วิธีการศึกษา
เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาแบบย้อนหลัง ซึ่งได้ผ่านการพิจารณาจากคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ เลขที่ HE510620 คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่นโดยจำนวนตัวอย่าง (sample size) ที่ได้นั้นคัดเลือกจากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 112 ราย ที่ระดับความเชื่อมั่น 95% และคลาดเคลื่อน ± 5%
กลุ่มตัวอย่าง จากการตรวจรังสีร่วมรักษาระบบลำตัวของผู้ป่วยจำนวน 112 รายระยะเวลาตั้งแต่
เดือน มกราคม - มิถุนายน 2551
เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา
1. เครื่องเอกซเรย์หลอดเลือด (Digital subtraction angiography machine) ชนิด 1 ระนาบ รุ่น Phillips Integris Allura
2. เครื่องวัดปริมาณรังสี (Radiation dosimeter) รุ่น Unfors Xi
3. หุ่นจำลองส่วนอก (Chest phantom) มีความหนา 20 เซนติเมตร
4. หุ่นจำลอง (phantom) ผลิตภัณฑ์ของ Cardinal health รุ่น 07-647 สำหรับหาค่ากำลังการแยกรายละเอียดของภาพ
5. เครื่องวัดผลคูณของปริมาณรังสีกับพื้นที่ Dose area product (DAP meter) ชนิดไดเมนเตอร์เอ็ม4
6. แบบบันทึกข้อมูลที่วัดได้ของผู้ป่วยที่ผ่านการตรวจ (ตารางที่1)
การเก็บข้อมูล
ศึกษาข้อมูลผู้ป่วยที่มารับการตรวจรังสีร่วมรักษาระบบลำตัว จำนวน 112 ราย โดยใช้ค่าพารามิเตอร์ที่ได้ในการวัดปริมาณรังสีที่ผิวด้านทางเข้าEntrance Skin Exposure dose (ESD) ในรูปของการถ่ายเทพลังงานให้แก่ตัวกลาง( air kerma ) และค่าผลคูณระหว่างปริมาณรังสีกับพื้นที่ลำรังสี (DAP) ที่แสดงค่า โดยรวมค่า DAP จากทั้งสองส่วนคือ จากหลอดฟูลออโรสโคปี และจากหลอดเอกซเรย์วินิจฉัยทั่วไป รวมถึงระยะเวลาในการทำ fluoroscopy ด้วยเครื่องเอกซเรย์หลอดเลือด (digital subtraction angiography machine) ชนิด 1 ระนาบรุ่น Phillips Integris Allura6 ในระหว่างเดือน มกราคม ถึง มิถุนายน ปี พ.ศ. 2551ที่หน่วยรังสีวินิจฉัย โรงพยาบาลศรีนครินทร์โดยจะทำการศึกษาข้อมูล 3 หัตถการคือ
1. การตรวจรังสีร่วมรักษาระบบลำตัว(body abdominal embolization)
2. การให้สารเคมีบำบัดเฉพาะที่ผ่านทางหลอดเลือดแดงเข้าไปสู่บริเวณที่มีโรคอยู่โดยตรงแล้วอุดกั้นหลอดเลือดนั้น (transarterial chemoembolization;TACE)
3. การระบายน้ำดีออกจากตับผ่านทางผิวหนัง (percutaneus transhepatic biliary drainage; PTBD)
การวิเคราะห์ทางสถิติ
1. หาค่าสูงสุด ต่ำสุด ค่าเฉลี่ย และการเบี่ยงเบนของในแต่ละพารามิเตอร์
2. นำค่าปริมาณรังสีไปเปรียบเทียบกับระดับรังสีอ้างอิงมาตรฐาน
ผลการศึกษา
ปริมาณรังสีจากการตรวจ แยกตามชนิดหัตถการ body abdominal embolization ทำการ fluoroscopy เฉลี่ยคือ 15.7 นาที ผู้ป่วยได้รับปริมาณรังสีสะสมเฉลี่ยสูงสุด 133.73 Gy.cm2 และผู้ป่วยได้รับปริมาณรังสีสูงสุดต่อรายที่ 0.78 Gy. ส่วนหัตถการที่มีการตรวจมากที่สุดคือ TACE ทำการ fluoroscopy time เฉลี่ย 8.58 นาที โดยผู้ป่วยได้รับปริมาณรังสีสะสมเฉลี่ย 121.09 Gy.cm2 และผู้ป่วยได้รับปริมาณรังสีสูงสุดต่อรายที่ 0.73 Gy. และหัตถการ PTBDใช้เวลาในการทำ fluoroscopy time เฉลี่ยน้อยที่สุดเป็นเวลา 4.71นาที โดยผู้ป่วยจะได้รับปริมาณรังสีสะสมเฉลี่ย 24.127 Gy.cm2 และผู้ป่วยได้รับปริมาณรังสีสูงสุดต่อรายที่ 0.34 Gy. (ตารางที่1)
นำค่าปริมาณรังสีที่ได้ไปเปรียบเทียบกับระดับปริมาณรังสีที่ถือว่าปลอดภัย โดย ICRP กำหนดระดับรังสีที่ถือว่าปลอดภัยและไม่ทำอันตรายต่อผิวหนังทางเข้าโดยจะต้องมีปริมาณน้อยกว่า 2Gy. จากการศึกษาพบว่าแต่ละหัตถการมีค่าปริมาณรังสีสะสมที่ผิวหนังทางเข้าเป็น 0.090 Gy , 0.008 Gy และ 0.002 Gy ตามลำดับหัตถการ ซึ่งถือว่าเป็นหัตถการที่ผู้ป่วยได้รับปริมาณรังสีน้อยกว่า threshold dose (2Gy) สำหรับการเกิด transient erythema (ตารางที่2 )
ตารางที่ 1 ปริมาณรังสีสะสมที่ได้จากการตรวจรังสีร่วมรักษาส่วนลำตัว
ประเภทหัตถการ
|
จำนวน
ผู้ป่วย
|
จำนวนการถ่ายภาพ
(ครั้ง)
Mean
range ±SD |
จำนวนภาพ
(ภาพ)
Mean
range±SD |
ปริมาณรังสีจากการถ่ายภาพ
(Gy)
Mean
range±SD |
ปริมาณรังสีสะสมจากการตรวจ
(Gy.cm2)
Mean
range±SD |
เวลาในการ
Fluoro.
(นาที)
Mean
range±SD |
Abdomen
Embolization |
10 |
8.6
3 - 15±3.63 |
195.1
77 - 525±129.2 |
0.3
0.062 - 0.78±0.26 |
133.73
25.24 - 51.64±118.12 |
15.7
3.14 - 3.48±13.72 |
TACE |
73 |
4.42
3 - 8±1.8
|
94.57
33 -195±33.36 |
0.37
0.05 - 0.73±0.16 |
121.09
21.13 - 327.60±62.46 |
8.58
2.14 - 18.38±3.93 |
PTBD |
29 |
3.86
2 - 8±1.48 |
0
0 |
0.08
0.01 - 0.34±0.88 |
24.127
3.3 - 115.89±28.26 |
4.71
0.55 - 27.48±5.74 |
ตารางที่ 2 ความสัมพันธ์ระหว่างค่าปริมาณรังสีของกลุ่มตัวอย่างกับปริมาณรังสีที่ใช้อ้างอิง
ประเภทหัตถการ
|
DAP(Gy.cm2)
Mean
range ±SD |
DAP to ESD (Gy.)
Mean
range ±SD |
Threshold dose
2 Gy. |
Abdominal
embolization |
133.73
25.24-351.64±118.12 |
0.090
0.01 - 0.21±0.05 |
<2 Gy. |
TACE |
121.09
21.13 - 327.60±62.46 |
0.008
0.002 - 0.022 ±0.012 |
<2 Gy. |
PTBD |
24.127
3.30 - 115.89±28.26 |
0.002
0.001 - 0.007±0.004 |
<2 Gy. |
DAP = Dose area product, ESD = Entrance Skin Exposure dose
วิจารณ์
จากผลการตรวจวัดปริมาณรังสีที่ผู้ป่วยได้รับจากการตรวจรังสีร่วมรักษาส่วนลำตัวด้วยหัตถการ Abdomen Embolization,TACE , PTBD พบว่าการคำนวณปริมาณรังสีจาก DAPนั้น ได้จากการรวมปริมาณรังสีจากหลายๆ พื้นที่บนผิวหนังผู้ป่วย จึงเป็นผลให้นั้นปริมาณรังสีที่คำนวณได้มิได้แสดงถึงปริมาณรังสีสูงสุดที่เข้าสู่ตัวผู้ป่วย จึงจำเป็นต้องนำค่า ปริมาณรังสีจาก DAP ไปคำนวณหาค่าปริมาณรังสีที่ผิวหนัง(ESD)8 ได้รับเพื่อเทียบเคียงกับค่าระดับรังสีที่ทนได้สูงสุด (Threshold dose) ตามที่ คณะกรรมาธิการว่าด้วยการป้องกันอันตรายจากรังสีนานาชาติ (International Commission on Radiological Protection, ICRP; 2000)กำหนดไว้ให้ยอมรับได้โดยถือว่าปลอดภัย
ปริมาณรังสีที่ได้รับมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย อันได้แก่ประสิทธิภาพและการทำงานของตัวเครื่องเป็นปัจจัยแรก เทคนิคและกระบวนการตรวจวินิจฉัยซึ่งขึ้นอยู่กับรังสีแพทย์เป็นปัจจัยที่ สอง ความหนาของผู้ป่วยและพยาธิสภาพเป็นปัจจัยที่สาม ดังนั้นวิธีการตรวจวัดปริมาณรังสีจึงมีความซับซ้อน และค่าปริมาณรังสีที่วัดได้ก็มีความแปรปรวนตามไปด้วย เพราะมีจำนวนตัวแปรย่อยหลายตัวมาเกี่ยวข้องและบางตัวนั้นไม่สามารถควบคุมได้
ข้อเสนอแนะ
นำค่าปริมาณรังสีที่ได้จากงานวิจัยนี้ไปเปรียบเทียบกับผลงานวิจัยอื่นๆ(ตารางที่3)ศึกษาว่าในภาพรวมค่าปริมาณรังสีเป็นไปในทิศทางเดียวกันกับผลงานวิจัยที่ผ่านมาหรือไม่ ถ้ามีค่าสูงกว่างานวิจัยอื่นๆมากหรือเกินระดับปริมาณรังสีที่ถือว่าปลอดภัย ต้องรีบดำเนินการหาทางแก้ไขเพื่อความปลอดภัยของผู้ป่วย ต่อไป
ตารางที่ 3 ค่าปริมาณรังสีผลงานวิจัยที่ผ่านมา
งานวิจัย |
ระยะเวลา
(นาที) |
DAP
(Gy.CM2) |
ESD
(Gy) |
งานวิจัยนี้ |
8.58 |
133.73 |
0.09 |
Roshan s.และคณะIndian ,2005 |
22. 72 |
141.8 |
1.03 |
Bazil bin Sapiinและคณะ Malaysia,1998 |
- |
124.5 |
0.126. |
William,1997 |
- |
105.0 |
- |
European proposal, 2003 |
16 |
94 |
- |
รพ.จุฬาลงกรณ์ กรุงเทพฯ |
- |
190.28 |
- |
คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล |
32.40 |
401.29 |
|
สรุป
จากการศึกษาพบว่าการตรวจรังสีร่วมรักษาระบบลำตัวที่หน่วยรังสีวินิจฉัย โรงพยาบาลศรีนครินทร์ เป็นหัตถการใช้เวลาในการตรวจนาน ถึงแม้ผู้ป่วยจะได้รับปริมาณรังสีไม่มากนัก คือน้อยกว่า Threshold dose (2Gy) สำหรับการเกิด transient erythema แต่อาจส่งผลทางรังสีที่เด่นชัดแก่ผู้ป่วยได้ ถ้าหากทำการตรวจอย่างไม่ระมัดระวัง ดังนั้นจึงควรให้คำแนะนำแก่ผู้ป่วยก่อนการทำหัตถการและต้องให้ข้อมูลถึงผลทางรังสีที่ผู้ป่วยอาจจะได้รับจากการทำหัถตการดังกล่าวด้วยทุกครั้งเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดอันตรายขึ้นจริง
กิตติกรรมประกาศ
งานวิจัยเรื่องนี้ ประสบความสำเร็จได้ด้วยความร่วมมือและช่วยเหลือจากนักรังสีการแพทย์ที่ประจำห้องตรวจรังสีร่วมรักษาที่ได้เก็บและบันทึกข้อมูลการตรวจผู้ป่วย คณะผู้วิจัยใคร่ขอขอบพระคุณไว้ ณ โอกาสนี้
ขอขอบคุณหัวหน้าภาควิชารังสีวิทยาที่สนับสนุนเป็นอย่างดียิ่งในการจัดหาเครื่องมือการตรวจวัดปริมาณรังสี อันเป็นผลให้งานวิจัยนี้สำเร็จลุล่วงลงด้วยดี
เอกสารอ้างอิง
1. สถิติการให้บริการหน่วยรังสีวินิจฉัย ห้องตรวจหลอดเลือด( Angiogram) ประจำปี2551 (มกราคม ถึง มิถุนายน 2551)
2. National Radiological Protection Board. Radiation exposure of the UK population from Medical and dental x-ray examinations, NRPB-W4. National Radiological Protection Board, Oxon, 2002.
3. U.S. Food and Drug Administration. (2001) Estimated benefits of proposed amendments to the FDA radiation safety standard for diagnostic x-ray equipment. February 15-16, 2001. (Available from http://www.fda.gov/cdrh/radhlth/021501_xray.html). [Cited August 17, 2009]
4. Chulalongkorn University, 2004 ( http://hdl.handle.net/123456789/2509) [Cited August 17, 2009]
5. International Commission on Radiological Protection. Recommendations of the International Commission 60. Oxford: Pergammon Press, 1990:101-4
6. Allura Integris EP-Workmate integration for Allura Integris. Phillips Manual, 2003
7. คทายุทธ นิกาพฤกษ์. การตรวจวัดปริมาณรังสีจากการตรวจวินิจฉัยด้วยเทคนิคแบเรียมเอ็นนิมาและแบเรียมมีล.ในเขตจังหวัดอุดรธานี. รายงานวิจัย ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์อุดรธานี กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ม 2548; 16-21.
8.Martin CJ. Measurement of patient entrance surface dose rates for fluoroscopic X-ray units. Phys Med Biol 1995; 178:653-8.