Untitled Document
 
 
 
 
Untitled Document
Home
Current issue
Past issues
Topic collections
Search
e-journal Editor page

A Survey of Routine to Research (R2R) and Research Utilization in Anesthesia Service

การสำรวจผลงานวิจัยประเภท Routine to Research (R2R) และการนำผลการวิจัยไปใช้ประโยชน์ในการดูแลผู้ป่วยในงานบริการวิสัญญี

Somboon Thienthong (สมบูรณ์ เทียนทอง) 1, Chaichana Sinkuakool (ชัยชนะ สินเกื้อกูล) 2, Kingsangwal (พุ่มพวง กิ่งสังวาล) 3, Tippawan Muknumporn (ทิพยวรรณ มุกนำพร) 4, Maneerat Thananun (มณีรัตน์ ธนานันต์) 5




การสำรวจผลงานวิจัยประเภท Routine to Research (R2R)

และการนำผลการวิจัยไปใช้ประโยชน์ในการดูแลผู้ป่วยในงานบริการวิสัญญี

สมบูรณ์  เทียนทอง, ชัยชนะ สินเกื้อกูล, พุ่มพวง กิ่งสังวาล, ทิพยวรรณ มุกนำพร, มณีรัตน์ ธนานันต์

ภาควิชาวิสัญญีวิทยา  คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น  40002

 

A Survey of Routine to Research (R2R) and Research Utilization in Anesthesia Service

Somboon Thienthong, Chaichana Sinkuakool, Pumpuang Kingsangwal, Tippawan Muknumporn, Maneerat Thananun

Department of Anesthesiology, Faculty of Medicine, Khon Kaen University, Khon Kaen 40002, Thailand

 

หลักการและเหตุผล: การนำกระบวนการทางการวิจัยมาใช้ศึกษาเกี่ยวกับงานที่ปฏิบัติอยู่เป็นประจำ (Routine to Research หรือ R2R) นอกจากจะช่วยสร้างงานวิจัยให้เกิดขึ้นแล้ว ยังสามารถนำผลงานวิจัยที่ได้มาช่วยแก้ไขปัญหางานที่ทำอยู่ให้ดีขึ้นได้อีกด้วย

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาจำนวนผลงานวิจัยของบุคลากรภาควิชาวิสัญญีวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ที่เข้าข่ายเป็นผลงานวิจัยประเภท R2R และการนำไปใช้ประโยชน์ในการดูแลรักษาผู้ป่วย

 

รูปแบบการศึกษา: เป็นการศึกษาเชิงพรรณนา

วิธีการศึกษา:  โดยการส่งแบบสอบถามไปยังหัวหน้าโครงการวิจัย ที่มีผลงานตีพิมพ์ระหว่างปีงบประมาณ 2545-2548 ทุกเรื่อง ยกเว้นการรายงานผู้ป่วย ข้อมูลที่ต้องการศึกษาประกอบด้วย ข้อมูลพื้นฐานของผู้ทำวิจัย จำนวนผลงานวิจัยที่ได้รับทุน จำนวนผลงานวิจัยที่เข้าข่ายเป็นงานวิจัยประเภท R2R และการนำผลงานวิจัยที่เข้าข่ายเป็นผลงานวิจัยประเภท R2R ไปใช้ประโยชน์ในการดูแลรักษาผู้ป่วย ข้อมูลที่ศึกษาทั้งหมดเป็นข้อมูลแจงนับ นำเสนอในรูปของร้อยละ

ผลการศึกษา:  แบบสอบถามที่ส่งไปให้หัวหน้าโครงการวิจัยที่ตีพิมพ์ในช่วงที่ทำการศึกษาทั้งหมด จำนวน 40 เรื่อง ได้รับคืนมาทั้งหมด พบว่า หัวหน้าโครงการวิจัยเป็นวิสัญญีแพทย์ 22 เรื่อง (ร้อยละ 55) และวิสัญญีพยาบาล 18 เรื่อง (ร้อยละ 45) โดยได้รับทุนอุดหนุน 18 เรื่อง (ร้อยละ 45) และเป็นผลงานวิจัยที่เข้าข่ายเป็นผลงานวิจัยประเภท R2R จำนวน 36 เรื่อง (ร้อยละ 90) ซึ่งมีการนำไปใช้ประโยชน์ในการดูแลรักษาผู้ป่วยแล้วในปัจจุบันจำนวน 12 เรื่อง ส่วนที่เหลือพบว่า มีศักยภาพเพียงพอที่จะพัฒนาต่อไปเพื่อนำไปใช้ประโยชน์กับผู้ป่วย ถ้าได้รับการสนับสนุนเพิ่มเติมจำนวน 6 เรื่อง มีศักยภาพน้อยที่จะพัฒนาต่อไปเพื่อนำไปใช้ประโยชน์กับผู้ป่วยจำนวน 10 เรื่อง และอีก 8 เรื่องไม่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ เนื่องจากยาหรืออุปกรณ์ที่ใช้ในการศึกษาไม่มีใช้หรือเลิกใช้ไปแล้วในปัจจุบัน

สรุป:          ผลงานวิจัยของบุคลากรภาควิชาวิสัญญีวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ระหว่างปีงบประมาณ 2545-2548 พบว่า เข้าข่ายเป็นผลงานวิจัยประเภท R2R ถึง ร้อยละ 90 แต่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการดูแลรักษาผู้ป่วยได้จริงในปัจจุบัน เพียงร้อยละ 33.3 (หรือร้อยละ 30 ของผลงานวิจัยทั้งหมด) ส่วนที่เหลือมีเพียง ร้อยละ 16.7 (หรือ ร้อยละ 15 ของผลงานวิจัยทั้งหมด) เท่านั้น ที่มีศักยภาพเพียงพอที่จะพัฒนาต่อไปเพื่อนำไปใช้ประโยชน์กับผู้ป่วย ถ้าได้รับการสนับสนุนเพิ่มเติม

Introduction:  Doing research about routine patient care, so-called Routine to Research or R2R, can increase both the quantity of articles and quality of care.

Objective:  To determine the number of R2R-related articles by anesthesia providers at the Department of Anesthesiology, Faculty of Medicine, Khon Kaen University, and their utilization.

 

Study Desizes : descriptive study

Methods:  Questionnaires to the corresponding authors of papers published between 2002 and 2005.  We excluded case reports from the study and focused on basic data of researchers, number of articles that received funding, the number of R2R-related articles and their utilization. The data were analyzed and presented using descriptive statistics.

 

Results:  All 40 questionnaires were returned, representing 22 anesthesiologists’ articles (55%) and 18 nurse anesthetists’ articles (45%). Eighteen articles (45%) received funding.  Thirty-six articles (90%) were classified as R2R-related articles:  12% have already been applied to routine patient care; 6 had potential for application provided they received suitable encouragement; 10% had less potential for application; and, 8% were non-applicable because of an unavailability of medications or equipment.

Conclusion: Based on articles published by anesthesia providers at the Department of Anesthesiology, Faculty of Medicine, Khon Kaen University, between 2002 and 2005, R2R-realated articles comprised 90%, but only one-third have been applied to routine patient care while another 16.7% (or 15% of all articles) have potential for applications were they to receive suitable encouragement.

 

 

การสำรวจผลงานวิจัยประเภท Routine to Research (R2R)

และการนำผลการวิจัยไปใช้ประโยชน์ในการดูแลผู้ป่วยในงานบริการวิสัญญี

สมบูรณ์  เทียนทอง, ชัยชนะ สินเกื้อกูล, พุ่มพวง กิ่งสังวาล, ทิพยวรรณ มุกนำพร, มณีรัตน์ ธนานันต์

ภาควิชาวิสัญญีวิทยา  คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น  40002

 

A Survey of Routine to Research (R2R) and Research Utilization in Anesthesia Service

Somboon Thienthong, Chaichana Sinkuakool, Pumpuang Kingsangwal, Tippawan Muknumporn, Maneerat Thananun

Department of Anesthesiology, Faculty of Medicine, Khon Kaen University, Khon Kaen 40002, Thailand

หลักการและเหตุผล: การนำกระบวนการทางการวิจัยมาใช้ศึกษาเกี่ยวกับงานที่ปฏิบัติอยู่เป็นประจำ (Routine to Research หรือ R2R) นอกจากจะช่วยสร้างงานวิจัยให้เกิดขึ้นแล้ว ยังสามารถนำผลงานวิจัยที่ได้มาช่วยแก้ไขปัญหางานที่ทำอยู่ให้ดีขึ้นได้อีกด้วย

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาจำนวนผลงานวิจัยของบุคลากรภาควิชาวิสัญญีวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ที่เข้าข่ายเป็นผลงานวิจัยประเภท R2R และการนำไปใช้ประโยชน์ในการดูแลรักษาผู้ป่วย

รูปแบบการศึกษา: เป็นการศึกษาเชิงพรรณนา

วิธีการศึกษา:  โดยการส่งแบบสอบถามไปยังหัวหน้าโครงการวิจัย ที่มีผลงานตีพิมพ์ระหว่างปีงบประมาณ 2545-2548 ทุกเรื่อง ยกเว้นการรายงานผู้ป่วย ข้อมูลที่ต้องการศึกษาประกอบด้วย ข้อมูลพื้นฐานของผู้ทำวิจัย จำนวนผลงานวิจัยที่ได้รับทุน จำนวนผลงานวิจัยที่เข้าข่ายเป็นงานวิจัยประเภท R2R และการนำผลงานวิจัยที่เข้าข่ายเป็นผลงานวิจัยประเภท R2R ไปใช้ประโยชน์ในการดูแลรักษาผู้ป่วย ข้อมูลที่ศึกษาทั้งหมดเป็นข้อมูลแจงนับ นำเสนอในรูปของร้อยละ

ผลการศึกษา:  แบบสอบถามที่ส่งไปให้หัวหน้าโครงการวิจัยที่ตีพิมพ์ในช่วงที่ทำการศึกษาทั้งหมด จำนวน 40 เรื่อง ได้รับคืนมาทั้งหมด พบว่า หัวหน้าโครงการวิจัยเป็นวิสัญญีแพทย์ 22 เรื่อง (ร้อยละ 55) และวิสัญญีพยาบาล 18 เรื่อง (ร้อยละ 45) โดยได้รับทุนอุดหนุน 18 เรื่อง (ร้อยละ 45) และเป็นผลงานวิจัยที่เข้าข่ายเป็นผลงานวิจัยประเภท R2R จำนวน 36 เรื่อง (ร้อยละ 90) ซึ่งมีการนำไปใช้ประโยชน์ในการดูแลรักษาผู้ป่วยแล้วในปัจจุบันจำนวน 12 เรื่อง ส่วนที่เหลือพบว่า มีศักยภาพเพียงพอที่จะพัฒนาต่อไปเพื่อนำไปใช้ประโยชน์กับผู้ป่วย ถ้าได้รับการสนับสนุนเพิ่มเติมจำนวน 6 เรื่อง มีศักยภาพน้อยที่จะพัฒนาต่อไปเพื่อนำไปใช้ประโยชน์กับผู้ป่วยจำนวน 10 เรื่อง และอีก 8 เรื่องไม่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ เนื่องจากยาหรืออุปกรณ์ที่ใช้ในการศึกษาไม่มีใช้หรือเลิกใช้ไปแล้วในปัจจุบัน

สรุป:          ผลงานวิจัยของบุคลากรภาควิชาวิสัญญีวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ระหว่างปีงบประมาณ 2545-2548 พบว่า เข้าข่ายเป็นผลงานวิจัยประเภท R2R ถึง ร้อยละ 90 แต่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการดูแลรักษาผู้ป่วยได้จริงในปัจจุบัน เพียงร้อยละ 33.3 (หรือร้อยละ 30 ของผลงานวิจัยทั้งหมด) ส่วนที่เหลือมีเพียง ร้อยละ 16.7 (หรือ ร้อยละ 15 ของผลงานวิจัยทั้งหมด) เท่านั้น ที่มีศักยภาพเพียงพอที่จะพัฒนาต่อไปเพื่อนำไปใช้ประโยชน์กับผู้ป่วย ถ้าได้รับการสนับสนุนเพิ่มเติม

 

Introduction:  Doing research about routine patient care, so-called Routine to Research or R2R, can increase both the quantity of articles and quality of care.

Objective:  To determine the number of R2R-related articles by anesthesia providers at the Department of Anesthesiology, Faculty of Medicine, Khon Kaen University, and their utilization.

Study Desizes : descriptive study

Methods:  Questionnaires to the corresponding authors of papers published between 2002 and 2005.  We excluded case reports from the study and focused on basic data of researchers, number of articles that received funding, the number of R2R-related articles and their utilization. The data were analyzed and presented using descriptive statistics.

 Results:  All 40 questionnaires were returned, representing 22 anesthesiologists’ articles (55%) and 18 nurse anesthetists’ articles (45%). Eighteen articles (45%) received funding.  Thirty-six articles (90%) were classified as R2R-related articles:  12% have already been applied to routine patient care; 6 had potential for application provided they received suitable encouragement; 10% had less potential for application; and, 8% were non-applicable because of an unavailability of medications or equipment.

Conclusion:  Based on articles published by anesthesia providers at the Department of Anesthesiology, Faculty of Medicine, Khon Kaen University, between 2002 and 2005, R2R-related articles comprised 90%, but only one-third have been applied to routine patient care while another 16.7% (or 15% or all articles) have potential for applications were they to receive suitable encouragement.

บทนำ

          การนำผลงานวิจัยทางด้านต่างๆ ไปใช้ให้เกิดประโยชน์ เป็นวัตถุประสงค์สูงสุดของการทำวิจัยและผู้ให้ทุนวิจัย แต่จากการศึกษาที่ผ่านมาเกี่ยวกับการนำผลงานวิจัยทางคลินิกไปใช้ประโยชน์ในการดูแลรักษาผู้ป่วยนั้น พบว่ามีความล่าช้า ไม่แน่นอน และไม่มีแบบแผน ทำให้ผู้ป่วยไม่ได้รับการดูแลตามหลักฐานเชิงประจักษ์หรือตามองค์ความรู้ใหม่ที่ทันสมัยกว่า1 เช่นเดียวกับผลการสำรวจของ อาภาภรณ์และคณะเกี่ยวกับงานวิจัยที่ได้รับทุนของคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ระหว่างปีงบประมาณ 2541-2545 พบว่ามีการนำไปใช้ประโยชน์หลายด้าน หลายรูปแบบ แต่การนำไปใช้ประโยชน์ในการดูแลผู้ป่วยยังมีน้อย2   และจากการสำรวจซ้ำโดย อาภาภรณ์และคณะ3 เกี่ยวกับงานวิจัยที่ได้รับทุนของคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ระหว่างปีงบประมาณ 2545–2548  จำนวนทั้งสิ้น 324 เรื่อง ทั้งที่ได้รับการตีพิมพ์ใน index journal  และ non-index journal พบว่าข้อมูลที่ได้ไม่แตกต่างจากเดิมมากนัก นั่นคือ มีการนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในการดูแลผู้ป่วยไม่ถึงร้อยละ 10 คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น จึงได้ออกประกาศคณะแพทยศาสตร์ สนับสนุนให้มีการทำวิจัยแบบ routine to research (R2R) เพื่อให้มีการนำผลงานวิจัยไปใช้ในการดูแลรักษาผู้ป่วยให้มากขึ้น4

          จากรายงานประจำปีของภาควิชาวิสัญญีวิทยา คณะแพทยศาสตร์ ปีงบประมาณ 2548 พบมีผลงานวิจัยที่ตีพิมพ์ (ทั้งที่ได้รับทุนและไม่ได้รับทุนอุดหนุน) จำนวน 16 เรื่อง โดยมีงานวิจัยหลายเรื่องที่เข้าข่ายการวิจัยประเภท R2R แต่ที่ผ่านมายังไม่มีการศึกษาว่า ภาควิชาฯ มีงานวิจัยประเภทนี้และมีการนำไปใช้ประโยชน์ในการดูแลรักษาผู้ป่วยมากน้อยเพียงใด ดังนั้นคณะผู้วิจัยจึงต้องการศึกษาว่า งานวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์ของบุคลากรภาควิชาวิสัญญีวิทยาที่ผ่านมา มีจำนวนงานวิจัยที่เข้าข่ายการวิจัยประเภท R2R และมีการนำไปใช้ประโยชน์ในการดูแลรักษาผู้ป่วยมากน้อยเพียงใด

 

วัตถุประสงค์

      1.  เพื่อศึกษาจำนวนงานวิจัยของภาควิชาวิสัญญีวิทยาที่ดำเนินการแล้วเสร็จที่เข้าข่าย R2R

      2.  เพื่อศึกษาจำนวนงานวิจัยของภาควิชาวิสัญญีวิทยาที่ดำเนินการแล้วเสร็จและมีการนำไปใช้ประโยชน์ในการดูแลรักษาผู้ป่วย       

      3.  ศึกษาจำนวนผลงานวิจัยที่มีศักยภาพที่จะพัฒนาเพื่อนำไปใช้ประโยชน์กับผู้ป่วยต่อไป ถ้าได้รับการสนับสนุนเพิ่มเติม

วิธีการศึกษา

          การศึกษานี้ได้รับความเห็นชอบ จากคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น เป็นการศึกษาเชิงพรรณนา โดยใช้แบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น สอบถามหัวหน้าโครงการวิจัย (หรือผู้ร่วมวิจัยในกรณีหัวหน้าโครงการไม่ได้ปฏิบัติราชการในภาควิชาวิสัญญีวิทยาแล้ว) ซึ่งเป็นวิสัญญีแพทย์หรือวิสัญญีพยาบาล ที่มีผลงานวิจัยตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารทั้งที่เป็น index และ non-index journal ระหว่างปีงบประมาณ 2545-2548 ทุกเรื่อง ยกเว้นผลงานตีพิมพ์ที่เป็นรายงานผู้ป่วย (case report)

          ข้อมูลที่ต้องการศึกษาประกอบด้วย ข้อมูลพื้นฐานของผู้ทำวิจัย จำนวนงานวิจัยที่ได้รับทุนอุดหนุน จำนวนงานวิจัยที่เข้าข่ายเป็นการวิจัยประเภท R2R จำนวนงานวิจัยที่มีการนำไปใช้ประโยชน์ในการดูแลรักษาผู้ป่วยแล้ว และจำนวนงานวิจัยที่มีศักยภาพที่จะพัฒนาเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในการดูแลรักษาผู้ป่วยต่อไป การพิจารณาว่างานวิจัยเป็นการวิจัยประเภท R2R และมีศักยภาพในการนำไปใช้ประโยชน์หรือไม่ ใช้เกณฑ์ของประกาศคณะแพทยศาสตร์ เรื่อง R2R คือ การวิจัยที่มีลักษณะหรือมีเป้าหมายเพื่อพัฒนาคุณภาพของการดูแลผู้ป่วย   เช่น เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการวินิจฉัยโรค  รักษาหรือการป้องกันโรค เพื่อลดอัตราการนอนรักษาในโรงพยาบาล เพื่อลดระยะเวลาในการรักษาพยาบาล เพื่อลดอัตราการเกิดผลข้างเคียงจากการรักษา เพื่อลดอัตราการกลับเข้ารับการรักษาซ้ำ  เพื่อลดจำนวนการนัดหมายเพื่อตรวจแบบผู้ป่วยนอก เป็นต้น ทั้งนี้การตัดสินว่าใช่หรือไม่ใช่การวิจัยประเภท R2R จะใช้ความเห็น 2 ใน 3 ของทีมงานวิจัย  ข้อมูลที่ศึกษาทั้งหมดเป็นข้อมูลแจงนับ จึงนำเสนอในรูปแบบของร้อยละ

ผลการศึกษา

          ได้ส่งแบบสอบถามไปยังหัวหน้าโครงการวิจัยที่มีผลงานตีพิมพ์ในระหว่างปีงบประมาณ 2545-2548 จำนวน 40 โครงการ ได้รับแบบสอบถามกลับคืนทั้งหมด (ร้อยละ 100) เป็นผลงานวิจัยที่ตีพิมพ์ในปีงบประมาณ 2545, 2546, 2547 และ 2548 จำนวน 6, 7, 11 และ 16 เรื่องตามลำดับ รายละเอียดของผลงานวิจัยและผู้ทำวิจัย (ตารางที่ 1)

 

ตารางที่ 1 รายละเอียดของผลงานวิจัยและผู้ทำวิจัย

 

จำนวนผลงานวิจัย (N = 40)

ร้อยละ

หัวหน้าโครงการวิจัย: วิสัญญีแพทย์ / วิสัญญีพยาบาล

22 / 18

55 / 45

โครงการวิจัยที่ได้รับทุนอุดหนุน

18

45

ตีพิมพ์ในวารสาร non-index / index journal

32 / 8

80 / 20

 

      จากผลงานวิจัยทั้งหมด 40 เรื่อง มี 4 เรื่อง (ร้อยละ 10) ที่พิจารณาแล้วว่าไม่เข้าข่ายเป็นงานวิจัยประเภท R2R เนื่องจากเป็นงานวิจัยที่ทำการทดลองในหุ่นหรือในอุปกรณ์อื่นที่ไม่ใช่ผู้ป่วย  ที่เหลือ 36 เรื่อง (ร้อยละ 90) เข้าข่ายเป็นงานวิจัยประเภท R2R โดย 12 เรื่อง (ร้อยละ 30 ของผลงานวิจัยทั้งหมด) ได้นำไปใช้ประโยชน์ในการดูแลรักษาผู้ป่วยแล้วในปัจจุบัน  และมี 6 เรื่อง (ร้อยละ 15 ของผลงานวิจัยทั้งหมด) ที่มีศักยภาพเพียงพอที่จะพัฒนาต่อไปเพื่อนำไปใช้ประโยชน์กับผู้ป่วย ถ้าได้รับการสนับสนุนเพิ่มเติม (ตารางที่ 2)  อีก 10 เรื่อง (ร้อยละ 25 ของผลงานวิจัยทั้งหมด) มีศักยภาพน้อยที่จะพัฒนาต่อไปเพื่อนำไปใช้ประโยชน์กับผู้ป่วย ส่วนที่เหลือ 8 เรื่อง (ร้อยละ 20 ของผลงานวิจัยทั้งหมด) นั้น ไม่สามารถนำไปใช้ใช้ประโยชน์กับผู้ป่วยได้ เนื่องจากยาหรืออุปกรณ์ที่ใช้ในการศึกษาไม่มีใช้หรือเลิกใช้ไปแล้วในปัจจุบัน (รูปที่ 1)  

 

 

รูปที่ 1 การจำแนกประเภทของผลงานวิจัยตามการนำไปใช้ประโยชน์

 

ตารางที่ 2 ผลงานวิจัยที่นำไปใช้ประโยชน์ในการดูแลรักษาผู้ป่วยแล้วในปัจจุบัน (ลำดับที่1-12) และที่มีศักยภาพเพียงพอที่จะพัฒนาเพื่อนำไปใช้ประโยชน์กับผู้ป่วยต่อไป ถ้าได้รับการสนับสนุนเพิ่มเติม (ลำดับที่ 13-18)

ลำดับ

ที่

ชื่อผลงานวิจัย

รูปแบบงานวิจัย

แหล่งตีพิมพ์

หัวหน้า

โครงการ

1

Knowledge and skill after brief ACLS training.

Descriptive

J Med

Assoc Thai 2004;87(11)

แพทย์

2

ความรู้และความพึงพอใจในบทบาทและหน้าที่ของวิสัญญีพยาบาล ภายหลังการฝึกอบรมการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นสูง

Descriptive

ศรีนครินทร์เวชสาร 2547;19(4)

พยาบาล

3

ความพึงพอใจของผู้รับบริการวิสัญญี ในโรงพยาบาล

ศรีนครินทร์

Descriptive

วิสัญญีสาร

2545;28(4)

พยาบาล

4

การสอนผู้ป่วยอย่างมีแบบแผน สามารถเพิ่มอัตราความสำเร็จของการประเมินความปวดในห้องพักฟื้นได้หรือไม่

Randomized Controlled Trial

วิสัญญีสาร

2547;30(3)

พยาบาล

(ได้รับทุน)

5

การสำรวจคำสั่งการให้ยาระงับปวดหลังผ่าตัดผู้ป่วยในโรงพยาบาลศรีนครินทร์

Descriptive

ศรีนครินทร์เวชสาร 2545;17(1)

แพทย์

6

การตรวจสอบคุณภาพการบริการระงับปวดในห้องพักฟื้นตามแนวทางระงับปวดที่ปรับปรุงใหม่ในโรงพยาบาลศรีนครินทร์

Descriptive

วิสัญญีสาร

2548;31(2)

พยาบาล

7

การทดลองใช้แบบบันทึกความปวดเพื่อเป็นสัญญาณชีพที่ห้าในผู้ป่วยหลังผ่าตัดศัลยกรรมออร์โธปิดิกส์

Descriptive

ศรีนครินทร์เวชสาร 2548;20(2)

แพทย์

(ได้รับทุน)

8

การวิจัยเชิงสำรวจ : ความปวดหลังผ่าตัดของผู้ป่วยเด็กในโรงพยาบาลศรีนครินทร์

Descriptive

วิสัญญีสาร

2548;31(2)

แพทย์

9

ปัจจัยที่มีผลต่อการใช้  FLACC  Scale ในการประเมินความปวดในผู้ป่วยเด็กของวิสัญญีพยาบาลที่ห้องพักฟื้นโรงพยาบาลศรีนครินทร์

Descriptive

วิสัญญีสาร

2548;31(4)

พยาบาล

10

ความพึงพอใจของอาสาสมัคร ค่าความดันเลือดและผลต่อผิวหนัง: เปรียบเทียบระหว่างการใช้กับไม่ใช้แผ่นฟิล์มถนอมอาหารพันต้นแขนก่อนวัดความดัน

Randomized Controlled Trial

วิสัญญีสาร

2547;30(4)

พยาบาล

(ได้รับทุน)

11

การป้องกันอันตรายต่อผิวหนังจากการวัดความดันโลหิต โดยการใช้พลาสติกใสที่ใช้ห่ออาหาร (แผ่นฟิล์มถนอมอาหาร) พันแขนก่อนพันถุงลมวัดความดัน

Randomized Controlled Trial

วิสัญญีสาร

2546;29(2)

พยาบาล

12

อัตราการตรวจพบเชื้อในอุปกรณ์วางยาสลบในโรงพยาบาลศรีนครินทร์

Descriptive

วิสัญญีสาร

2546;29(1)

แพทย์

(ได้รับทุน)

13

Surveillance of drug error during anesthetic at Srinagarind Hospital, Khon Kaen University

Descriptive

ศรีนครินทร์เวชสาร 2548;20(1)

พยาบาล

14

การสำรวจปัญหาการตรวจสอบเครื่องวางยาสลบประจำวัน ในโรงพยาบาลศรีนครินทร์

Descriptive

ศรีนครินทร์เวชสาร 2548;20(4)

พยาบาล

15

การบริการระงับปวดในผู้ป่วยเด็ก ของโรงพยาบาล

ศรีนครินทร์

Descriptive

ศรีนครินทร์เวชสาร 2547;19(3)

แพทย์

16

การพันขาเพื่อป้องกันภาวะความดันโลหิตต่ำหลังฉีดยาชาเข้าช่องไขสันหลัง ในผู้สูงอายุที่รับการผ่าตัดบริเวณส่วนล่างของร่างกายในโรงพยาบาลศรีนครินทร์

Randomized Controlled Trial

วิสัญญีสาร

2546;29(4)

พยาบาล

17

การประเมินความรู้เกี่ยวกับภาวะแทรกซ้อนและการปฏิบัติตัวหลังได้รับการฉีดยาชาเข้าช่องไขสันหลังของผู้ป่วยที่ห้องพักฟื้นโรงพยาบาลศรีนครินทร์

Descriptive

วิสัญญีสาร

2548;31(2)

พยาบาล

18

ผลของมอร์ฟีนที่ได้รับในขณะผ่าตัดต่อการระงับปวดในห้องพักฟื้นภายหลังการผ่าตัดมดลูก

Descriptive

วิสัญญีสาร

2548;31(4)

พยาบาล

 

จากการสอบถามหัวหน้าโครงการวิจัยทั้ง 12 เรื่อง ที่นำไปใช้ประโยชน์ในการดูแลรักษาผู้ป่วยแล้วในปัจจุบัน  พบว่ามี 9 รายที่เข้าใจว่างานวิจัยของตนเองเป็นการวิจัยประเภท R2R อีก 3 รายไม่แน่ใจว่าเป็น การวิจัยประเภท R2R หรือไม่ จากการวิเคราะห์หาปัจจัยที่มีส่วนช่วยให้สามารถนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ได้จริงนั้น พบว่าเกิดจากปัจจัยที่สำคัญสองส่วนคือ 1) ผู้วิจัยมีความสนใจ และมุ่งมั่นที่จะดำเนินการด้วยตนเอง   และ 2) ทางภาควิชาฯ ได้จัดให้มีกลุ่มงานในการพัฒนางานบริการในด้านต่างๆ   จึงทำให้ผู้วิจัยสามารถนำผลงานวิจัยไปประยุกต์ใช้ในงานประจำได้เป็นผลสำเร็จ   อย่างไรก็ตามจากการสอบถามหัวหน้าโครงการวิจัยอีก 6 เรื่อง ที่มีศักยภาพเพียงพอที่จะพัฒนาเพื่อนำไปใช้ประโยชน์กับผู้ป่วยต่อไป ถ้าได้รับการสนับสนุนเพิ่มเติม เกี่ยวกับความต้องการด้านการสนับสนุนจากภาควิชาฯ ในการที่จะนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์นั้น ผู้วิจัย 2 ราย ต้องการให้ภาควิชาฯสนับสนุนในด้านการประชาสัมพันธ์ให้บุคลากรตระหนักและเห็นความสำคัญในการปฏิบัติงานตามแนวทางที่มีอยู่แล้ว  อีก 2 ราย ต้องการให้จัดทำเป็นแนวทางขึ้นมาใหม่ให้บุคลากรปฏิบัติเป็นแนวทางเดียวกัน  ที่เหลืออีก 2 รายไม่มีข้อเสนอแนะ

วิจารณ์

            ผลการศึกษาครั้งนี้ พบว่า ผลงานวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์ของบุคลากรในภาควิชาวิสัญญีวิทยา ระหว่างปีงบประมาณ 2545-2548 มีจำนวนทั้งหมด 40 เรื่อง เป็นผลงานวิจัยที่เข้าข่ายเป็นงานวิจัยประเภท R2R ถึง 36 เรื่อง (ร้อยละ 90) ซึ่งเป็นสัดส่วนที่ค่อนข้างสูง แต่ไม่สามารถนำไปเปรียบเทียบกับหน่วยงานหรือสถาบันอื่นได้ เนื่องจากไม่มีแหล่งข้อมูลให้เปรียบเทียบ โดยผลงานวิจัยที่เข้าข่ายเป็นงานวิจัยประเภท R2R ดังกล่าว ได้มีการนำไปใช้ประโยชน์ในการดูแลรักษาผู้ป่วยแล้วในปัจจุบันจำนวน 12 เรื่อง (ร้อยละ 33.3) ส่วนที่เหลือพบว่า มีศักยภาพเพียงพอที่จะพัฒนาต่อไปเพื่อนำไปใช้ประโยชน์กับผู้ป่วย ถ้าได้รับการสนับสนุนเพิ่มเติมจำนวน 6 เรื่อง (ร้อยละ 16.7) มีศักยภาพน้อยที่จะพัฒนาต่อไปเพื่อนำไปใช้ประโยชน์กับผู้ป่วยจำนวน 10 เรื่อง (ร้อยละ 27.8)  และอีก 8 เรื่อง (ร้อยละ 22.2) ไม่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ เนื่องจากยาหรืออุปกรณ์ที่ใช้ในการศึกษาไม่มีใช้หรือเลิกใช้ไปแล้วในปัจจุบัน

          การพิจารณาว่างานวิจัยเรื่องไหนเป็นหรือไม่เป็นการวิจัยประเภท R2R นั้น เป็นเรื่องที่ค่อนข้างยาก เพราะงานวิจัยแต่ละเรื่องอาจไม่ตรงตามคำจำกัดความของการวิจัยประเภท R2R ทุกประเด็น คือ 1) ปัญหางานวิจัยมาจากการปฏิบัติงานประจำ 2) คนที่ทำงานเผชิญปัญหาอยู่ 3) ผลลัพธ์งานวิจัยวัดที่ระดับผู้ป่วย เช่น บริการดีขึ้น และ 4) สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในงานประจำได้ ซึ่งในที่นี้เน้นการดูแลผู้ป่วยเป็นหลัก จึงต้องอาศัยความเห็นของทีมงานวิจัยในการช่วยพิจารณา ซึ่งพบว่ามีอยู่ 12 เรื่อง ที่ได้นำไปใช้ประโยชน์ในการดูแลรักษาผู้ป่วยแล้วในปัจจุบัน  อย่างไรก็ตามลักษณะการนำไปใช้งานนั้นแต่ละเรื่องมีการใช้งานมากน้อยต่างกัน ซึ่งในประเด็นนี้ทางทีมงานวิจัยไม่ได้ศึกษาในรายละเอียด

          จากผลงานวิจัยทั้งหมดของภาควิชาฯ พบว่า มีจำนวนมากกว่าครึ่ง (ร้อยละ 55) ที่ทำงานวิจัยโดยไม่ได้รับทุนอุดหนุน ถ้าพิจารณาเฉพาะงานวิจัยที่ได้นำไปใช้ประโยชน์ในการดูแลรักษาผู้ป่วยแล้วในปัจจุบัน 12 เรื่อง และงานวิจัยที่มีศักยภาพเพียงพอที่จะพัฒนาเพื่อนำไปใช้ประโยชน์กับผู้ป่วยต่อไป ถ้าได้รับการสนับสนุนเพิ่มเติม 6 เรื่อง รวม 18 เรื่อง พบว่า ในจำนวนนี้มีงานวิจัยที่ได้รับทุนอุดหนุนเพียง 4 เรื่อง คิดเป็น ร้อยละ 22.2 ของงานวิจัยที่ได้รับทุน หรือ ร้อยละ 10 ของผลงานวิจัยทั้งหมด   ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงปัญหาของระบบการทำวิจัยของภาควิชาฯ และระบบการสนับสนุนทุนวิจัยของคณะแพทยศาสตร์ด้วย การที่ผู้วิจัยไม่ได้รับทุนนั้นอาจเป็นไปได้ว่า หัวหน้าโครงการที่เป็นพยาบาลซึ่งมีเกือบครึ่ง (ร้อยละ 45) นั้น ศักยภาพในการขอทุนมีน้อย หรืออาจเป็นเพราะลักษณะงานวิจัยที่ทำอยู่นั้นสามารถทำได้ โดยไม่ต้องอาศัยเงินทุนจำนวนมาก ทำให้ไม่อยากเสียเวลาในการขอทุน ซึ่งในการศึกษานี้ไม่มีรายละเอียดของจำนวนเงินทุนที่ใช้ไปในแต่ละโครงการ

          การศึกษานี้พบว่า ผลงานวิจัยที่เข้าข่ายเป็นการวิจัยประเภท R2R ที่ได้มีการนำไปใช้ประโยชน์ในการดูแลรักษาผู้ป่วยแล้วในปัจจุบัน และงานวิจัยที่มีศักยภาพเพียงพอที่จะพัฒนาต่อไปเพื่อนำไปใช้ประโยชน์กับผู้ป่วย ถ้าได้รับการสนับสนุนเพิ่มเติม ทั้ง 18 เรื่อง ส่วนใหญ่ (ร้อยละ 78) เป็นรูปแบบงานวิจัยเชิงพรรณนา มีส่วนน้อยที่เป็นรูปแบบอื่น จึงอาจพูดได้ว่ามีการใช้รูปแบบงานวิจัยเชิงพรรณนาในการวิจัยประเภท R2R มากที่สุด อย่างไรก็ตามงานวิจัยรูปแบบอื่นอาจมีความเหมาะสมที่จะใช้ในการวิจัยประเภท R2R ได้เช่นเดียวกัน  ซึ่งผู้วิจัยคิดว่างานวิจัยรูปแบบไหนก็ตาม ที่สามารถตอบโจทย์การวิจัยที่มาจากงานประจำได้ และสามารถนำผลงานวิจัยกลับมาใช้ประโยชน์ได้ ก็น่าจะเป็นรูปแบบงานวิจัยที่ใช้สำหรับการวิจัยประเภท R2R ได้เช่นกัน

          จากงานวิจัยทั้งหมด 40 เรื่อง พบว่ามีเพียง 12 เรื่อง (ร้อยละ 30) เท่านั้นที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการดูแลผู้ป่วยได้อย่างจริงจัง ส่วนงานวิจัยที่เหลืออีก 28 เรื่อง (ร้อยละ 70) นั้น มีทั้งที่ใช้ประโยชน์ไม่ได้แล้ว หรือที่ยังไม่ได้ใช้ประโยชน์ และที่อาจมีการใช้ประโยชน์บ้างแต่เป็นเพียงเล็กน้อย  ซึ่งสอดคล้องกับการศึกษาเรื่องการนำผลงานวิจัยที่ได้รับทุนของคณะแพทยศาสตร์ไปใช้ให้เกิดประโยชน์ของอาภาภรณ์2  และของปิยทัศน์4  ทั้งนี้เนื่องจากการนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์นั้นเป็นเรื่องที่ต้องอาศัยความร่วมมือจากหลายภาคส่วน หากการสนับสนุนด้านการนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์มีน้อยกว่าการสนับสนุนด้านการสร้างผลงานวิจัย คงจะทำให้ผู้วิจัยส่วนใหญ่มุ่งเน้นในเรื่องการสร้างผลงานวิจัยเหมือนที่เป็นอยู่ในปัจจุบันนี้แน่นอน ดังนั้นในการที่จะนำผลงานวิจัยที่มีศักยภาพที่จะใช้ให้เกิดประโยชน์ในการศึกษานี้ อีก 6 เรื่องไปใช้ให้เกิดประโยชน์อย่างจริงจังนั้น ทางภาควิชาฯ จะต้องหาวิธีการหรือรูปแบบการสนับสนุนที่เหมาะสมกับงานวิจัยดังกล่าว จึงจะสามารถนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ได้อย่างเป็นรูปธรรม

สรุป

                     การสำรวจผลงานวิจัยของบุคลากรภาควิชาวิสัญญีวิทยา ที่ได้รับการตีพิมพ์ระหว่างปีงบประมาณ 2545-2548 จำนวน 40 เรื่อง พบมีผลงานวิจัยที่เข้าข่ายเป็นงานวิจัยประเภท R2R ถึงร้อยละ 90 แต่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการดูแลรักษาผู้ป่วยได้จริงในปัจจุบัน เพียงร้อยละ 33.3 (หรือร้อยละ 30 ของผลงานวิจัยทั้งหมด) ส่วนที่เหลือมีเพียง ร้อยละ 16.7 (หรือร้อยละ 15 ของผลงานวิจัยทั้งหมด) เท่านั้น ที่มีศักยภาพเพียงพอที่จะพัฒนาต่อไปเพื่อนำไปใช้ประโยชน์กับผู้ป่วย ถ้าได้รับการสนับสนุนเพิ่มเติม

   

เอกสารอ้างอิง

1.      Eccles M, Grimshaw J, Walker A, Johnston M, Pitts N. Changing the behavior of healthcare professionals: the use of theory in promoting the uptake of research findings. J Clin Epidemiology 2005; 58: 107-12.

2.      อาภาภรณ์ ธรเสนา, สมบูรณ์ เทียนทอง, เพ็ญศรี โควสุวรรณ และคณะ. การสำรวจการนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. วารสารประกันคุณภาพ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 2547; 2: 40-8.

3.      อาภาภรณ์ ธรเสนา, สมบูรณ์ เทียนทอง, ศุภศิลป์ สุนทราภา, เสาวนันท์ บำเรอราช, อมรรัตน์ รัตนศิริ,    ชูศรี คูชัยสิทธิ์ และคณะ. การศึกษาระบบสนับสนุนการตีพิมพ์ผลงานวิจัยที่ได้รับทุนของคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. ศรีนครินทร์เวชสาร 2550; 22: 174-81.

4.      ประกาศคณะแพทยศาสตร์ ฉบับที่ 109/2547 เรื่อง หลักเกณฑ์การขอและการจัดสรรทุนวิจัยโครงการวิจัยเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในการรักษาพยาบาลผู้ป่วย ในโรงพยาบาลศรีนครินทร์.

คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 2547.

 

 

 

 

 

 

Untitled Document
Article Location

Untitled Document
Article Option
       Abstract
       Fulltext
       PDF File
Untitled Document
 
ทำหน้าที่ ดึง Collection ที่เกี่ยวข้อง แสดง บทความ ตามที่ีมีใน collection ที่มีใน list Untitled Document
Another articles
in this topic collection

Surveillance of and Risk Fztors for Difficult Intubation At Srinagarind Hosipital (การเฝ้าระวังการใส่ท่อช่วยหายใจลำบากระหว่างการวางยาระงับความรู้สึกในโรงพยาบาลศรีนครินทร์ และปัจจัยที่เกี่ยวข้อง)
 
Surveillance of Drug Error during Anesthesia at Srinagarind Hospital Khon Kaen University (การเฝ้าระวังความผิดพลาดในการให้ยาระหว่างการให้ยาระงับความรู้สึกในโรงพยาบาลศรีนครินทร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น)
 
Incidence of Anesthesia-Associated Cardiac Arrest And Related Factors At Srinagarind Hospital (อุบัติการณ์ภาวะหัวใจหยุดเต้นและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการระงับความรู้สึกในโรงพยาบาลศรีนครินทร์)
 
New Trend Anesthesia for Cesarean Section (แนวโน้มการให้ยาระงับความรู้สึกเพื่อผ่าตัดคลอด)
 
<More>
Untitled Document
 
This article is under
this collection.

Anesthesia
 
 
 
 
Srinagarind Medical Journal,Faculty of Medicine, Khon Kaen University. Copy Right © All Rights Reserved.
 
 
 
 

 


Warning: Unknown: Your script possibly relies on a session side-effect which existed until PHP 4.2.3. Please be advised that the session extension does not consider global variables as a source of data, unless register_globals is enabled. You can disable this functionality and this warning by setting session.bug_compat_42 or session.bug_compat_warn to off, respectively in Unknown on line 0