Untitled Document
 
 
 
 
Untitled Document
Home
Current issue
Past issues
Topic collections
Search
e-journal Editor page

Mammographic Technique from Mammography

เทคนิคการตรวจเต้านมโดยแมมโมกราฟฟี่

Prachumporn Pewluang (ประชุมพร ผิวเหลือง) 1, Eimorn Mairiang (เอมอร ไม้เรียง) 2, Pattaraporn Dornsrijun (ภัทรพร ดรศรีจันทร์) 3




เทคนิคการตรวจเต้านมโดยแมมโมกราฟฟี่

ประชุมพร ผิวเหลือง,   เอมอร ไม้เรียง,   ภัทรพร  ดรศรีจันทร์

ภาควิชารังสีวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น อ.เมือง  จ.ขอนแก่น 40002

 

Mammographic Technique from Mammography  

Prachumporn Pewluang, Eimorn  Mairiang, Pattaraporn  Dornsrijun,

Department of Radiology, Faculty of Medicine,  Khon Kaen University, Khon Kaen, Thailand. 40002

 

หลักการและเหตุผล: เครื่องเอกซเรย์แมมโมกราฟฟี่เป็นเครื่องมือที่ดีที่สุดในการตรวจดูมะเร็งเต้านมระยะต้น สำหรับผู้หญิงที่ไม่พบอาการผิดปกติภายในเต้านม  เทคนิคการตรวจเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ได้ภาพที่มีคุณภาพซึ่งประกอบด้วยค่าพารามิเตอร์ต่างๆ เช่น ค่าศักย์ไฟฟ้า (kilovoltage : kV) ปริมาณกระแสและเวลา (milliampere second : mAs)  ความหนาของเต้านม (thickness)  ระดับแรงกด (compression force) และชนิดเนื้อเยื่อเต้านม (breast density categories) ที่มีความสัมพันธ์กัน และปริมาณรังสีที่ผู้ป่วยได้รับเหมาะสมภายใต้การควบคุมขบวนการล้างฟิล์มให้คงที่

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาค่าพารามิเตอร์ของเทคนิคการตรวจจากฟิล์มแมมโมกราฟฟี่

รูปแบบการศึกษา: เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาแบบย้อนหลัง (retrospective descriptive study)

สถานที่ศึกษา: ภาควิชารังสีวิทยา คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลศรีนครินทร์  มหาวิทยาลัยขอนแก่น

กลุ่มตัวอย่าง: ภาพฟิล์ม 1,600 ฟิล์ม จากการตรวจเต้านมผู้ป่วยของโรงพยาบาลศรีนครินทร์ที่มีอายุตั้งแต่      40 ปีขึ้นไป  เฉพาะในรายที่ไม่มีความผิดปกติ ตั้งแต่เดือนธันวาคม 2547- พฤษภาคม 2548 จำนวน 400 คน

วิธีการศึกษา:  ฟิล์มจากกลุ่มตัวอย่าง  400 คน ทำการบันทึกค่าพารามิเตอร์ต่าง ๆ  ได้แก่  ความหนาเต้านม อายุ  ค่า kV   ค่า mAs  ระดับแรงกด ชนิดเนื้อเยื่อเต้านมจากรายงานผลฟิล์มของรังสีแพทย์   นำมาหาความสัมพันธ์และวิเคราะห์หาเทคนิคที่เหมาะสมสำหรับการถ่ายภาพรังสีเต้านม

ผลการวิจัย:   พบว่าเนื้อเยื่อเต้านมชนิด   heterogenously dense tissue  พบมากที่สุดร้อยละ 46 รองลงมาเป็นชนิด scattered fibroglandular densities ร้อยละ 31  และเนื้อเยื่อเต้านมชนิด almost  entirely fat  กับ เนื้อเยื่อชนิด extremely dense tissue     พบร้อยละ  13  และ 10  ตามลำดับ  ความหนาของเต้านมอยู่ในช่วง  2 – 8   เซนติเมตร   และส่วนใหญ่พบว่าความหนาระหว่าง  4-6 เซนติเมตร ร้อยละ65-68ในท่า cranio-caudal (CC)  และร้อยละ 63-64 ในท่า medio-lateral oblique (MLO)   แรงการกดที่ใช้อยู่ในช่วง 10-45 ปอนด์ พบค่าสูงสุดในท่า MLO 45 ปอนด์และในท่า CC  42 ปอนด์  เทคนิคที่ใช้ในการถ่ายภาพเป็นระบบ  Auto  kV มีค่าตั้งแต่  25 -30  kV โดยใช้ตัวกรองรังสีโมลิปดีนั่ม(molybdenum) ค่าที่ใช้มากที่สุด  25-26   kV  ร้อยละ41-42 ในท่า CC  และท่า MLO ในเนื้อเยื่อชนิด heterogenously dense tissue ส่วนค่า mAs มีค่าตั้งแต่ 19 -199 โดยพบว่าใช้มากที่สุดช่วง 121-180 ร้อยละ51ในท่า CC และร้อยละ 45-48 ในท่า MLO ในเนื้อเยื่อชนิด heterogenously dense tissue เช่นเดียวกัน และพบว่าค่า mAs กับค่าความหนาของเต้านมมีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) และมีความสัมพันธ์กันในระดับมาก(r=0.8078 และ 0.8271)ในท่า  CC  และ  MLOส่วนค่าพารามิเตอร์อื่นๆพบความสัมพันธ์ในระดับน้อย

 สรุป: จากการศึกษาพบความสัมพันธ์ระดับมากระหว่าง ค่า mAs กับความหนาคือเมื่อความหนาของเต้านมเพิ่มขึ้นทำให้ค่า  mAs  เพิ่มขึ้นตามโดยปริมาณรังสีที่ผู้ป่วยได้รับขึ้นกับค่า  mAs  ดังนั้นในผู้ป่วยที่มีเต้านมขนาดใหญ่ และมีความหนาหลังการกดทับมากกว่า 6 เซนติเมตร ควรจะลดปริมาณรังสีโดยใช้วิธีเพิ่มพลังงานรังสี โดยเปลี่ยนตัวกรองรังสีจากโมลิปดีนั่ม(molybdenum:Mo) เป็นโรเดี่ยม(rhodium:Rh) ในระบบ Auto kV หรือเลือกใช้ระบบของเครื่องแมมโมกราฟฟี่เป็นระบบ Fix kV คือเลือกใช้ kV 27-30 kV หรือใช้ ระบบ Auto filter  แทน ระบบ Auto kV

 

Background: Mammography is the most effective method to screen asymptomatic women and detect early stage of breast cancer.  Effectiveness  of  technical parameters  are important for image quality such as the tube potential(kV), the tube current and time (mAs), compressed breast  thickness, breast compression force, breast density categories and breast dose.

Objective: To study mammographic technique from mammography.

Design: Retrospective descriptive study

Setting: Department of Radiology in Srinagarind Hospital  Khon Kaen University.

Population and Samples: One thousand and six hundred  mammographic films of screening breast, who are 40 years old or older were selected.

Statistical analysis:  Pearson’s Correlation and percentage

Results: Heterogenously dense tissue was the most common tissue type, seen on age 41-50 years. The second most common type was  scattered fibroglandular densities. Extremely dense tissue was not found on age more than 60 years old. The maximum force was 45 lb on MLO view, mAs and thickness were 199 mAs and 8.2 cm on CC view respectively. High significant correlation between mAs and thickness (r=0.8078,p<0.05) and no correlation significant between kV and thickness, mAs and force.

Discussion: The breast density change corresponding to age2,12. The compression force as standard force recommended by  ACR  and AAPM should not exceed 45 lb. The  mAs has to be increased with increased breast thickness. This result  is increased  radiation dose,  which can be reduced  by increased tube potential (kV) or select Rhodium(Rh) filter or select Fix kV system (up kV from 27 to 30 kV) for large breast and breast thickness more than 6 cm6-9 .

Conclusions: In case of large breast with compressed breast thickness more than 6 centimeter can reduced  breast dose by increase kV from 27 to 30 kV or change filter from molybdenum to rhodium in Auto kV system.

 

 

 

เทคนิคการตรวจเต้านมโดยแมมโมกราฟฟี่

ประชุมพร ผิวเหลือง,   เอมอร ไม้เรียง,   ภัทรพร  ดรศรีจันทร์

ภาควิชารังสีวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น อ.เมือง  จ.ขอนแก่น 40002

 

Mammographic Technique from Mammography  

Prachumporn Pewluang, Eimorn  Mairiang, Pattaraporn  Dornsrijun,

Department of Radiology, Faculty of Medicine,  Khon Kaen University, Khon Kaen, Thailand. 40002

หลักการและเหตุผล: เครื่องเอกซเรย์แมมโมกราฟฟี่เป็นเครื่องมือที่ดีที่สุดในการตรวจดูมะเร็งเต้านมระยะต้น สำหรับผู้หญิงที่ไม่พบอาการผิดปกติภายในเต้านม  เทคนิคการตรวจเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ได้ภาพที่มีคุณภาพซึ่งประกอบด้วยค่าพารามิเตอร์ต่างๆ เช่น ค่าศักย์ไฟฟ้า (kilovoltage : kV) ปริมาณกระแสและเวลา (milliampere second : mAs)  ความหนาของเต้านม (thickness)  ระดับแรงกด (compression force) และชนิดเนื้อเยื่อเต้านม (breast density categories) ที่มีความสัมพันธ์กัน และปริมาณรังสีที่ผู้ป่วยได้รับเหมาะสมภายใต้การควบคุมขบวนการล้างฟิล์มให้คงที่

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาค่าพารามิเตอร์ของเทคนิคการตรวจจากฟิล์มแมมโมกราฟฟี่

รูปแบบการศึกษา: เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาแบบย้อนหลัง (retrospective descriptive study)

สถานที่ศึกษา: ภาควิชารังสีวิทยา คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลศรีนครินทร์  มหาวิทยาลัยขอนแก่น

กลุ่มตัวอย่าง: ภาพฟิล์ม 1,600 ฟิล์ม จากการตรวจเต้านมผู้ป่วยของโรงพยาบาลศรีนครินทร์ที่มีอายุตั้งแต่      40 ปีขึ้นไป  เฉพาะในรายที่ไม่มีความผิดปกติ ตั้งแต่เดือนธันวาคม 2547- พฤษภาคม 2548 จำนวน 400 คน

วิธีการศึกษา:  ฟิล์มจากกลุ่มตัวอย่าง  400 คน ทำการบันทึกค่าพารามิเตอร์ต่าง ๆ  ได้แก่  ความหนาเต้านม อายุ  ค่า kV   ค่า mAs  ระดับแรงกด ชนิดเนื้อเยื่อเต้านมจากรายงานผลฟิล์มของรังสีแพทย์   นำมาหาความสัมพันธ์และวิเคราะห์หาเทคนิคที่เหมาะสมสำหรับการถ่ายภาพรังสีเต้านม

ผลการวิจัย:   พบว่าเนื้อเยื่อเต้านมชนิด   heterogenously dense tissue  พบมากที่สุดร้อยละ 46 รองลงมาเป็นชนิด scattered fibroglandular densities ร้อยละ 31  และเนื้อเยื่อเต้านมชนิด almost  entirely fat  กับ เนื้อเยื่อชนิด extremely dense tissue     พบร้อยละ  13  และ 10  ตามลำดับ  ความหนาของเต้านมอยู่ในช่วง  2 – 8   เซนติเมตร   และส่วนใหญ่พบว่าความหนาระหว่าง  4-6 เซนติเมตร ร้อยละ65-68ในท่า cranio-caudal (CC)  และร้อยละ 63-64 ในท่า medio-lateral oblique (MLO)   แรงการกดที่ใช้อยู่ในช่วง 10-45 ปอนด์ พบค่าสูงสุดในท่า MLO 45 ปอนด์และในท่า CC  42 ปอนด์  เทคนิคที่ใช้ในการถ่ายภาพเป็นระบบ  Auto  kV มีค่าตั้งแต่  25 -30  kV โดยใช้ตัวกรองรังสีโมลิปดีนั่ม(molybdenum) ค่าที่ใช้มากที่สุด  25-26   kV  ร้อยละ41-42 ในท่า CC  และท่า MLO ในเนื้อเยื่อชนิด heterogenously dense tissue ส่วนค่า mAs มีค่าตั้งแต่ 19 -199 โดยพบว่าใช้มากที่สุดช่วง 121-180 ร้อยละ51ในท่า CC และร้อยละ 45-48 ในท่า MLO ในเนื้อเยื่อชนิด heterogenously dense tissue เช่นเดียวกัน และพบว่าค่า mAs กับค่าความหนาของเต้านมมีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) และมีความสัมพันธ์กันในระดับมาก(r=0.8078 และ 0.8271)ในท่า  CC  และ  MLOส่วนค่าพารามิเตอร์อื่นๆพบความสัมพันธ์ในระดับน้อย

 สรุป: จากการศึกษาพบความสัมพันธ์ระดับมากระหว่าง ค่า mAs กับความหนาคือเมื่อความหนาของเต้านมเพิ่มขึ้นทำให้ค่า  mAs  เพิ่มขึ้นตามโดยปริมาณรังสีที่ผู้ป่วยได้รับขึ้นกับค่า  mAs  ดังนั้นในผู้ป่วยที่มีเต้านมขนาดใหญ่ และมีความหนาหลังการกดทับมากกว่า 6 เซนติเมตร ควรจะลดปริมาณรังสีโดยใช้วิธีเพิ่มพลังงานรังสี โดยเปลี่ยนตัวกรองรังสีจากโมลิปดีนั่ม(molybdenum:Mo) เป็นโรเดี่ยม(rhodium:Rh) ในระบบ Auto kV หรือเลือกใช้ระบบของเครื่องแมมโมกราฟฟี่เป็นระบบ Fix kV คือเลือกใช้ kV 27-30 kV หรือใช้ ระบบ Auto filter  แทน ระบบ Auto kV

 

Background: Mammography is the most effective method to screen asymptomatic women and detect early stage of breast cancer.  Effectiveness  of  technical parameters  are important for image quality such as the tube potential(kV), the tube current and time (mAs), compressed breast  thickness, breast compression force, breast density categories and breast dose.

Objective: To study mammographic technique from mammography.

Design: Retrospective descriptive study

Setting: Department of Radiology in Srinagarind Hospital  Khon Kaen University.

Population and Samples: One thousand and six hundred  mammographic films of screening breast, who are 40 years old or older were selected.

Statistical analysis:  Pearson’s Correlation and percentage

Results: Heterogenously dense tissue was the most common tissue type, seen on age 41-50 years. The second most common type was  scattered fibroglandular densities. Extremely dense tissue was not found on age more than 60 years old. The maximum force was 45 lb on MLO view, mAs and thickness were 199 mAs and 8.2 cm on CC view respectively. High significant correlation between mAs and thickness (r=0.8078,p<0.05) and no correlation significant between kV and thickness, mAs and force.

Discussion: The breast density change corresponding to age2,12. The compression force as standard force recommended by  ACR  and AAPM should not exceed 45 lb. The  mAs has to be increased with increased breast thickness. This result  is increased  radiation dose,  which can be reduced  by increased tube potential (kV) or select Rhodium(Rh) filter or select Fix kV system (up kV from 27 to 30 kV) for large breast and breast thickness more than 6 cm6-9 .

Conclusions: In case of large breast with compressed breast thickness more than 6 centimeter can reduced  breast dose by increase kV from 27 to 30 kV or change filter from molybdenum to rhodium in Auto kV system.

 

บทนำ

มะเร็งเต้านมเป็นหนึ่งในสาเหตุการตายอันดับที่ 3 ของหญิงไทย1 การตรวจเต้านมด้วยเครื่องเอกซเรย์แมมโมกราฟฟี่เป็นวิธีที่ดีที่สุดในการตรวจวินิจฉัยหามะเร็งเต้านมระยะต้นโดยเฉพาะในผู้หญิงกลุ่มเสี่ยงที่ควรตรวจเต้านมด้วยเครื่องแมมโมกราฟฟี่อย่างน้อยปีละ 1 ครั้งหรือตามคำแนะนำของแพทย์ เช่นมีอายุตั้งแต่ 40 ปีขึ้นไปที่มีอาการผิดปกติภายในเต้านม หรือ มีประวัติทางครอบครัวที่ญาติฝ่ายมารดาเป็นมะเร็งเต้านมหรือมะเร็งอื่นๆและผู้หญิงวัยหมดประจำเดือนที่ต้องรับประทานฮอร์โมนเป็นประจำ2-4 

            การตรวจด้วยเครื่องแมมโมกราฟฟี่มีระบบที่ใช้ในปัจจุบันทั้งสิ้น 4 ระบบ คือ ระบบ Fi x kV, Auto kV, Auto filter และ Manual (ปรับด้วยมือ) ต้องใช้อุปกรณ์ที่เป็นแผ่นกดทับ  เพื่อให้ความหนาของเต้านมลดลงเท่ากัน  เพื่อให้ปริมาณรังสีที่ผ่านทะลุเนื้อเยื่อเต้านมเหมาะสมต่อการวินิจฉัยสามารถมองเห็นพยาธิสภาพภายในได้ชัดเจน มีความจำเป็นต้องปรับค่าเทคนิคต่างๆให้เหมาะสมในแต่ละระบบ เพื่อให้ได้ภาพฟิล์มที่มีคุณภาพ   ในโรงพยาบาลศรีนครินทร์ในการตรวจทั่วไปใช้ระบบ Auto kV และตัวกรองรังสีโมลิปดีนั่ม โดยข้อมูลที่นำมาศึกษาได้แก่ อายุค่าพารามิเตอร์ของเทคนิคการตรวจ เช่น เทคนิคการใช้ค่าศักย์ไฟฟ้า (kV)  ปริมาณกระแสและเวลา (mAs)  ระดับแรงกดทับ (breast compression force) ความหนาเต้านมหลังการกดทับ(breast thickness)  ชนิดเนื้อเยื่อเต้านม (breast density categories) ศึกษาจากรายงานผลของรังสีแพทย์    เมื่ออนำข้อมูลดังกล่าวมาวิเคราะห์และใช้ประกอบการพัฒนาในเรื่องการถ่ายภาพและปริมาณรังสีที่ผู้ป่วยได้รับในการตรวจเต้านมให้เหมาะสมในโรงพยาบาลศรีนครินทร์ต่อไป2-5

 

 

วิธีการดำเนินการวิจัย

เป็นการวิจัยเชิงพรรณนาแบบย้อนหลัง ซึ่งได้ผ่านการพิจารณาจากคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ เลขที่ HE500904  คณะแพทยศาสตร์  มหาวิทยาลัยขอนแก่นโดยจำนวนตัวอย่าง ( sample size ) คำนวณจากค่าประมาณสหสัมพันธ์ระหว่างค่าพารามิเตอร์ของเทคนิคที่ใช้ในการตรวจจากภาพเต้านม ยอมให้ค่าที่ศึกษาผิดพลาดจากความเป็นจริงประมาณร้อยละ 10  ของค่าประมาณสหสัมพันธ์โดยประมาณขนาดตัวอย่างได้จากการคำนวณประมาณช่วงความเชื่อมั่นของสหสัมพันธ์ที่ระดับร้อยละ 95 ได้ขนาดตัวอย่างประมาณ 400  คน

กลุ่มตัวอย่าง  ภาพฟิล์มจากกลุ่มผู้ป่วยที่มาตรวจที่ รพ.ศรีนครินทร์อายุตั้งแต่ 40 ปีขึ้นไปจำนวน 400 คนๆละ  4 ฟิล์มรวมทั้งสิ้น 1,600 ฟิล์ม เฉพาะในรายที่ไม่มีความผิดปกติภายในในเต้านม ตั้งแต่เดือนธันวาคม 2547-พฤษภาคม 2548    

เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย 

1. ภาพฟิล์มผู้มารับการตรวจเต้านม 2 ข้างในท่ามาตรฐานข้างละ 2 ท่าคือท่า cranio- caudal view หรือท่า    CC และ medio-lateral-oblique view หรือท่า MLO จากการตรวจด้วยเครื่องแมมโมกราฟฟี่ LORAD

2. ตารางข้อมูลบันทึก อายุ ค่า kV  ค่า mAs ความหนาเต้านม ระดับแรงกด และชนิดเนื้อเยื่อเต้านม

การเก็บข้อมูล

1. นำแผ่นฟิล์มมาอ่านข้อมูลบันทึกค่าพารามิเตอร์ของเทคนิคที่ใช้ตรวจ เช่น ระดับแรงกด ความหนาของเต้านม ค่า kV  ค่า mAs และอายุ

2. บันทึกชนิดเนื้อเยื่อเต้านมจากการรายงานผลของรังสีแพทย์  ที่แบ่งเป็น 4 ชนิดตามความหนาแน่นของต่อมน้ำนมดังนี้ ชนิดที่มีความหนาแน่นน้อยๆ คือ almost entirely fat ,ชนิดที่มีความหนาแน่นน้อย คือ scattered fibroglandular densities,ชนิดที่มีความหนาแน่นปานกลาง คือ heterogeneously dense tissue  และชนิดที่มีความหนาแน่นมาก คือ extremely dense tissue     

การวิเคราะห์ทางสถิติ

1. หาความสัมพันธ์ระหว่างค่าพารามิเตอร์ในท่า CC และ MLOโดยสหสัมพันธ์ของเปียสัน(Pearson’s Correlation)    

2. หาชนิดความชุกของเนื้อเยื่อเต้านมสัมพันธ์กับอายุ  ค่า kV   ค่า mAs  ระดับแรงกด ความหนาของเต้านมวิเคราะห์โดยใช้ค่าร้อยละ                

3. หาค่าสูงสุด ต่ำสุด และค่าเฉลี่ย ของ ระดับแรงกดทับ ความหนาของเต้านมหลังกดทับ ค่า mAs

 

ผลการวิจัย

ชนิดเนื้อเยื่อเต้านมพบมากที่สุดคือชนิด heterogenously dense tissue ร้อยละ46 พบมากในผู้ที่มีอายุ 40-50 ปีร้อยละ 56.80  รองลงมาคือชนิด scattered fibroglandular densities คิดเป็นร้อยละ 31 พบในผู้ที่มีอายุ 51-60 ปีมากที่สุดร้อยละ 36.70 ส่วนชนิด almost entirely fat  และ ชนิด extremely dense tissue พบน้อยที่สุด ร้อยละ 13 และ 10 ตามลำดับ และไม่พบในอายุที่มากกว่า 60 ปีในชนิด extremely dense tissue (ตารางที่ 1)      

 การใช้แรงกดทับมีค่าเฉลี่ย 17.7 ปอนด์และ 19.15 ปอนด์ ส่วนความหนาเต้านมพบค่าเฉลี่ย 4.76  เซนติเมตรและ 4.68 เซนติเมตร  ค่า mAs ที่ใช้พบค่าเฉลี่ย 101.82 และ 95.47 ในท่า CC และ ในท่า MLO ตามลำดับ (ตารางที่ 2 )

ความสัมพันธ์ระหว่างค่าพารามิเตอร์ mAs กับความหนาของเต้านมมีความสัมพันธ์ไปในทิศทางเดียวกันในระดับมากอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในท่า CC และในท่า MLO (r= 0.88 และ 0.83 : p<0.05) ตามลำดับ ส่วนค่าพารามิเตอร์อื่นๆ พบความสัมพันธ์ในระดับน้อย (ตารางที่ 3)   

ค่า kV ที่ใช้มากที่สุดอยู่ระหว่าง 25-26 kV ในเนื้อเยื่อชนิด heterogenously dense tissue ร้อยละ 41-42 รองลงมาเป็นเนื้อเยื่อชนิด scattered fibroglandular densities ร้อยละ 33-34 และพบน้อยที่สุดในเนื้อเยื่อชนิด extremely  dense tissue ร้อยละ 8-9 (ตารางที่4,5)

ค่า mAs ที่ใช้มากที่สุดอยู่ระหว่าง 121-180 mAs ร้อยละ 51ในท่า CC และร้อยละ 45-48 ในท่าMLO (ตารางที่ 6,7)

 ความหนาเต้านมส่วนใหญ่อยู่ระหว่าง 4-6 เซนติเมตร ร้อยละ65-68 ในท่า CC และร้อยละ63-64 ในท่า  MLO ความหนาเต้านมที่ 2-4  เซนติเมตร ร้อยละ 23-24 ในท่า CC และร้อยละ 27 ในท่า  MLO ความหนาเต้านมที่ 6-8  เซนติเมตร ร้อยละ 8-9 ในท่า CC และร้อยละ 8 ในท่า  MLO (ตารางที่ 8,9)  

 

ตารางที่ 1 ความชุกของชนิดเนื้อเยื่อเต้านมแบ่งตามอายุ

อายุ

ชนิดเนื้อเยื่อของเต้านม

Almost

entirely fat

Scattered fibroglandular densities

Heterogenously dense tissue

Extremely dense tissue

จำนวน

ร้อยละ

จำนวน

ร้อยละ

จำนวน

ร้อยละ

จำนวน

ร้อยละ

40 - 50

10

5.92

38

22.49

96

56.80

25

14.79

51 – 60

32

17.02

69

36.70

72

38.30

15

7.98

> 60 ปี

10

23.26

17

39.53

16

37.21

0

0.00

รวม

52

13.00

124

31.00

184

46.00

40

10.00

 

ตารางที่ 2  ค่าสูงสุด ค่าต่ำสุด และ ค่าเฉลี่ยของแรงกด ความหนาเต้านม และ ค่า mAsในท่า CC และ MLO

แรงกดทับ กับ ความหนาเต้านม และ ค่า mAs

ค่าสูงสุด

ค่าต่ำสุด

ค่าเฉลี่ย

CC

MLO

CC

MLO

CC

MLO

แรงกดทับ (ปอนด์)

42

45

10

10

17.7

19.15

ความหนาเต้านม (เซนติเมตร)

8.2

7.6

2.1

2.1

4.76

4.68

ค่า mAs

199

186

20.2

19

101.82

95.47

mAs = milliampere second, CC = cranio-caudal, MLO = medio-lateral oblique    

 

ตารางที่ 3 ความสัมพันธ์ระหว่างค่าพารามิเตอร์ของเทคนิคการตรวจเต้านมท่า CCและท่า MLO

ค่าพารามิเตอร์  mAs และ Thickness

 

r

95% CI of r

p-value

ท่า CC

0.8078

0.771 ถึง 0.839

0.0000

ท่า MLO

0.8271

0.793 ถึง 0.856

0.0000

 

ตารางที่ 4  ค่า kV ของการตรวจเต้านมในท่า CC ข้างขวา และท่า CC ข้างซ้ายจำแนกตามชนิดเนื้อเยื่อเต้านม

kV

Almost entirely fat

Scattered fibroglandular densities

Heterogenously dense tissue

Extremely dense tissue

Rt. CC

Lt. CC

Rt. CC

Lt. CC

Rt. CC

Lt. CC

Rt. CC

Lt. CC

จำนวน

ร้อยละ

จำนวน

ร้อยละ

จำนวน

ร้อยละ

จำนวน

ร้อยละ

จำนวน

ร้อยละ

จำนวน

ร้อยละ

จำนวน

ร้อยละ

จำนวน

ร้อยละ

25-26

48

15.43

49

15.86

106

34.08

105

33.18

132

42.44

127

41.10

25

8.04

28

9.06

27-28

4

5.8

3

4.05

16

23.19

18

24.32

37

53.62

44

59.46

12

17.39

9

12.16

29-30

0

0.00

0

0.00

2

10.00

1

5.88

15

75.00

13

76.47

3

15.00

3

17.65

รวม

52

13.00

52

13.00

124

31.00

124

31.00

184

46.00

184

46.00

40

10.00

40

10.00

 

ตารางที่ 5  ค่า kV ของการตรวจเต้านมในท่า  MLO ข้างขวาและ ข้างซ้าย จำแนกตามชนิดเนื้อเยื่อเต้านม   

kV

Almost entirely fat

Scattered fibroglandular densities

Heterogenously dense tissue

Extremely dense tissue

Rt. MLO

Lt. MLO

Rt. MLO

Lt. MLO

Rt. MLO

Lt. MLO

Rt. MLO

Lt. MLO

จำนวน

ร้อยละ

จำนวน

ร้อยละ

จำนวน

ร้อยละ

จำนวน

ร้อยละ

จำนวน

ร้อยละ

จำนวน

ร้อยละ

จำนวน

ร้อยละ

จำนวน

ร้อยละ

25-26

48

15.43

48

15.29

104

33.44

104

33.12

130

41.80

135

42.99

29

9.32

27

8.6

27-28

2

2.74

3

4.11

17

23.29

17

23.29

45

61.64

41

56.16

9

12.33

12

16.44

29-30

2

12.5

1

7.69

3

18.75

3

23.08

9

56.25

8

61.54

2

12.50

1

7.69

รวม

52

13.00

52

13.00

124

31.00

124

31.00

184

46.00

184

46.00

40

10.00

40

10.00

 

ตารางที่ 6 ค่า mAs ของการตรวจเต้านมในท่า CC ข้างขวาและ ข้างซ้าย จำแนกตามชนิดเนื้อเยื่อเต้านม

mAs

Almost

entirely fat

Scattered fibroglandular densities

Heterogenously dense tissue

Extremely dense tissue

Rt. CC

Lt. CC

Rt. CC

Lt. CC

Rt. CC

Lt. CC

Rt. CC

Lt. CC

 

จำนวน

ร้อยละ

จำนวน

ร้อยละ

จำนวน

ร้อยละ

จำนวน

ร้อยละ

จำนวน

ร้อยละ

จำนวน

ร้อยละ

จำนวน

ร้อยละ

จำนวน

ร้อยละ

10-60

12

11.11

9

8.41

32

29.63

29

27.10

48

44.44

53

49.53

16

14.81

16

14.95

61-120

20

16.35

26

19.26

45

38.14

55

40.74

46

38.98

49

36.30

7

5.93

5

3.70

121-180

20

11.90

16

10.46

45

26.79

40

26.14

87

51.79

79

51.63

16

9.52

18

11.76

181-210

0

0.00

1

20.00

2

33.33

0

0.00

3

50.00

3

60.00

1

16.67

1

20.00

รวม

52

13.00

52

13.00

124

31.00

124

31.00

184

46.00

184

46.00

40

10.00

40

10.00

 

ตารางที่ 7  ค่า mAs ของการตรวจเต้านมในท่า  MLO ข้างขวาและข้างซ้าย จำแนกตามชนิดเนื้อเยื่อเต้านม

mAs

Almost entirely fat

Scattered fibroglandular densities

Heterogenously dense tissue

Extremely dense tissue

Rt. MLO

Lt. MLO

Rt. MLO

Lt. MLO

Rt. MLO

Lt. MLO

Rt. MLO

Lt. MLO

 

จำนวน

ร้อยละ

จำนวน

ร้อยละ

จำนวน

ร้อยละ

จำนวน

ร้อยละ

จำนวน

ร้อยละ

จำนวน

ร้อยละ

จำนวน

ร้อยละ

จำนวน

ร้อยละ

10-60

12

9.23

12

9.02

37

28.46

42

31.58

62

47.69

59

44.36

19

14.62

20

15.04

61-120

19

15.32

24

17.65

46

37.10

48

35.29

55

44.35

59

43.38

4

3.23

5

3.68

121-180

20

14.29

16

13.22

41

29.29

32

2.45

64

45.71

59

48.76

15

10.71

14

11.57

181-210

1

16.67

0

0.00

0

0.00

2

20.00

3

50.00

7

70.00

2

33.33

1

10.00

รวม

52

13.00

52

13.00

124

31.00

124

31.00

184

46.00

184

46.00

40

10.00

40

10.00

 

ตารางที่ 8 ค่า kV ความหนาเต้านมในท่า CC ข้างขวาและข้างซ้าย

kV

2.1- 4.0

4.1-6.0

6.1-8.0

Total

Rt. CC

Lt. CC

Rt. CC

Lt. CC

Rt. CC

Lt. CC

Rt. CC

Lt. CC

จำนวน

ร้อยละ

จำนวน

ร้อยละ

จำนวน

ร้อยละ

จำนวน

ร้อยละ

จำนวน

ร้อยละ

จำนวน

ร้อยละ

จำนวน

ร้อยละ

จำนวน

ร้อยละ

25-26

66

21.22

64

20.71

237

76.21

236

76.48

8

2.57

9

2.90

311

77.75

309

77.25

27-28

23

33.33

30

40.50

31

44.90

24

32.40

15

21.74

20

27.00

69

17.25

74

18.50

29-30

6

30.00

5

2.90

4

20.00

2

11.80

10

50.00

10

58.80

20

5.00

17

4.25

Total

95

23.75

99

24.75

272

68.00

262

65.50

33

8.25

39

9.75

400

100

400

100

 

ตารางที่ 9 ค่า kV ความหนาเต้านมในท่า MLO ข้างขวาและข้างซ้าย

kV

2.1- 4.0

4.1-6.0

6.1-8.0

Total

Rt. MLO

Lt. MLO

Rt. MLO

Lt. MLO

Rt. MLO

Lt. MLO

Rt. MLO

Lt. MLO

จำนวน

ร้อยละ

จำนวน

ร้อยละ

จำนวน

ร้อยละ

จำนวน

ร้อยละ

จำนวน

ร้อยละ

จำนวน

ร้อยละ

จำนวน

ร้อยละ

จำนวน

ร้อยละ

25-26

72

23.20

72

22.93

226

72.60

231

73.57

13

4.20

11

3.50

311

77.75

314

78.50

27-28

34

46.60

31

42.47

25

34.20

25

34.25

14

19.20

17

23.29

73

18.25

73

18.25

29-30

5

31.30

6

46.15

3

18.80

3

23.08

8

50.00

4

30.77

16

4.00

13

3.25

Total

111

27.75

109

27.25

254

63.50

259

64.75

35

8.75

32

8.00

400

100.00

400

100.00

 

วิจารณ์

          ความชุกของเนื้อเยื่อเต้านมพบในอายุ 40-50 ปีมากที่สุดเป็นชนิด heterogenously dense tissue และรองลงมาในอายุ 51-60 ปี พบชนิด scattered fibroglandular densitiesและไม่พบในอายุที่มากกว่า 60 ปีในเนื้อเยื่อชนิด extremely dense tissue ซึ่งเป็นไปตามทฤษฎีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างเนื้อเยื่อเต้านมตามช่วงอายุ2,12   ส่วนระดับแรงกดทับในการตรวจค่าสูงสุด 45 ปอนด์ซึ่งอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานของ American College of Radiology(ACR)และ American Association of Physics in Medicine (AAPM)7 พบความสัมพันธ์ ระหว่างค่า mAs กับค่าความหนามีความสัมพันธ์ไปในทิศทางเดียวกันในระดับมากและมีนัยสำคัญทางสถิติ ซึ่งแสดงถึงการที่ผู้ป่วยได้รับปริมาณรังสีเพิ่มขึ้น  เนื่องจากปริมาณรังสีดูดกลืนที่ผู้ป่วยได้รับนั้นขึ้นกับค่า mAs ในผู้ป่วยที่มีเต้านมขนาดใหญ่และมีองค์ประกอบชนิดเนื้อเยื่อเต้านมที่เป็นต่อมน้ำนมมากที่มีความหนาหลังการกดทับมากกว่า  6 เซนติเมตร  แม้จะมีจำนวนน้อยแต่ปริมาณรังสีที่ผู้ป่วยได้รับจะมากขึ้น

             จากการศึกษาของ Young และคณะ8  พบว่าเต้านมขนาดใหญ่ที่มีความหนา 7 เซนติเมตรเมื่อเพิ่มค่าพลังงานถึง 30 kV จะทำให้ปริมาณรังสีในเต้านมลดลงถึงร้อยละ 19 และ McParland9 ได้ศึกษาพบว่าเต้านมที่มีองค์ประกอบเนื้อเยื่อร้อยละ 50 เป็นต่อมน้ำนมและมีความหนาหลังการกดทับมากกว่า 6 เซนติเมตร เมื่อเพิ่มพลังงานรังสีเป็น 26-30 kV สามารถลดปริมาณรังสีเต้านมได้ ร้อยละ 35

              ดังนั้นการเลือกใช้เทคนิคการตรวจเต้านมในผู้ป่วยที่มีเต้านมขนาดใหญ่และมีองค์ประกอบของเนื้อเยื่อเต้านมที่เป็นต่อมน้ำนมมาก ควรใช้วิธีการเพิ่มพลังงานรังสีโดยการเพิ่มค่า kV ซึ่งถ้าเลือกใช้ระบบ Auto kV โดยการเลือกใช้ตัวกรองรังสีชนิดโรเดี่ยม (rhodium:Rh) แทนตัวกรองรังสีชนิดโมลิปดีนั่ม(molybdenum:Mo) หรือใช้ระบบ Fix kV โดยการเพิ่มค่า kV จาก27-30 kV

สรุป

          กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษามีความหนาแน่นของเต้านมชนิด heterogenously dense tissue มากที่สุดในการเลือกใช้เทคนิคแบบระบบ  Auto  kV และใช้ตัวกรองรังสีโมลิปดีนั่มในเต้านมที่มีความหนาไม่เกิน 6 เซนติเมตร ภาพที่ได้มีคุณภาพที่เหมาะสม  แต่ในผู้ป่วยที่มีเต้านมขนาดใหญ่และมีองค์ประกอบเนื้อเยื่อชนิดความหนาแน่นมากและเต้านมเป็นต่อมน้ำนมร้อยละ 50 จะพบในช่วงอายุ 40-50 ปี ระบบที่เหมาะสมในการเลือกใช้รังสีเทคนิคต้องเลือกใช้เทคนิคที่เพิ่มพลังงานรังสีหรือค่า kV เพื่อเป็นการลดค่า mAs       ที่เป็นปริมาณรังสีที่ผู้ป่วยได้รับลดลง โดยเครื่องแมมโมกราฟฟี่มีตัวกรองรังสีให้เลือกใช้ 2 ชนิดคือโรเดี่ยมและ โมลิปดีนั่มเมื่อความหนาของเต้านมที่เพิ่มขึ้นทำให้  mAs เพิ่มขึ้นตาม   เทคนิคจึงควรได้รับการปรับปรุงแก้ไขเมื่อผู้ป่วยมีขนาดเต้านมใหญ่และมีความหนาของเต้านมมากขึ้น(มากกว่า 6 เซนติเมตรหลังการกด)ให้เลือกใช้ตัวกรองรังสีโรเดี่ยมเพื่อเพิ่มค่า kV แทนตัวกรองรังสีโมลิปดีนั่มในระบบ  Auto  kV   

 

กิตติกรรมประกาศ

          คณะผู้วิจัยขอขอบคุณผู้ทรงคุณวุฒิ คือ รองศาสตราจารย์  จิราภรณ์  ศรีนัครินทร์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ จุรีรัตน์ ธรรมโรจน์และ อาจารย์ประจำภาควิชารังสีวิทยา ที่ช่วยตรวจสอบและแนะนำความถูกต้องของเนื้อหา และขอขอบคุณ รองศาสตราจารย์ มาลินี  เหล่าไพบูลย์ที่ให้ความช่วยเหลือและแนะนำการวิเคราะห์ข้อมูล  เจ้าหน้าที่หน่วยรังสีวินิจฉัยทุกท่านที่ให้ความร่วมมือและอำนวยความสะดวกในการศึกษาเป็นอย่างดี 

เอกสารอ้างอิง

1. Cancer Unit, Faculty of Medicine, Khon Kaen University. Tumor Registry : Statistical Report 2007. Khon Kaen : Cancer Unit, Faculty of Medicine, Khon Kaen University, 2007.

2. Lille SL. Background Information and the Need for Screening. In:  McGrew L, editor. Mammographic  Imaging : a practice guide. 2 nd ed. Philadelphia : Lippincott Williams& Wilkins, 2001 : 13-27,139-54.

3. Bushong SC.  Mamography. In: Wilke J, Moorhead J, editors. Radiologic Science for Technologist. 7 th ed. Missouri : Mosby, 2001: 306-33.

4. Bushberg JT, Leidholdt EM JR, Seibert JA, Boone JM. John JR, Mammography. In: Snyder A, DeGeorge T, editors. The Essential of Medical Imaging. 2 nd ed. Philadelphia : Lippincott Williams& Wilkins, 2002 : 191-229.

5. Haus AG. State of the Art Screen-film Mammography : A Technical Overview. In: Barnes GT,  Frey GD, editors. Screen Film Mammography ; Imaging Considerations and Medical Physics Responsibilities. Madison : Medical Physics, 1991 : 2-40.

6. Helvie MA, Chan HP, Adler DD, Boyd PG.  Breast thickness in  routine mammograms: effect on image quality and radiation dose. AJR 1994;163 : 1371-4.

7. Poulos A, McLaean D, Rickard M, Heard R. Breast compression  in  mammography: How much is enough? Australasian  Radiology 2003;47: 121-6.

8. Young KC, Ramsdale ML, Rust  A, Cooke  J. Effect  of  automatic  kV selection  on dose and contrast  for  a mammographic   X-ray  system.  Br J Radiol 1997;70 : 1036- 42.

9. McParland BJ, Boyd MM.  A Comparison of  fixed  and  variable  kVp  technique protocols for  film – screen mammography. Br  J Radiol  2000; 73 : 613-26.

10. Eklund GW, Cardenosa G, Parsons W. Assessing adequacy of mammographic image quality. Radiology 1994;190 : 297-307.

11.  Taplin SH, Rutter CM, Finder C,  Mandelson MT, Houn F, White E.  Screening mammography :   clinical image quality and the risk of interval  breast  cancer. AJR 2002;178 : 797-803.

12.  Bassett LW, Hirbawi IA, DeBruhl N. Hayes MK. Mammographic positioning : evaluation  from the   view box. Radiol 1993;188 : 803-6.

 

Untitled Document
Article Location

Untitled Document
Article Option
       Abstract
       Fulltext
       PDF File
Untitled Document
 
ทำหน้าที่ ดึง Collection ที่เกี่ยวข้อง แสดง บทความ ตามที่ีมีใน collection ที่มีใน list Untitled Document
Another articles
in this topic collection

Fear Level in Preschoolers Undergoing Computed Tomography: Affect of Psychological Preparation by Story vs. Normal Preparation (การศึกษาเปรียบเทียบความกลัวการตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ของเด็กวัยก่อนเรียนระหว่างกลุ่มที่ได้รับการเตรียมจิตใจด้วยการเล่านิทานกับกลุ่มที่ได้รับการเตรียมตามปกติ)
 
Risk Factors Associated With Allergic To Non – Ionic Contrast Media In Patients Undergoing Chest Or Abdominal Computed Tomography (ปัจจัยเสี่ยงต่อการแพ้สารทึบรังสีชนิดไม่แตกตัวในผู้ป่วยที่ได้รับการตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ทรวงอกและช่องท้อง)
 
Diagnostic Reliability of the Singh Index : Femoral Neck Osteoporosis (ความน่าเชื่อถือของ Sign index ในการวินิจฉัยโรคกระดูกำพรุนของคอกระดูกต้นขา)
 
Clinical Manifestations and Angiographic Ceatures in Carotid – Cavernous sinus Fistula (ลักษณะทางคลินิกและลักษณะทางรังสีวิทยาในผู้ป่วย Carotid – Cavernous sinus Fistula)
 
<More>
Untitled Document
 
This article is under
this collection.

Radiology
 
 
 
 
Srinagarind Medical Journal,Faculty of Medicine, Khon Kaen University. Copy Right © All Rights Reserved.
 
 
 
 

 


Warning: Unknown: Your script possibly relies on a session side-effect which existed until PHP 4.2.3. Please be advised that the session extension does not consider global variables as a source of data, unless register_globals is enabled. You can disable this functionality and this warning by setting session.bug_compat_42 or session.bug_compat_warn to off, respectively in Unknown on line 0