บทนำ
ความยึดมั่นผูกพันต่อองค์การ หมายถึงการที่สมาชิกขององค์การมีความรู้สึกเป็นหนึ่งเดียวกับองค์การ มีค่านิยมที่จะปฏิบัติงานเพื่อองค์การให้บรรลุเป้าหมายและมีความปรารถนาที่จะรักษาความเป็นสมาชิกขององค์การไว้โดยไม่ลาออกหรือโอนย้ายออกจากองค์การ แม้ว่าจะมีงานที่คล้ายคลึงหรือได้รับผลตอบแทนมากกว่า1-4 ดังนั้น จึงเป็นที่คาดหวังว่า หากองค์การสามารถทำให้บุคลากรมีความยึดมั่นผูกพันต่อองค์การได้มากเท่าใด ก็จะทำให้บุคลากรปรารถนาที่จะเป็นสมาชิกขององค์การต่อไป โดยจะทุ่มเทความรู้ความสามารถในการปฏิบัติงานอย่างเต็มที่ และมีผลการปฏิบัติงานเป็นที่น่าพอใจ ซึ่งจะเป็นผลดีต่อองค์การในที่สุด แต่เมื่อใดที่บุคลากรมีความยึดมั่นผูกพันต่อองค์การน้อย ความต้องการลาออกหรือโอนย้ายจะเพิ่มมากขึ้น ทำให้องค์การต้องรับภาระทั้งด้านเวลา ค่าใช้จ่าย และทรัพยากรต่างๆ ในการสรรหาและฝึกฝนบุคลากรที่เข้ามาปฏิบัติงานใหม่เพื่อทดแทนคนเก่า ส่งผลกระทบต่อคุณภาพการบริการ และทำให้การดำเนินงานต่างๆชะงักงัน ซึ่งแม้แต่ในประเทศสหรัฐอเมริกาเอง3,5 ก็ประสบกับปัญหานี้เช่นกัน
ความยึดมั่นผูกพันต่อองค์การของพยาบาลจะเกิดขึ้นได้เมื่อพยาบาลสามารถแสดงภาวะผู้นำของตนได้อย่างเต็มที่ และภาวะผู้นำที่เหมาะสมในยุคของการเปลี่ยนแปลงนี้ คือ ภาวะผู้นำเชิงปฏิรูป ซึ่งประกอบไปด้วย พฤติกรรมที่แสดงออกถึง บุคลิกภาพที่น่านับถือ เป็นคนมีเหตุผลเป็นแบบอย่างที่ดีสำหรับผู้ร่วมงานมีความน่าเชื่อถือและซื่อสัตย์ การยอมรับความแตกต่างของบุคคล เข้าใจสภาพความเป็นอยู่ ให้การยอมรับคุณค่าความต้องการและความแตกต่างของแต่ละบุคคล คอยดูแลและให้คำปรึกษาเพื่อให้ผู้ร่วมงานพัฒนาตนเองได้ประสบผลสำเร็จ การกระตุ้นโดยใช้สติปัญญา ให้ผู้ร่วมงานเกิดความคิดสร้างสรรค์เพื่อพัฒนางานให้ประสบผลสำเร็จ และการสร้างแรงบันดาลใจ การสร้างแรงจูงใจ เพื่อให้ผู้ร่วมงานเกิดความกระตือรือร้น เกิดแรงบันดาลใจ เกิดความท้าทายอยากทำงานอยากอุทิศตนและทุ่มเทความพยายามเป็นพิเศษในการทำงานอย่างเต็มความสามารถ6-9 หากพยาบาลใช้พฤติกรรมภาวะผู้นำเชิงปฏิรูปในบทบาทของผู้นำที่ไม่เป็นทางการ ในการปฏิบัติงานเป็นหัวหน้าเวร หัวหน้าทีม ผู้นำทีมในการให้การพยาบาลแก่ผู้ใช้บริการตลอด 24 ชั่วโมง ผู้นำผู้ป่วยและญาติ ผู้นำทีมสุขภาพในด้านการดูแลรักษา การป้องกันโรค การฟื้นฟูสุขภาพ และการส่งเสริมสุขภาพอนามัยของบุคคล ครอบครัว และชุมชน พร้อมทั้งมีส่วนร่วมในการวางแผนการปฏิบัติงาน วางแผนการจัดระบบงาน การชี้นำ และการควบคุมดูแลให้การพยาบาลผู้ป่วยอย่างมีคุณภาพ10-12 ได้ประสบผลสำเร็จจะเป็นการส่งเสริมให้พยาบาลมีกำลังใจในการปฏิบัติงาน รับรู้ว่าตนมีส่วนก่อให้เกิดผลสำเร็จของงาน และตีความได้ว่าผลของงานเป็นที่พึงพอใจทั้งต่อตนเองและเพื่อนร่วมงาน เปรียบเสมือนเป็นแรงจูงใจภายใน ( Internal Motivation ) ให้สามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด ทำให้เกิดความคาดหวังว่าจะมีโอกาสก้าวหน้าและประสบความสำเร็จในการทำงาน เปรียบเสมือนรางวัลที่พยาบาลได้รับจากการทำงานให้องค์การ ซึ่งความรู้สึกนี้จะมีความสัมพันธ์กับความยึดมั่นผูกพันต่อองค์การ ทำให้การลาออกหรือโอนย้ายจากองค์การลดลงได้13-16
นอกจากการแสดงพฤติกรรมภาวะผู้นำเชิงปฏิรูปที่มีอิทธิพลต่อความยึดมั่นผูกพันต่อองค์การแล้ว ประสบการณ์ในการทำงานยังเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่มีอิทธิพลต่อความยึดมั่นผูกพันต่อองค์การของพยาบาลร่วมด้วย กล่าวคือ บุคคลเมื่อเข้าปฏิบัติงานในองค์การ จะเกิดการรับรู้ว่า องค์การได้สร้างสภาพแวดล้อมตอบสนองต่อความต้องการของตนได้มากน้อยเพียงใด หรือในช่วงที่ปฏิบัติงานนั้นตนได้รับประสบการณ์ในทางที่เป็นคุณหรือโทษแก่ตนอย่างไรบ้าง ประสบการณ์ในการทำงานนี้เป็นอิทธิพลของการกล่อมเกลาการเรียนรู้ทางสังคม ( Major socializing force )และเป็นความผูกพันทางจิตวิทยาที่องค์การเป็นผู้สร้างขึ้นให้แก่บุคลากร ได้แก่ ทัศนคติของกลุ่มต่อองค์การ ความรู้สึกว่าตนมีความสำคัญต่อองค์การ ความรู้สึกว่าองค์การเป็นที่พึ่งพิงได้ ความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน และการได้รับการพัฒนา ซึ่งการรับรู้สิ่งต่างๆเหล่านี้เกิดจากองค์การได้มองเห็นความสำคัญของบุคลากรและจัดสรรสิ่งต่างๆให้แก่บุคลากรเพื่อเสริมสร้างกำลังใจ สร้างความมั่นคงปลอดภัยให้เกิดขึ้นกับบุคลากรและหน่วยงาน เพื่อต้องการความคงอยู่อย่างมีคุณภาพ หากบุคลากรรับรู้ในสิ่งที่ดีและมีประโยชน์ต่อตนเองแล้วจะส่งผลให้บุคลากรเกิดความไว้วางใจ รู้สึกมั่นคงปลอดภัย มีโอกาสเกิดความก้าวหน้าและประสบผลสำเร็จในการปฏิบัติงาน ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่จะเพิ่มความรู้สึกผูกพันต่อองค์การได้ ความรู้สึกเหล่านี้ทำให้บุคลากรเกิดความยึดมั่นผูกพันต่อองค์การและคงอยู่กับองค์การตลอดไป10,14,16
จากนโยบายของรัฐ ด้านสังคมเศรษฐกิจ ด้านเทคโนโลยี ด้านความคิด ความเชื่อ และค่านิยมของผู้ใช้บริการที่เปลี่ยนไป สิ่งเหล่านี้ได้ส่งผลกระทบต่อระบบองค์การพยาบาลอยู่ตลอดเวลา ทำให้มีการลาออก โอนย้ายอยู่เสมอ ถึงแม้จะมีการรับบุคลากรใหม่เข้ามาทดแทนแต่ก็ไม่สมดุลกับจำนวนที่ลาออก หรือโอนย้ายไป เช่น แผนกการพยาบาลศัลยกรรมฯ ได้มีการลาออก โอนย้ายของพยาบาลปี 46 ทั้งหมด 3 ราย คิดเป็นร้อยละ 6 และ ปี 47 ทั้งหมด 5 ราย คิดเป็นร้อยละ 8.2 ทำให้ขาดอัตรากำลังในการปฏิบัติงาน ต้องขึ้นปฏิบัติงานในวันหยุด ระยะเวลาการปฏิบัติงานที่ยาวนาน และต้องใช้ภาวะผู้นำในการปฏิบัติงานเกือบตลอดเวลา ทั้งงานประจำและงานต่างๆที่ได้รับมอบหมาย ท่ามกลางภาวะการเปลี่ยนแปลงด้านนโยบายในเรื่องการพัฒนาและรับรองคุณภาพโรงพยาบาลและการประกันสุขภาพถ้วนหน้า จึงต้องปฏิบัติงานภายใต้คุณภาพและมาตรฐานที่ถูกตรวจสอบอยู่ตลอดเวลา ทำให้เกิดการรับรู้ที่เปลี่ยนไป บรรยากาศในการทำงานตึงเครียด ขาดความไว้วางใจซึ่งกันและกัน มีปัญหาการร้องเรียนเกิดขึ้นเป็นระยะๆ ทำให้เกิดความกดดันจากลักษณะงาน ซึ่งสิ่งต่างๆเหล่านี้ส่งผลให้ผู้ปฏิบัติงานเกิดความอ่อนหล้า เหนื่อยหน่าย ในการปฏิบัติงานและเกิดความคิดอยากออกจากองค์การโดยลาออกหรือโอนย้ายไปอยู่ที่อื่นที่เป็นทางเลือกที่ดีกว่า เช่นโอนย้ายหรือลาออกเพื่อไปเป็นอาจารย์พยาบาลในสถานศึกษา ลาออกเพื่อศึกษาต่อและมองหาทางเลือกอื่นที่ดีกว่า ลาออกเพื่อไปทำงานในที่ที่ให้ค่าตอบแทนหรือสวัสดิการที่ดีกว่า ซึ่งแม้แต่ในตะวันตกตอนกลางของประเทศสหรัฐอเมริกาเองก็พบปัญหาการลาออกและเปลี่ยนงานของพยาบาลจำนวน 183 คนด้วยเช่นกัน คิดเป็นร้อยละ 6.8 จากเหตุผลที่ว่า งานหนัก ระยะเวลาในการทำงานที่ยาวนาน และต้องขึ้นปฏิบัติงานในวันหยุด ตอนกลางคืน หรือแม้แต่วันที่ลาพักผ่อน และอีกเหตุผลหนึ่งคือ ความคับข้องใจของพยาบาลเกี่ยวกับคุณภาพการดูแล ในขณะที่พยาบาลมีจำนวนน้อยแต่ปริมาณงานกลับมีจำนวนมาก ความสามารถอย่างล้นเหลือของพยาบาลคงไม่อาจรองรับปริมาณงานที่มากอย่างไร้ขีดจำกัดได้ สิ่งเหล่านี้จะทำให้ผู้ใช้บริการรู้สึกปลอดภัยและงานนั้นมีคุณภาพมาตรฐานได้อย่างไร 5
แผนกการพยาบาลศัลยกรรมฯโรงพยาบาลศรีนครินทร์ เป็นองค์การหนึ่งที่ต้องการจะสร้างความยึดมั่นผูกพันต่อองค์การให้เกิดกับพยาบาลทุกคน ดังนั้นผู้วิจัยจึงต้องการศึกษาถึงภาวะผู้นำเชิงปฏิรูป ประสบการณ์ในการทำงานของพยาบาล และความยึดมั่นผูกพันต่อองค์การ ในแผนกการพยาบาลศัลยกรรมและออร์โธปิดิกส์ โรงพยาบาลศรีนครินทร์
วิธีการ ( Method )
งานวิจัยนี้เป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาหลัก เรื่อง อิทธิพลของภาวะผู้นำเชิงปฏิรูปและประสบการณ์ในการทำงานต่อความยึดมั่นผูกพันต่อองค์การของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลมหาวิทยาลัย โดยเป็นการศึกษานำร่อง ( Pilot study ) เพื่อทดลองใช้เครื่องมือ ซึ่งใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงบรรยาย ( Descriptive research ) ในพยาบาลประจำการแผนกการพยาบาลศัลยกรรมฯจำนวน 30 ราย ซึ่งเป็นการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง คือ เป็นพยาบาลประจำการปฏิบัติงานอย่างน้อย 1 ปีขึ้นไป และไม่ใช่กลุ่มตัวอย่างของการศึกษาหลัก ตัวแปรในการวิจัย คือ ภาวะผู้นำเชิงปฏิรูป ประกอบด้วย บุคลิกภาพที่น่านับถือ การยอมรับความแตกต่างของบุคคล การกระตุ้นโดยใช้สติปัญญา การสร้างแรงบันดาลใจ และตัวแปรด้านประสบการณ์ในการทำงาน ประกอบด้วย ทัศนคติของกลุ่มต่อองค์การ ความรู้สึกว่าตนมีความสำคัญต่อองค์การ ความรู้สึกว่าองค์การเป็นที่พึ่งพิงได้ ความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน การได้รับการพัฒนา และความยึดมั่นผูกพันต่อองค์การ
เครื่องมือการวิจัย
เมื่อผ่านการพิจารณาทางด้านจริยธรรมและได้รับการรับรองจากคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่นแล้ว ผู้วิจัย ได้ดำเนินการเก็บข้อมูล โดยแจกแบบสอบถามด้วยตนเองและนัดรับแบบสอบถามคืนใน 1 สัปดาห์ ติดตามจนครบทั้ง 30 ชุด ซึ่งแบบสอบถามประกอบไปด้วย 4 ส่วน ดังนี้
ส่วนที่ 1. แบบสอบถามข้อมูลทั่วไป ได้แก่ อายุ สถานภาพสมรส ระดับการศึกษา ตำแหน่ง ระยะเวลาที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาล
ส่วนที่ 2. แบบสอบถามปัจจัยด้านพฤติกรรมภาวะผู้นำเชิงปฏิรูป ผู้วิจัยดัดแปลงมาจากแบบวัดพฤติกรรมภาวะผู้นำเชิงปฏิรูปของ ผ่องฉวี เพียรรู้จบ4 ซึ่งใช้วัดภาวะผู้นำของพยาบาลระดับผู้บริหารโดยปรับมาวัดภาวะผู้นำของพยาบาลระดับปฏิบัติการ ซึ่งสร้างขึ้นจากทฤษฎีภาวะผู้นำของ Bass และ Avolio9
จำนวน 24 ข้อ ค่าความเที่ยงของแบบสอบถามได้จากการทดลองใช้ในกลุ่มตัวอย่างนี้เท่ากับ 0.86 ลักษณะแบบสอบถามเป็นแบบสอบถามปลายปิดที่มีข้อคำถามความคิดเห็นทางบวก โดยการตอบแบบสอบถามมีตัวเลือกตอบเป็นมาตราส่วนประมาณค่า ( Rating Scale ) 5 ระดับตามแนวทางของ Likert มีเกณฑ์การแปลผลระดับคะแนนเฉลี่ยการแสดงพฤติกรรมภาวะผู้นำเชิงปฏิรูปของพยาบาลดังนี้
ระดับคะแนนเฉลี่ย ระดับความคิดเห็นการแสดงพฤติกรรมภาวะผู้นำเชิงปฏิรูป
4.50-5.00 การแสดงพฤติกรรมความเป็นผู้นำเชิงปฏิรูปของพยาบาลระดับปฏิบัติการอยู่ในระดับสูงมาก
3.50-4.49 การแสดงพฤติกรรมความเป็นผู้นำเชิงปฏิรูปของพยาบาลระดับปฏิบัติการอยู่ในระดับสูง2.50-3.49 การแสดงพฤติกรรมความเป็นผู้นำเชิงปฏิรูปของพยาบาลระดับปฏิบัติการอยู่ในระดับปานกลาง
1.50-2.49 การแสดงพฤติกรรมความเป็นผู้นำเชิงปฏิรูปของพยาบาลระดับปฏิบัติการอยู่ในระดับต่ำ
1.00-1.49 การแสดงพฤติกรรมความเป็นผู้นำเชิงปฏิรูปของพยาบาลระดับปฏิบัติการอยู่ในระดับต่ำมาก
ส่วนที่ 3. แบบสอบถามปัจจัยด้านประสบการณ์ในการทำงาน ผู้วิจัยดัดแปลงมาจากแบบวัด ประสบการณ์ในการทำงานของ วัลภา ศรีบุญพิมพ์สวย2 โดยสร้างขึ้นจากแนวคิดของ Steers5 ซึ่งเดิมมี 38 ข้อ ผู้วิจัยเพิ่มเติมเพื่อความครอบคลุมอีก 2 ข้อรวมเป็น 40 ข้อ ค่าความเที่ยงของแบบสอบถามได้จากการทดลองใช้ในกลุ่มตัวอย่างนี้เท่ากับ 0.86 ลักษณะแบบสอบถามเป็นแบบสอบถามปลายปิดที่มีข้อคำถามความคิดเห็นทั้งทางบวกและทางลบ ตอบแบบสอบถามโดยมีตัวเลือกตอบเป็นมาตราส่วนประมาณค่า ( Rating Scale ) 5 ระดับตามแนวทางของ Likert มีเกณฑ์การแปลผลระดับคะแนนเฉลี่ยการรับรู้ในด้านประสบการณ์ในการทำงาน ดังนี้
คะแนนเฉลี่ย ระดับความคิดเห็นการรับรู้ประสบการณ์ในการทำงาน
4.50-5.00 การรับรู้เกี่ยวกับประสบการณ์ในการทำงานของพยาบาลระดับปฏิบัติการอยู่ในระดับสูงมาก
3.50-4.49 การรับรู้เกี่ยวกับประสบการณ์ในการทำงานของพยาบาลระดับปฏิบัติการอยู่ในระดับสูง
2.50-3.49 การรับรู้เกี่ยวกับประสบการณ์ในการทำงานของพยาบาลระดับปฏิบัติการอยู่ในระดับปานกลาง
1.50-2.49 การรับรู้เกี่ยวกับประสบการณ์ในการทำงานของพยาบาลระดับปฏิบัติการอยู่ในระดับต่ำ
1.00-1.49 การรับรู้เกี่ยวกับประสบการณ์ในการทำงานของพยาบาลระดับปฏิบัติการอยู่ในระดับต่ำมาก
ส่วนที่ 4. แบบสอบถามความยึดมั่นผูกพันต่อองค์การ ผู้วิจัยดัดแปลงมาจากแบบวัดความยึดมั่นผูกพันต่อองค์การของ วัลภา ศรีบุญพิมพ์สวย2 ตามกรอบแนวคิดของ Porter และคณะ15 ซึ่งเดิมมี 14 ข้อ ผู้วิจัยเพิ่มเติมเป็น 15 ข้อ ค่าความเที่ยงของแบบสอบถามได้จากการทดลองใช้ในกลุ่มตัวอย่างนี้เท่ากับ 0.85 ลักษณะแบบสอบถามเป็นแบบสอบถามปลายปิดที่มีข้อคำถามความคิดเห็นทั้งทางบวกและทางลบ ตอบแบบสอบถามโดยมีตัวเลือกตอบเป็นมาตราส่วนประมาณค่า ( Rating Scale ) 5 ระดับตามแนวทางของ Likert มีเกณฑ์การแปลผลระดับคะแนนเฉลี่ยความยึดมั่นผูกพันต่อองค์การ ดังนี้
คะแนนเฉลี่ย ระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับความยึดมั่นผูกพันต่อองค์การ
4.50-5.00 การแสดงพฤติกรรมความเป็นผู้นำเชิงปฏิรูปของพยาบาลระดับปฏิบัติการอยู่ในระดับสูงมาก 3.50-4.49 การแสดงพฤติกรรมความเป็นผู้นำเชิงปฏิรูปของพยาบาลระดับปฏิบัติการอยู่ในระดับสูง 2.50-3.49 การแสดงพฤติกรรมความเป็นผู้นำเชิงปฏิรูปของพยาบาลระดับปฏิบัติการอยู่ในระดับปานกลาง 1.50-2.49 การแสดงพฤติกรรมความเป็นผู้นำเชิงปฏิรูปของพยาบาลระดับปฏิบัติการอยู่ในระดับต่ำ 1.00-1.49 การแสดงพฤติกรรมความเป็นผู้นำเชิงปฏิรูปของพยาบาลระดับปฏิบัติการอยู่ในระดับต่ำมาก
การวิเคราะห์ข้อมูล
วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS โดยกำหนดค่าความเชื่อมั่นในระดับ .05 ข้อมูลทั่วไปวิเคราะห์โดยใช้ความถี่ และร้อยละ ข้อมูลด้านพฤติกรรมภาวะผู้นำเชิงปฏิรูป ด้านประสบการณ์ในการทำงาน และความยึดมั่นผูกพันต่อองค์การ วิเคราะห์โดยใช้ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ความสัมพันธ์โดยใช้สถิติค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ( Pearsons Product Moment Correlation Coefficient )
ผลการวิจัย ( Results )
การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษานำร่องเพื่อทดลองใช้เครื่องมือเพื่อนำไปใช้ในการศึกษาหลัก และเพื่อศึกษาภาวะผู้นำเชิงปฏิรูป การรับรู้ในด้านประสบการณ์ในการทำงาน และความยึดมั่นผูกพันต่อองค์การของพยาบาลแผนกการพยาบาลศัลยกรรมและออร์โธปิดิกส์ โรงพยาบาลศรีนครินทร์ จำนวน 30 คน เก็บข้อมูลเดือนกุมภาพันธ์ 2548 ได้แบบสอบถามครบและสมบูรณ์ทั้ง 30 ชุด คิดเป็นร้อยละ 100 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป SPSS ได้ผลการวิจัย ดังนี้
- กลุ่มตัวอย่างพยาบาลที่ปฏิบัติงานในแผนกการพยาบาลศัลยกรรมฯมีอายุระหว่าง 31-40 ปี จำนวนมากที่สุด ร้อยละ 56.7 สถานภาพสมรสคู่มากที่สุด ร้อยละ 60 ระดับการศึกษาปริญญาตรีมากที่สุด ร้อยละ 86.7 ตำแหน่งระดับขั้นซี 3-8 มากที่สุดร้อยละ 100 และระยะเวลาที่ปฏิบัติงานในแผนกการพยาบาลศัลยกรรมฯ 6-10 ปี มากที่สุด ร้อยละ 46.7
- พยาบาลที่ปฏิบัติงานในแผนกการพยาบาลศัลยกรรมฯมีพฤติกรรมภาวะผู้นำเชิงปฏิรูป โดยรวมอยู่ในระดับสูง ( `
X = 3.99 , SD = 2.51 ) และในรายด้านพบว่าอยู่ในระดับสูงทั้ง 4 ด้าน
ดังแสดงในตารางที่ 1
ภาวะผู้นำเชิงปฏิรูป ด้านการสร้างแรงบันดาลใจ ด้านการกระตุ้นโดยใช้สติปัญญา และด้านบุคลิก
ภาพที่น่านับถือ มีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับปานกลางกับความยึดมั่นผูกพันต่อองค์การอย่างมีนัย
สำคัญทางสถิติ ( r = 0.436, r = 0.405, r = 0.387, r = 0.365 ตามลำดับ ) และภาวะผู้นำเชิงปฏิรูป ด้านการ
ยอมรับความแตกต่างของบุคคลมีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับต่ำกับความยึดมั่นผูกพันต่อองค์การอย่างมี
นัยสำคัญทางสถิติ ( r = 0.191 )
พยาบาลที่ปฏิบัติงานในแผนกการพยาบาลศัลยกรรมฯมีการรับรู้ด้านประสบการณ์ในการ
ทำงานเฉลี่ยโดยรวมอยู่ในระดับสูง ( ` X = 4.05 , SD = 3.29 ) และในรายด้าน พบว่า ความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน การได้รับการพัฒนา และความรู้สึกว่าตนมีความสำคัญต่อองค์การ มีค่าคะแนนเฉลี่ยอยู่ในระดับสูง ( ` X = 3.95 , SD = 3.86 ; ` X = 3.70 , SD = 3.13 ;` X = 3.61 , SD = 3.15 ตามลำดับ ) ส่วนความรู้สึกว่าองค์การเป็นที่พึ่งพิงได้ และทัศนคติของกลุ่มต่อองค์การ มีค่าคะแนนเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง ( ` X = 3.37 , SD = 3.01 ;` X = 3.17 , SD = 3.33 ) ดังแสดงในตารางที่ 2
ประสบการณ์ในการทำงานด้าน ความรู้สึกว่าตนมีความสำคัญต่อองค์การ การได้รับการพัฒนาความรู้สึกว่าองค์การเป็นที่พึ่งพิงได้ ความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน และทัศนคติของกลุ่มต่อองค์การมีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับปานกลางกับความยึดมั่นผูกพันต่อองค์การอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ( r = 0.648, r = 0.551, r = 0.503, r = 0.475, r = 0.455, r = 0.372 ตามลำดับ )
- พยาบาลที่ปฏิบัติงานในแผนกการพยาบาลศัลยกรรมฯ มีความยึดมั่นผูกพันต่อองค์การโดยรวม
อยู่ในระดับสูง ( ` X = 3.88, S.D. = 0.66 ) และในรายด้าน พบว่า ด้านความเชื่ออย่างแรงกล้า การยอมรับเป้าหมายและค่านิยมขององค์การ และด้านความเต็มใจที่จะใช้ความพยายามอย่างมากในการปฏิบัติงานเพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อองค์การ อยู่ในระดับสูง (` X = 4.27, S.D. = 0.57 , ` X = 4.19, S.D. = 0.68 ) ส่วนด้านความปรารถนาอย่างแรงกล้าที่จะคงไว้ซึ่งความเป็นสมาชิกขององค์การ อยู่ในระดับปานกลาง ( ` X = 3.38, S.D. = 0.75 ) ดังแสดงในตารางที่ 3
ตารางที่ 1 ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของคะแนนตัวแปร ด้านภาวะผู้นำเชิงปฏิรูปของพยาบาลแผนกการพยาบาลศัลยกรรมฯ จำแนกรายด้านและโดยรวม
( n = 30 )
ภาวะผู้นำเชิงปฏิรูป |
ค่าเฉลี่ย |
ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (` X ) |
ระดับความคิดเห็น
( S.D. ) |
ด้านบุคลิกภาพที่น่านับถือ |
4.33 |
2.50 |
สูง |
ด้านการยอมรับความแตกต่างของบุคคล |
4.02 |
2.89 |
สูง |
ด้านการกระตุ้นโดยใช้สติปัญญา |
4.05 |
1.78 |
สูง |
ด้านการสร้างแรงบันดาลใจ |
3.52 |
2.89 |
สูง |
โดยรวม |
3.99 |
2.51 |
สูง |
ตารางที่ 2 ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของคะแนนตัวแปรด้านประสบการณ์ในการทำงานของพยาบาลแผนกการพยาบาลศัลยกรรมฯ จำแนกรายด้านและโดยรวม ( n = 30 )
ประสบการณ์ในการทำงาน |
ค่าเฉลี่ย |
ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (` X ) |
ระดับความคิดเห็น
( S.D. ) |
- ด้านทัศนคติของกลุ่มต่อองค์การ |
3.17 |
3.33 |
ปานกลาง |
- ด้านความรู้สึกว่าตนมีความสำคัญต่อองค์การ |
3.61 |
3.15 |
สูง |
ด้านความรู้สึกว่าองค์การเป็นที่พึ่งพิงได้ |
3.37 |
3.01 |
ปานกลาง |
ด้านความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน |
3.95 |
3.86 |
สูง |
ด้านการได้รับการพัฒนา |
3.70 |
3.13 |
สูง |
โดยรวม |
4.05 |
3.29 |
สูง |
ตารางที่ 3 ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของคะแนนตัวแปรด้านความยึดมั่นผูกพันต่อองค์การของพยาบาลแผนกการพยาบาลศัลยกรรมฯ จำแนกรายด้านและโดยรวม ( n = 30 )
ความยึดมั่นผูกพันต่อองค์การ |
ค่าเฉลี่ย
(` X ) |
ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ( S.D. ) |
ระดับความคิดเห็น
|
- ด้านความเชื่องช้าอย่างแรงกล้าการยอมรับเป้าหมายและค่านิยมขององค์การ |
4.27 |
0.57 |
สูง |
- ความเต็มใจที่จะใช้ความพยายามอย่างมากในการปฏิบัติงานเพ่อให้เกิดประโยชน์ต่อองค์การ |
4.19 |
0.68 |
สูง |
- ความปรารถนาอย่างแรงกล้าที่จะคงไว้ซึ่งความเป็นสมาชิกขององค์การ |
3.38 |
0.75 |
ปานกลาง |
โดยรวม |
3.88 |
0.66 |
สูง |
ตารางที่ 4 ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรด้านภาวะผู้นำเชิงปฏิรูป และด้านประสบการณ์ในการทำงาน กับความยึดมั่นผูกพันต่อองค์การของพยาบาลแผนกการพยาบาลศัลยกรรมฯ จำแนกโดยรวมและรายด้าน ( n = 30 )
ตัวแปร |
ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์
( r ) |
ระดับ
ความสัมพันธ์ |
ด้านภาวะผู้นำเชิงปฏิรูป
- การสร้างแรงบันดาลใจ
- การกระตุ้นโดยใช้สติปัญญา
- บุคลิกภาพที่น่านับถือ
- การยอมรับความแตกต่างของบุคคล
ด้านประสบการณ์ในการทำงาน
-ความรู้สึกว่าตนมีความสำคัญต่อองค์การ
-การได้รับการพัฒนา
-ความรู้สึกว่าองค์การเป็นที่พึ่งพิงได้
-ความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน
-ทัศนคติของกลุ่มต่อองค์การ |
0.436*
0.405*
0.387*
0.365*
0.191
0.648**
0.551**
0.503**
0.475**
0.455*
0.372*
|
ปานกลาง
ปานกลาง
ปานกลาง
ปานกลาง
ต่ำ
ปานกลาง
ปานกลาง
ปานกลาง
ปานกลาง
ปานกลาง
ปานกลาง |
* P < .05 ** P < .01
วิจารณ์
ภาวะผู้นำเชิงปฏิรูปของพยาบาลที่ปฏิบัติงานในแผนกการพยาบาลศัลยกรรมฯอยู่ในระดับสูงทั้ง 4 ด้าน สอดคล้องกับการศึกษาของ จารุวัฒน์ บูรพันธ์6 ที่พบว่า ภาวะผู้นำเชิงปฏิรูปของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลศูนย์ สังกัดกระทรวงสาธารณสุข อยู่ในระดับสูงทั้ง 4 ด้านเช่นกัน ซึ่งกล่าวได้ว่า จากการเปลี่ยนแปลงต่างๆที่เกิดขึ้นในระบบสุขภาพ ทำให้พยาบาลต้องมีการปรับเปลี่ยนบทบาท แนวคิด และการบริการพยาบาลต่างๆให้ทันต่อเหตุการณ์เพื่อพัฒนาคุณภาพของการบริการให้เหมาะสมในบริบทที่เปลี่ยนแปลงนั้น โดยพยาบาลทุกคนต้องพัฒนาภาวะผู้นำโดยตำแหน่งของตนให้สอดคล้องกับเหตุการณ์ต่างๆ ทำให้พยาบาลยุคปัจจุบันเป็นพยาบาลที่มีภาวะผู้นำแห่งการเปลี่ยนแปลง6,11,12,17,18,19,20 (Change Agent) เพื่อปรับกระบวนการคิด การทำงานให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลง และเมื่อพยาบาลสามารถปฏิบัติงานโดยใช้ภาวะผู้นำเชิงปฏิรูปได้สำเร็จตามที่คาดหวัง จะทำให้เกิดความมั่นใจ เกิดความภาคภูมิใจ เกิดการยอมรับของเพื่อนร่วมงานและผู้ใช้บริการ1-3, 21 ทำให้บทบาทในการปฏิบัติงานเด่นชัด จึงสามารถประเมินภาวะผู้นำเชิงปฏิรูปของตนเองได้สูงในทุกด้าน และภาวะผู้นำเชิงปฏิรูปของพยาบาลที่ปฏิบัติงานในแผนกการพยาบาลศัลยกรรมฯ มีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับปานกลางกับความยึดมั่นผูกพันต่อองค์การอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ กล่าวได้ว่า พยาบาลเมื่อใช้ภาวะผู้นำเชิงปฏิรูปในการปฏิบัติงานได้ประสบผลสำเร็จ จะเกิดการรับรู้ผลงานในด้านบวก เกิดความพึงพอใจ ภูมิใจในงาน เกิดความคาดหวังว่าจะมีโอกาสก้าวหน้าและประสบผลสำเร็จในการทำงาน ส่งผลให้เกิดความยึดมั่นผูกพันต่อองค์การในที่สุด ซึ่งนักวิชาการหลายท่านกล่าวว่า การสร้างความรู้สึกให้ผู้ปฏิบัติงานเห็นว่าเขามีโอกาสก้าวหน้าและประสบผลสำเร็จในงานจะเป็นปัจจัยที่สำคัญที่จะเพิ่มความรู้สึกผูกพันต่อองค์การได้2,3,13
2. ประสบการณ์ในการทำงาน ด้านความรู้สึกว่าตนมีความสำคัญต่อองค์การ ด้านความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน และด้านการได้รับการพัฒนาของพยาบาลที่ปฏิบัติงานในแผนกการพยาบาลศัลยกรรมฯอยู่ในระดับสูง กล่าวได้ว่า ความรู้สึกว่าตนมีความสำคัญต่อองค์การ หรือมีความรู้สึกว่าได้รับการยอมรับจากองค์การ เป็นเสมือนรางวัลจากองค์การที่ให้กับผู้ปฏิบัติงานจากการที่ได้ทุ่มเทแรงกายแรงใจให้กับองค์การ 6,7 ทำให้เกิดความรู้สึกว่า ตนสามารถทำประโยชน์ให้กับองค์การได้ และรู้สึกว่าการปฏิบัติงานของตนได้รับการยกย่องว่ามีคุณค่า องค์การสามารถตอบสนองความต้องการของตนที่จะทำให้ผู้อื่นยกย่องสรรเสริญ ( Self esteem ) ได้ การที่องค์การให้ความสำคัญต่อบุคลกรจะมีผลต่อความยึดมั่นผูกพันต่อองค์การ เมื่อสมาชิกรับรู้ว่าตนมีความสำคัญต่อองค์การและองค์การต้องการตนนั้น ความยึดมั่นผูกพันต่อองค์การก็จะมีสูงขึ้นด้วย1,3,21 ด้านความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงานหากเกิดขึ้นในทางบวกหรือเป็นมิตรกัน จะทำให้บุคลากรมีความยึดมั่นผูกพันต่อองค์การเพิ่มขึ้นได้ เพราะการมีความสัมพันธ์ที่ดีจะทำให้บุคคลนั้นรู้สึกว่าประสบการณ์นี้มีความสำคัญมาก และจะสร้างความยึดมั่นผูกพันต่อองค์การตามมา ส่วนด้านการได้รับการพัฒนานั้น องค์การได้มีการสนับสนุนให้บุคลากร มีการพัฒนาความรู้ ความสามารถในการทำงานอย่างต่อเนื่อง เช่น การฝึกอบรม การศึกษาต่อ เป็นต้น ทำให้บุคลากรเกิดความพึงพอใจและตอบแทนหน่วยงานด้วยความรู้สึกผูกพันต่อองค์การเพิ่มขึ้น1,2,3,4,16,21 และประสบการณ์ในการทำงานของพยาบาลที่ปฏิบัติงานในแผนกการพยาบาลศัลยกรรมฯ มีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับปานกลางกับความยึดมั่นผูกพันต่อองค์การอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ กล่าวได้ว่า การที่บุคคลแต่ละคนเข้ามาทำงานในองค์การจะเข้ามาด้วยเป้าหมาย ค่านิยม ความต้องการ ความปรารถนา และอื่นๆ รวมทั้งความคาดหวังที่จะเข้ามาทำงานในสถานที่ที่เอื้ออำนวยต่อการทำงาน โดยใช้ความรู้ความสามารถและประสบการณ์กับความพึงพอใจในความต้องการขั้นพื้นฐาน และเมื่อองค์การสามารถตอบสนองสิ่งต่างๆเหล่านี้ได้ เช่น มีสภาพแวดล้อมในการทำงานที่ดี มีกลุ่มเพื่อนร่วมงานที่ดี องค์การสามารถเป็นที่พึ่งพิงได้ และบุคลากรเกิดความภาคภูมิใจในความสามารถของตน รับรู้ว่าตนมีความสำคัญต่อองค์การ และองค์การให้การพัฒนาบุคลากรอย่างต่อเนื่อง เกิดการรับรู้ในสิ่งที่ดี ทำให้เกิดและเพิ่มความรักความผูกพันต่อองค์การในที่สุด1-3,13
3. ความยึดมั่นผูกพันต่อองค์การของพยาบาลที่ปฏิบัติงานในแผนกการพยาบาลศัลยกรรมฯอยู่ในระดับสูง กล่าวได้ว่า พยาบาลที่ปฏิบัติงานในแผนกการพยาบาลศัลยกรรมฯ เป็นผู้ที่ทุ่มเทแรงกายแรงใจในการทำงานอย่างมาก เนื่องจากงานการพยาบาลในแผนกการพยาบาลศัลยกรรมฯเป็นงานที่ต้องให้การพยาบาลแก่ผู้ป่วยก่อนและหลังการผ่าตัดอย่างใกล้ชิดตลอดเวลา โดยเฉพาะผู้ป่วยที่อาจเกิดภาวะแทรกซ้อนหลังผ่าตัด ต้องมีความรับผิดชอบสูง มีความยินดีและเต็มใจที่จะเสียสละ อุทิศตน ทุ่มเทพลังกาย ความสามารถ สติปัญญา และตั้งใจที่จะปฏิบัติงานเพื่อช่วยชีวิตผู้อื่น จึงทำให้เกิดความภาคภูมิใจว่าตนมีความสำคัญต่อองค์การ ทำให้รู้สึกยึดมั่นผูกพันต่อองค์การสูงด้วย และแผนกการพยาบาลศัลยกรรมฯซึ่งอยู่ในโรงพยาบาลศรีนครินทร์ที่เป็นองค์การขนาดใหญ่ มีความมั่นคง มีโอกาสก้าวหน้าในงานและได้รับผลประโยชน์ตอบแทนสูง จึงทำ ให้บุคลากรรู้สึกยึดมั่นผูกพันต่อองค์การสูงด้วยเช่นกัน3,4,21
ข้อเสนอแนะในการทำวิจัยครั้งต่อไป
- ศึกษาในบริบทที่กว้างขึ้นในโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยทั้งหมดเพื่อให้ได้ผลการวิจัยในภาพรวมและสามารถนำผลการวิจัยนั้นไปพัฒนาองค์การได้ทั้งประเทศ
- ศึกษาภาวะผู้นำและผู้ตามที่พึงประสงค์ของพยาบาลวิชาชีพในโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยเพื่อนำผลการวิจัยไปพัฒนาบุคลากร พัฒนางาน และองค์การต่อไป
กิตติกรรมประกาศ ( Acknowledgement )
บทความนี้ได้รับการสนับสนุนส่วนหนึ่งจาก ทุนอุดหนุนและส่งเสริมการทำวิทยานิพนธ์สำหรับนักศึกษาบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น
เอกสารอ้างอิง
1. จุรีย์ อุสาหะ. ความยึดมั่นผูกพันต่อองค์การของพยาบาลประจำการโรงพยาบาลสังกัดกรมควบคุมโรคติดต่อ กระทรวงสาธารณสุข. วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต( สาธารณสุขศาสตร์ ) สาขาวิชาเอกการบริหารโรงพยาบาล บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล. 2542 .
2. วัลภา ศรีบุญพิมพ์สวย. ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยคัดสรรกับความยึดมั่นผูกพันต่อองค์การของ อาจารย์พยาบาล วิทยาลัยพยาบาล สังกัดสถาบันพระบรมราชชนกกระทรวงสาธารณสุข. วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการพยาบาล บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 2543 .
3. สอาด วงศ์อนันต์นนท์. ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล ลักษณะงาน ประสบการณ์ในการทำงาน บทบาททางวิชาชีพ กับความยึดมั่นผูกพันต่อองค์การของพยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลของรัฐ กรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการพยาบาล บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย. 2538 .
4. Strachota E, Normandin P, OBrien N, Clary M, Krukow B. Reasons registered nurses leave or change employment status J Nurs Adm 2003 ; 33 : 111-7.
5. Steers RM. Antecedents and outcomes of organizational commitment Adm Sci Q 1977; 22 : 46-56.
6. จารุวัฒน์ บูรพันธิ์. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อภาวะผู้นำของพยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลศูนย์ สังกัดกระทรวงสาธารณสุข. วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการพยาบาล บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 2546 .
7. ผ่องฉวี เพียรรู้จบ. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความพึงพอใจในงานของพยาบาลวิชาชีพโรงพยาบาลชุมชนเขตวิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการพยาบาล บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 2546.
8. Bass, BM. Leadership and Performance beyond Expectation. New York : The Free Press. 1985.
9. Bass, BM. & Avolio, B J. Improving Organizational Effectiveness Through Transformational leadership. California : Sage, 1994.
10. ไขแสง ชวศิริ. ภาวะผู้นำทางการพยาบาล. ภาควิชาการบริหารการศึกษา และบริการการพยาบาล คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ , สงขลาฯ : 2528.
11. พวงรัตน์ บุญญานุรักษ์. ขุมปัญญาทางการพยาบาล. กรุงเทพฯ : พระราม 4 ปริ้นติ้ง. 2546 .
12. เรมวล นันท์ศุภวัฒน์. ภาวะผู้นำทางการพยาบาลในองค์การ. ภาควิชาบริหารการพยาบาล คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ , เชียงใหม่ : 2542.
13. สิทธิโชค วรานุสันติกุล. จิตวิทยาสังคม : ทฤษฎีและการประยุกต์. กรุงเทพฯ : ซีเอ็ดยูเคชั่น. 2546.
14. Buchanan, B. Building organizational commitment ; The socialization of managers in work Organizations. Administrative Science Quarterly 1974 ; 19 : 533-46.
15. Porter LW., Steers RM., Mowday RT., and Boulian PV. Organizational commitment, job satisfaction and turnover among psychiatric technicians. Journal of Applied Psychology 1974 ; 59 : 603- 9.
16. Steers, RM. Introduction to Organization Behavior. 2nd ed. The United States of America : Scott, Foresman and Company, 1984 .
17. Chiok Foong Loke J. Leadership behaviours : effects on job satisfaction, productivity and organizational commitment. J Nurs Manag 2001; 9 : 191-204.
18. Jooste K. Leadership : a new perspective. J Nurs Manag 2004; 217-23.
19. Medley F. & Larochelle DR. Transformational leadership and job satisfaction. Nurs Manage 1995 ; 26 : 64 JJ-64 LL, 64 NN.
20. McNeese-Smitb, D. Job satisfaction, productivity, and organizational commitment. The result of leadership. J Nurs Adm. 1995 ; 25 : 17-26.
21. พูลสุข หิงคานนท์. การจูงใจ : ปัจจัยสู่การพยาบาลเชิงรุก. วารสารการศึกษาพยาบาล 2546;14 : 2-9. |