Untitled Document
 
 
 
 
Untitled Document
Home
Current issue
Past issues
Topic collections
Search
e-journal Editor page

Clinical Radiology Teaching and Learning Process Assessment among the Fifth Year Medical Students, Faculty of Medicine, Khon Kaen University.

การประเมินกระบวนการจัดการเรียนการสอน รายวิชา 372 581 รังสีวิทยาคลินิก โดยนักศึกษาแพทย์ ชั้นปีที่ 5 มหาวิทยาลัยขอนแก่น ปีการศึกษา 2548

Jaturat Kanpittaya (จตุรัตน์ กันต์พิทยา) 1, Chongchareon Metta (จงเจริญ เมตตา) 2, Piyathida Kuhirunyaratn (ปิยธิดา คูหิรัญญรัตน์) 3, Montien Pesee (มณเฑียร เปสี) 4




หลักการและเหตุผล  รายวิชา 372 581 รังสีวิทยาคลินิก เป็นวิชาเฉพาะสำหรับนักศึกษาแพทย์ชั้นปีที่ 5 ของหลักสูตรแพทยศาสตร์บัณฑิต ซึ่งเป็นวิชาที่นักศึกษาแพทย์ต้องนำความรู้ไปประกอบการดูแลผู้ป่วย โดยต้องอาศัยการตรวจพิเศษวินิจฉัยเพิ่มเติม ในการวางแผนการดูแลผู้ป่วย อย่างไรก็ตามการจัดการเรียนการสอนวิชานี้มีข้อจำกัดคือ ระยะเวลาในการเรียนเพียง 4 สัปดาห์ เพื่อประโยชน์ในการเรียน การสอนสูงสูด และสอดคล้องกับนโยบายการประกันคุณภาพการศึกษาของมหาวิทยาลัย ดังนั้น ผู้วิจัยจึงจัดให้มีการประเมินรายวิชานี้โดยคาดว่า จะนำผลการศึกษาที่ได้มาปรับปรุงกระบวนการเรียนการสอนให้ดียิ่งขึ้น

วัตถุประสงค์  เพื่อศึกษาความคิดเห็นของนักศึกษาแพทย์ชั้นปีที่ 5 ต่อกระบวนการจัดการเรียนการสอนรายวิชา 372 581 รังสีวิทยาคลินิก

รูปแบบการศึกษา การศึกษาเชิงพรรณนา (Descriptive study)

ประชากรศึกษา นักศึกษาแพทย์ชั้นปีที่ 5 จำนวน 158 คน

เครื่องมือ และการเก็บข้อมูล แบบสอบถามชนิดตอบเอง (Self administered questionnaire) มีลักษณะเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 1-5 (Likert scale) ซึ่งผ่านการตรวจสอบความตรง (Content validity) และทดสอบค่าความเชื่อมั่น (Reliability alpha = 0.8) เก็บข้อมูลโดยใช้กล่องรับแบบสอบถามที่จัดไว้

การวิเคราะห์ข้อมูล  ข้อมูลที่ได้ถูกนำเข้าโปรแกรม Microsoft Excel ทำ data double entry และ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรม SPSS แสดงข้อมูลเป็นค่าเฉลี่ยและค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (mean ±SD)

ผลการวิจัย ผู้วิจัยได้แจกแบบสอบถามจำนวน 158 ชุด และได้รับตอบกลับ 150 ชุด (ร้อยละ 94.93) เป็นนักศึกษาแพทย์ชาย 62 คน (ร้อยละ 41.3) หญิง 88 คน (ร้อยละ 58.7) นักศึกษาส่วนใหญ่ มีเกรดเฉลี่ยสะสมอยู่ระหว่าง 2-2.99 จำนวน 90 คน (ร้อยละ 60) เกรดเฉลี่ยอยู่ระหว่าง 3.00-4.00 จำนวน 60 คน (ร้อยละ 40) เมื่อพิจารณาค่าเฉลี่ยความคิดเห็นพบว่า นักศึกษาแพทย์ชั้นปีที่ 5 ส่วนใหญ่มีความคิดเห็นต่อกระบวนการจัดการเรียนการสอน รายวิชา 372 581 รังสีวิทยาคลินิกในระดับมาก  (4.16 ± 0.56) และเมื่อพิจารณาองค์ประกอบรายด้านพบว่า นักศึกษามีความคิดเห็นในระดับมากต่อทุกรายด้าน ได้แก่  ด้านเนื้อหาวิชาที่เรียน (4.11 ± 0.58) ด้านการจัดการเรียนการสอน (4.02 ± 0.68) ด้านอาจารย์ผู้สอน (4.24 ± 0.55) ด้านผู้เรียน(4.17 ± 0.53) ด้านการวัดและการประเมินผล (4.17 ± 0.59) ด้านสื่อการเรียนการสอนและสิ่งอำนวยความสะดวก (4.23 ± 0.56) เมื่อทดสอบทางสถิติ เปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของคะแนนความคิดเห็น ระหว่างนักศึกษา ชาย-หญิง และในกลุ่มนักศึกษาที่มีเกรดเฉลี่ย 2.00-2.99 และ 3.00 ขึ้นไป พบว่า ค่าเฉลี่ยของคะแนนความคิดเห็นต่อการเรียนวิชานี้ ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ (p > 0.05)

สรุป การศึกษาครั้งนี้พบว่า นักศึกษาแพทย์ชั้นปีที่ 5 ปีการศึกษา 2548 มีความคิดเห็นต่อการกระบวนการจัดการเรียนการสอน รายวิชา 372 581 รังสีวิทยาคลินิก อยู่ในระดับมาก อย่างไรก็ตาม  ควรจะมีการปรับปรุงให้อยู่ในระดับมากที่สุด นอกจากนี้ในด้านการจัดการเรียนการสอน ยังมีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด จึงควรที่จะได้มีการปรับปรุงในรายข้อต่างๆ ต่อไป

คำสำคัญ  การประเมินผล รังสีวิทยาคลินิก นักศึกษาแพทย์

Rationale: Clinical radiology is currently the one core-course of medical curriculum and important to the fifth year medical students in order to curative planning and diagnosis. Regarding the time limitation, the fifth year medical students only have four weeks to studying clinical radiology course. Due to course improving and in line with the medical education quality assurance, therefore, this study was being held.

Objectives: This study sought to determine the point of view of the fifth year medical students regarding to teaching and learning process of the 372 581 Clinical Radiology Course.

Research design: Descriptive study

Population study: One hundred and fifty-eight of the fifth year medical students at Faculty of Medicine, Khon Kaen University who registered in 2005 academic year.

Methods: Self administered questionnaire using Likert scale (1-5 score) and quality controlled by expert content validity consultation and reliability testing (alpha 0.8). By using Microsoft Excels 2003, Epi info ver 6 for data double entry and SPSS for descriptive statistics.

Results: A total 158 questionnaires were distributed at Department of Radiology with 94.93 % response rate. Males comprised 41.3% and females 58.7% of the sample, respectively. More than half of the study samples GPA were 2.0-2.9 (60.0%) and 40% of the samples were achieved GPA 3.0-4.0. The study samples reveal the teaching and learning process evaluation of this course in high level (4.16 ± 0.50). In each part of teaching and learning process, the sample also had shown high level. There were; (1) content (4.11 ± 0.58), (2) course management (4.02 ± 0.68), (3) lecturers (4.24 ±0.55), (4) learners (4.17 ± 0.53), (5) measurement and evaluation (4.17 ± 0.59), (6) instructional media and facility materials (4.23 ± 0.56).  In addition, there were no statistically significance between the teaching and learning process mean score among the fifth year medical student gender (male-female) and GPA group ( 2.0-2.99 and 3.0-4.0) (p > 0.05).

Conclusions: This study reveals that the fifth year medical student had shown high score of Likert scale in each part and all of teaching and learning process assessment of the 372 581 Clinical Radiology Course. Due to improving this course, findings of this study provide the useful information for the Department of Clinical Radiology staffs and related areas.     

Keywords: Evaluation, Clinical Radiology, Medical students

หลักการและเหตุผล

สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา กำหนดให้มีการประเมินคุณภาพการศึกษา1 ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 องค์ประกอบในการประเมินได้แก่ 1) ปัจจัยนำเข้า (input) 2) กระบวนการ (process) และ 3) ผลผลิต (output)2 ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ ได้กำหนดเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับปริญญาตรี พ.ศ. 2548 ข้อ 14  เรื่อง การประกันคุณภาพของหลักสูตร ให้ทุกหลักสูตรกำหนดระบบการประกันคุณภาพของหลักสูตรให้ชัดเจน  ซึ่งอย่างน้อยประกอบด้วยประเด็นหลัก 4 ประเด็น คือ 1) การบริหารหลักสูตร 2) ทรัพยากรประกอบการเรียนการสอน 3) การสนับสนุนและการให้คำแนะนำปรึกษา และ 4) ความต้องการของตลาดแรงงาน สังคม และ/หรือความพึงพอใจของผู้ใช้บัณฑิต3  คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้มีนโยบายในการประกันคุณภาพการศึกษาอย่างต่อเนื่อง โดยมีการประเมินคุณภาพการศึกษาภายในเป็นประจำทุกปี ตามองค์ประกอบ 9 องค์ประกอบ ในองค์ประกอบที่ 2 เรื่องการจัดการเรียนการสอน กำหนดให้มีการประเมินรายวิชาโดยนักศึกษา เมื่อสิ้นสุดการศึกษา และนำไปวิเคราะห์ 4

   

          วิชา 372 581 รังสีวิทยาคลินิก  เป็นรายวิชาหนึ่งในหมวดวิชาเฉพาะของหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต และต้องนำความรู้ดังกล่าวไปประกอบในการดูแลผู้ป่วย ซึ่งต้องอาศัยการตรวจพิเศษวินิจฉัยเพิ่มเติม เพื่อการวางแผนการดูแลรักษาผู้ป่วย และเนื่องจากวิชานี้ เป็นวิชาระยะเวลาที่นักศึกษาผ่านมาศึกษาเพียง 4 สัปดาห์ ได้แก่ รังสีวินิจฉัย 2 สัปดาห์ และรังสีรักษาเวชศาสตร์นิวเคลียร์ 2 สัปดาห์5  เพื่อประเมินรูปแบบการจัดการเรียนการสอน และนำข้อมูลที่ได้มาปรับคุณภาพการจัดการเรียนที่ต้องดำเนินการสอน ในระยะเวลาอันสั้น กอรปกับสอดคล้องกับนโยบายการประกันคุณภาพการศึกษา ดังนั้นโครงการวิจัยนี้ จึงได้จัดทำขึ้น

 

 

 

วัตถุประสงค์

เพื่อศึกษาความคิดเห็นของนักศึกษาแพทย์ ชั้นปีที่ 5 ปีการศึกษา 2548 ต่อการจัดการเรียนการสอนรายวิชา 372 581 รังสีวิทยาคลินิก ในด้านเนื้อหาวิชาที่เรียน ด้านการจัดการเรียนการสอน ด้านอาจารย์ผู้สอน ด้านผู้เรียน ด้านการวัดและประเมินผล และด้านสื่อการเรียนการสอนและสิ่งอำนวยความสะดวก

วิธีการ

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา ประชากรตัวอย่างเป็นนักศึกษาแพทย์ชั้นปีที่  5  ปีการศึกษา 2548 จำนวน 158 คน ที่ผ่านการศึกษารายวิชา 372 581 รังสีวิทยาคลินิก

           เครื่องมือและการเก็บรวบรวมข้อมูล

เครื่องมือเป็นแบบสอบถามชนิดตอบเอง มีลักษณะเป็นแบบตรวจสอบรายการ (Check list) แบบมาตราส่วนประมาณค่า 1-5 ระดับ (Likert scale) และคำถามแบบปลายเปิด ซึ่งพัฒนาโดยผู้วิจัย  โดยผ่านการทดสอบเนื้อหา (Content validity) และทดสอบความเชื่อมั่น (Reliability) โดยใช้สัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาช  (Chronbach a)6 ได้ค่าความเชื่อมั่น  = 0.8 

การเก็บรวบรวมข้อมูล  เก็บข้อมูลในวันสุดท้ายของการเรียนแต่ละ block ที่เรียนวิชา 372 581 รังสีวิทยาคลินิก โดยนักศึกษาจะได้รับการชี้แจงทางด้านจริยธรรมก่อนให้ความคิดเห็น และ ให้นำแบบสอบถามมาส่งในกล่องที่ผู้วิจัยได้จัดทำไว้

การวิเคราะห์ข้อมูล

          วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรม  SPSS วิเคราะห์สถิติเชิงพรรณาในข้อมูลทั่วไป และความคิดเห็น และทดสอบความแตกต่างโดยใช้สถิติ independent sample t test7,8,9

การแปรผลความคิดเห็น แปรผลจากค่าคะแนนเฉลี่ยของความคิดเห็น ดังนี้ คือ 4.51 – 5.00 = เห็นด้วยมากที่สุด, 3.51 – 4.50 = เห็นด้วยมาก, 2.51 – 3.50 = เห็นด้วยปานกลาง, 1.51 – 2.50 = ควรปรับปรุง, 1.00 – 1.50 = ควรปรับปรุงอย่างยิ่ง  

ผลการศึกษา

1.ข้อมูลทั่วไป            

            ได้รับแบบสอบถามตอบกลับจากนักศึกษาแพทย์ชั้นปีที่ 5 จำนวน 150 คน (ร้อยละ 94.93) เป็นนักศึกษาหญิงมากกว่าชาย (หญิง 88 คน ร้อยละ 58.7 ชาย 62 คน ร้อยละ 41.3) ครึ่งหนึ่งของนักศึกษามีคะแนนเฉลี่ย อยู่ระหว่าง 2.50-2.99 และ ร้อยละ 35.3 มีคะแนนสะสมเฉลี่ยที่ 3.00-3.49และ คะแนนเฉลี่ยสะสม (GPA) อยู่ระหว่าง 2.00-2.49   จำนวน 15 คน คิดเป็น ร้อยละ 10 และคะแนนเฉลี่ยสะสมอยู่ระหว่าง 3.50-4.00 จำนวน 7 คน คิดเป็น ร้อยละ 4.7

2. ความคิดเห็นต่อด้านเนื้อหาวิชาที่เรียน

             พบว่านักศึกษาส่วนใหญ่ มีความคิดเห็นในระดับมากทุกรายข้อย่อย โดยประเด็นที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในทางคลินิกได้  มีค่าเฉลี่ยสูงสุด เมื่อเทียบกับรายข้ออื่นๆ  (4.51 ± 0.61) ส่วนประเด็นเนื้อหาที่เรียนง่ายต่อความเข้าใจ นักศึกษาให้ค่าเฉลี่ยต่ำกว่าข้ออื่นๆ (3.79 ± 0.89) และเมื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นด้านเนื้อหาตามเพศ และผลการเรียนเฉลี่ยสะสม พบว่า นักศึกษาชาย-หญิง และนักศึกษาที่มีคะแนนเฉลี่ยสะสมต่ำ (2.00-2.99) – สูง (3.00-4.00) มีคะแนนเฉลี่ยของความคิดเห็นไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P > 0.05) ดังตารางที่ 1

3. ความคิดเห็นต่อด้านการจัดการเรียนการสอน

   พบว่า นักศึกษาส่วนใหญ่เห็นด้วยในระดับมากทุกรายข้อย่อย  โดยเฉพาะในช่วงเวลาที่เรียนมีความเหมาะสมมีค่าเฉลี่ยสูงสุด เมื่อเทียบกับรายข้ออื่นๆ (4.13 ± 0.79)  รองลงมาเห็นด้วยในระดับมากต่อปริมาณงานที่อาจารย์มอบหมายให้นักศึกษาค้นคว้านอกชั้นเรียน  (4.11 ± 0.77)  และกิจกรรมการเรียนการสอนสอดคล้องกับระดับสติปัญญาความสามารถของผู้เรียน ( 4.11 ± 0.75) และรายข้อ บรรยากาศภายในห้องเรียนส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้อย่างเหมาะสม ( 3.91 ± 0.90) และนักศึกษาได้เรียนตามลำดับขั้นตอนอย่างเป็นระบบ (3.92  ± 0.78) นักศึกษาให้ค่าเฉลี่ยต่ำกว่าข้ออื่นๆ             

นอกจากนี้พบว่า นักศึกษาทั้งชาย-หญิง คะแนนสะสมเฉลี่ย สูง-ต่ำ ให้ค่าเฉลี่ยความคิดเห็นไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P > 0.05) ยกเว้น ในรายข้อที่ว่า นักศึกษาได้เรียนตามลำดับขั้นตอนอย่างเป็นระบบเมื่อเปรียบเทียบในกลุ่มของนักศึกษาที่มีผลการเรียนเฉลี่ยสะสมต่ำ (2.00 – 2.99) และผลการเรียนเฉลี่ยสะสมสูง (3.00 – 4.00) นักศึกษาคะแนนสะสมเฉลี่ย ต่ำ-สูง มีความคิดเห็นแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ (P < 0.05) ดังตารางที่ 2 

  ตารางที่ 1  แสดงความคิดเห็นด้านเนื้อหาวิชาที่เรียน

 

ข้อ

รายการรวม

(n=150)

เพศ

ชาย : หญิง

P-value

ผลการเรียน

ต่ำ : สูง

P-value

SD

1

จุดม่งหมายของรายวิชาเข้าใจง่าย

4.13

.64

.28

.09

 

2

เนื้อหาวิชาที่เรียนสามารถทำให้เพิ่มพูนความรู้ได้

4.36

.68

.75

.88

 

3

เนื้อหาวิชาที่เรียนสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในทางคลินิกได้

4.51

.61

.44

.83

 

4

เนื้อหาวิชาที่เรียนส่งเสริมให้นำไปใช้แก้ปัญหาทางคลินิกได้

4.38

.70

.71

.96

 

5

การจัดลำดับเนื้อหาวิชามีความสัมพันธ์ต่อเนื่องกัน

3.96

.79

.35

.74

 

6

เนื้อหาวิชาที่เรียนส่วนใหญ่น่าสนใจและทันสมัย

4.12

.77

.90

.11

 

7

เนื้อหาวิชาที่เรียนง่ายต่อการทำความเข้าใจ

3.79

.89

.74

.63

 

8

เนื้อหาวิชาที่เรียนมีความปลูกฝังด้านคุณธรรม จริยธรรม หรือจรรยาบรรณที่สามารถนำไปใช้ในการปฏิบัติงาน

3.81

.86

.79

.88

 

9

เนื้อหาวิชาที่เรียนเหมาะสมกับเวลา

3.97

.91

.85

.86

 

 

ตารางที่ 2  แสดงความคิดเห็นด้านการจัดการเรียนการสอน

 

 

ข้อ

รายการรวม

(n=150)

เพศ

ชาย: หญิง

P-value

ผลการเรียน

ต่ำ : สูง

P-value

SD

 

1

นอกจากวิธีการสอนแบบบรรยายแล้วอาจารย์ได้ใช้วิธีการสอนที่หลากหลาย

4.02

.75

.70

.97

 

2

นักศึกษาได้เรียนตามลำดับขั้นตอนอย่างเป็นระบบ

3.92

.78

1.00

.05*

 

3

นักศึกษาได้รับการเสริมแรงจูงใจให้เกิดความอยากเรียนอยากรู้

3.99

.82

.87

.29

 

4

บรรยากาศภายในห้องเรียนส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้อย่างเหมาะสม

3.91

.90

.63

.61

 

5

นักศึกษาได้มีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน

3.96

.83

.76

.94

 

6

ปริมาณงานที่อาจารย์มอบหมายให้นักศึกษาค้นคว้านอกชั้นเรียนมีความเหมาะสม

4.11

.77

.73

.90

 

7

กิจกรรมการเรียนการสอนสอดคล้องกับระดับสติปัญญาความสามารถของผู้เรียน

4.11

.75

.83

.97

 

8

ช่วงเวลาที่เรียนมีความเหมาะสม

4.13

.79

.51

.58

 

 

*ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05

 

ตารางที่ 3 แสดงความคิดเห็นด้านอาจารย์ผู้สอน

 

ข้อ

 

 

รายการรวม

(n=150)

เพศ

ชาย :หญิง

P-value

ผลการเรียน

ต่ำ : สูง

P-value

SD

 

1

อาจารย์แจ้งวัตถุประสงค์รายวิชาให้นักศึกษาทราบ

4.39

.69

1.00

.85

 

2

อาจารย์เปิดโอกาสให้นักศึกษาได้แสดงความคิดเห็นในระหว่างเรียน

4.33

.69

.58

.55

 

3

อาจารย์ได้แสดงออกซึ่งการมีมนุษยสัมพันธ์ระหว่างอาจารย์กับนักศึกษา

4.33

.66

.75

.88

 

4

อาจารย์เข้าสอนตรงเวลาไม่ล่าช้า

4.21

.75

.97

.76

 

5

อาจารย์มีทักษะ ความชำนาญในการถ่ายทอดความรู้

4.37

.66

.59

.88

 

6

อาจารย์ได้นำจิตวิทยามาใช้ในการเรียนการสอน เช่น การกระตุ้นให้นักศึกษารู้จักคิด วิเคราะห์แบบบูรณาการ ฯลฯ

4.11

.78

.29

.80

 

7

ความเร็วในการบรรยายเนื้อหาวิชามีความเหมาะสม

4.00

.81

.68

.68

 

8

อาจารย์มีความกระตือรือร้นที่จะสอน

4.35

.62

.69

.96

 

9

อาจารย์เปิดโอกาสให้นักศึกษาซักถามปัญหาต่างๆ เกี่ยวกับการเรียน

4.35

.70

.49

.25

 

10

อาจารย์ได้แนะนำให้นักศึกษาไปค้นคว้าหรือแจกเอกสารเพิ่มเติมเพียงพอ

4.03

.77

.43

.73

 

11

อาจารย์ได้เอาใจใส่ช่วยเหลือเมื่อนักศึกษามีปัญหาการเรียน

4.19

.74

.72

.28

 

 

5. ความคิดเห็นต่อด้านผู้เรียน

    พบว่า  นักศึกษาส่วนใหญ่ให้ค่าเฉลี่ยของความคิดเห็นต่อตนเองในระดับมาก (ค่าเฉลี่ยมากกว่าหรือเท่ากับ 4) อยู่เกือบทุกรายข้อ โดยเฉพาะรายข้อการเข้าเรียนสม่ำเสมอ (4.73 ±0.49)  และรายข้อที่ ผู้เรียนเห็นประโยชน์ของการเรียนวิชานี้  (4.53 ± 0.62)  อย่างไรก็ตามมีบางรายข้อที่นักศึกษาแพทย์ประเมินตนเองว่ามีค่าเฉลี่ยต่ำ เมื่อเทียบกับรายข้ออื่นๆ  ในด้านนี้คือ ผู้เรียนมีความรู้พื้นฐานภาษาอังกฤษเพียงพอ (3.73 ± 0.85) และผู้เรียนมีสมาธิในการเรียน  (3.95 ± 0.81) นอกจากนี้ พบว่า      ค่าเฉลี่ยของความคิดเห็นในด้านผู้เรียนต่อการเรียนวิชานี้ ในนักศึกษาชาย-หญิง นักศึกษาคะแนนเฉลี่ยสูง-ต่ำ ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P > 0.05) ดังตารางที่ 4

 

ตารางที่ 4  แสดงความคิดเห็นด้านผู้เรียน

 

ข้อ

 

 

รายการรวม

(n=150)

เพศ

ชาย: หญิง

P-value

ผลการเรียน

ต่ำ : สูง

P-value

SD

 

1

ผู้เรียนมีความพร้อมทั้งด้านร่างกายและจิตใจ

4.01

.74

.19

.40

 

2

ผู้เรียนมีความรู้พื้นฐานภาษาอังกฤษเพียงพอ

3.73

.85

.78

.56

 

3

ผู้เรียนมีความสนใจในการเรียนวิชานี้

4.15

.78

.91

.80

 

4

ผู้เรียนมีความชอบในวิชานี้

4.05

.83

.68

.44

 

5

ผู้เรียนชอบอาจารย์ผู้สอน

4.24

.71

.62

.58

 

6

ผู้เรียนมีสมาธิในการเรียน

3.95

.81

.41

.87

 

7

ผู้เรียนเห็นประโยชน์ของการเรียนวิชานี้

4.53

.62

.66

.71

 

8

ผู้เรียนเข้าเรียนสม่ำเสมอ

4.73

.49

.49

.38

 

9

ผู้เรียนมีเวลาเพียงพอสำหรับศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมนอกชั้นเรียน

4.17

.72

.61

.92

 

10

ผู้เรียนสามารถปรับตัวเข้ากับระบบการเรียนในวิชานี้

4.16

.73

.64

.42

 

 

6. ความคิดเห็นต่อด้านการวัดและประเมินผล

             พบว่า นักศึกษาส่วนใหญ่มีความคิดเห็นต่อการวัดและประเมินผลในรายวิชานี้อยู่ในระดับมาก โดยเฉพาะรายข้อ เกณฑ์ในการพิจารณาการวัดและประเมินผลกำหนดได้ชัดเจน มีค่าเฉลี่ยสูงสุด (4.35 ±0.68) รองลงมาคือ รายข้อของแบบทดสอบหรือวิธีการวัดและประเมินผลการเรียนแต่ละครั้งตรงกับจุดมุ่งหมายของการเรียน  (4.30  ± 0.66) ในขณะที่รายข้อของการชี้แจงข้อบกพร่องที่พบจากการวัดและประเมินผลแก่ผู้เรียน นักศึกษาให้ค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด (3.93  ±0.83) นอกจากนี้ ค่าเฉลี่ยของความคิดเห็นด้านการวัดและประเมินผล ในนักศึกษา ชาย-หญิง และนักศึกษานักศึกษาคะแนนเฉลี่ยสูง-ต่ำ ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P > 0.05) ดังตารางที่ 5

 

      ตารางที่ 5  แสดงความคิดเห็นด้านการวัดและประเมินผล

 

ข้อ

 

 

รายการรวม

(n=150)

เพศ

ชาย : หญิง

P-value

ผลการเรียน

ต่ำ : สูง

P-value

SD

 

1

เกณฑ์ในการพิจารณาการวัดและประเมินผลกำหนดไว้ชัดเจน

4.35

.68

.72

.59

 

2

แบบทดสอบหรือวิธีการวัดและประเมินผลการเรียนแต่ละครั้งตรงกับจุดมุ่งหมายของการเรียน

4.30

.66

.92

.32

 

3

มีการชี้แจงข้อบกพร่อง ที่พบจากการวัดและประเมินผลแก่ผู้เรียน

3.93

.83

.86

1.00

 

4

มีการนำการวัดและประเมินผลหลากหลายรูปแบบมาใช้ในการวัดและประเมินผลการเรียน

4.08

.76

.99

.80

 

5

การวัดและประเมินผลการเรียนภาคทฤษฏีเหมาะสม

4.15

.77

.75

.97

 

6

การวัดและประเมินผลภาคปฏิบัติเหมาะสม

4.21

.67

.84

.88

 

7

วิธีการวัดและประเมินผลโดยภาพรวมมีความเหมาะสม

4.19

.65

.80

.88

 

 

7. ความคิดเห็นต่อด้านสื่อการเรียนการสอนและสิ่งอำนวยความสะดวก

    พบว่า นักศึกษาส่วนใหญ่ให้ค่าเฉลี่ยของความคิดเห็นในระดับมาก (ค่าเฉลี่ยมากกว่า 4 )ในทุกรายข้อ โดยเฉพาะรายข้อของความพร้อมและความเหมาะสมของห้องเรียน อาคาร เก้าอี้นั่งฟังบรรยาย มีค่าเฉลี่ยสูงสุด  (4.31 ±0.68)  รองลงมาคือ ภายในชั้นเรียนมีอุปกรณ์สื่อการเรียนการสอนที่ทันสมัย  (4.29 ± 0.74) และสื่อการเรียนการสอนมีความพร้อมและเหมาะสม  (4.26 ± 0.69) นอกจากนี้พบว่า ค่าเฉลี่ยของความคิดเห็นด้านสื่อการเรียนการสอนและสิ่งอำนวยความสะดวก ใน นักศึกษา ชาย-หญิง นักศึกษานักศึกษาคะแนนเฉลี่ยสูง-ต่ำ ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P > 0.05)  ดังตารางที่ 6

 

ตารางที่ 6 แสดงความคิดเห็นด้านสื่อการเรียนการสอนและสิ่งอำนวยความสะดวก

 

ข้อ

 

 

รายการรวม

(n=150)

เพศ

ชาย : หญิง

P-value

ผลการเรียน

ต่ำ : สูง

P-value

SD

 

1

สื่อ อุปกรณ์ เครื่องมือที่ใช้สำหรับการเรียนการสอนมีประสิทธิภาพ

4.20

.65

.01

.80

 

2

ภายในชั้นเรียนมีอุปกรณ์ สื่อการเรียนการสอนที่ทันสมัย เช่น เครื่อง LCD , Visualizer , เครื่องขยายเสียง ฯลฯ

4.29

.74

.53

.32

 

3

จำนวนสื่อการเรียนการสอนมีเพียงพอกับนักศึกษา

4.22

.78

.07

.97

 

4

สื่อการเรียนการสอนมีความพร้อมและเหมาะสม

4.26

.69

.24

.70

 

5

ผู้เรียนมีความรู้พื้นฐานการใช้สื่อเพียงพอ

4.24

.69

.61

.57

 

6

ความพร้อมและความเหมาะสมของห้องเรียน อาคาร เก้าอี้นั่งฟังบรรยายและเครื่องปรับอากาศ

4.31

.68

.53

.59

 

7

ห้องสมุดมีหนังสือเอกสาร ตำราสำหรับนักศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมเพียงพอกับจำนวนนักศึกษา

4.11

.81

.78

.49

 

8

ความสะดวกในการใช้ห้องสมุดสำหรับค้นคว้าความรู้เพิ่มเติม

4.21

.74

.13

.86

 

9

บริการสืบค้นจาก Internet มีประสิทธิภาพ

4.23

.74

.51

.89

 

 

8. สรุปความคิดเห็นต่อด้านการจัดการเรียนการสอนในภาพรวม

             โดยภาพรวมพบว่า ค่าเฉลี่ยของความคิดเห็นของนักศึกษาส่วนใหญ่อยู่ในระดับที่มาก (มีค่าเฉลี่ยมากกว่า 4 ขึ้นไป)  โดยค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ อาจารย์ผู้สอน (4.24 ± 0.55)  รองลงมาคือ สื่อการสอนและสิ่งอำนวยความสะดวก  (4.23 ± 0.56) การวัดและประเมินผล (4.17 ± 0.59) อย่างไรก็ตาม ค่าเฉลี่ยของความคิดเห็นของนักศึกษาที่น้อยที่สุดในภาพรวมนี้ คือ ด้านการจัดการเรียนการสอน (4.02± 0.68) เมื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยความคิดเห็นแต่ละด้าน ภาพรวมตามเพศ และผลการเรียนเฉลี่ยสะสมแล้วพบว่า ค่าเฉลี่ยความคิดเห็นต่อการเรียนวิชานี้ ในด้านต่างๆ ในภาพรวมไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ  (P > 0.05)  ดังตารางที่ 7

 

 

ตารางที่ 7  แสดงค่าเฉลี่ยของคะแนนความคิดเห็นรายด้านในภาพรวม

 

ข้อ

 

 

รายการรวม

(n=150)

เพศ

ชาย: หญิง

P-value

ผลการเรียน

ต่ำ : สูง

P-value

SD

 

1

เนื้อหาวิชาที่เรียน

4.11

.58

.90

.51

 

2

การจัดการเรียนการสอน

4.02

.68

.98

.55

 

3

ผู้สอน

4.24

.55

.62

.72

 

4

ผู้เรียน

4.17

.53

.85

.56

 

5

การวัดและประเมินผล

4.17

.59

.99

.98

 

6

สื่อการเรียนการสอนและสิ่งอำนวยความสะดวก

4.23

.56

.17

.91

 

 

                         รวม

4.16

.50

.93

.75

 

 

วิจารณ์

          วิชา 372 581 รังสีวิทยาคลินิก เป็นวิชาพื้นฐานทางรังสีวิทยา สำหรับนักศึกษาแพทย์ในชั้นคลินิก เป็นวิชาที่มีประโยชน์และมีความจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับนักศึกษาแพทย์ ในการเรียนรู้ระบบต่างๆ ของร่างกาย สอดแทรกไปกับวิชาหลักในชั้นคลินิก เนื่องจากเป็นวิชาที่ให้ความรู้พื้นฐานทางรังสีวิทยาคลินิกซึ่งนักศึกษาแพทย์ได้เรียนในชั้นปีที่ 5  และต้องผ่านการเรียนวิชาหลัก (major) ได้แก่ อายุรศาสตร์ ศัลยศาสตร์ สูติศาสตร์และนรีวิทยา กุมารเวชศาสตร์ และวิชารอง (minor) ได้แก่ จักษุ โสต ศอ นาสิก เป็นต้น  โดยที่เมื่อนักศึกษาแพทย์ผ่านการเรียนวิชา 372 581 รังสีวิทยาคลินิก แล้ว จะได้นำความรู้ทางด้านรังสีวิทยาคลินิก ไปประกอบในการดูแลรักษาผู้ป่วย เมื่อผ่านไปเรียนในวิชาหลักและวิชารองดังกล่าว  ทำให้การวินิจฉัยและดูแลรักษาผู้ป่วยมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น และนักศึกษาแพทย์ได้เรียนรู้เข้าใจถึงพยาธิสภาพสัมพันธ์กับการเปลี่ยนแปลงภาพทางรังสีวิทยาของผู้ป่วยได้ดียิ่งขึ้น

          จากการศึกษาพบว่านักศึกษาแพทย์ชั้นปีที่ 5 ปีการศึกษา 2548 มีความคิดเห็นในระดับมาก  ด้านอาจารย์ผู้สอน ด้านสื่อการเรียนการสอนและสิ่งอำนวยความสะดวก  ทั้งนี้ อาจเป็นเพราะว่าด้านอาจารย์ผู้สอน อาจารย์ได้แจ้งวัตถุประสงค์รายวิชาให้นักศึกษาทราบ อาจารย์มีทักษะความชำนาญในการถ่ายทอดความรู้ อาจารย์มีความกระตือรือร้นที่จะสอน และอาจารย์เปิดโอกาสให้นักศึกษาซักถามปัญหาต่างๆ เกี่ยวกับการเรียน  สำหรับด้านสื่อการเรียนการสอนและสิ่งอำนวยความสะดวก ที่นักศึกษาประเมินว่ามีความคิดเห็นในระดับมาก อาจเป็นเพราะว่าภาควิชามีความพร้อมเรื่องห้องเรียนและสถานที่  ภายในชั้นเรียนมีอุปกรณ์ สื่อการเรียนการสอนที่ทันสมัยเหมาะสม

          อย่างไรก็ตาม ยังมีด้านการจัดการเรียนการสอนที่นักศึกษาแพทย์ให้ค่าเฉลี่ยในระดับมาก แต่น้อยที่สุด เมื่อเทียบกับด้านอื่นๆ  ซึ่งเมื่อพิจารณาแล้ว พบว่าเหตุผลที่ทำให้ค่าเฉลี่ยน้อยกว่า อาจเป็นเพราะว่า นักศึกษาแพทย์มีความเห็นว่า ลำดับขั้นตอน ความเหมาะสมในการจัดการเรียนการสอนอย่างเป็นระบบ และการส่งเสริมให้เกิดแรงจูงใจให้เกิดความอยากเรียนรู้ อยู่ในระดับปานกลาง  ซึ่งความคิดเห็นนี้ เมื่อพิจารณาแล้วจะเห็นว่านักศึกษาแพทย์ที่มีผลการเรียนเฉลี่ยสะสมค่อนข้างต่ำ มีความคิดเห็นแตกต่างกับนักศึกษาแพทย์ที่มีผลการเรียนเฉลี่ยสะสมสูง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ  (P < 0.05)

 

          การศึกษาเรื่องนี้อาจมีข้อจำกัด เนื่องจากยังไม่เคยมีการศึกษามาก่อน จึงเห็นควรได้มีการศึกษาเช่นนี้ในปีต่อๆ ไป เพื่อจะได้นำผลการศึกษามาวิเคราะห์เปรียบเทียบให้เกิดประโยชน์มากยิ่งขึ้น

 

        สรุป

          การประเมินกระบวนการจัดการเรียนการสอนรายวิชา  372 581 รังสีวิทยาคลินิก ของนักศึกษาแพทย์ ชั้นปีที่ 5 ปีการศึกษา 2548 ภาควิชารังสีวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น พบว่า ค่าเฉลี่ยของความคิดเห็นของนักศึกษา อยู่ในระดับมาก ในทุกด้านของกระบวนการจัดการเรียนการสอน อย่างไรก็ตาม ค่าเฉลี่ยด้านผู้สอน สื่อการเรียนการสอนและสิ่งอำนวยความสะดวก มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ส่วนด้านของการจัดการเรียนการสอนมีค่าเฉลี่ยต่ำสุด

          เมื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของความคิดเห็นตามเพศและผลการเรียนของนักศึกษาแพทย์แล้ว พบว่า ค่าเฉลี่ยของความคิดเห็นทั้งรายด้านและภาพรวมไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ

 

   ข้อเสนอแนะ

          เพื่อเป็นการปรังปรุงพัฒนาการเรียนการสอนให้ดียิ่งขึ้น คณะผู้วิจัยมีข้อคิดเห็น และข้อเสนอแนะจากผลการวิจัย ดังนี้

1.  ควรปรับปรุงด้านการจัดการเรียนการสอน โดยจัดลำดับขั้นตอนรายวิชานี้อย่างเป็นระบบ

2. ผู้สอนควรพัฒนาเทคนิคการสอน เพื่อให้ผู้เรียนเกิดแรงจูงใจ ใฝ่เรียนรู้ เพิ่มมากขึ้น

3. ควรมีการชี้แจง ข้อบกพร่องที่พบจากการวัดและประเมินผลผู้เรียนให้ผู้เรียนทราบ  เพื่อที่ผู้เรียนจะได้นำไปปรับปรุงและพัฒนาความรู้ของตนเองต่อไป

4. ควรแจ้งผลการประเมินกระบวนการจัดการเรียนการสอนรายวิชานี้ สอนแก่อาจารย์ผู้สอน เพื่อประโยชน์ในการปรับปรุงและพัฒนาการจัดการเรียนการสอนให้ดียิ่งขึ้น

 

กิตติกรรมประกาศ

          คณะผู้วิจัยขอขอบคุณนักศึกษาแพทย์ชั้นปีที่ 5 ปีการศึกษา 2548 คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ทุกคน  ที่ให้ความร่วมมือในการตอบแบบสอบถามเป็นอย่างดี

          ขอขอบคุณ คุณปิยภรณ์ หิรัญคำ  เจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป หลักสูตรเทคโนโลยีบัณฑิตเวชนิทัศน์ ภาควิชากายวิภาคศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์  มหาวิทยาลัยขอนแก่น  ที่ให้ความช่วยเหลือในการกรอกข้อมูลงานวิจัย

 

เอกสารอ้างอิง

  1. สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน). กรอบแนวทางการประเมินคุณภาพภายนอกระดับอุดมศึกษา. ฉบับปรับปรุง ครั้งที่ 1, ไม่ปรากฏปีพิมพ์.
  2. สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. สำนักนายกรัฐมนตรี. พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ, .. 2542.
  3. สำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา. เกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับปริญญาตรี, 2548.
  4. แบบรายงานการตรวจประเมินคุณภาพการศึกษาภายใน ประจำปีการศึกษา 2547. คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 2548.
  5. คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. เอกสารหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต,  2540.
  6. ยุทธ ไกยวรรณ์. พื้นฐานการวิจัย. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ : ชมรมเด็ก, 2545 : 141-2
  7. จงเจริญ  เมตตา.  เอกสารคำสอนรายวิชา 361 351 การวิจัยขั้นแนะนำสำหรับนักศึกษาเวชนิทัศน์.  ขอนแก่น : คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 2543.
  8. ไชยยศ เรืองสุวรรณ. เทคโนโลยีการศึกษา : ทฤษฎีและการวิจัย. กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์, 2533.
  9. Wiersma W. Research Methods in Education : An Introduction. Boston :  Allyn and  Bacon, Inc., 1986.

 

 

 

Untitled Document
Article Location

Untitled Document
Article Option
       Abstract
       Fulltext
       PDF File
Untitled Document
 
ทำหน้าที่ ดึง Collection ที่เกี่ยวข้อง แสดง บทความ ตามที่ีมีใน collection ที่มีใน list Untitled Document
Another articles
in this topic collection

Self directed learning using computer assisted instruction in topic of Orthopedic trauma (การเรียนรู้ด้วยตนเอง โดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอนวิชาภยันตรายทางออร์โธปิดิกส์)
 
Efficacy of CAI as additional media for medical procedure training, a trial in blood collection procedure training (การศึกษาประสิทธิภาพของการใช้สื่อการสอนในรูปแบบ ซี เอ ไอ ช่วยในการสอนการฝึกหัดเจาะเลือด)
 
Microcomputer assisted instruction in Orthopedics (ไมโครคอมพิวเตอร์ช่วยสอบวิชาออร์โทปิดิกส์)
 
Anesthesiology Improvement using the result of evaluation in Faculty of Medicine, Khon Kaen University (การปรับปรุงการสอนวิชาวิสัญญีวิทยาของคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่นโดยใช้ผลการประเมิน)
 
<More>
Untitled Document
 
This article is under
this collection.

Medical Education & Training
 
 
 
 
Srinagarind Medical Journal,Faculty of Medicine, Khon Kaen University. Copy Right © All Rights Reserved.
 
 
 
 

 


Warning: Unknown: Your script possibly relies on a session side-effect which existed until PHP 4.2.3. Please be advised that the session extension does not consider global variables as a source of data, unless register_globals is enabled. You can disable this functionality and this warning by setting session.bug_compat_42 or session.bug_compat_warn to off, respectively in Unknown on line 0