Untitled Document
 
 
 
 
Untitled Document
Home
Current issue
Past issues
Topic collections
Search
e-journal Editor page

Sonographic Detection of Stomach Lesion Comparison with Upper GI Study

การวินิจฉัยความผิดปกติของกระเพาะอาหารด้วย Ultrasound เปรียบเทียบกับ Upper GI study

Somporn Yuanpun (สมพร ยวนพันธ์) 1




หลักการและเหตุผล :         ปัจจุบันมีรายงานการตรวจ ultrasound สามารถประเมินความหนาของกระเพาะอาหารได้ ซึ่งความหนาที่เพิ่มขึ้นพบได้จาก neoplasia, gastritis หรือ ulcers ผู้ป่วยที่มารับการรักษาที่โรงพยาบาลศรีสะเกษด้วยอาการผิดปกติทางช่องท้องส่วนใหญ่ได้ส่งมารับการตรวจ Ultrasound ช่องท้องก่อนการตรวจอื่นๆ 

วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาความสามารถในการวินิจฉัยความผิดปกติของกระเพาะอาหารด้วยการตรวจ ultrasound โดยใช้เปรียบเทียบ upper GI study เป็นวิธีมาตรฐาน

ผู้ป่วยและวิธีศึกษา : เป็นการศึกษาผู้ป่วยจำนวน 30 ราย ที่ส่งมารับการตรวจ ultrasound และ upper GI study ที่กลุ่มงานรังสีวิทยา โรงพยาบาลศรีสะเกษ ระหว่างวันที่ 1 มกราคม 2550 ถึง 4 มีนาคม 2551 ผู้ป่วยทุกรายได้รับการตรวจอัลตร้าซาวด์วัดความหนาของกระเพาะอาหาร เปรียบเทียบกับผลการรายงานผลการตรวจ upper GI study

ผลการศึกษา :  ผลการตรวจ upper GI study พบเป็น gastritis 3 ราย small antral ulcer 1 ราย และไม่มีความผิดปกติของกระเพาะอาหาร 26 ราย ในขณะที่ ultrasound วินิจฉัยว่ามีความผิดปกติของกระเพาะอาหาร 6 ราย  ปกติ 24 ราย วินิจฉัยผิดพลาด 4 ราย  การตรวจอัลตร้าซาวด์กระเพาะอาหารที่พบมีความหนาตั้งแต่ 6 มม. ขึ้นไปมีความผิดปกติสัมพันธ์กับ upper GI study โดยมี sensitivity ร้อยละ 75 specificity ร้อยละ 88 positive predictive value ร้อยละ 50, negative predictive value ร้อยละ 95 และ accuracy ร้อยละ 86

สรุป : การตรวจ ultrasound เป็นวิธีการตรวจหนึ่งที่ช่วยในการวินิจฉัยความหนาที่ผิดปกติของกระเพาะอาหารเบื้องต้นเพื่อพิจารณาการส่งวินิจฉัยที่เหมาะสมต่อไป

Background : It has recently reported that dedicated transabdominal ultrasound can assess stomach wall thickness which may be increased in neoplasia, gastritis or ulcers. In Sisaket Hospital, ultrasound is usually used as the first imaging modality in a large variety of abdominal complaints.

Objective : To assess the ability of abdominal sonogram to reveals stomach lesion in comparison with  upper GI study as a gold standard.

Materials and Methods :  The study group was consisted of 30 patients evaluated by both abdominal ultrasonography and upper GI study in Sisaket Hospital during January 1, 2007 to March 4, 2008. The sonographic images were study for thickness of stomach wall. Upper GI study reports were compared with the ultrasound results. Wall thickness findings on sonography were significantly associated with the abnormal findings on upper GI study. 

Results: The retrospective review of upper GI study reports revealed 3 gastritis, one gastric antral ulcer, and 26 normal stomach finding. The sonography of stomach revealed 24 examinations with normal wall thickness, 6 increased wall thickness and failed to diagnosis stomach lesion 4 examinations. The stomach wall thickening 6 mm. or greater at sonographic imaging had 75% sensitivity, 88% specificity, 50% positive predictive value, 95% negative predictive value and 86% accuracy in diagnosis of stomach lesions, comparison with upper GI study.      

Conclusion : Stomach ultrasonography is a supportive diagnostic modality.  The ultrasound finding of wall thickening is non specific, which cannot be diagnosis with ultrasound alone.

Key words : Stomach wall thickness, abdominal ultrasound

 

 

บทนำ

           ปัจจุบันเครื่องตรวจ ultrasound มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น มีรายงานว่าสามารถประเมินความหนาที่เพิ่มขึ้นของกระเพาะอาหาร ที่พบได้ใน gastritis, ulcers หรือ neoplasia1,2  นอกจากนี้ high resolution ultrasound ยังสามารถแยกชั้นต่างๆ ของกระเพาะอาหาร เช่น mucosa, submucosa, muscularis propria และ serosa ช่วยในการวินิจฉัยได้ดียิ่งขึ้น  

          การตรวจอัลตร้าซาวด์เป็นการตรวจที่ทำได้ง่าย ราคาถูกและไม่มีอันตรายหรือภาวะแทรกซ้อน จึงเป็นการตรวจที่แพทย์ส่วนใหญ่เลือกใช้เป็นวิธีตรวจลำดับแรกในผู้ป่วยที่มีอาการผิดปกติหรือตรวจพบความผิดปกติในช่องท้อง ซึ่งมีผู้ป่วยส่งมารับการตรวจ  ultrasound ที่กลุ่มงานรังสีวิทยาโรงพยาบาลศรีสะเกษจำนวน 3,843 รายในปี พ.ศ. 2549 และ 3,282 ราย ในปี พ.ศ. 2550 ในจำนวนนี้มีผู้ป่วยกลุ่มหนึ่งที่ถูกส่งตรวจทั้ง ultrasound และ upper GI study การศึกษาเปรียบเทียบความสามารถในการวินิจฉัยโรคของการตรวจสองอย่างนี้น่าจะมีประโยชน์ต่อรังสีแพทย์ในการช่วยวินิจฉัยโรคหรือช่วยให้แพทย์ผู้ดูแลผู้ป่วยใช้ในการพิจารณาเลือกส่งตรวจเพื่อให้วางแผนการรักษาได้รวดเร็วและลดการตรวจซ้ำซ้อน

วัตถุประสงค์

          เพื่อศึกษาความสามารถในการวินิจฉัยความผิดปกติของกระเพาะอาหารด้วยการตรวจ ultrasound โดยใช้ upper GI study เป็น gold standard

วิธีการศึกษา

          ทำการศึกษาผู้ป่วยจำนวน 30 รายที่มารับการตรวจวินิจฉัยด้วย ultrasound และ upper GI study ที่กลุ่มงานรังสีวิทยาโรงพยาบาลศรีสะเกษในระหว่างวันที่ 1 มกราคม 2550- 4 มีนาคม 2551 ผู้ป่วยทุกรายได้รับการตรวจ ultrasound ช่องท้องและวัดความหนาของ stomach wall  เพิ่มเติมจากการตรวจ ultrasound ปกติและนำมาเปรียบเทียบย้อนหลังกับรายงานผลตรวจ upper GI study.

ขั้นตอนการศึกษาผู้ป่วยต้องได้รับการงดน้ำงดอาหารอย่างน้อย 8  ชั่วโมงก่อนการตรวจการตรวจอัลตร้าซาวด์ การวัดความหนาของ stomach wall ด้วยวิธี transabdominal ultrasound ใช้ transducer ความถี่ 4-9 MHz ตามความเหมาะสม เริ่มตรวจในท่านอนหงาย ตำแหน่ง sub xyphoid เพื่อดู stomach body และ antrum และ นอนเอียงซ้ายดู subcostal ซ้ายพื่อดูความผิดปกติของ stomach fundus การ scan ตรวจในแนว longitudinal และ transverse วัดความหนาของ stomach wall จากขอบนอกชั้น muscle ( hypoechoic line) ถึงขอบในชั้น mucosa (hyperechoic line) criteria สำหรับความหนาปกติของกระเพาะอาหารคือ น้อยกว่า 6 มม.3,8,9  

การรายงานผลการการตรวจ upper GI study รายงานโดยรังสีแพทย์ที่ ไม่ทราบผลการตรวจอัลตร้าวซาวด์ และนำผลเปรียบเทียบย้อนหลังโดยเปรียบเทียบการรายงานผลในเฉพาะส่วนของกระเพาะอาหารไม่รวมส่วนอื่นที่สามารถตรวจได้ใน upper GI study

 

 

ผลการศึกษา

          ผู้ป่วยที่ทำการศึกษาทั้งหมด 30 ราย เป็นชาย 10 ราย เป็นหญิง 20 ราย อายุตั้งแต่ 13 ถึง 93 ปี (mean ±S.D.= 57.13±17.3 )  และ clinical diagnosis (ตารางที่ 1) ระยะห่างของเวลาระหว่างการตรวจ ultrasound และ upper GI study มีค่าเฉลี่ยที่ 6 วัน  ในกลุ่มผู้ป่วยที่มีความผิดปกติของ ultrasound stomach มีระยะเวลาห่างเฉลี่ยจากการตรวจ upper GI study 4 วัน ( 0- 23วัน )  และในกลุ่มที่ ultrasound ปกติมีระยะเวลาห่างเฉลี่ย 7 วัน ( 0-  57 วัน )  ผู้ป่วยได้รับการตรวจ ultrasound ก่อน upper GI study จำนวน 2 ราย ตรวจหลัง upper GI study จำนวน 5 ราย และตรวจทั้งสองอย่างในวันเดียวกันจำนวน 23 ราย

          การศึกษารายงานผลการตรวจ upper GI study ผู้ป่วยทั้ง 30 รายพบว่าเป็น small antral ulcer 1 ราย gastritis 3 ราย และผล negative 26 ราย  การตรวจ ultrasound พบมีความหนาของกระเพาะอาหารมากกว่าปกติ 6 ราย และปกติ 24 ราย  (ตารางที่ 2 )

 

ตารางที่ 1  ข้อมูลทั่วไปของผู้ป่วยที่ศึกษา

ข้อมูล

ผลการศึกษา

อายุ (ปี)

ค่าเฉลี่ย

 

57.13

เพศ ( ราย/ร้อยละ )

ชาย

หญิง

 

10 / 33.33

20 / 66.67

น้ำหนัก (กก.)

ค่าเฉลี่ย

 

52.22

Clinical diagnosis (ราย/ร้อยละ)

-Dyspepsia

-Upper GI bleeding

-Diarrhea

-Anemia

-Carcinoma of liver                     

 

20 / 66.67

4 / 13.33

3 / 10

2 / 6.67

1 / 3.33


 

ตารางที่ 2  เปรียบเทียบผลการตรวจ ultrasound และ upper GI study reports

 

Ultrasound of stomach wall thickness

Stomach sonography versus Retrospective Upper GI study

Upper GI study reports

 

total

gastritis

Gastric ulcer

negative

≥6 mm. ( positive )

3

-

3

6

< 6 mm. ( negative )

-

1

23

24

Total

3

1

26

30

          การตรวจ ultrasound ไม่สามารถวินิจฉัย stomach lesion ได้ 4 ราย โดยมี 3 รายที่ ultrasound วินิจฉัยว่าผิดปกติแต่ upper GI reports ปกติ และมี 1 รายที่ upper GI study รายงานเป็น small antral ulcer แต่ ultrasound ไม่มีความผิดปกติ  (ตารางที่ 2) การใช้ ultrasound วัดความหนาของกระเพาะอาหาร พบว่าความหนา  6 มม. หรือมากกว่าสัมพันธ์กับ พบความผิดปกติใน  upper GI study มี sensitivity ร้อยละ 75 specificity ร้อยละ 88, positive predictive valueร้อยละ 50  negative predictive value ร้อยละ 95 และ accuracy sensitivity ร้อยละ 86

          เมื่อศึกษาเฉพาะที่ upper GI study วินิจฉัยว่าเป็น gastritis พบว่าการตรวจ ultrasound สามารถวินิจฉัย gastritis ได้โดยมี sensitivity ร้อยละ 100   specificity ร้อยละ 88 accuracyร้อยละ 90  positive predictive value ร้อยละ 50 และ negative predictive value  ร้อยละ 100  

 

รูปที่ 1  Upper GI study ของผู้ป่วย A พบมี thickening stomach antrum ( ลูกศร )ได้รับการวินิจฉัยเป็น antral gastritis

รูปที่ 2   Ultrasound of ของผู้ป่วย A พบมี thickening stomach wall (ลูกศร) ในตำแหน่ง antrum ตรงกับ upper GI study ในรูปที่ 1 วัดความหนาได้ 6.5 มม.

รูปที่ 3 Upper GI study ของผู้ป่วย B พบมี thickening stomach folds ( ลูกศร )ได้รับการวินิจฉัยเป็น gastritis

รูปที่ 4   Ultrasound ของผู้ป่วย B พบมี thickening stomach wall (ลูกศร) วัดความหนาได้ 6.2 มม.

 

วิจารณ์

          Ultrasound ได้มีรายงานในการนำมาใช้ตรวจหาความผิดปกติ ของ bowel wall เนื่องจากทำได้ง่ายเป็นเครื่องมือที่มีใช้ทั่วไปและไม่มี radiation dose สามารถตรวจซ้ำได้หลายๆครั้ง การตรวจ ultrasound ของกระเพาะอาหารจะทำได้ยากหากไม่มีการเตรียมตัวผู้ป่วยก่อนการตรวจเนื่องจาก gas ในกระเพาะอาหารจะทำให้เกิด artifacts ในภาพ ultrasound การงดน้ำ งดอาหาร 8-12 ชั่วโมง ก่อนการตรวจจึงเป็นเรื่องสำคัญ มีรายงานวิธีการที่ช่วยเพิ่มความสามารถในการตรวจ ultrasound 1,4  โดยวิธี fluid filled stomach คือการให้ผู้ป่วยดื่มน้ำ 500-1,000 มล. ก่อนการตรวจพร้อมกับ ให้ Hyoscine N/butyl bromide (Buscopan ) 20 มก. ฉีดเข้าหลอดเลือดดำ เพื่อให้กระเพาะอาหาร ขยายและลด peristalsis ซึ่งแตกต่างจากการวิจัยนี้ที่การเตรียมตัวผู้ป่วยก่อนการตรวจลดเหลือเพียงงดน้ำงดอาหาร 8- 12 ชั่วโมงก่อนการตรวจเพื่อให้สะดวกขึ้นสามารถทำการตรวจได้พร้อมกับการตรวจ ultrasound abdomen ส่วนอื่นแต่จะมีข้อเสียคือไม่สามารถเห็น stomach wall ครบทุกส่วนโดยเฉพาะส่วน fundus เนื่องจากเป็นตำแหน่งที่มี gas artifactsมากและถูกปิดบังโดย left ribs 5,6  ในขณะที่การตรวจ upper GI study โดย วิธี double contrast study ให้ผู้ป่วยกลืน barium และ gas แล้วทำการตรวจหา lesion ด้วยเครื่องเอกซเรย์ fluoroscophy ขั้นตอนการตรวจยุ่งยากใช้เวลานานและต้องการความร่วมมือของผู้ป่วยในการตรวจมากกว่าการตรวจ ultrasound อีกทั้งผู้ป่วยต้องโดนรังสีซึ่งต้องคอยระวังในหญิงวัยเจริญพันธุ์และเด็ก แต่การตรวจ upper GI study  จะเห็นรายละเอียดได้ต่อเนื่องตั้งแต่ esophagus จนถึง proximal small bowel

          การตรวจ ultrasound ของ stomach ในการศึกษานี้ไม่สามารถวินิจฉัยผู้ป่วยที่เป็น gastric ulcer 1 รายได้เนื่องจาก lesion มีขนาดเล็กมาก ใน gastric ulcers การตรวจ ultrasound จะเห็นเป็น focal thickening wall ถ้า lesion เล็กอาจไม่สามารถมองเห็นได้ดังนั้นจึงไม่ใช้ ultrasound เป็น routine ในการตรวจหา ulcers แต่ใน gastric neoplasia ( leiomyomas, adenocarcinoma, lymphosarcoma, and leiomyosarcoma ) ultrasound สามารถช่วยในการวินิจฉัยได้ ซึ่งพบมี focal thickening ของ stomach ตั้งแต่ 10 -32.4 มม. 1  ที่น่าสนใจคือในการวินิจฉัย Gastritis ด้วย ultrasound จากการศึกษานี้มี sensitivity ร้อยละ 100 specificityร้อยละ 88 accuracy ร้อยละ 90     positive predictive value ร้อยละ 50 และ negative predictive value ร้อยละ 100 ลักษณะความผิดปกติที่พบ คือ stomach wall thickening โดยพบความหนาตั้งแต่ 6.1-7.2 มม. ซึ่งต่างจาก malignancy คือหนาน้อยกว่ามีขอบเรียบไม่ขรุขระ แต่มีรายงานว่าใน Helicobacter pylori gastritis 7 มีความหนาของ stomach lesion 1.5-2 ซม. แยกได้ยากจาก carcinoma 

 

          นอกจากการใช้ ultrasound ในการตรวจ stomach wall แล้วยังมีรายงานการใช้ multidetector CT ในการวัดความหนาของ gastric antrum 9  ซึ่งพบผลการวัดความหนาในผู้ป่วยที่ตรวจ multidetector CT จำนวน 153 รายเปรียบเทียบกับ cadaveric stomach มีค่าความหนาไม่แตกต่างจากการตรวจ ultrasound คือ 5.1 ± 1.6 มม. ( mean ± SD ) และค่าความหนาสูงสุดวัดได้ถึง 12 มม.

          การตรวจ ultrasound ของ stomach ช่วยในการวินิจฉัยความหนาที่ผิดปกติของกระเพาะอาหารได้แต่ยังไม่สามารถแยกชัดเจนว่าความหนาที่ผิดปกติเกิดจากสาเหตุใดแต่เป็นเพียงแนวทางเบื้องต้นให้ต้องตรวจวินิจฉัยต่อไป ในการศึกษานี้กลุ่มประชากรค่อนข้างน้อยจำเป็นทำการศึกษาต่อไปเพื่อหา sonographic characteristics ของโรคต่างๆที่ทำให้เพิ่มความหนาของกระเพาะอาหาร ที่สามารถวินิจฉัยได้ อย่างไรก็ตามการศึกษานี้คาดว่าจะเป็นประโยชน์ต่อรังสีแพทย์ และแพทย์ทั่วไปในการช่วยวินิจฉัยโรคของกระเพาะอาหารที่สามารถทำได้ง่ายด้วยเครื่องอัลตร้าซาวด์ที่มีอยู่แล้วในโรงพยาบาลทั่วไปหรือโรงพยาบาลชุมชนและวิธีการเตรียมผู้ป่วยไม่ยุ่งยากไม่แตกต่างจากการตรวจอัลตร้าซาวด์ปกติ

กิตติกรรมประกาศ

         ขอขอบพระคุณ นายแพทย์ชาย  ธีระสุต ผู้อำนวยการโรงพยาบาลศรีสะเกษ แพทย์หญิงทัศนีย์ สันธนาคร แพทย์หญิงอัญชลี  พิพัฒน์เยาว์กุล คุณวิไลวรรณ  เสาว์ทอง เจ้าหน้าที่กลุ่มงานรังสีวิทยาโรงพยาบาลศรีสะเกษและผู้ป่วยในโครงการศึกษาวิจัยทุกท่าน 

 

เอกสารอ้างอิง

  1. Singh S, Chowdhury V. Efficacy of high resolution transabdominal sonography of the fluid filled stomach in the evaluation of gastric carcinoma. Indian J Radiol Imaging 2005; 15:421-6.
  2. Esposito F, Lombardi R, Grasso AC, Dolezalova H, Sodano A, Tarntino L, et al. Transabdominal sonography of the normal gastroesophageal junction in children. J Clin Ultrasound 2001; 29:326-31.
  3. Desai RK, Tagliabue JR, Wegryn SA, Einstein DM. CT evaluation of wall thickening in the alimentary tract. Radiographics 1991;11:771-83.
  4. Yeh HC, Rabinowitz JG. Ultrasonography and computed tomography of gastric wall lesion. Radiology 1981;141:147-55.
  5.  Worlicek H, Dunz D, Engelhard K. Ultrasonic examination of the wall of the fluid filled stomach. J Clin Ultrasound 1989;17:5-41.
  6. Komaiko MS. Gastric neoplasm : ultrasound and CT evaluation. Gastrointest Radiol 1979;4:131-7.
  7. Urban BA, Fishman EK, Hruban RH. Helicobacter pylori gastritis mimicking gastric carcinoma at CT evaluation. Radiology 1991;179:689-91.
  8. Walls WJ. The evaluation of malignant gastric neoplasms by ultrasonicB scanning. Radiology 1976;118:159-63.
  9. Pickardt PJ, Asher DB. Wall Thickening of the gastric antrum as a normal finding : multidetector CT with cadaveric comparison. AJR 2003;181:973-9.  

 

Untitled Document
Article Location

Untitled Document
Article Option
       Abstract
       Fulltext
       PDF File
Untitled Document
 
ทำหน้าที่ ดึง Collection ที่เกี่ยวข้อง แสดง บทความ ตามที่ีมีใน collection ที่มีใน list Untitled Document
Another articles
in this topic collection

Fear Level in Preschoolers Undergoing Computed Tomography: Affect of Psychological Preparation by Story vs. Normal Preparation (การศึกษาเปรียบเทียบความกลัวการตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ของเด็กวัยก่อนเรียนระหว่างกลุ่มที่ได้รับการเตรียมจิตใจด้วยการเล่านิทานกับกลุ่มที่ได้รับการเตรียมตามปกติ)
 
Risk Factors Associated With Allergic To Non – Ionic Contrast Media In Patients Undergoing Chest Or Abdominal Computed Tomography (ปัจจัยเสี่ยงต่อการแพ้สารทึบรังสีชนิดไม่แตกตัวในผู้ป่วยที่ได้รับการตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ทรวงอกและช่องท้อง)
 
Diagnostic Reliability of the Singh Index : Femoral Neck Osteoporosis (ความน่าเชื่อถือของ Sign index ในการวินิจฉัยโรคกระดูกำพรุนของคอกระดูกต้นขา)
 
Clinical Manifestations and Angiographic Ceatures in Carotid – Cavernous sinus Fistula (ลักษณะทางคลินิกและลักษณะทางรังสีวิทยาในผู้ป่วย Carotid – Cavernous sinus Fistula)
 
<More>
Untitled Document
 
This article is under
this collection.

Radiology
 
 
 
 
Srinagarind Medical Journal,Faculty of Medicine, Khon Kaen University. Copy Right © All Rights Reserved.
 
 
 
 

 


Warning: Unknown: Your script possibly relies on a session side-effect which existed until PHP 4.2.3. Please be advised that the session extension does not consider global variables as a source of data, unless register_globals is enabled. You can disable this functionality and this warning by setting session.bug_compat_42 or session.bug_compat_warn to off, respectively in Unknown on line 0