Untitled Document
 
 
 
 
Untitled Document
Home
Current issue
Past issues
Topic collections
Search
e-journal Editor page

The Efficacy of Axillary Block for Urgency Upper Extremity Orthopedic Procedures in Pediatric Patients in Udonthani Hospital

ประสิทธิภาพของการระงับความรู้สึกด้วยวิธี axillary block ในผู้ป่วยเด็กแผนกศัลยกรรมกระดูกและข้อที่มารับการรักษาแบบกึ่งฉุกเฉินในห้องผ่าตัดโรงพยาบาลอุดรธานี

Hathairawee Hawharn (หทัยระวี ห้าวหาญ) 1




หลักการและเหตุผล: การวางยาสลบผู้ป่วยเด็กแผนกศัลยกรรมกระดูกและข้อที่มารับการรักษาแบบกึ่งฉุกเฉินเพิ่มภาวะเสี่ยงต่อการสูดสำลักสารจากกระเพาะเข้าปอด การใช้เทคนิค axillary block ซึ่งเป็นเทคนิคที่นิยมในเด็ก มีภาวะแทรกซ้อนจากการทำ peripheral nerve block น้อยมาก ช่วยลดปริมาณยาที่ใช้ระหว่างผ่าตัด  และลดภาวะแทรกซ้อนจากการให้ general anesthesia 

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของการระงับความรู้สึกด้วยวิธี axillary block ในผู้ป่วยเด็กที่มารับการผ่าตัดหรือหัตถการทางศัลยกรรมกระดูกและข้อแบบกึ่งฉุกเฉิน  บริเวณแขนตั้งแต่ระดับข้อศอกลงมา

รูปแบบการศึกษา:  การศึกษาเชิงบรรยาย

สถานที่ศึกษา: โรงพยาบาลศูนย์อุดรธานี จ.อุดรธานี

วิธีการศึกษา:  ผู้ป่วยเด็กที่ได้รับบาดเจ็บในตั้งแต่ระดับศอกลงมาถึงมือมารับการทำหัตถการหรือผ่าตัดแบบกึ่งฉุกเฉิน (urgency) ในห้องผ่าตัดโรงพยาบาลอุดรธานี  ตั้งแต่ เดือนกรกฎาคมถึงธันวาคม พ.ศ.2550  จำนวนผู้ป่วย 112 คน ผู้ป่วยทั้งหมดได้รับการทำ  axillary block ด้วยเทคนิค perivascular/transarterial

การวิเคราะห์ข้อมูล:  ใช้สถิติเชิงพรรณนา

ผลการวิจัย:  พบว่าผู้ป่วยสามารถทนต่อการทำหัตถการหรือการผ่าตัดได้ดีร้อยละ 90.1 ผู้ป่วยกลุ่มนี้ ร้อยละ 42.8 ได้รับยา premedication  เพื่อให้มีความร่วมมือ มีผู้ป่วยที่ต้องเปลี่ยนเป็น general anesthesia ร้อยละ 0.9 และต้องให้ยาระงับปวดกลุ่มไอพิออยด์เสริมระหว่างผ่าตัดคิดเป็นร้อยละ 8.9  ในห้องพักฟื้นมีป่วยที่อาการปวดและต้องให้การรักษาร้อยละ 1.8  โดยสรุปพบภาวะแทรกซ้อนร้อยละ 2.7 ได้แก่มีคลื่นไส้อาเจียนร้อยละ 1.8 และอาการหนาวสั่นร้อยละ 0.9 ทั้งหมดตอบสนองดีต่อการรักษา ไม่พบอันตรายต่อเส้นประสาท และภาวะพิษจากยาชา

สรุป: การใช้เทคนิค axillary block ในผู้ป่วยเด็กที่มารับการผ่าตัดแบบกึ่งฉุกเฉินบริเวณแขนตั้งแต่ระดับข้อศอกลงมานั้นมีประสิทธิภาพดี สำหรับเด็กเล็กอาจใช้ร่วมกับยา premedication สามารถลดปริมาณยาที่ใช้ระหว่างผ่าตัด  รวมถึงให้ผลระงับปวดในช่วงหลังผ่าตัด และลดภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงจากการใช้เทคนิค general anesthesia 

 

Background: General anesthesia for emergency/urgency upper extremity orthopedic procedures  in pediatric patient may risks of  increase pulmonary aspiration and airway complications. Axillary block is simple  to perform and with minimal complications, which may be used as a sole technique or combined with sedation for these patients and has benefit in postoperative pain control and minimized complication of general anesthesia.

Objective: To study the efficacy and complications of axillary block anesthesia in  emergency upper extremity orthopedic procedures  in pediatric patients.

Design:  A prospective descriptive study

Setting: Udonthani Hospital, Udonthani, Thailand.

Methods : A total of 112 pediatric patients  who underwent  emergency/urgency surgical procedures to the distal humerus, elbow , forearm and hand between July-December 2007.  A total of 112 of pediatric patients aged between 1 to 14 year-old had axillary block  (perivascular/transarterial technique).

Analysis:  Descriptive analysis.

Results: Ninety percent had adequate anesthesia and 42.8% need premedication for coorperation .Only 0.9% had been  changed anesthetic technique to general anesthesia due to fail block. About 8.9 % had inadequate anesthesia and need narcotic supplement during operation. In  PACU 1.8% of patients need narcotic for pain treatment. Over all 2.7% of patients have complication; nausea/vomiting 1.8% and shivering 0.9% and all of them response to treatment. No any local anesthetic toxicity or neurologic damage was found.

Conclusion: The axillary block may be successfully used for urgency surgical procedures in upper extremity from distal humerus in pediatric patients. This technique is sufficiency for post-operative pain control in PACU and can avoid complications from general anesthesia.

Keywords :  efficacy, axillary block, pediatric patients, upper extremity.

 

บทนำ

       เนื่องจากการให้การระงับความรู้สึกเพื่อทำผ่าตัดหรือทำหัตถการทางศัลยกรรมกระดูกและข้อแบบกึ่งฉุกเฉิน ในปี พ.ศ.2550 โรงพยาบาลอุดรธานีมีจำนวน 3,067 ราย และประมาณร้อยละ 15 เป็นผู้ป่วยเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี ซึ่งผู้ป่วยกลุ่มนี้มักจะไม่ให้ความร่วมมือ เนื่องจากมีปัญหาความหวาดกลัวคนแปลกหน้า ความปวดจากการบาดเจ็บและจากการผ่าตัด  ดังนั้นส่วนใหญ่ (ร้อยละ95)  จึงเลือกใช้เทคนิคการระงับความรู้สึกแบบทั่วไป (general anesthesia) ซึ่งอาจเกิดปัญหาสำคัญคือภาวะเสี่ยงต่อการสูดสำลักสารจากกระเพาะเข้าปอด (pulmonary aspiration)1ในผู้ป่วยฉุกเฉินมักมีภาวะ full stomach เนื่องจากมี delay gastric emptying time   ซึ่งการใส่ท่อช่วยหายใจในผู้ป่วยเด็กอาจจะเกิด postintubation croup ได้โดยเฉพาะเด็กอายุ 1-4 ปี 2 โรงพยาบาลอุดรธานีปี 2550  พบอุบัติการณ์ของภาวะแทรกซ้อนของทางเดินหายใจ ในผู้ป่วยที่มารับบริการวิสัญญี 82 ราย(ร้อยละ0.4 ของผู้ป่วยทั้งหมด) มี pulmonary aspiration 4 ราย(ร้อยละ0.03)

         ในกลุ่มผู้ป่วยเด็กที่ได้รับบาดเจ็บในบริเวณ upper extremity ตั้งแต่ระดับศอกลงมาถึงมือ สามารถใช้เทคนิค peripheral nerve block ได้ โดยใช้ร่วมกับการ  sedation หรือ general anesthesiaในการผ่าตัดหรือทำหัตถการ โดยมีรายงานการทำ brachial plexus block ด้วยเทคนิค supraclavicular เพื่อ closed reduction ในเด็กที่มีกระดูกแขนหักอายุตั้งแต่ 5-12 ปี เด็กและผู้ปกครองยอมรับเป็นอย่างดี และพบภาวะแทรกซ้อนน้อยมาก3 จะช่วยลดปริมาณยาที่ใช้ระหว่างผ่าตัด ผู้ป่วยตื่นได้เร็วและสดชื่น รวมถึงมีผลระงับปวดในช่วงหลังผ่าตัดได้นาน6-8 ชม   ลดภาวะแทรกซ้อนจากการให้ยา narcotic เช่น คลื่นไส้อาเจียน และภาวะ oversedation4,5  หัตถการนี้มีผลต่อระบบไหลเวียนน้อย  และการใช้ regional anesthesia เพียงอย่างเดียวสามารถลดภาวะเสี่ยงต่อกระต้นทางเดินหายใจ การสูดสำลักสารจากกระเพาะเข้าปอด (pulmonary aspiration)  ที่เกิดจากให้ยา sedation ขนาดสูงและจากเทคนิค general anesthesia           

การทำ peripheral nerve block สำหรับ upper extremity มีหลายเทคนิค  axillary block  (perivascular/transarterial technique) เป็นเทคนิคที่นิยมในเด็กมากกว่า supraclavicular หรือ interscalene block ซึ่งอาจเกิดผลข้างเคียงเช่น pneumothorax และ central blockได้มากกว่า การศึกษาครั้งนี้เพื่อประเมินประสิทธิภาพรวมถึงภาวะแทรกซ้อนของการระงับความรู้สึกด้วยวิธี Axillary block ในผู้ป่วยเด็กที่มารับการผ่าตัดหรือหัตถการแบบกึ่งฉุกเฉิน  บริเวณแขนตั้งแต่ระดับข้อศอกลงมา เพียงอย่างเดียวหรือร่วมกับการให้ยา sedative/narcotic

 

วิธีการศึกษา

โครงการศึกษาได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการวิจัยในมนุษย์ โรงพยาบาลอุดรธานี ผู้ปกครองของผู้ป่วยยินดีเข้าร่วมโครงการ เกณฑ์การคัดเลือกผู้ป่วย คือผู้ป่วยอายุ 1-14 ปีที่ได้รับบาดเจ็บในบริเวณ upper extremity ตั้งแต่ระดับศอกลงมาถึงมือ( distal end of  humerus, elbow, forearm ,hand ) ทำหัตถการหรือผ่าตัดแบบกึ่งฉุกเฉิน ในห้องผ่าตัดโรงพยาบาลอุดรธานีในช่วงเวลา 1 กรกฎาคมถึง 31 ธันวาคม พศ.2550  จำนวน  112 ราย โดยไม่มีข้อห้ามในการทำ axillary block และไม่มี nerve injury ในแขนที่ได้รับบาดเจ็บร่วมด้วย

 

วิธีการ

          ผู้ป่วยทุกรายได้รับการทำ axillary block  perivascular หรือ transarterial technique โดยวิสัญญีแพทย์คนเดียวกัน แบ่งผู้ป่วยเป็น 3 กลุ่มตามพยาธิสภาพและความร่วมมือคือ กลุ่มที่1 ผู้ป่วยเด็กที่ให้ความร่วมมือดีและจัดท่าblock ได้( กางแขน abduction ออกทำมุม 90 องศาที่รักแร้และข้อศอก) ทำการblock โดยไม่ให้ยา sedative/analgesic กลุ่มที่ 2 ผู้ป่วยที่ให้ความร่วมมือดีแต่เจ็บเมื่อจัดท่า block จะได้รับยา narcotic ฉีดเข้าหลอดเลือดดำครั้งเดียว (fentanyl 1 มคก/กก. หรือ morphine 0.5 มก/กก.)  กลุ่มที่ 3  ผู้ป่วยเด็กเล็กที่ไม่ให้ความร่วมมือจะได้รับ ketamine 1-2 มก/กก. ฉีดเข้าหลอดเลือดดำเพื่อให้นิ่งไม่ขยับทนต่อการทำ axillary block ได้

          หลังจากนั้นทำ axillary block ในห้องเตรียมผ่าตัด(induction room) ตรวจวัด EKG, NIBP ,SpO2 และได้เตรียมอุปกรณ์ resuscitation ไว้พร้อม เริ่มหัตถการ 10-20 นาทีก่อนเริ่มทำหัตถการหรือผ่าตัดตามขั้นตอนดังนี้

  1. กางแขน abduction ออกทำมุม 90 องศาที่รักแร้และข้อศอก
  2. ใช้เทคนิคปลอดเชื้อ ทาด้วยน้ำยา providine บริเวณที่จะ block
  3. คลำหาตำแหน่งหลอดเลือดแดง axillary arteryใช้นิ้วชี้และนิ้วกลางตรึงหลอดเลือดแดง axillary ให้อยู่กับที่แล้วใช้ เข็มเบอร์ 26Gแทงผ่านหลอดเลือดแดง axillary ไปด้านหลังแล้วฉีดยาชาหลังจากดูดไม่ได้เลือด หรือใช้เข็มแทงผ่าน axillary sheath แล้วฉีดยาชาแต่ละข้างของหลอดเลือดแดง axillary
  4. หลังถอนเข็ม ต้องกดอย่างน้อย 5 นาทีเพื่อป้องกันการเกิด hematoma6

          ยาชาที่ใช้คือส่วนผสมระหว่าง 2% lidocaine และ 0.125% bupivacaine with adrenaline 1:400,000 – 1:800,000 โดยคำนวนปริมาณยาชาตามน้ำหนักเพื่อไม่ให้เกินขนาดสูงสุดที่ควรใช้ในเด็ก คือ lidocaine ไม่ผสม adrenaline ใช้ขนาดไม่เกิน 5 มก/กก. ถ้าผสม adrenaline ใช้ขนาดไม่เกิน 7 มก/กก. และ bupivacaine ไม่เกิน 2-3 มก/กก.1,7,8   เมื่อเริ่มทำหัตถการ/ผ่าตัดมีการบันทึกปริมาณยาระงับปวดที่ต้องให้เพิ่มระหว่างผ่าตัดในกรณีที่มี  inadequate block ในกรณีที่ failed block ต้องเปลี่ยนเทคนิคเป็น general anesthesia.  ผู้ป่วยเด็กโตที่ได้รับยา sedative และ/หรือ narcotic จะได้รับ oxygen ทาง mask 5 ลิตรต่อนาที สำหรับเด็กเล็กให้ออกซิเจน 3-4  ลิตรต่อนาทีผ่านวงจร Jackson Ree เพื่อให้ง่ายต่อการสังเกตการหายใจ ตั้งแต่เริ่มได้ยา และในระหว่างผ่าตัดต่อเนื่องจนถึงห้องพักฟื้น

          หลังสิ้นสุดการผ่าตัดสังเกตการณ์ต่อในห้องพักฟื้นและบันทึกปริมาณยาระงับปวดที่ได้รับรวมถึงภาวะแทรกซ้อนและการรักษา ส่งผู้ป่วยกลับเมื่อ1) ระดับคะแนนในการส่งส่งผู้ป่วยกลับตึก (modified Aldrete  postanesthesia recovery scoring  system score)มากกว่าหรือเท่ากับ 9  2) ระดับคะแนนความรู้สึกตัว(sedation score) 0-1 และ3) ไม่ต้องให้ oxygen อย่างน้อย 15 นาทีก่อนส่งกลับหอผู้ป่วย และติดตามการรักษาหลังผ่าตัด 24 ชม. ใช้สถิติเชิงพรรณนาโดยใช้โปรแกรม  SPSS ข้อมูลเชิงคุณภาพแสดงในรูปร้อยละ ข้อมูลในเชิงปริมาณแสดงในรูป mean+ SD  

 

ผลการศึกษา

          ผู้ป่วยทั้งหมด 112 คน ส่วนใหญ่จัดอยู่ใน ASA 1 E เป็นผู้ชายมากกว่าผู้หญิงและส่วนใหญ่อยู่ในช่วงอายุ 10-14 ปี (ร้อยละ 51.8) ตำแหน่งบาดเจ็บส่วนใหญ่เกิดบริเวณแขน (ร้อยละ 40.2)

 

ตารางที่ 1 characteristic (N=112)

                            ตัวแปร

จำนวน(ร้อยละ)

อายุ

1-4   ปี

5-9  ปี

10-14  ปี

 

20(17.8)

34(30.4)

58(51.8)

เพศ                          

         ชาย

         หญิง

 

62(55.4)

50(44.6)

ASA

            1E

            2E

 

106(94.6)

6(5.4)

ตำแหน่งที่บาดเจ็บ

            Forearm

            Distal humerus, elbow

            Hand, wrist

 

45(40.2)

37(33.0)

30(26.8)

ชนิดของหัตถการ .

             Closed reduction

             K-wire, ORIF 

             Debridement, repair tendon, suture

 

39(34.8)

39(34.8)

34(30.4)

         K-wire = close reduction with percutaneous K-wire fixation, ORIF = Open reduction with internal fixation

 

          จากการศึกษาพบว่าผู้ป่วยจำนวน 101 ราย(ร้อยละ 90.1)   ทำหัตถการได้โดยโดยราบรื่นไม่ต้องให้  narcotics เพิ่มระหว่างผ่าตัด หรือต้องเปลี่ยนเป็นเทคนิควางยาสลบ ในผู้ป่วยกลุ่มนี้จำนวน 48 ราย (ร้อยละ 42.8) ได้รับยา premedication โดย 40 ราย(ร้อยละ 35.7) ได้รับ ketamine โดยทั้งหมดเป็นผู้ป่วยเด็กที่อายุน้อยกว่า 10 ขวบและไม่ให้ความร่วมมือ ส่วนอีก 8 ราย(ร้อยละ 7.2) ได้รับ fentanyl หรือ morphine เป็นpremedication เป็นกลุ่มที่ให้ความร่วมมือแต่เจ็บเมื่อจัดท่า block  ผู้ป่วย 11 รายเจ็บหรือขยับไม่ร่วมมือระหว่างผ่าตัด และมี 1 รายที่ต้องเปลี่ยนเทคนิคเป็น general anesthesia ส่วนอีก 10 รายให้ยา narcotic เสริมแล้วผ่าตัดต่อได้ (ตารางที่ 2 และ 3)

 

ตารางที่ 2 แสดงจำนวนผู้ป่วยในแต่ละเทคนิคที่ใช้ระงับความรู้สึกและ supplement medication (mean+SD)

 

Anesthetic technique

 

 

จำนวน

(ร้อยละ)

Medication

ketamine

(mg)

Fentanyl

(mcg)

morphine

(mg)

pethidine

(mg)

Axillary block only

 

53(47.3)

0

0

0

0

Adequate axillary block with premedication

48(42.8)

20.50 + 6.96

 

28+ 7.58

 

4.33+1.15

0

Inadequate axillary block

 +IV narcotic supplement

10(8.9)

0

42.50+8.80

5.25+0.95

0

 GA due to failed block

1(0.9)

0

25

0

5

 

ตารางที่ 3 จำนวนผู้ป่วยทั้งหมด112 รายที่ได้รับยาแต่ละชนิดในแต่ละช่วงผ่าตัด

Drug

Induction room

ราย(ร้อยละ)

Operating room

ราย(ร้อยละ)

Recovery room

ราย(ร้อยละ)

Ketamine

40(35.7)

0

0

Fentanyl

5(4.5)

6(5.3)

1(0.9)

Morphine

3(2.7)

4(3.6)

1(0.9)

Pethidine

0

0

1*(0.9)

รวม

48(42.9)

10(8.9)

3(2.7)

*เป็นผู้ป่วยรายเดียวกันกับที่ได้ fentanyl ระหว่างผ่าตัดด้วย general anesthesia

       

          ในห้องพักฟื้น (PACU) ผู้ป่วยส่วนใหญ่สงบ ไม่ร้องไห้โวยวาย ผู้ป่วยที่ปวดและต้องให้การรักษา 2 ราย (ร้อยละ 1.8) ได้การรักษาด้วย morphine  0.5 มก/กก. 1 ราย และ fentanyl 1 มคก/ราย  1 ราย 

       ภาวะแทรกซ้อนที่พบได้แก่ คลื่นไส้อาเจียน 2 ราย (ร้อยละ 1.8)  รายแรกเป็นผู้ป่วยเด็กโตที่ได้เปลี่ยนเทคนิคเป็น general anesthesia  และมี shivering ร่วมด้วย  อีก 1 รายได้รับ morphine เสริมระหว่างผ่าตัด และทุกรายตอบสนองต่อการรักษาด้วย ondansetron ฉีดเข้าหลอดเลือดดำ  ส่วนอาการ shiveringได้รับ pethidine  0.2 มก/กก.   ไม่พบว่ามีภาวะพิษจากยาชา  ก้อนเลือด (hematoma)  ภาวะแทรกซ้อนของทางเดินหายใจ desaturation  และใช้เวลาอยู่ในห้องพักฟื้นนานกว่ากำหนด  (delay discharge) และการติดตามหลังผ่าตัด 24 ชม.( post-op visit) ไม่พบผู้ป่วยที่มี neurologic damage

 

วิจารณ์

       การระงับความรู้สึกในผู้ป่วยเด็กในการผ่าตัดแบบกึ่งฉุกเฉินในโรงพยาบาลอุดรธานีเป็นการวางยาสลบเกือบทั้งหมด   ซึ่งเพิ่มภาวะเสี่ยงต่อการสูดสำลักสารจากกระเพาะเข้าปอด (pulmonary aspiration.)1 ถึงแม้ว่าจะงดน้ำอาหาร  4-6 ชม. ผู้ป่วยกลุ่มนี้มักจะมีภาวะ  delay gastric emptying time ร่วมด้วยภาวะแทรกซ้อนของ general anesthesia ที่พบในรพ.อุดรธานีปี 2550 (ไม่ได้แยกตามช่วงอายุ)ได้แก่ aspiration 4 ราย  (ร้อยละ 0.03)  desaturation (ร้อยละ 0.18) คลื่นไส้อาเจียนชนิดรุนแรง (ร้อยละ 15)

       โดยทั่วไปการทำ axillary block มักจะไม่ค่อยเป็นที่นิยมใช้ในการทำหัตถการและผ่าตัด upper extremity บริเวณ distal humerus และ elbow เนื่องจากกลัวปัญหา inadequate analgesia แต่การศึกษาครั้งนี้พบว่าการทำ axillary block ( perivacular /transarterial technique) สำหรับการผ่าตัด upper extremity ตั้งแต่บริเวณ distal humerus ลงไปมีประสิทธิภาพดีทั้งการผ่าตัด soft tissue และ bone surgery ถึงร้อยละ 90.1 ของผู้ป่วยทั้งหมด แต่ในการศึกษาครั้งนี้เป็นผู้ป่วยเด็กจึงมีผู้ป่วยส่วนหนึ่งที่ได้รับยา sedative/narcotic ก่อน block จึงอาจจะมีผลระงับปวดไปจนถึงระหว่างผ่าตัดร่วมด้วย และมีข้อจำกัดคือไม่สามารถประเมินแยกตามตำแหน่งของเส้นประสาท (nerve distribution) ได้จึงแปลผลจากความราบรื่นและความร่วมมือในการผ่าตัด  ผลการศึกษาสอดคล้องกับการศึกษาของ Schroeder และคณะซึ่งพบว่าผู้ป่วยที่ได้รับการระงับความรู้สึกด้วยวิธี axillary block เพื่อทำการผ่าตัดบริเวณ elbow นั้น ประสบความสำเร็จ ถึงร้อยละ 899  เช่นเดียวกับAndersson และคณะได้ทำการศึกษาย้อนหลังในผู้ป่วยที่มารับการผ่าตัดบริเวณมือ และได้รับการทำ axillary block ด้วยเทคนิค transarterial จำนวน 5,520 รายพบว่าประสบความสำเร็จถึงร้อยละ 9310  ในปัจจุบันมีการใช้เครื่องกระตุ้นเส้นประสาท (peripheral nerve stimulator) และ ultrasound มาใช้ประกอบการทำ brachial plexus block พบอัตราการประสบความสำเร็จของ axillary block ในแต่ละเทคนิคได้แก่  transarterial (TA), elicitation of paresthesia (PS) และ ใช้ peripheral nerve stimulator (PNS) ไม่ต่างกัน11  แต่ Lo และคณะได้ทำการศึกษาในผู้ป่วย 662 คนพบว่าการใช้ ultrasound ช่วย เพิ่มอัตราประสบความสำเร็จของ block และลดปริมาณยาชาที่ใช้ดีกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับ  peripheral nerve stimulatior และ transaxillary artery technique12  Chan และคณะพบว่าการใช้ ultrasound guide axillary nerve block เพียงอย่างเดียวหรือใช้ร่วมกับ peripheral nerve stimulator เพิ่มอัตราประสบความสำเร็จของ axillary block แบบ three nerves target method block 13 

          โดยทั่วไปอุบัติการณ์ของ ภาวะแทรกซ้อนใน axillary block นั้นพบไม่บ่อยนักแตกต่างกันในแต่ละรายงานโดยภาวะแทรกซ้อนที่พบบ่อยคือ hematoma และ secondary nerve compression8,14 ในการศึกษานี้ไม่พบว่ามีภาวะแทรกซ้อนจากพิษยาชาหรือ neurologic damage ซึ่งผลการศึกษานี้สอดคล้องกับการศึกษาของ Giaufre  และคณะได้ศึกษาในผู้ป่วยเด็กจำนวน  24,409 คนที่ได้รับการทำ regional blockโดยเป็น axillary block 608 ราย ไม่พบว่ามีภาวะแทรกซ้อนจากการทำ nerve block15  และการศึกษาของ Andersson และคณะดังที่กล่าวถึงข้างต้นพบภาวะแทรกซ้อนน้อยกว่าร้อยละ  0.710 แต่  Ben-David และคณะศึกษาย้อนหลังถึงอุบัติการณ์ของ nerve injury จาก axillary  block under sedation ร้อยละ 2.6 ,general anesthesia ร้อยละ 7.5 block16  นอกจากนี้ การใช้ ultrasound guide ลดอัตราการเกิดภาวะแทรกซ้อนจากการทำ nerve block 16-18   

          นอกจากนี้ยังพบว่ามีผลระงับปวดจนถึงหลังผ่าตัดโดยมีผู้ป่วยสงบ ไม่ร้องไห้ 110 ราย (ร้อยละ98) ที่ต้องได้รับยาระงับปวดในห้องพักฟื้นมีเพียง  2 ราย (ร้อยละ 1.8)    

       ในการศึกษานี้พบภาวะแทรกซ้อนร้อยละ 2.7 ซึ่งเกิดจากการให้ยาดมสลบหรือ narcotic คือ คลื่นไส้อาเจียน (ร้อยละ1.8) และ shivering (ร้อยละ0.9) ไม่พบ ketamine dysphoric emergence reactions ซึ่งพบได้น้อยในผู้ป่วยเด็ก19 ไม่พบภาวะ desaturation โดยผู้ป่วยทุกรายที่ได้รับยา sedative หรือ narcotic ต้องได้รับ ออกซิเจนตั้งแต่เริ่มได้ยา ตามบริบทการดูแลผู้ป่วยในห้องพักฟื้นของโรงพยาบาล ซึ่งมีข้อจำกัดเรื่องบุคลากรในช่วงนอกเวลาราชการมีเพียงคนเดียว  แต่มีการประเมินคะแนน modified Aldrete  postanesthesia recovery scoring  system มากกว่า 9 sedation score เท่ากับ 0-1 และไม่ต้องให้ oxygen อย่างน้อย 15 นาทีก่อนส่งกลับหอผู้ป่วยและไม่มีผู้ป่วยรายใดต้องอยู่ในห้องพักฟื้นนานกว่า 1 ชม.

        ด้านความพึงพอใจ วิสัญญีพยาบาลในห้องผ่าตัดมีความพึงพอใจเทคนิคนี้เนื่องจากไม่ต้องใส่ท่อช่วยหายใจและดูแลทางเดินหายใจได้ง่าย ย้ายผู้ป่วยไปห้องพักฟื้นได้เร็วไม่ต้องรอปลุกตื่นและถอดท่อช่วยหายใจ หลังผ่าตัดผู้ป่วยไม่ปวดไม่งอแงช่วยลดความวิตกกังวลของผู้ปกครอง

       การใช้เทคนิค axillary block จำเป็นต้องคำนึงถึงบริบทในแต่ละสถานที่เช่นมีห้องเตรียมผู้ป่วย  (induction room) พร้อมอุปกรณ์ช่วยกู้ชีพ สามารถ block และมีเวลารอจนยาชาออกฤทธิ์เต็มที่ก่อนเริ่มหัตถการ ความชำนาญของวิสัญญีแพทย์  การประสานงานที่ดีกับศัลยแพทย์ และความยินยอมของผู้ปกครอง   

สรุป

            การระงับความรู้สึกด้วยวิธี axillary block ด้วยเทคนิค perivascular/transarterial เพียงอย่างเดียวหรือร่วมกับการให้  light sedative/narcotic ในผู้ป่วยเด็กที่มารับการผ่าตัดหรือหัตถการแบบกึ่งฉุกเฉิน  บริเวณแขนตั้งแต่ระดับข้อศอกลงมานั้นมีประสิทธิภาพดีโดยไม่ต้องการวางยาสลบ นอกจากนี้ยังพบอุบัติการณ์ของภาวะแทรกซ้อนจากการทำหัตถการน้อยมาก และยังมีผลลดปวดและภาวะแทรกซ้อนหลังผ่าตัดได้ดีอีกด้วย

เอกสารอ้างอิง

  1. Joseph PC , Zeev NK. Pediatric anesthesia. In: Paul GB, Bruce FC, Robert KS, eds. Clinical anesthesia.   5thed. Baltimore:Williams & Wilkins, 2001:1205–18.
  2. Koka BV, Joen IS, Andre JM, Mackay I, Smith RM. Postintubation croup in children. Anesth Analg 1977 ;56:501-5.
  3. Pande R, Pande M, Bhadani U, Pabde CK, Bhattacharya A. Supraclavicular brachial plexus block as a sole anesthetic technique in children: an analysis of 200 cases. Anesthesia 2000;55:798-802.
  4. Rice LJ. Regional anesthesia and analgesia. In: Motoyama EK, Davis  PJ, eds. Smith’s anesthesia for infants and children. 6thed. St. Louis: Mosby,1996:403-42.
  5. Rice LJ. Regional anesthesia in pediatrics. ASA Annual refresher Course Lecture  1997;26:1-7.

6.         Dalens B. Proximal blocks of the upper extremity.  In: Dalens B, ed. Regional anesthesia in infants, children and adolescents.  Baltimore: Williams & Wilkins, 1995:275–312.

7.         Brown TC, Fisk GC. Regional and local anesthesia. In: Brown TC, Fisk GC, eds. Anaesthesia for children with a section on intensive care. London: Blackwell Scientific Publication, 1992:301-23.

8.         Goliman B, Krane EG, Galloway KS, Yaster M. Pediatric acute pain management. Pediatr Clin N Am 2000;47:559-87.

9.         Schroeder LE, Horlocker TT, Schroeder DR. The efficacy of axillary block for surgical procedures about the elbow. Anesth  Analg 1996; 83:747-751.

10.      Andersson A, Akeson J, Dahlin LB. Efficacy and safety of axillary brachial plexus block for operations on the hand. Scand J Plast Reconstr Surg Hand Surg 2006;40:225-9.

11.      Tamilselvan P,  Arora MK,  Kotwal PP. A comparison of three types of axillary approach to the brachial plexus block in upper extremity surgery. Journal of Orthopaedic Surgery 1998. Retrieved from http://www.findarticle.com/p/articles/mi_qa3794/is_199812/ai_n8809181.htm. Cited Aug 1, 2008.

12.      Lo N, Brull R, Perlas A, Chan VW, McCartney CJ, Sacco R, et al. Evolution of ultrasound guided axillary brachial plexus blockade: retrospective analysis of 662 blocks. Can J Anaesth 2008 ; 55:408-13.

  1. Chan VW, Perlas A, McCartney CJ, Brull R, Xu D, Abbas S. Ultrasound guidance improves success rate of axillary brachial plexus block. Can J Anaesth 2007 ;54(3):176-82.
  2. Merril DG, Brodsky JB, Hentz RV.  Vascular insufficiency following axillary block of the brachial plexus. Anesth Analg 1981;60:162–4.
  3. Giaufre E, Dalens B, Gonbert A. Epidemiology and morbidity of regional anesthesia in children: A one- year prospective  study of the French Language Society of Pediatric Anesthesiologists. Anesth Analg 1996;83:904-12

16.      Ben-David B, Barak M, Katz Y, Stahl S. A retrospective study of the incidence of neurological injury after axillary brachial plexus block. Pain Pract 2006 ;6:119-23.

17.      Liu FC, Liou JT, Tsai YF. Efficacy of ultrasoundguided axillary brachial plexus block: a comparative study with nerve stimulator-guided method. Chang Gung Med J 2005; 28: 396–402.

18.      Soeding PE, Sha S, Royse CE, Marks P, Hoy G, Royse AG.  A randomized trial of ultrasound-guided brachial plexus anaesthesia in upper limb surgery. Anaesth Intensive Care 2005; 33: 719–25.

19.      Green SM, Rothrock SG, Lynch EL. Intramuscular ketamine for pediatric sedation in the emergency department: safety profile with 1,022 cases. Ann Emerg Med 1998; 31:688-97.

 

 

 

 

 

Untitled Document
Article Location

Untitled Document
Article Option
       Abstract
       Fulltext
       PDF File
Untitled Document
 
ทำหน้าที่ ดึง Collection ที่เกี่ยวข้อง แสดง บทความ ตามที่ีมีใน collection ที่มีใน list Untitled Document
Another articles
in this topic collection

Surveillance of and Risk Fztors for Difficult Intubation At Srinagarind Hosipital (การเฝ้าระวังการใส่ท่อช่วยหายใจลำบากระหว่างการวางยาระงับความรู้สึกในโรงพยาบาลศรีนครินทร์ และปัจจัยที่เกี่ยวข้อง)
 
Surveillance of Drug Error during Anesthesia at Srinagarind Hospital Khon Kaen University (การเฝ้าระวังความผิดพลาดในการให้ยาระหว่างการให้ยาระงับความรู้สึกในโรงพยาบาลศรีนครินทร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น)
 
Incidence of Anesthesia-Associated Cardiac Arrest And Related Factors At Srinagarind Hospital (อุบัติการณ์ภาวะหัวใจหยุดเต้นและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการระงับความรู้สึกในโรงพยาบาลศรีนครินทร์)
 
New Trend Anesthesia for Cesarean Section (แนวโน้มการให้ยาระงับความรู้สึกเพื่อผ่าตัดคลอด)
 
<More>
Untitled Document
 
This article is under
this collection.

Anesthesia
 
Pediatrics
 
 
 
 
Srinagarind Medical Journal,Faculty of Medicine, Khon Kaen University. Copy Right © All Rights Reserved.
 
 
 
 

 


Warning: Unknown: Your script possibly relies on a session side-effect which existed until PHP 4.2.3. Please be advised that the session extension does not consider global variables as a source of data, unless register_globals is enabled. You can disable this functionality and this warning by setting session.bug_compat_42 or session.bug_compat_warn to off, respectively in Unknown on line 0