Untitled Document
 
 
 
 
Untitled Document
Home
Current issue
Past issues
Topic collections
Search
e-journal Editor page

Iron Deficiency Anemia and Energy and Nutrients Intake of Vegetarian Adolescents in Ratchatani Asoke Community, Ubon Ratchathani Province

ภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก และการได้รับพลังงานและสารอาหารของเด็กวัยรุ่นที่บริโภคอาหารมังสวิรัติในชุมชนราชธานีอโศก จังหวัดอุบลราชธานี

Suwanna Maenpuen (สุวรรณา แม่นปืน) 1, Benja Muktabhant (เบญจา มุกตพันธุ์) 2, Yupa Thavornpitak (ยุพา ถาวรพิทักษ์) 3




หลักการ และวัตถุประสงค์ : ภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็กเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญ โดยเฉพาะในเด็กและวัยรุ่นอาจส่งผลในด้านการเจริญเติบโต และพัฒนาการ การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวางเพื่อประเมินความชุกของภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก การได้รับพลังงานและสารอาหารของเด็กวัยรุ่นที่บริโภคอาหารมังสวิรัติ

วิธีการศึกษา : กลุ่มตัวอย่างได้จากเด็กวัยรุ่นที่บริโภคอาหารมังสวิรัติในชุมชนราชธานีอโศก จังหวัดอุบลราชธานี จำนวน 94 คน (ชาย 51 หญิง 43) อายุ 10–19 ปี โดยคัดกรองแล้วไม่เป็นธาลัสซีเมีย การประเมินภาวะโลหิตจางใช้เกณฑ์ระดับฮีโมโกลบินต่ำกว่ามาตรฐานของ WHO ภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็กใช้เกณฑ์ ซีรั่มเฟอร์ไรติน< 15 µg/l ร่วมกับภาวะโลหิตจาง ส่วนภาวะพร่องธาตุเหล็กใช้เกณฑ์ ซีรั่มเฟอร์ไรติน<15 µg/l และไม่มีภาวะโลหิตจาง ส่วนพลังงานและสารอาหารที่ได้รับประเมินโดยใช้แบบบันทึกการบริโภคอาหาร 7 วันติดต่อกัน โดยความเพียงพอของพลังงาน และสารอาหารปกติที่ได้รับใช้เกณฑ์ ≥ 70% ของ RDA จดบันทึกทั้งหมด 86 คน เก็บข้อมูลระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ ถึงเดือนเมษายน 2552

ผลการศึกษา : ระยะเวลาในการบริโภคอาหารมังสวิรัติของเด็กวัยรุ่นที่ศึกษามีค่ามัธยฐานเท่ากับ 3 ปี (Q1- Q3= 2-5)  ร้อยละ 89.5 ไม่บริโภคอาหารกลางวัน ส่วนความชุกโดยเฉลี่ยของการเกิดภาวะโลหิตจางพบร้อยละ 42.6 โดยเพศชายมีภาวะโลหิตจาง (ร้อยละ 43.1) ใกล้เคียงกับเพศหญิง (ร้อยละ 41.9) สำหรับภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็กพบร้อยละ 24.5 โดยพบในเพศหญิง (ร้อยละ 30.2) มากกว่าชาย (ร้อยละ 19.6) ส่วนภาวะพร่องธาตุเหล็กพบโดยเฉลี่ยร้อยละ 18.1 ในเพศชายร้อยละ 15.7 และหญิงร้อยละ 20.9 สำหรับปริมาณพลังงาน และสารอาหารที่ได้รับ พบว่าเด็กวัยรุ่นได้รับพลังงาน และโปรตีนมีค่ามัธยฐานของร้อยละ RDA เท่ากับ 50.9 (Q1-Q3=40.3-61.2) และ 49.7 (Q1-Q3= 39.1-59.2) ตามลำดับ ส่วนธาตุเหล็กมีค่ามัธยฐานของร้อยละ RDA เท่ากับ 34.4 (Q1-Q3=23.9-48.7) และวิตามินซีมีค่ามัธยฐานของร้อยละ RDA เท่ากับ 72.5 (Q1-Q3= 50.5-108.8) สัดส่วนการกระจายพลังงานจาก คาร์โบไฮเดรต โปรตีน และไขมัน เท่ากับร้อยละ 67.4, 11.1 และ 21.5 ของพลังงานทั้งหมด ตามลำดับ

สรุป : เด็กวัยรุ่นที่บริโภคอาหารมังสวิรัติมีความชุกของภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก และภาวะพร่องธาตุเหล็กสูง โดยเฉพาะในกลุ่มวัยรุ่นหญิง ดังนั้นควรให้ความสนใจเพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว โดยการเสริมธาตุเหล็ก และเพิ่มการรับประทานอาหารที่มีธาตุเหล็กสูง

คำสำคัญ : ภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก, ภาวะพร่องธาตุเหล็ก, อาหารมังสวิรัติ, เด็กวัยรุ่น

Background and Objective : Iron deficiency anemia  is  an  important  public health problem especially among children and adolescents who are  still  growing  and  developing. This  cross-sectional  study  aimed  to  determine  the prevalence  of  iron  deficiency  anemia, energy and nutrients intake  among vegetarian adolescents.

Methods : Ninety four vegetarian adolescents (51 males, 43 females) living in the Ratchatani Asoke community, Ubon Ratchathani Province  aged between 10 to 19 years participated in this study. All adolescents were screened for thalassemia by OF and DCIP. Anemia was defined as Hb values lower than the WHO standard. Iron deficiency anemia (IDA) was defined as serum ferritin (SF) <15µg/l concurrent with anemia. Iron depletion (ID) was defined as SF lower than 15µg/l with non anemia. Nutritional intake was calculated from 7 day dietary food records of 86 adolescents. Energy and nutrients’ adolescents were analysed by comparing with Thai recommended dietary allowance (RDA). The data were collected from  February to April 2009.

Results : The median duration of consuming vegetarian diet of the respondents was 3 years (Q1- Q3=2-5). Most of then (89.5%) skipped lunch. The prevalence of anemia among vegetarian adolescents was high at 42.6%, with a similar proportion found for males (43.1%) and females (41.9%). The prevalence of IDA, was 24.5%, with higher proportion among females (30.2%) in comparison to males (19.6%). The prevalence of ID was 18.1%, with 15.7% for males and 20.9% for females. The median amount of energy and protein intake were 50.9% (Q1-Q3= 40.3-61.2) and 49.7% (Q1-Q3= 39.1-59.2) of RDA, respectively. The median amount of iron intake was only 34.4% (Q1-Q3=23.9-48.7) of   RDA and the median vitamin C intake was 72.5% (Q1-Q3 = 50.5-108.8) of RDA. Energy intakes expressed as a percentage of total energy of carbohydrates was found to be 67.4%, 11.1% of protein and 21.5% of fat.                                                  

Conclusion :  The prevalence of IDA and ID among the vegetarian adolescents was high. Special attention in this respect must be given among female adolescents. The ways and means must be found to correct the situation, in advocating diets with high iron content and also iron supplementation might be considered.

Keyword : Iron Deficiency Anemia, Iron Depletion, Vegetarian, Adolescents

 

 

 

บทนำ

          ภาวะโลหิตจางเป็นปัญหาสุขภาพที่สำคัญ จากรายงานสุขภาพโลก ปี พ.ศ. 2545 พบว่า ภาวะโลหิตจางเป็นภาวะความผิดปกติที่พบได้บ่อย  และเป็นสัญญาณที่บ่งชี้ถึงภาวะการขาดธาตุเหล็กได้เป็นอย่างดี ส่งผลกระทบต่อประชากรทั่วโลก1 จากรายงานการสำรวจภาวะอาหารและโภชนาการของประเทศไทย ครั้งที่ 5 ปี พ.. 2546 พบว่า กลุ่มเด็กวัยรุ่นมีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะโลหิตจาง ในช่วงอายุ 12-14 ปี พบร้อยละ 15.7 และ 15-19 ปี ร้อยละ 19.6 2 โดยสาเหตุสำคัญของภาวะโลหิตจางที่พบในประเทศไทยส่วนใหญ่เกิดจากการขาดธาตุเหล็ก ซึ่งภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็กในเด็กและวัยรุ่น ส่งผลกระทบต่อการพัฒนาด้านสมอง3 และสติปัญญา4,5 โดยเฉพาะกลุ่มมีการจำกัดด้านอาหาร เช่น กลุ่มที่บริโภคอาหารมังสวิรัติอาจมีโอกาสเสี่ยงต่อการขาดธาตุเหล็กได้6 เนื่องจากคนที่บริโภคอาหารมังสวิรัติได้รับธาตุเหล็กประเภทนอนฮีม (non heme) การดูดซึมเข้าสู่ร่างกายได้น้อยกว่าธาตุเหล็กประเภทฮีม (heme)7 และอาหารมังสวิรัติยังมีสารที่ต้านการดูดซึมธาตุเหล็กในปริมาณสูงได้แก่ ไฟเตท (phytate)8,9 แทนนิน (tannin)10  ใยอาหาร (fiber)11  ซึ่งทำให้ได้รับธาตุเหล็กน้อยลง อาจทำให้เสี่ยงต่อการขาดธาตุเหล็กได้ อย่างไรก็ตามคนที่บริโภคอาหารมังสวิรัติถ้ารู้จักบริโภคอาหารให้มีความหลากหลายทำให้ได้รับพลังงาน และสารอาหารต่าง ๆ เพียงพอ12 ชุมชนราชธานีอโศก จังหวัดอุบลราชธานี เป็นชุมชนที่มีวัฒนธรรมการบริโภคเป็นนักมังสวิรัติ โดยบริโภคอาหารมังสวิรัติแบบเคร่งครัด ภายในชุมชนมีการจัดตั้งโรงเรียนสัมมาสิกขาศีรษะอโศก สาขาราชธานีอโศก โดยเด็กเหล่านี้จะเรียนหนังสือ และพักอาศัยภายในชุมชน โดยมีรูปแบบการบริโภคเช่นเดียวกับคนในชุมชนทำให้เด็กเหล่านี้มีโอกาสเสี่ยงต่อการขาดธาตุเหล็กได้ ดังนั้นผู้วิจัยจึงสนใจที่จะทำการศึกษาเกี่ยวกับความชุกของการเกิดภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก การได้รับพลังงาน และสารอาหารของเด็กวัยรุ่นที่บริโภคอาหารมังสวิรัติในชุมชนราชธานีอโศก  จังหวัดอุบลราชธานี เพื่อใช้เป็นแนวทางในการแก้ไขปัญหาภาวะโลหิตจาง  และป้องกันการขาดธาตุเหล็กของเด็กวัยรุ่นที่บริโภคอาหารมังสวิรัติ

 

วิธีการศึกษา

            การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงพรรณนา (descriptive research) ประชากรที่ศึกษาเป็นเด็กวัยรุ่นที่อาศัยอยู่ในชุมชนราชธานีอโศก จำนวน 105 คน โดยคัดกรองแล้วไม่เป็นโรคธาลัสซีเมียด้วยวิธี One – tube osmotic fragility test (OF) และ Dichlorophenol – indophenol precipitation test (DCIP)13 ข้อมูลภาวะสุขภาพ โดยใช้แบบสอบถาม ในส่วนของข้อมูลการบริโภคอาหาร ใช้แบบบันทึกการบริโภคอาหาร 7 วันติดต่อกันนำไปวิเคราะห์หาพลังงานและสารอาหารที่ได้รับด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป INMUCAL แปรผลพลังงาน และสารอาหารที่ได้รับเป็นค่าร้อยละของข้อกำหนดสารอาหารที่ควรได้รับประจำวันสำหรับคนไทย (RDA) เก็บข้อมูลภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก โดยการเจาะเลือด เพื่อนำไปวิเคราะห์หาค่าฮีโมโกลบิน (Hb) และหาค่าซีรั่มเฟอร์ไรติน (SF) สำหรับภาวะโลหิตจางประเมินโดยใช้ระดับของฮีโมโกลบินต่ำกว่าเกณฑ์ของ WHO (เด็กอายุ 10-11 ปี Hb<11.5 g/dl, เด็กอายุ 12-14 ปี และผู้หญิงอายุ 15-19 ปี Hb<12 g/dl, ผู้ชายอายุ 15-19 ปี Hb<13 g/dl) ส่วนภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก (IDA) ใช้เกณฑ์มีภาวะโลหิตจางร่วมกับภาวะซีรั่มเฟอร์ไรตินต่ำ (SF <15µg/l)  และภาวะพร่องธาตุเหล็ก (ID) คือ ภาวะซีรั่มเฟอร์ไรตินต่ำ (SF <15µg/l) แต่ไม่มีภาวะโลหิตจาง ในการศึกษานี้มีเด็กวัยรุ่นที่เป็นกลุ่มเป้าหมายทั้งสิ้น 113 คน ไม่ยินยอมเจาะเลือด 1 คน ไม่มาเจาะเลือด 4 คน และเลือดเกิดภาวะเม็ดเลือดแดงแตก (hemolysed plasma) จำนวน 14 คน ทำให้สามารถวิเคราะห์ผลทางห้องปฏิบัติการได้จำนวน 94 คน ระหว่างเก็บข้อมูลเด็กมีการย้ายโรงเรียน 8 คน ดังนั้นจำนวนเด็กที่เก็บข้อมูลแบบสอบถาม และแบบบันทึกการบริโภคอาหารทั้งหมด 86 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป STATA และวิเคราะห์หาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก ได้แก่ อายุ เพศ ระยะเวลาการบริโภคอาหารมังสวิรัติ พลังงาน และสารอาหารที่เด็กวัยรุ่นได้รับโดยใช้สถิติ Chi-square test และ Fisher’s exact test ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 โครงการวิจัยนี้ได้ผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

 

ผลการศึกษา

ข้อมูลทั่วไป และภาวะสุขภาพ

          จากการศึกษาเด็กวัยรุ่นในชุมชนราชธานีอโศก จำนวน 94 คน เป็นเพศชายร้อยละ 54.3 โดยมีอายุเฉลี่ย 14.8 ปี (SD = 2.5) ภูมิลำเนาเดิมอยู่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยละ 64.7 เด็กวัยรุ่นอาศัยอยู่ในชุมชนโดยไม่มีญาติอยู่ด้วย ร้อยละ 63.1 ไม่มีโรคประจำตัว ร้อยละ 63.5 และมีอาการปวดแสบท้องหรือโรคกระเพาะอาหาร ร้อยละ 18.8 ส่วนอาการต่าง ๆ ที่พบบ่อยเป็นประจำ 3 อันดับแรก ได้แก่ อาการหงุดหงิด วิงเวียนหน้ามืด และอ่อนเพลียหรือเหนื่อยง่าย พบร้อยละ 50.6, 50.6 และ 48.2 ตามลำดับ เด็กวัยรุ่นหญิงที่มีประจำเดือนแล้ว ร้อยละ 84.6 เด็กวัยรุ่นไม่บริโภคอาหารกลางวัน ร้อยละ 89.4 เนื่องจากเป็นกฎของชุมชน ที่ให้บริโภควันละ 2  มื้อ คือ มื้อเช้าและมื้อเย็น ยกเว้นในเด็กชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ระยะเวลาการบริโภคอาหารมังสวิรัติมีค่ามัธยฐานเท่ากับ 3 ปี (Q1-Q3=2-5) เหตุผลการบริโภคอาหารมังสวิรัติของเด็กวัยรุ่นเนื่องจากได้รับคำชักชวนจากผู้ใกล้ชิด คือ พ่อ แม่ หรือญาติ ร้อยละ 71.4

 

ความชุกของภาวะโลหิตจาง ภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก และภาวะพร่องธาตุเหล็ก

          เด็กวัยรุ่นที่ศึกษามีภาวะโลหิตจางโดยเฉลี่ยร้อยละ 42.6 ของเด็กทั้งหมด (95%CI = 32.4–52.7) พบในเพศชายร้อยละ 43.1 (95%C I= 29.1–57.2) และหญิงร้อยละ 41.9 (95%CI = 26.5–57.2) ส่วนภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็กพบร้อยละ 18.1 (95%CI = 10.2–26.0) พบในเพศชายร้อยละ 15.7 (95%CI = 5.4–26.0) และหญิงร้อยละ 20.9 (95%CI=8.3–33.6) ภาวะพร่องธาตุเหล็กพบร้อยละ 24.5 (95%CI = 15.6–33.3) โดยพบในเพศชายร้อยละ 19.6 (95%CI = 8.3–30.9) และหญิงร้อยละ 30.2 (95%CI = 15.9–44.5)  (ตารางที่ 1)

 

ปริมาณพลังงาน และสารอาหารที่ได้รับ

          ปริมาณพลังงานที่เด็กวัยรุ่นได้รับมีค่ามัธยฐานเท่ากับ 982.3 Kcal/วัน (Q1-Q3= 773.6-1284.6) คิดเป็นร้อยละ 50.9 ของ RDA โปรตีนมีค่ามัธยฐานเท่ากับ 28.4 g/วัน (Q1-Q3= 20.6-34.0) คิดเป็นร้อยละ 49.7 ของ RDA ส่วนธาตุเหล็กที่ได้รับมีค่ามัธยฐานเท่ากับ 6.8 mg/วัน (Q1-Q3= 4.6-8.5) คิดเป็นร้อยละ 34.4 ของ RDA วิตามินซีที่ได้รับมีค่ามัธยฐานเท่ากับ 51.9 mg/วัน (Q1-Q3= 33.5-81.6) คิดเป็นร้อยละ 72.5 ของ RDA (ตารางที่ 2) สัดส่วนการกระจายพลังงานจากคาร์โบไฮเดรต โปรตีน และไขมัน เท่ากับร้อยละ 67.4, 11.1 และ 21.5 ของพลังงานทั้งหมด ตามลำดับ

 

ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก

          จากการศึกษาพบว่า อายุ เพศ ระยะเวลาการบริโภคอาหารมังสวิรัติ พลังงาน และสารอาหารที่เด็กวัยรุ่นได้รับ ไม่มีความสัมพันธ์กับภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็กในเด็กวัยรุ่นที่บริโภคอาหารมังสวิรัติ (ตารางที่ 3)

 

ตารางที่ 1 ความชุกของการเกิดภาวะโลหิตจาง ภาวะพร่องธาตุเหล็ก และภาวะโลหิตจางจาการขาดธาตุเหล็กของเด็กวัยรุ่น

ภาวะโลหิตจางและภาวะขาดธาตุเหล็ก

รวม (n=94)

 

ชาย (n=51)

 

หญิง (n=43)

ร้อยละ (จำนวน)

95%CI

ร้อยละ (จำนวน)

95%CI

ร้อยละ (จำนวน)

95%CI

Anemia

42.6 (40)

32.4–52.7

 

43.1 (22)

29.1–57.2

 

41.9 (18)

26.5–57.2

IDA

18.1 (17)

10.2–26.0

 

15.7 (8)

5.4 – 26.0

 

20.9 (9)

8.3–33.6

ID

24.5 (23)

15.6–33.3

 

19.6 (10)

8.3 – 30.9

 

30.2 (13)

15.9–44.5

 

ตารางที่ 2 ปริมาณพลังงาน และสารอาหารที่เด็กวัยรุ่นได้รับ

 

พลังงาน

และสารอาหาร

ปริมาณที่ได้รับ

 

%RDA

รวมทั้งหมด (n=86)

ชาย

(n=46)

หญิง

(n=40)

รวมทั้งหมด

(n=86)

ชาย

(n=46)

หญิง

(n=40)

พลังงาน (Kcal)

 

 

 

 

 

 

 

Median

982.3

1065.6

965.7

 

50.9

49.6

53.6

Q1 - Q3         

773.6–1284.6

794.9-1284.8

768.1-1202.8

 

40.3-61.2

40.0-61.2

44.3-66.0

95% CI Median

884.5-1068.2

858.2-1248.2

842.7-1032.2

 

45.9-55.6

44.3-56.2

49.8-56.9

โปรตีน (g)

 

 

 

 

 

 

 

Median

28.4

30.9

22.2

 

49.7

52.4

48.7

Q1 - Q3

20.6-34.0

23.8-35.6

19.9-33.4

 

39.1-59.2

39.2-59.2

38.7-59.7

95% CI Median

23.6-30.5

28.2-33.1

21.8-28.5

 

46.3-52.9

46.9-55.0

41.8-53.3

คาร์โบไฮเดรต(g)*

 

 

 

 

 

 

 

Median

162.1

180.6

159.5

 

 

 

 

Q1 - Q3         

131.5-212.7

131.5-217.5

131.2-192.9

 

-

-

-

95% CI Median

146.1-184.2

140.6-208.7

142.1-179.2

 

 

 

 

ไขมัน (g)*

 

 

 

 

 

 

 

Median

22.3

22.2

22.8

 

 

 

 

Q1 - Q3         

18.2-31.4

16.2-31.4

19.4-31.5

 

-

-

-

95% CI Median

20.7-26.7

19.5-28.6

20.7-26.8

 

 

 

 

เหล็ก (mg)

 

 

 

 

 

 

 

Median

6.8

7.1

6.7

 

34.4

47.9

25.9

Q1 - Q3         

4.6-8.5

5.1-8.7

4.6-8.4

 

23.9-48.7

36.3-57.1

19.7-32.8

95% CI Median

4.6-8.5

6.2-8.0

5.0-7.6

 

29.1-40.2

42.2-52.6

23.6-29.0

วิตามินซี (mg)

 

 

 

 

 

 

 

Median

51.9

48.1

57.1

 

72.5

64.3

90.6

Q1 - Q3         

33.5-81.6

28.1-80.9

39.9-88.8

 

50.3-108.8

38.7-92.2

58.0-136.5

95% CI Median

42.9-67.4

33.5-66.3

42.9-75.7

 

61.1-88.5

47.6-77.2

68.3-109.4

* ไม่มีการกำหนดปริมาณที่ควรได้รับประจำวันสำหรับคนไทย (RDA)

 

ตารางที่ 3 ความสัมพันธ์ระหว่างอายุ เพศ ระยะเวลาการบริโภคอาหารมังสวิรัติ พลังงาน และสารอาหารที่เด็กวัยรุ่นได้รับ กับภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก

ตัวแปร

ภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก

OR

95% CI

P-value

เป็น

ไม่เป็น

อายุ (n=94)

 

 

 

 

 

<15 ปี

11

29

1.3

0.5-3.8

0.5

15 ปี

12

42

 

 

 

เพศ (n=94)

 

 

 

 

 

หญิง

13

30

1.8

0.6-5.2

0.2

ชาย

10

41

 

 

 

ระยะเวลาบริโภคอาหารมังสวิรัติ (n=86)

 

 

 

 

 

> 3 ปี

11

30

1.5

0.5-4.6

0.4

3 ปี

9

36

 

 

 

พลังงานที่ได้รับ (n=86)

 

 

 

 

 

<70% RDA

17

59

0.7

0.1-4.5

0.5

70% RDA

3

7

 

 

 

โปรตีนที่ได้รับ (n=86)

 

 

 

 

 

<70% RDA

19

59

2.2

0.3-106.8

0.4

70% RDA

1

7

 

 

 

เหล็กที่ได้รับ (n=86)

 

 

 

 

 

<70% RDA

19

62

1.2

0.1-63.5

0.6

70% RDA

1

4

 

 

 

วิตามินซีที่ได้รับ (n=86)

 

 

 

 

 

<70% RDA

9

31

0.9

0.3-2.8

0.8

70% RDA

11

35

 

 

 

 

วิจารณ์     

            เด็กวัยรุ่นที่บริโภคอาหารมังสวิรัติในชุมชนราชธานีอโศก มีภาวะโลหิตจางเกือบครึ่งของจำนวนเด็กทั้งหมด (ร้อยละ 42.6) โดยในเพศชาย และหญิงมีจำนวนใกล้เคียงกัน พบร้อยละ 43.1 และ 41.9 ตามลำดับ ซึ่งใกล้เคียงกับการศึกษาของ ปิยวรรณ ท่าใหญ่14 พบว่าผู้ที่บริโภคอาหารมังสวิรัติมีภาวะโลหิตจาง ร้อยละ 54.8  จากเกณฑ์ขององค์การอนามัยโลกกำหนดว่าถ้าภาวะโลหิตจางมากกว่าหรือเท่ากับร้อยละ 40 แสดงว่าเป็นปัญหาสาธารณสุขที่รุนแรง15 ดังนั้นภาวะโลหิตจางที่พบในเด็กวัยรุ่นที่บริโภคอาหารมังสวิรัติในกลุ่มที่ศึกษาเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญควรเร่งแก้ไข เมื่อเทียบกับข้อมูลภาวะโลหิตจางในเด็กที่บริโภคอาหารปกติ จากการสำรวจภาวะอาหาร และโภชนาการของประเทศไทย ครั้งที่ 5 .. 2546 พบความชุกของภาวะโลหิตจางในเด็กที่อยู่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ อายุ 12-14 ปี พบร้อยละ 13.6 และอายุ 15-19 ปี ร้อยละ 16.32 จะเห็นว่าเด็กที่บริโภคอาหารมังสวิรัติมีภาวะโลหิตจางมากกว่าเด็กที่บริโภคอาหารปกติถึงสองเท่าตัว และความชุกของภาวะโลหิตจางในเด็กที่บริโภคอาหารมังสวิรัติจากการศึกษาครั้งนี้สูงกว่าการศึกษาของ Thurlow และคณะ16 ซึ่งศึกษาในเด็กที่บริโภคอาหารปกติ อายุ 6-13 ปี จังหวัดอุบลราชธานีที่พบภาวะโลหิตจางร้อยละ 31 สำหรับภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็กในเด็กวัยรุ่นที่บริโภคอาหารมังสวิรัตินี้ พบร้อยละ 24.5 ของเด็กทั้งหมด หรือคิดเป็นร้อยละ 57.5 ของคนที่มีภาวะโลหิตจางสอดคล้องกับการศึกษาของ Al-Mekhlafi และคณะ17 ได้ศึกษาเด็กนักเรียน อายุ 7-12 ปี ในประเทศมาเลเซีย โดยพบภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็กคิดเป็นร้อยละ70.1 ของคนที่มีภาวะโลหิตจาง ซึ่งความชุกของภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็กจากการศึกษานี้พบมากกว่าการศึกษาในเด็กที่บริโภคอาหารปกติของ Thurlow และคณะ16 ที่พบเพียงร้อยละ 16 ของคนที่มีภาวะโลหิตจาง ทั้งนี้อาจเนื่องมาจากชนิดของอาหารที่บริโภค และดัชนีชี้วัดภาวะธาตุเหล็กที่แตกต่างกัน โดยการศึกษาของ Thurlow และคณะ16 ใช้ serum transferrin receptor ที่มีความแม่นยำสูง18 เป็นตัวบงชี้การขาดธาตุเหล็ก แตกต่างจากการศึกษานี้ใช้ serum ferritin ซึ่งสามารถถูกกระทบได้หลายปัจจัย18 เป็นตัวบ่งชี้ ภาวะโลหิตจางในเด็กที่บริโภคอาหารมังสวิรัตินี้ นอกจากเกิดจากการขาดธาตุเหล็กแล้ว อีกร้อยละ 42.5 มีภาวะโลหิตจางที่เกิดจากสาเหตุอื่น เช่น การขาดวิตามินบี12 การขาดวิตามินเอ สำหรับการศึกษานี้ไม่ได้ตรวจวัดหาสารเหล่านี้ในเลือด จากการศึกษาของ Hellman และ Darton-Hill7 พบว่าระดับของวิตามินบี 12 ในเลือดของคนที่บริโภคอาหารมังสวิรัติต่ำกว่าคนที่ไม่บริโภคอาหารมังสวิรัติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และการศึกษาของ Haddad และคณะ19 พบการขาดวิตามินบี 12 ในคนที่บริโภคอาหารมังสวิรัติบางคน การศึกษาของ Thurlow และคณะ16 พบว่าเด็กที่มีภาวะโลหิตจางมีระดับของ serum retinol ต่ำกว่าเด็กปกติ

 

          จากผลการศึกษานี้นอกจากจะพบเด็กที่มีภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็กในอัตราที่สูงแล้วยังมีเด็กอีกร้อยละ 18.1 ที่มีภาวะพร่องธาตุเหล็ก (ภาวะเฟอร์ไรตินต่ำ แต่ไม่มีภาวะโลหิตจาง) ซึ่งการมีภาวะเฟอร์ไรตินต่ำเป็นตัวบ่งชี้ถึงการเก็บสะสมธาตุเหล็กในร่างกายน้อย20 เมื่อเด็กกลุ่มนี้มีภาวะพร่องเหล็กในระดับหนึ่งจะส่งผลให้มีภาวะโลหิตจางในที่สุด

          สำหรับภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็กเมื่อจำแนกตามเพศพบว่าเพศหญิงมีภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็กมากกว่าชายพบร้อยละ 30.2 และ 19.6 ตามลำดับ และภาวะพร่องธาตุเหล็กก็พบในเพศหญิงมากกว่าชาย โดยพบร้อยละ 20.9 และ 15.7 ตามลำดับ สอดคล้องการศึกษาของ Al-Mekhlafi และคณะ17 ที่พบว่าภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็กของกลุ่มที่บริโภคอาหารปกติในเด็กนักเรียนหญิงมากกว่าในเด็กนักเรียนชายอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ทั้งนี้อาจจะเนื่องมาจากมีการสูญเสียเลือดในช่วงของการเป็นประจำเดือนร่วมด้วย21 และจากการศึกษาของ Helman และ Darmton-Hill7 พบว่าระดับซีรั่มเฟอร์ไรตินของคนที่บริโภคอาหารมังสวิรัติในเพศหญิงต่ำกว่าเพศชายอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ

 

          ในด้านการบริโภคอาหาร พบว่าเด็กที่ศึกษาได้รับพลังงาน และโปรตีนเพียงครึ่งหนึ่งของปริมาณที่ควรได้รับ (RDA) เนื่องจากเด็กที่อยู่ในชุมชนนี้บริโภคอาหารเพียงวันละ 2 มื้อ จากการศึกษาของ Leblanc และคณะ22 พบว่าคนที่บริโภคอาหารมังสวิรัติได้รับพลังงานต่ำ ส่วนธาตุเหล็กที่เด็กวัยรุ่นได้รับเพียงร้อยละ 34.4 ของ RDA โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเพศหญิงได้รับธาตุเหล็กร้อยละ 25.9 ของ RDA ส่วนเพศชายได้รับร้อยละ 47.9 ของ RDA นอกจากนี้ธาตุเหล็กที่ได้รับทั้งหมดมาจากพืชเป็นเหล็กประเภทนอนฮีม ซึ่งดูดซึมได้น้อย 23 จากการศึกษาของ Ball และ Bartlett24 และ Waldmann และคณะ25 พบว่าผู้หญิงที่บริโภคอาหารมังสวิรัติมีปริมาณธาตุเหล็กที่ได้รับต่ำกว่าเกณฑ์  การได้รับวิตามินซีซึ่งมีส่วนช่วยในการดูดซึมธาตุเหล็กประเภทนอนฮีมได้ดีขึ้น26 การศึกษานี้พบเด็กได้รับวิตามินซีคิดเป็นร้อยละ 72.5 ของ RDA โดยเพศหญิงได้รับวิตามินซีเพียงพอร้อยละ 90.6 ของ RDA ส่วนเพศชายได้รับวิตามินซีร้อยละ 64.3 ของ RDA เนื่องจากเด็กผู้หญิงที่ศึกษาชอบบริโภคผลไม้รสเปรี้ยวเป็นประจำในช่วงฤดูที่มีผลไม้ตามธรรมชาติ

สรุปและข้อเสนอแนะ

          เด็กวัยรุ่นที่บริโภคอาหารมังสวิรัติในชุมชนราชธานีอโศกมีความชุกของภาวะโลหิตจาง และภาวะขาดธาตุเหล็กอยู่ในระดับสูง และเด็กในกลุ่มนี้ได้รับพลังงาน โปรตีน และธาตุเหล็กไม่เพียงพอ โดยเฉพาะกลุ่มวัยรุ่นหญิง ดังนั้นควรให้ความสนใจเพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว โดยเสริมธาตุเหล็ก และเพิ่มอาหารที่มีธาตุเหล็กสูง นอกจากนี้ควรมีการจัดมื้ออาหารเพิ่ม หรือจัดเป็นอาหารว่าง โดยเน้นอาหารที่มีธาตุเหล็กสูง เพื่อให้ได้รับพลังงาน และสารอาหารเพียงพอ สำหรับแนวทางในการศึกษาครั้งต่อไปควรศึกษาสาเหตุอื่นที่ทำให้เกิดภาวะโลหิตจาง ทั้งในด้านการขาดสารอาหารบางตัว เช่น วิตามินบี12 วิตามินเอ และสาเหตุด้านพันธุกรรม และการเป็นพยาธิปากขอของเด็กที่บริโภคอาหารมังสวิรัติ

 

กิตติกรรมประกาศ

          ขอขอบคุณบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัย ขอนแก่น ที่ให้ทุนสนับสนุนการทำวิทยานิพนธ์ ขอขอบคุณศูนย์วิจัย และพัฒนาการตรวจวินิจฉัยทางห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ (ศวป.) ที่ให้ความอนุเคราะห์ในการตรวจวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการ และขอขอบคุณเด็กวัยรุ่นชุมชนราชธานีอโศก จังหวัดอุบลราชธานีที่ให้ความร่วมมือในการเก็บข้อมูล

 

เอกสารอ้างอิง

1.      World Health Organization. The World Health Report 2002: Reducing risks, promoting healthy life. Geneva, Switzerland: World Health Organization, 2002.

2.      กองโภชนาการ  กรมอนามัย  กระทรวงสาธารณสุข. รายงานการสำรวจภาวะอาหารและโภชนาการของประเทศไทย ครั้งที่ 5 .. 2546. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ (รสพ), 2549.

3.      Saloojee H, Pettifor JM. Iron deficiency and impaired child development. BMJ 2001; 7326: 1377 - 8.

4.      Lozoff B. Functional significance of iron deficiency in children. [online]  June 1997 [cited 2008 Sep10]. Available from : www.sciencedaily.com/releases/1997/06/970606121500.htm

5.      Halterman JS, Kaczorowski JM, Aligne CA, Auinger P, Szilagyi PG. Iron deficiency and cognitive achievement among school-aged children and adolescents in the United States. Pediatrics 2001; 6: 1381-6.

6.      Craig WJ. Iron status of vegetarians. Am J Clin Nutr 1994; 5: 1233s-7s.

7.      Helman AD, Darmton-Hill I.Vitamin and iron status in new vegetarians. Am J Clin Nutr 1987; 4: 785-9.

8.      Hallberg L, Brune M, Rossander L. Iron absorption in man : ascorbic acid and dose-dependent inhibition by phytate. Am J Clin Nutr 1989; 1: 140-4.

9.      Alea GV, Noel MG. Phytic acid in edible legume seeds. JRSCE 2007; 2: 19-22.

10.  Hurrell R, Reddy M, Cook J.Inhibition of non-haem iron absorption in man by polyphenolic-containing beverages. Brit J Nutr 1999; 4: 289–95.

11.  Bindra GS, Gibson RS. Iron status of predominantly lacto-ovo vegetarian East Indian immigrants  to Canada: a model approach. Am J Clin Nutr 1986; 5: 643-52.

12.  Graves JF. Mineral adequacy of vegetarian diets. Am J Clin Nutr 1988; 3:  859-62.

13.  กุลนภา ฟู่เจริญ, กันยารัตน์ แคนตะ, รุ่งฤดี ประทุมชาติ, อุไรวรรณ ยิ้มประเสริฐ, แขไข ไพกะเพศ, อุไรวรรณ สุรินทร์ และคณะ. ธาลัสซีเมียและภาวะขาดเหล็กในกลุ่มประชากรที่ให้ผลบวกต่อการตรวจกรอง OF test และ KKU-DCIP Clear. วารสารโลหิตวิทยาและเวชศาสตร์บริการโลหิต 2542; 9: 111–8.

14.  ปิยวรรณ  ท่าใหญ่. ความเสี่ยงต่อการเกิดโลหิตจางในกลุ่มผู้บริโภคมังสวิรัติ [วิทยานิพนธ์ปริญญา คหกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาคหกรรมศาสตร์]. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์; 2544.

15.  WHO. Iron deficiency anaemia: assessment, prevention, and control. Geneva, Switzerland: World Health Organization; 2001.

16.  Thurlow RA, Winichagoon P, Green T, Wasantwisut E, Pongcharoen T, Bailey KB, et al.  Only a small prpportion of anemia in Northeast Thai schoolchildren is associated with iron deficiency. Am J Clin Nutr 2005; 82: 380-7.

17.  Al-Mekhlafi MH, Surin J, Atiya AS, Ariffin WA, Mahdy AKM, Abdullah HC. Anaemia and iron deficiency anaemia amoung aboriginal schoolchildren in rural Peninsular Malaysia: an update on a continuing problem. NCBI 2008; 10: 1046-52.

18.  พัตธนี วินิจจะกูล, วีระศักดิ์ จงสู่วิวัฒน์วงศ์.  การขาดธาตุเหล็กและโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก. นนทบุรี: สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข; 2542.

19.  Haddad EH, Berk LS, Kettering JD, Hubbard RW, Peters WR. Dietary intake and biochemical, hematologic, and immune status of vegans compared with nonvegetarians. Am J Clin Nutr 1999; 3: 586s-93s.

20.  Dallman PR. In: Brown ML, editor. Present knowledge in nutrition. 6th ed. Washington : International Life Sciences Institute Nutrition Foundation, 1990: 241-50.

21.  กมลมาลย์  วิรัตน์เศรษฐสิน.  ภาวะโลหิตจาง ปัญหาที่ต้องทบทวน.  กรุงเทพฯ: ธรรมสภา; 2546.

22.  Leblanc JC, Kombadjian H, Verger P. Nutritional intakes of vegetarian populations in France. Eur J Clin Nutr 2000; 5: 443–9.

23.  Brown JE, Isaacs JS,  Krinke UB, Murtaugh MA, Stang J, Wooldridge NH. Nutrition through the life cycle.  2nd ed.  Belmont, Calif: Wadsworth/Thomson Learning; 2005.

24.  Ball MJ, Bartlett MA. Dietary intake and iron status of Australian vegetarian women. Am J Clin Nutr 1999; 3: 353-8.

25.  Waldmann A, Koschizke JW, Leitzmann C, Hahn A. Dietary iron intake and iron status of German female vegans: results of the German Vegan Study. Ann Nutr Metab 2004; 2: 103-8.

26.  Cook JD, Reddy MB. Effect of ascorbic acid intake on nonheme-iron absorption from a complete diet. Am J Clin Nutr 2001; 1: 93-8.

 

 

Untitled Document
Article Location

Untitled Document
Article Option
       Abstract
       Fulltext
       PDF File
Untitled Document
 
ทำหน้าที่ ดึง Collection ที่เกี่ยวข้อง แสดง บทความ ตามที่ีมีใน collection ที่มีใน list Untitled Document
Another articles
in this topic collection

Study groups of mother or relatives whose level of education are higher Than Prathom 4 which normally look after children better than the Similar Groups who have Prathom 4 education or lower; and study different factors which influence the growth of preschool children. (กลุ่มมารดาหรือผู้เลี้ยงดูเด็กที่มีการศึกษาสูงกว่าประถมปีที่ 4 จะเลี้ยงดูแลเด็กได้ดีกว่ากลุ่มมารดาผู้เลี้ยงดูเด็กที่มี การศึกษาประถมปีที่ 4 หรือต่ำกว่า และศึกษาองค์ประกอบ ต่าง ๆ ที่มีอิทธิพลต่อการเจริญเติบโตของเด็กทารกและ เด็กวัยเรียนในชนบท )
 
Cold and Cough Medications in Children : Uses and abuses (ยาแก้หวัด แก้ไอเด็ก : Uses and abuses)
 
Clinical Use of Proton Pump Inhibitors in Children (การใช้ยา proton pump inhibitor ทางคลินิกในเด็ก)
 
Study of Weight Excess of Year 1–4 Students’ School Bag at Khon Kaen University Primary Demonstration School (สัดส่วนนักเรียนที่ใช้กระเป๋านักเรียนน้ำหนักเกินมาตรฐานเมื่อเปรียบเทียบกับน้ำหนักตัว ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 – 4 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยขอนแก่น (ศึกษาศาสตร์) ระดับประถม)
 
<More>
Untitled Document
 
This article is under
this collection.

Child Health
 
 
 
 
Srinagarind Medical Journal,Faculty of Medicine, Khon Kaen University. Copy Right © All Rights Reserved.
 
 
 
 

 


Warning: Unknown: Your script possibly relies on a session side-effect which existed until PHP 4.2.3. Please be advised that the session extension does not consider global variables as a source of data, unless register_globals is enabled. You can disable this functionality and this warning by setting session.bug_compat_42 or session.bug_compat_warn to off, respectively in Unknown on line 0