หลักการและเหตุผล: ตำลึงและบัวบกเป็นผักพื้นบ้านและมีสรรพคุณในตำรับยาไทยแผนโบราณเป็ฯยารักษาโรคหลายชนิดยังไม่ทราบกลไกการออกฤทธิ์ที่แนชัดแต่อาจจะเกี่ยวข้องกับฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ วัตถุประสงค์: เพื่อตรวจสอบฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระในผักตำลึงและบัวบก วิธีการ: การตรวจหาฤทธิ์เข้าทำลายอนุมูลอิสระโดยใช้วิธี1,1-Diphenyl-2-picrylthdrazyl (DPPH), การวัดประมาณค่าต้านออกซิเดซันรวมโดยวิธี ferric reducing antioxidant power (FRAP) และการกำจัดสารอนุมูลอิสระที่ถูกกระตุ้นให้สร้างขึ้นภายในเซลล์แมกโครเฟจโดยวิธี dichlorofluoresein (DCF) ผลการศึกษา: สารสกัดตำลึงและบัวบกมีฤทธิ์กำจัดอนุมูลอิสระ DPPH โดยค่า EC50 ท่ากับ 164.78+5.63 และ 172.33 + 9.13 ไมโครกรัม/มล. ตามลำดับ โดยมีฤทธิ์น้อยกว่าวิตามินซีและ trolox ประมาณ 100 เท่า ฤทธิ์ต้านออกซิเดชันรวมของสารสกัดตำลึงหนัก 1 มก. มีค่าเท่ากับวิตามินซี 8.23 + 0.64 ไมโครกรัม, FeCl2 11.9 + 2.3 ไมโครกรัม และสารสกัดบัวบก 1 มก. มีฤทธิ์เท่ากับวงิตามินซี 8.01 + 1.57 ไมโครกรัม FeCl2 11.14 + 0.92 ไมโครกรัม นอกจากนี้สารสกัดตำลึงและบัวบกความเข้มข้น 100,300 ไมโครกรัม/มล. และ tiron 10,30 ไมโครกรัม/มล สามารถกำจัดสารอนุมธลอิสระที่ถูกกระต้นให้สร้างขึ้นในเซลล์ แมกโครเฟจ ได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P< 0.05) สรุป: ผลการศึกษาในครั้งนี้ถึงแม้ว่าสารสกัดตำลึงและบัวบกมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสารค่อนข้างน้อยในแง่ของการเป็นสารรีดิวซ์ในหลอดทดลองแต่ฤทธิ์การต้านอนุมูลอิสารในแบบจำลองของการกระตุ้นเซลล์ แมกโครเฟจ เป็นส่วนที่น่าสนใจและศึกษาต่อไป
Background : Coccinia grandis and Centella asistica are tropical vegetables and acclaimed in Thai folk medicind for treatment of various diseases. The mechanisms responsible for their pharmacological effects remain uncertain. The antioxidant activities. Are proposed to play role in th mechanism of action. Objectives : To investigate the antioxidant activities of C.grandis and C.asiatica. Method : Free radical scavenging activity was assessed by 1, 1 Diphenyl 2 picrylhydrazyl (DPPH) assay. Total antioxidant power (FRAP) assay. Intracellular oxygen radicals scavenging effect in rats peritoneal macrophages was evaluated by using fluorescent dichlorofluorescein probe. Results: C.grandis and C.asiatica extracts showed ability to scavenge DPPH radical with EC 50 values of 164.78+5.63 and 172.33+9.13 ug/ml, respectively. It appeared that their potency were about 100 folds less than that of ascorbic acid and trolox. Total antioxidant power of wxtracts, as assayed by FRAP method revealed that 1 mg of C. Grandis extract had reducing power comparable to ascorbic acid 8.23 + 0.64 ug or FeCl2 11.4+0.92 ug. In addition, both plant extracts at the concentration of 100, 300 ug/ma and tiron 10, 30 ug/ml significantly decreased the formation of oxygen radicals generated in rat peritoneal macrophages. Conclusins : Although both extracts had relatively low reducing power in these in vitro assays, however, thir antioxidant effects as shown in peritoneal macrophages may be of significance and worthwhile for further investigation.
|