|
In O2 (%) |
In N2O (%) |
MAC-Awake (%) |
MAC-BAR (%) |
Desflurane |
6.00 |
2.83 |
2.42 |
1.45 MAC |
Sevoflurane |
1.71 |
0.66 |
0.61 |
2.24 MAC |
Halothane |
0.77 |
0.29 |
0.41 |
1.3 MAC |
Isoflurane |
1.15 |
0.50 |
0.39 |
1.3 MAC |
Nitrous oxide |
104 |
- |
67 |
- |
ลักษณะผู้ป่วยเลือกใช้วิธี VIMA 5, 11
1. กรณีไม่ต้องการแทงเส้นให้น้ำเกลือก่อนการวางยาระงับความรู้สึก เช่น ผู้ป่วยเด็ก ผู้ใหญ่ที่กลัวเข็มฉีดยา ผู้ป่วยที่คาดว่าแทงเส้นให้น้ำเกลือยาก เป็นต้น
2. กรณีที่ผู้ป่วยที่มีแนวโน้มใส่ท่อช่วยหายใจลำบากเนื่องจากผู้ป่วยสามารถกลับมาหายใจเองได้เร็วกว่าการใช้ยาหย่อนกล้ามเนื้อ
3. กรณีผู้ป่วยที่จำเป็นต้องหลีกเลี่ยงการให้ยาหย่อนกล้ามเนื้อ เช่น ผู้ป่วย myasthenia gravis เป็นต้น
4. ผู้ป่วยทั่วไปที่ไม่มีข้อห้าม เช่น มีภาวะ full stomach มีความดันโลหิตตก ลิ้นหัวใจตีบ malignant hyperthermia เป็นต้น ซึ่งร่วมมือในการนำสลบ ยอมรับกลิ่นที่อาจเกิดขึ้น
5. ระยะเวลาการผ่าตัดไม่มีผลต่อการเลือกใช้เนื่องจากระยะเวลาที่ดมยาสลบมีผลน้อยต่อระยะเวลาในการตื่น (มีค่า context sensitive half time ที่ไม่ยาวขึ้นเมื่อดมยาสลบนาน)
6. ผู้ป่วยที่วางแผนการผ่าตัดสั้น ๆ หรือ วางแผนการวางยาระงับความรู้สึกแบบผู้ป่วยนอก สามารถเลือกใช้เทคนิคนี้จะมีการตื่นที่เร็วสามารถหลีกเลี่ยงการใช้ยาหย่อนกล้ามเนื้อและยาแก้ฤทธิ์ยาหย่อนกล้ามเนื้อ โดยมีการศึกษาถึงระยะเวลาที่มีความพร้อมในการกลับบ้านได้ใกล้เคียงกับการใช้เทคนิค TIVA (total intravenous anesthesia technique) แต่อาจเพิ่มการคลื่นไส้อาเจียนซึ่งสัมพันธ์กับการใช้ไนตรัสออกไซด์ อย่างไรก็ตามที่ค่าใช้จ่ายโดยรวมอาจถูกกว่า14, 15
7. ผู้ป่วยเด็ก เนื่องจากไม่ต้องแทงเส้นให้น้ำเกลือก่อนและใช้ยาดมสลบใช้ได้ดีในเด็กเนื่องจากหย่อนกล้ามเนื้อได้ดี เด็กหลับและตื่นได้เร็วเนื่องจากมี FRC (functional residual capacity) น้อยกว่าผู้ใหญ่ มี alveolar ventilation หรือ minute ventilation มากกว่าผู้ใหญ่ มีเลือดไปเลี้ยงสมองในเปอร์เซ็นต์ที่สูงกว่าผู้ใหญ่ และมี cardiac output ที่สูงเมื่อเทียบต่อกิโลกรัม
หลักการของเทคนิค VIMA 16- 21
1. การใช้ยาดมสลบทำให้ผู้ป่วยสลบต้องการความเข้มข้นยาสลบในถุงลมปอดสูงจนผู้ป่วยสลบ หลังจากนั้นถ้าต้องการใส่ท่อช่วยหายใจหรือ laryngeal mask airway (LMA) ต้องทำให้ความเข้มข้นยาดมสลบเพิ่มสูง ซึ่งสามารถทำให้ความเข้มข้นยาสูงขึ้นอย่างรวดเร็วโดยการ
1.1 ใช้ก๊าซปริมาณสูง
1.2 ใช้ยาดมสลบความเข้มข้นสูง (เท่ากับ/สูงกว่าที่ต้องการ) เพื่อทำให้ความเข้มข้นยาดมสลบในถุงลมปอดเพิ่มอย่างรวดเร็ว (overpressurization)
1.3 เพิ่ม minute ventilation เพื่อให้ยาดมสลบที่เข้าไปแทนที่ยาที่ถูกละลายในเลือด
2. การทำให้ผู้ป่วยคงสภาพสลบที่มีระดับความลึกที่เหมาะสมต่อการกระตุ้นต่าง ๆ เช่น การลงมีด การใส่สายสวน เป็นต้น ซึ่งจะใช้ความรู้เกี่ยวกับเภสัชวิทยาประมาณระดับความลึกที่เหมาะสม
การเตรียมอุปกรณ์
การทำเทคนิค VIMA ต้องมีการเตรียมอุปกรณ์ที่เหมาะสม ซึ่งประกอบด้วย
1. ยาดมสลบที่นิยมใช้คือ sevoflurane
2. อุปกรณ์ที่ใช้ในการนำสลบ การนำสลบด้วยยาดมสลบ ตัวแปรหลักคือการส่งยาดมสลบไปยังผู้ป่วยได้อย่างเหมาะสม ซึ่งอุปกรณ์ประกอบด้วย
1) เครื่องวางยาสลบ กรณีที่ต้องการให้ออกซิเจนผู้ป่วยก่อนควรใช้รุ่นที่มี flow meter แยกจาก common gas outlet ทำให้สามารถเตรียมก๊าซให้ผู้ป่วยได้สะดวกขึ้น และถ้าต้องการใช้เทคนิค low flow ควรเลือกใช้เครื่องที่มีความพร้อมและมีอุปกรณ์เฝ้าระวังร่วม
2) วงจรวางยาสลบ ปัจจุบันมีวงจรให้เลือกหลายรูปแบบ
a) วงจรวางยาสลบกลุ่ม Mapleson มีข้อดีคือ นำสลบได้ดี ระดับยาดมสลบในวงจรยาสลบสูงขึ้นเร็ว เบา ไม่ซับซ้อน ไม่มี valve ที่ต้องออกแรงดึง แต่มีข้อเสียคือ ใช้ก๊าซปริมาณมาก เปลืองยาดมสลบ 21 สูญเสียความร้อนและน้ำในร่างกายทำให้ทางเดินหายใจแห้ง
b) วงจรวางยาสลบชนิดที่มีสารดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์มีข้อดีคือ ประหยัดค่าใช้จ่ายยาดมสลบ ลดการสูญเสียความร้อนและความชื้นในทางเดินหายใจ สะดวกในการใช้ ต่อใช้เครื่องช่วยหายใจสะดวก ข้อเสียคือ มีความซับซ้อน มี unidirectional valve ดังนั้นในเด็กเล็กต้องใช้แรงดึงในการหายใจ แต่จะเป็นปัญหาเฉพาะช่วงนำสลบและหายใจเองเท่านั้น
3) อุปกรณ์ประกอบ
a) bag เลือกขนาดที่เหมาะสมเพราะถ้าเล็กเกินไปทำให้ไม่มี reservoir ก๊าซช่วงนำสลบ
b) mask เลือกขนาดที่เหมาะสม ชนิดใสทำให้ผู้ป่วยยอมรับการสูดดมได้มากโดยเฉพาะในรายที่กลัวหรือผู้ป่วยเด็ก อาจใช้กลิ่นเสริมเพื่อกลบกลิ่นยาดมสลบช่วยให้ผู้ป่วยยอมรับได้ดี 22
c) airway เลือกขนาดที่เหมาะสม ระวังการใส่ขณะที่ผู้ป่วยยังสลบไม่ลึกพออาจกระตุ้นให้เกิด laryngospasm ได้
4) อุปกรณ์ช่วยหายใจ ขึ้นอยู่กับแผนในการวางยาระงับความรู้สึก ลักษณะผู้ป่วย การผ่าตัด ระยะเวลาผ่าตัด บุคลากรที่ดูแลผู้ป่วย การดูแลหลังผ่าตัด อาจเลือกใช้ mask หรือ LMA ในรายที่ผ่าตัดสั้นและหายใจเอง หรือใส่ท่อช่วยหายใจในกรณีที่ต้องการควบคุมการหายใจ ซึ่งการเลือกใช้อุปกรณ์ต่าง ๆ ต้องประเมินความลึกการสลบขณะใส่อุปกรณ์ช่วยหายใจ โดยที่การใส่ LMA และอุปกรณ์ที่คล้ายกัน เช่น intubating LMA, flexible LMA, COPA, laryngeal tube, I gel เป็นต้น จะต้องการความลึกการสลบและการหย่อนกล้ามเนื้อน้อยกว่าการใส่ท่อช่วยหายใจ
5) อุปกรณ์เฝ้าระวังผู้ป่วย เป็นการเฝ้าระวังตามมาตรฐานการวางยาสลบทั่วไปซึ่งอาศัยการสังเกตร่วมกับการใช้อุปกรณ์ โดยอาจใช้อุปกรณ์อื่น ๆ ได้แก่
a) capnogram ช่วยประเมินการหายใจที่พอเพียงโดยเฉพาะในรายที่หายใจเองและตรวจดูการเกิด rebreathing ในวงจรวางยาสลบในรายที่ใช้ flow ต่ำ
b) ค่าออกซิเจนในลมหายใจเข้าและออกจะช่วยบอกถึงการได้รับออกซิเจนที่เพียงพอ
c) ค่ายาดมสลบในลมหายใจเข้าและออก ซึ่งค่าในลมหายใจเข้าจะช่วยบอกความเข้มข้นยาสลบที่ผู้ป่วยได้รับจริง และค่ายาดมสลบในลมหายใจออกจะใกล้เคียงกับความเข้มข้นยาสลบในถุงลมปอดซึ่งใช้ประเมินระดับการสลบได้ และลดความเสี่ยงจากการได้รับยามากเกินและต่ำกว่าความต้องการที่แท้จริง
d) อุปกรณ์ในการวัดคลื่นไฟฟ้าสมอง เช่น BIS ®, CSM ®, Narcotrend ®, Entropy ® เป็นต้น ช่วยประเมินระดับความลึกของผู้ป่วยทำให้สามารถวางยาสลบโดยที่ไม่ตื้นหรือลึกเกินไป และทำให้ประหยัดการใช้ยาดมสลบได้
วิธีการนำสลบ
การทำเทคนิค VIMA ในการนำสลบผู้ป่วยนั้นโดยทั่วไปแบ่งเป็น 2 วิธี 4 ซึ่งแต่ละวิธีมีรายละเอียดปลีกย่อยที่แตกต่างกันดังนี้
วิธีที่ 1 การใช้ยาดมสลบความเข้มข้นสูง โดยหวังผลให้ผู้ป่วยสลบอย่างรวดเร็ว วิธีนี้ต้องเตรียมก๊าซจำนวนมากที่มียาดมสลบความเข้มข้นสูงให้พร้อมใช้ จากนั้นจึงให้ผู้ป่วยหายใจเข้าไปทำให้ระดับยาในถุงลมปอดเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ข้อจำกัดของวิธีนี้คือพบการหยุดหายใจหลังนำสลบมากกว่าแบบความเข้มข้นต่ำ และวิธีนี้ต้องใช้การ priming ร่วมด้วยเพื่อให้มีก๊าซที่มียาดมสลบความเข้มข้นสูง วิธีการในลักษณะนี้แบ่งย่อยออกเป็น
1. ยาดมสลบความเข้มข้นสูงร่วมกับเพิ่มการหายใจ16, 17, 19 คือ การทำ vital capacity rapid inhalation induction (VCRII) โดยให้ผู้ป่วยสูดก๊าซที่มียาดมสลบความเข้มข้นสูง (priming) โดยก่อนสูดให้ผู้ป่วยหายใจออกจนสุดแล้วกลั้นไว้เพื่อทำให้มีอากาศค้างภายในปอดอยู่น้อยที่สุดเพื่อให้ยาดมสลบที่สูดเข้าไปไม่ถูกเจือจาง จากนั้นให้ผู้ป่วยสูดก๊าซโดยการหายใจเข้าจนสุดแรงแล้วกลั้นไว้ให้นานเท่าที่ทำได้ (vital capacity) ถ้าไม่หลับในครั้งแรกให้ผู้ป่วยสูดหายใจเข้าออกสุดซ้ำต่อไป การใช้วิธีนี้ร่วมกับยา sevoflurane 8 เปอร์เซ็นต์จะใช้เวลาประมาณ 45-90 วินาทีจึงสลบ (loss of eyelash reflex) ส่วนการใส่ท่อช่วยหายใจและการใส่ LMA จะใช้เวลา 150-240 วินาที และ 120-180 วินาที ตามลำดับ ซึ่งวิธีนี้สามารถใช้ออกซิเจนอย่างเดียวหรือร่วมกับไนตรัสออกไซด์ก็ได้
2. multiple vital capacity breath induction จะคล้ายกับวิธีแรก โดยให้ผู้ป่วยหายใจออกสุดค้างไว้แล้วให้สูดยาดมสลบความเข้มข้นสูงโดยใช้หายใจแบบ vital capacity 3 ครั้งโดยไม่ต้องกลั้น จะใช้เวลาในการสลบประมาณ 60-90 วินาที โดยวิธีนี้สามารถใช้กับเด็กได้ตั้งแต่อายุ 9 ปี 23
3. tidal volume induction ร่วมกับยาดมสลบความเข้มข้นสูง โดยการให้ผู้ป่วยหายใจเข้าออกตามปกติจนกว่าผู้ป่วยจะหลับ จะใช้เวลาประมาณ 90 วินาทีกว่าจะสลบเมื่อใช้ยา sevoflurane ร้อยละ 8
4. patient controlled inhalational induction (PCI) 24 โดยใช้ความเข้มข้นสูง และให้ผู้ป่วยควบคุมการหายใจเอง พบว่าได้ผลดีใกล้เคียงกับ vital capacity induction แต่มีข้อดีคือ ไม่ต้องฝึกผู้ป่วยก่อน
การใช้ยาสลบความเข้มข้นสูงร่วมกับการหายใจแบบต่าง ๆ สิ่งที่สำคัญคือ การยอมรับกลิ่นยาดมสลบของผู้ป่วย การให้ความร่วมมือในการหายใจตามขั้นตอน มีการศึกษาความพึงพอใจพบว่า การใช้ทุกวิธี ผู้ป่วยมีความพึงพอใจใกล้เคียงกัน สิ่งที่สำคัญอีกอย่างคือการทำให้มียาสลบความเข้มข้นสูงในวงจรวางยาสลบ (priming) โดยการเปิดยาสลบความเข้มข้นสูงร่วมกับก๊าซนานระยะเวลาหนึ่งทิ้งไว้ในวงจรวางยาสลบเพื่อแทนที่อากาศในวงจรยาสลบเช่น การใช้ sevoflurane 6-8 เปอร์เซ็นต์ ร่วมกับ flow 6-8 ลิตรต่อนาที นานตั้งแต่ 30 วินาที ถึง 5 นาที เป็นต้น ซึ่งการใช้วงจรวางยาสลบชนิดมีสารดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์จะใช้เวลานานกว่าวงจรยาสลบชนิด Mapleson
วิธีที่ 2 การใช้ยาสลบความเข้มข้นต่ำแล้วค่อย ๆ เพิ่มระดับจนผู้ป่วยสลบ อาจเพิ่มความเข้มข้นทีละน้อยทุกครั้งที่ผู้ป่วยหายใจ โดยเพิ่มยา sevoflurane 1-2 เปอร์เซ็นต์ และอาจใช้ร่วมกันระหว่างออกซิเจนกับไนตรัสออกไซด์ วิธีนี้จะสะดวกแต่ว่าจะช้ากว่าแบบความเข้มข้นสูง 5, 25
การทำเทคนิค VIMA ด้วย VCRII
1. เตรียมผู้ป่วยตามมาตรฐานการวางยาสลบโดยอาจให้ยา premedication ได้ตามความจำเป็น แต่ที่ต้องระวังคือต้องอาศัยความร่วมมือจากผู้ป่วยในการนำสลบจึงต้องให้ผู้ป่วยสามารถพูดคุยรู้เรื่อง
2. อธิบายให้ผู้ป่วยเข้าใจสิ่งที่จะทำ ดังต่อไปนี้
2.1 บอกเหตุผลที่ต้องนำสลบด้วยวิธีดังกล่าว เช่น ไม่ต้องการแทงเส้นให้น้ำเกลือก่อน จำเป็นต้องได้รับยาฤทธิ์สั้นในผู้ป่วยนอก คาดว่าใส่ท่อช่วยหายใจยาก เป็นต้น
2.2 อธิบายสิ่งที่ผู้ป่วยต้องทำในขณะนำสลบให้เข้าใจและทำได้จริง การที่ผู้ป่วยทำตามขั้นตอนแล้วไม่สลบผู้ป่วยจะกังวล ควรอธิบายว่าผู้ป่วยต้องหายใจออกเต็มที่แล้วกลั้นไว้ แล้วจะมีการครอบหน้ากากแล้วจึงสูดหายใจเข้าเต็มที่แล้วกลั้นไว้ให้นานที่สุด ถ้ากลั้นต่อไม่ได้ให้หายใจออกแล้วหายใจเข้าแบบเดิมซ้ำ และเพื่อลดการรับกลิ่นควรแนะนำให้หายใจทางปากแทน และควรให้ผู้ป่วยหายใจร่วมกับหน้ากากและซักซ้อมประมาณ 1-2 ครั้ง
2.3 อธิบายสิ่งที่จะเกิดกับผู้ป่วยทุกขั้นตอน กลิ่นฉุนในช่วงแรกเมื่อผู้ป่วยหายใจเข้าออกสักพักก็จะหลับ อธิบายการแทงเส้นให้น้ำเกลือขณะที่ผู้ป่วยหลับ อธิบายเกี่ยวกับหน้ากากว่าจะรู้สึกอึดอัดเล็กน้อยในช่วงแรก
3. ทำการ priming circuit ด้วยการใช้ยา sevoflurane 8 เปอร์เซ็นต์ ร่วมกับเปิดออกซิเจนหรือร่วมกับไนตรัสออกไซด์ รวมมากกว่า 6 ลิตรต่อนาที นาน 60-90 วินาที โดยใช้วิธีดังนี้ ซึ่งแต่ละวิธีมีความเร็วในการ priming แตกต่างกันเล็กน้อย
วิธีที่ 1 ต่อหน้ากากกับ connector ของวงจรวางยาสลบแล้วครอบซ้ำด้วยถุงมือยาง เปิด valve ที่ความดัน 10-20 มม.ปรอท หลังจากนั้นทิ้งไว้ 60-90 วินาที แล้วบีบ bag ให้แฟบแล้วปล่อยให้โป่งสลับไปมา (fill and empty) จะทำให้ภายในวงจรยาสลบมีความเข้มข้นยาสลบสูงกว่า 6 เปอร์เซ็นต์ และ bag จะโป่งพร้อมใช้ ขณะนำสลบให้ปลดถุงมือออก
วิธีที่ 2 ปิด connector ด้วยมือให้แน่น หลังจากนั้นเปิดก๊าซและยาสลบ เปิด APL valve จนสุดทิ้งไว้ 60-90 วินาที จะทำให้ภายในวงจรวางยาสลบมีความเข้มข้นยาสลบสูงกว่า 6 เปอร์เซ็นต์
วิธีที่ 3 ไม่ต้องปิด connector เปิดก๊าซและยาสลบ เปิด valve ที่ความดัน 10-20 มม.ปรอท หลังจากนั้นทิ้งไว้ 60-90 วินาที จะทำให้ภายในวงจรยาสลบมีความเข้มข้นของยาสลบสูงกว่า 6 เปอร์เซ็นต์ และ bag จะโป่งเพื่อใช้ขณะหายใจเข้า
4. การใช้ไนตรัสออกไซด์ร่วมกับยา sevoflurane นั้น อาจไม่ได้ช่วยให้นำสลบเร็วขึ้นมากนัก เนื่องจากยา sevoflurane นำสลบเร็วและอาจมีการดิ้นมากขึ้นในเด็ก 26
5. การเฝ้าระวังผู้ป่วยตามมาตรฐานการวางยาระงับความรู้สึกทั่วไปโดยควรวัดความดันโลหิตก่อนนำสลบเพื่อใช้เป็นค่าพื้นฐานในการช่วยประเมินความลึกของการสลบ
6. ทำ denitrogenation ก่อนนำสลบโดยให้ออกซิเจน 100 เปอร์เซ็นต์
7. เมื่อผู้ป่วยหลับอาจช่วยหายใจผู้ป่วย และลดปริมาณก๊าซที่ใช้ลงเพื่อประหยัดก๊าซ จนกระทั่งถึงระยะที่เหมาะสมที่จะแทงเส้นให้น้ำเกลือ และใส่อุปกรณ์ช่วยหายใจ การใส่ท่อหายใจโดย sevoflurane โดยเฉพาะในเด็ก มีการศึกษาพบว่าสามารถใช้ได้อย่างปลอดภัย 27 ซึ่งสามารถประเมินได้จาก
1. ระยะเวลา การแทงเส้นให้น้ำเกลือพบว่าการแทงที่เวลา 120 วินาที จะมีการขยับและกลั้นน้อยกว่าที่ 30 วินาที 28 กรณีที่ต้องการใส่ท่อช่วยหายใจจะใช้เวลาประมาณ 3-4 นาที ส่วนในกรณีที่ต้องการใส่ LMA หรืออุปกรณ์ที่คล้ายกันใช้เวลาประมาณ 2-3 นาที
2. ความดันโลหิต เมื่อช่วยหายใจจนกระทั่งความดันโลหิตลดลงจากค่าปกติประมาณร้อยละ 20 จะสัมพันธ์กับระดับยาในถุงลมปอดที่เหมาะสมในการใส่ท่อช่วยหายใจ
3. ค่าความเข้มข้นยาดมสลบในถุงลมปอด ซึ่งค่าที่เหมาะสมในการใส่ท่อช่วยหายใจที่มากกว่า 5-6 เปอร์เซ็นต์ส่วนการใส่ LMA มากกว่า 4-5 เปอร์เซ็นต์
8. เมื่อพร้อมในการใส่อุปกรณ์ช่วยหายใจอาจเปิดออกซิเจน 100 เปอร์เซ็นต์ก่อน โดยอาจให้ lidocaine 2 มก./กก.นำไปก่อนจะทำให้การลดตอบสนองจากการใส่ท่อ 29
9. ถ้าพยายามใส่แล้วมีปัญหาผู้ป่วยยังไม่นิ่งให้กลับไปช่วยหายใจต่อ การช่วยหายใจที่มีประสิทธิภาพจะช่วยให้ยาสลบเข้าสู่ร่างกายได้ดี
10. หลังจากใส่อุปกรณ์ช่วยหายใจ ผู้ป่วยจะใช้เวลาสักพักจึงจะกลับมาหายใจเอง ซึ่งช่วงนี้จำเป็นต้องช่วยหายใจ และระวังระดับคาร์บอนไดออกไซด์ที่ต่ำเกินไปจะไม่กระตุ้นให้ผู้ป่วยหายใจ
11. รักษาระดับการสลบโดยใช้ยาดมสลบประมาณ 1-2 MAC ร่วมกับการใช้ออกซิเจน/ไนตรัสออกไซด์ ขึ้นกับระดับความเจ็บปวด โดยอาจเสริมฤทธิ์ระงับปวดด้วยยา opioid หรือ NSAIDS
12. ขณะผ่าตัดอาจจำเป็นต้องปรับระดับยาสลบตามการผ่าตัดที่เปลี่ยนแปลงระดับความปวด โดยประเมินความลึกการสลบได้จากการขยับแขนขา ขนาดรูม่านตา (เมื่อไม่ได้รับยาที่มีผล) ความดันโลหิต อัตราการเต้นหัวใจ ระดับยาสลบในถุงลมปอด การตรวจคลื่นไฟฟ้าสมอง ซึ่งสามารถช่วยให้ไม่ใช้ยาสลบมากเกินความจำเป็น
13. สามารถพิจารณาใช้ high flow (มากกว่า 2 ลิตร/นาที), low flow (น้อยกว่า 1 ลิตร/นาที), minimal flow (น้อยกว่า 0.5 ลิตร/นาที) หรือ close system ในการรักษาระดับการสลบ อย่างไรก็ตามควรคำนึงถึง MAC hour ด้วย อาจต้องเพิ่มก๊าซบางช่วงเพื่อไล่ compound A และควรคำนึงถึงระดับคาร์บอนมอนอกไซด์ 30
14. เมื่อเสร็จสิ้นการผ่าตัดพิจารณาหยุดยาสลบ การทำให้ยาสลบหมดฤทธิ์คือการที่มี ventilation ที่ดีเพื่อขับยาดมสลบออกทางลมหายใจ เมื่อเสร็จผ่าตัด ความเจ็บปวดจะลดลงทำให้ผู้ป่วยหายใจลดลง การขับออกของยาดมสลบลดลง ดังนั้นช่วงที่ผู้ป่วยหายใจลดลงควรมีการช่วยหายใจให้เพียงพอโดยอาจเพิ่ม FGF ระยะเวลาที่ใช้และความอ้วนมีผลน้อยต่อการตื่นจากยาที่มี context sensitive half time สั้นอย่าง sevoflurane และระวังฤทธิ์ในการระงับปวดของยาดมสลบก็หมดลงด้วย ดังนั้นพิจารณาให้ยาระงับปวดในช่วงใกล้เสร็จผ่าตัด
ปัญหาที่อาจเกิดขึ้นในช่วงนำสลบและระหว่างผ่าตัด
1. ระบบทางเดินหายใจ
1.1 การกลั้นหายใจ อาจเกิดจากผู้ป่วยไม่ร่วมมือ ยอมรับกลิ่นไม่ได้
1.2 อาการไอ แบ่งเป็น 2 ช่วง คือในช่วงนำสลบซึ่งพบได้น้อย สำหรับอาการไอขณะใส่อุปกรณ์ช่วยหายใจเกิดจากการประเมินระดับความลึกผิดพลาด
1.3 Laryngospasm มักเกิดจากการกระตุ้นผู้ป่วยขณะที่ยังสลบไม่ลึกพอ
1.4 ภาวะสำลักเศษอาหาร พบในรายที่มีความเสี่ยงหรือในรายที่ช่วยหายใจไม่ดีทำให้ลมเข้ากระเพาะ
1.5 ทางเดินหายใจอุดกั้น แก้ไขเปิดทางเดินหายใจ และระวังว่าผู้ป่วยอาจได้ยาดมสลบไม่เพียงพอ
1.6 ภาวะคาร์บอนไดออกไซด์คั่งในขณะผ่าตัด ถ้าให้ผู้ป่วยหายใจเองจะมีคาร์บอนไดออกไซด์คั่งเล็กน้อยเพราะระดับคาร์บอนไดออกไซด์ที่กระตุ้นให้ผู้ป่วยหายใจจะสูงขึ้น แต่อาจเกิดจากหายใจไม่เพียงพอได้เช่นกัน
2. ระบบไหลเวียนโลหิต
1.1 ความดันโลหิตต่ำ สามารถเกิดได้ตั้งแต่ในช่วงนำสลบ โดยเฉพาะผู้ป่วยที่มีภาวะพร่องน้ำ
1.2 ความดันโลหิตสูง จะเกิดขณะใส่ท่อช่วยหายใจ หรือขณะผ่าตัดที่ระดับความลึกไม่เพียงพอ หรืออาจเกิดร่วมกับคาร์บอนไดออกไซด์คั่งหรือภาวะขาดออกซิเจน
1.3 หัวใจเต้นผิดปกติ การใช้ sevoflurane อาจพบหัวใจเต้นช้าได้บ้าง 31
3. ระบบประสาทและกล้ามเนื้อ
3.1 ผู้ป่วยตื่นช้าภายหลังการวางยาระงับความรู้สึก เป็นสิ่งที่ทุกคนกังวลใช้เทคนิคนี้เนื่องจากใช้ยาดมสลบมาก แต่การศึกษาพบว่าเมื่อใช้อย่างเหมาะสมเป็นทางเลือกที่ดีในการวางยาสลบผู้ป่วยนอก แต่ต้องประเมินความลึกให้เหมาะสมและไม่ควรใช้ยาดมสลบเป็น antihypertensive drug โดยอาจวัด BIS, การวัดความเข้มข้นของยาสลบในถุงลมปอดมาช่วยประเมิน
3.2 ภาวะรู้สึกตัวขณะผ่าตัด โอกาสพบน้อยเนื่องจากไม่ได้ให้ยาหย่อนกล้ามเนื้อทำให้สามารถประเมินความลึกของผู้ป่วยได้แม่นยำขึ้น
3.3 อาจมีผลต่อคลื่นสมอง พบว่าทำให้เกิดคลื่นสมองคล้ายชักในเด็ก แต่ไม่มีผลเพิ่มการชักจากการใช้ยา sevoflurane นำสลบ 32
การดูแลในช่วงหลังผ่าตัด
การดูแลเหมือนการดูแลผู้ป่วยที่วางยาระงับความรู้สึกทั่วไป เมื่อนำผู้ป่วยมาห้องพักฟื้นจะต้องทำการประเมินสภาพผู้ป่วยโดยตรวจวัด pulse oximetry อัตราการเต้นของหัวใจ อัตราการหายใจ ความดันโลหิต หรืออาจตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจตามความจำเป็น จะต้องดูแลผู้ป่วยต่อโดยต้องตรวจ vital signs ซ้ำทุก 5 นาที เป็นเวลา 15 นาที หรือจนกว่าจะปกติและคงที่ จากนั้นตรวจซ้ำทุก 15 นาที ผู้ป่วยทุกรายต้องให้ออกซิเจนเมื่ออยู่ในห้องพักฟื้นเพื่อป้องกันภาวะขาดออกซิเจน การประเมินผู้ป่วยในห้องพักฟื้นโดยการให้คะแนน (postanesthetic recovery score, PARS) จะทำให้สามารถดูแลผู้ป่วยได้เป็นระบบและสะดวกขึ้น สิ่งที่ต้องคำนึงเป็นพิเศษคือ ในเรื่องของทางเดินหายใจที่อาจเกิดจากยาดมสลบยังไม่หมดฤทธิ์
ปัญหาที่พบได้ในช่วงหลังผ่าตัด
1. คลื่นไส้ อาเจียน ซึ่งเป็นปัญหาที่พบเมื่อใช้ยาดมสลบ เป็นปัญหาที่ทำให้ผู้ป่วยนอกจำเป็นต้องนอนโรงพยาบาล การป้องกันและรักษาสามารถทำได้โดยงดหรือเลี่ยงการใช้ยาระงับปวดกลุ่ม opioid โดยเฉพาะในรายที่เป็นผู้ป่วยนอก การใช้ไนตรัสออกไซด์เพิ่มอุบัติการณ์คลื่นไส้ อาเจียน พิจารณาให้ยา เช่น droperidol, metoclopramide, dramamine, ondansetron เป็นต้น ป้องกันโดยการไม่งดน้ำงดอาหารผู้ป่วยนานเกินไป เมื่อผู้ป่วยฟื้นไม่ควรรีบให้ดื่มน้ำ ในรายที่เสี่ยงสูง เช่น มีประวัติคลื่นไส้อาเจียนหลังผ่าตัดมาก่อน ผ่าตัดกล้ามเนื้อตา ผ่าตัดบริเวณหู เป็นต้น อาจให้ยาป้องกันคลื่นไส้อาเจียน
2. การเกิด post operative agitation เป็นการเอะอะโวยวาย ดิ้น พบมากในเด็กเล็กโดยเฉพาะที่ใช้ยาดมสลบที่ตื่นเร็ว สาเหตุอาจสัมพันธ์กับการที่ยาดมสลบทำให้ผู้ป่วยตื่นเร็ว อาจพบตั้งแต่ร้อยละ 10-60 33 การป้องกันและรักษาโดยการไม่กระตุ้นผู้ป่วย การทำ caudal block สามารถลดการเกิดในเด็กลงได้จากร้อยละ 59 เป็นร้อยละ 4 34 ยา dexmedetomidine 0.3 มคก./กก. สามารถลดได้จากร้อยละ 37 เป็นร้อยละ 10 35 ยา ketamine 0.25 มคก./กก.36 ก็ให้ผลลดเช่นกัน ส่วนยากลุ่ม benzodiazepine, opioid ไม่สามารถช่วยลดอุบัติการณ์ได้อย่างชัดเจน 37, 38 โดยที่ปัจจัยที่เกี่ยวข้องคือ อายุ ความสามารถในการปรับตัวของเด็ก การผ่าตัดตา การใช้ยาดมสลบ (sevoflurane, isoflurane, desflurane) การใช้ยาระงับปวด 39
3. อาการปวด พบได้ในทุกเทคนิคในการวางยาระงับความรู้สึก แต่การใช้เทคนิคนี้ต้องคำนึงถึงเนื่องจากเมื่อยาสลบหมดฤทธิ์ผู้ป่วยก็จะเริ่มปวด ดังนั้นจึงควรให้ยาระงับปวดในช่วงท้ายการผ่าตัด หรือเมื่อเสร็จการผ่าตัดทันที ซึ่งไม่พบว่าทำให้ผู้ป่วยตื่นช้าแต่อย่างใด
สรุป
การวางยาสลบด้วยเทคนิค VIMA เป็นวิธีหนึ่งที่สามารถใช้ได้อย่างปลอดภัย แต่อย่างไรก็ตามต้องเลือกใช้ในผู้ป่วยที่เหมาะสม และมีความเข้าใจในการใช้ยาดมสลบอย่างเหมาะสม
1. Watson KR, Shah MV. Clinical comparison of 'single agent' anaesthesia with sevoflurane versus target controlled infusion of propofol. Br J Anaesth 2000;85:541-6.
2. Aguilera IM, Patel D, Meakin GH, Masterson J. Perioperative anxiety and postoperative behavioral disturbances in children undergoing intravenous or inhalation induction of anaesthesia. Paediatr Anaesth 2003;13:501-7.
3. Van den Berg AA, Chitty DA, Jones RD, Sohel MS, Shahen A. Intravenous or inhaled induction of anesthesia in adults? An audit of preoperative patient preferences. Anesth Analg 2005;100:1422-4.
4. Eger EI 2nd. Characteristics of anesthetic agents used for induction and maintenance of general anesthesia. Am J Health Syst Pharm 2004;61 Suppl 4:S3-10.
5. Eger EI 2nd, Eisenkraft JB, Weiskopf RB. Clinical applications of inhaled anesthetics. In Eger EI 2nd, Eisenkraft JB, Weiskopf RB, eds. The pharmacology of inhaled anesthetics. 3rd eds. California: Baxtor Health Corporation, 2003:227-59.
6. Eger EI 2nd. Uptake and distribution. In: Miller RD, ed. Millers Anesthesia. 6th ed. Tokyo: Churchill Livingstone, 2005:131-55.
7. Sonner JM, Antognini JF, Dutton RC, Flood P, Gray AT, Harris RA, et al. Inhaled anesthetics and immobility: mechanisms, mysteries, and minimum alveolar anesthetic concentration. Anesth Analg 2003; 97:718-40.
8. Kodaka M, Johansen JW, Sebel PS. The influence of gender on loss of consciousness with sevoflurane or propofol. Anesth Analg 2005; 101:377-81.
9. Tercan E, Kotanoglu MS, Yildiz K, Dogru K, Boyaci A. Comparison of recovery properties of desflurane and sevoflurane according to gender differences. Acta Anaesthesiol Scand 2005; 49:243-7.
10. Eger EI 2nd, Shafer SL. Tutorial: context-sensitive decrement times for inhaled anesthetics. Anesth Analg 2005; 101:688-96.
11. Ghatge S, Lee J, Smith I. Sevoflurane: an ideal agent for adult day-case anesthesia? Acta Anaesthesiol Scand 2003; 47:917-31.
12. Eger EI 2nd. Age, minimum alveolar anesthetic concentration, and minimum alveolar anesthetic concentration-awake. Anesth Analg 2001; 93:947-53.
13. Eger EI 2nd, Eisenkraft JB, Weiskopf RB. MAC. In Eger EI 2nd, Eisenkraft JB, Weiskopf RB, eds. The pharmacology of inhaled anesthetics. 3rd eds. California: Baxtor Health Corporation, 2003:21-32.
14. Joshi GP. Inhalational techniques in ambulatory anesthesia. Anesthesiol Clin North America 2003; 21:263-72.
15. Myles PS, Leslie K, Silbert B, Paech MJ, Peyton P. A review of the risks and benefits of nitrous oxide in current anaesthetic practice. Anaesth Intensive Care 2004; 32:165-72.
16. Yurino M, Kimura H. A comparison of vital capacity breath and tidal breathing techniques for induction of anaesthesia with high sevoflurane concentrations in nitrous oxide and oxygen. Anaesthesia 1995; 50:308-11.
17. Yurino M, Kimura H. Efficient inspired concentration of sevoflurane for vital capacity rapid inhalation induction technique. J Clin Anesth 1995; 7:228-31.
18. Muzi M, Robinson BJ. Induction of anesthesia and tracheal intubation with sevoflurane in adults. Anesthesiology 1996; 85:536-43.
19. Agnor RC, Sikich N, Lerman J. Single breathing vital capacity rapid inhalation induction in children: 8% sevoflurane versus 5% halothane. Anesthesiology 1998; 89:379-84.
20. Baker CE, Smith I. Sevoflurane: a comparison between vital capacity and tidal breathing techniques for the induction of anaesthesia and laryngeal mask airway placement. Anaesthesia 1999; 54:841-4.
21. Knaggs CL, Drummond GB. Randomized comparison of three methods of induction of anaesthesia with sevoflurane. Br J Anaesth 2005; 95:178-82.
22. Fukumoto M, Arima H, Ito S, Takeuchi N, Nakano H. Distorted perception of smell by volatile agents facilitated inhalational induction of anesthesia. Paediatr Anaesth 2005; 15:98-101.
23. Fernandez M, Lejus C, Rivault O et al. Single-breath vital capacity rapid inhalation induction with sevoflurane: feasibility in children. Paediatr Anaesth 2005; 15:307-13.
24. Yogendran S, Prabhu A, Hendy A, et al. Vital capacity and patient controlled sevoflurane inhalation result in similar induction characteristics. Can J Anaesth 2005; 52:45-9.
25. Martin-Larrauri R, Gilsanz F, Rodrigo J, Vila P, Ledesma M, Casimiro C. Conventional stepwise vs. vital capacity rapid inhalation induction at two concentrations of sevoflurane. Eur J Anaesthesiol 2004; 21:265-71.
26. Goldman LJ. Anesthetic uptake of sevoflurane and nitrous oxide during an inhaled induction in children. Anesth Analg 2003; 96:400-6.
27. Wappler F, Frings DP, Scholz J, Mann V, Koch C, Schulte am Esch J. Inhalational induction of anaesthesia with 8% sevoflurane in children: conditions for endotracheal intubation and side-effects. Eur J Anaesthesiol 2003; 20:548-54.
28. Schwartz D, Connelly NR, Gutta S, Freeman K, Gibson C. Early intravenous cannulation in children during sevoflurane induction. Paediatr Anaesth 2004; 14:820-4.
29. Aouad MT, Sayyid SS, Zalaket MI, Baraka AS. Intravenous lidocaine as adjuvant to sevoflurane anesthesia for endotracheal intubation in children. Anesth Analg 2003; 96:1325-7.
30. Coppens MJ, Versichelen LF, Rolly G, Mortier EP, Struys. The mechanisms of carbon monoxide production by inhalational agents. Anaesthesia 2006; 61:462-8.
31. Roodman S, Bothwell M, Tobias JD. Bradycardia with sevoflurane induction in patients with trisomy 21. Paediatr Anaesth 2003; 13:538-40.
32. Constant I, Seeman R, Murat I. Sevoflurane and epileptiform EEG changes. Paediatr Anaesth 2005; 15:266-74.
33. Lerman J. Inhalational anesthetics. Paediatr Anaesth 2004; 14:380-3.
34. Aouad MT, Kanazi GE, Siddik-Sayyid SM, Gerges FJ, Rizk LB, Baraka AS. Preoperative caudal block prevents emergence agitation in children following sevoflurane anesthesia. Acta Anaesthesiol Scand 2005; 49:300-4.
35. Ibacache ME, Munoz HR, Brandes V, Morales AL. Single-dose dexmedetomidine reduces agitation after sevoflurane anesthesia in children. Anesth Analg 2004; 98:60-3.
36. Abu-Shahwan I, Chowdary K. Ketamine is effective in decreasing the incidence of emergence agitation in children undergoing dental repair under sevoflurane general anesthesia. Paediatr Anaesth 2007; 17:846-50.
37. Malmgren W, Akeson J. Similar excitation after sevoflurane anaesthesia in young children given rectal morphine or midazolam as premedication. Acta Anaesthesiol Scand 2004; 48:1277-82.
38. Demirbilek S, Togal T, Cicek M, Aslan U, Sizanli E, Ersoy MO. Effects of fentanyl on the incidence of emergence agitation in children receiving desflurane or sevoflurane anaesthesia. Eur J Anaesthesiol 2004; 21:538-42.
39. Voepel-Lewis T, Malviya S, Tait AR. A prospective cohort study of emergence agitation in the pediatric postanesthesia care unit. Anesth Analg 2003; 96:1625-30.