Untitled Document
 
 
 
 
Untitled Document
Home
Current issue
Past issues
Topic collections
Search
e-journal Editor page

Diagnostic Accuracy of Knee Compression-Rotation Test for the Detection of Meniscal Tears

ความแม่นยำของการตรวจอัด-หมุนข้อเข่าเพื่อวินิจฉัยหมอนรองกระดูกข้อเข่าฉีกขาด

Surachai Sae-Jung (สุรชัย แซ่จึง) 1, Thanathep Benjasil (ธนัทเทพ เบญจศีล) 2




หลักการและเหตุผล  การตรวจร่างกายเพื่อวินิจฉัยหมอนรองกระดูกข้อเข่าฉีกขาดยังไม่มีวิธีที่มีความไว และความจำเพาะของการตรวจที่เป็นมาตรฐานเป็นที่ยอมรับโดยทั่วไป บ่อยครั้งการวินิจฉัยยังต้องอาศัยการใช้เครื่องมือสืบค้นราคาแพง เช่น การตรวจด้วยคลื่นสะท้อนสนามแม่เหล็ก(MRI) หรือวินิจฉัยโดยกล้องส่องข้อซึ่งผู้ป่วยต้องเข้ารับการผ่าตัด คณะผู้วิจัยจึงได้คิดค้นวิธีการตรวจร่างกายแบบใหม่เรียกว่า”การตรวจอัด-หมุนข้อเข่า” เพื่อการวินิจฉัยหมอนรองกระดูกข้อเข่าฉีกขาดเมื่อผู้ป่วยได้รับบาดเจ็บที่ข้อเข่า โดยศึกษาหาความไว ความจำเพาะ และความแม่นยำของวิธีการตรวจนี้ในการวินิจฉัยหมอนรองกระดูกข้อเข่าฉีกขาด

วัตถุประสงค์ : เพื่อศึกษาความไว ความจำเพาะ ความแม่นยำของการตรวจอัด-หมุนข้อเข่าเพื่อวินิจฉัยหมอนรองกระดูกข้อเข่าฉีกขาด

รูปแบบการศึกษา : การศึกษาแบบไปข้างหน้า

สถานที่ทำการศึกษา:โรงพยาบาลศรีนครินทร์ คณะแพทยศาสตร์ หาวิทยาลัยขอนแก่น

ผู้ป่วย และวิธีการ: ศึกษาในผู้ป่วยอายุตั้งแต่ 18 ปี ทั้งหมด 58 ราย ที่มีการบาดเจ็บของข้อเข่าซึ่งมารับการตรวจรักษาโดยการใช้กล้องส่องข้อ ณ โรงพยาบาลศรีนครินทร์ ผู้วิจัยบันทึกข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับสาเหตุการบาดเจ็บ อาการ และอาการแสดง ได้แก่ การตรวจอัด-หมุนข้อเข่า ผู้ป่วยทุกรายได้รับการตรวจพยาธิสภาพการบาดเจ็บภายในข้อเข่า ตลอดจนการตรวจรักษาผ่านกล้องส่องข้อ จากนั้นทำการเปรียบเทียบผลการตรวจร่างกายด้วยวิธีอัด-หมุนข้อเข่า เทียบกับผลการวินิจฉัยการบาดเจ็บของหมอนรองกระดูกข้อเข่าที่พบจากการตรวจด้วยกล้องส่องข้อ

ผลการวิจัย : ผู้ป่วยทั้งหมด 58 คน แบ่งเป็นเพศชาย 52 ราย และเพศหญิง 6 ราย ผู้ป่วยขณะที่เข้ารับการรักษามีอายุเฉลี่ย  26.19 + 5.66 ปี (18-39 ปี) จำแนกเป็น 47 คนได้รับบาดเจ็บจากการเล่นกีฬา และ11 คนบาดเจ็บจากอุบัติเหตุ ผลตรวจจากกล้องส่องข้อพบว่ามีการบาดเจ็บเฉพาะหมอนรองกระดูกด้านใน 28 คน มีการบาดเจ็บของหมอนรองกระดูกด้านนอก 8 คน มีการบาดเจ็บของหมอนรองกระดูกทั้งด้านใน และด้านนอก 9 คน และผลการตรวจอัด-หมุนข้อเข่าให้ผลบวก 38 คน ผลลบ 20 คน เมื่อนำมาคำนวนเปรียบเทียบกับผลตรวจจากกล้องส่องข้อพบว่า การตรวจอัด-หมุนข้อเข่า มีความไวในการวินิจฉัยหมอนรองกระดูกข้อเข่าฉีกขาดร้อยละ 84.44 มีความจำเพาะในการวินิจฉัยร้อยละ 100 และมีความแม่นยำร้อยละ 87.93

สรุป : การวินิจฉัยการบาดเจ็บของหมอนรองกระดูกข้อเข่าด้วยวิธีอัด-หมุนข้อเข่าให้ผลสอดคล้องกับการวินิจฉัยจากกล้องส่องข้อโดยพบว่ามีความไว ความจำเพาะ และความแม่นยำในการวินิจฉัยที่ดี ในขณะที่การตรวจนี้สามารถทำได้ง่ายตั้งแต่ที่ห้องตรวจผู้ป่วยนอก ดังนั้นการตรวจอัด-หมุนข้อเข่าสามารถช่วยการวินิจฉัยการฉีกขาดของหมอนรองกระดูกข้อเข่าได้เป็นอย่างดี ช่วยให้แพทย์สามารถให้คำแนะนำ ตลอดจนวางแผนการรักษาได้มีประสิทธิภาพมากขึ้นในท้ายที่สุด

 

Objective: The purpose of this study was to prospectively evaluate the diagnostic sensitivity, specificity and accuracy of a new dynamic clinical examination, named knee compression-rotation test, for detection of meniscal tears.

Study design: Prospective study for diagnostic test

Setting : Srinagarind hospital, Faculty of Medicine, Khon Kaen University

Patients and Methods: The injured knee patients, age from 18-39 years old, were included in this study. These 58 patients underwent knee arthroscopy.  During preoperative admission, the author examined the patients and recorded the demographic data, duration of symptoms and the clinical findings including knee compression-rotation test. All patients underwent arthroscopic examination by orthopaedic surgeon who did not involve in this study. Predictive results of preoperative knee compression-rotation test for  detection of meniscal tear were compared with arthroscopic findings and calculated as sensitivity, specificity and diagnostic accuracy rates.

Results: In 58 injured knee of 52 males and 6 females were 26.19 + 5.66 years old at the time of hospital admission. Eleven patients sustained injuries from traumatic events and 47 patients sustained sport injuries. Arthroscopic findings were a total of 28 medial  meniscal tears, 8 lateral meniscal tears and 9 of both medial and lateral meniscal tears. While the positive knee compression-rotation test was found in 38 patients and 20 patients were negative tests. The sensitivity, specificity and accuracy of the knee compression-rotation test were 84.44, 100 and 87.93% respectively, comparing with the diagnostic arthroscopy.

Conclusion: The sensitivity, specificity and diagnostic accuracy of the knee compression-rotation test are highly corresponded to the arthroscopic diagnosis of meniscal tears. So this test can diagnose the meniscal tear preoperatively and improve the patient surgical management finally.

บทนำ

หมอนรองกระดูกข้อเข่าฉีกขาดพบได้บ่อยจากการบาดเจ็บทางกีฬา และเป็นสาเหตุสำคัญอย่างหนึ่งที่นำผู้ป่วยมาพบแพทย์เพื่อรับการผ่าตัดรักษา1 การประเมินการบาดเจ็บของหมอนรองกระดูกข้อเข่ายังมีปัญหาเนื่องจากบ่อยครั้งที่การประเมินทำได้ไม่ง่ายนัก2,3,4 ในกรณีเหล่านี้การวินิจฉัยภาวะหมอนรองกระดูกฉีกขาดมักจำเป็นต้องใช้การสืบค้น(investigation) ที่มีค่าใช้จ่ายสูง เช่นการใช้เครื่องคลื่นสะท้อนสนามแม่เหล็ก(MRI) ซึ่งมีค่าความแม่นยำการวินิจฉัยอยู่ระหว่างร้อยละ70-95 ขึ้นอยู่กับความชำนาญของแพทย์รังสีวินิจฉัย การศึกษาของ Miller GK5 ศึกษาความแม่นยำของการตรวจหาการบาดเจ็บของหมอนรองกระดูกเข่าโดยเครื่องคลื่นสะท้อนสนามแม่เหล็กในคนที่ได้รับการวินิจฉัยเป็นหมอนรองกระดูกข้อเข่าฉีกขาด พบความแม่นยำร้อยละ 80.7 ทั้งยังพบว่าการตรวจคลื่นสะท้อนสนามแม่เหล็กอย่างเดียวโดยหากไม่ได้ใช้การตรวจทางคลินิกร่วมด้วยอาจทำให้การรักษาไม่เหมาะสม จึงแนะนำให้ทำในกรณีอาการของผู้ป่วยสงสัยการฉีกขาดของหมอนรองกระดูก แต่การตรวจร่างกายไม่ชัดเจน เช่นเดียวกันกับการศึกษาของ O’Shea KJ และคณะ6 ที่แนะนำว่าหากการตรวจร่างกายสามารถวินิจฉัยหมอนรองกระดูกข้อเข่าฉีกขาดได้แล้วไม่จำเป็นต้องสืบค้นเพิ่มเติมด้วยการตรวจด้วยภาพคลื่นสะท้อนสนามแม่เหล็กเสมอไป ทั้งข้อจำกัดเครื่องคลื่นสะท้อนสนามแม่เหล็กยังไม่มีใช้อย่างแพร่หลายในทุกพื้นที่ของประเทศ ส่วนการตรวจวินิจฉัยการบาดเจ็บของหมอนรองกระดูกข้อเข่าอย่างอื่นได้แก่การใช้กล้องส่องข้อ7,8 สามารถให้ผลการวินิจฉัยที่ถูกต้อง แต่ผู้ป่วยต้องเข้ารับการผ่าตัด ดังนั้นการวินิจฉัยจากอาการ และอาการแสดงทางคลินิกยังถือเป็นแนวทางการประเมินผู้ป่วยที่ยังจำเป็นอยู่เสมอ สำหรับการวินิจฉัยหมอนรองกระดูกข้อเข่าฉีกขาด ซึ่งการประเมินการบาดเจ็บของหมอนรองกระดูกข้อเข่าร้อยละ  72 สามารถประเมินได้จากการสัมภาษณ์ประวัติการได้รับบาดเจ็บของข้อเข่า ในขณะที่ยังไม่มีการตรวจร่างกายใดที่มีความไว และ ความจำเพาะสูง9 การตรวจร่างกายสำหรับกรณีนี้เองมีหลายวิธีสามารถจำแนกได้ ดังนี้ คือ10 การตรวจโดยการคลำแล้วมีอาการเจ็บ หรือมีเสียงดังลั่น เช่นการตรวจแมคเมอร์เรย์ (Mc Murray  test) และการตรวจโดยการหมุนแล้วมีอาการเจ็บ เช่นการตรวจแอพเลย์ (Apley test)   เพื่อเพิ่มความแม่นยำในการตรวจวินิจฉัยหมอนรองกระดูกข้อเข่าฉีกขาด คณะผู้วิจัยจึงพัฒนาวิธีการตรวจโดยใช้หลักการคลำ และการหมุนข้อเข่าแล้วสัมผัสซึ่งเสียงดังลั่น(cricking) และอาการเจ็บในข้อเข่าด้วยวิธีการตรวจที่เรียกว่า ”การตรวจโดยการอัด-หมุนข้อเข่า” เพื่อการวินิจฉัยหมอนรองกระดูกข้อเข่าฉีกขาด ซึ่งการตรวจด้วยหลักการนี้น่าจะเพิ่มความแม่นยำในการตรวจหาการฉีกขาดของหมอนรองกระดูกข้อเข่า โดยไม่เป็นอันตรายต่อผู้ป่วยแต่อย่างใด ทั้งยังเป็นการตรวจเพื่อวินิจฉัยที่ทำได้ง่าย ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการวินิจฉัยเพิ่มเติมเช่นการตรวจภาพคลื่นสะท้อนสนามแม่เหล็ก ดังนั้นเพื่อตอบคำถามที่ว่าการตรวจโดยการอัด-หมุนข้อเข่าสามารถใช้วินิจฉัยการฉีกขาดของหมอนรองกระดูกข้อเข่าได้มากน้อยเพียงใด คณะผู้วิจัยจึงได้จัดทำโครงการวิจัยนี้ขึ้นมาโดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความไว(sensitivity), ความจำเพาะ(specificity) และความแม่นยำ(accuracy) ของการตรวจอัด-หมุนข้อเข่าในการวินิจฉัยการบาดเจ็บของหมอนรองกระดูกข้อเข่า

ผู้ป่วย และวิธีการ

          ประชากร

          ศึกษาในผู้ป่วยที่มีปัญหาการบาดเจ็บในข้อเข่า ที่มาพบแพทย์ที่โรงพยาบาลศรีนครินทร์ และได้รับการตรวจภายในข้อเข่า ตลอดจนการรักษาผ่านกล้องส่องข้อ โดยผู้ป่วยได้รับการอธิบาย และต้องลงลายมือชื่อให้ความยินยอมเข้าร่วมการศึกษาตั้งแต่ก่อนผ่าตัด คณะผู้วิจัยเก็บข้อมูลทั่วไปของผู้ป่วย รวมถึงข้อมูลการสัมภาษณ์ประวัติ ตรวจร่างกายผู้ป่วยทั้งการตรวจอัด-หมุนข้อเข่าเพื่อการวินิจฉัยหมอนรองกระดูกข้อเข่าฉีกขาด จากนั้นเปรียบเทียบผลการวินิจฉัยเหล่านี้กับผลตรวจที่ได้จากพยาธิสภาพของการบาดเจ็บที่พบจากกล้องส่องข้อ โดยแพทย์ผู้ทำการตรวจร่างกายผู้ป่วยไม่ใช่คนเดียวกับแพทย์ผู้ตรวจรักษาผู้ป่วยด้วยกล้องส่องข้อ

เกณฑ์การคัดเข้า

          ผู้ป่วยอายุตั้งแต่ 18 ปี ที่มีอาการของการบาดเจ็บในข้อเข่าทุกรายโดยอาการเป็นมานานตั้งแต่ 2 เดือนขึ้นไป และยินยอมเข้าร่วมการศึกษา ผู้ป่วยได้ได้รับการตรวจ และการรักษาผ่านกล้องส่องข้อในโรงพยาบาลศรีนครินทร์

เกณฑ์การคัดออก

1.ผู้ป่วยที่มีการปวดข้อเข่ามากจากการบาดเจ็บเฉียบพลัน

2.ภาพถ่ายรังสีวินิจฉัยการบาดเจ็บของกระดูกข้อเข่าร่วมด้วย เช่นพบกระดูกข้อเข่าหักร่วมด้วย

3. เคยได้รับการผ่าตัดข้อเข่าข้างนั้นมาก่อน

4. มีความผิดปกติทางระบบประสาท

5. ได้รับบาดเจ็บของบริเวณอื่นใดของขาข้างนั้นร่วมด้วย

6. ผู้ป่วยไม่ยินยอมเข้าร่วมในการศึกษา

          การตรวจอัด-หมุนข้อเข่า(รูปที่1)

          การตรวจอัด-หมุนข้อเข่า กระทำโดยให้ผู้ป่วยนอนหงายลงบนเตียง งอเข่า และงอสะโพก ผู้ตรวจใช้มือข้างหนึ่งจับผู้ป่วยบริเวณข้อเข่า  โดยให้นิ้วชี้ และนิ้วหัวแม่มืออยู่บริเวณแนวของข้อ  อีกมือหนึ่งจับบริเวณข้อเท้าของผู้ป่วย  ทำการอัดข้อเข่าโดยใช้มือที่จับข้อเท้าผู้ป่วยออกแรงดันให้หมอนรองกระดูกข้อเข่าที่วางอยู่บนผิวข้อของกระดูกหน้าแข้งกดเข้าหาผิวข้อของกระดูกต้นขา จากนั้นมือข้างเดียวกันหมุนข้อเข่าเข้าด้านในจนสุด และหมุนออกด้านนอกจนสุด ในขณะที่ข้อเข่างอ 120 องศา, 90 องศา, 60 องศา,  30 องศา และข้อเข่าเหยียดตรงตามลำดับ ผลบวกหมายถึงผู้ป่วยมีอาการเจ็บบริเวณแนวข้อ หรือผู้ตรวจรู้สึกถึงเสียงอันเกิดจากการบดของหมอนรองกระดูกข้อเข่า  หากให้ผลบวกบริเวณแนวข้อด้านใน แสดงถึงการฉีกขาดของหมอนรองเข่าด้านใน  เช่นเดียวกันหากให้ผลบวกบริเวณแนวข้อด้านนอก แสดงถึงการฉีกขาดของหมอนรองเข่าด้านนอก

 

รูปที่ 1 การวินิจฉัยหมอนรองกระดูกข้อเข่าฉีกขาด โดยวิธีการตรวจอัด-หมุนข้อเข่าในขณะงอเข่า 120 องศา

 

สถานที่ทำการศึกษา

          โรงพยาบาลศรีนครินทร์  คณะแพทยศาสตร์  มหาวิทยาลัยขอนแก่น

          ระยะเวลาในการวิจัย

          10 เดือน (จาก1 สิงหาคม 2548 จนถึง 31 พฤษภาคม 2549)

ข้อพิจารณาทางด้านจริยธรรม

          โครงการวิจัยได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์มหาวิทยาลัยขอนแก่น เลขที่โครงการ HE480925

การวิเคราะห์ทางสถิติ

          ในการวิจัยนี้ใช้ข้อมูลการตรวจวินิจฉัยหมอนรองกระดูกข้อเข่าฉีกขาดด้วยการตรวจอัด-หมุนข้อเข่าตั้งแต่แรกรับผู้ป่วย และนำผลการตรวจเปรียบเทียบกับผลการวินิจฉัยแน่ชัดจากกล้องส่องข้อ และนำผลที่ได้คำนวณหาความไว, ความจำเพาะ  และความแม่นยำ ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้

ความไว เป็นคุณลักษณะของการตรวจวินิจฉัยที่จะบอกถึงสัดส่วนของผลบวกของการตรวจในผู้ป่วยที่มีหมอนรองกระดูกฉีกขาด หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งคือ ถ้าผู้ป่วยมีการฉีกขาดของหมอนรองกระดูกข้อเข่าจริงโอกาสที่ผลการตรวจจะให้ผลบวกเป็นร้อยละเท่าใด

ความจำเพาะ เป็นคุณลักษณะของการตรวจวินิจฉัยที่จะบอกถึงสัดส่วนของผลลบของการตรวจในคนปกติหรือกล่าวอีกนัยหนึ่งคือ ถ้าผู้ป่วยไม่มีการฉีกขาดของหมอนรองกระดูก หรือคนปกติ มีโอกาสที่ผลการตรวจจะให้ผลลบเป็นร้อยละเท่าใด

ความแม่นยำ  หมายถึงความแม่นยำของการตรวจที่จะบอกจำนวนหมอนรองกระดูกฉีกขาดได้อย่างแน่นอนเมื่อผลตรวจเป็นบวก และเมื่อได้ผลลบหมายถึงหมอนรองกระดูกไม่มีการฉีกขาดอย่างแน่นอนนั้นเป็นสัดส่วนเท่าใดของประชากรที่นำมาตรวจ

         

ผลการศึกษา

ผู้ป่วยทั้งหมด 58 คน อายุเฉลี่ย 26.19 + 5.66 ปี เป็นเพศชาย 52 คน เพศหญิง 6 คน ได้รับบาดเจ็บที่ข้อเข่าข้างขวา 25 คน ข้างซ้าย 33 คน ผลการตรวจจากกล้องส่องข้อพบว่ามีเอ็นไขว้หน้าขาดอย่างเดียว 9 คน เอ็นไขว้หน้าขาดร่วมกับหมอนรองกระดูกด้านใน 23 คน  เอ็นไขว้หน้าขาดร่วมกับหมอนรองกระดูกด้านนอกขาด 2 คน หมอนรองกระดูกด้านในขาดอย่างเดียว 5 คน หมอนรองกระดูกด้านนอกขาดอย่างเดียว 6  คน เอ็นไขว้หน้าขาดร่วมกับหมอนรองกระดูกทั้งด้านใน และนอก 9 คน ไม่มีการบาดเจ็บของเอ็นและหมอนรองกระดูก (การบาดเจ็บอื่น) 4 คน  ดังตารางที่ 1 สำหรับรายละเอียดผลการตรวจอัด-หมุนข้อเข่า รวมทั้งผลตรวจกล้องส่องข้อของผู้ป่วยแต่ละรายแสดงในตารางที่ 2

ผลการตรวจอัด-หมุนข้อเข่า และการวินิจฉัยหมอนรองกระดูกข้อเข่าฉีกขาดจากกล้องส่องข้อแสดงในตารางที่ 3, ผลการตรวจอัด-หมุนข้อเข่า และการวินิจฉัยหมอนรองกระดูกข้อเข่าด้านในฉีกขาดจากกล้องส่องข้อแสดงในตารางที่ 4 ส่วนผลการตรวจอัด-หมุนข้อเข่า และการวินิจฉัยหมอนรองกระดูกข้อเข่าด้านนอกฉีกขาดจากกล้องส่องข้อแสดงในตารางที่ 5 สำหรับผลการคำนวณความไว, ความจำเพาะ,ความแม่นยำ,ค่าพยากรณ์บวก(positive predictive value), ค่าพยากรณ์ลบ(negative predictive value), ผลบวกเท็จ(false positive) และผลลบเท็จ(false negative) ของวิธีตรวจอัด-หมุนข้อเข่าเทียบกับผลตรวจจากกล้องส่องข้อแสดงในตารางที่ 6

 

วิจารณ์

          การวินิจฉัยผู้ป่วยที่มีการบาดเจ็บของข้อเข่า การสัมภาษณ์ประวัติ และตรวจร่างกายมีความสำคัญอย่างมากเนื่องจากสามารถให้การวินิจฉัยการบาดเจ็บ เช่นการฉีกขาดของเส้นเอ็นในข้อเข่า เส้นเอ็นรอบข้อเข่า ถุงหุ้มข้อ ตลอดจนการฉีกขาดของหมอนรองกระดูกข้อเข่า ซึ่งมีความสำคัญต่อการวางแผนการรักษา ตลอดจนการพยากรณ์โรคอย่างยิ่ง การตรวจวินิจฉัยการฉีกขาดของหมอนรองกระดูกข้อเข่ายังคงมีปัญหาอยู่มากนับจาก McMurray11          ซึ่งได้อธิบายการตรวจทางคลินิกเพื่อวินิจฉัยการฉีกขาดของหมอนรองกระดูกตั้งในปี 1940 ตั้งแต่นั้นมาการตรวจวิธีนี้เป็นการตรวจวินิจฉัยขั้นปฐมภูมิ เพื่อการวางแผนการรักษาผ่าตัด มีการใช้แพร่หลายและพบว่าตรวจได้ร้อยละ 58  ในผู้ป่วยที่มีการฉีกขาดของหมอนรองกระดูกข้อเข่า ส่วน Corea12 ศึกษาความถูกต้องของ  Mc Murray  test พบว่ามีความไวร้อยละ 58.5 ความจำเพาะร้อยละ 93.4  การศึกษาของ Strartford และคณะ13 ศึกษาการตรวจแมคเมอร์เรย์พบว่ามีความไวร้อยละ  28 ความจำเพาะร้อยละ 94 ส่วนการศึกษาของ Evans และคณะ14 ศึกษาการตรวจแมคเมอร์เรย์ในการวินิจฉัยการฉีกขาดของหมอนรองกระดูกด้านในให้ผลคือ ความไวร้อยละ 16 ความจำเพาะร้อยละ 98  ค่าพยากรณ์บวกร้อยละ 83 และพบว่าประสบการณ์ของผู้ตรวจมีผลต่อความแม่นยำในการตรวจหาการฉีกขาดของหมอนรองกระดูกด้านในน้อยมาก ร่วมกับสรุปว่าการตรวจแมคเมอร์เรย์เพียงวิธีเดียวไม่สามารถวินิจฉัยการฉีกขาดของหมอนรองกระดูกข้อเข่าได้อย่างดีที่สุด แนวคิดการศึกษาของ Kurosaka และคณะ15 ที่ทำการตรวจด้วยแรงอัดตามแนวแกนข้อเข่า (axial force to knee) เทียบกับการตรวจแมคเมอร์เรย์ พบว่ามีค่าความไวร้อยละ 71 และ ความแม่นยำร้อยละ 73 ดีกว่าการตรวจแมคเมอร์เรย์ ซึ่งมีความไวร้อยละ 37 และความแม่นยำร้อยละ 51 จึงแนะนำว่าการตรวจด้วยแรงอัดตามแนวแกนข้อเข่ามีความสำคัญในการทำให้เกิดอาการปวดจากหมอนรองเข่าทำให้การวินิจฉัยหมอนรองกระดูกข้อเข่าฉีกขาดได้ดียิ่งขึ้น ทำนองเดียวกับ Karacharios และคณะ16 ทำการตรวจในท่ายืนแล้วหมุนตัวทิ้งน้ำหนักลงบนขาข้างเดียวโดยทำทั้งในผู้ป่วยและคนปกติเปรียบเทียบกัน ไม่พบว่าเป็นอันตรายแต่อย่างใด  แต่ข้อเสียคือไม่สามารถทำในผู้ป่วยที่ยืนไม่ได้ และไม่ได้ใช้กล้องส่องข้อเป็นการวินิจฉัยมาตรฐาน

            คณะผู้วิจัยจึงคิดว่าการตรวจด้วยการใช้แรงอัด พร้อมกับหมุนข้อเข่า สามารถให้การวินิจฉัยการฉีกขาดของหมอนรองกระดูกข้อเข่าได้แม่นยำขึ้น ซึ่งผลการศึกษาพบว่าการตรวจอัด-หมุนข้อเข่าเพื่อวินิจฉัยหมอนรองกระดูกข้อเข่าฉีกขาดมีความแม่นยำร้อยละ 87.93 มีค่าความไว และความจำเพาะร้อยละ 84.44 และ 100 ตามลำดับ จึงแนะนำว่าการตรวจด้วยวิธีอัด-หมุนข้อเข่าเป็นวิธีช่วยวินิจฉัยการฉีกขาดของหมอนรองกระดูกข้อเข่าที่ดีวิธีหนึ่งโดยหากให้ผลบวก หรือลบ จะมีความแม่นยำในการวินิจฉัยหมอนรองกระดูกฉีกขาด หรือไม่ฉีกขาดในระดับสูง ขณะเดียวกันผลบวกเท็จร้อยละ 0 และผลลบเท็จร้อยละ 15.56 หมายความว่าในผู้ป่วยที่ไม่มีการฉีกขาดของหมอนรองกระดูกโอกาสจะตรวจอัด-หมุนข้อให้ผลเป็นบวกน้อย และในผู้ป่วยที่มีการฉีกขาดของหมอนรองกระดูกโอกาสจะตรวจอัด-หมุนข้อให้ผลเป็นลบน้อยเช่นกัน สำหรับค่าพยากรณ์บวกร้อยละ 100 หมายความว่าหากผลตรวจอัด-หมุนข้อเข่าได้ผลบวกผู้ป่วยมีการฉีกขาดของหมอนรองกระดูกข้อเข่าแน่นอน ค่าพยากรณ์ลบร้อยละ 65.00 หมายถึงหากผลตรวจอัด-หมุนข้อเข่าได้ผลลบผู้ป่วยที่ข้อเข่าบาดเจ็บมีโอกาสที่จะไม่มีการฉีกขาดของหมอนรองกระดูกข้อเข่าถึงร้อยละ 65  นั่นคือการตรวจอัด-หมุนข้อเข่าช่วยให้แพทย์สามารถตรวจวินิจฉัยการฉีกขาดของหมอนรองกระดูกเข่าได้ตั้งแต่ก่อนผ่าตัดได้อย่างมั่นใจ ส่งผลให้แพทย์สามารถแนะนำ และวางแผนการรักษาได้ดียิ่งขึ้น อย่างไรก็ตามผลของค่าความแม่นยำในการวินิจฉัยการฉีกขาดของหมอนรองกระดูกข้อเข่าด้านใน หรือด้านนอก ซึ่งมีความแม่นยำร้อยละ 74.14 และ 65.51 ตามลำดับนั้นสามารถสรุปได้ว่าหากผลตรวจอัด-หมุนข้อเข่าให้ผลบวกหมายความว่ามีการฉีกขาดของหมอนรองกระดูกข้อเข่าค่อนข้างแน่ แต่ไม่ได้ชี้เฉพาะว่าเป็นการฉีกขาดของหมอนรองกระดูกข้อเข่าด้านใน หรือด้านนอกอย่างแน่ชัด ดังนั้นการตรวจอัด-หมุนข้อเข่าเป็นวิธีที่ดีวิธีหนึ่งที่ช่วยการวินิจฉัยหมอนรองกระดูกข้อเข่าฉีกขาดได้ และสามารถวางแผนการรักษาผู้ป่วยโดยการผ่าตัด หรือผ่าตัดผ่านกล้องส่องข้อได้ ซึ่งศัลยแพทย์จะได้เตรียมอุปกรณ์ หรือเครื่องมือในการผ่าตัดหมอนรองกระดูกข้อเข่าไว้ล่วงหน้าได้ก่อน ทั้งยังสามารถบอกการพยากรณ์โรคแก่ผู้ป่วยได้ดียิ่งขึ้น 

 

ตารางที่ 1 แสดงข้อมูลทั่วไปของผู้ป่วย

ผู้ป่วย

จำนวน

เพศ 1. ชาย

        2. หญิง

52

6

อายุ(ปี)

26.19 + 5.66

เข่า 1. ขวา

      2. ซ้าย

25

33

การบาดเจ็บ

1. เอ็นไขว้หน้า

2. หมอนรองกระดูกด้านใน

3. หมอนรองกระดูกด้านนอก

4.เอ็นไขว้หน้า และหมอนรองกระดูกด้านใน

5.เอ็นไขว้หน้า และหมอนรองกระดูกด้านนอก

6.เอ็นไขว้หน้า และหมอนรองกระดูกทั้งสองด้าน

7.อื่นๆ

 

9

5

6

23

2

9

4

 

ตารางที่ 2 แสดงรายละเอียดการบาดเจ็บ และการตรวจของผู้ป่วยทั้ง 58 ราย

อายุ(ปี)

เพศ

ข้างที่บาดเจ็บ

สาเหตุการบาดเจ็บ

ผลการตรวจพบโดยกล้องส่องข้อ

ผลการตรวจอัด-หมุนข้อเข่า

เอ็นไขว้หน้า

หมอนรองด้านใน

หมอนรองด้านนอก

18

หญิง

ขวา

อุบัติเหตุ

ขาด

ขาด

ไม่ขาด

ลบ

20

ชาย

ขวา

อุบัติเหตุ

ขาด

ขาด

ไม่ขาด

บวก

33

ชาย

ซ้าย

กีฬา

ขาด

ขาด

ขาด

บวก

24

หญิง

ซ้าย

กีฬา

ขาด

ขาด

ไม่ขาด

บวก

35

ชาย

ขวา

กีฬา

ขาด

ขาด

ไม่ขาด

บวก

26

ชาย

ขวา

กีฬา

ไม่ขาด

ไม่ขาด

ขาด

บวก

28

ชาย

ซ้าย

อุบัติเหตุ

ไม่ขาด

ไม่ขาด

ไม่ขาด

ลบ

22

ชาย

ซ้าย

กีฬา

ขาด

ขาด

ไม่ขาด

บวก

30

ชาย

ซ้าย

กีฬา

ไม่ขาด

ขาด

ไม่ขาด

ลบ

38

ชาย

ซ้าย

กีฬา

ขาด

ขาด

ขาด

บวก

27

ชาย

ขวา

กีฬา

ขาด

ไม่ขาด

ไม่ขาด

ลบ

19

ชาย

ขวา

กีฬา

ขาด

ขาด

ไม่ขาด

บวก

22

ชาย

ซ้าย

อุบัติเหตุ

ขาด

ไม่ขาด

ไม่ขาด

ลบ

27

ชาย

ซ้าย

กีฬา

ขาด

ไม่ขาด

ขาด

บวก

28

ชาย

ซ้าย

กีฬา

ไม่ขาด

ไม่ขาด

ไม่ขาด

ลบ

22

หญิง

ขวา

อุบัติเหตุ

ขาด

ขาด

ไม่ขาด

บวก

19

ชาย

ขวา

อุบัติเหตุ

ขาด

ขาด

ไม่ขาด

บวก

18

ชาย

ซ้าย

กีฬา

ขาด

ขาด

ขาด

บวก

39

หญิง

ซ้าย

กีฬา

ขาด

ขาด

ขาด

บวก

21

ชาย

ขวา

กีฬา

ขาด

ขาด

ไม่ขาด

บวก

20

ชาย

ขวา

กีฬา

ไม่ขาด

ไม่ขาด

ขาด

บวก

26

ชาย

ซ้าย

กีฬา

ขาด

ขาด

ไม่ขาด

บวก

25

ชาย

ซ้าย

กีฬา

ไม่ขาด

ขาด

ไม่ขาด

ลบ

34

ชาย

ซ้าย

กีฬา

ขาด

ขาด

ขาด

บวก

27

ชาย

ขวา

กีฬา

ขาด

ไม่ขาด

ไม่ขาด

ลบ

36

ชาย

ขวา

กีฬา

ขาด

ขาด

ไม่ขาด

บวก

22

ชาย

ซ้าย

กีฬา

ขาด

ขาด

ขาด

บวก

23

ชาย

ขวา

กีฬา

ขาด

ไม่ขาด

ไม่ขาด

ลบ

28

ชาย

ขวา

กีฬา

ขาด

ขาด

ไม่ขาด

บวก

25

ชาย

ซ้าย

กีฬา

ขาด

ขาด

ไม่ขาด

บวก

35

ชาย

ซ้าย

กีฬา

ไม่ขาด

ไม่ขาด

ขาด

บวก

32

ชาย

ขวา

กีฬา

ไม่ขาด

ไม่ขาด

ขาด

บวก

30

ชาย

ซ้าย

กีฬา

ไม่ขาด

ไม่ขาด

ขาด

บวก

24

ชาย

ขวา

กีฬา

ไม่ขาด

ไม่ขาด

ขาด

บวก

26

ชาย

ซ้าย

กีฬา

ขาด

ขาด

ไม่ขาด

บวก

25

หญิง

ขวา

อุบัติเหตุ

ขาด

ขาด

ไม่ขาด

ลบ

18

ชาย

ขวา

อุบัติเหตุ

ขาด

ขาด

ไม่ขาด

บวก

20

ชาย

ซ้าย

กีฬา

ขาด

ขาด

ขาด

บวก

22

หญิง

ซ้าย

กีฬา

ขาด

ขาด

ไม่ขาด

บวก

19

ชาย

ขวา

กีฬา

ขาด

ขาด

ไม่ขาด

บวก

39

ชาย

ขวา

กีฬา

ขาด

ไม่ขาด

ไม่ขาด

ลบ

25

ชาย

ขวา

กีฬา

ขาด

ขาด

ไม่ขาด

บวก

24

ชาย

ซ้าย

อุบัติเหตุ

ขาด

ไม่ขาด

ไม่ขาด

ลบ

28

ชาย

ซ้าย

กีฬา

ขาด

ไม่ขาด

ขาด

บวก

30

ชาย

ซ้าย

กีฬา

ไม่ขาด

ไม่ขาด

ไม่ขาด

ลบ

29

ชาย

ซ้าย

กีฬา

ไม่ขาด

ขาด

ไม่ขาด

ลบ

19

ชาย

ซ้าย

กีฬา

ขาด

ขาด

ขาด

บวก

19

ชาย

ขวา

กีฬา

ขาด

ไม่ขาด

ไม่ขาด

ลบ

22

ชาย

ขวา

กีฬา

ขาด

ขาด

ไม่ขาด

บวก

28

ชาย

ซ้าย

กีฬา

ขาด

ขาด

ขาด

บวก

33

ชาย

ซ้าย

กีฬา

ไม่ขาด

ขาด

ไม่ขาด

ลบ

31

ชาย

ซ้าย

กีฬา

ขาด

ขาด

ขาด

บวก

21

ชาย

ขวา

กีฬา

ขาด

ไม่ขาด

ไม่ขาด

ลบ

23

ชาย

ขวา

กีฬา

ขาด

ขาด

ไม่ขาด

บวก

32

ชาย

ซ้าย

อุบัติเหตุ

ขาด

ไม่ขาด

ไม่ขาด

ลบ

25

ชาย

ซ้าย

อุบัติเหตุ

ไม่ขาด

ไม่ขาด

ไม่ขาด

ลบ

28

ชาย

ซ้าย

กีฬา

ขาด

ขาด

ไม่ขาด

บวก

30

ชาย

ซ้าย

กีฬา

ไม่ขาด

ขาด

ไม่ขาด

ลบ

รวม(คน)

58

58

58

58

58

58

58

 

 

ตารางที่ 3 แสดงผลการตรวจอัด-หมุนข้อเข่า และการวินิจฉัยหมอนรองกระดูกข้อเข่าฉีกขาดจากกล้องส่องข้อ

หมอนรองกระดูก

หมอนรองกระดูก

 

     รวม

ฉีกขาด

ปกติ

การตรวจอัด-หมุนข้อเข่า         ผลบวก

38

0

38

                                                 ผลลบ

7

13

20

รวม

45

13

58

 

 

ตารางที่ 4 แสดงผลการตรวจอัด-หมุนข้อเข่า และการวินิจฉัยหมอนรองกระดูกข้อเข่าด้านในฉีกขาดจากกล้องส่องข้อ

หมอนรองกระดูกด้านใน

หมอนรองกระดูก

 

     รวม

ฉีกขาด

ปกติ

การตรวจอัด-หมุนข้อเข่า         ผลบวก

30

8

38

                                                 ผลลบ

7

13

20

รวม

37

21

58

 

ตารางที่ 5 แสดงผลการตรวจอัด-หมุนข้อเข่า และการวินิจฉัยหมอนรองกระดูกข้อเข่าด้านนอกฉีกขาดจากกล้องส่องข้อ

หมอนรองกระดูกด้านนอก

หมอนรองกระดูก

 

     รวม

ฉีกขาด

ปกติ

การตรวจอัด-หมุนข้อเข่า         ผลบวก

18

20

38

                                                 ผลลบ

0

20

20

รวม

18

40

58

 

 

ตารางที่ 6 แสดงความไว, ความจำเพาะ และความแม่นยำของการวินิจฉัยหมอนรองกระดูกข้อเข่าฉีกขาดด้วยการตรวจอัด-หมุนข้อเข่า

         

ค่า       การตรวจ

(ร้อยละ)

การตรวจอัด-หมุนข้อเข่าเพื่อวินิจฉัยหมอนรองกระดูกข้อเข่าฉีกขาด

การตรวจอัด-หมุนข้อเข่าเพื่อวินิจฉัยหมอนรองกระดูกข้อเข่าด้านในฉีกขาด

การตรวจอัด-หมุนข้อเข่าเพื่อวินิจฉัยหมอนรองกระดูกข้อเข่าด้านนอกฉีกขาด

ความไว

84.44

81.08

100

ความจำเพาะ

100

61.90

50.00

ความแม่นยำ

87.93

74.14

100

ค่าพยากรณ์บวก

100

78.95

47.37

ค่าพยากรณ์ลบ

65.00

65.00

65.51

ผลบวกเท็จ

0

38.10

50.00

ผลลบเท็จ

15.56

18.92

0

 

สรุป

            กล่าวโดยสรุปคือจากการศึกษาพบว่าการตรวจอัด-หมุนข้อเข่าเพื่อวินิจฉัยการฉีกขาดของหมอนรองกระดูกข้อเข่า มีค่าความไว ความจำเพาะ และความแม่นยำร้อยละ 84.44, 100 และ 87.93 ตามลำดับ นั่นคือในผู้ป่วยที่มีการบาดเจ็บของข้อเข่า หากตรวจข้อเข่าผู้ป่วยด้วยวิธีอัด-หมุนข้อเข่าได้ผลตรวจเป็นบวก วินิจฉัยได้ว่าผู้ป่วยมีการฉีกขาดของหมอนรองกระดูกข้อเข่าค่อนข้างแน่นอน ช่วยให้แพทย์วางแผนการรักษา หรือการผ่าตัดได้แน่นอนยิ่งขึ้น

 

กิตติกรรมประกาศ

คณะผู้วิจัยขอขอบคุณ ผู้ช่วยศาสตราจารย์นายแพทย์เสริมศักดิ์ สุมานนท์ หน่วยอนุสาขากีฬาเวชศาสตร์  ภาควิชาออร์โธปิดิกส์ คณะแพพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ที่เอื้อเฟื้อข้อมูลผลการตรวจข้อเข่าผู้ป่วยโดยกล้องส่องข้อ

 

เอกสารอ้างอิง

1. Howell GED. Clinical presentation of the knee. In:Bulstrode CJK, Buckwalter J, Carr A, Marsh L, Fairbank J, Wilson-Macdonald J, Bouden G, editors. Oxford textbook of orthopaedics and trauma. Volume 2. New York: Oxford University Press;2002:1108-13.

2. Daniel D, Daniels G, AronsonD. The diagnosis of meniscus pathology. Clin Orthop. 1982;163:218-24.

3. Bollen S. How I examine the knee. Curr Orthop. 2000;14:189-92.

4. DeHaven KE, Collins HR. Diagnosis of internal derangements of the knee. The role of arthroscopy. J Bone Joint Surg Am. 1975;57:802-10.

5. Miller GK. A prospective study comparing the accuracy of the clinical diagnosis of meniscus tear with magnetic resonance imaging and its effect on clinical outcome. Arthroscopy 1996;12:406-13.

6. O’shea KJ, Murphy KP, Heekin RD, HerzwurmPJ. The diagnostic accuracy of history, physical examination and radiographs in the evaluation of traumatic knee disorders. Am J Sports Med 1996;24:164-7.

7. Ireland J, Trickey EL, Stoker DJ. Arthroscopy and arthrography of the knee : a critical review. J Bone Joint Surg Br. 1980;62:3-6.

8. Gillies H, Seligson D. Precision in the diagnosis of meniscal lesions: a comparison of clinicalevaluation, arthrography, and arthroscopy. J Bone Joint Surg Am. 1979;61:343-6.

9. Miller III RH. Knee injuries, In: Canale ST, editor.  Campbell’s Operative Orthopaedics 10th ed. Philadelphia : Mosby; 2003:2165-338.

 10. Ma CB, Giffin JR, Harner CD. Physical examination of knee, In:Callaghan JJ, Rosenberg AG, Rubasu HE, Simonian PT, Wickiewicz TL, editors. The adult knee. Volume1. Philadelphia: Lippicott Williams and Wilkins; 2003:315-34.

 11. McMurray TP. The semilunar cartilage. Br J Surg 1942;29: 407-14.

12. Corea JR, Moussa M, al Othman A. McMurray’s test tested. Knee Surg Sports Traumatol Arthrosc 1994;2:70-2.

13. Stratford PW, Binkley J.  A review of the Mcmurray test: definition interpretation, and clinical usefulness.  J Ortho Sports Phys Ther. 1995;22: 116-20.

 14. Evans PJ, Bell GD, Frank CY. Prospective evaluation of the McMurray test. Am J Sports Med 1993;21:604-8.

15. Kurosaka M, Yaki M, Yoshiya S, Muratsu H, Mizuno K. Efficacy of the axially loaded pivot shit test for the diagnosis of a meniscal tear. Int orthop 1999;23:271-4.

16. Karacharios T, Hantes M, Zibis AH, Zachos V, Karantanas AH, Malizos KN. Diagnostic accuracyof a new test (the Thessaly test) for early detection of meniscal tears.J Bone Joint Surg Am. 2005;87:955-62.

 

 

Untitled Document
Article Location

Untitled Document
Article Option
       Abstract
       Fulltext
       PDF File
Untitled Document
 
ทำหน้าที่ ดึง Collection ที่เกี่ยวข้อง แสดง บทความ ตามที่ีมีใน collection ที่มีใน list Untitled Document
Another articles
in this topic collection

An Analysis of Orthopedic Injury Profiles of Pedestrian-Motor Vehicle in District Hospital (การวิเคราะห์รูปแบบภยันตรายทางออร์โธปิดิกส์ที่เกิดจากอุบัติเหตุบนท้องถนนในโรงพยาบาลชุมชน)
 
Risk Factors Analysis of Gram-Negative Osteomyelitis (การวิเคราะห์ปัจจัยเสี่ยงของการติดเชื้อกรัมลบในโพรงกระดูก)
 
Prevalence of Vitamin D Deficiency among Postmenopausal Women at Srinagarind Hospital, Khon Kaen Province, Thailand. (ความชุกของภาวะขาดวิตามินดีในสตรีวัยทองที่มารับการรักษาที่โรงพยาบาลศรีนครินทร์ จ.ขอนแก่น)
 
Appropriate Tibial Tunnel Angle and Knee Flexion Angle for Aiming Femoral Insertion in Endoscopic Anterior Curciate Ligament Reconstruction (มุมอุโมงค์ที่กระดูกแข้ง และมุมงอเข่าที่เหมาะสมในการเล็งจุดเกาะของเอ็นไขว้หน้า)
 
<More>
Untitled Document
 
This article is under
this collection.

Orthopedics
 
 
 
 
Srinagarind Medical Journal,Faculty of Medicine, Khon Kaen University. Copy Right © All Rights Reserved.
 
 
 
 

 


Warning: Unknown: Your script possibly relies on a session side-effect which existed until PHP 4.2.3. Please be advised that the session extension does not consider global variables as a source of data, unless register_globals is enabled. You can disable this functionality and this warning by setting session.bug_compat_42 or session.bug_compat_warn to off, respectively in Unknown on line 0