Untitled Document
 
 
 
 
Untitled Document
Home
Current issue
Past issues
Topic collections
Search
e-journal Editor page

Antimigration of Cancer Cells by Derris scandens on Cholangiocarcinoma Cells

ฤทธิ์ต้านการเคลื่อนที่ของเซลล์มะเร็งของเถาวัลย์เปรียงต่อเซลล์มะเร็งท่อน้ำดี

Pisamai Laupattarakasem (พิศมัย เหล่าภัทรเกษม) 1, Banchob Sripa (บรรจบ ศรีภา) 2, Wiroon Laupattarakasem (วิรุฬห์ เหล่าภัทรเกษม) 3




หลักการและเหตุผล: เถาวัลย์เปรียง (Derris scandens, Leguminosae) เป็นสมุนไพรที่ใช้ลดการอักเสบของข้อในประเทศไทย  การศึกษาทางเคมีของส่วนลำต้นพบสารสำคัญเป็นพวก isoflavone เช่น genistein และอนุพันธุ์  มีรายงานถึงฤทธิ์ต้านมะเร็งของ isoflavone หลายชนิดรวมทั้งฤทธิ์ต้านการเคลื่อนที่ของเซลล์

วัตถุประสงค์: ศึกษาฤทธิ์ต้านการเคลื่อนที่ของสารสกัดเถาวัลย์เปรียงต่อเซลล์มะเร็งท่อน้ำดีเทียบกับเซลล์มะเร็งชนิดอื่น ๆ และยาต้านมะเร็งชนิด antimitotic เช่น paclitaxel

วิธีการ: หาขนาดที่ไม่เป็นพิษของสารสกัด paclitaxel และตัวทำละลาย ต่อเซลล์มะเร็งท่อน้ำดี (KKU-100, KKU-M139, KKU-M213)  มะเร็งตับ (HepG2)  และ มะเร็งเต้านม  (MCF-7) ด้วยวิธี MTT assay    การทดสอบฤทธิ์ต้านการเคลื่อนที่ของเซลล์ด้วยเทคนิค co-culture   โดยทำการให้สารทดสอบล่วงหน้า (pre-treat) ต่อเซลล์มะเร็ง (2.5x104 เซลล์) ในขนาดที่ไม่เป็นพิษต่อเซลล์เป็นเวลา 30 นาที ก่อนเติมลงไปใน insert (upper chamber) ทำการเพาะเลี้ยงต่อไปอีก 18 ชั่วโมงที่ 37oC ในตู้ 5% CO2   เช็ดเซลล์ที่เหลือค้างอยู่ใน insert ด้วยไม้พันสำลี    ตรวจวัดจำนวนเซลล์ที่เคลื่อนลงมาที่ well (lower chamber) ด้วยกล้องจุลทรรศน์ แล้วคำนวณหาร้อยละของการยับยั้งการเคลื่อนที่ของเซลล์

ผลการศึกษา: จาก MTT assay เมื่อเทียบกับตัวทำละลาย (O.25-1% DMSO) พบว่าขนาดที่ไม่เป็นพิษต่อเซลล์ของสารสกัดเถาวัลย์เปรียงได้ถึง 800 mg/ml 0.5% DMSO และ 10-9 M สำหรับ paclitaxel    ฤทธิ์ต้านการเคลื่อนที่ของเซลล์พบว่าสารสกัดเถาวัลย์เปรียงมีฤทธิ์ยับยั้งต่อเซลล์มะเร็งที่นำมาทดสอบเกือบทุกชนิดยกเว้น KKU-100 ซึ่งพัฒนามาจาก poorly differentiated adenocarcinoma tissue  ในขณะที่ paclitaxel มีฤทธิ์ยับยั้งต่อเซลล์ทุกชนิด

สรุป: จากผลการทดลองพบว่าสารสกัด 50%EtOH ของเถาวัลย์เปรียงมีฤทธิ์ต้านการเคลื่อนที่ของเซลล์มะเร็งหลายชนิด   ผลต่อเซลล์มะเร็งท่อน้ำดีจะได้ผลดีกับเซลล์ชนิด squamous cell carcinoma (KKU-M139) และ adenosquamous carcinoma (KKU-M213)   จึงน่าสนใจว่าเถาวัลย์เปรียงน่าจะมีศักยภาพในการยับยั้งการแพร่กระจายของเซลล์มะเร็งท่อน้ำดีได้  อย่างน้อยโดยการยับยั้งการเคลื่อนที่ของเซลล์

 

คำสำคัญ: เถาวัลย์เปรียง  มะเร็งท่อน้ำดี  ฤทธิ์ต้านการเคลื่อนที่ของเซลล์  ความเป็นพิษต่อเซลล์

Background: Derris scandens (Leguminosae) is used as traditional remedies in Thailand for arthritis. Phytochemicals obtained from the stems are mainly isoflavones such as genistein and their derivatives. Many anticancer activities of isoflavone have been reported, including antimigration effect.

Objectives: To assess antimigration activity of D. scandens extract on cholangiocarcinoma (CCA) cell lines compared to other human cancer cell lines and standard antimitotic drug (e.g., paclitaxel).

Methods: Non-cytotoxic concentrations of D. scandens ethanol extract, paclitaxel and vehicle were determined by MTT assay. For antimigration assay, co-cultured technique using CCA cell lines (KKU-100, KKU-M139 and KKU-M213), hepatoma cell line (HepG2) and breast cancer cell line (MCF-7) was employed. The cells (2.5x104 cells) were pre-treated with non-cytotoxic concentrations of tested drug or herbal extract for 30 min before adding to insert (upper chamber), then further incubated for 18 h at 37oC in 5% CO2 incubator. Non-migrating cells were removed using cotton swab, the number of cells migrated to well (lower chamber) were counted under a microscope and percent inhibition was calculated.

Results: From MTT assay, in comparison to vehicle (0.25-1% DMSO), the non-cytotoxic concentrations were up to 800 mg/ml 0.5% DMSO and 10-9 M for D. scandens and paclitaxel, repectively. Antimigration activity of D. scandens was clearly demonstrated with nearly all of the human cancer cell lines, except KKU-100 which is derived from the poorly differentiated adenocarcinoma tissue. The migratory inhibition effect of paclitaxel was observed in all cell lines.

Conclusions: The ethanol extract of D. scandens shows antimigration in most many cancer cell lines. For CCA cell lines, the extract showed potent inhibitory effect especially with squamous cell carcinoma (KKU-M139) and adenosquamous carcinoma (KKU-M213). Therefore, it is interesting that the extract may have a potential as antimetastasis on CCA cells, at least in part, mediated through antimigration activity.

 

Key words: Derris scandens, Cholangiocarcinoma, Antimigration, Cytotoxicity

 

บทนำ

          มะเร็งท่อน้ำดี (cholangiocarcinoma) เป็นมะเร็งที่พบได้มากในประชากรชาวอีสานและเป็นปัญหาที่สำคัญเนื่องจากปัจจุบันการรักษายังไม่ได้ผลดีนักไม่ว่าจะด้วยการผ่าตัด การฉายรังสี หรือการให้ยาต้านมะเร็ง 1 ประกอบกับผู้ป่วยมักจะมาพบแพทย์ในระยะที่มีการแพร่กระจายของเซลล์มะเร็งแล้ว ทำให้การรักษายิ่งทำได้ยากและไม่ได้ผล   การรักษาด้วยยาต้านมะเร็งส่วนใหญ่มักทำให้เกิดอาการข้างเคียงค่อนข้างมาก   แนวทางการรักษาด้วยยาในปัจจุบันจึงมีความจำเป็นในการค้นหายาใหม่ที่ให้ผลในการรักษา มีอาการข้างเคียงต่ำ สามารถเสริมฤทธิ์ยาต้านมะเร็ง หรือ สามารถลดการแพร่กระจายของเซลล์มะเร็งได้  การเลือกใช้สมุนไพรก็เป็นทางเลือกหนึ่งในปัจจุบันมีการศึกษาเพิ่มขึ้น

          จากการที่สมุนไพรมีสารสำคัญหลายชนิด และ แต่ละชนิดก็ออกฤทธิ์ได้อย่างกว้างขวางรวมทั้งฤทธิ์ต้านมะเร็งด้วยกลไกต่างๆ 2, 3    มีรายงานทางระบาดวิทยาว่าประชากรที่รับประทานอาหารที่มี isoflavone สูง เช่น ผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลืองที่มี genistein และ daidzein เป็นส่วนประกอบหลัก จะช่วยลดอุบัติการณ์การเกิดมะเร็งเต้านมและลดอัตราตายจากมะเร็งต่อมลูกหมากได้4-6   เชื่อว่ากลไกการออกฤทธิ์มีหลายชนิดรวมทั้งลดการแพร่กระจายของเซลล์มะเร็ง (tumor metastasis)    กระบวนการแพร่กระจายของเซลล์มะเร็งจะประกอบด้วย 3 ขั้นตอนหลักคือ cell adhesion, cell invasion และ cell migration    ซึ่งมีรายงานว่า isoflavone ชนิดต่างๆ รวมทั้ง genistein สามารถยับยั้งขั้นตอนเหล่านี้ในเซลล์มะเร็งหลายชนิด 7, 8

          Isoflavone เป็น flavonoids ที่พบได้มากในพืชตระกูลถั่วและพืชอีกหลายชนิดรวมทั้งเถาวัลย์เปรียง (Derris scandens, Leguminosae) 9-11     เถาวัลย์เปรียงเป็นสมุนไพรที่สำคัญตัวหนึ่งที่ใช้ในการรักษาอาการปวดและอักเสบ12      เป็นไม้เถาขนาดใหญ่ พบได้ทั่วไปในเขตร้อนชื้น  มีรายงานถึงสารสำคัญหลายชนิดที่สำคัญได้แก่กลุ่ม isoflavonoids ซึ่งตัวหลักได้แก่ genistein และอนุพันธุ์ 9-11   genistein พบได้ในพืชหลายชนิดโดยเฉพาะ subfamily Pacilionoideae, family Leguminosae    ปัจจุบันมีการศึกษาเพื่อนำไปใช้เป็น functional food ในการเสริมสุขภาพ ช่วยลดอาการในหญิงวัยทอง ลดอุบัติการณ์ของโรคหัวใจและหลอดเลือด และป้องกันการเกิดมะเร็ง 4-6  การศึกษานี้จึงมีวัตถุประสงค์ที่จะทดสอบฤทธิ์ต้านมะเร็งท่อน้ำดีของเถาวัลย์เปรียง โดยเฉพาะฤทธิ์ต้านการเคลื่อนที่ (antimigration) ซึ่งเป็นกลไกหนึ่งของ tumor metastasis  และเพื่อยืนยันว่าฤทธิ์ต้านการเคลื่อนที่นี้ไม่ได้เกิดจากการตายของเซลล์มะเร็งจึงทำการศึกษาฤทธิ์  cytotoxicity  ของเถาวัลย์เปรียงในขนาดที่ใช้ทดสอบในครั้งนี้ด้วย

วัตถุประสงค์

          ศึกษาฤทธิ์ต้านการเคลื่อนที่ (antimigration) ของเถาวัลย์เปรียงต่อเซลล์มะเร็งท่อน้ำดีเปรียบเทียบกับเซลล์มะเร็งชนิดอื่นๆ    และศึกษาความเป็นพิษต่อเซลล์ (cytotoxicity) เพื่อยืนยันว่าฤทธิ์ต้านการเคลื่อนที่นี้ไม่ได้เกิดจากการตายของเซลล์มะเร็ง

 

วัสดุและวิธีการ

1. การเก็บตัวอย่างสมุนไพรและการเตรียมสารสกัด

          เถาวัลย์เปรียง (ส่วนเถา) เก็บจากท้องที่จังหวัดสงขลาในระหว่างเดือนมีนาคม หลังการตรวจเอกลักษณ์ของพืช (Voucher number SKP A 1410101) นำสมุนไพรที่ได้มาล้างน้ำให้สะอาด ผึ่งพอหมาด อบที่อุณหภูมิ 50-60oC จนกระทั่งแห้ง บดด้วยเครื่องและผ่านแร่ง เก็บผงยาสมุนไพรในถุงที่ปิดสนิท และเก็บในที่เย็น    ทำการสกัดผงสมุนไพรด้วยวิธี reflux ใน 50% ethanol เป็นเวลาประมาณ 30 นาที หลังจากทิ้งไว้ให้เย็น กรองเอาสารละลายไปปั่นเหวี่ยงที่ 400 g, 10 นาที เพื่อแยกเอาเฉพาะส่วนน้ำใส    ทำการสกัดซ้ำ 3 ครั้ง รวมส่วนน้ำใสแล้วนำไประเหยเอาแอลกอฮอล์ออกภายใต้อุณหภูมิและความดันต่ำด้วยเครื่อง rota evaporator ส่วนน้ำที่เหลือจะระเหิดออกด้วยเครื่อง lyophilizer จนกระทั่งได้ผงแห้ง ชั่งน้ำหนัก และบรรจุในภาชนะที่ปิดสนิทและเก็บที่ 4oC  เมื่อต้องการนำมาทดสอบจะละลายด้วยสารละลายที่เหมาะสมให้ได้ความเข้มข้นที่ต้องการ

2. ศึกษาฤทธิ์ต้านการเคลื่อนที่ (antimigration) ของเถาวัลย์เปรียงต่อเซลล์มะเร็งท่อน้ำดี

          2.1เซลล์และการเพาะเลี้ยงเชื้อ:      เซลล์มะเร็งท่อน้ำดีมนุษย์ (cholangiocarcinoma cell lines, CCA) ได้จาก รศ. ดร. บรรจบ ศรีภา ภาควิชาพยาธิวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น 3 ชนิด ได้แก่ KKU-100 (poorly-differentiated adenocarcinoma type), KKU-M139 (squamous cell carcinoma) และ KKU-M213 (adenosquamous carcinoma)   ส่วนเซลล์มะเร็งอื่นอีก 2 ชนิดได้รับความอนุเคราะห์จากสถาบันมะเร็งแห่งชาติ ได้แก่ human hepatocellular carcinoma (HepG2, ATCC HB-8065) และ human breast adenocarcinoma (MCF-7, ECACC No. 86012803)   ทำการเพาะเลี้ยงเซลล์ CCA ใน HAM’s F12 medium,  HepG2 ใน MEM medium,  และ MCF-7 ใน DMEM medium    ในอาหารเลี้ยงเซลล์จะเสริมด้วย 10-15% fetal bovine serum (FBS), 100 U penicillin, 100 mg streptomycin  และเพาะเลี้ยงที่ 37oC ใน 5% CO2 incubator

          2.2 Cytotoxicity test     ทดสอบความเป็นพิษต่อเซลล์ของเถาวัลย์เปรียงด้วยวิธี MTT assay 14  ซึ่งเป็นการการทดสอบ cell viability โดยวัดถึงความสามารถของ mitochondrial enzyme ที่เปลี่ยน tetrazolium salt (3-(4,5-dimethyldiazol-2-yl)-2,5 diphenyl tetrazolium bromide, MTT) สีเหลือง ไปเป็น formazan product ที่มีสีน้ำเงินเข้ม  ซึ่งจากระดับของสีจะสัมพันธ์กับจำนวนเซลล์ที่มีชีวิตอยู่  วิธีทดลองคร่าว ๆ คือ  เพาะเลี้ยงเซลล์มะเร็งในสารสกัดที่จะทดสอบในขนาดที่ครอบคลุมถึงขนาดที่ใช้ในการทดสอบฤทธิ์ antimigration ที่ 37oC  เป็นเวลา 24 ชม      หลังจากเปลี่ยน media แล้วเพาะเลี้ยงต่ออีก 2 ชมใน MTT solution (10 mg/ml)  จากนั้นนำมาปั่นเหวี่ยงแยกเซลล์ออก  ทำให้เซลล์แตกและละลายสีภายในเซลล์ด้วย dimethylsulphoxide (DMSO)   วัดระดับของ formazan product ด้วยเครื่อง spectrophotometry ที่ 540 nm (ELX-800; Bio-Tek Instrument, Inc.)

          2.3 Migration assay: ดัดแปลงจากวิธีของ Saito และคณะ 13  ซึ่งการทดลองคร่าว ๆ ดังนี้      ทำการเคลือบด้านก้น (underside) ของ insert ของ 24 well migration chamber (TranswellÒ polycarbonate membrane, pore size 8 mm, Corning Costar, USA) ด้วย 1 mg fibronectin   ทิ้งไว้ให้แห้ง  เติม 250 ml cell suspension (50,000-100,000 cells/insert) ที่ pre-treat ด้วยสารสกัดที่จะทดสอบในขนาดต่างๆ เป็นเวลา 30 นาที  แล้วนำไปวางบน well ที่เติมด้วย 750 ml, 10-15% FBS medium ที่มีสารสกัดในขนาดเดียวกันแล้วนำไปเพาะเลี้ยงที่ 37oC ใน 5%CO2 incubator เป็นเวลา 18 ชม  เมื่อครบกำหนด เช็ดเซลล์ที่เหลืออยู่ใน insert (non-migrating cells) ออกด้วยไม้พันสำลี   หลังจากนั้นตรึงเซลล์ด้วย 25% methanol  และย้อมด้วย 0.5% w/v crystal violet    ตรวจนับจำนวนเซลล์ที่เกาะอยู่ที่ก้นของ insert ด้วยกล้องจุลทรรศน์   เทียบจำนวนเซลล์ของกลุ่มที่ pre-treat ด้วยสารสกัดกับกลุ่มที่ pre-treat ด้วยยาต้านมะเร็งที่มีฤทธิ์ antimitotic (paclitaxel) และกลุ่มควบคุมที่ pre-treat ด้วยตัวทำละลาย (0.125, 0.25% DMSO)

3. การวิเคราะห์ทางสถิติ

          ค่าแสดงเป็น mean ± SE การเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุมใช้ students’ t test กำหนดค่า p<0.05 ถือว่ามีความสำคัญทางสถิติ

 

 

ผลการวิจัย

1. ความเป็นพิษต่อเซลล์มะเร็งของสารสกัดเถาวัลย์เปรียง

          จากการทดสอบความเป็นพิษต่อเซลล์มะเร็งของสารสกัดเถาวัลย์เปรียงด้วยวิธี MTT assay เทียบกับตัวทำละลาย (0.25-1% DMSO)  พบว่าสารสกัดในขนาดสูง (800 mg/ml ที่ละลายใน 0.5% DMSO) และ paclitaxel (10-9M) จะมี % viability เท่าๆ กับตัวทำลาย (ตารางที่ 1)

ตารางที่ 1 แสดงผลการทดสอบความเป็นพิษต่อเซลล์ (cytotoxicity) ของตัวทำละลาย (DMSO), paclitaxel (10-9 M) และ สารสกัดเถาวัลย์เปรียง (D. scandens) ด้วยวิธี MTT assay

 

 

KKU-100

KKU-M139

KKU-M213

HepG2

MCF-7

Experiment

FC a

Mean

SE

Mean

SE

Mean

SE

Mean

SE

Mean

SE

DMSO

0.25%

5.81

2.31

6.92

0.88

-2.74

1.14

9.20

4.55

8.44

4.02

 

0.5%

11.57

0.90

10.05

1.42

2.41

1.54

9.39

2.39

9.27

4.35

 

1.0%

7.58

3.09

7.60

3.42

17.39

1.33

15.14

1.85

14.66

3.84

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

Paclitaxel

10-9M

7.15

1.63

7.43

1.88

9.19

3.37

8.54

5.03

9.08

0.62

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

D.scandens

100

-6.38

3.86

-2.90

1.73

-0.15

0.98

6.71

2.40

 

 

(ug/ml)

200

-2.40

2.23

-0.95

2.98

-0.44

0.81

4.87

4.50

3.76

6.75

 

400

2.97

2.42

-7.49

4.54

5.76

0.49

14.80

1.38

0.99

2.57

 

800

1.17

2.91

-1.86

3.03

13.52

2.27

14.92

2.41

-4.16

1.06

Note: FC = final concentration

 

2. ฤทธิ์ต้านการเคลื่อนที่ของสารสกัดเถาวัลย์เปรียงต่อเซลล์มะเร็ง

          การทดสอบฤทธิ์ต้านการเคลื่อนที่ของสารสกัดเถาวัลย์เปรียงต่อเซลล์มะเร็งด้วยวิธี co-culture technique   จากการตรวจวัดจำนวนเซลล์ที่สามารถเคลื่อนที่จากด้านบนของ insert ลงมาที่ด้านล่างของ insert   พบว่าสารสกัด 50% ethanol  ของเถาวัลย์เปรียงสามารถยับยั้งการเคลื่อนที่ของเซลล์มะเร็งที่ทดสอบเกือบทุกชนิดยกเว้นชนิด KKU-100 แม้จะเพิ่มขนาดถึง 800 mg/ml แล้วก็ตาม (รูปที่ 2-A)  ขณะที่ paclitaxel (10-9M) สามารถยับยั้งการเคลื่อนที่ของ KKU-100 ได้ประมาณ 37% (37.70 ± 4.29)    ฤทธิ์ต้านการเคลื่อนที่ของสารสกัดต่อ KKU-M139 ที่ขนาด 200 mg/ml ได้ผลพอๆ กับ paclitaxel (รูปที่ 2-B)  ในขณะที่ผลต่อเซลล์ KKU-M213 ของสารสกัดขนาด 200 mg/ml ได้ผลมากกว่า paclitaxel (รูปที่ 2-C)   ผลของสารสกัดต่อเซลล์มะเร็งชนิดอื่นๆ พบว่าสารสกัดขนาด 200 mg/ml มีฤทธิ์ยับยั้งการเคลื่อนที่ของเซลล์ HepG2  ได้ประมาณ 24% (24.64 ± 2.78) ซึ่งต่ำกว่า paclitaxel (43.92 ± 4.54) แต่ที่ขนาด 400 mg/ml สารสกัดให้ผลการยับยั้งสูงมาก (89.70 ± 7.83)  (รูปที่ 2-D)    ส่วนผลต่อเซลล์ MCF-7 สารสกัดจะมีฤทธิ์ยับยั้งต่ำกว่า paclitaxel แม้จะเพิ่มขนาดไปถึง 400 mg/ml แล้วก็ตาม (รูปที่ 2-E)

 

 

 

รูปที่ 1           แสดงฤทธิ์ต้านการเคลื่อนที่ของ สารสกัดเถาวัลย์เปรียง (D. scandens) เทียบกับ Paclitaxel (Taxol 10-9 M) และ ตัวทำละลาย (0.125-0.25% DMSO) ด้วยวิธี co-culture ต่อเซลล์มะเร็งท่อน้ำดีชนิดต่างๆได้แก่ (A) KKU-100 (poorly differentiated adenocarcinoma), (B) KKU-M139 (squamous cell carcinoma) และ (C) KKU-M213 (adenosquamous carcinoma) ต่อ human hepatocellular carcinoma (HepG, D) และต่อ human breast cancer (MCF-7, E) (* เปรียบเทียบกับกลุ่ม DMSO, p < 0.05).

วิจารณ์

          เถาวัลย์เปรียง (Derris scandens, Leguminosae) เป็นสมุนไพรที่ใช้ในแพทย์แผนไทยในการรักษาอาการปวดบวมของข้อ  จากการศึกษาของ Laupattarakasem และคณะ 12, 15 พบว่าสารสกัดเถาวัลย์เปรียงมีฤทธิ์ต้านอักเสบทั้งแบบเฉียบพลันและเรื้อรัง นอกจากนี้ยังมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ฤทธิ์ต้านการเกิดหลอดเลือดใหม่ (พิศมัย เหล่าภัทรเกษม, ข้อมูลที่ยังไม่ได้ตีพิมพ์) และจากรายงานของ Sriwanthana และคณะ 16  พบฤทธิ์เพิ่มภูมิคุ้มกันของร่างกาย    เป็นที่ยอมรับกันแล้วว่ากลไกเหล่านี้เป็นกลไกที่เกี่ยวข้องกับพยาธิกำเนิดและการแพร่กระจายของมะเร็งหลายชนิดรวมทั้งมะเร็งท่อน้ำดีซึ่งเป็นมะเร็งที่มีอุบัติการณ์สูงในประเทศไทยโดยเฉพาะในภาคอีสาน  นอกจากการดื้อต่อการรักษาแล้วปัญหาของมะเร็งท่อน้ำดีคือการแพร่กระจายของเซลล์มะเร็งที่จะพบได้แม้จะอยู่ในระยะต้นๆ 1  ดังนั้นผู้วิจัยจึงศึกษาถึงฤทธิ์ต้านการเคลื่อนที่ของเซลล์มะเร็งซึ่งเป็นกลไกหนึ่งของการแพร่กระจายของเซลล์มะเร็งที่นอกเหนือจากการเกิดหลอดเลือดใหม่

          ผลการศึกษาพบว่าสารสกัดเถาวัลย์เปรียงในขนาดที่ไม่มีพิษต่อเซลล์มีฤทธิ์ต้านการเคลื่อนที่ต่อเซลล์มะเร็งที่ทดสอบแทบทุกชนิดยกเว้นเซลล์มะเร็งท่อน้ำดีชนิด poorly-differentiated adenocarcinoma type (KKU-100) ซึ่งเชื่อว่าน่าจะเป็นชนิดที่ดื้อต่อการรักษา    ฤทธิ์ต้านการเคลื่อนที่ต่อเซลล์มะเร็งของสารสกัดเถาวัลย์เปรียงนี้อย่างน้อยน่าจะเกิดจากผลของ isoflavones และอนุพันธุ์ (รวมทั้ง genistein) ซึ่งเป็นสารหลักที่พบในสารสกัด 9-11     มีรายงานที่แสดงถึงกลไกการออกฤทธิ์ของ isoflavones ในการลดการแพร่กระจายของเซลล์มะเร็ง ตั้งแต่ลดการ adhesion 17, invasion 5, 18 และ migration 19      Mentor-Marcel และคณะ 20 รายงานถึงฤทธิ์ยับยั้งการแพร่กระจายของ genistein ต่อเซลล์มะเร็งต่อมลูกหมากในหนูถีบจักรโดยเฉพาะชนิด well-differentiated prostatic adenocarcinoma เมื่อเทียบกับ poorly-differentiated type    การศึกษาของผู้วิจัยในครั้งนี้พบว่าสารสกัดเถาวัลย์เปรียงต่อเซลล์มะเร็งท่อน้ำดีสามารถยับยั้งการเคลื่อนที่ของเซลล์มะเร็งชนิด squamous cell carcinoma (KKU-M139) และ adenosquamous (KKU-M213) ได้ดีกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับชนิด poorly-differentiated (KKU-100)  ซึ่งผลการทดลองนี้ก็ให้ผลสอดคล้องกับรายงานของ Thepsiri และคณะ 21 ในการทดสอบฤทธิ์ของยาเคมีบำบัดซึ่งพบว่าเซลล์มะเร็งท่อน้ำดี KKU-100 มีการดื้อยาสูงกว่าเซลล์ชนิดอื่นๆ ที่ทดสอบ   ส่วนผลในการยับยั้งการเคลื่อนที่ของสารสกัดเถาวัลย์เปรียงต่อเซลล์มะเร็งชนิดอื่นๆ ได้แก่ hepatocellular carcinoma (เช่น HepG2) ก็ให้ผลสอดคล้องกับการทดลองของ Nakanishi และคณะ 17 ที่รายงานว่าสารในกลุ่ม tyrosine kinase inhibitor (เช่น genistein) และ phosphatidylinositol 3 kinase (เช่น wortmannin) สามารถยับยั้งการเคลื่อนที่ของ hepatocellular carcinoma ได้    นอกจากนั้นยังพบว่าสารสกัดเถาวัลย์เปรียงยังสามารถยับยั้งการเคลื่อนที่ของ breast cancer cells (เช่น MCF-7) ซึ่งสอดคล้องกับการทดลองของ Sliva และคณะ19 ที่รายงานว่าสารในกลุ่ม tyrosine kinase inhibitor (เช่น genistein และ staurosporine) สามารถยับยั้งการเคลื่อนที่ของ breast cancer cells ทั้ง MDA-MB-231และ MCF-7 ได้ 19  และสอดคล้องกับรายงานของ Farina และคณะ 22 ที่พบว่า anti-metastasis ของ genistein เกิดจากหลายกลไกรวมทั้ง antimigration

 

สรุป

          สารสกัด 50% ethanol  ของเถาวัลย์เปรียงในขนาดที่ไม่มีพิษต่อเซลล์มีฤทธิ์ยับยั้งการเคลื่อนที่ของเซลล์มะเร็งหลายชนิดรวมทั้งมะเร็งท่อน้ำดีโดยเฉพาะชนิด moderately differentiated เช่น KKU-M139 และ KKU-M213    จากฤทธิ์ดังกล่าวทำให้เชื่อว่าเถาวัลย์เปรียงน่าจะมีศักยภาพในการลดการแพร่กระจายของเซลล์มะเร็งท่อน้ำดีได้  แต่อย่างไรก็ตามการศึกษาถึงกลไกอื่นๆ ที่สัมพันธ์กับการแพร่กระจายของเซลล์มะเร็งก็ยังมีความจำเป็นที่จะต้องศึกษาอีกต่อไป

 

กิตติกรรมประกาศ

          คณะผู้วิจัยขอขอบคุณ รศ. ดร. โสพิศ  วงศ์คำ ที่กรุณาให้คำแนะนำเกี่ยวกับ co-culture technique และ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ที่ให้ทุนสนับสนุนงานวิจัยนี้

เอกสารอ้างอิง

1.       Sripa B, Pairojkul C. Pathogenesis of Opisthorchis-associated CCA. In: Vatanasapt V, Sripa B, eds. Liver cancer in Thailand: Epidermiology, diagnosis and control. Khon Kaen: Siriphan Press; 2000:49-65.

2.       da Rocha A, Lopes R, Schwartsmann G. Natural products in anticancer therapy. Current Option in Pharmacology 2001;1:364-9.

3.       Reddy L, Odhav B, Bhoola D. Natural products for cancer prevention: a global perspective. Pharmacology & Therapeutics 2003;99:1-13.

4.       Wang HK. The therapeutic potential of flavonoids. Expert Opin Investig Drugs 2000;9:2103-19.

5.       Valachovicova T, Slivova V, Bergman H, Shuherk J, Sliva D. Soy isoflavones suppress invasiveness of breast cancer cells by the inhibition of NF-kappaB/AP-1-dependent and -independent pathways. Int J Oncol 2004;25:1389-95.

6.       Jolly CA. Diet manipulation and prevention of aging, cancer and autoimmune disease. Curr Opin Clin Nutr Metab Care 2005;8:382-7.

7.       Singh AV, Franke AA, Blackburn GL, Zhou JR. Soy phytochemicals prevent orthotopic growth and metastasis of bladder cancer in mice by alterations of cancer cell proliferation and apoptosis and tumor angiogenesis. Cancer Res 2006;66:1851-8.

8.       Skogseth H, Larsson E, Halgunset J. The invasive behaviour of prostatic cancer cells is suppressed by inhibitors of tyrosine kinase. APMIS 2006;114:61-6.

9.       Rukachaisirikul V, Sukpondma Y, Jansakul C, Taylor WC. Isoflavone glycosides from Derris scandens. Phytochemistry 2002;60:827-34.

10.     Mahabusarakam W, Deachathai S, Phongpaichit S, Jansakul C, Taylor WC. A benzil and isoflavone derivatives from Derris scandens Benth. Phytochemistry 2004;65:1185-91.

11.     Rao SA, Srinivas PV, Tiwari AK, Vanka UM, Rao RV, Dasari KR, et al. Isolation, characterization and chemobiological quantification of alpha-glucosidase enzyme inhibitory and free radical scavenging constituents from Derris scandens Benth. J Chromatogr B Analyt Technol Biomed Life Sci 2007.

12.     Laupattarakasem P, Houghton PJ, Hoult JR, Itharat A. An evaluation of the activity related to inflammation of four plants used in Thailand to treat arthritis. J Ethnopharmacol 2003;85:207-15.

13.     Saito K, Oku T, Ata N, Miyashiro H, Hattori M, Saiki I. A modified and convenient method for assessing tumor cell invasion and migration and its application to screening for inhibitors. Biol Pharm Bull 1997;20:345-8.

14.     Mosman T. Rapid colorimetric assay for cellular growth and survival: application to proliferation and cytotoxicity assays. J Immunol Methods 1983;48:55-63.

15.     Laupattarakasem P, Houghton PJ, Hoult JR. Anti-inflammatory isoflavonoids from the stems of Derris scandens. Planta Med 2004;70:496-501.

16.     Sriwanthana B, Chavalittumrong P. In vitro effect of Derris scandens on normal lymphocyte proliferation and its activities on natural killer cells in normal and HIV-1 infected patients. J Ethnopharmacol 2001;76:125-9.

17.     Nakanishi K, Fujimoto J, Ueki T, Kishimoto K, Hashimoto-Tamaoki T, Furuyama J, et al. Hepatocyte growth factor promotes migration of human hepatocellular carcinoma via phosphatidylinositol 3-kinase. Clin Exp Metastasis 1999;17:507-14.

18.     Kousidou OC, Mitropoulou TN, Roussidis AE, Kletsas D, Theocharis AD, Karamanos NK. Genistein suppresses the invasive potential of human breast cancer cells through transcriptional regulation of metalloproteinases and their tissue inhibitors. Int J Oncol 2005;26:1101-9.

19.     Sliva D, Mason R, Xiao H, English D. Enhancement of the migration of metastatic human breast cancer cells by phosphatidic acid. Biochem Biophys Res Commun 2000;268:471-9.

20.     Mentor-Marcel R, Lamartiniere CA, Eltoum IE, Greenberg NM, Elgavish A. Genistein in the diet reduces the incidence of poorly differentiated prostatic adenocarcinoma in transgenic mice (TRAMP). Cancer Res 2001;61:6777-82.

21.     Tepsiri N, Chaturat L, Sripa B, Namwat W, Wongkham S, Bhudisawasdi V, et al.  Drug sensitivity and drug resistance profiles of human intrahepatic cholangiocarcinoma cell lines. World J. Gastroenterol. 2005;11:2748-53.

22.     Farina HG, Pomies M, Alonso DF, Gomez DE. Antitumor and antiangiogenic activity of soy isoflavone genistein in mouse models of melanoma and breast cancer. Oncol Rep 2006;16:885-91.

Untitled Document
Article Location

Untitled Document
Article Option
       Abstract
       Fulltext
       PDF File
Untitled Document
 
ทำหน้าที่ ดึง Collection ที่เกี่ยวข้อง แสดง บทความ ตามที่ีมีใน collection ที่มีใน list Untitled Document
Another articles
in this topic collection

Cancer Chemoprevention from Dietary Phytochemical (เคมีป้องกันมะเร็ง :กลไกการป้องกันของยาและสารจากธรรมชาติ)
 
Role of Natural Products on Cancer Prevention and Treatment (บทบาทของผลิตภัณฑ์ธรรมชาติในการป้องกันและรักษามะเร็ง)
 
Prescription-Event Monitoring: New Systematic Approach of Adverse Drug Reaction Monitoring to New Drugs (Prescription-Event Monitoring: ระบบการติดตามอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยาใหม่ )
 
The use of Digoxin in Pediatrics (การใช้ยาดิจ๊อกซินในเด็ก)
 
<More>
Untitled Document
 
This article is under
this collection.

Pharmacology
 
Anesthesia
 
 
 
 
Srinagarind Medical Journal,Faculty of Medicine, Khon Kaen University. Copy Right © All Rights Reserved.
 
 
 
 

 


Warning: Unknown: Your script possibly relies on a session side-effect which existed until PHP 4.2.3. Please be advised that the session extension does not consider global variables as a source of data, unless register_globals is enabled. You can disable this functionality and this warning by setting session.bug_compat_42 or session.bug_compat_warn to off, respectively in Unknown on line 0