Untitled Document
 
 
 
 
Untitled Document
Home
Current issue
Past issues
Topic collections
Search
e-journal Editor page

Communication Skills for Medical Consultation

ทักษะการสื่อสารสำหรับการให้คำปรึกษาทางการแพทย์

Pattapong Kessomboon (ปัตพงษ์ เกษสมบูรณ์) 1, Narumon Sinsupan (นฤมล สินสุพรรณ) 2, Amornrat Rattanasiri (อมรรัตน์ รัตนสิริ) 3, Watana Ditsatapornjaroen (วัฒนะ ดิฐสถาพรเจริญ) 4, Pyathida Kuhirunyaratn (ปิยธิดา คูหิรัญญรัตน์) 5, Saowanan Bumreourach (เสาวนันท์ บำเรอราช) 6




หลักการและเหตุผล : ทักษะการสื่อสารนับว่าเป็นสิ่งสำคัญสำหรับบุคลากรทางการแพทย์ ภาควิชาเวชศาสตร์ชุมชนจึงได้จัดให้นักศึกษาแพทย์ได้ฝึกทักษะกับผู้ป่วยจำลองที่ห้องฝึกทักษะการเรียนรู้ และฝึกปฏิบัติกับผู้ป่วยจริงที่ศูนย์สุขภาพชุมชนสามเหลี่ยม  ในการปฏิบัติกับผู้ป่วยจำลองจะมีการเกริ่นนำ  และแบ่งนักศึกษาออกเป็นกลุ่มย่อย กลุ่มละ 3-4 คน ต่ออาจารย์ 1 คน ให้บริการผู้ป่วย และสรุปบทเรียน 20 นาที  หลังจากนั้นเวียนไปห้องอื่นๆ  รวมฝึกปฏิบัติกับผู้ป่วย 5 ราย  เมื่อครบกลับมาสรุปที่ห้องเรียน  สำหรับการฝึกกับผู้ป่วยจริงได้มีการแบ่งกลุ่มนักศึกษาออกเป็นกลุ่มย่อย กลุ่มละ 3-4 คน ต่ออาจารย์ 1 คน เช่นกัน ให้บริการกับผู้ป่วยจริง  มีการสรุปประเมินผลและอภิปรายกลุ่มเพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ภายหลังฝึกให้บริการผู้ป่วย

วัตถุประสงค์ : เพื่อประเมินผลการจัดการเรียนการสอน และสิ่งที่นักศึกษาได้เรียนรู้จากการฝึกทักษะการสื่อสารสำหรับการให้คำปรึกษาทางการแพทย์ทั้งจากผู้ป่วยจำลอง และผู้ป่วยจริง

วิธีการ : เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา  ประชากรศึกษา คือนักศึกษาแพทย์ชั้นปีที่ 4  ปีการศึกษา  2549  ที่หมุนเวียนมาเรียนที่ภาควิชาเวชศาสตร์ชุมชน คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น จำนวน 8 กลุ่มๆ ละ 15-18 คน รวม 191 คน วิธีการประเมินผลโดยแจกกระดาษเปล่าให้นักศึกษาเขียนสรุปสิ่งที่ได้รับจากการเรียนรู้และการอภิปรายกลุ่ม

ผลการวิจัย : จากการประเมินผลด้านนักศึกษาในการฝึกกับผู้ป่วยจำลองพบว่าสิ่งที่นักศึกษาทั้ง 8 กลุ่มได้รับคือ 1. ได้ฝึกทักษะการสื่อสารและมนุษยสัมพันธ์  2. ฝึกการดูแลผู้ป่วยแบบองค์รวม  3. ได้เรียนรู้ข้อบกพร่องของตนเองเพื่อนำมาปรับปรุงแก้ไข  สำหรับการฝึกที่ศูนย์สุขภาพชุมชนสามเหลี่ยม สิ่งที่นักศึกษาทั้ง 8 กลุ่มได้รับคือ  1. ได้ฝึกปฏิบัติกับผู้ป่วยจริง  2. ได้เห็นบทบาทการทำงานของแพทย์และบุคลากรของศูนย์สุขภาพชุมชนที่อยู่ใกล้ชิดและมีความเป็นกันเองกับผู้รับบริการ  3. ได้เห็นวิถีชีวิต ความเป็นอยู่  ปัญหาการเจ็บป่วยที่พบบ่อยของประชากรในชุมชน

          การประเมินผลโดยอาจารย์ในการฝึกกับผู้ป่วยจำลองที่ห้องฝึกทักษะการเรียนรู้ ได้ข้อสรุปดังนี้

ข้อดี  คือ  นักศึกษาได้ฝึกปฏิบัติกับผู้ป่วย 5 ราย ทำให้เกิดทักษะและเจตคติที่ดีในการสื่อสารและ มนุษยสัมพันธ์   ซึ่งในรอบแรกอาจตื่นเต้น ประหม่า แต่พอรอบที่ 2 และรอบต่อไปมีความชำนาญมากขึ้น กล้าแสดงออกในการให้ข้อคิดเห็น

ข้อด้อย  คือ  ด้านองค์ความรู้ ถ้านักศึกษาไม่มีความรู้ก็ไม่ทราบว่าจะถามอะไร  ผู้สังเกตการณ์ไม่ทราบว่าจะทำอะไร  บางคนสังเกตและกล้าพูด  กริ่งสัญญาณไม่ดี ทำให้การเปลี่ยนกลุ่มขัดข้อง นักศึกษามีปัญหาเฉพาะกลุ่มแรก กลุ่มท้าย ๆ จะเบื่อ

สิ่งที่ควรปรับปรุง  คือ  ควรแจ้งนักศึกษาว่ามีผู้ป่วยโรคอะไรบ้าง  คนที่ยังไม่มีความมั่นใจให้ฝึกอีกครั้ง ทำคู่มือ อัด VDO หรืออัดเฉพาะเสียงแจกเฉพาะตัวเพื่อปรับปรุงแก้ไข

สำหรับการฝึกที่ศูนย์สุขภาพชุมชนสามเหลี่ยม   ได้ข้อสรุปดังนี้

ข้อดี  คือ นักศึกษาได้นำความรู้ และทักษะจากการฝึกปฏิบัติกับผู้ป่วยจำลองไปใช้กับผู้ป่วยจริง นักศึกษามีความตื่นเต้น ดีใจ ที่ได้ทำหน้าที่แพทย์

ข้อด้อย  คือ ไม่สามารถจำกัด case ได้ นักศึกษากลุ่มหนึ่งมี 4 คน จะช่วยกันซักถามและตรวจ ไม่สามารถกำหนดได้ว่าใครจะเป็นหมอ และใครจะเป็นผู้สังเกตการณ์

สิ่งที่ควรปรับปรุง  คือ ควรทำคู่มือเกี่ยวกับโรคที่พบบ่อยและยาที่ใช้ทั้งแผนปัจจุบันและการแพทย์ทางเลือกสำเนาไว้หลาย ๆ ชุด เพื่อให้นักศึกษายืม

Background : Communication skills are essential components of effective health care.  Medical graduates are required to master these skills.  Department of Community Medicine has been organizing a course for the 4th year medical students to meet this challenge.  Medical students in a group of three rotated to see standardized patients in 5 stations.  One of them was acting as a physician while the others were observers.  The patients were trained to exhibit problems of psychosocial illnesses and chronic diseases.  A consultation took 10 minutes.  The remaining 10 minutes were discussion time.  The same group of students saw 3-4 real patients at a primary care unit in the following week.  Feedbacks and discussion were set to enhance learning. This paper aimed to qualitatively evaluate its effectiveness.

Results   :  Students expressed that they have learned new issues in practical ways i.e.

1)  communication skill and human relation;  2)  holistic approach to health care;  3)  self-reflection and self-assessment;   4)  common illnesses at primary care;  and   5)  roles of health care providers. 

Students in early groups of the fourth year felt that they were lack of confidence in their medical knowledge and had an extreme excitement.  Tutors expressed that some elements of the course should be provided to improve its effectiveness. For instance, preparation of a manual of clinical topics and recording of voices for later self analysis.

Conclusion : The course provides concrete experiences of teaching communication skills for medical students.  Further improvement  should be planned.

Key words  :  Communication skill, Medical consultation.

 

บทนำ

          การสื่อสารนับว่าเป็นสิ่งสำคัญที่ทำให้มนุษย์มีความเข้าใจซึ่งกันและกัน1-9  โดยเฉพาะในวงการแพทย์มีบุคลากรทางการแพทย์หลายสาขามาปฏิบัติงานร่วมกัน  แต่สามารถสื่อสารกันได้ด้วยความเข้าใจโดยใช้ศัพท์ทางการแพทย์  ซึ่งบุคคลที่อยู่ในสาขาวิชาชีพอื่นหรือบุคคลทั่วไปที่มาใช้บริการทางการแพทย์ไม่สามารถเข้าใจได้  ดังนั้นจึงจำเป็นต้องฝึกทักษะการสื่อสาร  เพื่อให้เกิดความเข้าใจตรงกันกับผู้ใช้บริการ2-9  ในการขอรับคำปรึกษาทางการแพทย์  หรือแนะนำการปฏิบัติตัวเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ผู้รับบริการนั้น

 

วัตถุประสงค์

          เพื่อประเมินผลการจัดการเรียนการสอน และสิ่งที่นักศึกษาได้เรียนรู้จากการฝึกทักษะการสื่อสาร สำหรับการให้คำปรึกษาทางการแพทย์ทั้งจากผู้ป่วยจำลอง และผู้ป่วยจริง

 

รูปแบบการวิจัย

            เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา  ประชากรศึกษา คือนักศึกษาแพทย์ชั้นปีที่ 4  ปีการศึกษา  2549  คณะแพทยศาสตร์  มหาวิทยาลัยขอนแก่น วิธีการประเมินผลโดยแจกกระดาษเปล่าให้นักศึกษาเขียนสรุปสิ่งที่ได้รับจากการเรียนรู้ และการอภิปรายกลุ่ม

วิธีการ

          1.  การฝึกที่ห้องฝึกทักษะการเรียนรู้ กับผู้ป่วยจำลอง ได้มีการเกริ่นนำโดยอาจารย์หัวหน้าทีม และแบ่งกลุ่มนักศึกษาออกเป็นกลุ่มละ 3-4 คน ต่ออาจารย์ 1 คน ให้บริการผู้ป่วย และสรุปบทเรียน 20 นาที  หลังจากนั้นให้เวียนไปอีกห้องจนครบ 5 ราย และกลับมาสรุปที่ห้องเรียน

          2.  การฝึกที่ศูนย์สุขภาพชุมชนสามเหลี่ยม ซึ่งเป็นศูนย์สุขภาพชุมชนที่คณะแพทยศาสตร์  มหาวิทยาลัยขอนแก่น รับผิดชอบ  ดำเนินการโดยแบ่งกลุ่มนักศึกษากลุ่มละ 3-4 คน ต่ออาจารย์ 1 คนให้บริการผู้ป่วยจริงและสรุปการเรียนรู้

 

ผลการวิจัย

 

1.  ด้านนักศึกษา

          1.1  การฝึกที่ห้องฝึกทักษะการเรียนรู้

          นักศึกษาได้ฝึกทักษะการสื่อสาร และมนุษยสัมพันธ์  ฝึกการดูแลผู้ป่วยแบบองค์รวม  ฝึกการยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น  ได้ฝึกประเมินเพื่อน และประเมินความผิดพลาดของตนเอง ได้รับฟังปัญหาและข้อบกพร่องของตนเอง ได้รับฟังการวิจารณ์และเสนอแนะจากเพื่อน อาจารย์ รวมถึงผู้ป่วยทำให้รู้ข้อบกพร่องของตนเอง  เพื่อนำมาปรับปรุงแก้ไขให้ดีขึ้น  ได้ฝึกวิจารณ์เพื่อน  ได้เห็นมุมมองใหม่ ๆ ในการซักประวัติและการสื่อสารกับผู้ป่วยของเพื่อนๆ (ตารางที่ 1)

 

ตารางที่ 1  สิ่งที่นักศึกษาแพทย์ชั้นปีที่ 4 ได้รับจากการฝึกที่ห้องฝึกทักษะการเรียนรู้

กลุ่ม 1

กลุ่ม 2

กลุ่ม 3

กลุ่ม 4

กลุ่ม 5

กลุ่ม 6

กลุ่ม 7

กลุ่ม 8

นักศึกษาจำนวน 17 คน

1. ได้ฝึกทักษะการสื่อสาร และมนุษยสัมพันธ์

- รู้ถึงวิธีการสื่อสารที่เหมาะสม การพูดแนะนำตัว รู้จักคิดหาคำพูดให้ผู้ป่วยเข้าใจ

- ได้ประสบการณ์ในการซักประวัติผู้ป่วยให้ครบ

ไม่วกวน โดยใช้เวลาให้เหมาะสมไม่นานเกินไป

- ได้พูดกับผู้ป่วยจริง ซึ่งเป็นประสบการณ์ที่แตกต่างจากเนื้อหาในห้องเรียน

- ฝึกบุคลิก น้ำเสียง การวางตัว การพูด การสบตา ความมีไหวพริบในการตั้งคำถามให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้ป่วย การวางท่าทีที่เหมาะสมในการตรวจผู้ป่วยให้ดูน่าเชื่อถือ

2. ฝึกการยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น เพื่อปรับปรุงตนเอง

- ได้รับฟังคำแนะนำจากอาจารย์ และเพื่อนทำให้รู้ถึงข้อบกพร่อง เพื่อปรับปรุงตนเอง

3. ข้อสงสัย

- บางทีเมื่อหยุดพูดไม่รู้ว่าจะถามอะไรต่อ

- คุณยายมีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม แนะนำแล้วคุณยายไม่ฟังจะพูดอย่างไรดี

- ถ้าวินิจฉัยไม่ได้ทำอย่างไร

- ยังไม่มีความรู้เรื่องโรคลำดับขั้นตอนยังสับสน

- ผู้ป่วยเล่าประวัติยาว  โดยไม่เปิดโอกาสให้ซักถามเพิ่มเติม ควรมีเทคนิคอย่างไร

- การถามเรื่องส่วนตัวของผู้ป่วยมีขอบเขตเพียงไร

นักศึกษาจำนวน 15 คน

1. ได้ฝึกทักษะการสื่อสารและมนุษยสัมพันธ์

- ฝึกซักประวัติ ตรวจร่างกาย ตั้งคำถามให้ตรงประเด็น เป็นลำดับขั้นตอนครอบคลุม ทั้งด้านร่างกาย จิตใจ

- รู้จักสร้างความเป็นกันเอง การใช้คำพูดที่เข้าใจง่าย ชัดเจน  การขออนุญาตก่อนตรวจความสุภาพ นุ่มนวลในการตรวจ

- เรียนรู้การวางตัวที่เหมาะสม ให้เกียรติ เคารพในสิทธิของผู้ป่วย

- ได้นำความรู้ที่เรียนมาใช้ในการตรวจร่างกาย  ฝึกการคิดวิเคราะห์อย่างมีเหตุผลและเป็นระบบ

- ได้รู้ว่าการเป็นแพทย์ไม่เพียงจะต้องมีความรู้  ยังต้อง มีทักษะในการสื่อสารให้เข้าใจตรงกันรวมทั้งต้องมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี

2. ฝึกการยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นเพื่อการปรับปรุงตนเอง

 

นักศึกษาจำนวน 16 คน

1. ได้ฝึกทักษะการสื่อสาร และมนุษยสัมพันธ์

- วิธีการเข้าหาผู้ป่วย การวางตัว บุคลิก ท่าทางของหมอ ทราบขั้นตอน และกระบวนการสื่อสาร การพูดให้ผู้ป่วยเข้าใจ เชื่อถือในตัวแพทย์  การให้เกียรติผู้ป่วย การตรวจต้องขออนุญาตเสมอ

- ฝึกการใช้ภาษาที่เข้าใจง่ายและเข้าใจตรงกัน

- ฝึกกระบวนการคิด วิเคราะห์ข้อมูลจากการซักประวัติ ตรวจร่างกาย เพื่อวินิจฉัยโรค และให้คำแนะนำ

- ได้ทราบว่าการดูแลผู้ป่วยที่ดี คือ การดูแลทั้งกายและใจ

- ได้รู้ว่าผู้ป่วยมีหลายประเภท หลายอารมณ์ ได้เข้าใจความรู้สึกที่ผู้ป่วยมีต่อแพทย์

- ได้ประเมินความสามารถและทักษะการสื่อสารของตนเองว่าเป็นอย่างไร

- ได้มีโอกาสสังเกตทักษะการสื่อสารของเพื่อน ทำให้มองเห็นข้อดี และข้อเสียชัดเจนมากขึ้น นำมาปรับใช้ได้

นักศึกษาจำนวน 18 คน

1. ได้ฝึกทักษะการสื่อสารและมนุษยสัมพันธ์

- เริ่มต้นควรแนะนำตัวถามชื่อผู้ป่วยให้ตรงกับ OPD Card ถามชื่อที่อยู่ให้ครบ ใช้คำพูดที่สุภาพไม่ต้องเป็นทางการ สื่อความหมายได้ชัดเจน มีการสบตา การถามถึงครอบครัว บางครั้งมีปัญหาต้องระวังคำพูด ไม่ตื่นเต้น

- รู้จักการทักทาย สร้างความเป็นกันเอง ใช้ภาษาที่เข้าใจง่าย แสดงความเป็นมิตรเห็นอกเห็นใจ การสัมผัสตัวผู้ป่วย การวางท่าทาง และใช้น้ำเสียง ที่เหมาะสม

- เรียนรู้การดูแลผู้ป่วยแบบองค์รวม โดยอาศัยประวัติความเกี่ยวข้องระหว่างความเจ็บป่วยกับปัจจัยปัญหาของผู้ป่วย การเปิดโอกาสให้ผู้ป่วยซักถามข้อสงสัยหรือพูดสิ่งที่อยากบอกแต่แพทย์ไม่ได้ถาม

2. ได้ฝึกประเมินเพื่อนและประเมินความผิดพลาดของตนเอง ได้รับฟังปัญหาและข้อบกพร่องของตนเองรับฟังข้อมูลจากเพื่อน อาจารย์ รวมถึงตัวผู้ป่วยเพื่อที่จะนำไปปรับปรุงแก้ไขให้ดีขึ้น

นักศึกษาจำนวน 16 คน

1. ได้ฝึกทักษะ การสื่อสารและมนุษยสัมพันธ์

- เรียนรู้การซักประวัติ ตรวจร่างกาย การเลือกใช้คำถามในการซักประวัติ การให้เกียรติผู้ป่วย ทำอะไรขออนุญาตก่อน การให้ความสนใจผู้ป่วย ฝึกวินิจฉัยโรคให้ถูกต้อง วิธีการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าเมื่อตอบคำถามไม่ถูก ฝึกการดูผู้ป่วยรอบด้าน การแนะนำผู้ป่วยให้ตรงประเด็น

- ฝึกการสร้างความไว้วางใจ การเอาใจใส่ การใกล้ชิด แสดงความเป็นมิตรกับผู้ป่วย  การซักถามโดยใช้คำถามปลายเปิด การถามกลับเพื่อทราบความกลัว ความกังวลของผู้ป่วย

- ฝึกความกล้าที่จะพูดการเรียงลำดับความคิด รู้จักนำความรู้ที่มีมาใช้ รู้จักวางตัวในฐานะแพทย์

- ฝึกมารยาทในการสนทนาที่ดี ต้องสบตา  ตั้งใจฟัง ไม่ขัดจังหวะ โต้ตอบในเวลาที่เหมาะสม ต้องวางตัวให้น่าเชื่อถือ ดูมีความรู้ความมั่นใจ

2. ได้ทราบจุดบกพร่องที่ควรแก้ไข

นักศึกษาจำนวน 16 คน

1. ฝึกทักษะการสื่อสารและมนุษยสัมพันธ์

- ได้เรียนรู้กับผู้ป่วยจริง การกล่าวทักทายผู้ป่วย การแนะนำตัว การใช้น้ำเสียง การสร้างบรรยากาศให้อบอุ่น การถามคำถามเกริ่นนำ เพื่อสร้างความคุ้นเคย ต้องมีหน้าตายิ้มแย้ม  แจ่มใส

แสดงความเป็นมิตร  การวางตัวให้เหมาะสมกับการเป็นแพทย์ น่าเชื่อถือ แสดงความห่วงใยผู้ป่วยต้องมีการสบตา มีการสรุปข้อมูล สะท้อนความคิด และความรู้สึกที่ผู้ป่วยบอกเรามาเพื่อความเข้าใจตรงกัน

- ฝึกวิธีการและขั้นตอนในการซักประวัติ และตรวจร่างกายผู้ป่วย ที่ครอบคลุมทุกด้านทั้งร่างกาย จิตใจ ครอบครัว สังคมและสภาพแวดล้อม อื่น ๆ รู้จักนำความรู้มาใช้จริงในลักษณะผสมผสาน รู้จักตั้งสติให้ดีก่อนทำอะไร ไม่ตื่นเต้นเกินไป

2. ได้เรียนรู้ข้อบกพร่องต่าง ๆ เพื่อนำมาปรับปรุงแก้ไข

นักศึกษาจำนวน 16 คน

1. ฝึกทักษะการสื่อสารและมนุษยสัมพันธ์

- รู้วิธีการทักทาย การพูด การปฏิบัติที่เหมาะสม ได้เรียนรู้วิธีการซักประวัติ การฟัง การเรียบเรียงคำพูดที่ทำให้ผู้ป่วยเข้าใจ

- ได้ใช้ความรู้ที่เรียนมากับผู้ป่วยจริง ฝึกการวางตัวต่อผู้ป่วยให้ดูสุภาพและน่าเชื่อถือ

- เป็นชั่วโมงที่ได้เรียนรู้เพิ่มเติม เสริมทักษะได้มากและเหมาะสมดี ได้เรียนรู้บรรยากาศในการทำงานที่ต้องทำต่อไป มีความมั่นใจในการออกตรวจผู้ป่วย OPD มากขึ้น

2. ฝึกการดูแลผู้ป่วยแบบองค์รวม

- ควรคิดถึงภาวะจิตใจของผู้ป่วยด้วยไม่ใช่เพียงแค่โรคที่มาเท่านั้น ถามถึงอาชีพ ความเป็นอยู่ของผู้ป่วยหรือข้อจำกัด เพราะบางครั้งสิ่งเหล่านี้อาจจะมีผลต่อโรค

3. ได้พิจารณาแก้ไขข้อบกพร่องของตนเอง

จำนวนนักศึกษา 15 คน

1. ได้ฝึกทักษะการสื่อสารกับผู้ป่วย

- ได้เรียนรู้การสร้างความสัมพันธ์ ความเป็นกันเองทำให้ผู้อื่นไว้ใจ ฝึกสติ สมาธิ ควบคุมอารมณ์ตนเอง คิดก่อนพูด เพื่อให้ผู้ป่วยเข้าใจในคำพูดมากที่สุด หลีกเลี่ยงการใช้ศัพท์ทางเทคนิค ผู้ป่วยต้องการความสุภาพ การพูดคุยที่ดี ให้เกียรติ ศิลปะในการสื่อสารระหว่างแพทย์กับผู้ป่วยเป็นสิ่งสำคัญ ได้ฝึกสังเกตปฏิกิริยาของผู้ป่วย ไม่ควรสร้างความกังวลใจให้ผู้ป่วย ฝึกการบริหารเวลา ได้นำความรู้

มาใช้จริง และได้ทบทวนว่าตนเองมีความรู้เพียงพอหรือไม่

2. ได้ฝึกทักษะ ต่าง ๆ โดยได้รับคำแนะนำ วิจารณ์จากเพื่อน ๆ อาจารย์ ผู้ป่วย ทำให้รู้ข้อบกพร่องของตนเอง เพื่อนำมาปรับปรุงแก้ไข ได้ฝึกวิจารณ์เพื่อนได้เห็นมุมมองใหม่ ๆ ในการซักประวัติ และการสื่อสารกับผู้ป่วยของเพื่อน ๆ

          1.2  การฝึกที่ศูนย์สุขภาพชุมชนสามเหลี่ยม

          นักศึกษาได้รับประสบการณ์ฝึกปฏิบัติงานกับผู้ป่วยจริง  ฝึกทักษะการสื่อสารและมนุษยสัมพันธ์  ฝึกมารยาทในการวางตัวให้เหมาะสม  ฝึกการดูแลผู้ป่วยแบบองค์รวมทั้งกาย จิต สังคม และจิตวิญญาณ  การใช้การแพทย์ทางเลือกร่วมกับการแพทย์แผนปัจจุบัน  ได้เรียนรู้ระบบการทำงานของศูนย์สุขภาพชุมชน  ผู้ป่วยที่มารับการรักษาที่ PCU มักเป็นผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่มีอาการไม่รุนแรง หรือผู้ป่วยที่เจ็บป่วยเล็ก ๆ น้อย ๆ การรักษาที่ PCU ช่วยแบ่งเบาภาระของโรงพยาบาล และมีการติดตามไปดูแลถึงบ้าน เรียนรู้บริการพื้นฐานที่ให้แก่ผู้ป่วย ได้มองเห็นความสำคัญของ PCU ในการดูแลรักษาเบื้องต้นเป็นรูปธรรมมากขึ้น  (ตารางที่ 2)

2.  ด้านอาจารย์  ความคิดเห็นของอาจารย์ผู้เกี่ยวข้องในการฝึกทักษะการสื่อสารและมนุษยสัมพันธ์

          2.1  การฝึกที่ห้องฝึกทักษะการเรียนรู้

          ข้อดี   นักศึกษาได้ฝึกปฏิบัติ เกิดทักษะ และทัศนคติที่ดีในการสื่อสารและมนุษยสัมพันธ์ นักศึกษาได้ฝึกปฏิบัติกับผู้ป่วยจำลองคนละ 5 ราย ทำให้เกิดทักษะ  ซึ่งในรอบแรกอาจตื่นเต้น ประหม่า แต่พอรอบที่ 2 และรอบต่อไป มีความชำนาญมากขึ้น กล้าแสดงออกในการให้ข้อคิดเห็น  สำหรับเวลาที่ใช้ 3 ชั่วโมง คิดว่าพอดี

          ข้อด้อย  (1)  ด้านองค์ความรู้  ถ้านักศึกษาไม่มีความรู้ก็ไม่ทราบว่าจะถามอะไร

(2)  ผู้สังเกตการณ์ ไม่ทราบว่าจะทำอะไร บางคนสังเกต และกล้าพูด

(3)  กริ่งสัญญาณไม่ดี ทำให้การเปลี่ยนกลุ่มขัดข้อง

(4)  นักศึกษาที่ฝึกทำกลุ่มท้าย ๆ case ที่ 4-5 จะเบื่อ ถ้านักศึกษาได้ฝึกเป็นแพทย์คนละ 1 ครั้ง ครบทุกคนก็เพียงพอ

(5)  นักศึกษาจะมีปัญหาเฉพาะกลุ่มแรก พอกลุ่มอื่น ๆ เคยผ่านภาควิชาทางคลินิกมาแล้วจะคล่องขึ้น

สิ่งที่ควรปรับปรุงแก้ไข

(1)   ควรแจ้งนักศึกษาว่ามีผู้ป่วยด้วยโรคอะไรบ้าง  เพื่อนักศึกษาจะได้เตรียมองค์

ความรู้มาก่อน

(2)   คนที่ยังไม่มีความมั่นใจ ให้ฝึกอีกครั้งจะได้ไม่เบื่อ

(3)   ควรทำคู่มือในการแนะนำว่าจะถามอะไรบ้างแจกเฉพาะนักศึกษากลุ่มแรก ๆ

(4)   ควรอัด VDO ให้นักศึกษาดูโดยแจกเฉพาะตัวเพื่อแก้ไขปรับปรุงตนเอง หรือ

(5)   อัดเฉพาะเสียงของตนเอง โดยใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่เพื่อปรับปรุงตนเอง

2.2  การฝึกที่ศูนย์สุขภาพชุมชนสามเหลี่ยม

ข้อดี   นักศึกษาได้นำความรู้และทักษะจากที่ได้ฝึกปฏิบัติกับผู้ป่วยจำลองไปใช้กับผู้ป่วยจริง  ทำให้นักศึกษามีความตื่นเต้น  ดีใจ  ที่ได้ทำหน้าที่แพทย์

          ข้อด้อย   ไม่สามารถจำกัด case ได้  นักศึกษากลุ่มหนึ่งมี 4 คน  จะช่วยกันซักถาม ช่วยกันตรวจ  ไม่สามารถกำหนดนักศึกษาได้ว่าใครจะเป็นหมอ และใครเป็นผู้สังเกตการณ์ อาจารย์แพทย์มี 2 คน อีก 2 คนไม่ใช่แพทย์

            สิ่งที่ควรปรับปรุงแก้ไข

(1)  อาจารย์ที่ไม่ใช่แพทย์ก็สามารถพูดคุยกับนักศึกษาได้ ถ้ามีปัญหาค่อยปรึกษาแพทย์

(2)  ควรจะมีคู่มือเกี่ยวกับองค์ความรู้เรื่องโรค และยาที่ใช้

(3)  ทำคู่มือโรคที่พบบ่อย และทำสำเนาหลาย ๆ ชุด เพื่อให้นักศึกษายืม  เช่น  เบาหวาน ปวดศีรษะ  ความดันโลหิตสูง  ไอ หวัด ปวดท้อง ปวดแขน ปวดขา การแพทย์ทางเลือก

 

ตารางที่ 1 (ต่อ)  สิ่งที่นักศึกษาแพทย์ชั้นปีที่ 4 ได้รับจากการฝึกที่ห้องทักษะการเรียนรู้

กลุ่ม 1

กลุ่ม 2

กลุ่ม 3

กลุ่ม 4

กลุ่ม 5

กลุ่ม 6

กลุ่ม 7

กลุ่ม 8

- ควรทำอย่างไร มีการรับมืออย่างไรกับผู้ป่วยในสถานการณ์ต่าง ๆ

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

- ได้เห็นข้อควรปฏิบัติที่บางครั้งเรามองข้ามไป เช่น ไม่ถามความวิตกกังวล และความคาดหวังของผู้ป่วย การตรวจร่างกายถึงแม้ปกติก็ต้องบอก เพราะผู้ป่วยมีความกังวลกว่าที่เราคิด

- กล้าที่จะยอมรับว่าไม่รู้ ได้เรียนรู้ว่ายังมีความรู้อีกมากที่เรายังไม่รู้ ดังนั้นจึงควรศึกษาเพิ่มเติมกับผู้ป่วยมากขึ้น

 

 

- การให้ความเห็น และการแสดงความคิดเห็นแก่เพื่อน ๆ คำแนะนำจากเพื่อน ๆ อาจารย์ และผู้ป่วย ถึงข้อดี ข้อเสีย เห็นปัญหาที่เกิดระหว่างการสื่อสารกับผู้ป่วย เช่น เข้าใจไม่ตรงกัน การเลือกใช้คำให้ผู้ป่วยเข้าใจแทนศัพท์เทคนิคต่าง ๆ

- ได้เห็นข้อผิดพลาดของตนเอง และแนวทางแก้ไข ได้ฝึกทำใจเป็นกลาง โดยมองหาข้อดี ข้อด้อย ของเพื่อนในเวลาเดียวกัน ได้เห็นข้อเสียของเพื่อน และเก็บไว้เตือนใจตนเอง

- ได้เรียนรู้เรื่องราวต่าง ๆ จากผู้ป่วยมีเจตคติที่ดีต่อแพทย์ มีกำลังใจในการทำงาน

 

ตารางที่ 2  สิ่งที่นักศึกษาแพทย์ชั้นปีที่ 4 ได้รับจากการฝึกปฏิบัติงานที่ศูนย์สุขภาพชุมชนสามเหลี่ยม

กลุ่ม 1

กลุ่ม 2 (3)

กลุ่ม 3 (4)

กลุ่ม 4 (5)

กลุ่ม 5 (6)

กลุ่ม 6 (7)

กลุ่ม 7 (8)

นักศึกษาจำนวน 16 คน

1. ได้ประสบการณ์การปฏิบัติงานจริง

- ฝึกการซักประวัติ ตรวจร่างกาย ผู้ป่วย วัดความดันโลหิต เรียนรู้การวางตัวให้น่าเชื่อถือ ทำให้ผู้ป่วยมีความมั่นใจ (16 ราย)

- ได้ฝึกใช้ทักษะในการสื่อสาร การสร้างมนุษยสัมพันธ์ ฝึกการตอบคำถาม การแก้ปัญหาเฉพาะหน้า ได้ฟังความคิดเห็นของผู้ป่วย คิดถึงใจเขาใจเรา ได้ฝึกมารยาทในการวางตัวให้เหมาะสม (11 ราย)

2. ได้เห็นการมองปัญหาที่เป็นองค์รวมมากขึ้น เช่น ปัญหาในครอบครัว ความเครียด เรื่องหนี้สิน ฯลฯ ซึ่งเป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อภาวะสุขภาพของผู้ป่วย (16 ราย)

- ได้เห็นการปฏิบัติของอาจารย์ไม่ได้มุ่งรักษาแค่โรค แต่ยังสนใจด้านสังคม จิตใจด้วย (3 ราย)

- เรียนรู้การทำงานของ PCU ผู้ป่วยที่มารับการรักษาที่ PCU มักเป็นผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่ไม่มีอาการรุนแรง และผู้ป่วยที่เจ็บป่วยเล็ก ๆ น้อย ๆ  การรักษาที่ PCU ช่วยแบ่งเบาภาระของโรงพยาบาล และมีการติดตามไปดูแลถึงที่บ้านเรียนรู้บริการพื้นฐานที่ให้แก่ผู้ป่วยได้มองเห็นความสำคัญของ PCU ในการ

ดูแลรักษาเบื้องต้นได้เป็นรูปธรรมมากขึ้น (16 ราย)

นักศึกษาจำนวน 16 คน

1. ได้รับประสบการณ์ฝึกปฏิบัติงานจริง

- ฝึกฝนทักษะในการซักประวัติ ตรวจร่างกาย การสังเกต และฝึกการเขียนประวัติ ได้รับฟังความคิดเห็นของผู้ป่วย (16 ราย)

- ฝึกทักษะการสื่อสารและสัมพันธภาพที่ดีกับผู้ป่วย (13 ราย)

- ได้รับประสบการณ์ที่ประทับใจได้เรียนรู้และเข้าใจวิถีชีวิตชุมชน ได้เห็นความแตกต่างของผู้ป่วยที่ศูนย์สุขภาพชุมชนกับโรงพยาบาลศรีนครินทร์ ซึ่งเป็นโรงพยาบาลใหญ่ (9 ราย)

- การดูแลสุขภาพแบบองค์รวมได้ทราบว่าการดูแลผู้ป่วยที่ดี คือการดูแลทั้งร่างกาย จิตใจ และสังคม ได้เรียนรู้ว่าบางโรคอาจไม่ต้องใช้ยารักษาให้ Psychosocial support ก็เพียงพอ  ทราบถึงความต้องการของผู้ป่วยกับการมาตรวจด้วยสิทธิ 30 บาท (9 ราย)

- ได้เรียนรู้บทบาทหน้าที่ของ PCU ได้เห็นการทำงานจริงของแพทย์ และเจ้าหน้าที่ศูนย์สุขภาพชุมชน ได้เห็นปัญหาหลายด้านของศูนย์สุขภาพชุมชน (4 ราย)

- เรียนรู้พฤติกรรมและสภาพความเป็นจริงในสังคมกับการดูแลตนเอง เช่น ผู้ป่วยเบาหวาน แต่ในบ้านซื้อแต่อาหารรับประทาน  จึงไม่สามารถกำหนดปริมาณเกลือ และน้ำตาลได้ และไม่ทราบว่าเบาหวาน

นักศึกษาจำนวน 18  คน

1. ได้ประสบการณ์เป็นแพทย์ฝึกกับผู้ป่วยจริงเป็นครั้งแรก

- ได้ฝึกซักประวัติ ตรวจร่างกาย วินิจฉัยโรคที่พบบ่อย การสั่งยาโดยมีอาจารย์ช่วย และฝึกการให้คำแนะนำผู้ป่วย (18 ราย)

- ได้ฝึกทักษะการสื่อสารกับผู้ป่วย ฝึกพูดและฟังภาษาท้องถิ่น  ฝึกบุคลิกภาพในการเป็นแพทย์  ฝึกพูดในเวลาที่ควรพูด (12 ราย)

- ฝึกการรักษาแบบองค์รวม ได้เรียนรู้ความต้องการของผู้ป่วย เข้าใจสภาพจิตใจ ความคิด และความต้องการของผู้ป่วย สิ่งแวดล้อม และคนรอบข้างมีอิทธิพลต่อผู้ป่วย

- ได้ความรู้เบื้องต้นในเรื่องแพทย์แผนไทย สมุนไพร และการแพทย์ทางเลือกอื่น

ได้เรียนรู้การแนะนำด้วยแพทย์แผนไทยร่วมกับแผนปัจจุบัน (6 คน)

- ได้เรียนรู้ระบบการทำงานของศูนย์สุขภาพชุมชนสามเหลี่ยม ตั้งแต่ตรวจจนถึงรับยากลับบ้าน ผู้ป่วยที่ PCU มักมีอาการไม่รุนแรง มีระบบการบันทึกสุขภาพทั้งครอบครัว ทำให้ทราบภาวะสุขภาพของผู้ป่วย และสมาชิกทุกคน  เห็นความสำคัญของ PCU ถ้าผู้ป่วยทุกคนเลือกมา screen ก่อนที่ PCU ก็จะลดจำนวนผู้ป่วยที่เป็นอาการไม่หนักจากโรงพยาบาลได้ (18 ราย)

นักศึกษาจำนวน  16 คน

1. ฝึกทักษะการสื่อสารระหว่างแพทย์กับผู้ป่วย (16 คน)

- ได้นำความรู้ที่เรียนมาใช้กับผู้ป่วยจริง  ฝึกการซักประวัติ ตรวจร่างกาย การวินิจฉัย  การให้คำแนะนำแก่ผู้ป่วย ฝึกบุคลิกภาพ และการวางตัวให้เหมาะสม (16 ราย)

- ได้ทราบความคาดหวังของผู้ป่วยที่มีต่อแพทย์ คือ การเอาใจใส่ดูแล การปฏิบัติต่อผู้ป่วยอย่างเสมอภาคให้เกียรติ และไม่รังเกียจผู้ป่วยที่ยากจน  (4 ราย)

- เรียนรู้ปัญหาของผู้ป่วย การให้คำแนะนำและบอกในสิ่งที่ผู้ป่วยอยากรู้จริง ๆ  (4 ราย)

- ฝึกการ approach ผู้ป่วยอย่างครอบคลุม สังเกตสิ่งที่ขาดหายไปจากเพื่อน และอาจารย์ ฝึกการทำงานเป็นทีม (4 ราย)

- ฝึกบันทึกข้อมูลลง OPD  Card  ฝึกเขียนแผนผังครอบครัว เพื่อหาความสัมพันธ์ของโรค/สุขภาพครอบครัว มองเห็นพฤติกรรมที่ส่งผลต่อสุขภาพ ได้ทราบว่าผู้ป่วยส่วนมากเป็นอย่างไร (4 ราย)

- ได้ปรับปรุงตนเองต่อจาก Skill Lab ที่คณะ

 

นักศึกษาจำนวน 16 คน

1. ได้ฝึกทักษะการสื่อสาร การซักประวัติ ตรวจร่างกาย วินิจฉัยโรค การพูดแนะนำ เพื่อให้ความรู้แก่ผู้ป่วย (16 คน)

- ได้นำความรู้ที่เรียนมาเกี่ยวกับทักษะการสื่อสารมาใช้ให้เป็นประโยชน์

- ได้แลกเปลี่ยนทัศนคติ และแนวคิดกับเพื่อนในกลุ่มด้านต่าง ๆ เช่น ความรู้ ทัศนคติ การมองความสำคัญของปัญหา ทำให้เปิดใจกว้างขึ้น

2. ได้เรียนรู้ระบบการทำงานของศูนย์สุขภาพชุมชน (16 คน)

- การทำงานของ PCU เป็นการดูแลทั้งครอบครัวในพื้นที่บริเวณนั้น ทำให้ได้พูดคุยกับผู้ป่วยมากขึ้น มีเวลาในการซักประวัติ ตรวจร่างกายมากกว่ารพ.  ทำให้มองเห็นปัญหาด้านต่างๆ ที่นอกเหนือจากสุขภาพแต่ส่งผลกระทบด้านสังคม อารมณ์ จิตใจของผู้ป่วย

- ที่ PCU ให้บริการรวดเร็ว มีความเป็นกันเองระหว่างเจ้าหน้าที่ และผู้ป่วย ทำให้ลดจำนวนผู้ป่วยที่มารับบริการที่โรงพยาบาลศรีนครินทร์ เห็นถึงประโยชน์ในการดูแลสุขภาพเบื้องต้น

- ได้เห็นข้อดี  ข้อเสีย  ข้อจำกัด ของ PCU

นักศึกษาจำนวน 16 คน

1. ฝึกทักษะการสื่อสารและมนุษยสัมพันธ์ (16 คน)

- เรียนรู้ทักษะการสื่อสารที่เหมาะสมกับผู้ป่วยจริง  ฝึกซักประวัติ  ตรวจร่างกาย การใช้คำพูดให้ผู้ป่วยเข้าใจ (16 ราย)

- ฝึกการคิดวิเคราะห์อาการของผู้ป่วย และการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า (3 ราย)

- ฝึกการให้คำแนะนำผู้ป่วยให้สอดคล้องกับวิถีชีวิตประจำวัน และสามารถปฏิบัติได้จริง (6 ราย)

2. รู้จักระบบการทำงานของ PCU (16 ราย)

- เรียนรู้ระบบการจัดการ PCU และความสำคัญของ PCU เข้าใจชีวิตการทำงานของแพทย์

- เห็นลักษณะของผู้ป่วยที่มา PCU มีความแตกต่างจากโรงพยาบาลศรีนครินทร์ เช่น เป็นโรคธรรมดา อาการไม่หนัก แต่มีความกังวลใจจึงมาตรวจ ผู้ป่วยมีความเป็นกันเองกับแพทย์  ปริมาณผู้ป่วยที่มารับบริการมีน้อย  แพทย์มีเวลามากขึ้น ดูแลผู้ป่วยได้ครอบคลุม

3. การดูแลผู้ป่วยแบบองค์รวม (14 ราย)

- มองเห็นผู้ป่วยในทุก ๆ ด้านทั้งกาย ใจ สังคม และจิตวิญญาณ

 

จำนวนนักศึกษา 15 คน

1. ฝึกทักษะการสื่อสาร และมนุษยสัมพันธ์ (15 คน)

- ได้ฝึกการสร้างสัมพันธภาพที่ดีกับผู้ป่วย ฝึกซักประวัติ และตรวจร่างกาย  ฝึกการเป็นผู้ฟังที่ดีเรียนรู้ที่จะรับฟังปัญหาของผู้ป่วย  เข้าใจจิตใจของผู้ป่วย

- ได้ฝึกการตรวจผู้ป่วยเด็กซึ่งต้องอาศัยการซักประวัติจากผู้ปกครอง ความรู้ความสามารถของแพทย์เป็นสิ่งสำคัญในการตรวจรักษาผู้ป่วย ควรพัฒนาความรู้อย่างต่อเนื่อง และควรจะรู้เรื่องอื่น ๆ ด้วย

2. ได้เรียนรู้บทบาทหน้าที่ของ PCU ได้เห็นการทำงานเป็นทีม  ได้ฝึกทักษะการออก OPD จริง ๆ  ได้เห็นการให้บริการของ PCU ซึ่งแตกต่างจากโรงพยาบาลศรีนครินทร์  แพทย์ที่ PCU จะมีความใกล้ชิดกับผู้ป่วยมากกว่า PCU ปรียบเสมือนด่านแรกในการดูแลสุขภาพของคนในชุมชน

- ได้ฟังปัญหาชีวิต ความเป็นอยู่และความสัมพันธ์กับบุคคลอื่นในชุมชน ได้อภิปรายสรุปปัญหา และหาทางแก้ไข  ได้เรียนรู้วิธีส่งต่อผู้ป่วยไปที่โรงพยาบาลขนาดใหญ่

 

ตารางที่ 2  (ต่อ)  ที่นักศึกษาแพทย์ชั้นปีที่ 4 ได้รับจากการฝึกปฏิบัติงานที่ศูนย์สุขภาพชุมชนสามเหลี่ยม

 

กลุ่ม 1

กลุ่ม 2 (3)

กลุ่ม 3 (4)

กลุ่ม 4 (5)

กลุ่ม 5 (6)

กลุ่ม 6 (7)

กลุ่ม 7 (8)

- ได้เห็นว่าโรคบางโรคสามารถรักษาร่วมกันระหว่างแพทย์แผนปัจจุบันกับการแพทย์ทางเลือก ได้ความรู้เกี่ยวกับแพทย์แผนไทย สมุนไพร และการทำสมาธิ ได้รู้ว่าการรักษาไม่ใช่มีเพียงให้กินยาเท่านั้น (5 ราย)

- เรียนรู้ธรรมชาติของโรค การจัดการเบื้องต้น นอกจากจะรักษาอาการเฉพาะหน้าแล้ว ยังต้องให้คำแนะนำเพื่อไม่ให้เกิดขึ้นอีก

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ความดันโลหิตสูงคืออะไร (2 ราย)

- ได้เรียนรู้ว่าการที่ผู้ป่วยจะตัดสินใจไปพบแพทย์นั้นมีหลายปัจจัย ทั้งด้านการเงิน ความเชื่อ และเพื่อนบ้าน และได้เรียนรู้ว่าโรคบางโรคแค่สัมผัสผู้ป่วย พูดจาไพเราะ รับฟังปัญหาของผู้ป่วย ก็สามารถทำให้ผู้ป่วยหาย หรือสบายใจมีกำลังใจที่จะควบคุมโรค และต่อสู้กับโรค

(1 ราย)

 

2. ฝึกการดูแลผู้ป่วยแบบองค์รวม (9 ราย)

- ต้องแก้ปัญหาด้านอื่น ๆ ด้วย ไม่ใช่แค่ด้านกาย ต้องดูถึงความกังวลในครอบครัว สังคม การเงิน อาชีพ สิ่งแวดล้อม ลักษณะการดำเนินชีวิตอาจมีผลต่อโรคที่ผู้ป่วยเป็น

- ได้เรียนรู้ชีวิตความเป็นอยู่ การทำงาน ส่งผลต่อสุขภาพของคนในชุมชน หรือไม่

- ได้รู้ว่าโรคที่พบบ่อยในชุมชนมีอะไรบ้าง ได้ฝึก approach ผู้ป่วยเบาหวาน

3. เรียนรู้ระบบให้บริการของ PCU (6 ราย)

- ศูนย์สุขภาพชุมชนช่วยลดจำนวนผู้ป่วยในโรงพยาบาลได้มาก

- ได้เห็นบทบาทของแพทย์ในชุมชนมากขึ้น

 

3. ได้ดูแลผู้ป่วยแบบองค์รวม ทั้งกาย จิต สังคม และจิตวิญญาณ (16 คน)

- เห็นประโยชน์ของการดูแลผู้ป่วยแบบองค์รวม  การออกไปเยี่ยมผู้ป่วยที่บ้านได้เข้าใจปัญหาของผู้ป่วยและรู้ถึงวิธีเข้าถึงผู้ป่วย

4. การใช้การแพทย์ทางเลือกอื่น ๆ

- อาจใช้การแพทย์ทางเลือก เช่น  การนวดแผนไทย หรือเกี่ยวกับศาสนามาใช้ในการรักษาผู้ป่วยด้วย  รักษาทั้งทางกายและใจ

- ได้เข้าใจเหตุผลด้านต่าง ๆ ในตัวผู้ป่วยที่เป็นอุปสรรคต่อการรักษา สามารถหาแนวทางการรักษาร่วมกับผู้ป่วยได้

- ผู้ป่วยมาพบแพทย์ด้วยปัญหาอื่น ๆ มากกว่าสุขภาพกายก็มี ได้รู้ปัจจัยที่มีผลต่อการมารักษาของผู้ป่วย  ได้ฝึกคิดวิเคราะห์ปัญหาของผู้ป่วยรอบด้าน  ฝึกการบริหารเวลาและยา

4. การแพทย์ทางเลือก (4 ราย)

- การให้การรักษาผู้ป่วยไม่ใช่เฉพาะการให้ยาเท่านั้น  ควรให้คำแนะนำการปฏิบัติตัวที่ถูกต้องด้วย

- ได้เรียนรู้การทำสมาธิและการแพทย์ทางเลือกเพื่อผ่อนคลาย และเพิ่มกำลังใจให้ผู้ป่วย

และได้เห็นว่ามีปัญหาอะไรบ้างระหว่างส่งต่อ

3. ฝึกการดูแลผู้ป่วยแบบองค์รวม ทั้งกาย ใจ สังคมและจิตวิญญาณ (15 คน)

- ตระหนักถึงความสำคัญของการดูแลผู้ป่วยแบบองค์รวมเห็นตัวอย่างการให้คำแนะนำรักษาผู้ป่วยแบบองค์รวม  นอกจากจะรักษาโรคที่ผู้ป่วยกำลังเป็นแล้ว ยังช่วยป้องกันภาวะแทรกซ้อนอื่น หรือป้องกันโรคอื่น และช่วยส่งเสริมให้ผู้ป่วยมีสุขภาพดีในทุก ๆ ด้าน

- ได้ทราบวิถีการดำเนินชีวิตของผู้ป่วยและประยุกต์การให้คำแนะนำให้สอดคล้องกับวิถีชีวิตผู้ป่วย

4. การรักษาอื่น ๆ นอกจากการใช้ยา ก็สามารถช่วยให้ผู้ป่วยบรรเทาอาการได้ เช่น ปวดศีรษะ เนื่องจากความเครียด

 

วิจารณ์

            การฝึกทักษะการสื่อสารและมนุษยสัมพันธ์สำหรับนักศึกษาแพทย์ชั้นปีที่ 4 นี้เพิ่งมีการทดลองฝึกกับผู้ป่วยจำลองก่อนที่จะพานักศึกษาไปฝึกปฏิบัติกับผู้ป่วยจริง  โดยมีการโน้มน้าวให้เห็นถึงความสำคัญของการสื่อสาร ขั้นตอนของการสื่อสารและสร้างมนุษยสัมพันธ์1-9  การฝึกปฏิบัติโดยแสดงบทบาทของแพทย์ในการซักประวัติ  ตรวจร่างกาย  วินิจฉัยโรค  การให้การรักษา  แนะนำผู้ป่วยแบบองค์รวม2-9  มีการให้เพื่อนนักศึกษาทำหน้าที่เป็นผู้สังเกตการณ์  ภายหลังแสดงบทบาทของแพทย์เสร็จ  จะให้นักศึกษาวิพากษ์วิจารณ์ข้อผิดพลาดของตนเอง  และแนวทางแก้ไข หลังจากนั้นเพื่อนผู้ทำหน้าที่เป็นผู้สังเกตการณ์ 2-3 คน  ผู้ป่วย และอาจารย์ผู้ควบคุมดูแลจะช่วยวิจารณ์ และเสนอแนะแนวทางแก้ไขแบบสร้างสรรค์นับว่าเป็นสิ่งที่ดี  นอกจากจะฝึกนักศึกษาให้รู้จักพูด คิด พิจารณาในการสื่อสารที่เหมาะสมแล้ว  ยังฝึกให้นักศึกษารู้จักฟังคำวิพากษ์วิจารณ์ของผู้อื่นเพื่อนำมาปรับปรุงแก้ไขตนเองก่อนที่จะไปฝึกปฏิบัติกับผู้ป่วยจริง และภายหลังการฝึกปฏิบัตินักศึกษาทุกกลุ่มได้เขียนสิ่งที่ได้รับจากการฝึกปฏิบัติที่ห้องฝึกทักษะการเรียนรู้  สำหรับการฝึกที่ศูนย์สุขภาพชุมชนสามเหลี่ยม  ข้อมูลขาดหายไป 1 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ 2 แต่ข้อมูลที่ได้รับส่วนใหญ่ก็สามารถทำให้เห็นภาพรวมทั้งหมด

สรุป

          สิ่งที่นักศึกษาแพทย์ชั้นปีที่ 4  ได้รับจากการฝึกทักษะ การสื่อสาร และมนุษยสัมพันธ์ที่ห้องฝึกทักษะการเรียนรู้ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น คือ ได้ฝึกทักษะการสื่อสารกับผู้ป่วยจำลอง  ฝึกการสร้างความคุ้นเคยกับผู้ป่วย  การซักประวัติ  ตรวจร่างกาย  การวินิจฉัยเบื้องต้น การให้การดูแลรักษา  ตลอดจนการให้คำแนะนำกับผู้ป่วยแบบองค์รวม  สำหรับการฝึกปฏิบัติงานที่ศูนย์สุขภาพชุมชนสามเหลี่ยมนั้น  นักศึกษาได้นำความรู้และทักษะการสื่อสาร  และมนุษยสัมพันธ์ที่ฝึกปฏิบัติกับผู้ป่วยจำลองมาใช้กับผู้ป่วยจริงที่มารับบริการที่ศูนย์สุขภาพชุมชน  โดยการควบคุมดูแลของคณาจารย์ภาควิชาเวชศาสตร์ชุมชน

กิตติกรรมประกาศ

          ขอขอบคุณเจ้าหน้าที่ห้องปฏิบัติการฝึกทักษะที่อำนวยความสะดวกในการเตรียมอุปกรณ์  ติดต่อผู้ป่วยจำลอง  เจ้าหน้าที่ศูนย์สุขภาพชุมชนสามเหลี่ยม และผู้ป่วยทุกท่านที่ให้ความร่วมมือ  ขอบคุณนักศึกษา และผู้ร่วมงานทุกท่านที่ช่วยให้ข้อมูล

เอกสารอ้างอิง

1. อมรรัตน์   รัตนสิริ  การสื่อสารและเวชศาสตร์สังคมเบื้องต้น.  ภาควิชาเวชศาสตร์ชุมชน  คณะแพทยศาสตร์  มหาวิทยาลัยขอนแก่น 2534.

2.  ปัตพงษ์   เกษสมบูรณ์  วิธีการทางคลินิกแบบยึดผู้ป่วยเป็นศูนย์กลาง.  ภาควิชาเวชศาสตร์ชุมชน คณะแพทยศาสตร์  มหาวิทยาลัยขอนแก่น 2542.

3.  Cassell  EJ.  Doctoring : the nature of primary care medicine, a copublication with the  Milbank Memorial Fund, New York Oxford : Oxford University Press; 1997: 1-206.

4.  Platt  FW,  Gordon G H. The efficient Interview, field guide to the difficult  patient interview, 2nd ed., New York : A Wolters Kluwer Company, 2004 : 3-48.

5.  McWhinney IR. Doctor – patient communication, A Textbook of Family Medicine, 2nd ed. New York : Oxford University Press, 1997 : 104-28.

6.  Salinsky J,  Sackin P. What are you feeling, Doctor?  London : Radcliffe Medical Press, 2000 : 1-174.

7.  Stewart M,  Brown JB, Weston WW,  McWhinney IR,  McWilliam CL.  Freeman TR.  Patient – centered medicine, transforming the clinical method. 2nd ed.,London : Radcliffe Medical Press, 2003 : 1-360.

8.  Tate P. The Doctor’s communication handbook, 4th  ed. London : Radcliffe Medical Press, 2004 : 1-198.

9.  McDaniel SH,  Compbell TL,  Seaburn DB,  Family-oriented primary care A  manual for medical providers. New York : Springer – Verlag, 1990 : 1-387.

Untitled Document
Article Location

Untitled Document
Article Option
       Abstract
       Fulltext
       PDF File
Untitled Document
 
ทำหน้าที่ ดึง Collection ที่เกี่ยวข้อง แสดง บทความ ตามที่ีมีใน collection ที่มีใน list Untitled Document
Another articles
in this topic collection

<More>
Untitled Document
 
This article is under
this collection.

 
 
 
Srinagarind Medical Journal,Faculty of Medicine, Khon Kaen University. Copy Right © All Rights Reserved.
 
 
 
 

 


Warning: Unknown: Your script possibly relies on a session side-effect which existed until PHP 4.2.3. Please be advised that the session extension does not consider global variables as a source of data, unless register_globals is enabled. You can disable this functionality and this warning by setting session.bug_compat_42 or session.bug_compat_warn to off, respectively in Unknown on line 0