ้า1-4 การตกแต่งกระดูกสะบ้า (patelloplasty) และการจี้ไฟฟ้ารอบกระดูกสะบ้า(patellar rim electrocautery)

 

อาการปวดเข่าด้านหน้า (anterior knee pain) หลังการผ่าตัดเปลี่ยนเข่าเป็นปัญหาที่พบได้บ่อยทั้งในผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าที่เปลี่ยนกระดูกสะบ้าและไม่เปลี่ยนกระดูกสะบ้าโดยเฉพาะในกลุ่มที่ไม่ได้เปลี่ยนกระดูกสะบ้าอาจพบได้ถึงร้อยละ 4-495-11 จากการศึกษาของ Burnett  และคณะพบว่า ประมาณ 1 ใน 3 ของผู้ป่วยที่มีอาการปวดเข่าด้านหน้า อาการปวดอาจรุนแรงถึงขั้นที่ต้องทำการผ่าตัดเปลี่ยนกระดูกสะบ้า7 สาเหตุของอาการปวดเข่าด้านหน้ามาจากหลายๆปัจจัย เช่น การออกแบบข้อเข่าเทียม12,13 เทคนิคการผ่าตัด การวางตำแหน่งข้อเข่าเทียม14,15 การที่ไม่เปลี่ยนกระดูกสะบ้า7 และการขาดการประสานงานในการยืดหดตัวของกล้ามเนื้อ vastus 16  การจี้ไฟฟ้ารอบกระดูกสะบ้า(patellar rim electrocautery) เพื่อที่จะทำลายเส้นประสาทที่มาเลี้ยงกระดูกสะบ้า17เป็นเทคนิคที่ศัลยแพทย์บางท่านนำมาใช้ โดยหวังว่าจะลดอุบัติการณ์การปวดเข่าด้านหน้าในการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าที่ไม่เปลี่ยนกระดูกสะบ้ายังเป็นประเด็นที่ยังไม่มีข้อสรุปชัดเจนและมีการศึกษาน้อยมากถึงประโยชน์ที่ได้รับรวมถึงผลเสียที่อาจเกิดขึ้น

วัตถุประสงค์

          เพื่อศึกษาประสิทธิผลของการจี้ไฟฟ้ารอบกระดูกสะบ้าในการลดอุบัติการณ์ การเกิดอาการปวดเข่าด้านหน้าในผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าที่ไม่เปลี่ยนกระดูกสะบ้าและผลทางคลินิกของการผ่าตัดเข่าโดยประเมินจาก American Knee Society Score (AKSS)18 และ patellar score19 ดังแสดงในภาคผนวก

 

วิธีการศึกษา

หลังจากการศึกษานี้ได้รับการรับรองจากคณะกรรมการจริยธรรมโรงพยาบาลสุโขทัยและได้รับความยินยอมจากผู้ป่วยเป็นลายลักษณ์อักษร ผู้วิจัยจึงดำเนินการศึกษาในผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าในโรงพยาบาลสุโขทัย ระหว่างเดือน มกราคม พ.ศ.2551-ธันวาคม พ.ศ.2552 จำนวน 88 ราย ผู้ป่วยที่ศึกษาเป็นข้อเข่าเสื่อมชนิดปฐมภูมิ โดยไม่รวมผู้ป่วยที่เคยผ่าตัดเกี่ยวกับกระดูกสะบ้าหรือมีการผ่าตัดรอบข้อเข่า เช่น high tibial osteotomy, supracondylar fracture of femur และผู้ป่วยที่เป็น inflammatory arthritis ผู้ป่วยที่ศึกษาจะได้รับการประเมิน AKSS และ patellar score ก่อนการผ่าตัด การผ่าตัดกระทำโดยแพทย์ผู้ผ่าตัดคนเดียวกันในผู้ป่วยทุกราย ทำผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าโดยไม่เปลี่ยนกระดูกสะบ้า โดยใช้ข้อเข่าเทียมชนิด Nexgen LPS posterior stabilized fixed-bearing  knee design (Zimmer, Warsaw, United States)  สุ่มผู้ป่วยให้ได้รับการจี้ไฟฟ้าและไม่จี้ไฟฟ้ารอบกระดูกสะบ้า โดยการสุ่มจับฉลากที่ทำหมายเลขไว้ 1-88  ถ้าฉลากที่ได้เป็นเลขคี่จะไม่จี้รอบกระดูกสะบ้า ถ้าเป็นเลขคู่จะจี้รอบกระดูกสะบ้า

เทคนิคการผ่าตัด ผู้ป่วยทุกรายได้รับยาปฏิชีวนะเพื่อป้องกันการติดเชื้อแผลผ่าตัด ลงมีดแผลผ่าตัดในลักษณะ mid-line skin incision  หลังจากนั้นเปิดเข้าข้อโดย paramedial arthrotomy  ตัดกระดูก tibia ก่อน โดยใช้ extra-medullary alignment guide  หลังจากนั้นตัดกระดูก femur ส่วน distal โดยใช้ intra-medullary guide ตั้งค่า valgus 5 องศา ตัดกระดูก anterior และ posterior femoral condyle โดยตั้งค่า external rotation 3 องศาเมื่อเทียบกับ posterior femoral condyle ตรวจสอบระยะ flexion gap และ extension gap จากนั้นเลาะเนื้อเยื่ออ่อนเพื่อจัดสมดุลของ flexion gap and extension gap  ข้อเทียมส่วน femoral และ tibia ใส่ในกระดูกผู้ป่วยโดยใช้ bone cement เป็นตัวยึด หลังจากนั้นตัด กระดูกงอกรอบกระดูกสะบ้า เสร็จแล้วจึงสุ่มจับฉลากที่ทำหมายเลขไว้ 1-88 ถ้าฉลากที่ได้เป็นเลขคี่จะไม่จี้รอบกระดูกสะบ้า ถ้าเป็นเลขคู่จะจี้รอบกระดูกสะบ้า การจี้ไฟฟ้ารอบกระดูกสะบ้าทำโดยใช้เครื่องจี้ไฟฟ้าจี้รอบขอบของกระดูกสะบ้า ระยะห่างประมาณ 2 มิลลิเมตร แล้วประเมินการเคลื่อนตัวของกระดูกสะบ้าบนกระดูก femur ถ้ามีปัญหาการเคลื่อนตัวไม่ดีพิจารณาทำ lateral release of patella เย็บปิดผิวหนังตามกายวิภาคเดิม  ติดตามผลการผ่าตัดที่เวลา  2 สัปดาห์ 8 สัปดาห์ 6 เดือน และที่เวลา 1 ปีหลังผ่าตัด โดยทำการประเมินอาการปวดเข่าด้านหน้า, AKSS และ patellar score โดยพยาบาลวิชาชีพประจำห้องตรวจศัลยกรรมกระดูก ผู้ป่วยและผู้วัดผลไม่ทราบว่าผู้ป่วยรายไหนได้รับการจี้ไฟฟ้ารอบกระดูกสะบ้าหรือไม่

 

นำข้อมูลมาระบุรหัสแล้วบันทึกลงคอมพิวเตอร์วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS 12.1 (SPSS Inc., Chicago, IL) เพื่อแจกแจงความถี่และคำนวณค่าเฉลี่ย  เปรียบเทียบเพศและค่าเฉลี่ยของอายุระหว่างกลุ่มที่จี้ไฟฟ้ารอบกระดูกสะบ้าและไม่จี้ไฟฟ้าด้วยการทดสอบ chi-square  และ unpaired t-test ตามลำดับ ใช้ unpaired t-test สำหรับข้อมูลต่อเนื่องในแต่ละกลุ่มเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของ AKSS patellar score อาการปวดเข่า พิสัยการเคลื่อนไหวของข้อ อาการปวดเข่าด้านหน้า ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ quadriceps ความสามารถในการลุกจากเก้าอี้ และความสามารถในการขึ้นบันไดระหวางกลุ่มที่จี้ไฟฟ้าและไม่จี้ไฟฟ้ารอบๆ กระดูกสะบ้า กำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ α-0.05

คำนวณจำนวนตัวอย่างโดยทำการศึกษานำร่องกลุ่มละ 10 ราย ด้วยความเชื่อมั่นร้อยละ 95 และอำนาจในการทดสอบร้อยละ 80 ได้จำนวนตัวอย่างที่ศึกษากลุ่มละ 41 ราย

ผลการศึกษา

          ในกลุ่มผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าที่จี้ไฟฟ้า จำนวน 44 ราย ไม่สามารถติดตามการรักษาได้เนื่องจากการย้ายที่อยู่ 2 ราย เสียชีวิตจากภาวะหัวใจล้มเหลวหลังผ่าตัดเป็นเวลา 5 เดือน 1 รายคงเหลือผู้ป่วยในกลุ่มนี้ 41 ราย สำหรับกลุ่มที่จี้ไฟฟ้าไม่สามารถติดตามการรักษาจำนวน 1 ราย คงเหลือผู้ป่วยในกลุ่มนี้จำนวน 43 ราย คงเหลือผู้ป่วยที่ศึกษาทั้งหมด 84 ราย เป็นเพศชาย 15 ราย หญิง 69 ราย แบ่งเป็นผู้ได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเข่าที่ไม่เปลี่ยนกระดูกสะบ้าและได้รับการจี้ไฟฟ้ารอบกระดูกสะบ้า จำนวน 41 ราย ที่ไม่ได้รับการจี้ไฟฟ้า จำนวน 43 ราย จำนวนเพศชายและหญิงในทั้งสองกลุ่มไม่แตกต่างกัน (p=0.45) อายุเฉลี่ยของผู้ป่วยทั้งสองกลุ่มไม่แตกต่างกัน (p=0.1) (ตารางที่ 1)

 

          การติดตามผลการรักษาที่เวลา 1 ปี พบว่าผู้ป่วยมีอาการปวดเข่าด้านหน้าทั้งหมด 19 ราย (ร้อยละ 22.6) เป็นกลุ่มที่มีการจี้ไฟฟ้ารอบๆกระดูกสะบ้า 5 ราย (ร้อยละ 12.2) สำหรับกลุ่มที่ไม่จี้ไฟฟ้าพบ 14 คน (ร้อยละ 32.6) ซึ่งมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p=0.04) จำนวนผู้ป่วยที่มีอาการปวดเข่าด้านหน้าแยกตามความรุนแรงโดยอาการปวดน้อยคืออาการปวดที่ไม่รบกวนการใช้ชีวิตประจำวัน อาการปวดปานกลางคืออาการปวดที่รบกวนการใช้ชีวิตประจำวันแต่ผู้ป่วยไม่ต้องการการผ่าตัดแก้ไข และอาการปวดรุนแรงคืออาการปวดที่ผู้ป่วยต้องการได้รับการผ่าตัดแก้ไข (ตารางที่ 2) ผู้ป่วยที่จี้ไฟฟ้ามีคะแนน patellar score ดีกว่ากลุ่มที่ไม่จี้ไฟฟ้าอย่างมีนัยสำคัญ (p=0.03) แต่อย่างไรก็ตามความแตกต่างของ patellar score มีน้อยไม่มีผลในทางคลินิกเนื่องจากไม่มีความแตกต่างของปัจจัยย่อยอื่นของ patellar score ยกเว้นอาการปวดเข่าด้านหน้าที่แตกต่างกันเล็กน้อย ในขณะที่ AKSS ทั้งสองกลุ่มไม่แตกต่างกัน (ตารางที่ 3) สำหรับปัจจัยย่อยของ AKSS และ patellar score พบความแตกต่างของค่าเฉลี่ย ของอาการปวดเข่าด้านหน้าอย่างมีนัยสำคัญ (p=0.04) ในขณะที่ปัจจัยที่เหลือไม่พบความแตกต่าง (ตารางที่ 4)

ตารางที่ 1 ข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ป่วยที่ผ่าตัดข้อเข่าเทียมโดยไม่เปลี่ยนกระดูกสะบ้าระหว่างการจี้ไฟฟ้าและไม่จี้ไฟฟ้า

ข้อมูลส่วนบุคคล

จำนวนผู้ป่วยผ่าตัดข้อเข่าเทียม (ร้อยละ)

จี้ไฟฟ้า

(จำนวน=41)

ไม่จี้ไฟฟ้า

(จำนวน=43)

p-value

เพศ

 

 

0.45

ชาย

6 (15)

9 (21)

 

หญิง

35 (85)

34 (79)

 

อายุเฉลี่ย±sd(ปี)

62.6±8.6

65.4±6.7

0.10

ตารางที่ 2 จำนวนผู้ป่วยที่มีอาการปวดเข่าด้านหน้า

อาการปวดเข่าด้านหน้า

จี้ไฟฟ้า

 (จำนวน=41)

ไม่จี้ไฟฟ้า

 (จำนวน=43)

ไม่มี

36

29

เล็กน้อย

4

12

ปานกลาง

1

2

รุนแรง

0

0

 

ตารางที่ 3 ค่าเฉลี่ยของ AKSS, Patellar Score ก่อนและหลังผ่าตัด 1 ปี ระหว่างกลุ่มที่จี้ไฟฟ้าและไม่จี้ไฟฟ้า

Score

ค่าเฉลี่ย±ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน

p-value*

จี้ไฟฟ้า

(จำนวน=41)

ไม่จี้ไฟฟ้า

(จำนวน=43)

AKSS

 

 

 

  Knee score

          ก่อนผ่าตัด

          หลังผ่าตัด

 

35.7±8.15

88.6±4.14

 

32.9±8.05

88.8±4.38

 

0.12

0.78

  Function score

          ก่อนผ่าตัด

          หลังผ่าตัด

 

 

43.4±10.81

86.2±10.77

 

39.5±12.09

85.0±10.29

 

0.13

0.59

Patellar Score

          ก่อนผ่าตัด

          หลังผ่าตัด

 

19.9±3.28

26.1±3.66

 

21.2±3.40

24.3±3.55

 

0.08

 0.03*

ตารางที่ 4 ผลทางคลินิกของการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าที่ไม่เปลี่ยนกระดูกสะบ้าระหว่างกลุ่มที่จี้ไฟฟ้าและไม่จี้ไฟฟ้า

ผลทางคลินิก

ค่าเฉลี่ย±ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน

p-value*

จี้ไฟฟ้า

(จำนวน=41)

ไม่จี้ไฟฟ้า

(จำนวน=43)

Knee score subgroup

 

 

 

ความปวดเข่า

45.9±2.94

46.1±2.33

0.74

พิสัยการเคลื่อนไหวของเข่า

23.0±1.35

22.8±0.98

0.53

Patellar score subgroup

 

 

 

อาการปวดเข่าด้านหน้า

14.3±2.11

13.1±2.89

0.04*

ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ Quadriceps

4.2±0.99

4.0±0.99

0.32

ความสามารถในการลุกจากเก้าอี้

3.7±0.96

3.5±0.86

0.28

ความสามารถในการขึ้นบันได

3.9±0.82

3.7±0.69

0.27

 

วิจารณ์

          จากการศึกษานี้พบว่าการจี้ไฟฟ้ารอบกระดูกสะบ้าในการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าที่ไม่เปลี่ยนกระดูกสะบ้าทำให้อุบัติการณ์การเกิดอาการปวดเข่าด้านหน้าลดลง โดยที่ไม่พบภาวะ osteonecrosis of patella หรือมีผลเสียต่อการทำงานโดยรวมของเข่า การงอเหยียดเข่า ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ quadriceps ซึ่งตรงกับรายงานของ Vega และคณะ17 ที่ได้ศึกษาโดยการใช้จี้ไฟฟ้าจี้รอบกระดูกสะบ้าผ่านทางกล้องส่องข้อเข่าในผู้ป่วยที่มีอาการปวดเข่าด้านหน้าโดยที่ไม่มี mal-tracking ของ patellofemoral ซึ่งสามารถอธิบายจากการที่จี้ไฟฟ้าทำให้เกิด thermal injury ต่อ nociceptive receptor ที่อยู่รอบกระดูกสะบ้าและเนื้อเยื่อรอบกระดูกสะบ้า นอกจากนี้การจี้ไฟฟ้ารอบกระดูกสะบ้าในการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่ายังช่วยทำให้การเลาะเล็มกระดูกงอกรอบกระดูกสะบ้าได้หมดจดขึ้น ช่วยให้ patellofemoral-tracking ดีขึ้น

           กระดูกสะบ้าได้รับเส้นประสาทมาเลี้ยงผ่านมาจากกล้ามเนื้อ vastus medialis และ vastus lateralis ทาง supero-medial และ supero-lateral 20 ได้มีการทดลองฉีดยาชาเฉพาะที่ที่เส้นประสาทสองเส้นนี้ในผู้ป่วยที่มีอาการปวดเข่าด้านหน้าพบว่าผู้ป่วยมีอาการดีขึ้นอย่างชัดเจนซึ่งเป็นสิ่งที่สนับสนุนผลดีของการจี้ไฟฟ้ารอบกระดูกสะบ้า แต่อย่างไรก็ตามเนื่องจากอาการปวดเข่าด้านหน้ามีหลากหลายปัจจัยร่วมที่เป็นสาเหตุซึ่งบางปัจจัยการทำลายเส้นประสาทที่มาเลี้ยงกระดูกสะบ้าอาจจะช่วยลดอาการแต่บางปัจจัยไม่ช่วยลดจึงทำให้อาการปวดเข่าด้านหน้าภายหลังการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าต้องมีการศึกษากันต่อไปถึงปัจจัยร่วมต่างๆ

          การศึกษาถึงผลของการจี้ไฟฟ้ารอบกระดูกสะบ้าของ Gupta และคณะ21 ศึกษาในผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าชนิด mobile bearing ประเมินผลการผ่าตัดที่เวลา 2 ปี รายงานว่าการจี้ไฟฟ้ารอบกระดูกสะบ้าไม่ทำให้ Patellar Score และ Oxford Knee Score ดีขึ้นซึ่งขัดแย้งกับการศึกษานี้ที่ Patellar Score มีความแตกต่างจากกลุ่มควบคุมอธิบายจากการที่ทำการศึกษาใน mobile bearing knee ซึ่งมีอาการปวดเข่าด้านหน้าต่ำ12 ทำให้ไม่สามารถตรวจพบความแตกต่างได้จากกลุ่มตัวอย่างที่มีขนาดเล็ก นอกจากนี้ยังเป็นการศึกษาย้อนหลังที่ไม่ได้ทำการสุ่ม

          การศึกษาครั้งนี้เนื่องจากกลุ่มผู้ป่วยที่ศึกษามีจำนวนน้อยแต่ก็มีความแตกต่างของการลดอาการปวดเข่าด้านหน้าที่เวลา 1 ปี อย่างชัดเจน อย่างไรก็ดีการศึกษานี้ติดตามการรักษาค่อนข้างสั้นอาจไม่สามารถอธิบายการดำเนินโรคของอาการปวดเข่าด้านหน้าที่อาจมีอาการมากขึ้นเมื่อเวลาผ่านไปมากกว่า 1 ปีตามที่เคยมีรายงานไว้22

          จากข้อมูลที่นำเสนอนี้สรุปได้ว่าการจี้ไฟฟ้ารอบกระดูกสะบ้าในการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียมที่ไม่เปลี่ยนกระดูกสะบ้าสามารถลดอุบัติการณ์การเกิดอาการปวดเข่าด้านหน้าเมื่อประเมินผลการรักษาที่เวลา 1 ปีโดยที่ไม่มีผลต่างทางคลินิกเมื่อประเมินโดย AKSS และpatellar score สมควรที่จะทำการจี้ไฟฟ้าทุกรายในผู้ป่วยที่ได้รับการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าที่ไม่เปลี่ยนกระดูกสะบ้าโดยเฉพาะในข้อเข่าเทียมชนิด Nexgen LPS posterior stabilize

เอกสารอ้างอิง

1.      Forster MC. Patellar resurfacing in total knee arthroplasty for osteoarthritis: a systematic review. Knee 2004;11:427–30.

2.      Helmy N, Anglin C, Greidanus NV, Masri BA. To resurface or not to resurface the patella in total knee arthroplasty. Clin Orthop Relat Res 2008;466:2775-83.

3.      Nizard RS, Biau D, Porcher R, Ravaud P, Bizot P, Hannouche D, Sedel L. A meta-analysis of patellar replacement in total knee arthroplasty. Clin Orthop Relat Res 2005;432:196–203.

4.      Pakos EE, Ntzani EE, Trikalinos TA. Patellar resurfacing in total knee arthroplasty. A meta-analysis. J Bone Joint Surg Am 2005;87:1438–45.

5.      Barrack RL, Wolfe MW, Waldman DA, Milicic M, Bertot AJ, Myers L. Resurfacing of the patella in total knee arthroplasty. A prospective, randomized, double-blind study.  J Bone Joint Surg [Am] 1997;79:1121-31.

6.      Boyd AD, Ewald FC, Thomas WH, Poss R, Sledge CB. Long-term complications after total knee arthroplasty with or with-out resurfacing of the patella. J Bone Joint Surg [Am] 1993;75:674-81.

7.      Burnett  RS,  Bourne  RB.  Indications  for  patellar  resurfacing  in  total  knee arthroplasty. J Bone Joint Surg (Am) 2003; 85: 728-45.

8.      Enis JE, Gardner R, Robledo MA, Latta L, Smith R. Comparison of patellar resur-facing versus nonresurfacing in bilateral total knee arthroplasty.  Clin Orthop 1990;260:38-42.

9.      Levitsky KA, Harris WJ, McManus J, Scott RD. Total knee arthroplasty without patellar resurfacing. Clinical outcomes and long-term follow-up evaluation.  Clin Or-thop 1993;286:116-21.

10.  Picetti GD, McGann WA, Welch RB. The patellofemoral joint after total knee arthroplasty without patellar resurfacing. J Bone Joint Surg [Am] 1990;72:1379-82.

11.  Smith SR, Stuart P, Pinder IM. Nonresur-faced patella in total knee arthroplasty.  J Arthroplasty 1989;4 Suppl:S81-6.

12.  Breugem SJ, Sierevelt IN, Schafroth MU, Blankevoort L, Schaap GR, van Dijk CN. Less anterior knee pain with a mobile-bearing prosthesis compared with a fixed-bearing prosthesis. Clin Orthop Relat Res 2008; 466:1959-65.

13.  Popovic N, Lemaire R. Anterior knee pain with a posterior-stabilized mobile-bearing knee prosthesis: the effect of femoral component design. J Arthroplasty 2003; 18: 396-400.

14.  Barrack RL, Schrader T, Bertot  AJ, Wolfe MW, Myers L.  Component rotation and anterior knee pain after total knee arthroplasty. Clin Orthop 2001;392:46-55.

15.  Maculé F, Sastre S, Lasurt S, Sala P, Segur JM, Mallofré C. Hoffa’s fat pad resection in total knee arthro-plasty. Acta Orthop Belg 2005;71:714-7.

16.  Mellor R, Hodges PW. Motor unit synchronization is reduced in anterior knee pain. J Pain 2005;6:550-8.

17.  Vega J, Golanó P, Pérez-Carro L. Electrosurgical arthroscopic patellar denervation. Arthroscopy 2006;22:1028-3.

18.  Insall JN, Dorr LD, Scott RD, Scott WN. Rationale of the Knee Society clinical rating system. Clin Orthop Relat Res 1989;(248):13-4.

19.  Feller JA, Bartlett RJ, Lang DM. Patellar resurfacing versus retention in total knee arthroplasty. J Bone Joint Surg Br 1996;78:226-8.

20.  Maralcan G, Kuru I, Issi S, Esmer AF, Tekdemir I, Evcik D. The innervation of patella: anatomical and clinical study. Surg Radiol Anat 2005;27:331-5.

21.  Gupta S, Augustine A, Horey L, Meek RM, Hullin MG, Mohammed A. Electrocautery of the patellar rim in primary total knee replacement: beneficial or unnecessary? J Bone Joint Surg [Br] 2010;92-B:1259-61.

22.  Campbell DG, Duncan WW, Ashworth M, Mintz A, Stirling J, Wakefield L, et al. Patellar resurfacing in total knee replacement: a ten-year randomised prospective trial. J Bone Joint Surg [Br] 2006;88-B:734-9.

 

 

 

ภาคผนวก

Details of the Patellar score

Anterior knee pain                              Score

None                                          15

Mild                                            10

Moderate                                    5

Severe                                       0

Quadriceps strength

Good (5/5)                                  5

Fair (4/5)                                    3

Poor (</4)                                  1

Ability to rise from chair

Able with ease (no arms)               5

Able with ease (with arms)             3

Able with difficalty                         1       

Unable                                       0

Stair-climbing

1 foot/stair, no support                  5

1 foot/stair, with support                4

2 feet/stair, no support                  3

2 feet/stair, with support                2

From: Feller JA, Bartlett RJ, Lang DM. Patellar resurfacing versus retention in total knee arthroplasty. J Bone Joint Surg Br 1996;78:226-8.

 

 

American Knee Society Score (the original method)

Prior to the modifications by Dr. Insall in 1993, a previous method of calculating the knee scores was used. This is included here to provide a mechanism for comparing results used with the current scoring system to those results obtained earlier using the original method.

Patient category

A. Unilateral or bilateral (opposite knee successfully replaced)

B. Unilateral, other knee symptomatic

C. Multiple arthritis or medical infirmity

Objective Scoring

Knee score

Pain                                                                                      Points

None                                                                      50

Mild or occasional                                                        45

Stairs only                                                      40

Walking & stairs                                               30

Moderate

               Occasional                                                      20

               Continual                                                        10

Severe                                                                    0

Range of motion

(5 ํ = 1 point)                                                                     25

Stability (maximum movement in any position)

Anteroposterior

< 5 mm                                                              10

5-10 mm                                                             5

10 mm                                                                0

Mediolateral

< 5 ํ                                                                   15

6 ํ-9 ํ                                                                   10

10 ํ-14 ํ                                                                 5

15 ํ                                                                     0

Flexion contracture

5 ํ-10 ํ                                                                      -2

10 ํ-15 ํ                                                                              -5

16 ํ-20 ํ                                                                    -10

>20 ํ                                                                       -15

Extension lag

< 10 ํ                                                                      -5

10 ํ-20 ํ                                                                    -10

>20 ํ                                                                       -15

Alignment

5 ํ-10 ํ                                                                      0

0 ํ-4 ํ                                                             -3 points each degree

11 ํ-15 ํ                                                          -3 points each degree

Functional Scoring

Walking

Unlimited                                                                   50

> 10 blocks                                                          40

5-10 blocks                                                                     30

< 5 blocks                                                            20

Housebound                                                               10

Unable                                                                      0

Stairs

Normal up & down                                                     50

Normal up,down with rail                                             40

Up & down with rail                                                     30

Up with rail; unable down                                             15

Unable                                                                    0

Functional Deductions

Cane                                                                       -5

Two canes                                                               -10

Crutches or walker                                                     -20

Other                                                                                -20

Knee Score (If total is a minus number, score is 0)

From: Insall JN, Dorr LD, Scott RD, Scott WN. Rationale of the Knee Society clinical rating system. Clin Orthop Relat Res 1989;(248):13-4.

 

Untitled Document
Article Location

Untitled Document
Article Option
       Abstract
       Fulltext
       PDF File
Untitled Document
 
ทำหน้าที่ ดึง Collection ที่เกี่ยวข้อง แสดง บทความ ตามที่ีมีใน collection ที่มีใน list Untitled Document
Another articles
in this topic collection

An Analysis of Orthopedic Injury Profiles of Pedestrian-Motor Vehicle in District Hospital (การวิเคราะห์รูปแบบภยันตรายทางออร์โธปิดิกส์ที่เกิดจากอุบัติเหตุบนท้องถนนในโรงพยาบาลชุมชน)
 
Risk Factors Analysis of Gram-Negative Osteomyelitis (การวิเคราะห์ปัจจัยเสี่ยงของการติดเชื้อกรัมลบในโพรงกระดูก)
 
Prevalence of Vitamin D Deficiency among Postmenopausal Women at Srinagarind Hospital, Khon Kaen Province, Thailand. (ความชุกของภาวะขาดวิตามินดีในสตรีวัยทองที่มารับการรักษาที่โรงพยาบาลศรีนครินทร์ จ.ขอนแก่น)
 
Appropriate Tibial Tunnel Angle and Knee Flexion Angle for Aiming Femoral Insertion in Endoscopic Anterior Curciate Ligament Reconstruction (มุมอุโมงค์ที่กระดูกแข้ง และมุมงอเข่าที่เหมาะสมในการเล็งจุดเกาะของเอ็นไขว้หน้า)
 
<More>
Untitled Document
 
This article is under
this collection.

Orthopedics
 
 
 
 
Srinagarind Medical Journal,Faculty of Medicine, Khon Kaen University. Copy Right © All Rights Reserved.
 
 
 
 

 


Warning: Unknown: Your script possibly relies on a session side-effect which existed until PHP 4.2.3. Please be advised that the session extension does not consider global variables as a source of data, unless register_globals is enabled. You can disable this functionality and this warning by setting session.bug_compat_42 or session.bug_compat_warn to off, respectively in Unknown on line 0