วิธีการศึกษา
เป็นการศึกษาเชิงพรรณนาในกลุ่มผู้ดูแลที่ทำหน้าที่เลี้ยงดูผู้ป่วยทั้งที่บ้าน และโรงพยาบาล ซึ่งอาจเป็น บิดา มารดา ปู่ ย่า ตา ยาย หรือญาติอื่นๆ โดยเป็นผู้นำบุตร/หลานมารับการตรวจรักษา ณ แผนกการพยาบาลผู้ป่วยนอก และ/หรือนอนรักษาในโรงพยาบาลศรีนครินทร์และโรงพยาบาลขอนแก่น ทั้งผู้ป่วยรายใหม่และเก่า โดยผู้ดูแลเป็นบุคคลที่มีสติสัมปชัญญะครบถ้วน สื่อสารได้ดี ไม่จำกัดอายุ โดยมีระยะเวลาดำเนินการตั้งแต่ มกราคม ถึง ธันวาคม 2551 จำนวน 242 ราย
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย : เครื่องมือในการวิจัยเป็นแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นรวมทั้งหมด 4 ส่วน คือ 1) แบบสอบถามข้อมูลทั่วไปและการรักษาของผู้ป่วย 2)แบบสอบถามข้อมูลทั่วไปของผู้ดูแล 3)แบบสอบถามเกี่ยวกับความรู้ความเข้าใจในการรักษา ซึ่งมีทั้งหมด 17 ข้อ โดยถามถึงความรู้ความเข้าใจในเรื่อง โรค การักษา การดูแลโดยทั่วไป การดูแลก่อน-หลังผ่าตัด และการติดตามการรักษา และ 4)แบบสอบถามเกี่ยวกับการรับรู้แหล่งประโยชน์ในการรักษาซึ่งมีทั้งหมด 21 ข้อ โดยถามถึงการรับรู้เกี่ยวกับการช่วยเหลือต่างๆทั้งจากรัฐบาล ชุมชน ครอบครัว การรับรู้ถึงศักยภาพของโรงพยาบาลใกล้บ้าน การส่งต่อ การรับรู้เกี่ยวกับการช่วยเหลือของกาชาดจังหวัด โดยแบบสอบถามทั้งส่วนที่ 3 และ 4 จะเป็นการเลือกตอบใน 5 ระดับโดยมีเกณฑ์การให้คะแนน9 ดังนี้ คะแนนเฉลี่ย 4.50-5.00 มีความรู้ความเข้าใจ /การรับรู้อยู่ในระดับมากที่สุด คะแนนเฉลี่ย 3.05-4.49 มีความรู้ความเข้าใจ /การรับรู้อยู่ในระดับมาก คะแนนเฉลี่ย 2.50-3.49 มีความรู้ความเข้าใจ /การรับรู้อยู่ในระดับปานกลาง คะแนนเฉลี่ย 1.50-2.49 มีความรู้ความเข้าใจ/การรับรู้อยู่ในระดับน้อย คะแนนเฉลี่ย 1.00-1.49 มีความรู้ความเข้าใจ /การรับรู้อยู่ในระดับน้อยที่สุด และตรวจสอบความตรงตามเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิและได้ค่าสัมประสิทธิ์ความเที่ยงของแบบสอบถามส่วนที่ 3 และ 4 เท่ากับ 0.87 และ 0.75 ตามลำดับ
วิธีดำเนินการศึกษา : เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามให้ผู้ดูแลตอบ ณ ห้องตรวจศัลยกรรมแผนกการพยาบาลผู้ป่วยนอก และหอผู้ป่วยศัลยกรรม 3ค โรงพยาบาลศรีนครินทร์ โดยใช้เวลาในการตอบประมาณ 20 นาที/ราย ส่วนโรงพยาบาลขอนแก่นผู้ช่วยนักวิจัยเก็บข้อมูล ณ หอผู้ป่วยศัลยกรรม และหอผู้ป่วย หู คอ จมูก ที่มีผู้ป่วยปากแหว่งเพดานโหว่เข้ารับการรักษาโดยการผ่าตัด
การวิเคราะห์ข้อมูล : วิเคราะห์ข้อมูลและนำเสนอข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนา ในการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อหาค่าความแตกต่างทางสถิติของการวิจัยครั้งนี้ กำหนดความเชื่อมั่นในระดับร้อยละ 95 โดยใช้โปรแกรมสำเร็จ SPSS 12.0 for Windows
ข้อพิจารณาทางจริยธรรม : งานวิจัยนี้ได้ผ่านการรับรองจากคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
ผลการศึกษา
อายุเฉลี่ยของผู้ดูแลคือ 33 ปี เพศหญิงร้อยละ 85 การศึกษาต่ำกว่าปริญญามากที่สุดร้อยละ43 สถานภาพสมรสแต่งงานมากที่สุดร้อยละ 90 รายได้ของครอบครัวต่ำกว่า 5,000 บาทต่อเดือนมากที่สุดร้อยละ 51 จำนวนสมาชิกในครอบครัวมากที่สุด คือ 5-8 คนร้อยละ 52 ความสัมพันธ์ในครอบครัวอยู่ร่วมกับบิดามารดามากที่สุดร้อยละ 69 ค่าคะแนนเฉลี่ยความรู้ความเข้าใจในการรักษาอยู่ในระดับสูงคือ 3.6 และค่าคะแนนเฉลี่ยการรับรู้แหล่งประโยชน์ในการรักษาอยู่ในระดับปานกลางคือ 3.3 การเข้ารับการผ่าตัดซ่อมแซมปากแหว่งช่วงอายุ 3-4 เดือน คิดเป็นร้อยละ 61 เข้ารับการผ่าตัดซ่อมแซมเพดานโหว่ช่วงอายุ 9-18 เดือนร้อยละ 72 (ตารางที่ 1 และ 2 )
ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับอายุของผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษา พบว่าอายุของผู้ดูแลมีความสัมพันธ์
กับการเข้ารับการรักษาของผู้ป่วยปากแหว่งเพดานโหว่ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p=0.006) (ตารางที่ 3 และ 4)
ตารางที่ 1 ช่วงอายุในการเข้ารับการผ่าตัดรักษาของผู้ป่วยและข้อมูลทั่วไปของผู้ดูแล
ตัวแปร |
จำนวน |
ร้อยละ |
ผ่าตัดซ่อมแซมปากแหว่งเมื่ออายุ |
3-4 เดือน |
81 |
61 |
อื่นๆ |
52 |
39 |
รวม |
133 |
100.0 |
ผ่าตัดซ่อมแซมเพดานโหว่เมื่ออายุ |
9 - 18 เดือน |
66 |
72 |
อื่นๆ |
26 |
28 |
รวม |
92 |
100.0 |
ผ่าตัดปลูกกระดูกสันเหงือกเมื่ออายุ |
8 - 10 ปี |
66 |
100.0 |
รวม |
66 |
100.0 |
ผ่าตัดตกแต่งจมูก/ริมฝีปากเมื่ออายุ |
4 - 5 ปี |
1 |
3 |
อื่นๆ |
35 |
97 |
รวม |
36 |
100.0 |
เพศของผู้ดูแล |
หญิง |
117 |
85 |
ชาย |
21 |
15 |
รวม |
138 |
100.0 |
สถานะภาพสมรสของผู้ดูแล |
โสด |
7 |
5 |
แต่งงาน |
124 |
90 |
หม้าย/หย่า/แยก |
7 |
5 |
รวม |
138 |
100.0 |
การศึกษาของผู้ดูแล |
ไม่ได้เรียน |
1 |
1 |
ประถม |
56 |
41 |
ต่ำกว่าปริญญา |
59 |
43 |
ปริญญาตรีขึ้นไป |
22 |
15 |
รวม |
138 |
100.0 |
รายได้ของผู้ดูแล........ บาท/เดือน |
<5,000 |
71 |
51 |
5,001-10,000 |
43 |
31 |
10,001-20,000 |
16 |
12 |
>20,000 |
8 |
6 |
รวม |
138 |
100.0 |
จำนวนสมาชิกในครัวเรือน |
1-4 คน |
62 |
45 |
5-8 คน |
72 |
52 |
9 คนขึ้นไป |
4 |
3 |
รวม |
138 |
100.0 |
ความสัมพันธ์ในครอบครัวระหว่างผู้ป่วยกับผู้ดูแล |
อยู่ร่วมกับบิดามารดา |
95 |
69 |
บิดาส่งเงินมาให้ |
21 |
15 |
บิดามารดาส่งเสียเงินให้ |
15 |
11 |
บิดามารดาไม่ส่งเสีย |
4 |
3 |
อื่นๆ |
3 |
2 |
รวม |
138 |
100.0 |
ตารางที่ 2 ความรู้ความเข้าใจในการรักษาและการรับรู้แหล่งประโยชน์ในการรักษาของผู้ดูแล
ตัวแปร |
Mean |
SD |
ความรู้ความเข้าใจในการรักษา |
3.6 |
2.188 |
การรับรู้แหล่งประโยชน์ในการรักษา |
3.3 |
0.654 |
ตารางที่ 3 การทดสอบความแตกต่างของตัวแปรต่างๆ ว่ามีผลต่อการเข้ารับการผ่าตัดซ่อมแซมปากแหว่ง
ตัวแปร |
การเข้ารับ
ผ่าตัดซ่อม
ปากแหว่ง |
Mean |
SD |
mean difference |
95% CI of mean difference |
p-value |
Lower |
Upper |
อายุของผู้ดูแล
33 ปี |
3-4 เดือน |
33.2 |
8.7 |
0.3 |
-3.4 |
3.9 |
0.888 |
|
อื่นๆ |
32.9 |
11.4 |
ความรู้ฯ |
3-4 เดือน |
3.8 |
2.791 |
0.3 |
-0.5 |
1.1 |
0.424 |
|
อื่นๆ |
3.5 |
0.7 |
การรับรู้ฯ |
3-4 เดือน |
3.3 |
0.6 |
0.0 |
-0.2 |
0.2 |
0.959 |
|
อื่นๆ |
3.3 |
0.6 |
ตารางที่ 4 การทดสอบความแตกต่างของตัวแปรต่างๆว่ามีผลต่อการเข้ารับการผ่าตัดซ่อมแซมเพดานโหว่
ตัวแปร |
การเข้ารับ
ผ่าตัดซ่อม
เพดานโหว่
|
Mean |
SD |
mean difference |
95% CI of mean difference |
p-value |
Lower |
Upper |
อายุ 33 ปี |
9 - 18 เดือน |
32.9 |
9.1 |
-6.4 |
-10.9 |
-1.9 |
0.006 |
|
other |
39.2 |
11.5 |
ความรู้ฯ |
9 - 18 เดือน |
4.0 |
3.0 |
0.8 |
-0.4 |
2.0 |
0.191 |
|
other |
3.2 |
0.7 |
การรับรู้ฯ |
9 - 18 เดือน |
3.4 |
0.7 |
0.0 |
-0.3 |
0.4 |
0.713 |
|
other |
3.3 |
0.6 |
วิจารณ์
จากวุฒิภาวะของเด็กที่ต้องพึ่งพา ดังนั้นการเข้ารับการรักษาตามช่วงอายุอย่างต่อเนื่องจึงมีส่วนสัมพันธ์กับผู้ดูแลที่จะนำบุตร/หลานเข้ารับการผ่าตัดรักษาด้วย ปัจจัยของผู้ดูแลไม่ว่าจะเป็นอายุ เพศ การศึกษา สถานภาพสมรส รายได้ของครอบครัว จำนวนสมาชิกในครอบครัว ความสัมพันธ์ในครอบครัว ความรู้ความเข้าใจในการรักษา และการรับรู้แหล่งประโยชน์ในการรักษาของผู้ดูแลย่อมมีผลต่อการเข้ารับการรักษาของผู้ป่วยปากแหว่งเพดานโหว่ได้ โดยเฉพาะอายุของผู้ดูแลที่อยู่ในช่วง 33 ปี ซึ่งเป็นช่วงของวัยการทำงาน การเรียนรู้และสั่งสมประสบการณ์ และการตัดสินใจที่มีเหตุผล ดังนั้นผู้ดูแลที่อยู่ในวัยนี้จึงนำบุตร/หลานเข้ารับการผ่าตัดรักษา ณ โรงพยาบาลศรีนครินทร์และโรงพยาบาลขอนแก่นมากที่สุด ซึ่งสอดคล้องกับการศึกษาของ M.Sjaifuddin Noer และ Iswinarno10 ประเทศอินโดนีเซีย ที่พบว่าปัจจัยของผู้ดูแลที่มีผลต่อการเข้ารับการรักษาของผู้ป่วยมากที่สุดคือ 1) จำนวนบุตรในครอบครัว 3-5 คน 2) อายุของผู้ดูแล 3) ปัญหาทางเศรษฐกิจ 4) ระดับการศึกษา และสุดท้ายคือ ภูมิลำเนา และจากการที่ผู้ดูแลได้รับคำแนะนำในเรื่องการรักษาตามช่วงอายุจากทีมสหวิทยาการซึ่งเป็นศูนย์การดูแลผู้ป่วยปากแหว่งเพดานโหว่ระดับตติยะภูมิที่มีศักยภาพ และการเข้าถึงแหล่งข้อมูลข่าวสารเพิ่มมากขึ้น จึงทำให้ผู้ดูแลมีความรู้ความเข้าใจโดยนำบุตร/หลานเข้ารับการผ่าตัดตามช่วงอายุอยู่ในเกณฑ์มากกว่าร้อยละ 60 แต่อย่างไรก็ตามผู้ดูแลบางส่วนยังขาดโอกาสในการเข้าหาแหล่งช่วยเหลือทางสังคมอยู่อีกเป็นจำนวนมาก ซึ่งส่วนใหญ่ยังไม่ทราบศักยภาพของโรงพยาบาลใกล้บ้านว่าสามารถที่จะรักษาบุตร/หลานได้หรือไม่ จึงอาจเสียโอกาสที่จะเข้าถึงแหล่งช่วยเหลือและอาจทำให้การนำบุตร/หลานเข้ารับการผ่าตัดรักษาล่าช้าได้
สรุป
การทราบข้อมูลเบื้องต้นของผู้ป่วยด้านอายุในการเข้ารับการผ่าตัดและปัจจัยที่เกี่ยวข้องของผู้ดูแลจะทำให้ทีมสหวิทยาการสามารถนำข้อมูลเหล่านี้ไปแก้ไขปัญหาได้ตรงกับที่ต้องการ และยังสามารถนำไปปรับปรุงกระบวนการดูแลของทีม เพื่อให้เขาเหล่านั้นมีศักยภาพที่จะดูแลผู้ป่วยปากแหว่งเพดานโหว่ต่อไป
ข้อเสนอแนะในการทำวิจัยครั้งต่อไป
ศึกษาถึงผลลัพธ์ของการรักษาของทีมสหวิทยาการในทุกมิติ คือ ผลลัพธ์ด้านการผ่าตัด ด้านทันตกรรมจัดฟัน ด้าน หู การพูด การได้ยิน และด้านคุณภาพชีวิตโดยรวม
เอกสารอ้างอิง
1. บวรศิลป์ เชาวน์ชื่น. การดูแลแบบสหวิทยาการของผู้ป่วยปากแหว่งเพดานโหว่ และ
ความพิการแต่กำเนิดของใบหน้า และกะโหลกศีรษะ. ขอนแก่น : ศิริภัณฑ์ ออฟเซ็ท, 2547.
2. ดาราวรรณ อักษรวรรณ. ศรากูล นามแดง. สุมาลี พงศ์ผกาทิพย์. รายงานการวิจัย
ความต้องการข้อมูลของผู้ปกครองเด็กที่มีความพิการของศีรษะและใบหน้าแต่กำเนิดที่ได้รับการผ่าตัด. งานบริการพยาบาล โรงพยาบาลศรีนครินทร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 2547 .
3. สุธีรา ประดับวงษ์, ธารินี เพชรรัตน์, พิณรัตน์ จำปาแขม, ยุพิน ปักกะสังข์. ผลของการ
ให้ข้อมูลเตรียมความพร้อมอย่างมีแบบแผนต่อความวิตกกังวล การปฏิบัติตัวหลังผ่าตัดของผู้ดูแล และการติดเชื้อของแผลผ่าตัดในผู้ป่วยเด็กที่เข้ารับการผ่าตัดตกแต่งซ่อมแซมปากแหว่งเพดานโหว่. วารสารกองการพยาบาล, 2548 ; 3: 6-25.
4. Golding-Kusher KJ. Therapy Techniques for Cleft Palate Speech and
Related Disorders. Department of Special Education and Individualized Services Speech Patology Program Khon Kaen University Union, New Jersey, 2001.
5. เบญจมาศ พระธานี. ปากแหว่งเพดานโหว่ : ปัญหาทางการพูดและภาษา. ภาควิชาโสตศอ นาสิก ลาริงซ์วิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 2545.
6. เพ็ญศรี ระเบียบ. เสริมพลังรักษ์สุขภาพ, สารสภาการพยาบาล 2540; 1: 13-18.
7. กุลยา ตันติผลาชีวะ. การพัฒนาคุณภาพการพยาบาลทางคลินิก. สารสภาการพยาบาล 2541; 1: 20-6.
8. ดวงใจ รัตนธัญญา, ดนุลดา จามจุรี. ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของ
ประชากรวัยทำงานในชุมชน เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร. วารสารกองการพยาบาล 2548; 3: 43-60.
9. ชูศรี วงศ์รัตนะ. เทคนิคการใช้สถิติเพื่อการวิจัย. พิมพ์ครั้งที่ 8. กรุงเทพฯ : เทพเนรมิตการพิมพ์, 2544.
10. Noer MS, Iswinarno D. Study on the cause of delayed operation for cleft palate repair at CLP Center in Surabaya International Hospital. 6th Asian Pacific Craniofacial Association Conference Singapore, 2006.