หลักการและเหตุผล: การศึกษาเวลามาตรฐานการทำงาน และการกำหนดอัตรากำลัง เป็นการศึกษาอย่างมีระบบถึงการทำงานของบุคคล ประกอบด้วยการศึกษาวิธีการทำงานและการหาเวลามาตรฐานในการทำงาน เพื่อมุ่งบริหารทรัพยากรบุคคลให้เกิดประโยชน์จากการทำงานมากที่สุด
วัตถุประสงค์: เพื่อหาเวลามาตรฐานในการทำงาน และนำข้อมูลนี้มาใช้ในการกำหนดอัตรากำลังของงานบริการจ่ายยาผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลศรีนครินทร์
วัสดุและวิธีการ: ใช้เทคนิคการจับเวลาโดยตรง ในการวัดเวลาที่ใช้ในการทำงานแต่ละงาน โดยแบ่งงานออกเป็น 2 งานหลัก คือ งานการจ่ายยา และงานแบ่งบรรจุยาย่อย
รูปแบบการศึกษา: เชิงพรรณนา
สถานที่ศึกษา: โรงพยาบาลศรีนครินทร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
ประชากรศึกษาและกลุ่มตัวอย่าง: บุคลากรในหน่วยจ่ายยา งานเภสัชกรรม โรงพยาบาลศรีนครินทร์
การวัดผล: โดยการสังเกตการทำงานของบุคลากรและจับเวลา คำนวณเวลามาตรฐานในการจ่ายยา และอัตรากำลังของผู้ปฏิบัติงาน
ผลการศึกษา: ผลรวมของเวลามาตรฐานในงานการจ่ายยา 1 ใบสั่งยาที่มีรายการยา 3-4 รายการ ได้เวลามาตรฐาน 227.86 วินาที หรือ 3.80 นาที งานในขั้นตอนการจัดยาใช้เวลาในการทำงานมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 38.31 ของเวลามาตรฐานการจ่ายยาให้แก่ผู้ป่วยนอก ส่วนงานการแบ่งบรรจุยาย่อย พบว่า งานในขั้นตอนการปิดเครื่องแบ่งบรรจุมีค่าเวลามาตรฐานในการทำงานมากที่สุด คือ 801.82 วินาที หรือ 13.36 นาที เมื่อนำเวลามาตรฐานในแต่ละงานย่อยมาคำนวณร่วมกับจำนวนผลงานที่ได้จากแต่ละงานย่อย เพื่อกำหนดอัตรากำลังของงานบริการจ่ายยาผู้ป่วยนอก พบว่า ความต้องการเภสัชกรที่คำนวณได้คือ 2.14 คน ผู้ช่วยเภสัชกร 2.13 คน และลูกจ้าง 10.06 คน
สรุป: ผลที่ได้จากการหาเวลามาตรฐานการทำงานนี้ สามารถเป็นข้อมูลพื้นฐานด้านหนึ่งสำหรับผู้บริหารหน่วยงาน เพื่อใช้ในการจัดสรรอัตรากำลังให้เหมาะสมกับภาระงาน และเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานให้มากขึ้น เพื่อให้บรรลุตามเป้าหมายขององค์กร
คำสำคัญ: เวลามาตรฐานการทำงาน, การกำหนดอัตรากำลัง
Background: Standard time study and manpower determination are the systematic processes in learning about individuals working performance. This includes method study and stopwatch time study to heighten the effectiveness of management in human resources.
Objective: To determine the standard time used to finish a job, and to use such data in determining the manpower for the outpatient dispensing pharmacy service at Srinagarind hospital.
Method: Stopwatch time study was used to directly measure standard time. This standard time study involved two main jobs: dispensing and prepacking.
Design: Descriptive study
Setting: Srinagarind Hospital, Faculty of Medicine, Khon Kaen University, Khon Kaen, Thailand
Result: The total standard time for dispensing one prescription, which contained three to four items of medicines, was 227.86 seconds or 3.80 minutes. The prescription filling accounted for the maximum period of time in dispensing, which was 38.31% of the total standard time. For prepacking, the tasks in machine turning off consumed the maximum period of time, which was 801.82 seconds or 13.36 minutes. The standard time of each job and the pharmacy service workload were used to estimate the manpower for the outpatient dispensing pharmacy service. The result indicated a need of 2.14 pharmacists, 2.13 pharmacy assistants, and 10.06 workers for the service.
Conclusion: The results from this study could serve as a basis for pharmacy managers in allocating the manpower appropriately for the workload responsible by the outpatient pharmacy service, as well as in increasing the work efficiency for achieving the organization goals.
Keywords: Standard time study, manpower determination
บทนำ
ในปัจจุบันทุกโรงพยาบาลต่างมีภารกิจในการพัฒนาคุณภาพบริการเพิ่มมากขึ้น เพื่อให้เกิดการบริการที่มุ่งเน้นคุณภาพตามหลักวิชาการ ถูกต้อง รวดเร็ว สอดคล้องตามมาตรฐานการประเมินรับรองคุณภาพโรงพยาบาล (Hospital Accreditation: HA) โดยยึดผู้ป่วยเป็นศูนย์กลาง แต่ในขณะเดียวกันภาครัฐมีนโยบายที่จะไม่เพิ่มอัตรากำลังคน ทุกโรงพยาบาลจึงต้องมีการจัดการที่ดี เพื่อให้บุคลากรที่มีอยู่ทำงานได้อย่างมีคุณภาพ การบริหารอัตรากำลังคนและการจัดองค์การภายใน จึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะต้องนำมาใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิผลและประสิทธิภาพของการทำงาน ให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงด้านเป้าหมายและนโยบายที่เกิดขึ้น วิธีการหนึ่งที่ผู้บริหารสามารถใช้ในการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานคือ การศึกษาเวลาการทำงาน (time study) โดยประโยชน์ประการหนึ่งของการศึกษาเวลาการทำงานคือ ช่วยให้ผู้บริหารสามารถกำหนดเวลามาตรฐาน (standard time) ในการทำงานแต่ละงานได้
การศึกษาเวลามาตรฐานการทำงาน (standard time) คือการศึกษาเวลาที่ใช้ในการทำงานต่อหน่วยผลผลิตของงาน (work unit) ในสถานที่ทำงานหนึ่งภายใต้สภาวะที่เหมาะสม ข้อมูลด้านเวลามาตรฐานการทำงานนี้ สามารถนำมาใช้ในการบริหารอัตรากำลังคน ให้สมดุลกับภาระงานที่เพิ่มขึ้นหรือลดลงขององค์การได้อย่างชัดเจนมีเหตุผล ในส่วนของวิชาชีพเภสัชกรรมก็มีผู้นำข้อมูลด้านเวลามาตรฐานการทำงาน มาใช้ในการคำนวณหาจำนวนบุคลากรที่ต้องการในงานเภสัชกรรมโรงพยาบาล1 โดยเฉพาะการศึกษาเวลามาตรฐานในการทำงานที่เป็นภารกิจหลักของงานเภสัชกรรม ซึ่งได้แก่ งานการจ่ายยาให้แก่ผู้ป่วย2
งานการจ่ายยาให้แก่ผู้ป่วย เป็นงานเภสัชกรรมโรงพยาบาลที่มีปฏิสัมพันธ์โดยตรงกับผู้ป่วย แบ่งออกเป็นงานบริการจ่ายยาผู้ป่วยนอก และงานบริการจ่ายยาผู้ป่วยใน แต่ในส่วนของงานที่จะทำการศึกษาหาเวลามาตรฐานครั้งนี้ เลือกศึกษาเฉพาะงานที่เป็นภารกิจหลักของการบริการ ซึ่งได้แก่ งานบริการจ่ายยาผู้ป่วยนอกของโรงพยาบาลศรีนครินทร์ ซึ่งมีปัญหาในการให้บริการ ตามที่ผู้ป่วยได้แสดงความคิดเห็นว่าควรปรับปรุงการให้บริการ โดยลดเวลารอรับบริการจ่ายยาที่หน่วยบริการจ่ายยาผู้ป่วยนอก และการให้บริการแนะนำการใช้ยา ในส่วนงานบริการผู้ป่วยในพบว่า มีปัญหาด้านเวลาในการรอรับบริการจ่ายยาน้อยกว่า เนื่องจากในกระบวนการจ่ายยาแก่ผู้ป่วยใน จะมีเจ้าหน้าที่ของโรงพยาบาลอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ป่วย โดยบริการเบิกยาให้เป็นส่วนใหญ่ จากการศึกษาของ ชูศรี คูชัยสิทธิ์ และคณะ3 ในประเด็นเกี่ยวกับเวลาที่ใช้โดยเฉลี่ยในการมารับบริการ และความพึงพอใจต่อการบริการแผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลศรีนครินทร์ พบว่า เวลาที่ผู้ป่วยมารับบริการที่แผนกผู้ป่วยนอกของโรงพยาบาลศรีนครินทร์ ตั้งแต่ขั้นตอนของการค้นทะเบียนประวัติ การรอรับบริการที่ห้องตรวจโรค จนถึงขั้นตอนการรับยากลับบ้าน ใช้เวลาโดยเฉลี่ย 2 ชั่วโมง 51 นาทีต่อคน นอกจากนี้ เมื่อให้ผู้ป่วยตอบแบบสอบถามพบว่า ร้อยละ 61 ของผู้ตอบแบบสอบถามทั้งหมด ต้องการให้ปรับปรุงขั้นตอนการให้บริการ เพื่อลดเวลารอรับบริการ ณ ห้องจ่ายยาผู้ป่วยนอก ผู้วิจัยจึงได้เสนอแนะให้มีการปรับปรุงบริการดังกล่าว โดยให้มีการวิเคราะห์กระบวนการทำงานอย่างเป็นระบบ เพื่อปรับลดขั้นตอนที่ไม่จำเป็น และให้มีการวางแผนบริหารจัดอัตรากำลังคนให้เหมาะสมกับภาระงาน
วัตถุประสงค์
1. เพื่อศึกษาหาเวลามาตรฐานการทำงาน ในงานบริการจ่ายยาผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลศรีนครินทร์
2. เพื่อศึกษาหาอัตรากำลังของบุคลากรที่จำเป็นต้องมี ในงานบริการจ่ายยาผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลศรีนครินทร์
วัสดุและวิธีการศึกษา
การศึกษานี้เป็นการศึกษาในรูปแบบการวิจัยเชิงพรรณนา (descriptive study) ตามลำดับขั้นตอนในการศึกษา (รูปที่ 1)

กลุ่มตัวอย่าง
เจ้าหน้าที่และเภสัชกรที่ปฏิบัติงานอยู่ในงานบริการเภสัชกรรมผู้ป่วยนอก ณ โรงพยาบาลศรีนครินทร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น โดยทำการคัดเลือกผู้ปฏิบัติที่เหมาะสม (qualified worker) เป็นตัวแทนในการหาเวลามาตรฐานในแต่ละงานย่อย ซึ่งผู้ปฏิบัติที่เหมาะสมนี้ จะต้องมีคุณสมบัติดังนี้
(1) ผู้ปฏิบัติงานเป็นผู้ที่มีประสบการณ์ และมีความชำนาญในงานนั้นๆ ไม่น้อยกว่า 2 ปี
(2) ผู้ปฏิบัติงานที่เหมาะสม เป็นผู้ที่ทำงานได้สม่ำเสมอ ไม่เร่งรีบจนเกินไป ไม่ช้าเกินไปและมีทัศนคติที่ดีต่องานนั้น
(3) ผู้ปฏิบัติต้องเข้าใจเป้าหมายของการศึกษาหาเวลามาตรฐาน และยินดีให้ความร่วมมือ
เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา
1. แบบบันทึกเวลา (time study forms) ที่ใช้ในการบันทึกเวลาในแต่ละกิจกรรม
2. แบบบันทึกกิจกรรม (flow process chart)
3. นาฬิกาจับเวลา
4. โปรแกรมการคำนวณ Excel
การเก็บรวบรวมข้อมูล
การหาเวลามาตรฐานในการทำงานนี้ ได้ทำการศึกษางานในหน่วยบริการจ่ายยาผู้ป่วยนอก โดยงาน (job) ที่จะทำการศึกษา และหาเวลามาตรฐานของการทำงาน ประกอบด้วย งานแบ่งบรรจุยาย่อยเพื่อเตรียมจ่ายให้แก่ผู้ป่วย และงานการจ่ายยาผู้ป่วย โดยใช้เทคนิควิธีการจับเวลา (stopwatch time study) โดยผู้ศึกษาเป็นผู้จับเวลาในทุกขั้นตอนของการศึกษาแต่เพียงผู้เดียว ในขั้นตอนการเก็บรวบรวมข้อมูล แจกแจงรายละเอียดได้ดังนี้
1. ดำเนินการชี้แจงแก่หัวหน้างานบริการจ่ายยาผู้ป่วยนอก เพื่อให้ทราบถึงวัตถุประสงค์การศึกษา กระบวนวิธีที่ใช้ในการศึกษา ขั้นตอนต่างๆ ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ และทราบข้อตกลงต่างๆในการศึกษาครั้งนี้ เพื่อขอความร่วมมือ
2. คัดเลือกผู้ปฏิบัติงานที่เหมาะสมร่วมกับหัวหน้างานบริการจ่ายยาผู้ป่วยนอก ให้ได้ผู้ปฏิบัติที่เหมาะสมเพียงคนเดียวในแต่ละงานย่อย ยกเว้นงานย่อยบางอย่างที่เป็นขั้นตอนต่อเนื่อง และตามสภาพจริงของการทำงานที่ผู้ปฏิบัติมักเป็นคนเดียวกัน ก็สามารถคัดเลือกให้เป็นตัวแทนที่ซ้ำในงานย่อยนั้นๆได้ เมื่อได้ผู้ปฏิบัติงานที่คัดเลือกแล้ว จึงทำการชี้แจงจุดประสงค์ และขั้นตอนของการศึกษา เพื่อทำความตกลง และขอความร่วมมือในการศึกษา
3. ศึกษาวิธีการทำงาน ในแต่ละงานที่ทำการศึกษา โดยรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับงานที่ศึกษาปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับงาน ข้อมูลผู้ปฏิบัติในแต่ละงานย่อย จำนวนชิ้นงานใน 1 ปีของแต่ละงานย่อย ทำการแจกแจงงานย่อย (element) ในแต่ละงานของการจ่ายยา และงานแบ่งบรรจุยา ออกเป็นลำดับขั้นตอน จากนั้นทำการกำหนดจุดเริ่มต้นและจุดสิ้นสุด ของการทำงานในแต่ละงานย่อย
4. ออกแบบตารางบันทึกเวลาในแต่ละงานที่ทำการจับเวลา และแบบสรุปกิจกรรมที่จับเวลา จำนวนครั้งของการจับเวลา เวลาที่ได้จากการศึกษา เวลาเผื่อ เวลามาตรฐาน ปริมาณงาน และอัตรากำลังที่คำนวณได้
5. ประเมินอัตรา (rating) การทำงาน เพื่อนำมาใช้ในการให้ค่าคะแนนอัตราเร็วของการทำงาน โดยการให้ค่าอัตราเร็วของการทำงานเปรียบเทียบกับค่ามาตรฐาน หากมีค่าอัตราเร็วเท่ากับค่ามาตรฐาน ถือว่ามีอัตราการทำงาน 100 เปอร์เซ็นต์ การประเมินอัตราการทำงานนี้ ใช้วิธีการประเมินอัตราการทำงานของแต่ละบุคคลในแต่ละงานย่อย เทียบกับเกณฑ์การประเมินจากลักษณะงานที่ปฏิบัตินี้ โดยส่วนใหญ่เป็นกิจกรรมย่อยที่ต้องใช้มือในการปฏิบัติงาน ดังนั้น จะทำการประเมินอัตราการทำงานโดยใช้มาตรในการประเมินจากการแจกไพ่ 52 ใบ ให้เป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส ห่างกันกองละ 1 ฟุต ในระยะเวลา 30 วินาที หากอยู่ในเกณฑ์ถือว่าค่าสเกลเป็น 100 ซึ่งมีความหมายคือ อัตราการทำงานปกติ คล่อง แม่นยำ ในขั้นตอนนี้ หากผู้ปฏิบัติไม่เคยชินกับการใช้ไพ่ จะให้เวลาในการฝึกซ้อมวิธีการที่จะประเมิน 3 วัน และให้ทำการแจกไพ่ 30 ครั้ง เพื่อให้เกิดความสม่ำเสมอของการแจกไพ่ นำเวลาที่ได้มาหาค่าเฉลี่ย เพื่อประเมินอัตราเร็วในการทำงานตามที่กล่าวข้างต้น ขั้นตอนนี้จะทำการประเมินผู้ปฏิบัติหลังจากได้รับการคัดเลือกว่าเป็นผู้ปฏิบัติที่เหมาะสม
6. ทดลองการใช้นาฬิกาจับเวลาและการบันทึกเวลา หาตำแหน่งที่สามารถยืนสังเกตการปฏิบัติงานได้อย่างเหมาะสม ซึ่งจะต้องไม่กีดขวางกระบวนการทำงานและการบันทึกเวลา นอกจากนี้ก็จะประเมินปฏิกิริยาของผู้ปฏิบัติงานว่าปกติหรือประหม่าอย่างไร ซึ่งหากมีความประหม่าก็จะทำการชี้แจงเพิ่ม และจับเวลาใน 5 วันแรกไปเรื่อยๆ โดยยังไม่ใช้ข้อมูลนี้ในการศึกษาเวลามาตรฐาน เพื่อลดผลของการเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้ถูกสังเกตที่ไม่เหมือนสถานการณ์จริง (Hawthorne Effect) ข้อมูลที่ได้รับในขั้นตอนนี้ได้นำไปใช้ปรับปรุงตารางบันทึกเวลา ก่อนนำไปเก็บข้อมูลจริง
7. เก็บข้อมูลจริงโดยการจับเวลาของการทำงานแต่ละงานย่อย ซึ่งใช้วิธีการจับเวลาแบบรายครั้ง (flyback timing) โดยที่การจับเวลาแต่ละครั้งของงานย่อยนั้นๆ เข็มนาฬิกาจะถูกปรับมาที่ตำแหน่ง 0 ทุกครั้งที่หยุดเวลาแล้วกดบันทึกใหม่ ผู้จับเวลาเริ่มจับเวลาเมื่อผู้ปฏิบัติลงมือปฏิบัติงานย่อยแรก แล้วหยุดเวลาเมื่องานแรกสิ้นสุด อ่านค่าเวลาที่ได้เป็นหน่วยวินาทีแล้วบันทึก ทำการจับเวลาซ้ำอีกหลายๆรอบ และนำค่าเวลาที่จับได้ในแต่ละครั้ง มาแทนค่าในสูตรการประมาณจำนวนครั้งของการจับเวลาในข้อ 8 ทำการจับเวลาอย่างน้อยให้เท่ากับจำนวนครั้งที่คำนวณได้หรือมากกว่า จึงจะถือได้ว่าค่าเวลาเฉลี่ยที่ใช้ในการทำงานย่อยนั้นๆ อยู่ในช่วงบวกลบไม่เกินร้อยละ 5 ของค่าจริง ทำการจับเวลาจนครบทุกงานย่อย โดยใช้วิธีการจับเวลาดังกล่าวข้างต้น การเก็บข้อมูลจะเก็บเฉพาะวันจันทร์ถึงวันศุกร์ ยกเว้นวันนักขัตฤกษ์ ในการจับเวลางานการจ่ายยา ใช้ช่วงเวลาที่ใช้ในการจับเวลางานการจ่ายยา โดยยกเว้นการจับเวลาในช่วงที่เป็นชั่วโมงเร่งด่วน คือ 10.30-13.30 นาฬิกา เพื่อป้องกันปัจจัยที่อาจทำให้ผู้ปฏิบัติงานเกิดภาวะกดดันให้เร่งรีบทำงาน ส่วนช่วงเวลาที่ใช้ในการจับเวลางานแบ่งบรรจุยาย่อย เป็นช่วงเวลาตามสถานการณ์จริงที่มีการแบ่งบรรจุยา ในช่วงเวลาที่ทำการศึกษา
8. ประมาณการจำนวนครั้งของการจับเวลาที่ต้องการ โดยมีสูตรในการคำนวณดังนี้
ที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 โอกาสผิดพลาดร้อยละ 5

เมื่อ n ที่คำนวณได้มีค่าน้อยกว่าหรือเท่ากับ จำนวนครั้งของการจับเวลาจริง (N) แสดงว่าค่าเฉลี่ยของเวลาที่ใช้ในการทำงานอยู่ในช่วงบวกลบไม่เกินร้อยละ 5 ของค่าจริง
9. คำนวณหาเวลาที่ใช้ในการทำงานปกติ (normal time) และเวลาเฉลี่ยของการทำงานปกติ (average normal time) การคำนวณใช้การกำหนดสูตรในโปรแกรมสำเร็จรูป
เวลาที่ใช้ในการทำงานปกติ = เวลาที่จับได้ในแต่ละขั้นตอนการทำงาน (element time) x %rating
100
ตัวอย่าง จากการจับเวลาการพิมพ์ฉลากยาครั้งที่ 1 ได้ค่าเวลา 30 วินาที และค่า %rating ของผู้ปฏิบัติงานย่อยการพิมพ์ฉลากยาที่ประเมินไว้มีค่าเท่ากับ 100 ดังนั้น เวลาที่ใช้ในการทำงานปกติ = 30 วินาที x 100 / 100 = 30 วินาที แต่ในการจับเวลาในงานย่อยแต่ละขั้นตอน มีจำนวนครั้งในการจับเวลามากกว่า 1 ครั้ง จึงต้องมีการคำนวณเป็นเวลาเฉลี่ยของการทำงานปกติ (average normal time)
เวลาเฉลี่ยของการทำงานปกติ = summation of normal time (ผลรวมของเวลาที่ใช้ในการทำงานปกติ)
the number of cycles (จำนวนครั้งของการจับเวลาจริง: N)
%rating เป็นการปรับเวลาที่ใช้ในการทำงานของผู้ปฏิบัติงานที่ทำการจับเวลา เมื่อเทียบกับเกณฑ์การให้ค่าคะแนนในอัตราเร็วของการทำงาน โดยการให้ค่าเปรียบเทียบกับค่ามาตรฐาน คือร้อยละ 100 เพื่อนำมาปรับค่าเวลาในการทำงานที่ได้จากการจับเวลาแต่ละครั้ง ให้กลายเป็นเวลาที่ใช้ในการทำงานของผู้ปฏิบัติงานแบบปกติ
10. การปรับค่าเวลาเผื่อ (allowance time) ในการศึกษานี้ ใช้เวลาเผื่อสำหรับการปฏิบัติงานในแต่ละกิจกรรมย่อยเป็นร้อยละ 154-6 โดยแยกประเภทดังนี้ (1) เวลาเผื่อเกี่ยวกับธุระส่วนตัว เช่น การเข้าห้องน้ำ การดื่มน้ำ การคุยกับเพื่อนร่วมงาน เป็นต้น ซึ่งกำหนดให้เป็นร้อยละ 5 ของเวลาเฉลี่ยของการทำงานปกติ (2) เวลาเผื่อที่เกี่ยวกับความเมื่อยล้าทางกายและใจ ซึ่งกำหนดให้เป็นร้อยละ 5 ของเวลาเฉลี่ยของการทำงานปกติ (3) เวลาเผื่อเกี่ยวกับความล่าช้า เป็นเวลาเผื่อสำหรับสิ่งที่ผู้ปฏิบัติไม่สามารถควบคุมได้ เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์ติดขัดในการพิมพ์ฉลากยา กำหนดให้เป็นร้อยละ 5 ของเวลาเฉลี่ยของการทำงานปกตินั้น ดังนั้นเมื่อรวมทั้งสามข้อจึงมีค่าเป็นร้อยละ 15 ของเวลาเฉลี่ยของการทำงานปกติ
11. การกำหนดเวลามาตรฐานของการทำงาน (standard time) ซึ่งใช้สูตรในการคำนวณโดยการกำหนดลงในโปรแกรม Microsoft Excel ดังสูตร
standard time = average normal time + allowance time
ตัวอย่าง จากการคำนวณในข้อ 9 จะได้ค่าเวลาเฉลี่ยของการทำงานปกติ สมมติว่าเวลาเฉลี่ยของการทำงานปกติในขั้นตอนการพิมพ์ฉลากยามีค่าเท่ากับ 31.55 วินาที และค่าเวลาเผื่อ (allowance time) ที่กำหนดตามข้อ 10 คือร้อยละ 15 ของเวลาเฉลี่ยของการทำงานปกติ เวลามาตรฐานของการพิมพ์ฉลากยา = 31.55 วินาที + (0.15 x 31.55) วินาที หรือ 36.28 วินาที
12. การวิเคราะห์หาอัตรากำลัง ใช้สูตรในการคำนวณดังนี้
(1) หาปริมาณงานของบุคลากรที่ปฏิบัติงานอยู่ในหน่วยบริการจ่ายยาผู้ป่วยนอก โดยใช้ข้อมูลปริมาณงานในปี พ.ศ. 2546
workload = standard time x the number of work unit
workload = ภาระงานที่คำนวณออกมาให้อยู่ในรูปของ ปริมาณเวลาทั้งหมดเป็นชั่วโมงที่ใช้ในการทำงานเพื่อให้ได้ผลของงานในช่วงระยะเวลาหนึ่ง ซึ่งในที่นี้คือ ผลของการทำงาน 1 ปี ของบุคลากรที่ปฏิบัติงานอยู่ในหน่วยบริการจ่ายยาผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลศรีนครินทร์
the number of work unit = หน่วยนับของผลงาน ซึ่งได้แก่ จำนวนใบสั่งยาที่ได้ให้บริการผู้ป่วยในระยะเวลา 1 ปี จำนวนซองยาที่แบ่งบรรจุย่อย จำนวนครั้งของการเปิดและปิดเครื่องแบ่งบรรจุยาต่อปี เป็นต้น
(2) นำค่า workload มาคำนวณการกำหนดอัตรากำลังของบุคลากร ที่ปฏิบัติงานอยู่ในหน่วยบริการจ่ายยาผู้ป่วยนอก
the number of operators = workload
work hours per operators
the number of operators = จำนวนของบุคลากรที่ต้องการ
work hours per operators = ชั่วโมงการทำงานของบุคลากร 1 คน ในการ
ทำงาน 1 ปี เฉพาะวันราชการ โดยประมาณคือ 240 วัน และหักเฉลี่ย ลาพักผ่อน ลาป่วย ลากิจ รวม 20 วัน และใน 1 วัน มีชั่วโมงการทำงาน คือ 7 ชั่วโมง ดังนั้น คำนวณชั่วโมงการทำงานของบุคลากร 1 คนใน 1 ปี ได้เท่ากับ 1,540 ชั่วโมง (220 วัน x 7 ชั่วโมง)
การวิเคราะห์ข้อมูล
นำบันทึกการจับเวลาที่ได้ และจำนวนรอบที่จับเวลา มาคำนวณหาเวลามาตรฐานด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป แล้วนำข้อมูลเวลามาตรฐานที่ได้จากการศึกษามาคำนวณหาภาระงาน และอัตรากำลัง โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ตามสูตรการวิเคราะห์ที่แสดงไว้ด้านบน
ผลการศึกษา
ผู้วิจัยได้ทำการเก็บข้อมูลด้านเวลามาตรฐานการทำงานในช่วงระหว่างวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2547 ถึง 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2547 ข้อมูลที่ได้ทำการศึกษาและรวบรวม สามารถแสดงได้ตามข้อหัวดังต่อไปนี้
1. ข้อมูลทั่วไปของงานบริการเภสัชกรรมผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลศรีนครินทร์
2. ข้อมูลงานที่ทำการศึกษาและข้อมูลภาระงาน ของงานบริการจ่ายยาผู้ป่วยนอก
3. ข้อมูลบุคลากรที่ทำการศึกษาเพื่อหาเวลามาตรฐานในการทำงาน
4. ผลการศึกษาเวลามาตรฐาน
5. การกำหนดอัตรากำลังตามเวลามาตรฐานที่ทำการศึกษา
1. ข้อมูลทั่วไปของงานบริการเภสัชกรรมผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลศรีนครินทร์
โรงพยาบาลศรีนครินทร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น เป็นโรงพยาบาลระดับตติยภูมิ ขนาด 800 เตียง มีการให้บริการตรวจรักษาผู้ป่วยนอกทั้งหมด 13 แผนก ในส่วนของงานเภสัชกรรมได้จัดให้มีการบริการผู้ป่วยเป็นสองส่วน คือ งานบริการเภสัชกรรมผู้ป่วยใน และงานบริการเภสัชกรรมผู้ป่วยนอก งานบริการเภสัชกรรมผู้ป่วยนอก มีขอบเขตการทำงานที่แยกได้เป็น 3 ส่วน คือ (1) งานบริการจ่ายยาผู้ป่วยนอก (2) งานบริบาลเภสัชกรรมผู้ป่วยนอก และ (3) งานบริหารจัดการทั่วไป โดยมีบุคลากรที่ปฏิบัติงานทั้งหมด 26 คน ประกอบด้วย ตำแหน่งเภสัชกร 8 คน ผู้ช่วยเภสัชกร 6 คน และลูกจ้าง 12 คน ทั้งนี้ได้มีการจัดสรรอัตรากำลังในขอบเขตงานทั้ง 3 ส่วน (ตารางที่ 1)
ตารางที่ 1 จำนวนบุคลากรในงานบริการเภสัชกรรมผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลศรีนครินทร์
ประเภทงาน |
เภสัชกร (คน) |
ผู้ช่วยเภสัชกร (คน) |
ลูกจ้าง (คน) |
รวม (คน) |
งานบริการจ่ายยาผู้ป่วยนอก |
6 |
5 |
11 |
22 |
งานบริบาลเภสัชกรรมผู้ป่วยนอก |
1 |
- |
- |
1 |
งานบริหารจัดการทั่วไป |
1 |
1 |
1 |
3 |
2. ข้อมูลงานที่ทำการศึกษา และข้อมูลภาระงานของงานบริการจ่ายยาผู้ป่วยนอก
จากการรวบรวมข้อมูลด้านภาระงาน ของงานการจ่ายยาให้กับผู้ป่วย โดยคิดจากจำนวนใบสั่งยาในปี พ.ศ. 2546 (1 มกราคม พ.ศ. 2546 ถึง 31 ธันวาคม พ.ศ. 2546) เป็นจำนวน 320,801 ใบ และจำนวนรายการยาที่ให้บริการเป็นจำนวน 976,800 รายการ สรุปรายการยาเฉลี่ยต่อใบสั่งยาเท่ากับ 3.04 รายการ/ ใบ
รายละเอียดความถี่ในการทำงานย่อยแต่ละขั้นตอน มีดังนี้ งานการสำรวจยาที่จะแบ่งบรรจุในข้อ1. (ตารางที่ 2) จะทำการสำรวจ 2 ครั้ง ต่อ สัปดาห์ ส่วนงานการเขียนใบคำสั่งในข้อ2. (ตารางที่ 2) ผู้ปฏิบัติคือเภสัชกรคนเดียวกับงานการสำรวจยา เป็นผู้เขียนใบคำสั่งทุกวัน งานในข้อ3.-5. (ตารางที่ 2) เป็นกระบวนการแบ่งบรรจุยาย่อย มีการแบ่งบรรจุยาทุกวัน โดยมีผู้รับผิดชอบประจำ 1 คน และอีก 1 คน จะหมุนเวียนกันมาทำหน้าที่วันละ 1 คน รวมเป็นผู้ที่ทำหน้าที่แบ่งบรรจุยา 2 คนต่อวัน จำนวนเม็ดยาต่อซองที่แบ่งบรรจุที่ใช้มาก ได้แก่ ขนาดบรรจุ 30 เม็ด และขนาดบรรจุ 90 เม็ด ข้อมูลที่แสดงนี้เป็นจำนวนครั้งของการทำงาน และจำนวนชิ้นงานของการแบ่งบรรจุยาย่อยในช่วงวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2546 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2546
ตารางที่ 2 ภาระงานแบ่งบรรจุยาย่อย ของงานบริการเภสัชกรรมผู้ป่วยนอก ประจำปี พ.ศ. 2546
ชนิดของงานย่อย |
จำนวนผลงาน
|
จำนวนผลงานต่อปี (หน่วย) |
1.สำรวจยาที่จะแบ่งบรรจุ |
2 ครั้ง ต่อ สัปดาห์ |
88 (ครั้ง) |
2.เขียนใบคำสั่ง |
5 ครั้ง ต่อ สัปดาห์ |
220 (ครั้ง) |
3.เตรียมการแบ่งบรรจุ |
3 ครั้ง ต่อ วัน |
660 (ครั้ง) |
4.แบ่งบรรจุ 30 เม็ด |
7,998,060 เม็ด ต่อ ปี |
266,602 (ซอง) |
5.แบ่งบรรจุ 90 เม็ด |
5,332,040 เม็ด ต่อ ปี |
59,245 (ซอง) |
6.ปิดเครื่อง |
3 ครั้ง ต่อ วัน |
660 (ครั้ง) |
7.ติดฉลากยา |
|
325,847 (ซอง) |
3. ข้อมูลบุคลากรที่ทำการศึกษาเพื่อหาเวลามาตรฐานในการทำงาน
ในการศึกษาครั้งนี้ มีผู้ปฏิบัติงานที่ถูกคัดเลือกโดยหัวหน้าหน่วยบริการเภสัชกรรมผู้ป่วยนอก เพื่อเป็นตัวแทนของผู้ปฏิบัติงานในหน่วยบริการเภสัชกรรมผู้ป่วยนอก จำนวนทั้งหมด 8 คน รายละเอียดของผู้ปฏิบัติงานที่ได้รับการคัดเลือก (ตารางที่ 3)
ตารางที่ 3 ข้อมูลผู้ปฏิบัติงานที่เป็นตัวแทนในการศึกษาเวลามาตรฐาน และการประเมิน %rating
ตำแหน่ง |
เพศ |
อายุการทำงาน |
ชนิดของงานย่อย |
%rating |
เภสัชกร
- คนที่ 1
- คนที่ 2 |
หญิง
หญิง |
8 ปี
2 ปี |
ตรวจสอบยา
เขียนใบเบิกยา ใบคำสั่ง |
95
94 |
ผู้ช่วยเภสัชกร |
ชาย |
16 ปี |
พิมพ์ข้อมูลยาจากใบสั่งยา |
103 |
ลูกจ้าง
- คนที่ 1
- คนที่ 2
- คนที่ 3
- คนที่ 4
- คนที่ 5 |
หญิง
หญิง
หญิง
หญิง
หญิง |
14 ปี
16 ปี
12 ปี
19 ปี
11 ปี |
ติดฉลากยา
จัดยา
เรียกชื่อ และจ่ายยา
แบ่งบรรจุยา
ติดฉลากแบ่งบรรจุ |
133
105
107
90
120 |
4. ผลการศึกษาเวลามาตรฐาน
จากการศึกษาเวลามาตรฐานการทำงานในงานบริการจ่ายยาผู้ป่วยนอก โดยแบ่งงานได้ 2 งานหลัก คือ งานจ่ายยา และงานแบ่งบรรจุยาย่อย เมื่อแบ่งงานแต่ละงาน ออกเป็นงานย่อยได้ 11 งานย่อย แล้วทำการศึกษาเวลามาตรฐานโดยใช้เทคนิคการจับเวลาการทำงาน (ตารางที่ 4) ซึ่งแสดงเวลามาตรฐานในแต่ละงานย่อยของงานการจ่ายยา และแสดงเวลามาตรฐานของงานแบ่งบรรจุยาย่อย (ตารางที่ 5)
ตารางที่ 4 จำนวนครั้งในการเก็บข้อมูล เวลาเฉลี่ย เวลาเผื่อ เวลามาตรฐาน ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และหน่วยนับของผลงาน ในงานการจ่ายยา
ลำดับ |
งานย่อย |
จำนวนครั้งที่จับเวลา |
เวลาเฉลี่ย(วินาที) |
เวลาเผื่อ
(วินาที) |
เวลามาตรฐาน
(วินาที) |
SD |
หน่วยนับของผลงาน |
1. |
พิมพ์ข้อมูลจากใบสั่งยา |
75 |
32.15 |
4.82 |
36.97 |
6.50 |
ใบสั่ง |
2. |
ติดฉลากยา |
70 |
31.13 |
4.67 |
35.80 |
6.28 |
ใบสั่ง |
3. |
จัดยา |
145 |
75.93 |
11.37 |
87.30 |
22.07 |
ใบสั่ง |
4. |
ตรวจสอบยา |
112 |
31.90 |
4.76 |
36.69 |
7.77 |
ใบสั่ง |
5. |
เรียกชื่อและส่งมอบยา |
30 |
26.96 |
4.05 |
31.10 |
2.46 |
ใบสั่ง |
รวมเวลาใน 1 วงจรงาน |
|
|
|
227.86 |
|
ใบสั่ง |
ตารางที่ 5 จำนวนครั้งในการเก็บข้อมูล เวลาเฉลี่ย เวลาเผื่อ เวลามาตรฐาน ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และหน่วยนับของผลงานในงานแบ่งบรรจุยาย่อย
ลำดับ |
งานย่อย |
จำนวนครั้งที่จับเวลา |
เวลาเฉลี่ย
(วินาที) |
เวลาเผื่อ
(วินาที) |
เวลามาตรฐาน
(วินาที) |
SD |
หน่วยนับของผลงาน |
1. |
สำรวจยาที่จะแบ่งบรรจุ |
5 |
574.46 |
22.69 |
757.74 |
9.08 |
ครั้ง |
2. |
เขียนใบคำสั่ง |
10 |
108.42 |
16.26 |
124.68 |
2.24 |
ครั้ง |
3. |
เตรียมการแบ่งบรรจุ |
10 |
581.79 |
87.27 |
669.06 |
44.81 |
ครั้ง |
4. |
แบ่งบรรจุ 30 เม็ด |
30 |
10.55 |
1.58 |
12.13 |
0.87 |
ซอง |
|
แบ่งบรรจุ 90 เม็ด |
16 |
16.81 |
2.52 |
19.33 |
0.90 |
ซอง |
5. |
ติดฉลากยา |
10 |
2.64 |
0.39 |
3.03 |
8.66 |
ซอง |
6. |
ปิดเครื่อง |
10 |
697.24 |
104.58 |
801.82 |
18.31 |
ครั้ง |
จากการศึกษาหาเวลามาตรฐานของงานการแบ่งบรรจุยาย่อย ซึ่งแบ่งออกเป็นงานย่อย ได้ 6 งานย่อย ผลการศึกษาเวลามาตรฐาน โดยเฉลี่ยในแต่ละขั้นตอนดังนี้ (1) เขียนใบเบิกยา ที่จะแบ่งบรรจุ 757.74 วินาที (2) เขียนใบคำสั่ง 124.68 วินาที (3) เตรียมเครื่อง 660.06 วินาที (4) แบ่งบรรจุยา ขนาด 30 เม็ด 12.13 วินาที และขนาด 90 เม็ด 19.33 วินาที (5) การปิดเครื่อง 801.82 วินาที (6) การติดฉลากยา 3.03 วินาที การหาเวลามาตรฐานของงานแบ่งบรรจุยาย่อยต่อหน่วยนับผลงานเป็นซองนั้น ไม่สามารถหาได้โดยตรงด้วยวิธีการบวกเวลาที่ใช้ในแต่ละขั้นตอนของการทำงานเหมือนงานการจ่ายยา เนื่องจากในแต่ละขั้นตอนของกระบวนการทำงานของงานแบ่งบรรจุยาย่อย จะมีหน่วยนับของผลงานที่ไม่เหมือนกัน แต่สามารถหาเวลามาตรฐานต่อหน่วยนับผลงานได้ทางอ้อม โดยคำนวณเวลาที่ใช้ทั้งหมดในทุกขั้นตอนงานย่อยการแบ่งบรรจุยา ในการทำงาน 1 ปี ได้ค่าเวลาที่ต้องใช้ในการแบ่งบรรจุยา 1,786.46 ชั่วโมง และนำมาคำนวณร่วมกับจำนวนผลงานที่ได้ในการทำงาน 1 ปี ค่าเวลามาตรฐานที่ใช้ในการแบ่งบรรจุยาต่อซองเฉลี่ย 19.73 วินาที
งานการจ่ายยา ได้ผลการศึกษาดังนี้ งานย่อยที่ (1) พิมพ์ข้อมูลจากใบสั่งยา 36.97 วินาที (2) ติดฉลากยา 35.80 วินาที (3) จัดยา 87.30 วินาที (4) ตรวจสอบยา 36.69 วินาที (5) เรียกชื่อ และส่งมอบยา 31.10 วินาที รวมเวลามาตรฐานที่ใช้ในการจ่ายยา 1 ใบสั่งซึ่งมีรายการยา 34 รายการ คือ 227.86 วินาที หรือ 3.80 นาที โดยใช้เวลาในขั้นตอนการจัดยามากที่สุด คือ 87.30 วินาที ต่อ 1 วงจรงาน 227.86 วินาที หรือ คิดเป็นร้อยละ 38.31 (87.3 x 100 / 227.86) ของเวลามาตรฐานการจ่ายยาให้แก่ผู้ป่วยนอก อันดับรองลงมา ได้แก่ งานในขั้นตอนการพิมพ์ข้อมูลใบสั่งยา และใกล้เคียงกับเวลามาตรฐานในขั้นตอนการตรวจสอบ ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 16.22 และ 16.10 ตามลำดับ
งานการแบ่งบรรจุยาย่อย ได้ค่าเวลามาตรฐานในแต่ละงานย่อยในหน่วยนับของผลงานที่ต่างกัน จึงไม่สามารถนำมาหาค่าเวลามาตรฐานรวม โดยการรวมเวลาในแต่ละขั้นตอน ได้โดยตรงเหมือนงานการจ่ายยา ดังนั้นหากต้องการคำนวณหาเวลามาตรฐานต่อหน่วยนับของผลงานการแบ่งบรรจุยา จะต้องทำการกำหนดจำนวนหน่วยนับของผลงานต่อช่วงเวลาการทำงาน เช่น ในรอบหนึ่งปีมีการบรรจุยาเม็ดได้จำนวนกี่ซอง และมีความถี่ในการทำงานในแต่ละขั้นตอนของการแบ่งบรรจุยาย่อยคิดเป็นกี่ครั้งต่อปี เมื่อนำมาคำนวณร่วมกับเวลามาตรฐานที่วัดได้ในแต่ละขั้นตอน จะได้เวลาที่ใช้ในการทำงานทั้งหมดของงานการแบ่งบรรจุยาย่อยในการทำงาน 1 ปี และนำหน่วยนับของผลงานไปหารเพื่อคำนวณเป็นเวลามาตรฐานต่อการบรรจุยาย่อย 1 หน่วยนับผลงาน ซึ่งในที่นี้หน่วยนับของผลงาน คือจำนวนซองยาที่แบ่งบรรจุทั้ง 2 ขนาดรวมกัน เมื่อคำนวณตามที่กล่าวข้างต้นนี้ จะได้เวลามาตรฐานของการแบ่งบรรจุยาย่อยเฉลี่ยทั้ง 2 ขนาดเท่ากับ 19.73 วินาทีต่อซอง แต่หากต้องการหาเวลามาตรฐานของการแบ่งบรรจุยาย่อย ในแต่ละขนาดของการแบ่งบรรจุ จะต้องมีการแบ่งสัดส่วนของเวลาที่ใช้ในการทำงานในขั้นตอนงานย่อย ที่เป็นขั้นตอนการทำงานร่วมกัน จึงจะต้องคำนวณแยกเป็นค่าเวลามาตรฐานที่ใช้ในแต่ละขนาดยาที่แบ่งบรรจุ
จากการศึกษานี้ พบว่างานในขั้นตอนการปิดเครื่อง มีค่าเวลามาตรฐานในการทำงานมากที่สุด คือ 801.82 วินาที หรือ 13.36 นาที ค่าเวลามาตรฐานที่มากอันดับรองลงมา คือ งานในขั้นตอนสำรวจยาที่จะแบ่งบรรจุ เท่ากับ 757.74 วินาที หรือ 12.62 นาที
5. การกำหนดอัตรากำลังตามเวลามาตรฐานที่ทำการศึกษา
จากข้อมูลภาระงาน (ตารางที่ 2) และการหาเวลามาตรฐานในแต่ละงานย่อย (ตารางที่ 4 และ 5) สามารถนำมาคำนวณหา ปริมาณเวลาที่เป็นชั่วโมงการทำงานและอัตรากำลังได้ ตามสูตรการคำนวณดังต่อไปนี้
5.1. Workload = 36.97 วินาที x 320,801 ใบสั่ง
= 11,860,012 วินาที / 60 x 60
= 3,294.45 ชั่วโมง
เมื่อนำค่าเวลามาตรฐานในแต่ละงานย่อยมาคำนวณ จะได้ค่าภาระงานที่คำนวณได้ออกมาในรูปของปริมาณเวลาที่ต้องใช้ในการทำงานจากการคำนวณตามสูตรข้างบน (ตารางที่ 6 และ 7)
ตารางที่ 6 ปริมาณเวลาที่ใช้ในการทำงานในแต่ละงานย่อย ของงานการจ่ายยา
ลำดับ |
งานย่อย |
ผู้ปฏิบัติ |
เวลามาตรฐาน
(วินาที) |
ปริมาณงานต่อปี
(ใบสั่งยา) |
ปริมาณชั่วโมงการทำงานต่อปี
(ชั่วโมง) |
1. |
พิมพ์ข้อมูลจากใบสั่งยา |
ผู้ช่วยฯ |
36.97 |
320,801 |
3,294.45 |
2. |
ติดฉลากยา |
ลูกจ้าง |
35.80 |
320,801 |
3,190.18 |
3. |
จัดยา |
ลูกจ้าง |
87.30 |
320,801 |
7,779.42 |
4. |
ตรวจสอบยา |
เภสัชกร |
36.69 |
320,801 |
3,269.50 |
5. |
เรียกชื่อ และส่งมอบยา |
ลูกจ้าง |
31.10 |
320,801 |
2,771.36 |
|
รวมเวลาใน1 วงจรงาน |
|
227.86 |
|
20,304.91 |
ตารางที่ 7 ปริมาณเวลาที่ใช้ในการทำงาน ในแต่ละงานย่อย ของงานการแบ่งบรรจุยา
ลำดับ |
งานย่อย |
ผู้ปฏิบัติ |
เวลามาตรฐาน
(วินาที) |
ปริมาณงานต่อปี
(หน่วย) |
ปริมาณชั่วโมงการทำงานต่อปี(ชั่วโมง) |
1. |
สำรวจยาที่จะแบ่งบรรจุ |
เภสัชกร |
757.74 |
88 (ครั้ง) |
18.52
|
2. |
เขียนใบคำสั่ง |
เภสัชกร |
124.68 |
220 (ครั้ง) |
7.62 |
3. |
เตรียมการแบ่งบรรจุ |
ลูกจ้าง |
669.06 |
660 (ครั้ง) |
122.66 |
4. |
แบ่งบรรจุ 30 เม็ด |
ลูกจ้าง |
12.13 |
266,602 (ซอง) |
898.30 |
|
แบ่งบรรจุ 90 เม็ด |
ลูกจ้าง |
19.33 |
59,245 (ซอง) |
318.11 |
5. |
ติดฉลากยา |
ลูกจ้าง |
801.82 |
660 (ครั้ง) |
147.00 |
6. |
ปิดเครื่อง |
ลูกจ้าง |
3.03 |
325,847 (ซอง) |
274.25 |
รวมชั่วโมงการทำงานทั้งปี |
|
|
|
1,786.46 |
จากข้อมูลปริมาณชั่วโมงการทำงานต่อปี ในงานย่อยทั้ง 11 งานย่อย สามารถนำมาหาสัดส่วนเวลาทำงานของแต่ละตำแหน่งงาน โดยคิดเป็นร้อยละ ได้ดังนี้
ตำแหน่งงานของเภสัชกร มีปริมาณงานคิดเป็นชั่วโมงการทำงานที่เป็นภาระงานต่อปี ในงานการจ่ายยา และการแบ่งบรรจุยาย่อย เท่ากับ 3,269.50 + 18.52 + 7.62 = 3,295.64 ชั่วโมง คิดเป็นร้อยละ 14.92 ของปริมาณงาน
ตำแหน่งงานของผู้ช่วยเภสัชกร มีปริมาณงานคิดเป็นชั่วโมงการทำงานที่เป็นภาระงานต่อปี ในงานการจ่ายยา เท่ากับ 3,294.45 ชั่วโมง คิดเป็นร้อยละ 14.91 ของปริมาณงาน
ตำแหน่งงานของลูกจ้าง มีปริมาณงานคิดเป็นชั่วโมงการทำงานที่เป็นภาระงานต่อปี ในงานการจ่ายยา และการแบ่งบรรจุยาย่อย เท่ากับ 3,190.18 + 7,779.42 + 2,771.36 + 122.66 + 898.30 + 318 + 147 + 274.25 = 15,501.28 ชั่วโมง คิดเป็นร้อยละ 70.17 ของปริมาณงาน
รวมเวลาปริมาณงานทั้งหมดของบุคลากรในงานบริการจ่ายยาผู้ป่วยนอก = 22,091.37 ชั่วโมง (3,295.64 + 3,294.45 + 15,501.28)
5.2. นำค่า workload มาคำนวณอัตรากำลังของบุคลากรที่ต้องใช้ในการผลิตผลงานตามเป้าหมายที่ต้องการ เช่น การคำนวณจำนวนเภสัชกรที่ต้องการในงาน
= 3,295.64 ชั่วโมงต่อปี
220 วัน x 7 ชั่วโมงต่อปี
= 2.14 คน