Untitled Document
 
 
 
 
Untitled Document
Home
Current issue
Past issues
Topic collections
Search
e-journal Editor page

Institutional Benchmarking: A Tool to Improve Quality of Acute Pain Service

การพัฒนาคุณภาพงานบริการระงับปวดหลังผ่าตัดโดยใช้ผลงานระหว่างสถาบันเป็นเกณฑ์

Malinee Wongswadiwat (มาลินี วงศ์สวัสดิวัฒน์) 1, Sahattaya Paiboonworachart (สหัทยา ไพบูลย์วรชาติ) 2, Wimonrat Sriraj (วิมลรัตน์ ศรีราช) 3, Ladda Wongpankamol (ลัดดา วงษ์พันธ์กมล) 4, Suthannee Simajareuk (สุธันนี สิมะจารึก) 5, Somboon Thienthong (สมบูรณ์ เทียนทอง) 6




การพัฒนาคุณภาพงานบริการระงับปวดหลังผ่าตัดโดยใช้ผลงานระหว่างสถาบันเป็นเกณฑ์

มาลินี วงศ์สวัสดิวัฒน์1, สหัทยา ไพบูลย์วรชาติ2, วิมลรัตน์ ศรีราช1 , ลัดดา วงษ์พันธ์กมล2, สุธันนี สิมะจารึก1, สมบูรณ์ เทียนทอง1

1, ภาควิชาวิสัญญีวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

2 ภาควิชาวิสัญญีวิทยา คณะแพทยศาสตร์  มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

 

Institutional Benchmarking: A Tool to Improve Quality of Acute Pain Service 

Malinee Wongswadiwat1, Sahattaya Paiboonworachart2, Wimonrat Sriraj1, Ladda Wongpankamol2, Suthannee Simajareuk1, Somboon Thienthong1

1 Department of Anesthesiology, Faculty of Medicine, Khon Kaen University, Thailand, 40002

2 Department of Anesthesiology, Faculty of Medicine, Chiang Mai University, Thailand, 50200

หลักการและเหตุผล: ในปัจจุบันการรักษาอาการปวดหลังผ่าตัดมีความสำคัญอย่างยิ่งสำหรับการฟื้นตัวของผู้ป่วยและลดอาการแทรกซ้อนอันเนื่องมาจากความปวด หน่วยระงับปวด (Acute Pain Service; APS) ได้ถูกจัดตั้งขึ้นอย่างแพร่หลายทั่วโลกเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการดูแลระงับปวด ภาควิชาวิสัญญีวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น (มข.) และมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (มช.) ได้พัฒนา หน่วยระงับปวด มาในระยะเวลาใกล้เคียงกันแต่ยังไม่เคยนำผลงานมาเทียบเคียงกัน เพื่อหาจุดเด่นของแต่ละสถาบันมาพัฒนาการทำงานของหน่วยAPS ของทั้งสองสถาบันต่อไป

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาเปรียบเทียบผลการดำเนินงานของ APS ของทั้งสองสถาบัน

วิธีการศึกษา: เป็นการศึกษาข้อมูลย้อนหลังแบบพรรณนา ในระยะเวลา 1 ปี (2548) จากแบบบันทึกข้อมูลการดูแลระงับปวดหลังผ่าตัดของสองสถาบันในปี พ.ศ.2548 เป็นเวลา 1ปี โดยข้อมูลที่ต้องการศึกษาคือ สัดส่วนการให้บริการระงับปวดหลังผ่าตัดต่อการให้บริการระงับความรู้สึก จำนวนวันเฉลี่ยของการให้บริการ วิธีการให้การระงับปวด การประเมินความปวด อาการแทรกซ้อน และความพึงพอใจของผู้รับบริการ ระบบและมาตรฐานของการบริการ โดยเน้นเปรียบเทียบข้อมูลผู้ป่วยผ่าตัดทางออร์โธปิดิกส์เป็นหลัก   โดยข้อมูลที่ได้นำเสนอและวิเคราะห์โดยใช้ descriptive statistic

ผลการศึกษา: สัดส่วนผู้ป่วยที่ได้รับบริการระงับปวดหลังผ่าตัดโดยหน่วย APS ต่อการให้บริการระงับความรู้สึกของ มข.เท่ากับ ร้อยละ12.3 ส่วนของ มช.เท่ากับ ร้อยละ 7.1  มข.ให้บริการระงับปวดแก่ผู้ป่วยที่ผ่าตัดในช่องท้องมากที่สุดถึง ร้อยละ 60 ส่วน มช.ให้บริการระงับปวดผู้ป่วยผ่าตัดหัวใจ หลอดเลือด และช่องอก มากที่สุดถึงร้อยละ 76 จำนวนวันเฉลี่ยในการให้การดูแลผู้ป่วยเท่ากันทั้งสองสถาบันคือ 2.0+1.0วัน  สัดส่วนผู้ป่วยที่รับบริการระงับปวดทั้งสองสถาบันเป็นอันดับที่สองคือผู้ป่วยผ่าตัดทาง ออร์โธปิดิกส์ คิดเป็น ร้อยละ 26.8 และ ร้อยละ 20.7 ของ มข.และมช.ตามลำดับ เทคนิคในการระงับปวดผู้ป่วยผ่าตัดทางออร์โธปิดิกส์ของมข.มีหลายเทคนิค คือ IV PCA (ร้อยละ59) IV opioid infusion (ร้อยละ30) epidural (ร้อยละ6.8) และ spinal morphine with IV PCA (ร้อยละ5.2) ส่วนของมช.เทคนิคหลักคือ IV PCA (ร้อยละ97) โดยผลการระงับปวดผู้ป่วยผ่าตัดทางออร์โธปิดิกส์พบว่า ผู้ป่วยมี severe pain ขณะพัก ร้อยละ9.5 ของมข. และร้อยละ 6 ของมช.โดยไม่พบอาการแทรกซ้อนที่รุนแรง ความพึงพอใจของผู้ป่วยต่อการระงับปวดของหน่วยงานทั้งสองสถาบันอยู่ในระดับที่น่าพึงพอใจ ร้อยละ 94-97 ส่วนการเปรียบเทียบระบบและมาตรฐานของการบริการพบว่าแต่ละแห่งมีจุดเด่นที่ต่างกัน

สรุป: การศึกษาผลการดำเนินงานของหน่วย APS ของสองสถาบัน โดยเปรียบเทียบในผู้ป่วยผ่าตัดทางออร์โธปิดิกส์เป็นหลัก พบมีความแตกต่างกันในหลายด้าน เช่นเทคนิคการบริการระงับปวด ผลการระงับปวด ระบบและมาตรฐานของการบริการ ฯลฯ ซึ่งจุดเด่นที่ได้จากทั้งสองสถาบันสามารถนำมาใช้ในการพัฒนาหน่วย APS ต่อไป

 Background:  Currently, post-operative pain management is considered an integral part of recovering and reducing complications related to pain.  Acute pain service (APS) has been established worldwide in order to improve the effectiveness of patient care.  The Departments of Anesthesia at Khon Kaen and Chiang Mai Universities (KKU and CMU, respectively)    developed an APS system each at approximately the same time.  Collaboration of the two institutions to benchmark their APS data will help them move forward vis-à-vis post-operative pain management.

Objectives:  Comparing the results of the respective APS systems between Khon Kaen and Chiang Mai Universities.

Design:  Retrospective, descriptive study

Methods:  The 2005 calendar year data, from the respective APS databases, were reviewed, allowing a comparison of post-operative pain management at KKU and CMU hospitals. We focused on the percentage of post-operative orthopedic patients care through the APS system compared with (1) APS service, (2) days of service, (3) method of pain management, (4) pain assessment, (5) complications, (6) the APS system and (7) patient satisfaction. The data were analyzed using descriptive statistics.

Results:  Patients who received APS accounted for 12.3 and 7.2 percent of KKU and CMU patients, respectively.  The greatest proportion of patients at KKU receiving APS was for intra-abdominal surgery (60%) while at CMU it was for cardiovascular and thoracic surgery (76%).  Both institutions provided an average 2.0±1.0 days of service. Surgery on extremities (orthopedics) ranked second at both institutions (26.8 and 20.7 percent, respectively).  KKU used variety techniques for controlling pain among orthopedic patients:  viz., IV PCA (59%), IV opioid infusion (30%), epidural (6.8%) and spinal morphine with PCA (5.2%), while the primary modality for pain control at CMU was IV PCA (97%).  Resting pain for CMU patients was less than that reported by KKU patients (6 vs. 9.5 percent, respectively); however, dynamic pain was not assessed at CMU. Serious complication was not found and patient rated satisfy with APS approximately 94% and 97% (CMU, KKU).

Conclusion:  The delivery of APS for orthopedic surgery patients at two regional university hospitals in Thailand were studied and benchmarked. There was some difference in the strengths of the APS system between the two institutions; such as, techniques of pain treatment, pain scores and system for pain management. Strengths and weaknesses observed during this benchmarking exercise will be used to improve the delivery of APS at both institutions.

 

Keywords: Acute Pain Service; Benchmark; Post-Operative Pain; University Hospital

 

 

การพัฒนาคุณภาพงานบริการระงับปวดหลังผ่าตัดโดยใช้ผลงานระหว่างสถาบันเป็นเกณฑ์

มาลินี วงศ์สวัสดิวัฒน์1, สหัทยา ไพบูลย์วรชาติ2, วิมลรัตน์ ศรีราช1 , ลัดดา วงษ์พันธ์กมล2, สุธันนี สิมะจารึก1, สมบูรณ์ เทียนทอง1

1, ภาควิชาวิสัญญีวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

2 ภาควิชาวิสัญญีวิทยา คณะแพทยศาสตร์  มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

 

Institutional Benchmarking: A Tool to Improve Quality of Acute Pain Service 

Malinee Wongswadiwat1, Sahattaya Paiboonworachart2, Wimonrat Sriraj1, Ladda Wongpankamol2, Suthannee Simajareuk1, Somboon Thienthong1

1 Department of Anesthesiology, Faculty of Medicine, Khon Kaen University, Thailand, 40002

2 Department of Anesthesiology, Faculty of Medicine, Chiang Mai University, Thailand, 50200

หลักการและเหตุผล: ในปัจจุบันการรักษาอาการปวดหลังผ่าตัดมีความสำคัญอย่างยิ่งสำหรับการฟื้นตัวของผู้ป่วยและลดอาการแทรกซ้อนอันเนื่องมาจากความปวด หน่วยระงับปวด (Acute Pain Service; APS) ได้ถูกจัดตั้งขึ้นอย่างแพร่หลายทั่วโลกเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการดูแลระงับปวด ภาควิชาวิสัญญีวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น (มข.) และมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (มช.) ได้พัฒนา หน่วยระงับปวด มาในระยะเวลาใกล้เคียงกันแต่ยังไม่เคยนำผลงานมาเทียบเคียงกัน เพื่อหาจุดเด่นของแต่ละสถาบันมาพัฒนาการทำงานของหน่วยAPS ของทั้งสองสถาบันต่อไป

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาเปรียบเทียบผลการดำเนินงานของ APS ของทั้งสองสถาบัน

วิธีการศึกษา: เป็นการศึกษาข้อมูลย้อนหลังแบบพรรณนา ในระยะเวลา 1 ปี (2548) จากแบบบันทึกข้อมูลการดูแลระงับปวดหลังผ่าตัดของสองสถาบันในปี พ.ศ.2548 เป็นเวลา 1ปี โดยข้อมูลที่ต้องการศึกษาคือ สัดส่วนการให้บริการระงับปวดหลังผ่าตัดต่อการให้บริการระงับความรู้สึก จำนวนวันเฉลี่ยของการให้บริการ วิธีการให้การระงับปวด การประเมินความปวด อาการแทรกซ้อน และความพึงพอใจของผู้รับบริการ ระบบและมาตรฐานของการบริการ โดยเน้นเปรียบเทียบข้อมูลผู้ป่วยผ่าตัดทางออร์โธปิดิกส์เป็นหลัก   โดยข้อมูลที่ได้นำเสนอและวิเคราะห์โดยใช้ descriptive statistic

ผลการศึกษา: สัดส่วนผู้ป่วยที่ได้รับบริการระงับปวดหลังผ่าตัดโดยหน่วย APS ต่อการให้บริการระงับความรู้สึกของ มข.เท่ากับ ร้อยละ12.3 ส่วนของ มช.เท่ากับ ร้อยละ 7.1  มข.ให้บริการระงับปวดแก่ผู้ป่วยที่ผ่าตัดในช่องท้องมากที่สุดถึง ร้อยละ 60 ส่วน มช.ให้บริการระงับปวดผู้ป่วยผ่าตัดหัวใจ หลอดเลือด และช่องอก มากที่สุดถึงร้อยละ 76 จำนวนวันเฉลี่ยในการให้การดูแลผู้ป่วยเท่ากันทั้งสองสถาบันคือ 2.0+1.0วัน  สัดส่วนผู้ป่วยที่รับบริการระงับปวดทั้งสองสถาบันเป็นอันดับที่สองคือผู้ป่วยผ่าตัดทาง ออร์โธปิดิกส์ คิดเป็น ร้อยละ 26.8 และ ร้อยละ 20.7 ของ มข.และมช.ตามลำดับ เทคนิคในการระงับปวดผู้ป่วยผ่าตัดทางออร์โธปิดิกส์ของมข.มีหลายเทคนิค คือ IV PCA (ร้อยละ59) IV opioid infusion (ร้อยละ30) epidural (ร้อยละ6.8) และ spinal morphine with IV PCA (ร้อยละ5.2) ส่วนของมช.เทคนิคหลักคือ IV PCA (ร้อยละ97) โดยผลการระงับปวดผู้ป่วยผ่าตัดทางออร์โธปิดิกส์พบว่า ผู้ป่วยมี severe pain ขณะพัก ร้อยละ9.5 ของมข. และร้อยละ 6 ของมช.โดยไม่พบอาการแทรกซ้อนที่รุนแรง ความพึงพอใจของผู้ป่วยต่อการระงับปวดของหน่วยงานทั้งสองสถาบันอยู่ในระดับที่น่าพึงพอใจ ร้อยละ 94-97 ส่วนการเปรียบเทียบระบบและมาตรฐานของการบริการพบว่าแต่ละแห่งมีจุดเด่นที่ต่างกัน

สรุป: การศึกษาผลการดำเนินงานของหน่วย APS ของสองสถาบัน โดยเปรียบเทียบในผู้ป่วยผ่าตัดทางออร์โธปิดิกส์เป็นหลัก พบมีความแตกต่างกันในหลายด้าน เช่นเทคนิคการบริการระงับปวด ผลการระงับปวด ระบบและมาตรฐานของการบริการ ฯลฯ ซึ่งจุดเด่นที่ได้จากทั้งสองสถาบันสามารถนำมาใช้ในการพัฒนาหน่วย APS ต่อไป

 

 Background:  Currently, post-operative pain management is considered an integral part of recovering and reducing complications related to pain.  Acute pain service (APS) has been established worldwide in order to improve the effectiveness of patient care.  The Departments of Anesthesia at Khon Kaen and Chiang Mai Universities (KKU and CMU, respectively)    developed an APS system each at approximately the same time.  Collaboration of the two institutions to benchmark their APS data will help them move forward vis-à-vis post-operative pain management.

Objectives:  Comparing the results of the respective APS systems between Khon Kaen and Chiang Mai Universities.

Design:  Retrospective, descriptive study

Methods:  The 2005 calendar year data, from the respective APS databases, were reviewed, allowing a comparison of post-operative pain management at KKU and CMU hospitals. We focused on the percentage of post-operative orthopedic patients care through the APS system compared with (1) APS service, (2) days of service, (3) method of pain management, (4) pain assessment, (5) complications, (6) the APS system and (7) patient satisfaction. The data were analyzed using descriptive statistics.

Results:  Patients who received APS accounted for 12.3 and 7.2 percent of KKU and CMU patients, respectively.  The greatest proportion of patients at KKU receiving APS was for intra-abdominal surgery (60%) while at CMU it was for cardiovascular and thoracic surgery (76%).  Both institutions provided an average 2.0±1.0 days of service. Surgery on extremities (orthopedics) ranked second at both institutions (26.8 and 20.7 percent, respectively).  KKU used variety techniques for controlling pain among orthopedic patients:  viz., IV PCA (59%), IV opioid infusion (30%), epidural (6.8%) and spinal morphine with PCA (5.2%), while the primary modality for pain control at CMU was IV PCA (97%).  Resting pain for CMU patients was less than that reported by KKU patients (6 vs. 9.5 percent, respectively); however, dynamic pain was not assessed at CMU. Serious complication was not found and patient rated satisfy with APS approximately 94% and 97% (CMU, KKU).

Conclusion:  The delivery of APS for orthopedic surgery patients at two regional university hospitals in Thailand were studied and benchmarked. There was some difference in the strengths of the APS system between the two institutions; such as, techniques of pain treatment, pain scores and system for pain management. Strengths and weaknesses observed during this benchmarking exercise will be used to improve the delivery of APS at both institutions.

 

Keywords: Acute Pain Service; Benchmark; Post-Operative Pain; University Hospital

 

บทนำ

เป็นที่ยอมรับว่าหน่วยระงับปวดหลังผ่าตัด (Acute Pain Service: APS) มีส่วนสำคัญในการดูแลผู้ป่วยที่มีอาการปวดหลังผ่าตัด ดังจะเห็นได้จากมีการจัดตั้งหน่วย APS มากขึ้นในหลายประเทศ  เช่น ประเทศอังกฤษ มีหน่วยงาน APS เพิ่มขึ้นจาก ร้อยละ2.8 ในปี 1990 เป็น ร้อยละ42.7  และร้อยละ 49 ในปี 1994 และ 1999 ตามลำดับ1, 2 เช่นเดียวกับประเทศ  Canada (1991), Australia and New Zealand (1992-1993) และ Europe 17 ประเทศ (1993)  มีโรงพยาบาลที่มีการจัดตั้งหน่วย APS คิดเป็น ร้อยละ53, 33 และ 34  ตามลำดับ3-5  ส่วนโรงพยาบาลในประเทศสหรัฐอเมริกา (1995) นั้นมีรายงานว่ามีการจัดตั้งหน่วย APS ระหว่าง  ร้อยละ42-73 6, 7

ถึงแม้ว่าประสิทธิภาพของหน่วย APS จะได้ผลแตกต่างกันบ้าง แต่ส่วนใหญ่แล้ว APS มีส่วนช่วยให้ผู้ป่วยได้รับการดูแลเรื่องการระงับปวดดีขึ้น   Bardiau และคณะ8 รายงานว่าผู้ป่วยที่ได้รับบริการจาก APS มีอาการปวดลดลงมากกว่าร้อยละ 50,   Wheatley และคณะรายงานว่าผู้ป่วยจำนวนร้อยละ 909  มีอาการปวดเพียงเล็กน้อยถึงปวดปานกลางใน 24 ชั่วโมงแรกหลังผ่าตัด เช่นเดียวกับ Werner และคณะ10 ซึ่งรวบรวมผลการศึกษาเกี่ยวกับ acute pain service  พบว่าผู้ป่วยที่มีระดับความปวดปานกลางถึงปวดมากในขณะพัก ลดลงระหว่างร้อยละ 0-27 และความปวดในขณะมีการเคลื่อนไหวลดลงระหว่างร้อยละ 19-64

ภาควิชาวิสัญญีวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น (มข.) ได้เริ่มให้บริการการระงับปวดหลังผ่าตัดอย่างเต็มรูปแบบเมื่อ มกราคม 2547 โดยใช้เทคนิคหลักในการให้บริการ 5 วิธี 1) spinal morphine, 2) patient-controlled analgesia (IV PCA), 3) intravenous opioid infusion, 4) patient-controlled epidural analgesia (PCEA) และ 5) continuous epidural infusion ซึ่งในปีแรกนั้น ได้ให้บริการผู้ป่วยเป็นจำนวน 1,540 ราย คิดเป็นร้อยละ 14 ของผู้ป่วยที่เข้ารับการผ่าตัดทั้งหมด โดยผู้ป่วยที่ได้รับบริการพึงพอใจมากร้อยละ 80, พอใจร้อยละ 17.5 และไม่พอใจร้อยละ 2.5 ทั้งนี้ยังมีผู้ป่วยที่มี severe pain ขณะพัก ในวันแรกหลังผ่าตัดอยู่ร้อยละ 10  ซึ่งหลังจากได้มีการรายงานผลการดูแลผู้ป่วยในปีแรกแล้ว11 ในรอบปี 2548  ต่อมาจึงได้มีการปรับปรุงการบริการเป็นระยะๆ แต่จากการวิเคราะห์ข้อมูล 3 ปีแรกของการบริการ พบว่าสัดส่วนผู้ป่วยที่มี severe pain ขณะพัก ในวันแรกหลังผ่าตัดยังไม่ลดลงเป็นที่น่าพอใจ  ซึ่งเป็นประเด็นสำคัญที่ต้องได้รับการนำมาพัฒนาต่อไป

การเปรียบเทียบผลการปฏิบัติงานในปัจจุบันกับผลงานในช่วงเวลาที่ผ่านมา หรือเปรียบเทียบกับผลงานของสถาบันอื่นเป็นอีกวิธีการหนึ่งในขบวนการพัฒนาคุณภาพ ในการเปรียบเทียบนั้นจะพบทั้งจุดด้อยและจุดเด่น โดยจุดด้อยที่พบจะเป็นโอกาสในการพัฒนา ส่วนจุดเด่นนั้นอาจถือเป็น best practice ของสถาบันแต่ก็ยังคงมีประเด็นให้พัฒนาต่อไปได้เช่นเดียวกัน   

ภาควิชาวิสัญญีวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (มช.) ได้เริ่มให้บริการระงับปวดหลังผ่าตัดในระยะเวลาใกล้เคียงกันกับภาควิชาวิสัญญีวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ซึ่งทั้งสองหน่วยงานได้มีข้อตกลงในเบื้องต้นที่จะสร้างความร่วมมือในทางวิชาการ เช่นจัดประชุมวิชาการ และการทำวิจัยร่วมกัน ตั้งแต่ปี 2549

 ดังนั้น ผู้วิจัยจึงอยากทราบว่าการให้บริการระงับปวดหลังผ่าตัดของภาควิชาวิสัญญีวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่นได้ผลเป็นอย่างไร เมื่อเทียบกับผลการบริการระงับปวดของภาควิชาวิสัญญีวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

 

วัตถุประสงค์

1.      เพื่อศึกษาเปรียบเทียบผลการปฏิบัติงานของหน่วยระงับปวดหลังผ่าตัดระหว่าง ภาควิชาวิสัญญีวิทยา คณะแพทยศาสตร์ ของมหาวิทยาลัยขอนแก่น และมหาวิทยาลัยเชียงใหม่

2.      เพื่อศึกษารูปแบบหรือวิธีการที่มีประโยชน์ในการระงับปวดของทั้งสองสถาบันมาปรับใช้ในการพัฒนาหน่วยงานต่อไป

วิธีการศึกษา

          ทำการศึกษาในสองสถาบันคือ ภาควิชาวิสัญญีวิทยา คณะแพทยศาสตร์ ของมหาวิทยาลัยขอนแก่น และมหาวิทยาลัยเชียงใหม่  การศึกษานี้ได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น และมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เป็นการศึกษาเชิงพรรณนาโดยการรวบรวมข้อมูลย้อนหลัง 1 ปี (พ.ศ.2548) จากแบบบันทึกการดูแลผู้ป่วยของหน่วยระงับปวดหลังผ่าตัดของทั้งสองสถาบัน และการทำ focus group ของทีมงานระงับปวดของทั้งสองสถาบัน ข้อมูลที่ต้องการศึกษาได้แก่

           - ข้อมูลพื้นฐานของผู้ป่วยได้แก่  อายุ  เพศ  ตำแหน่งการผ่าตัด  ภาควิชาที่รับบริการ เทคนิคหรือวิธีให้ยาระงับปวดที่บริการ  ระบบและมาตรฐานการบริการ และการสนับสนุนของหน่วยงาน

- สัดส่วนผู้ป่วยที่ได้รับการบริการจากหน่วย APS เทียบกับผู้ป่วยทั้งหมดที่ได้รับบริการทางวิสัญญี

- จำนวนวันเฉลี่ยที่ให้บริการระงับปวดแก่ผู้ป่วย

-  ผลการระงับปวดในผู้ป่วยผ่าตัดทางออร์โธปิดิกส์ ในด้านต่อไปนี้

- Pain score ในวันแรกหลังผ่าตัด ทั้งขณะพัก และขณะมีการเคลื่อนไหว

- สัดส่วนของการประเมินความปวดโดยใช้ Numeric Rating Scale

- อาการแทรกซ้อนที่พบร่วม ได้แก่ คลื่นไส้อาเจียน sedation, การกดการหายใจ ฯลฯ

-  ความพึงพอใจในการระงับปวด (4 ระดับ: very satisfied, satisfied, unsatisfied, very unsatisfied)

          วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ descriptive statistic

 

ผลการศึกษา

            ผลการบริการระงับปวดผู้ป่วย

          จำนวนผู้ป่วยทั้งหมดในปีพ.ศ.2548 ที่ได้รับบริการระงับปวดของทั้งสองสถาบันต่างกันไม่มากนัก แต่เมื่อเทียบสัดส่วนของการบริการระงับปวดกับจำนวนผู้ป่วยที่มารับบริการทางวิสัญญีวิทยาทั้งหมด พบว่าทั้งสองสถาบันมีความต่างกัน (ร้อยละ12.3 vs.ร้อยละ 7.2) (ตารางที่ 1)

          ตำแหน่งการผ่าตัดที่ให้บริการมากที่สุด พบว่าทั้งสองสถาบันให้บริการที่ต่างกันคือมข.เป็นการผ่าตัดในช่องท้อง ส่วนมช.เป็นการผ่าตัดหัวใจหลอดเลือดและช่องอก สำหรับตำแหน่งการผ่าตัดที่ให้บริการอันดับสองพบว่าเหมือนกันทั้งสองสถาบันคือ แขนขา  ซึ่งให้บริการแก่หน่วยงานออร์โธปิดิกส์เป็นหลัก (ร้อยละ26.8 vs.ร้อยละ 20.7) ทั้งนี้ยังพบว่าการให้บริการสำหรับหน่วยงานต่างๆ นั้น ทางมข.มีการให้บริการที่กระจายหลายหน่วยงานมากกว่าทางมช. (ตารางที่ 2 และ3)

          เนื่องจากกลุ่มผู้ป่วยที่ได้รับบริการในอันดับแรกของทั้งสองหน่วยงานไม่เหมือนกัน จึงไม่สามารถนำข้อมูลมาเปรียบเทียบกันได้  ดังนั้นจึงได้นำข้อมูลของกลุ่มผู้ป่วยที่ได้รับบริการในอันดับสองหรือผู้ป่วยออร์โธปิดิกส์มาเปรียบเทียบกันแทน ซึ่งพบว่าเทคนิคหลักที่มช.ให้บริการคือ IV PCA (ร้อยละ97) ส่วนมข.มีการใช้เทคนิค IV PCA ร้อยละ59 แต่มีการใช้เทคนิคอื่นร่วมด้วย (ตารางที่ 4)   เช่นเดียวกับกลุ่มอายุผู้ป่วยที่ให้บริการ พบว่ามข.มีการให้บริการแก่ผู้ป่วยที่ครอบคลุมกลุ่มอายุได้มากกว่า   สำหรับการประเมินความปวดโดย numeric rating scale (ในผู้ป่วยอายุ > 10 ปี) และสัดส่วนของเพศชายต่อเพศหญิงพบว่าทั้งสองสถาบันมีความแตกต่างเช่นเดียวกัน   ส่วนจำนวนวันเฉลี่ยที่ให้บริการพบว่าไม่ต่างกัน (ตารางที่ 5)

          ผลการระงับปวดในวันแรกหลังผ่าตัดผู้ป่วยออร์โธปิดิกส์ พบว่า มช.ประเมินความปวดเฉพาะขณะผู้ป่วยพัก โดยไม่ได้ประเมินความปวดในขณะมีการขยับตัว และประเมินอาการปวดหลังผ่าตัดว่ามีความปวดเริ่มตั้งแต่ปวดเล็กน้อยขึ้นไป อีกทั้งการอ้างอิงคะแนนความปวด (Numeric rating scale 0-10) เป็นความปวดระดับเล็กน้อย (mild) ที่แตกต่างกันด้วย (1-3 คะแนน vs. 1-4 คะแนน) โดยที่ระดับความปวดหลังการปรับเกณฑ์ให้เหมือนกัน (ตารางที่ 6)   ส่วนกลุ่มผู้ป่วยที่มีอาการปวดมาก (severe pain) ของมช.มีสัดส่วนที่น้อยกว่า (ร้อยละ6 vs. ร้อยละ9.5)

 

อาการแทรกซ้อนจากการระงับปวดเปรียบเทียบเฉพาะเทคนิค IV PCA ซึ่งเป็นเทคนิคที่ทั้งสองสถาบันใช้บ่อย พบว่า มีการแบ่งระดับอาการคลื่นไส้อาเจียนที่ต่างกัน โดยมช.แบ่งเป็น 2 ระดับ (ไม่มี/ มี) ส่วนมข.แบ่งเป็น 4 ระดับ (ไม่มี/ มีเล็กน้อย/ ปานกลาง และรุนแรง) โดยที่กลุ่มผู้ป่วยที่ไม่มีอาการคลื่นไส้อาเจียนของมช.มีสัดส่วนที่สูงกว่ามข. (ร้อยละ81vs.ร้อยละ 69) แต่ไม่พบผู้ป่วยที่มีอาการคลื่นไส้อาเจียนที่รุนแรง ส่วน sedation score ของผู้ป่วยพบว่า มีการแบ่งระดับเป็น 4 ระดับเหมือนกัน ทั้งนี้พบว่ามช.มีผู้ป่วยที่มีอาการของ over sedation 3 ราย เนื่องจากทั้งสามรายได้รับ background infusion ร่วมด้วย โดยผู้ป่วยได้รับการดูแลที่ดีและปลอดภัยทุกราย   ในขณะที่มข.ไม่พบ over sedation จากการใช้ PCA

            การประเมินความพึงพอใจของผู้ป่วยมีการแบ่งระดับไม่เหมือนกัน โดยมช.แบ่งระดับเป็น 2 ระดับคือพอใจและไม่พอใจ (พอใจ ร้อยละ 94, ไม่พอใจ ร้อยละ 6) ส่วนมข.แบ่งเป็น 4 ระดับโดยมีสัดส่วนของผู้ป่วยดังนี้ very satisfied ร้อยละ 77, satisfied ร้อยละ 19, unsatisfied ร้อยละ 4 และ very unsatisfied ร้อยละ 0  ถ้าหากรวมผู้ป่วยเฉพาะกลุ่มที่พอใจพบว่าทั้งสองสถาบันมีสัดส่วนที่ใกล้เคียงกันคือ มช. ร้อยละ 94 และ มข. ร้อยละ 96

 

ตารางที่ 1  ข้อมูลพื้นฐาน

 

มข.

มช.

Total number of anesthesia service

11,622

15,830

Total number of APS service

1,425

1,131

Proportion of APS: anesthesia service (%)

12.3

7.1

Proportion of male: female (%)

40 : 60

48 : 52

APS = acute pain service

 

ตารางที่ 2  ตำแหน่งของการผ่าตัด

 

มข.

N = 1,425 (%)

มช.

N = 1,131(%)

Lower abdomen (รวม cesarean section)

Upper abdomen

Extremities

Spine and scoliosis

Head, Neck & Maxillofacial   

Cardiovascular and Thoracic surgery

Others

500 (35.1)

344 (24.1)

267 (18.7)

125 (8.8)

74 (5.2)

57 (4.1)

58 (4.1)

21(1.9)

13(1.2)

145 (12.8)

95 (8.4)

1 (0.1)

856 (75.7)

-

 

ตารางที่ 3  หน่วยงานที่ผู้ป่วยได้รับบริการระงับปวด

 

มข.

N = 1,425 (%)

มช.

N = 1,131(%)

General Surgery

410 (28.8)

29 (2.6)

Orthopedics

382 (26.8)

234 (20.7)

Obstetrics and Gynecology

340 (23.9)

12 (1.1)

Cardiovascular and Thoracic

78 (5.5)

855 (75.6)

Pediatric surgery

74 (5.2)

-

Urology

43 (3.0)

-

Plastic surgery

34 (2.4)

-

Otolaryngology

33 (2.3)

1 (0.1)

Neurology

10 (0.7)

-

Dental

8 (0.6)

-

ตารางที่ 4  เทคนิคการให้การระงับปวดในผู้ป่วยออร์โธปิดิกส์

 

มข.

N = 382 (%)

มช.      

N = 234 (%)

IV PCA

225 (58.9)

227 (97.0)

Epidural analgesia

26 (6.8)

6 (2.6)

IV infusion

111 (29.1)

1 (0.4)

Spinal MO + IV PCA

20 (5.2)

-

 

 

 

 

 

 

 


MO = morphine, IV = intravenous

 


 

ตารางที่ 5  ข้อมูลการให้บริการระงับปวดผู้ป่วยออร์โธปิดิกส์

 

มข.

N = 382 (%)

มช.

N = 234 (%)

Age (yr)

         < 1

         1-10

         >10-21

         >21-65

         >65

 

16 (4.2)

78 (20.4)

60 (15.7)

174 (45.6)

54 (14.1)

 

-

-

6 (2.6)

131 (56.0)

97 (41.5)

Gender Male: Female (%)

50.5 : 49.5

38.9 : 61.1

Day of  APS service (Mean; SD)

2.0 + 1.0

2.0 + 1.0

ประเมินโดย Numeric rating scale (age > 10 yr) (%)

92.7

100

 

ตารางที่ 6  ระดับความปวดของผู้ป่วย ใน 24 ชั่วโมงแรก หลังผ่าตัด (ออร์โธปิดิกส์)

Pain intensity

ความปวดขณะพัก

ความปวดขณะขยับ

มข.

N= 274 (%)

มช.

N= 234 (%)

มข.

N= 275 (%)

มช.

N (%)

No pain

57 (20.8)

-

18 (6.6)

-

Mild, NRS (1-3)

83 (30.3)

173 (73.9 )

28 (10.2)

-

Moderate, NRS (4-6)

108 (39.4)

47 (20.1)

95 (34.5)

-

Severe, NRS 7-10

26 (9.5)

14 ( 6)

134 (48.7)

-

 

 

 

 

             ด้านมาตรฐานและระบบการบริการ

          ทั้งสองสถาบันมีทีมงาน APS ประกอบด้วย วิสัญญีแพทย์ พยาบาล APS  และวิสัญญีแพทย์ฝึกหัดหมุนเวียนขึ้นปฏิบัติงาน โดยติดตามดูแลผู้ป่วยต่อเนื่องจากการดูแลในห้องพักฟื้น จากการทำ focus group โดยทีมงานระงับปวดของทั้งสองสถาบัน เพื่อเปรียบเทียบมาตรฐานของระบบบริการที่ใช้ ได้ผล (ตารางที่ 7)

 

ตารางที่ 7  เปรียบเทียบระบบและมาตรฐานของการบริการ APS

 

มข.

มช.

ด้านมาตรฐานการบริการ

 

 

   นโยบายและแนวทางฯ ด้านการระงับปวดหลังผ่าตัด

มีในระดับภาควิชา

มีในระดับภาควิชา

   ระบบป้องกันการคลาดเคลื่อนทางยา

มีคู่มือ, แนวทางฯ, color code

มีคู่มือ, แนวทางฯ

   ผู้เตรียมยาหรืออุปกรณ์ให้ยาระงับปวด

พยาบาล APS, วิสัญญีแพทย์ฝึกหัด

วิสัญญีพยาบาลใน OR

วิสัญญีแพทย์ฝึกหัดของ APS เท่านั้น

   แนวทางการเฝ้าระวังและจัดการภาวะแทรกซ้อน 

มีระบบ risk management ระดับภาควิชาฯ

 มีระดับหน่วย APS

   การจัดเก็บข้อมูล

มีการพัฒนาระบบและรายละเอียดที่ชัดเจนโดยใช้ Program ACCESS

มีการพัฒนาระบบแต่ยังขาดรายละเอียดข้อมูลบางประเด็น

ด้านระบบบริการ

 

 

   การคัดกรองผู้ป่วยที่ควรจะได้รับบริการ

วิสัญญีแพทย์ที่รับผิดชอบในห้องผ่าตัดเป็นผู้พิจารณาตามระดับความรุนแรงของอาการปวดแผลผ่าตัด

พยาบาล APS คัดกรองสิทธิ์ วิสัญญีแพทย์ทีม APS คัดเลือกผู้ป่วย

   จำนวนครั้งในการเยี่ยมผู้ป่วย  

1 ครั้ง/วัน  

   2 ครั้งต่อวัน

   ระบบรับปรึกษาจากหอผู้ป่วย

ในเวลาราชการตามทีมงาน APS

นอกเวลาราชการตามวิสัญญีแพทย์เวร

ตามทีมงาน APS ทั้งในและนอกเวลาราชการ

    ระบบบริหารอุปกรณ์ PCA ให้มีประสิทธิภาพ

    พร้อมใช้งาน

โดยพนักงานการแพทย์ และมีวิสัญญีพยาบาลเป็นที่ปรึกษา

โดยพยาบาลทีม APS

รายละเอียดเทคนิค IV PCA

 

 

   ยาระงับปวดหลักและ Concentration ที่ใช้บ่อย

morphine 1:1

morphine 1:1

   Mode ที่ใช้บ่อย (>75%)

PCA only

PCA+ basal rate

   PCA dose ที่ใช้บ่อย

1 mg

1 mg

   Lockout time ที่ใช้บ่อย

5 min

10 min

   One/ four  hour limit ที่ใช้บ่อย

(1 hr limit) 10 mg

(4 hr limit) 20 mg

   Basal rate ที่ใช้บ่อย 

0.5 mg/hr

0.5 mg/hr

   การใช้ยา NSAIDs ร่วมด้วย

น้อย (ไม่มีข้อมูล)

100% ในออร์โธปิดิกส์

ด้านการระงับปวดผู้ป่วยใน PACU

 

 

   มีแนวทางฯ ชัดเจนและครอบคลุมทุกกลุ่มอายุ

มี  แต่ไม่ครอบคลุมทุกกลุ่มอายุ

มี  แต่ไม่ครอบคลุมทุกกลุ่มอายุ

   มีการใช้ NSAIDs ร่วมในแนวทางฯ  การระงับปวด  

ไม่มี  

มี

   มีการบันทึก Pain Score เป็น 5th Vital Sign     

มี 

มี 

 

 

วิจารณ์

          จากการศึกษาในครั้งนี้พบว่าจำนวนผู้ป่วยที่รับบริการจากหน่วยระงับปวด (APS) ของทั้งสองสถาบันมีสัดส่วนระหว่างร้อยละ 7.1-12.3 ของผู้ป่วยที่มารับบริการทางวิสัญญีวิทยาทั้งหมด ซึ่งเป็นสัดส่วนที่ไม่สูงนักเมื่อเทียบกับการศึกษาของ Hung และคณะ12   ที่ให้บริการผู้ป่วยได้ประมาณร้อยละ 20 ของผู้ป่วยที่ทำผ่าตัดใหญ่  แต่ก็สูงกว่าการศึกษาของ Yao และคณะ13  ที่ให้บริการผู้ป่วยได้เพียงร้อยละ 6.4  สัดส่วนผู้ป่วยที่น้อยในการศึกษานี้ เนื่องจากไม่นับการระงับปวดด้วยเทคนิค single dose spinal หรือ epidural morphine และผู้ป่วยที่ทำการวิจัยที่ใช้เครื่อง PCA อีกจำนวนหนึ่ง โดยทั่วไปนั้นการให้บริการระงับปวดหลังผ่าตัดจะเลือกกลุ่มผู้ป่วยที่มีอาการปวดมากหรือทำผ่าตัดใหญ่เป็นลำดับแรก แต่ทั้งสองสถาบันยังไม่เคยมีการกำหนดมาก่อนว่าการผ่าตัดชนิดใดบ้างที่ถือเป็นการผ่าตัดใหญ่และมีสัดส่วนมากน้อยเพียงใดเมื่อเทียบกับจำนวนผู้ป่วยที่มาผ่าตัดทั้งหมด จึงไม่สามารถกำหนดสัดส่วนของผู้ป่วยที่เหมาะสมที่จะให้บริการได้

          เทคนิคที่ใช้ในการบริการระงับปวดของทั้งสองสถาบันมีความแตกต่างกันทั้งชนิดและสัดส่วนของการให้บริการ เช่น มช.ใช้เทคนิค intravenous infusion ในผู้ป่วยผ่าตัดหัวใจหลอดเลือดและช่องอก เกือบทุกราย ทำให้สัดส่วนการใช้เทคนิคนี้สูงถึงร้อยละ 75 ของเทคนิคที่ให้บริการทั้งหมด ในขณะที่มข.ใช้เทคนิค intravenous infusion ประมาณร้อยละ 9 แต่ใช้เทคนิค IV PCA ประมาณร้อยละ 4311    การที่ทั้งสองสถาบันเลือกให้บริการกลุ่มผู้ป่วยที่ทำผ่าตัดต่างกัน คือผู้ป่วยส่วนใหญ่ที่มข.ให้บริการเป็นการผ่าตัดในช่องท้อง ในขณะที่มช.เป็นการผ่าตัดหัวใจหลอดเลือดและช่องอก จึงอาจเป็นสาเหตุหนึ่งในการเลือกใช้เทคนิคระงับปวดที่ต่างกัน เพราะการเลือกชนิดการระงับปวดนั้นควรเลือกให้เหมาะกับชนิดของการผ่าตัดด้วย14

          ในการศึกษานี้เลือกใช้ข้อมูลของผู้ป่วยผ่าตัดทางออร์โธปิดิกส์ แทนข้อมูลทั้งหมด มาทำการศึกษาเปรียบเทียบ เนื่องจากมีสัดส่วนผู้ป่วยที่ใกล้เคียงกันและใช้เทคนิคการระงับปวดที่คล้ายกัน คือ IV PCA ซึ่งผลการระงับปวดในขณะพักในวันแรกหลังผ่าตัดนั้น ถ้ารวมกลุ่มผู้ป่วยที่มีอาการปวดปานกลางถึงปวดมากไว้ด้วยกัน พบว่ามช.มีสัดส่วนผู้ป่วยในกลุ่มดังกล่าวน้อยกว่ามข. (ร้อยละ 26 vs. ร้อยละ49)  ปัจจัยหรือจุดเด่นที่น่าจะมีส่วนช่วยให้การระงับปวดได้ผลดีกว่านั้น น่าจะเป็นจากปัจจัยต่อไปนี้  (1)  มีการใช้ NSAIDs ร่วมกับ IV PCA ทุกราย ตามแนวคิดของ multimodal analgesia15  ซึ่งเป็นที่ยอมรับว่ายา NSAIDs จะช่วยเสริมฤทธิ์กับ opioids ในการระงับปวดให้ดีขึ้น  (2)  มีระบบการเยี่ยมผู้ป่วยวันละ 2 ครั้ง ซึ่งจะช่วยเปลี่ยนแปลงการรักษาได้รวดเร็วขึ้น โดยเฉพาะในกรณีผู้ป่วยที่มีอาการปวดมาก (3) มีการใช้ PCA ใน mode PCA + basal rate เป็นหลัก ซึ่งอาจจะมีประโยชน์ในวันแรกที่ผู้ป่วยมีอาการปวดมาก แต่ไม่กล้าตัดสินใจกดใช้ยาจากเครื่อง PCA หรือกดใช้ยาแต่ใช้ในปริมาณที่น้อย การใช้ mode นี้จึงช่วยให้ผู้ป่วยได้รับยาอย่างต่อเนื่องและในปริมาณที่มากขึ้น16   แต่การใช้ mode นี้อาจทำให้เกิดอาการแทรกซ้อนเพิ่มขึ้นโดยเฉพาะอาการคลื่นไส้อาเจียน ง่วงซึมและกดการหายใจ17   การเลือกใช้ mode นี้จึงจำเป็นต้องให้การดูแลที่ใกล้ชิดมากขึ้น  (4) การใช้ทีมงาน APS ในการรับปรึกษาปัญหาผู้ป่วยทั้งในและนอกเวลาราชการ วิธีการนี้ช่วยให้การดูแลผู้ป่วยมีความต่อเนื่องและเหมาะสมมากกว่าทีมงานวิสัญญีที่อยู่เวรซึ่งไม่ทราบข้อมูลของผู้ป่วยมาก่อน (5) ปัจจัยอื่นๆ ได้แก่ เพศ และอายุของผู้ป่วยที่ต่างกัน รวมทั้งสัดส่วนของเทคนิคการระงับปวดที่ใช้ต่างกัน อีกปัจจัยหนึ่งที่มีผลต่อการระงับปวดได้คือชนิดการผ่าตัด ซึ่งในที่นี้ไม่ได้เปรียบเทียบว่าต่างกันหรือไม่

          การแปลงค่าคะแนนความปวด (0-10) เป็นความปวดระดับต่างๆ (none/ mild/ moderate/ severe) ของทั้งสองสถาบันนั้น พบว่ามีการอ้างอิงที่ต่างกัน มช.ใช้ ค่าคะแนน 4-6 เป็นระดับ moderate pain ตามการศึกษาจากต่างประเทศ18 ส่วนมข.ใช้ค่าคะแนน 5-6 โดยอ้างอิงตามจากการศึกษาของศศิวิมลและคณะ19  ซึ่งได้จากการสอบถามความเห็นของผู้ป่วยในพื้นที่ว่า moderate pain นั้นมีค่าคะแนนสูงกว่า 5 คะแนน   อย่างไรก็ตามค่าคะแนนดังกล่าวได้นำมาปรับให้เหมือนกันก่อนนำมาเทียบกัน  

          ผู้ป่วยที่ทำผ่าตัดทางออร์โธปิดิกส์นั้นในระยะหลังผ่าตัดสามารถทานอาหารได้เร็ว ดังนั้นจำนวนวันในการให้บริการระงับปวดของแต่ละสถาบันจึงไม่นานมาก (เฉลี่ย 2 วัน) ซึ่งสอดคล้องกับรายงานของ Barak และคณะ20 ที่ให้บริการระงับปวดระหว่าง  1.0-2.6 วัน แต่ระยะเวลาสั้นกว่า Hung และคณะ12  ที่ให้บริการโดยเฉลี่ย  3 วัน

          ในภาพรวม พบว่าข้อมูลที่ได้จากมข.มีจุดเด่นที่น่าจะมีประโยชน์ในการนำไปพัฒนาการดูแลผู้ป่วย  ได้แก่ (1) มีการให้บริการผู้ป่วยในสัดส่วนที่สูงกว่า โดยให้บริการในการผ่าตัดหลายชนิด และหลายกลุ่มอายุ (2) ใช้เทคนิคในการระงับปวดหลายชนิดตามความเหมาะสมของชนิดการผ่าตัด (3) มีการประเมินความปวดทั้งขณะพักและขณะมีการขยับตัว ซึ่งเป็นดัชนีคุณภาพที่สำคัญ (4) มีการพัฒนาระบบการจัดเก็บข้อมูลโดยใช้โปรแกรม ACCESS และมีรายละเอียดข้อมูลที่ชัดเจน (5) มีการสื่อสารข้อมูลให้บุคลากรในภาควิชาได้รับทราบเป็นระยะและทั่วถึง

          ประเด็นสำคัญที่พบว่าทั้งสองสถาบันยังไม่มีหรือมีไม่ชัดเจน คือนโยบายด้านการดูแลผู้ป่วยเรื่องอาการปวดหลังผ่าตัดในระดับของคณะฯ หรือของโรงพยาบาลฯ ทำให้มีปัญหาในการบริการระงับปวดตามมา เช่น การบริหารจัดการเรื่องยา NSAIDs ของมข.โดยเฉพาะ NSAIDs ในกลุ่ม COX-2 specific inhibitor ทั้งชนิดรับประทานและชนิดฉีด เช่นเดียวกับการใช้เครื่อง PCA ของมช. ซึ่งค่อนข้างเข้มงวดตามสิทธิการรักษาพยาบาลของผู้ป่วย ทำให้ผู้ป่วยเข้าถึงยาหรือวิธีการระงับปวดได้ยากขึ้น ซึ่งการขาดนโยบายในระดับสูงนี้จะทำให้การพัฒนาการดูแลผู้ป่วยที่มีอาการปวดหลังผ่าตัดทำได้ยาก

          เนื่องจากการศึกษานี้เป็นการศึกษาข้อมูลย้อนหลังทำให้มีข้อบกพร่องในบางประเด็น เช่น การแบ่งระดับข้อมูลของอาการคลื่นไส้อาเจียน และระดับความพึงพอใจที่ไม่เหมือนกัน  โดยเฉพาะความพึงพอใจนั้น ไม่ได้บันทึกเหตุผลว่าที่ผู้ป่วยไม่พอใจนั้นเป็นจากสาเหตุอะไร ทำให้โอกาสในการนำไปพัฒนาทำได้ยาก

สรุป

          การศึกษาเปรียบเทียบข้อมูลการระงับปวดหลังผ่าตัดของหน่วยระงับปวด ภาควิชาวิสัญญีวิทยา คณะแพทยศาสตร์ ของมหาวิทยาลัยขอนแก่น และมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ พบสัดส่วนผู้ป่วยที่ได้รับการบริการระงับปวดอยู่ระหว่างร้อยละ 7.1 – 12.3   โดยเทคนิคระงับปวดแตกต่างกันทั้งชนิดและสัดส่วนที่ใช้   มีการให้บริการในกลุ่มอายุและชนิดการผ่าตัดที่ต่างกัน ทำให้ผลการระงับปวดโดยเฉพาะในกลุ่มที่ปวดปานกลางถึงปวดมากมีสัดส่วนที่ต่างกัน อย่างไรก็ตามความพึงพอใจของผู้ป่วยและอาการแทรกซ้อนที่พบไม่ต่างกัน นอกจากนี้ยังได้พิจารณาปัจจัยที่สำคัญที่คิดว่ามีผลต่อการระงับปวดของแต่ละสถาบันเพื่อเป็นข้อมูลในการนำไปประยุกต์ใช้ต่อไป

 

เอกสารอ้างอิง

  1.   Windsor AM, Glynn CJ, Mason DG. National provision of acute pain services. Anaesthesia 1996; 51:228-31.

  2.   O'Higgins F, Tuckey JP. Thoracic epidural anaesthesia and analgesia: United Kingdom practice. Acta Anaesthesiol Scand 2000; 44:1087-92.

  3.   Zimmermann DL, Stewart J. Postoperative pain management and acute pain service activity in Canada. Can J Anaesth 1993; 40:568-75.

  4.   Goucke CR, Owen H. Acute pain management in Australia and New Zealand. Anaesth Intensive Care 1995; 23:715-7.

  5.   Rawal N, Allvin R. Acute pain services in Europe: a 17-nation survey of 105 hospitals. The EuroPain Acute Pain Working Party. Eur J Anaesthesiol 1998; 15:354-63.

  6.   Warfield CA, Kahn CH. Acute pain management. Programs in U.S. hospitals and experiences and attitudes among U.S. adults. Anesthesiology 1995; 83:1090-4.

  7.   Ready LB. How many acute pain services are there in the United States, and who is managing patient-controlled analgesia? Anesthesiology 1995; 82:322.

  8.   Bardiau FM, Braeckman MM, Seidel L, Albert A, Boogaerts JG. Effectiveness of an acute pain service inception in a general hospital. J Clin Anesth 1999; 11:583-9.

  9.   Wheatley RG, Madej TH, Jackson IJ, Hunter D. The first year's experience of an acute pain service. Br J Anaesth 1991; 67:353-9.

10.   Werner MU, Soholm L, Rotboll-Nielsen P, Kehlet H. Does an acute pain service improve postoperative outcome? Anesth Analg 2002; 95:1361-72.

11.  Yimyam PR, Kritsanaprakornkit W,  Thienthong S, Horatanaruang D, Palachewa K,  Tantanatewin W. et al. Acute Pain Services at a Teaching Hospital in Khon Kaen, Thailand:  the First Year. Acute Pain 2006; 8: 151-96.

12.  Hung CT, Lau LL, Chan CK, Chow B, Chui PT, Ho B, et al.  Acute pain services in Hong Kong: facilities, volume, and quality. Hong Kong Med J 2002; 8:196-201.

13.  Yao Y, Gong Z, Huang Y, Luo A, Ye T, Ren H, et al. The preliminary experience of acute pain service in Peking Union Medical College Hospital. Acute Pain 2006; 8: 3-6.

14. Rosenquist RW, Rosenberg J. Postoperative pain guidelines. Reg Anesth Pain Med 2003; 28: 279-88.

15.   Kehlet H, Dahl JB.  The value of "multimodal" or "balanced analgesia" in postoperative pain treatment. Anesth Analg 1993; 77: 1048-56.

16.  Doyle E, Robinson D, Morton NS. Comparison of patient-controlled analgesia with and without a background infusion after lower abdominal surgery in children. Br J Anaesth 1993; 71:670-3.

17.  Hagle ME, Lehr VT, Brubakken K, Shippee A.  Respiratory depression in adult patients with intravenous patient-controlled analgesia. Orthop Nurs 2004; 23:18-27.

18.  Collins SL, Moore RA, McQuay HJ.  The visual analogue pain intensity scale: what is moderate pain in millimeters.? Pain 1997; 72:95-7.

19.   ศศิวิมล พงศ์จรรยากุล, อักษร สาธิตการมณี, พัชรา รักพงษ์, ไกรวาส แจ้งเสม, วิมลรัตน์ กฤษณะประกรกิจ, สมบูรณ์ เทียนทอง. การสอนผู้ป่วยอย่างมีแบบแผนสามารถเพิ่มอัตราความสำเร็จของการประเมินความปวดในห้องพักฟื้นได้หรือไม่.  วิสัญญีสาร 2547; 30: 106-11.

20.  Barak M, Poppa E, Tansky A, Drenger B. The activity of an acute pain service in a teaching hospital: Five years experience. Acute Pain 2006; 8:155-9.

 

Untitled Document
Article Location

Untitled Document
Article Option
       Abstract
       Fulltext
       PDF File
Untitled Document
 
ทำหน้าที่ ดึง Collection ที่เกี่ยวข้อง แสดง บทความ ตามที่ีมีใน collection ที่มีใน list Untitled Document
Another articles
in this topic collection

Surveillance of and Risk Fztors for Difficult Intubation At Srinagarind Hosipital (การเฝ้าระวังการใส่ท่อช่วยหายใจลำบากระหว่างการวางยาระงับความรู้สึกในโรงพยาบาลศรีนครินทร์ และปัจจัยที่เกี่ยวข้อง)
 
Surveillance of Drug Error during Anesthesia at Srinagarind Hospital Khon Kaen University (การเฝ้าระวังความผิดพลาดในการให้ยาระหว่างการให้ยาระงับความรู้สึกในโรงพยาบาลศรีนครินทร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น)
 
Incidence of Anesthesia-Associated Cardiac Arrest And Related Factors At Srinagarind Hospital (อุบัติการณ์ภาวะหัวใจหยุดเต้นและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการระงับความรู้สึกในโรงพยาบาลศรีนครินทร์)
 
New Trend Anesthesia for Cesarean Section (แนวโน้มการให้ยาระงับความรู้สึกเพื่อผ่าตัดคลอด)
 
<More>
Untitled Document
 
This article is under
this collection.

Anesthesia
 
 
 
 
Srinagarind Medical Journal,Faculty of Medicine, Khon Kaen University. Copy Right © All Rights Reserved.
 
 
 
 

 


Warning: Unknown: Your script possibly relies on a session side-effect which existed until PHP 4.2.3. Please be advised that the session extension does not consider global variables as a source of data, unless register_globals is enabled. You can disable this functionality and this warning by setting session.bug_compat_42 or session.bug_compat_warn to off, respectively in Unknown on line 0