Untitled Document
 
 
 
 
Untitled Document
Home
Current issue
Past issues
Topic collections
Search
e-journal Editor page

Editorials

บทบรรณาธิการ






บทบรรณาธิการ

เมื่อคนเราเจ็บป่วยจะอยู่ในภาวะที่ไม่สบายกายไม่สบายใจ  การเจ็บป่วยทรมานจิตใจ  ไม่ใช่เฉพาะผู้ที่เจ็บป่วยเท่านั้น  พ่อแม่พี่น้อง ก็พลอยทุกข์ทรมานด้วย และยังทำให้เสียเงินทอง  เสียเวลาในการรักษาการเจ็บป่วยนั้น  เพื่อกลับคืนสภาพปกติและมีสุขภาพดีให้เร็วที่สุดอีกด้วย   เมื่อการเจ็บป่วยด้วยโรคต่างๆ  นั้นเป็นสิ่งไม่พึงปรารถนา  เราจึงต้องการที่จะหลีกเลี่ยงการเจ็บป่วยโดยการป้องกันโรค ซึ่งเป็นหลักการขั้นพื้นฐานของสุขภาวะ

        การป้องกันโรค  หมายถึง  การกระทำหรืองดกระทำบางสิ่งบางอย่างเพื่อไม่ให้เกิดการเจ็บป่วยด้วยโรคต่างๆ  รวมทั้งป้องกันไม่ให้การเจ็บป่วยรุนแรงมากขึ้นในกรณีที่เจ็บป่วยหรือเป็นโรคแล้วและการป้องกันไม่ให้กลับมาเป็นซ้ำในกรณีที่หายจากการเจ็บป่วยเป็นโรคแล้ว

คุณภาพของสถานบริการทางการแพทย์ที่ตรวจรักษาโรคแก่ประชาชนและรับผู้ป่วยไว้นอนรักษาตัวในโรงพยาบาล ซึ่งจะได้รับการบริการหลายสิ่งที่คล้ายคลึงกับอยู่ที่บ้าน รวมถึงเรื่องอาหารด้วย  โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าผู้ป่วยต้องได้รับอาหารบำบัดโรค อาหารจึงนับว่าเป็นส่วนหนึ่งของการรักษา  อาหารจึงเป็นปัจจัยหนึ่งที่มีส่วนช่วยให้มนุษย์มีพัฒนาการทางร่างกายและจิตใจ ผลของการรับประทานอาหารที่ดีเกิดการเจ็บป่วยน้อยลงหากมีอาการเจ็บป่วยจะหายเร็วกว่าคนที่ได้รับอาหารไม่เพียงพอไม่ถูกต้อง  มีภูมิต้านทานโรค  ประหยัดค่ารักษาพยาบาล  เกิดโรคแทรกซ้อนน้อย  ซึ่งจะสอดคล้องกับการศึกษาของ ณัฐกานต์ ช่างเหล็ก ที่ได้ศึกษาถึงพฤติกรรมการบริโภคอาหาร และภาวะโภชนาการของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจแข็งตัว1  และการศึกษาของสุวรรณา  แม่นปีน ที่ได้ศึกษาถึงภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก และการได้รับพลังงานและสารอาหารของเด็กวัยรุ่นที่บริโภคอาหารมังสวิรัติในชุมชนราชธานีอโศก จังหวัดอุบลราชธานี2   และโรงพยาบาลจำนวนมากได้ตระหนักถึงความสำคัญของงานโภชนาการจึงได้จัดทำ “มาตรฐานงานโภชนาการในโรงพยาบาล” และการที่องค์กรจะบรรลุความสำเร็จตามเป้าหมายมากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับความร่วมมือร่วมใจของผู้ปฏิบัติงาน ซึ่งจะสอดคล้องกับการศึกษาของรุจิราพร กลั่นเขตรกิจ3  ที่ศึกษาถึงแรงจูงใจที่มีผลต่อการปฏิบัติงานของนักโภชนาการในโรงพยาบาลระดับจังหวัดที่ปฏิบัติงานตามมาตรฐาน งานโภชนาการ  ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

เอกสารอ้างอิง

  1. ณัฐกานต์  ช่างเหล็ก, สุวลี โล่วิรกรณ์, สยาม ค้าเจริญ. พฤติกรรมการบริโภคอาหาร และภาวะโภชนาการของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจแข็งตัว  แผนกผู้ป่วยนอกศูนย์หัวใจสิริกิติ์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. ศรีนครินทร์เวชสาร 2552; 24: 286-91.
  2. สุวรรณา แม่นปืน, เบญจา มุกตพันธุ์, ยุพา ถาวรพิทักษ์.  ภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก และการได้รับพลังงานและสารอาหารของเด็กวัยรุ่นที่บริโภคอาหารมังสวิรัติในชุมชนราชธานีอโศก จังหวัดอุบลราชธานี. ศรีนครินทร์เวชสาร 2552; 24:314-20.
  3. รุจิราพร กลั่นเขตรกิจ, พีระศักดิ์  ศรีฤาชา. แรงจูงใจของนักโภชนาการในโรงพยาบาลระดับจังหวัดที่ปฏิบัติงานตามมาตรฐาน งานโภชนาการ  ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. ศรีนครินทร์เวชสาร 2552; 24:302-8.
Untitled Document
Article Location

Untitled Document
Article Option
       Extract
       Fulltext
       PDF File
Untitled Document
 
ทำหน้าที่ ดึง Collection ที่เกี่ยวข้อง แสดง บทความ ตามที่ีมีใน collection ที่มีใน list Untitled Document
Another articles
in this topic collection

<More>
Untitled Document
 
This article is under
this collection.

 
 
 
Srinagarind Medical Journal,Faculty of Medicine, Khon Kaen University. Copy Right © All Rights Reserved.
 
 
 
 

 


Warning: Unknown: Your script possibly relies on a session side-effect which existed until PHP 4.2.3. Please be advised that the session extension does not consider global variables as a source of data, unless register_globals is enabled. You can disable this functionality and this warning by setting session.bug_compat_42 or session.bug_compat_warn to off, respectively in Unknown on line 0