Untitled Document
 
 
 
 
Untitled Document
Home
Current issue
Past issues
Topic collections
Search
e-journal Editor page

The Internal Evaluation of Survey and Situation Assessment for Health Promotion in Public Health Education Institute, Thailand

การติดตามประเมินผลภายในโครงการสำรวจและประเมินสถานการณ์การสร้างเสริมสุขภาพของสถาบันการศึกษาสาธารณสุข ในประเทศไทย

Chulaporn Sota (จุฬาภรณ์ โสตะ) 1, Nonglak Phanthajarunithi (นงลักษณ์ พันธจารุนิธิ) 2, Songpol Tonee (ทรงพล ต่อนี) 3, Virat Pansila (วิรัติ ปานศิลา) 4, Sompoch Ratioral (สมโภชน์ รติโอฬาร) 5, Yuvadee Rodjakpai (ยุวดี รอดจากภัย) 6, Maliwan Yuthitham (มะลิวัลย์ ยุติธรรม) 7




วัตถุประสงค์ 1.) เพื่อศึกษาการติดตามประเมินผลภายในของโครงการสำรวจและประเมินสถานการณ์การสร้างเสริมสุขภาพของสถาบันการศึกษา ด้านสาธารณสุข

         2.) เพื่อประเมินสถานการณ์สิ่งแวดล้อมของสถาบันที่เอื้อต่อการเป็นองค์กรสร้างเสริมสุขภาพ

รูปแบบการศึกษา    เป็นการศึกษาเชิงคุณภาพ (Qualitative research)

วิธีการศึกษา กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้บริหารและผู้ดำเนินการ การพัฒนาสถาบันสาธารณสุขให้เป็นองค์กรแห่งการสร้างเสริมสุขภาพ จำนวน 7 แห่ง ได้แก่ มหาวิทยาลัย นเรศวร  มหาวิทยาลัยขอนแก่น  มหาวิทยาลัยมหาสารคาม  มหาวิทยาลัยหัวเฉียว  มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช  มหาวิทยาลัยบูรพา  มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์   จึงมีการศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับการดำเนินการเพื่อพัฒนาสถาบันสาธารณสุขศาสตร์ ให้เป็นองค์กรแห่งการสร้างเสริมสุขภาพ  โดยการสัมภาษณ์  การสังเกต รวบรวมข้อมูลเอกสาร  นำมาวิเคราะห์เพื่อบรรยายโดยจัดหมวดหมู่  (Content  analysis)

ผลการศึกษา   หลังจากที่แผนงานพัฒนาสถาบันสาธารณสุขให้เป็นองค์กรแห่งการสร้างเสริมสุขภาพ (สอส.) ได้ดำเนินการไป ประมาณ 1 ปี ในมหาวิทยาลัยทุกแห่งที่มีสถาบันการศึกษาสาธารณสุข  ได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการ หรือผู้รับผิดชอบโดยเฉพาะและได้มีการจัดประชุมแกนนำและดำเนินกิจกรรมการสร้างเสริมสุขภาพด้านต่างๆ โดยเมื่อแกนนำจากมหาวิทยาลัยต่างๆ ได้รับการอบรม ประชุมสัมมนาเกี่ยวกับการพัฒนาสถาบันให้เป็นองค์กรแห่งการสร้างเสริมสุขภาพแล้ว ได้ดำเนินการโดยจัดกิจกรรมโครงการต่างๆขึ้น กิจกรรมที่พบมากที่สุดได้แก่ การออกกำลังกาย  การรณรงค์ลดบุหรี่ และเครื่องดื่มที่ม่แอลกอฮอล์   กิจกรรมที่ดำเนินการน้อยได้แก่ การจัดการความเครียด ทั้งที่พบว่าเป็นปัญหาส่วนใหญ่ในทุกมหาวิทยาลัย  มหาวิทยาลัยทุกแห่งได้มีการจัดทำกิจกรรมการสร้างเสริมสุขภาพตามกฎบัตรออตตาวา โดยครอบคลุมด้านนโยบาย  ด้านสิ่งแวดล้อม  ด้านพัฒนาทักษะส่วนบุคคล  และด้านพัฒนาระบบบริการสาธารณสุขและมีส่วนน้อยคือด้านการเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน

พฤติกรรมสุขภาพ ของบุคากรและนักศึกษาพบว่า ส่วนใหญ่มีการออกกำลังกายไม่สม่ำเสมอมากที่สุด ส่วนใหญ่ออกกำลังกายเพียงสัปดาห์ละ 1 ครั้ง ส่วนมากรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ จำพวกผักและผลไม้มากที่สุด ส่วนอาหารที่เสี่ยงต่อสุขภาพที่รับประทานบ่อย ได้แก่อาหารประเภททอด  ไข่แดงและผลิตภัณฑ์จากไข่แดง อาหารกรุบกรอบ และพยายามลดอาหารที่ทำลายสุขภาพ   จากการสำรวจพบว่าส่วนใหญ่มีความเครียดสูง  ซึ่งมีสาเหตุจากการทำงานและการเรียนมากที่สุดรองลงมาได้แก่ปัญหาด้านเศรษฐกิจ  มีการสูบบุหรี่และดื่มสุราน้อย  มีการตรวจสุขภาพแต่ไม่สม่ำเสมอมากที่สุด  

ผลการตรวจสุขภาพบุคลากร  ส่วนใหญ่พบว่าบุคลากรมีปัญหาสุขภาพที่คล้ายคลึงกันในทุกมหาวิทยาลัย เช่น ปัญหาโรคกระเพาะอาหารอักเสบ   โรคภูมิแพ้  ไมเกรน   ระดับไขมันในเลือดและโคเลสเตอรอลสูง กว่าปกติ   ฮีมาโตคริตต่ำ   ส่วนด้านสิ่งแวดล้อมมีการปรับปรุงภูมิทัศน์ภายในและภายนอกอาคาร เพื่อสุขภาพของบุคลากรและนักศึกษา

ข้อเสนอแนะ ที่ทำให้การดำเนินงานสร้างเสริมสุขภาพประสบผลสำเร็จอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน เป็นสิ่งที่ท้าทาย ควรแสริมสร้างพลังอำนาจแก่แกนนำอย่างต่อเนื่อง เน้นการมีส่วนร่วมในการประชาสัมพันธ์  ข้อมูลข่าวสารที่หลากหลายรูปแบบและมีมาตรการการจูงใจที่เหาะสมและพยายามผลักดันให้เป็นวัฒนธรรมองค์กรและทำให้การสร้างเสริมสุขภาพเป็นวิถีชีวิต

สรุป  สถาบันการศึกษาด้านสาธารณสุขพบว่าเกิดนวัตกรรมต่างๆ ทั้งด้านนโยบายเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพ  คณะกรรมการ กิจกรรมการดำเนินงานสร้างเสริมสุขภาพ การเรียนการสอน  การวิจัยและบริการวิชาการสังคมเกี่ยวกับการสร้างเสริมสุขภาพ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการสร้างเสริมสุขภาพด้านต่างๆ ถึงแม้ยังไม่ครอบคลุม แต่ได้เห็นความริเริ่มได้อย่างชัดเจน ตลอดจนการตรวจสุขภาพเพื่อเฝ้าระวังสภาวะสุขภาพและการปรับปรุงสภาพแวดล้อมเพื่อสุขภาพ

   คำสำคัญ   การติดตามประเมินผล   การสร้างเสริมสุขภาพ        สถาบันการศึกษาด้านสาธารณสุข

 

Objectives : 1.To study the Internal  evaluation  of survey and  situation assessment for health  promotion in     Public   Health Institute to be healthy workplaces.

                      2. To environment  assessment  of     healthy workplaces.

Design : Qualitative research was  conducted.

Method :Samples were administrators  and lecturers who responsible for health promotion  enhancement to be healthy university in seven Universities including

Naresuan university, Khon Kaen university, Mahasarakam university, Burapa university, Huachiew university, Sukhothaithumathirat  university and Walailuk university. Data collection was performed by  interviewing  and document studying which induced  observation as well as content analysis.

Results :  After  1 year implementation of the plan for Public Health Education Institutes for  health promotion. Healthy faculty committee of all Universities  were set and performed  for health promotion activities. The activities      mostly were physical  activities, cigartte smoking control  and alcohol consumption reduction. The uncommon activities was stress management  while this problem  was high. All university conducted health promotion activities according to the Ottawa Charter. Almost coverage  build healthy public, create supportive environment,  develop personal skills,  reorient health services  but  seldom   was done for strengthen community action. Most  staffs and students were  spent time for  physical activities but not regularity, food consumption highly  emphasize on   vegetable and fruit but  frequent consurption of high risk food were oil, egg  and  borax food, They highly stress, cause from working learning and economic, rare case for alcohol and tobacco abuse .They    physical  check up but not consistency.

        Physical examination results found that the most problem were peptic ulcer, allergic diseases ,  migraine, high cholesterol .including  low heamatocrit. The successful  was  challenged   depend on sustainable and consistency, require empowering of the committee, effective public relationship , motivation technique including  integrate cultural organization as  well as way of life for health.

Conclusion :  In addition the improved environment  inside and outside the building  for health, committee, activities, research, academic service, learning process  in health promotion including health promotion  modification in various aspects although not still coverage, but there clearly appear initiation as well as physical examination and environment approving.

Keywords: health promotion, assessment, Public Health Education Institute

 

 

บทนำ

การสร้างเสริมสุขภาพ  เป็นมิติหนึ่งของการพัฒนาสังคมในการพัฒนาสุขภาพ    โดยการส่งเสริมวิถีการดำเนินชีวิตที่ก่อให้เกิดการมีสุขภาพที่ดี และการดำเนินงานในชุมชนเพื่อสุขภาพและโดยการสร้างเงื่อนไข สิ่งแวดล้อมที่จะทำให้ประชาชนอยู่ได้   ดำรงชีวิตอยู่อย่างมีสุขภาพที่ดี  โดยคำนึงถึงกฎบัตรออตตาวาสำคัญ  5   ประการคือ  1) สร้างนโยบายสาธารณะที่เอื้อต่อการมีสุขภาพที่ดี   2)  สร้างสรรค์สภาพแวดล้อมที่สนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ 3)  สร้างความเข้มแข็งให้ชุมชน  4) พัฒนาทักษะส่วนบุคคล     5)   ปฏิรูปการบริการสาธารณสุข1,  2

การพัฒนาการสร้างเสริมสุขภาพควรเป็นการพัฒนาแบบบูรณาการหรือการพัฒนาแบบองค์รวม โดยเน้นความสำคัญทั้งด้านร่างกาย  จิตใจและสังคม 3  รวมทั้งเน้นการพัฒนาที่ยั่งยืน  (Sustainable development )  โดยเฉพาะบุคลากรในสถาบันการศึกษาสาธารณสุข  ควรเป็นแบบอย่างที่ดีด้านการสร้างเสริมสุขภาพและพัฒนาสถาบันให้เป็นองค์กรแห่งการสร้างเสริมสุขภาพ (สอส.) 4, 5

แผนงานการพัฒนาสถาบันการศึกษาสาธารณสุขให้เป็นองค์กรการสร้างเสริมสุขภาพ (สอส) ได้พัฒนาศักยภาพ และ สนับสนุนทุนวิจัย แก่สถาบันการศึกษาสาธารณสุขจำนวน  15 สถาบันทั่วประเทศไปในระยะหนึ่งปี จึงมอบหมายให้คณะผู้วิจัยซึ่งเป็นทีมงานกลาง ซึ่งประกอบด้วยคณาจารย์จากหลายสถาบันจัดทำโครงการการสำรวจและประเมินสถานการณ์การสร้างเสริมสุขภาพของ สถาบันการศึกษาสาธารณสุขโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการสร้างเสริมสุขภาพ สถานะสุขภาพและปัจจัยเสี่ยงต่อสุขภาพของผู้บริหาร อาจารย์ บุคลากร ตลอดจนนักศึกษาของสถาบันการศึกษาสาธารณสุขที่เป็นตัวแทนแต่ละภาค ทั้งภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคใต้ และภาคตะวันออก จำนวน  7  สถาบันทั่วประเทศ รวมทั้งประเมินความเป็นผู้นำการสร้างเสริมสุขภาพของบุคคลและองค์กร ซึ่งข้อมูลที่ได้รับนี้สถาบันการศึกษาต่างๆ จะนำไปใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการกำหนดแผนการพัฒนาการสร้างเสริมสุขภาพให้กับสมาชิกของสถาบันต่อไป 

ในขณะนี้ทีมงานกลางได้ดำเนินการประสานงานไปยังสถาบันการศึกษาสาธารณสุขทั้ง 7สถาบันในการเก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามการสำรวจและประเมินสถานการณ์การสร้างเสริมสุขภาพของสถาบันการศึกษาสาธารณสุข รวมทั้งการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้บริหารระดับสถาบันเสร็จเป็นที่เรียบร้อยแล้ว แต่การที่จะประเมินสถานการณ์การสร้างเสริมสุขภาพของสถาบันการศึกษาสาธารณสุขได้ครอบคลุมนั้นจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการประเมินสถานการณ์การสร้างเสริมสุขภาพของสถาบันที่เอื้อต่อการเป็นองค์กรสร้างเสริมสุขภาพด้วย  นอกจากนั้น เพื่อให้การดำเนินงานโครงการการสำรวจและประเมินสถานการณ์การสร้างเสริมสุขภาพของสถาบันการศึกษาสาธารณสุขสำเร็จลุล่วงตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้นั้น ทีมงานกลางจึงได้มีการติดตามประเมินภายใน เพื่อนิเทศ ติดตาม รับฟังปัญหาอุปสรรคการดำเนินโครงการและให้ข้อเสนอแนะต่างๆ  แก่สถาบันรวมทั้งทำการประเมินสถานการณ์สิ่งแวดล้อมของสถาบันเพื่อนำเสนอต่อแผนงานการพัฒนาสถาบันการศึกษาสาธารณสุขให้เป็นองค์กรการสร้างเสริมสุขภาพ (สอส.) เพื่อเป็นข้อมูลในการพัฒนาสถาบันการศึกษาสาธารณสุขให้เป็นองค์กรการสร้างเสริมสุขภาพต่อไป

         วัตถุประสงค์ของการวิจัย

1.     เพื่อการติดตามประเมินภายในของโครงการสำรวจและประเมินสถานการณ์การสร้างเสริมสุขภาพของสถาบันการศึกษาสาธารณสุข

2.     เพื่อประเมินสถานการณ์สิ่งแวดล้อมของสถาบันที่เอื้อต่อการเป็นองค์กรสร้างเสริมสุขภาพ

วิธีการ

เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative  Research )  มีการเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพทำการศึกษาที่มหาวิทยาลัยต่างๆ ที่เป็นตัวแทนของแต่ละภาค ได้แก่ ภาคเหนือ  ได้แก่   มหาวิทยาลัยนเรศวร    ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้แก่ มหาวิทยาลัยขอนแก่นและมหาวิทยาลัยมหาสารคาม  ภาคกลาง ได้แก่ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชและมหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ    ภาคใต้ ได้แก่ มหาวิทยาลัยวไลลักษณ์   ภาคตะวันออก ได้แก่ มหาวิทยาลัยบูรพา

เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย

เก็บข้อมูลโดยใช้แบบประเมิน แนวทางการสังเกต และแนวคำถาม  ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นตลอดจนการสังเกต   กลุ่มตัวอย่างเป็น เป็นคณาจารย์ และนักศึกษาที่รับผิดชอบการดำเนินงานด้านการสร้างเสริมสุขภาพของมหาวิทยาลัยต่างๆ  วิเคราะห์ข้อมูล   โดยใช้การบรรยาย สรุปเป็นหมวดหมู่  (Content  analysis)

ผลการวิจัย

1.  ด้านกิจกรรมการสร้างเสริมสุขภาพ

ส่วนมากมหาวิทยาลัยต่างๆ  มีนโยบายด้านการสร้างเสริมสุขภาพชัดเจน เป็นลายลักษณ์อักษรและมีการนำนโยบายไปสู่การปฏิบัติโดยใช้การจัดทำแผนแม่บทและการจัดทำโครงการ เพื่อขอรับการสนับสนุนจากแผนงานการพัฒนาสถาบันการศึกษาสาธารณสุขให้เป็นองค์กรการสร้างเสริมสุขภาพ (สอส.) และบางส่วนได้รับการสนับสนุนจากคณะหรือสถาบัน และบางส่วนได้รับการสนับสนุนจากภายนอกมหาวิทยาลัย   มีคณะกรรมการดำเนินงานสร้างเสริมสุขภาพที่เป็นแกนนำจากทุกกลุ่มทั้ง   กลุ่มผู้บริหาร    กลุ่มอาจารย์   บุคลากรสายสนับสนุนและนักศึกษา ซึ่งมีคำสั่งแต่งตั้งการดำเนินงานและกำหนดบทบาทหน้าที่ชัดเจน   กลุ่มแกนนำได้รับการพัฒนาศักยภาพจากแผนงานการพัฒนาสถาบันการศึกษาสาธารณสุขให้เป็นองค์กรการสร้างเสริมสุขภาพ  (สอส.)  ทำให้ได้เพิ่มพูนความรู้  ความเข้าใจที่ถูกต้องของการดำเนินงานพัฒนาองค์กรให้เป็นองค์กรแห่งการสร้างเสริมสุขภาพ และนำไปเผยแพร่แก่บุคลากรและนักศึกษา ตลอดจนการจัดอบรม การจัดสัมมนาที่มีการสอดแทรกการสร้างเสริมสุขภาพในการเรียนการสอน ในชีวิตประจำวัน  บุคลากรและนักศึกษาเห็นความสำคัญของสุขภาพและพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพให้ดีมากยิ่งขึ้น   เช่น  มีการทำกิจกรรมการออกกำลังกาย   กิจกรรมการจัดการความเครียด   มีการตรวจสุขภาพประจำปีมากยิ่งขึ้นและเป็นรูปธรรม รวมทั้งมีการตรวจสุขภาพ การทดสอบสมรรถภาพ อวัยวะต่างๆ  เช่น ความจุปอด  วัดแรงเหยียด ชั่งน้ำหนักและวัดส่วนสูงเพื่อประเมินดัชนีมวลกายมีจำนวนงานวิจัย  โครงการและกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการสร้างเสริมสุขภาพมากยิ่งขึ้น รวมทั้งมีการสอดแทรกการสร้างเสริมสุขภาพในหลักสูตรและการเรียนการสอนทั้งระดับปริญญาตรี โท และเอก มากยิ่งขึ้น ตลอดจนการทำวิทยานิพนธ์สำหรับบัณฑิตศึกษาและการศึกษาวิชาปัญหาพิเศษของนักศึกษาปริญญาตรี

 

2.  พฤติกรรมสุขภาพของบุคลากรในมหาวิทยาลัย

       พฤติกรรมการรับประทานอาหาร ส่วนใหญ่มีการเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์  เช่น  ปลาและอาหารที่มีกากใยสูง เช่น  ผัก  ผลไม้  ส่วนอาหารที่เสี่ยงต่ออันตรายที่รับประทานบ่อย ได้แก่ อาหารประเภททอด อาหารกรุบกรอบและไข่แดงตลอดจนผลิตภัณฑ์จากไข่แดง       ส่วนใหญ่มีความพยายามลดการรับประทานน้ำอัดลม/น้ำหวาน/เครื่องดื่มรสหวาน กาแฟ/ชา  อาหารหมักดอง/อาหารรสเค็ม   ส่วนพฤติกรรมด้านออกกำลังกาย   มีการออกกำลังกายบ้างแต่ไม่สม่ำเสมอ  ส่วนใหญ่ออกกำลังกายต่อสัปดาห์  1  วันมากที่สุด  รองลงมาคือไม่ค่อยออกกำลังกาย  มีส่วนน้อยที่ออกกำลังกายเป็นประจำและสม่ำเสมอพฤติกรรมด้านการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์  พบว่า  ส่วนใหญ่ไม่ดื่มสุรา  ไม่สูบบุหรี่ ส่วนพฤติกรรมด้านการจัดการความเครียด  พบว่า  ส่วนมากมีความเครียดแต่อยู่ในระดับต่ำมากที่สุด  รองลงมาอยู่ในระดับปานกลาง  ส่วนสาเหตุของความเครียดเกิดจากปัญหาในการทำงานและการเรียนมากที่สุด  รองลงมาคือปัญหาเศรษฐกิจและปัญหาสุขภาพ  วิธีการจัดการความเครียดโดยการดูภาพยนตร์   ฟังเพลงมากที่สุด  การปล่อยให้ผ่านไปโดยไม่ต้องทำอะไรเลย  การเล่นกีฬาและทำกิจกรรมที่ชอบและพบว่ามีบางส่วนดื่มสุราคลายเครียดส่วนการตรวจสุขภาพประจำปี  พบว่า  ส่วนมากมีการตรวจสุขภาพอย่างน้อยปีละ  1  ครั้งมากที่สุด  รองลงมาคือ ตรวจแต่ไม่สม่ำเสมอ

3.  ผลการตรวจสุขภาพของบุคลากรมหาวิทยาลัย

            ปัญหาสุขภาพที่พบส่วนใหญ่  บุคลากรและนักศึกษาในมหาวิทยาลัยพบว่า ปัญหาสุขภาพที่พบมากที่สุด คือ ปัญหาโรคกระเพาะอาหารอักเสบ  โรคภูมิแพ้  ไมเกรน ไขมันในเลือดสูง  เมื่อพิจารณาผลการตรวจเลือดพบว่า  บุคลากรในมหาวิทยาลัยส่วนมากมีการตรวจพบโคเลสเตอรอลสูงมากที่สุด  รองลงมาบางแห่งพบไขมันในเลือดสูง  บางแห่งพบความผิดปกติของฮีมาโตคลิตสูงส่วนสภาวะสุขภาพในรอบ  6  เดือนที่ผ่านมาพบว่าส่วนมากมีการเป็นหวัด   ดัชนีมวลกายส่วนใหญ่อยู่ในภาวะปกติ  รองลงมามีภาวะต่ำกว่าเกณฑ์และส่วนน้อยที่มีน้ำหนัก เกินและภาวะอ้วน

วิจารณ์

มหาวิทยาลัยให้ความร่วมมือเป็นอย่างดีในการพัฒนาสถาบันสาธารณสุขให้เป็นองค์กรแห่งการสร้างเสริมสุขภาพ  แต่บางแห่งมีความร่วมมือน้อยทั้งนี้ขึ้นอยู่กับกระบวนการทำงานเป็นสำคัญ  หน่วยงานที่มีคณะทำงานชัดเจน ผู้บริหารให้การสนับสนุนอย่างจริงจัง มีการประชาสัมพันธ์ก่อนและระหว่างดำเนินการหลากหลายรูปแบบนั้น จะพบว่าได้รับความร่วมมือจากบุคลากรในหน่วยงานเป็นอย่างดี แต่หน่วยงานที่ไม่ได้รับความร่วมมือนั้นมีเหตุผลหลายประการ  เช่น  ภาระงานมีมาก ความแตกต่างของบริบทของแต่ละสถาบัน ตลอดจนขาดการประชาสัมพันธ์อย่างต่อเนื่อง

มหาวิทยาลัยทุกแห่งให้ความสำคัญกับการพัฒนาการสร้างเสริมสุขภาพตามกฎบัตรออตตาวา โดยครอบคลุมทั้งด้านการมีนโยบายสาธารณสุขเพื่อสุขภาพ การจัดสิ่งแวดล้อม  การพัฒนาทักษะส่วนบุคคลและมีการปรับระบบบริการ ส่วนกิจกรรมที่มหาวิทยาลัยทุกแห่งให้ความสำคัญค่อนข้างน้อย  คือ  การเสริมสร้างความเข้มแข็งของสังคม ทั้งมีเป็นเพราะว่าบทบาทของมหาวิทยาลัยโดยตรงคือการรับผิดชอบต่อการพัฒนาการผลิตบัณฑิตและพัฒนานักศึกษาที่เป็นงานที่สำคัญมากในมหาวิทยาลัย   แต่อย่างไรก็ตามการให้ความสำคัญกับชุมชนรอบมหาวิทยาลัยนับเป็นสิ่งที่สำคัญและจำเป็นมาก  เนื่องจากชุมชนรอบมหาวิทยาลัยมีส่วนสำคัญต่อพฤติกรรมสุขภาพของบุคลากรและนักศึกษา  เช่น  สถานบันเทิง แหล่งจำหน่ายบุหรี่ สุราและอาหารที่ไม่มีคุณภาพ ชุมชนรอบมหาวิทยาลัยนับว่ามีส่วนสำคัญมากต่อการสร้างเสริมสุขภาพของ นักศึกษา  อาจารย์และบุคลากร  ซึ่ง  Xiangyang  T, Lan Z, Xueping  M, Tao  Z, Yuzhe S, Jagusztyn M.  (2005)6  กล่าวว่า  ชุมชนรอบมหาวิทยาลัยมีส่วนสำคัญในการพัฒนามหาวิทยาลัยแห่งการสร้างเสริมสุขภาพ และโครงการส่งเสริมสุขภาพในมหาวิทยาลัยทำให้ชุมชนที่อยู่รอบมหาวิทยาลัยได้รับประโยชน์จากการดำเนินการรณรงค์ตามกฎบัตรออตตาวาด้วย

          ความเครียดเป็นปัญหาที่สำคัญของบุคลากรและนักศึกษา  จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะจัดหาวิธีการที่ทำงานและเรียนที่ก่อให้เกิดวามสุข  ความสร้างสรรค์  จรรโลงใจ  ไม่เครียด  ไม่วิตกกังวลหรืออาจมีห้องให้คำปรึกษา  ห้องสันทนาการและสถานที่ทำสมาธิหรือสิ่งยึดมั่นของบุคลากรและนักศึกษาเพื่อก่อให้เกิดการมีสุขภาพจิตดีและสุขภาพด้านจิตวิญญาณ (Spiritual Health) ด้วยจึงควรมีกิจกรรมการจัดการความเครียดที่เหมาะสมรวมทั้งการให้คำปรึกษาเพื่อลดภาวะเครียด ซึ่ง  Stock C, Wille L, Kramaer A (2005) 7  กล่าวว่า  นักศึกษาหญิงที่มีภาวะความเครียดสูงมีความต้องการสูงต่อการรับคำปรึกษาด้านสุขภาพอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ    ส่วนการตรวจสุขภาพประจำปียังไม่มากนักยังไม่ครอบคลุมบุคลากรและนักศึกษา  เนื่องจากมีปัจจัยด้านเศรษฐกิจ จึงควรแสวงหาวิธีการที่จะทำให้นักศึกษา ได้รับการตรวจสุขภาพประจำปี โดยเฉพาะนักศึกษาที่ได้กู้กองทุนกู้ยืมเพื่อการศึกษาควรส่งเสริมให้สามารถเก็บค่าตรวจสุขภาพได้    และให้อำนวยความสะดวกในการตรวจสุขภาพ

       เพื่อให้การดำเนินงานสร้างเสริมสุขภาพเป็นไปได้อย่างต่อเนื่อง มีความยั่งยืนควรสอดแทรกเข้าเป็นวิถีชีวิตของบุคลากรและนักศึกษาและเป็นวัฒนธรรมองค์   อีกทั้งมีมาตรการส่งเสริมสุขภาพสนับสนุนอย่างจริงจังและต่อเนื่องทั้งด้านงบประมาณ  วัสดุ อุปกรณ์  ขวัญและกำลังใจ   ตลอดจนการแสวงหาภาคีและแนวร่วมจากทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัยและ ทั้งในและต่างประเทศ

         การนำผลการวิจัยไปใช้

1.     ควรมีการกำหนดนโยบายและจัดทำแผนยุทธศาสตร์เพื่อการพัฒนาด้านการสร้างเสริมสุขภาพประจำปีอย่างต่อเนื่องและส่งเสริม บทบาทการเป็นตัวอย่างด้านการสร้างเริมสุขภาพ 

2.     มีการพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพของบุคลากรและนักศึกษาด้วยมาตรการต่างๆ  อย่างเหมาะสม  

3.     ควรกำหนดให้บุคลากรและนักศึกษาทุกคนได้ตรวจสุขภาพประจำปี โดยมีสวัสดิการรองรับโดยไม่เป็นปัญหาในเชิงเศรษฐกิจ 

4.     เสริมสร้างจิตสำนึกในการสร้างเสริมสุขภาพของทุกกลุ่มและส่งเสริมการถ่ายทอดการสร้างเสริมสุขภาพแก่ผู้อื่นและชุมชนอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ

5.      จัดโครงสร้างภายในคณะและผู้รับผิดชอบที่ชัดเจน มีกลไก ดูแล กำกับ ติดตาม  ประเมิน ผลการดำเนินงานให้เป็นรูปธรรม 

6.     พัฒนาเครือข่ายให้เข้มแข็ง ควรมีการนำเสนอผลการวิจัยในวงการวิชาการเพื่อกระตุ้นให้เกิดการตื่นตัวมากขึ้นทั้งในและต่างประเทศ

7.     ควรมีการจัดกิจกรรม/สัมมนาคณะทำงานเพื่อระดมความคิดเห็นและแนวทางสนับสนุนและร่วมระดมทุนเพื่อพัฒนาอย่างต่อเนื่องต่อไป

8.     หน่วยงานควรให้ความสำคัญกับการแก้ไขปัญหาความเครียดของบุคลากรและนักศึกษา 

9.     ควรมีการประชาสัมพันธ์ เพื่อกระตุ้นส่งเสริมการมีส่วนร่วมหลากหลายรูปแบบทั้งการใช้ภาพพลิก แผ่นพับ จดหมายข่าว โปสเตอร์ เสียงตามสาย ป้ายคัดเอ้าท์  จัดนิทรรศการ การจัดกิจกรรม การให้บุคลากรมีส่วนร่วมอย่างสนุกสนาน

 

             ข้อเสนอแนะในการวิจัยครั้งต่อไป

1.      ควรมีการศึกษาเพื่อพัฒนาชุมชนรอบนอกมหาวิทยาลัยเพื่อการสร้างเสริมุขภาพ

2.       ศึกษาถึงแหล่งสร้างเสริมสุขภาพภายในแต่ละมหาวิทยาลัยเพื่อก่อให้เกิดการร่วมใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า และจัดการความรู้โดยนำไปสู่การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันอย่างต่อเนื่อง

3.       ศึกษาแนวทางการพัฒนาศักยภาพความโดดเด่นของแต่ละมหาวิทยาลัยให้เป็นที่ยอมรับและเป็นผู้นำด้านนั้น ตามกฎบัตรออตตาว่าทั้ง 5 ด้าน

4.        ศึกษาบทบาทการมีส่วนร่วมกับชุมชนเพื่อขยายเครือข่ายด้านการสร้างเสริมสุขภาพ

5.       ศึกษาและพัฒนาศักยภาพในการแก้ไขปัญหาอย่างต่อเนื่องและครอบคลุมโดยคำนึงถึงความสอดคล้องกับสภาพปัญหาและความต้องการที่พบในแต่ละมหาวิทยาลัย

6.        สร้าง  Best  Practice ด้านการสร้างเสริมสุขภาพแต่ละด้านของแต่ะมหาวิทยาลัยและทำ Bench marking ของแต่ละสถาบัน

7.         ศึกษาบทบาทที่มีผลต่อความสำเร็จของการพัฒนาสถาบันให้เป็นองค์กรแห่งการสร้างเสริมสุขภาพ 

8.      ศึกษารูปแบบต่อการเป็นองค์กรแห่งการสร้างเสริมสุขภาพในบริบทที่แตกต่างกัน  และ  ศึกษาแนวทางการพัฒนาเครือข่ายในการดำเนินงานสร้างเสริมสุขภาพอย่างต่อเนื่อง

   

                                       กิตติกรรมประกาศ

ขอขอบคุณ รองศาสตราจารย์ ดร.ประสิทธิ์ ลีระพันธ์   รองศาสตราจารย์ ดร.ภารดี   เต็มเจริญ   ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. สุรินทร  กรัมพลากร  ผู้บริหาร แผนงานการพัฒนาสถาบันการศึกษาสาธารณสุขให้เป็นองค์กรการสร้างเสริมสุขภาพ (สอส.) ตลอดจน (สำนักงานสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ซึ่งได้สนับสนุนทั้งงบประมา ณ  แนวคิด การพัฒนาศักยภาพ  ความรู้ความสามารถในเชิงพัฒนาอย่างต่อเนื่องและจริงจังและการชี้แนะที่มีคุณค่าและการเป็นผู้นำวิชาการและนำไปสู่การเป็นต้นแบบที่ดีในการดำเนินงาน  ขอขอบคุณผู้บริหาร คณาจารย์และบุคลากรและนักศึกษาทุกคนในมหาวิทยาลัยต่างๆ ทั้ง 7 สถาบัน ที่เสียสละเวลาอันมีค่าในการให้ข้อมูล และการต้อนรับที่อบอุ่นและประทับใจ   ขอขอบคุณผู้มีส่วนร่วมในการทำให้งานวิจัยนี้สำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดีทุกคน

เอกสารอ้างอิง

1. Brach, Neil. Health Promotion at the Community Level. Sage  Publictions, International  Educational Educational and Profesional  Publisher, Thoundsand Oaks, London, 1998.

2. ประภาเพ็ญ  สุวรรณ และพัชรินทร์เล็กสวัสดิ์. การส่งเสริมสุขภาพ  ภาควิชาสุขศึกษาและพฤติกรรมศาสตร์  คณะสาธารณสุขศาสตร์  มหาวิทยาลัยมหิดล, 2541.

3. ประเวศ   วะสีและคณะ, องค์รวมแห่งสุขภาพ : ทัศนะใหม่เพื่อดุลยภาพแห่งชีวิตและการบำบัดรักษากรุงเทพมหานคร  สำนักพิมพ์มูลนิธิโกมลคีมทอง

4.ประสิทธิ์    ลีระพันธ์  แผนงานการพัฒนาสถาบันการศึกษาสาธารณสุขให้เป็นองค์กรแห่งการสร้างเสริมสุขภาพ  เอกสารประกอบการประชุมการพัฒนาสถาบันการศึกษาสาธารณสุขศาสตร์ให้เป็นองค์กรแห่งการสร้างเสริมสุขภาพ ที่จังหวัดลพบุรี, 2547.

5. ประสิทธิ์  ลีระพันธ์. ความสามารถของนักสาธารณสุขศาสตร์กับหลักสูตรสาธารณสุขแนวใหม่.ให้เป็นองค์กรแห่งการสร้างเสริมสุขภาพ ที่จังหวัดลพบุรี เอกสารประกอบการบรรยาย การการประชุมการพัฒนาสถาบันการศึกษาสาธารณสุขศาสตร์  26 –28 มิถุนายน 2548.

6. Xiangyang T, Lan Z. Xueping M, Tao Z, Yuzhen S, Jagusxtyn M. Beijing health promotion universities : practice and evaluation. Available from: URL www.pubmed.com//17 nov.2005

7. Stock C. Wille L, Kramer A. Gender-specific health behaviors of German  University students predict the interest in campus health promotion. PMID : 11356753

 

Untitled Document
Article Location

Untitled Document
Article Option
       Abstract
       Fulltext
       PDF File
Untitled Document
 
ทำหน้าที่ ดึง Collection ที่เกี่ยวข้อง แสดง บทความ ตามที่ีมีใน collection ที่มีใน list Untitled Document
Another articles
in this topic collection

Exercise in Older Adults (การออกกำลังกายในผู้สูงอายุ)
 
Health Care of the Golden Age Women (การรักษาสุขภาพของสตรีวัยทอง)
 
The Development of Health care Systems for the Movement Disability Patient at Sakon Nakhon Hospital (การพัฒนาระบบการดูแลสุขภาพคนพิการทางการเคลื่อนไหว ของสถานบริการเครือข่ายสุขภาพ โรงพยาบาลสกลนคร )
 
Self-care Behaviors of Chronic Otitis Media Patients at Out-Patient Department in Srinagarind Hospital (พฤติกรรมการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคหูน้ำหนวกเรื้อรัง แผนกผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลศรีนครินทร์)
 
<More>
Untitled Document
 
This article is under
this collection.

Health Care Delivery
 
 
 
 
Srinagarind Medical Journal,Faculty of Medicine, Khon Kaen University. Copy Right © All Rights Reserved.
 
 
 
 

 


Warning: Unknown: Your script possibly relies on a session side-effect which existed until PHP 4.2.3. Please be advised that the session extension does not consider global variables as a source of data, unless register_globals is enabled. You can disable this functionality and this warning by setting session.bug_compat_42 or session.bug_compat_warn to off, respectively in Unknown on line 0