ส่วนประกอบของระบบ EJNAL สำหรับสมาชิกทั่วไปจะมีเมนูในการใช้วารสารออนไลน์ ประกอบด้วย
1. Home เป็นหน้าแรกของเว็บไซต์ จะประกอบด้วยส่วนต่างๆ ได้แก่
A. Log in เพื่อเข้าสู่ระบบ โดย Username และ Password จะถูกกำหนดโดยผู้ดูแลระบบ ท่านสามารถติดต่อขอได้ตามที่อยู่ใน Contact Information
B. ส่วนแนะนำบทความว่าฉบับปัจจุบันมีเนื้อหาใดบ้างที่น่าสนใจจัดตามประเภทบทความ (Category) ซึ่งบทความจะถูกเกริ่นนำสั้นๆ เพื่อจูงใจ และสามารถอ่านบทความได้ โดยคลิกที่ชื่อเรื่อง หรือที่ลิงค์ คำว่า < อ่านต่อ >
C. การแสดงสถิติการเข้าชม และการดาวน์โหลดไฟล์ PDF พร้อมสถานะของผู้เยี่ยมชมแบบ real time ทั้ง Member และ Guest
D. เมนูเลือกเปลี่ยนภาษา เมื่อต้องการที่จะเปลี่ยนภาษา ท่านคลิกที่ภาษานั้นๆ ระบบจะทำการเปลี่ยนภาษาให้ทันที
E.เมนูหลักทางด้านซ้ายมือ เป็นเนื้อหาการแนะนำวารสาร ประกอบด้วย
§ About MJS การแนะนำความเป็นมาของวารสาร และคณะกรรมการของวารสารการแพทย์และวิทยาศาสตร์สุขภาพ
§ Subscription การแนะนำการสมัครสมาชิก โดยท่านสามารถ download ไฟล์ใบตอบรับการเป็นสมาชิกได้ แล้วกรอกรายละเอียดให้ครบถ้วนแล้วส่งมาที่ สำนักงานวารสาร
§ Contact Information การติดต่อศรีนครินทร์เวชสาร เมื่อท่านมีปัญหาหรือข้อซักถาม โดยคลิกที่ E-mail ก็จะสามารถติดต่อทางอีเมล หรือทางเบอร์โทรศัพท์
§ Instruction for authors เป็นคำแนะนำสำหรับผู้เขียนบทความส่งศรีนครินทร์เวชสาร ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
§ Popular Article การแสดงบทความที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในการเปิดอ่าน หรือdownload บทความ10 อันดับแรก
§ Help คู่มือการใช้งานวารสารออนไลน์
F. Link การรวบรวมลิงค์ที่สำคัญและน่าสนใจ
G. แสดงปกวารสารฉบับปัจจุบัน พร้อมคำอธิบายสั้นๆ
2. Search หน้าต่างในการค้นหาบทความ ซึ่งมีฟังก์ชันการค้นหาที่ไม่ธรรมดา ส่วนนี้ถือว่าเป็นหัวใจหลักของวารสารเลยที่เดียว ที่จะช่วยให้สมาชิกค้นบทความได้ตามที่ต้องการ อธิบายส่วนประกอบ ดังนี้
Specific Search
A. ค้นหาจากบทความทั้งหมด เป็นการค้นคำที่ต้องการในเนื้อหาของบทความทั้งหมด (Full text)
B. ค้นหาจากชื่อเรื่อง การค้นคำเฉพาะชื่อเรื่องของบทความเท่านั้น
C. ค้นหาจากคำช่วยค้น คือการค้นคำในส่วนของ Keyword ของบทความ
D. ค้นหาจากชื่อผู้แต่ง คือการค้นคำในส่วนของผู้แต่งบทความ ค้นได้ทั้งชื่อหรือนามสกุลของผู้แต่งที่มีชื่อในบทความ
E. ใส่คำที่ต้องการค้นหา หากต้องการที่จะค้นมากกว่าหนึ่งคำ ควรกำหนดจำนวนคำในข้อ F
F. กำหนดจำนวนคำในการช่วยค้นได้อย่างไม่จำกัดจำนวน เพื่อได้คำค้นที่จำเพาะมากขึ้น
G. สามารถกำหนดขอบเขตของการค้นหาในแต่ละประเภทบทความได้ (Category)
H. กำหนดช่วงเวลา เพื่อช่วยให้ช่วงในการค้นหาแคบลง
และการกำหนดจำนวนชื่อเรื่อง ให้แสดงต่อหน้า ซึ่งฟังก์ชันนี้แสดงก็ต่อเมื่อมีการค้นหาแล้วเท่านั้น ซึ่งจะช่วยในผู้ค้นสามารถเรียกดูบทความที่ละมากๆ ได้ในหน้าเดียว ไม่ต้องรอการโหลดหลายหน้า เมื่อทราบหน้าที่แล้ว เรามาลองค้นหาบทความกัน ซึ่งมีขั้นตอนการค้นหา 2 วิธีด้วยกัน ได้แก่
วิธีที่ 1 การค้นแบบง่าย ท่านสามารถค้นหาบทความ โดยพิมพ์ Keyword ที่ต้องการค้นในช่อง Search ได้จากหน้าแรก (บนสุดด้านขวามือของหน้าเว็บไซต์) ดังรูป

วิธีที่ 2 เป็นการค้นที่จำเพาะ เริ่มด้วย
Step 1 เลือกลักษณะการค้นว่าต้องการค้นจากแหล่งใด จากที่อธิบายไว้ข้างต้น A-D
Step 2 ใส่คำช่วยค้น
Step 3 หากต้องการค้นมากกว่า 1 คำ ต้องกำหนดจำนวนคำในช่อง F จากนั้นก็กรอกคำที่ต้องการค้น ซึ่งสามารถเลือกได้ว่า เป็นการเชื่อมคำด้วย
§ คำว่า และ หมายถึงการค้นต้องมีคำทั้งหมดเท่านั้น
§ หรือ คำว่า หรือ หมายถึงเลือกผลการแสดงจากคำใดคำหนึ่ง
Step 4 กำหนดขอบเขตของช่วงเวลาที่บทความตีพิมพ์
Step 5 กำหนดขอบเขตของประเภทบทความ (Category)
Step 6 คลิก [Search] แล้วผลการค้นก็จะแสดง
Step 7 ท่านสามารถกำหนดจำนวนบทความต่อหน้าได้ เพื่อความสะดวกในการค้นหาบทความจำนวนมากได้ในเวลาอันสั้น
3. Current issue หน้าต่างแสดงบทความของฉบับล่าสุด
A. ซึ่งจะแยกตามประเภทบทความ(Category)
B. ชื่อบทความ (Article)
C. ชื่อผู้แต่ง(Authors)
D. ในแต่ละบทความจะแสดงสถานะไฟล์ข้อมูลประกอบบทความด้วยว่า มี Abstract, Full text , PDF file หรือไม่ ถ้าบทความดังกล่าวมีไฟล์ข้างต้นก็จะแสดงเป็นข้อความสีฟ้า และเมื่อคลิกที่ข้อความก็สามารถลิงค์ไปยังไฟล์ดังกล่าวได้
4. Past issue เป็นหน้าต่างการแสดงรายการของวารสารย้อนหลังทั้งหมด
จะปรากฏปกวารสารฉบับปัจจุบัน และย้อนหลัง 3 ฉบับ สามารถคลิกที่ปกวารสารเพื่อลิงค์ไปยังบทความฉบับนั้นๆ และเมื่อคลิกที่ตัวเลขปีค.ศ.ที่พิมพ์ ก็จะพบหน้า Archive of all online issue in a year แสดงรายการปกวารสารฉบับที่ตีพิมพ์ในปีนั้น และคลิกที่รูปฉบับที่ตีพิมพ์ฉบับใด ก็จะเข้าไปพบบทความในฉบับนั้นทั้งหมดที่ได้รับการตีพิมพ์
5. Topic Collections แสดงหน้ารายการกลุ่มบทความที่มีของวารสาร
ซึ่งเมื่อมีการเพิ่มบทความใหม่ บทความจะการกำหนดกลุ่ม เพื่อจัดเก็บบทความอย่างเป็นระบบ และให้ง่ายในการค้นหา และการเพิ่มบทความแต่ละครั้งจะถูกนับเป็นสถิติจำนวนของบทความต่างๆ ในแต่ละกลุ่มบทความ(แสดงตัวเลขท้ายชื่อกลุ่มบทความ) เมื่อคลิกที่ตัวอักษร A-Z ที่อยู่ข้างบน จะถูกลิงค์ไปยังชื่อกลุ่มบทความนั้นๆ และคลิกที่ชื่อกลุ่มบทความ ก็จะลิงค์ไปยังหน้า แสดงผล Topic Collection แล้วจะพบรายชื่อบทความที่มีในกลุ่มบทความนั้นทั้งหมด |